-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 319 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ลองกอง




หน้า: 1/6


                          ลองกอง-ลางสาด


       ลักษณะทางธรรมชาติ

    * เป็นไม้ผลยืนต้นอายหลายสิบปี ต้นที่ จ.นราธิวาส ถึงวันนี้อายุกว่า 100 ปี ยังไม้ผลผลิตดี ปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศ ปลูกมากในเขตภาคใต้และภาคตะวันออกเพราะมีฝนชุก ดังนั้นหากจะปลูกในเขตที่มีฝนน้อยก็จะต้องมีแหล่งน้ำธรรมชาติอย่างพอเพียง ลองกอง-ลางสาดเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายมีอินทรียวัตถุมาก ระบายน้ำได้ดี ไม่ทนต่อน้ำขังค้างนาน ชอบอยู่แซมแทรกกับไม้ผลอื่น เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด สะตอ มะไฟ
                        
     * สหรัฐอเมริกาประเทศที่ได้ชื่อว่ามีเทคโนโลยีสูงสุด นำลองกอง-ลางสาดไปทดลองปลูกที่ฟลอริดา. แคลิฟอร์เนีย. ปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จ กับอีกส่วนหนึ่งปลูกที่ฮาวายก็พอจะประสบความสำเร็จอยู่บ้างเมื่อต้นลองกอง-ลางสาดเจริญเติบโตได้แต่คุณภาพไม่ดี แสดงว่าแม้เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์จะสูงเลิศเพียงใดก็ยังไม่สามารถเอาชนะเทคโนโลยีธรรมชาติได้นั่นเอง                        

     * ลองกอง-ลางสาดเป็นไม้ป่า ดังนั้นก่อนลงมือปลูกให้ปลูกไม้พี่เลี้ยง เช่น กล้วย ทองหลาง หรือเงาะ ทุเรียน มังคุด สะตอ ก่อนอย่างน้อย 1-1 ปีครึ่ง  บำรุงไม้พี่เลี้ยงจนกระทั่งยืนต้นได้ดีแล้วจึงลงมือปลูกลองกอง-ลางสาด  เพราะลางสาด-ลององระยะต้นเล็กต้องการแสงแดดน้อย (รำไรๆ) แต่ต้องการความชื้นที่หน้าดินและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง แม้แต่ช่วงที่ต้นโตถึงขนาดให้ผลผลิตแล้วก็ยังต้องมีไม้อื่นแซมแทรกอยู่ เพียงแต่ไม่ต้องบังแสงแดดแล้วเท่านั้น......ลงมือปลูกต้นกล้าลองกอง-ลางสาดแล้วไม้พี่เลี้ยงบังแสงแดดได้ไม่ดีก็ให้ใช้ทางมะพร้าวช่วยบังแดดเสริม
                        

     * ต้นที่ปลูกโดยเพาะเมล็ดทำให้ได้ระบบรากแก้วดีมากแต่เมื่อโตขึ้นจะสูงชะลูด การแตกกิ่งข้างน้อยส่งผลให้มีตำแหน่งออกดอกติดผลน้อยไปด้วย  แก้ไขโดยปลูกด้วยกิ่งตอนหรือกิ่งทาบที่ไม่มีรากแก้วหรือมีแต่รากฝอยก่อนแล้วเสริมรากด้วยต้นที่มีรากแก้ว 1-2 ต้น
                        
     * เป็นพืชระบบรากตื้นหากินบริเวณผิวหน้าดิน  ช่วงอายุต้น 1-3 ปีแรกควรพรวนดินโคนต้น 1-2 ครั้ง/ปี  หลังจากต้นโตให้ผลผลิตแล้วไม่ควรพรวนดินโคนต้นแต่ให้ใช้วิธีการพูนดินล่อรากแทน
                       
     * ลางสาดมีระบบรากค่อนข้างแข็งแรง จำนวนมาก และหาอาหารเก่ง  แต่ลองกองมีระบบรากไม่สู้แข็งแรง จำนวนไม่มากและหาอาหารไม่เก่งนัก จึงให้ปลูกลูกู หรือลางสาด
แบบเพาะเมล็ดก่อนแล้วเปลี่ยนยอดเป็นลองกอง                       

     * ธรรมชาติลองกอง-ลางสาดช่วงอายุต้น 1-2 ปีแรก (ยังไม่ให้ผลผลิต) จะเจริญเติบโตทางสูงมากกว่าทางข้าง โดยลำต้นประธานจะแตกกิ่งข้างและเมื่อกิ่งข้างนั้นโตขึ้นก็จะเจริญทางสูงมากว่าทางข้างเหมือนกัน  ระยะนี้ยังไม่ควรตัดแต่งกิ่งข้างแต่ปล่อยให้ต้นแตกกิ่งอย่างอิสระไปก่อน จนกระทั่งเริ่มให้ผลผลิตปีแรกหรือเห็นว่าต้นโตพร้อมที่จะให้ผลผลิตแล้วจึงตัดแต่งกิ่งที่เจริญทางสูงนั้นออก  คงเหลือไว้ประมาณ 3-5 กิ่ง/ต้น กระจายรอบทิศทาง กิ่งล่างสุดชิดพื้นควรสูงจากพื้น 50-80 ซม.ทำให้เหลือต้นเป็นลำเปล้าเดี่ยวๆซึ่งจะช่วยให้การลำเลียงน้ำเลี้ยงไปยังส่วนต่างๆของต้นดีขึ้น
                        
     * วิธีปลูกแบบระยะชิดแล้วควบคุมขนาดทรงพุ่มไม่ให้เจริญทางสูงด้วยพาโคลบิวทาโซล อัตรา 1.5 กรัม/ต้น หรือใช้ทั้งวิธีราดสารพาโคลบิวทาโซลควบคู่กับการควั่นกิ่งปีละครั้ง/กิ่ง ก็สามารถควบคุมขนาดทรงพุ่มได้เช่นกัน การราดสารพาโคลฯ และการควั่นกิ่งไม่ส่งผลเสียต่อการออกดอกและคุณภาพของผลผลิต
                        
     * ออกดอกติดผลที่ลำต้นและใต้ท้องกิ่งแก่อายุ  2 ปีขึ้นไป  ต้นที่สมบูรณ์มากๆก็อาจจะออกดอกติดผลที่ใต้ท้องกิ่งอายุปีเดียวได้ การออกดอกจะออกแบบทยอยซึ่งอาจใช้ระยะเวลานานถึง 2 เดือนจึงครบทุกตาดอก  แต่ในต้นที่มีความสมบูรณ์สูงจะออกดอกได้นานกว่า 2 เดือนจนถึงออกดอกได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่น และฤดูกาลเลยได้
                       
     * ลองกอง-ลางสาด ที่อั้นตาดอกดีแต่เปิดตาดอกแลฃ้วไม่ออกดอก  ให้เพิ่ม  ”แคลเซียม โบรอน + สาหร่ายทะเล”  สลับ 1-2 รอบ จะช่วยให้ออกดอกได้ดี
                        
     * ออกดอกทั้งเป็นช่อเดี่ยวและเป็นกระจุก  บางครั้งออกมาเป็นช่อเดี่ยวก่อนแล้วมีช่อชุดหลังออกตามมาอีกจนเป็นกระจุก ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น......แต่ละกระจุกมีตั้งแต่ 5-20 ช่อ
                          
     * การมีดอกจำนวนมากและเป็นดอกต่างรุ่นกัน ทำให้ยุ่งยากอย่างมากต่อการบำรุง ทั้งช่วงที่ยังเป็นดอกและช่วงที่พัฒนาเป็นผลแล้ว จึงจำเป็นต้องตัดแต่งช่อดอกออกบ้าง โดยเลือกตัดทิ้งช่อดอกก้านสั้น,  ช่อดอกไม่สมบูรณ์ก้านเรียวเล็กหรือคดงอ,  ช่อดอกที่เกิดในง่ามกิ่ง,  ช่อดอกชี้ขึ้นหรือเกิดที่ด้านบนของกิ่ง,  ช่อดอกที่เกิดปลายกิ่ง ..........ใน 1 กระจุกควรมีช่อดอก 2-4 ช่อ และห่างจากช่อข้างเดียงไม่น้อยกว่า 20-30 ซม.เพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ 
                       
     * ดอกชุดที่ออกก่อน (เดี่ยวหรือกระจุก) มักสมบูรณ์กว่าดอกชุดที่ออกตามหลัง  ดังนั้นเมื่อมีช่อดอกออกมาตามหลังจะต้องพิจารณาคุณลักษณะและตำแหน่งว่า จะมีโอกาสได้รับน้ำเลี้ยงอย่างเพียงพอหรือไม่ จากนั้นจึงเลือกตัดทิ้งหรือเก็บไว้
                        
     * ในช่อที่มีผลจำนวนมาก แม้จะได้บำรุงยืดช่อแล้วผลก็ยังเบียดกันจนแน่นอยู่อีกก็ต้องซอยผลออกบ้าง  ให้พิจาณาผล 2-3 ผลแรกที่โคนก้านช่อ ถ้าอยู่ชิดกับกิ่งมากให้ตัดออกเพราะผลเหล่าเมื่อโตขึ้นจะเบียดกับกิ่งจนทำให้ก้านช่อขาดได้ ส่วนผลอื่นๆที่อยู่ภายในช่อให้พิจาณาตัดผลที่เล็กกว่าออกเพราะผลแบบนี้นอกจากจะโตไม่ทันผลใหญ่แล้วยังกีดขวางการขยายตัวของผลใหญ่ให้เสียรูปทรงอีกด้วย                       

     * ถ้าผลในช่อเบียดกันมากจนไม่สามารถตัดผลใดผลหนึ่งออกได้เพราะอาจจะกระทบกระเทือนผลใหญ่ข้างเคียง  ให้ปลายเข็มแทงผลที่ต้องการตัดออก เมื่อผลมีแผลจะมียางไหลออกมา ประมาณ 7-10 วัน ผลนั้นก็จะหลุดจากขั้วเอง
                        
     * ธรรมชาติของดอกลองกอง-ลางสาดจะเริ่มบานและผสมติดจากดอกที่โคนช่อก่อน แล้วจะผสมติดตามลำดับจนถึงปลายช่อ เมื่อดอกในช่อทุกดอกผสมติดจนพัฒนาเป็นหมดแล้ว ให้ตัดผลเล็กสุดที่ปลายช่อ 2-3 ผลออก จะช่วยให้ทุกผลที่เหลือในช่อนั้นแก่เก็บเกี่ยวได้ภายในระยะเวลาใกล้เคียงกันหรือเกือบพร้อมกัน
                        
     * ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ  มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกันและผสมกันเองได้ ไม่จำเป็นต้องรับเกสรตัวผู้จากต่างดอกหรือต่างต้น ดอกที่ออกมาจึงสามารถพัฒนาเป็นผลได้ทั้งหมด ยกเว้นกรณีที่ต้นไม่สมบูรณ์เพราะขาดสารอาหาร  หรือสภาพอากาศวิปริตอย่างรุนแรงเท่านั้น                        

     * เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว
                        
     * ลองกอง-ลางสาดมักติดผลเป็นพวงจำนวนมากบนก้านช่อเพียงก้านเดียว ผลจึงเบียดกันทำให้เสียรูปทรง จึงควรบำรุงยืดก้านช่อให้ยาวขึ้นเพื่อให้มีพื้นที่สำหรับผลแต่ละผลขยายตัวได้มากขึ้นด้วย จิ๊บเบอเรลลิน อัตรา 100 ซีซี./น้ำ 100 ล.  โดยให้ครั้งแรกเมื่อช่อดอกยาว 2-3 ซม.  ให้ครั้งที่สองเมื่อช่อดอกยาว 8-20 ซม.  และให้ครั้งที่สามเมื่อดอกบานได้ 1 ใน 4 ของจำนวนดอกในช่อ........เนื่องจากดอกลองกอง-ลางสาดออกไม่พร้อมกันแต่จะทยอยออกนานถึง 2 เดือน อายุดอกจึงไม่เท่ากัน ดังนั้นการฉีดพ่นจิ๊บเบอเรลลินจึงต้องฉีดทีละช่อตามลำดับความพร้อมก่อนหลัง
                        
     * เปลือกต้นหรือกิ่งใหญ่ลองกอง-ลางสาดแห้งเป็นสะเด็ด (คุดทะราด) ให้ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพบ่อยๆ  ฉีดให้โชกจนเปียกทั่วลำต้นหรือกิ่งที่เป็นสะเก็ด จุลินทรีย์ในปุ๋ยน้ำชีวภาพจะช่วยย่อยสลายให้สะเก็ดบนเปลือกเหล่านั้นหลุดร่วงจนผิวเปลือกสะอาดได้ สะเก็ดเหล่านี้นอกจากเป็นแหล่งอาศัยของหนอนต่างๆ  แล้วยังเป็นแหล่งสะสมเชื้อราอีกด้วย เมื่อไม่มีสะเก็ดหรือเปลือกสะอาดดี ตาดอกซึ่งอยู่ใต้เปลือกก็จะสมบูรณ์ดีไปด้วย
                        
     * ระยะพัฒนาของดอก.......ในช่อดอกเดียวกัน ดอกที่โคนช่อออกก่อนแล้วดอกอื่นๆจะออกตามจนสุดปลายช่อใช้เวลา 5 สัปดาห์ กว่าดอกปลายช่อจะออกมาได้ดอกโคนช่อซึ่งออกก่อนได้บานและผสมติดเป็นผลเรียบร้อยแล้ว ดอกจะบานอยู่นาน 3-5 วัน
                          
     * ระยะพัฒนาการของผล......ในต้นเดียวกัน เมื่อช่อดอกชุดแรกเริ่มออกมาแล้วช่อดอกชุดหลังจะออกตามมาติดต่อกันนาน 19 สัปดาห์   อายุผลตั้งแต่เริ่มติดถึงแก่เก็บเกี่ยวได้ 14 สัปดาห์  การที่ช่อดอกออกไม่พร้อมกันจึงทำให้ผลแก่เก็บเกี่ยวได้ไม่พร้อมกัน แก้ไขโดย ผลช่อไหนแก่ก่อนให้เก็บก่อนและผลช่อไหนแก่ทีหลังให้เก็บทีหลังหรือทยอยเก็บไปเรื่อยๆ  ซึ่งต้องเก็บเกี่ยวประมาณ 3-5 รอบจึงหมดทั้งต้น
                       
     * การที่ผลลองกอง-ลางสาดในช่อเดียวกันแต่ต่างอายุกันถึง 5 สัปดาห์จึงทำให้ผลแก่ไม่พร้อมกัน  แก้ไขโดยฉีดพ่น อีเทฟอน 20 ซีซี./น้ำ 100 ล. เมื่อผลเริ่มเปลี่ยนสีเปลือกจากสีเขียวเป็นสีเหลืองได้ 10-20 เปอร์เซ็นต์  โดยฉีดใส่ที่ช่อผลนั้นโดยตรง จะช่วยให้ผลแก่พร้อมกันทั้งช่อภายใน 2 สัปดาห์ การฉีดพ่นอีเทฟอน.จะไม่มีผลต่อการร่วงของผลเมื่อสุกหรือระหว่างขนส่งแต่อย่างใด
                          
     * หลังจากเก็บเกี่ยวลงมาแล้วปล่อยทิ้งให้ลืมต้น 1-3 วันจะได้รสชาติและกลิ่นดีขึ้น
     * การที่ผลลองกอง-ลางสาดหลังจากเก็บเกี่ยวมาแล้วหลายวันมักร่วงจากขั้ว  แก้ไขโดยใช้  เอ็นเอเอ. 40 ซีซี./น้ำ 100 ล.  ฉีดพ่นใส่ช่อผลโดยตรงช่วงที่เปลือกผลเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองหมดทั้งช่อแล้ว จะช่วยให้ลองกอง-ลางสาดอยู่บนแผงจำหน่ายโดยผลไม่หลุดจากขั้วนาน 20-30 วัน........ในช่อที่ไม่ได้ฉีดพ่นเอ็นเอเอ.ผลมักหลุดจากขั้วเร็วหรือฝากแผงได้นานไม่เกิน 10 วัน
                            


       ข้อแตกต่างระหว่างลองกองกับลางสาด :                        

       ผล : เปลือกลองกองหนากว่าลางสาด, สีเปลือกลองกองเหลืองซีดแต่ลางสาดสีเหลืองสดใส, เนื้อลองกองขาวไสแต่เนื้อลางสาดขาวขุ่น, ผลลองกองมีจุกแต่ผลลางสาดกลมเรียบ, เมื่อสุกเปลือกลองกองไม่มียาง และเปลือกล่อนจากเนื้อดีแต่เปลือกลางสาดมียางขาวขุ่นและเปลือกล่อนจากเนื้อไม่ดี, เมื่อสุกลองกองเนื้อแห้งแต่ลางสาดฉ่ำน้ำ, ลองกองมีจำนวนเมล็ดน้อยกว่าลางสาด ลองกองบางผลไม่มีเมล็ดเลย, ช่อผลลองกองยาวกว่าลางสาด, ความหวานลองกอง 16-19 ความหวานลางสาด 15-16 องศาบริกซ์.
                           
       ใบ : ใบลองกองมีคลื่นใหญ่ร่องลึกแต่ใบลางสาดค่อนข้างเรียบ, ใบลองกองขมจัดแต่ใบลางสาดไม่ขม.                          

       สายพันธุ์                       
       ลางสาด  :   ลางสาดสาวอ.   ลางสาดปาดี.
       ลองกอง  :  ลองกองแห้ง.  ลองกองน้ำ. ลองกองแปแมร์หรือแกแลแม. 
       ลองกองเทียม :  เกิดจากลองกองผสมกับลางสาด ร่องน้ำตาที่ใบตื้น ใบไม่เป็นมันวาวเหมือนลองกอง แต่ทรงพุ่มและการออกดอกติดผลเหมือนลองกอง  ผลแก่จัดรสหวานสนิท
                         

      การขยายพันธุ์                       
      ตอน.ทาบกิ่ง. เพาเมล็ด(กลายพันธุ์). เพาะเมล็ดเสริมรากเสียบยอด(ดีที่สุด)
                         
      ระยะปลูก                       
    - ระยะปกติ  6 X 6  ม. หรือ  8 X 8 ม.
    - ระยะชิด   4 X 4  ม. หรือ  4 X 6 ม.
    - ปลูกแซมแทรกในไม้ผลอื่นๆ (ไม้พี่เลี้ยง) ให้พิจารณาตามความเหมาะสม
                        
      เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ                         
    - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม +มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา(แห้งเก่าข้ามปี)ปีละ 2 ครั้ง
    - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง                       
    - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง                         
    - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่มล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
                        
      หมายเหตุ :                       
    - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน                          
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่  การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้
    - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง                        

     
เตรียมต้น                       
      ตัดแต่งกิ่ง :                       
      ต้นเล็กยังไม่ให้ผลผลิต :
   
      ตัดทิ้งกิ่งที่ไม่เหมาะสมต่อการออกดอกติดผล  เช่น  กิ่งมุมแคบ  กิ่งเรียวเล็กหรือกิ่งหางหนู  กิ่งชี้เข้าในทรงพุ่ม  กิ่งชี้ลง  กิ่งไขว้
                          
      ต้นโตให้ผลผลิตแล้ว :       
      ตัดทิ้งกิ่งฉีดหัก  กิ่งเป็นโรค  กิ่งแห้งตาย  กิ่งหางหนู  กิ่งที่มีกาฝาก
      ทั้งนี้ลักษณะโครงสร้างต้นลองกอง-ลางสาดที่ดีควรมีใบด้านนอกทึบแต่ด้านในโปร่ง  ดังนั้นการเลือกตัดกิ่งออกกับคงเหลือกิ่งไว้ต้องคำนึงถึงช่วงที่ติดผลในภายหน้าด้วย  นิสัยการออกดอกของลองกองไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว แต่การตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น
      ตัดแต่งราก :                       
    - ระยะต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก   แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน                       
    - ต้นอายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม

หมายเหตุ : 
ลองกอง เป็นผลไม้ในสกุลเดียวกับลางสาดและดูกู มีถิ่นกำเนิดที่หมู่เกาะมลายู อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และตอนใต้ของไทย ลองกองเป็นผลผลิตที่ให้คุณภาพดีกว่าลางสาดและดูกู มีเมล็ดน้อยหรืออาจจะไม่มีเมล็ด ลองกองแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ

1. ลองกองแห้ง ผลสุกเนื้อใสเป็นแก้ว เนื้อแห้ง หวาน มีกลิ่นหอม ส่วนเปลือกหนามีสีเหลืองคล้ำและไม่มียาง

2. ลองกองน้ำ ผลสุกเนื้อค่อนข้างฉ่ำน้ำ สีเปลือกเหลืองสว่างกว่า
3. ลองกองปาลาแมหรือลองกองแปร์แมร์ ผลสุกเนื้อนิ่ม กลิ่นไม่หอมเหมือนลองกองน้ำ เปลือกบางและมียางเล็กน้อย

การเลือกซื้อลองกอง
o ควรชิมก่อนว่าหวานหรือไม่
o เลือกลองกองผิวเรียบ ไม่มีรอยด่างดำมากเกินไป และควรมีขนาดผลใกล้เคียงกัน
o ผลลองกองจะมีลักษณะใกล้เคียงกับลางสาด ให้สังเกตผิวเปลือก ลางสาดผิวจะมันและเรียกว่าผลลางสาดจะเล็กกว่าลองกอง หากแกะเปลือกออกจะมียางสีขาว ๆ แต่ลองกองจะไม่มียาง

ประโยชน์จากลองกอง
o ประโยชน์ ลองกองเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินบีและฟอสฟอรัส มีสรรพคุณ ในการลดความร้อนที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย การทานลองกองเป็นประจำ จะช่วยป้องกันอาการร้อนในภายในช่องปากได้ด้วยลองกอง (Long Kong) ชื่อวิทยาศาสตร์Aglaia Dookkou Griff. Family :Meliaceae
ลองกอง เป็นผลไม้ในสกุลเดียวกับลางสาดและดูกู มีถิ่นกำเนิดที่หมู่เกาะมลายู อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และตอนใต้ของไทย ลองกองเป็นผลผลิตที่ให้คุณภาพดีกว่าลางสาดและดูกู มีเมล็ดน้อยหรืออาจจะไม่มีเมล็ด

ลองกองแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ
1. ลองกองแห้ง ผลสุกเนื้อใสเป็นแก้ว เนื้อแห้ง หวาน มีกลิ่นหอม ส่วนเปลือกหนามีสีเหลืองคล้ำและไม่มียาง
2. ลองกองน้ำ ผลสุกเนื้อค่อนข้างฉ่ำน้ำ สีเปลือกเหลืองสว่างกว่า
3. ลองกองปาลาแมหรือลองกองแปร์แมร์ ผลสุกเนื้อนิ่ม กลิ่นไม่หอมเหมือนลองกองน้ำ เปลือกบางและมียางเล็กน้อย




หน้าถัดไป (2/6) หน้าถัดไป


Content ©