-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 462 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ลางสาด




หน้า: 2/3



                         ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อลางสาด-ลองกอง
 

   1. เรียกใบอ่อน
               
      ทางใบ :               
    - ให้น้ำ 100 ล. + 25-5-5 (200 กรัม) หรือ 46-0-0 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1 รอบต่อการเรียกใบอ่อน 1 ชุด  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :               
    - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง +  25-7-7 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
    - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน               

      หมายเหตุ :               
    - ลงมือปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่งและตัดแต่งรากเสร็จ               
    - ต้นที่สะสมความสมบูรณ์เต็มที่มานานหลายปีติดต่อกัน และช่วงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวเมื่อรุ่นที่ผ่านมาบำรุงทางรากด้วย 8-24-24   เมื่อถึงรุ่นปัจจุบันหลังจากใบอ่อนชุดแรกเริ่มแผ่กางแล้วอาจจะข้ามขั้นตอนการบำรุงไปสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกได้เลย  โดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 ทั้งนี้ ฟอสฟอรัส.กับ โปแตสเซียม. ใน 8-24-24 นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่และสะสมตาดอกได้แล้วยังช่วยเปิดตาดอกได้อีกด้วย        

   2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่               
      ทางใบ :               
    - ให้น้ำ 100 + 20-20-20 (200 กรัม) หรือ 0-39-39 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :               
    - ให้น้ำตามปกติ  ทุก 2-3 วัน               

      หมายเหตุ :               
    - ลงมือปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้               
    - ใบอ่อนที่ออกมาแล้วหากปล่อยให้เป็นใบแก่เองตามธรรมชาติต้องใช้ระยะเวลา 30-45 วัน ซึ่งถือว่าค่อนข้างนาน  ดังนั้นจึงควรฉีดพ่นทางใบเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน
    - วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารและเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุด
    - สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย       

   3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก               
      ทางใบ :               
    - ให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน  ติดต่อกัน 2-3 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ติดต่อกัน 1-2  เดือน จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่ 
    - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน               
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :               
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
    - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน               

      หมายเหตุ :               
    - เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเพสลาด               
    - แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุด  ควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2 เดือน  โดยให้กลูโคสหรือนมสัตว์สดรอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุง  และให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน
    - วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นได้สะสมสารอาหารทั้งกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้นไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้  จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอก  ไม่มีการแตกใบอ่อนออกมาอีก ถ้าต้นแตกใบอ่อนออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่อีกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลา
     - ช่วงหน้าฝนหรือสวนยกร่องน้ำหล่อหรือพื้นที่ลุ่มปริมาณน้ำใต้ดินมากแนะนำให้บำรุงทางใบด้วยสูตรสะสมอาหารปกติโดยการให้ก่อนฝนตก 1 ชม.หรือให้ทันทีหลังฝนหยุดใบแห้ง ให้บ่อยๆได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งหรือช่วงระยะเวลาให้
    - เพื่อให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออดอกมากยิ่งขึ้น  แนะนำให้ใส่มูลค้างคาว 100-200 กรัม/ต้นทรงพุ่ม 5 ม. ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณชายพุ่มจะเป็นการดียิ่งขึ้น........ใช้มูลค้างคาวด้วยความระมัดระวังเพราะในมูลค้างคาวมีสารอาหารในการสร้างเมล็ดอาจมีผลกระทบช่วงบำรุงผลกลาง (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ)ได้
    - ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย  แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช.  ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง        

    4. ปรับ ซี/เอ็น เรโช               
       ทางใบ :               
     - ให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + กลูโคสผง 250 กรัม + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ระวังอย่าให้ลงพื้น
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
       ทางราก :               
       งดน้ำ  เปิดหน้าดินโคนต้น               

       หมายเหตุ :               
     - ลงมือปฏิบัติเมื่อสังเกตเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน               
     - ในเขตภาคใต้และภาคตะวันออกซึ่งมีฝนชุกหรือน้ำใต้ดินมากอาจต้องใช้ระยะเวลางดน้ำนาน 20-30 วัน  แต่ในเขตภาคอื่นที่ฝนน้อยและน้ำใต้ดินน้อยอาจใช้ระยะเวลางดน้ำเพียง 10-15 วันเท่านั้น....ขั้นตอน “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก”  แล้ว  “งดน้ำ”  สำหรับลองกอง-ลางสาดมีความจำเป็นต่อการออกดอกมาก
     - วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และ “ลด” ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น.)        

   5. เปิดตาดอก               
      ทางใบ :               
    - ในรอบ 7 วันให้น้ำ 100 ล.+ ไธโอยูเรีย (500 กรัม) หรือ  0-52-34 (500 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1 รอบกับให้น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี. + สาหร่ายทะเล 50 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  อีก 1 รอบ  ฉีดพ่นพอเปียกใบ                
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :                
    - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น               
    - ให้น้ำพอหน้าดินชื้นหรือพอให้ต้นได้รู้สึกตัว                

      หมายเหตุ :               
    - ตาดอกลองกอง-ลางสาดอยู่ที่ใต้ผิวเปลือกจึงไม่สามารถมองเห็นได้  การที่จะรู้ว่าต้นเกิดอาการอั้นตาดอกดีหรือยังหลังจากงดน้ำเต็มที่แล้วให้สังเกตใบ   ถ้าใบมีอาการสลดให้เห็น  3 วันติดต่อกันก็ให้ลงมือเปิดตาดอกได้
    - ดอกจะออกหรือไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณสารอาหาร (ซี. และ เอ็น.) ที่สะสมไว้เมื่อช่วงสะสมอาหารว่าเพียงพอหรือไม่                
    - อาจจะพิจารณาใส่ 8-24-24  (100-200 กรัม)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.อีก 1 รอบก็ได้ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นพอหน้าดินชื้นเพื่อเสริมของเก่าที่ใส่เมื่อช่วงสะสมอาหารและช่วงที่ปรับ ซี/เอ็น เรโช.
    - หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ               
    - หลังจากเปิดตาดอกแล้วดอกไม่ออก  ให้ย้อนกลับไปวิเคราะห์ขั้นตอนการบำรุง  “สะสมตาดอก – ปรับ ซี/เอ็น เรโช – เปิดตาดอก”  ว่าปฏิบัติถูกต้อง สม่ำเสมอ อาการตอบสนองจากต้น  ทุกขั้นตอนจัดว่าดีแล้ว  แต่ครั้นเปิดตาดอกกลับไม่ออก  ท่าทางเหมือน “ดื้อ หรือ นิ่ง”  กรณีนี้แก้ไขด้วยการให้  “โบรอน” เดี่ยวๆ
 โดยฉีดพ่นทางใบให้เปียกโชกลงถึงพื้น        

   6. บำรุงดอก               
      ทางใบ :               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม  100 ซีซี. + เอ็นเอเอ. 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรช่วงค่ำ ทุก 2-3 วัน                   
      ทางราก :               
    - ให้ 8-24-24 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.                 
    - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น                 
    - ให้น้ำพอหน้าดินชื้น               

      หมายเหตุ :                                                
    - ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็น (ก้านดอกยาว 1-2 ซม.)  หรือระยะดอกตูม  บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม  แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล               
    - ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.  1 รอบ  จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
    - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก  ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
    - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น  “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน”  โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก  ให้แบบเดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้               
    - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันโรคแมลงจนถึงช่วงดอกบาน
    - ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด  แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก.....มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก      

   7. บำรุงผลเล็ก               
      ทางใบ :               
    - ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นทางใบพอเปียกใบ               
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :               
    - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
    - นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นพร้อมกับเสริมยิบซั่มธรรมชาติ อัตรา 1 ใน 10 ส่วนของครั้งที่ใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน               
    - ให้น้ำแบบค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำทีละน้อยๆของการให้น้ำ 3-4 รอบเพื่อให้ต้นรู้ตัว
        
      หมายเหตุ :               
    - เริ่มบำรุงเมื่อผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือหลังกลีบดอกร่วง                      
    - นิสัยการออกดอกของ ลองกอง-ลางสาด คือ ออกแบบไม่เป็นรุ่น  แต่ละรุ่นอายุต่างกัน  วันที่ดอกแรกบานนั้นดอกสุดท้ายยังตูม แต่ดอกลองกอง-ลางสาดผสมกันเองในดอกได้ซึ่งไม่จำเป็นต้องรับการผสมจากต่างดอกหรือต่างต้น ดังนั้นจึงฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกได้เลยโดยไม่ต้องกังวลต่อดอกตูมหรือดอกบาน       

   8. บำรุงผลกลาง               
      ทางใบ :                
      ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม(100 ซีซี.) + ไคโตซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ               
      ทางราก :               
    - ให้น้ำหมักสูตรระเบิดเถิดเทิง +  21-7-14 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
    - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                

      หมายเหตุ                                   
    - วัตถุประสงค์เพื่อขยายขนาดผลและลดขนาดเมล็ด (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ)                 
     - ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก       

   9. บำรุงผลแก่               
      ทางใบ :               
    - ให้น้ำ 100 ล. + 0-0-50 (200 กรัม) หรือ  0-21-74  (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. หรือ น้ำ 100 ล. + มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                
      ทางราก :               
    - ให้ 8-24-24  (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.               
    - ให้น้ำเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด                
 
      หมายเหตุ :               
    - เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน                 
    - การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกัน  ซึ่งนอกจากหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตจนหมดต้นแล้วต้นไม่โทรมยังช่วยบำรุงผลรุ่นหลังต่อ และยังทำให้ต้นมีความสมบูรณ์พร้อมสำหรับให้ผลผลิตรุ่นปีต่อไปอีกด้วย 
                                         




หน้าก่อน หน้าก่อน (1/3) - หน้าถัดไป (3/3) หน้าถัดไป


Content ©