-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 317 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ปศุสัตว์9





นกแก้วโม่ง


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นกแก้วโม่ง
?
Psittacula eupatria.jpg


แก้วโม่ง
(Psittacula eupatria) เป็น
นกตระกูลนกแก้วขนาดเล็ก - กลาง ชื่อสามัญคือ Alexandrine Parakeet โดยชื่อนี้ เป็นการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแด่ กษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราช เมื่อครั้งยาตราทัพเข้ามาสู่ในทวีปเอเชีย โดยได้นำนกแก้วสายพันธุ์นี้กลับไปยังทวีปยุโรป


แก้วโม่งมีถิ่นกำเนิดแพร่กระจายทั่วไปในแถบทวีปเอเชีย ตั้งแต่ฝั่งตะวันตกและตะวันออกของ
อัฟกานิสถาน, ไล่ลงไปยังอินเดีย, อินโดจีน เช่น พม่า หรือ ประเทศไทยฝั่งตะวันตก รวมทั้งยังพบได้ตามหมู่เกาะในทะเลอันดามัน


แก้วโม่งมีความยาววัดจากหัวถึงปลายหางได้ราว 57-58 เซนติเมตร ลำตัวมีสีเขียว จงอยปากมีลักษณะงุ้มใหญ่สีแดงสด บริเวณหัวไหล่จะมีแถบสีแดงแต้มอยู่ทั้งสองข้าง นกเพศผู้และเมียสามารถแยกแยะได้เมื่อนกโตเต็มที่ กล่าวคือในเพศผู้จะปรากฏมีแถบขนสีดำและสีชมพูรอบคอที่เรียกกันว่า "Ring Neck" ซึ่งในนกเพศเมียไม่มีเส้นที่ปรากฏดังกล่าว


แก้วโม่ง มีสายพันธุ์ย่อยลงไปอีก 4 สายพันธุ์ คือ P.e. nipalensis พบมากใน Ceylon และทางใต้ของอินเดีย P.e. magnirostris พบในบริเวณหมู่เกาะอันดามัน P.e. avensis พบในเขตรัฐอัสสัม,พม่า P.e. siamensis พบได้ในภาคตะวันตกของประเทศไทย, ลาว, กัมพูชา และเวียตนาม


ความแตกต่างของแต่ละสายพันธุ์ย่อยนั้น อาจมีต่างกันเล็กน้อยในเรื่องของ ขนาด, ความยาว และสีสันที่ปรากบนลำตัว

อาหารของแก้วโม่ง ในธรรมชาติ ประกอบด้วย เมล็ดพืชต่าง ๆ ผลไม้หลากชนิด ใบไม้อ่อน ฯลฯ


แก้วโม่งจัดเป็นนกแก้วที่มีเสียงร้องค่อนข้างดัง และมักเลือกที่จะทำรังตามโพรงไม้ใหญ่ ๆ โดยใช้วิธีแทะหรือขุดโพรงไม้จำพวกไม้เนื้ออ่อน หรืออาจเลือกใช้โพรงไม้ที่เก่าต่าง ๆ โดยในฤดูผสมพันธุ์ซึ่งจะแตกต่างกันตามลักษณะสายพันธุ์ย่อย อันเกี่ยวเนื่องกับอุณหภูมิและสภาพทางภูมิศาสตร์ แต่โดยเฉลี่ยจะเริ่มจากเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงราวปลายเมษายน โดยในระหว่างฤดูผสมนี้เพศเมียจะค่อนข้างแสดงอาการดุ และกร้าวร้าวมากขึ้น

แก้วโม่งวางไข่ปีละครั้ง ครั้งละ 2-4 ฟอง


แก้วโม่งจัดเป็นนกแก้วที่นิยมนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ เพราะพบว่าเป็นนกแก้วที่มีความสามารถในการเลียนเสียงต่าง ๆ โดยเฉพาะเสียงมนุษย์ได้ดี ปัจจุบันนกแก้วโม่งจัดเป็นนกที่อยู่ในบัญชีคุ้มครอง 2 ของอนุสัญญาไซเตส รวมทั้งเป็นนกที่กฎหมายให้ความคุ้มครองในแต่ละประเทศด้วยเช่นกัน


แก้วโม่งเป็นนกที่ได้รับการนำมาเพาะพันธุ์โดยมนุษย์ประสบผลสำเร็จ ทำให้แนวทางในลดปัญหาจากลักลอบจับหรือล่านกแก้วโม่งป่า เพื่อการค้า มีแนวโน้มที่ดีขึ้น


สำหรับการเลี้ยงนกแก้วโม่งในครอบครองนั้น ผู้เลี้ยงควรต้องศึกษาในเรื่องของพฤติกรรมความเป็นอยู่, ลักษณะนิสัย รวมทั้งการจัดการด้านอาหารและสถานที่เลี้ยงให้ถูกต้อง เพราะการเลี้ยงนกที่ผิดไปจากธรรมชาติถิ่นที่อยู่เดิมนั้น ปัญหาประการหนึ่งก็คือ "ความเครียด" ของนก ดังนั้น การจัดหาความพร้อมทั้งสถานที่,อุปกรณ์ อาหารการกินที่เหมาะสม อาจช่วยให้นกได้รู้สึกมีความสุขและลดความเครียดลง รวมทั้งยังพร้อมที่จะตอบสนองต่อการเป็นนกในฐานะสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ได้อย่างมีความสุข และมีชีวิตที่ยืนยาวต่อไป





นกแก้วโม่ง  

สัตว์ปีก

Alexandrine Parakeet 
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Psittacula eupatria

ลักษณะทั่วไป
    
เป็นนกแก้วขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ลำตัวยาว 51 เซนติเมตร หางเล็กเรียวยาว ลำตัวสีเขียว จะงอยปากอวบอูม ปลายปากงุ้มลงสีแดง มีแถบสีแดงบริเวณหัวปีก นกตัวผู้มีแถบแดงเล็ก ๆ บริเวณคอด้านหลัง และมีแถบดำบริเวณคอด้านหน้า ซึ่งไม่มีในนกตัวเมีย ใต้หางสีเหลืองคล้ำ ใบหน้าและลำคอสีปนเหลือง
      

ถิ่นอาศัย, อาหาร
     พบในอินเดีย ชอบอยู่อาศัยบริเวณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่ารุ่น เขตแพร่กระจายสามารถพบเห็นได้ที่ พม่า อันดามัน ลาว อินโดจีน ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ยกเว้นภาคใต้
     นกแก้วโม่งชอบหาอาหารเป็นฝูงเล็ก ๆ อยู่บนต้นไม้ กินผลไม้ สามารถใช้ปากเกาะเกี่ยวเคลื่อนตัวไปตามกิ่งไม้ได้ดี

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
     หากินอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ นอนบนต้นไม้เป็นกลุ่มใหญ่ ส่งเสียงร้องกันระงม สามารถพูดได้เมื่อนำมาเลี้ยงให้เชื่อง เวลาบินจะบินเป็นฝูงเล็กๆ 8-10 ตัว ชอบเกาะตามยอดไม้
     นกแก้วโม่งผสมพันธุ์ระหว่างเดือน ธันวาคม - มีนาคม ทำรับอยู่ตามโพรงไม้ วางไข่ครั้งละ 2 - 4 ฟอง

สถานภาพปัจจุบัน
     เป็นนกประจำถิ่นที่หายาก จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

สถานที่ชม
      สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา
 



ผีนกแก้ว

         

เมื่อ นกแก้วที่บ้านผมพูด ชายคนหนึ่งถึงกับวิ่งกระเจิดกระเจิงคล้ายคลุ้มคลั่ง          หากคุณซื้อนกแก้วมาขังกรงเดียวดายไม่ดูแล  เค้าจะเครียดจนอาจป่วยเป็นโรคจิต  ถ่ายทอดความเครียดด้วยการถอนขนตัวเองจนเกลี้ยง   เพราะนกแก้วมีหัวคิดจิตใจ  ต้องการความรักและเอาใจใส่เหนือนกทั้งปวง           นกแก้วที่บ้านผมเป็นนกตัวผู้ขนาดใหญ่  สีเขียว  ปากแดง  หางสั้น สายพันธุ์ Eclectus ซึ่งมีชื่อเรื่องความฉลาด เป็นนกเพาะจากฟาร์ม เลี้ยงมาตั้งแต่ยังไม่มีขน  ผมตั้งชื่อว่า "แก้ว" ง่ายๆ อย่างนี้แหละ          แก้วเก่งทางด้านการแสดง เช่น ตีลังกา นอนหงายตัวแข็งเป็นนกตาย หยอดเหรียญใส่กระปุก เป็นเพื่อนออกกำลังกาย ช่วยซ่อมบ้านงานช่าง รื้อกล่องเก็บเครื่องมือ เค้าถนัดมาก          แต่เรื่องพูดนั้นไม่เอาไหนเลย แก้วถนัดพูดสองสามคำ ที่ชัดเจนมากคือคำว่า "ฮัล….โหลว"  เค้าพูดได้ชัดแจ๋วแหวว  ทั้งอ่อนหวาน เยือกเย็น ถ้าคุณไม่เห็นตัวอาจนึกว่าแม่นาคพระโขนงห้อยหัวพูดอยู่ข้างๆ หู          นิสัยนกแก้วทุกตัวจะเหมือนกันคือชอบพูดตอนง่วง ถ้าอยากฟังนกแก้วพูดต้องฟังตอนบ่าย ค่ำ  หัวรุ่ง  หรือขณะงัวเงียตื่นนอนใหม่ๆ

ตัวนี้แหละ ผีนกแก้วของผม ดูมอมแมมโลโซเพราะกำลังเล่นน้ำฝน  ปกติเค้าหล่อมาก

              ด้วยรู้ว่านกแก้วขี้เหงา  ต้องการความรักและเอาใจใส่  ผมจึงดัดแปลงทำกรงใหญ่หลังบ้านให้เขา ซื้อของเล่นให้เยอะแยะ  แก้วจะอยู่กรงใหญ่ตอนกลางวัน  ตกเย็นพาเข้าบ้าน  มีลานเล่นเอนกประสงค์ของตัวเอง  กินอาหารพร้อมสมาชิกในครอบครัว  และยังมีห้องนอนของตัวเองด้วย  แต่เนื่องจากพื้นที่จำกัด ผมจึงดัดแปลงห้องน้ำล่างซึ่งปกติไม่ได้ใช้งาน ทำเป็นห้องนอนนกแก้ว  ตกกลางคืนพาเค้าเข้านอน เอาผ้าสีขาวคลุมมิดชิด           วันหนึ่ง เพื่อนต่างจังหวัดที่ไม่ได้พบกันนาน  โทรศัพท์บอกว่าจะแวะมาเยี่ยม  เขาวางแผนเดินทางโดยรถทัวร์ ถึงกรุงเทพฯ ตีห้า  ผมบอกว่าดี  แต่ขี้เกียจตื่นไปรับเพราะเช้าเกิน    ขอให้นั่งแท็กซี่มาเอง นัดหมายเสร็จสรรพว่าจะซ่อนกุญแจเปิดบ้านไว้ในกระถางต้นไม้  ถ้าผมยังไม่ตื่นก็เปิดบ้านเข้ามาเลย อย่ากดกระดิ่งปลุกผมแต่เช้า    ไม่มีอะไรทำก็นั่งเล่นข้างล่าง อาบน้ำอาบท่าชงกาแฟกินไปก่อน            หัวรุ่งวันนั้น   เพื่อนผมมาถึงบ้านตรงเวลา และด้วยความเกรงใจ  เขาจึงเปิดประตูเข้าบ้านเงียบๆ ไม่ยอมเปิดไฟดูทีวี เขาคิดจะงีบสักพัก แต่นอนไม่หลับ จึงผลัดผ้า  นุ่งผ้าขนหนูเดินเข้าห้องน้ำ          ขณะกำลังปลดทุกข์  เขาก็เผชิญเรื่องเขย่าประสาท ขวัญหนีดีฝ่อที่สุดในชีวิต เพราะไปใช้ห้องน้ำที่เป็นห้องนอนของเจ้าแก้วตัวแสบ          ผมเดาเอาว่า เจ้าแก้วคงกำลังงัวเงียตื่นพอดี  มันคงได้ยินเสียงคนเดินเข้ามาในห้องน้ำ นั่งบนคอห่าน ทำกิจกรรมประกอบเสียงและกลิ่นที่ไม่คุ้นเคยอยู่ในความมืด แก้วคงพยายามชะเง้อมองว่าเป็นผมหรือเปล่า  เมื่อไม่รู้แน่  แก้วจึงทักทายเสียงยานคางว่า  "ฮัล……….โหลว….."          เพื่อนผมเล่าให้ฟังภายหลังว่า เขากำลังทำกิจกรรมด้วยความผ่อนคลาย  ห้องทั้งมืดและสงัด บรรยากาศออกจะชวนขนลุก อยู่ๆ ก็มีเสียงคนพูดช้าๆ เย็นยะเยือกข้างหู เขาสะดุ้งเฮือก หันขวับไปมองต้นเสียงด้วยความตกใจ  ตาโตเท่าไข่ห่านบนคอห่าน  หัวใจหล่นไปอยู่ที่ตาตุ่ม มนุษย์ล่องหนกำลังใช้ห้องน้ำร่วมกับเขา !          ไม่มีใคร  มีแต่ผ้าขาวพะเยิบๆ อยู่ข้างอ่างล้างหน้า  มองเห็นตะคุ่มในความมืด          และเมื่อ "ฮัล…โหลว…." ดังขึ้นเป็นครั้งที่สอง เพื่อนผมก็วิ่งกระเจิดกระเจิงผ้าผ่อนไม่นุ่ง ขึ้นมาชั้นบน ทุบประตูห้องนอนผมดังโครมๆ          พอรู้ความ ผมหัวเราะกลิ้ง รีบวิ่งมาดูเจ้าแก้ว ขวัญเอ๋ยขวัญมา คงใจหายใจคว่ำแต่เช้านะลูกพ่อเพื่อนผมเอาไปเล่าภายหลังว่าผีนกแก้วหลอก  ส่วนเจ้าแก้วคงคิดในใจว่าโดนเปรตมนุษย์โทงเทงหลอก**************************






แวะดู "นกแก้ว" ที่ฟาร์มโภคิน 


บนเนื้อที่กว่า 100 ไร่ใน ต.บางตลาด อ.คลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทรา ที่ถูกแปลงสภาพเป็นฟาร์มนกแก้วครบวงจร สัตว์เลี้ยงในดวงใจของอดีตรองนายกรัฐมนตรี "ดร.โภคิน พลกุล" ที่ถูกพัฒนาให้เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองแปดริ้ว


ฟาร์มนกแห่งนี้ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของน้องชาย "ศุภกร พลกุล" ภายใต้ชื่อ "สวนปาล์ม-ฟาร์มนก" เป็นฟาร์มที่มีมาตรฐานสูงสุดและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นฟาร์มที่รวบรวมนกแก้วจากทั่วโลกมากกว่า 70 สายพันธุ์ มีการเพาะเลี้ยงแบบครบวงจร ใช้เทคโนโลยีในการฟักที่ทันสมัย พร้อมห้องทดลองวิจัยควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์


 "ตอนนี้เรามีพ่อแม่นกกว่า 1,000 คู่ แต่ละคู่อยู่ในกรงพื้นที่ขนาดใหญ่ 5X6 เมตร สภาพแวดล้อมแบบธรรมชาติ เน้นความสะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น ทำให้พ่อแม่นกมีสุขภาพแข็งแรง ไม่แออัด สุขภาพจิตดีให้ลูกแข็งแรง ลูกนกที่เกิดมีประวัติพ่อแม่ที่ถูกต้อง มีห่วงรหัสตั้งแต่เกิด ได้รับอาหารเกรดเอ และชั่งน้ำหนักเพื่อควบคุมคุณภาพและการพัฒนาของลูกนกตามมาตรฐานสากล มีห้องฟักไข่และห้องอนุบาลลูกนกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ" ศุภกร พลกุล เจ้าของฟาร์มเผยรายละเอียด 


 เขาเผยอีกว่า นกในฟาร์มจะเป็นตระกูลมาคอว์ทั้งหมด ซึ่งมีทุกสายพันธุ์ที่มีอยู่ในโลกนี้ เหตุผลที่เลี้ยงนกชนิดนี้ก็เพราะเป็นนกที่เลี้ยงง่าย พูดเก่ง เป็นสัตว์ที่เชื่อง เป็นเพื่อนเล่นได้ ที่สำคัญมีภูมิต้านทานสูง ไม่เป็นโรคง่ายๆ เมื่อเปรียบเทียบกับนกหรือสัตว์ปีกชนิดอื่นๆ จะดีกว่ามาก เห็นได้จากที่ผ่านมาแม้จะมีโรคที่เกี่ยวกับสัตว์ปีกระบาด แต่ที่ฟาร์มกลับไม่มีปัญหาแต่อย่างใด 


 "นกต่างกับหมาและแมว เพราะมันพูดได้ นกแก้วมันพูดได้เป็นพันคำ คือตระกูลนกแก้วนี่จะพูดได้หมดไม่ว่าสายพันธุ์ใด แต่เราก็ต้องฝึกเขา แล้วก็ทำให้จิตใจเราอ่อนโยนเป็นรักสัตว์ อย่างนกแก้วนี่เป็นนกที่ฉลาดนะ มันรู้นะว่าใครจะมาทำอะไรกับมัน บางคนเข้าไปในกรงพวกมันบินหนีหมดเลย ขณะที่บางคนเข้าไปมันก็กรูกันเข้ามาหามาเกาะตามแขน ตามไหล่" เจ้าของฟาร์มคนเดิมเผย


สวนปาล์ม-ฟาร์มนกแห่งนี้ปัจจุบันเปิดบริการให้นักท่องเที่ยวที่สนใจเข้าไปสัมผัส ศึกษาเรียนรู้วงจรชีวิตของนกตระกูลนี้ได้อย่างเต็มที่ โดยวิทยากรคอยให้รายละเอียดในทุกขั้นตอน

สนใจเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะ ติดต่อได้ที่คุณณัฐยา ธารสวัสดิ์ ผู้จัดการฟาร์ม โทร.08-1372-1196 ได้ตลอดเวลา






นกแก้ว*****ATOO

นกแก้ว . 2544 (ออนไลน์) . เข้าถึงได้จาก :
http://pet.sundayplaza.com/fish/story/discus.htm

นกแก้ว*****ATOO
นกแก้วที่เรียกชื่อว่า "คอคคาทู"จัดว่าเป็นนกที่มีขนศรีษะตั้งเป็นยอดสูงเรียงหลั่นกันไปคล้ายหงอน ถือกันว่าเป็นนกที่มีรูปร่างสวยงามมาก อุปนิสัยของนกแก้วชนิดนี้ไม่ชอบอยู่ตัวเดียวอย่างโดดเดี่ยว เป็นมิตรกับคนได้ดี จงอยปากมีขนาดใหญ่และมีกำลังมากในการจิกแทะ ถิ่นกำเนิดของนกแก้วชนิดนี้ อยู่ในออสเตรเลียเพียงแห่งเดียว กล่าวกันว่านกแก้วชนิดนี้บางตัวมีอายุยืนถึง 100 ปี เช่นเดียวกับ นกแก้วพันธุ์ใหญ่ชนิดอื่น ๆ โดยทั่วไป
ลักษณะเด่นของนกแก้ว "คอดคาทู" คล้ายคลึงกับนก "หงส์หยก" มากเช่น การชอบอาบน้ำฉะนั้นผู้เลี้ยง ควรอาบน้ำให้นกทุกวันเพื่อทำให้นกร่าเริง และมีขนสวยงามสะดุดตา ชนิดของนกแก้วชนิดนี้แบ่งได้เป็น

GREAT SULPHUR-CRESTED *****ATOO (เกรท ซัลเฟอร์-เครสท์ คอคคาทู)
โดยทั่วไปแล้วสีของนกแก้ว คอคคาทูลำตัวจะมีสีขาว หรือสีเทาจนถึงสีเทาเข้ม ส่วนเจ้าเกรท ซัลเฟอร์-เครสท์ ตัวนี้ลำตัวเป็นสีขาวบนศรีษะหรือหงอนนั้นมีสีเหลืองคล้ายสีกำมะถัน จึงมีชื่อเรียกตามลักษณะว่า"หงอนเหลือง" บริเวณใต้คางและปีกก็มีสีเหลืองแต้มเป็นจุด ๆ ขนาดของลำตัววัดจากจงอยปากจนถึงปลายหางยาวประมาณ 20 นิ้ว ส่วนการผสมพันธุ์ของนกแก้วชนิดนี้ ต้องปล่อยให้ผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติอย่างอิสระ ไม่มีอะไร มารบกวน เป็นนกที่แข็งแรง กินอาหารเก่ง กล่าวกันว่านกแก้วชนิดนี้มีอายุยืนถึง138ปี อีกชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะเหมือนนกแก้วชนิดนี้มากคือเลซเซ่อร์ ซัลเฟอร์-เครสท์ (Lesser-Suphur-crested) จัดเป็นนกแก้วชนิดหงอนเหลืองเหมือนกันแต่มีขนาดเล็กกว่า โดยมีความยาวเพียง12นิ้วครึ่ง ผสมพันธุ์กัน ได้ง่ายนกทั้งสองชนิดตี้มีความสามารถฝึกสอนให้พูดได้

BLOODSTAINED *****ATOO (บลัดสเตนด์ คอคคาทู)
เป็นนกแก้วชนิดใหม่ที่เกิดจากการเพาะพันธุ์ในสวนสัตว์โดยแต่เดิมนั้นเป็นนกพื้น ๆ มีมีอยู่ในออสเตรเลีย เป็นนกที่ชาวไร่ชาวนาในเขตนั้นเกลียด เพราะชอบลงไปกินพืชไร่ของชาวนาชาวสวน เป็นนกที่มีสีขาวที่ใบหน้า ส่วนที่หัวและคอเป็นสีชมพูอมม่วง บริเวณปีและหางมีสีเหลืองเหลือบเรื่อ ๆ เป็นนกที่น่ารักและสามารถฝึกให้ พูดได้พอใช้

GANG GANG *****ATOO (กัง-กัง คอคคาทู)
เป็นนกแก้วชนิดใหม่อีกชนิดหนึ่งอีกชนิดหนึ่งว ที่ได้มาจากการเพาะผสมพันธุ์ในส่วนโวเบิน(Woburn)ซึ่งเป็น สวนธรรมชาติของอังกฤษ มีสีพื้นเป็นสีเทาทั้งเทาอ่อนและเทาแก่หลายชนิด หงอนมีสีแดงแต้มหลั่นกันไป เหนืออกมีสีแดงสลับขาวลักษณะเพศผู้และเพศเมียสังเกตุที่หงอน โดยนกเพศเมียหงอนเป็นสีเทาขนาดความ ยาวของนกโดยประมาณ14นิ้ว เป็นนกที่ร่าเริงแข็งแรง เป็นมิตรคบกับคนได้ดี แต่ไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงเพื่อ ฝึกสอนให้พูด เพราะนกพวกนี้ชอบส่งเสียงเจี้ยวจ้าวอวดผู้อื่นตลอดเวลา

LEADBEATERS *****ATOO (เลคบีทเตอร์ คอคคาทู)
เป็นนกแก้วที่มีสีขาวสะอาด และมีผู้นิยมเลี้ยงมากชนิดหนึ่ง ลำตีวสีขาวขนหงอนมีแถบสีเหลืองและแดงบริเวณ คอและใต้ปีก และส่วนใต้ของบริเวณอื่น ๆ มีสีม่วงอมชมพู ตัวเมียและตัวผู้มีลักษณะเหมือนกันมาก ขนาดความ ยาวของลำตัวประมาณ14นิ้ว จัดเป็นนกที่แข็งแรง สามารถผสมพันธุ์ได้ หากทำรังให้เป็นรูปกล่องลึกและใหญ่ ในที่ซึ่งกว้างขวางปราศจากสิ่งรบกวน สามารถฝึกสอนให้พูดได้เก่งและหลายคำกว่าคอคคาทูทุกชนิด

ROSEATE *****ATOO (โรซิเอท คอคคาทู)
จัดเป็นนกแก้วคอคคาทู ประเภทที่มีผู้นิยมเลี้ยงกันอย่างกว้างขวางมากกว่าคอดคาทูทุกชนิด ลักษณะโดยทั่วไป ตัวผู้จะมีสีเทาเหมือนบรินซ์อยู่ตอนบนของลำตัว บริเวณใต้หัวต่ำลงมาเป็นสีชมพูม่วง ขนหงอนเป็นสีขาวเรียง เป็นแถวแต่งแต้มด้วยสีชมพูเป็นจุด ๆ นกตัวเมียโดยทั่วไปขนบริเวณหงอนจะเป็นสีม่วงออกชมพูเข้ม และตา ส่วนหนึ่งเป็นสีน้ำตาลแดง ส่วนตัวผู้ตาสีดำสนิทเหมือนสีนิล สามารถเลี้ยงร่วมกับนกแก้วชนิดอื่นได้ เหมาะ อย่างยิ่งสำหรับนักเลี้ยงนกแก้วที่เริ่มเลี้ยงใหม่ ๆ ขนาดความยาวของลำตัวประมาณ14นิ้ว สามารถผสมพันธุ์ ได้ง่ายตามธรรมชาติ

SALMON-GCRESTED *****ATOO (แซลมอน-เครสท์ คอคคาทู)
เป็นนกแก้วคอคคาทูที่มีลำตัวสีขาว เว้นแต่หงอนเท่านั้นที่เป็นชมพูออกเนื้อปลาสด ลักษณะการสังเกตุว่านกตัว ผู้หรือตัวเมียนั้น สังเกตุได้จากม่านรอยตา โดยในนกตัวเมียจะเป็นสีน้ำตาลส่วนตกตัวผู้จะเป็นสีดำหรือสีเทา เกือบดำ ขนาดความยาวประมาณ20นิ้ว จัดเป็นนกแก้วที่มีนิสัยดี ว่านอนสอนง่ายมีนิสัยชอบส่งเสียงร้องดัง แสบแก้วหูมักผสมพันธุ์ได้โดยวิธีกระตุ้นจากนกคู่อื่น

SLENDER-BILLED *****ATOO (ซเลนเดอร์-บิลด์ คอคคาทู)
เป็นนกแก้วสีขาวที่สีสีแดงแต้มเป็นจุดอยู่ที่หน้าผากและเหนือบริเวณข้อพับของปีก ส่วนที่แก้มมีขนสีฟ้าแต้ม หัวและหน้าอกเรียงเหลือบด้วยสีชมพูม่วง บริเวณใต้หางใสีเหลืองกำมะถัน ขนาดของลำตัวยาวประมาณ18 นิ้วเหตุที่ยกชื่อนกแก้วชนิดนี้ว่า Slender-billed เป็นการเรียกตามลักษณะของจงอยปากที่ยาวกว่านกแก้ว ชนิดอื่น ๆ เพราะนกแก้วชนิดนี้ต้องใช้จงอยปากในการขุดรากไม้ หรือหัวผลไม้อื่น ๆ ในออสเตรเลียอันเป็น ถิ่นกำเนิดเดิมเป็นอาหาร เป็นนกที่แพร่หลายมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบชนบทของออสเตรเลีย








นกแก้วน่ารู้
 

นกแก้ว
   นกที่คนไทยชอบเลี้ยงมาแต่โบรานมีนกแก้วรวมอยู่ด้วย เพราะนกแก้วสามารถเลียนเสียงมนุษย์ได้ กล่าวกันว่ามันมีความจำดี เรียนรู้ได้เร็ว ถ้าพูดอะไรให้ฟังบ่อยๆก็สามารถพูดได้     กล่าวกันว่าเมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยกทับไปบุกอินเดียได้ทอดพระเนตรเห็นนกแก้วเข้า ก็ชอบพระทัยได้ทรงนำกลับยุโรปด้วยและในไม่ช้าก็เป็นที่นิยมมาก ด้วยเหตุนี้ในสมัยนั้นนกแก้วจึงมีราคาแพงมาก จึงได้มีการค้าขายนกแก้วทั้งในยุโรปและเอเชีย การที่คนเราชอบเลี้ยงนกแก้วนั้นเห็นจะเป็นเพราะเหตุ 4 ประการ
  1. นกรูปร่างงดงาม
  2. สามารถพูดเลียนภาษามนุษย์ได้
  3. เลี้ยงง่าย
  4. อายุยืน (ในเรื่อง Popular Pet Birds ของ R.P.N. Sinha กล่าวว่า นกแก้วมีอายุยืนมาก อาจอยู่ได้ถึง 70 ปี

มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Psittacus torquata แยกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้มากกว่า 500 ชนิด มีพื้นเพที่อยู่อาศัยตั้งเดิมอยู่ในป่าทึบ ในเขตร้อนของประเทศ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย หมู่เกาะมลายู แอฟริกา ทางใต้ของทิศ เหนือของอเมริกา อินเดีย นอกจากนี้แล้วยังพบทางแถบตะวันตกของอินเดียโดยทั่วไป นกในตระกูลนกแก้วนั้น มักมีความแตกต่างไปจากนกตระกูลอื่นอยู่อย่างหนึ่ง คือ จงอย ปากตอนบนของนกแก้วสามารถเคลื่อนไหวได้โดยไม่รวมกับหน้าผาก (ขากรรไกร) และมี ลักษณะเด่นได้แก่ ปากคมแข็ง จงอยปากงุ้มเข้าโคนใหญ่ปลายแหลมน่ากลัว เท้ามีนิ้วข้าง หลังสองนิ้วและข้างหน้าสองนิ้วทุกนิ้วมีเล็บที่แหลมคม สามารถใช้เท้าจับกิ่งไม้ได้เหนียว แน่น ปีนป่ายคันไม้ได้เก่งเป็นพิเศษ และในบางโอกาสยังสามารถจับฉีกอาหารได้ด้วย ปาก ส่วนใหญ่เป็นสีแดง ขนเป็นสีเขียว สามารถนำมาฝึกสอนให้พูดภาษาของมนุษย์ได้แทบทุก ชนิด สำหรับรังและที่อยู่อาศัยของนกแก้วโดยทั่วไปมักอยู่ตามในโพรงไม้ หรือโพรงหิน ไม่นิยมใช้วัสดุต่าง ๆ ทำรัง นกจากนกแก้ว เควเคอร์(Quaker Parrakeet) และ นกแก้ว อัฟเบริด์ (Lovebirds) นกแก้วทั้ง 2 ชนิดนี้ นิยมทำรังโดยใช้แขนงหรือกิ่งไม้เล็ก ๆ เศษ หญ้า เปลือกไม้โดยนำมาสานประกอบขึ้นเป็นรัง

ชนิดและพันธุ์นกแก้ว

  • ครอบครัวแพร์รัทส์ (Parrot)
  • พันธุ์คอคคาทู (*****atoos)
  • พันธุ์มาคอว์ (Macaws)
  • พันธุ์เลิฟเบิรด์ (Lovebird)
  • พันธุ์พาร์ราคีท (Parrakeets

ที่อยู่อาศัยและวิธีเลี้ยง

  1. เลี้ยงโดยให้เกาะอยู่บนคอน ขาตั้งและคอนสำหรับนกแก้วนั้น จะทำให้นกรู้สึกอิสระและออกกำลังกายได้สะดวก คอนควร ทำด้วยวัสดุเนื้อแข็ง ถ้าคอนเป็นไม้ปลายทั้งสองควรหุ้มด้วยโลหะ มิฉะนั้นนกจะฉีกแทะเล่น ในกรณีที่นกยังไม่เชื่องพอ ควรใช้กำไลสวมข้อเท้าซึ่งติดกับโซ่สวมไว้ก่อน และควรขลิบปีก เสียข้างหนึ่งเพื่อป้องกันนกบินหนี บริเวณขนที่จะต้องตัดออกคือขนปีกชั้นที่ 1 ทั้ง 5 โดย ขลิบออกประมาณ 1 นิ้ว
  2. เลี้ยงด้วยกรงภายใน ในกรณีที่นกแก้วเป็นนกรูปร่างเล็ก ขนาดของกรงโดยทั่วไปแล้วไม่ควรมีขนาดกว้างสูง ต่ำ กว่า 2x3 ฟุต ขนาดของกรงนั้นจะเหมาะสมกับนกหรือไม่สังเกตุได้จากเมื่อนกเกาะอยู่กลาง กรง หากนกมีโอกาสกางปีกออกได้สะดวก โดยไม่ติดกับกรงหรือคอน ก็จัดได้ว่ามีความพอดี
  3. เลี้ยงด้วยกรงภายนอก การเลี้ยงนกแก้วด้วยกรงภายนอกนั้นเป็นการดียิ่งสำหรับสุขภาพนก เพราะนกได้อยู่กับสิ่งแวด ล้อมคล้ายกับถิ่นเดิม อากาศโปร่งบริสุทธิ์ นกออกกำลังกายได้ตลอดเวลาแต่ต้องคำนึงถึงแสง แดดและฝน อย่าให้โดนมากเกินไป อาหารทั่วไปสำหรับเลี้ยงนกแยกออกเป็นชนิดต่างๆได้ดังนี้
    1. เมล็ดข้าวชนิดต่างๆ ซึ่งมีส่วนผสมของเมล็ดทานตะวัน, ข้าวโอ๊ท, ข้าวสาลี, เมล็ดกัญชา, เมล็ดข้าวโพด, ถั่วลิสง, และเมล็ดข้าวอื่นๆที่กระเทาะเปลือกแล้ว
    2. ผลไม้ต่างๆ เช่น แอ๊ปเปิ้ล, กล้วย, องุ่น, ส้ม และผมไม้มุกชนิด
    3. อาหารจำพวกผักสด เช่น หัวมันเทศ, หัวผักกาด, หัวแคร์รอท, ผักโขม, หรือผักจำพวกกระหล่ำปลี, และผักในสวนครัวชนิดอื่นๆ
    4. กระดองปลาหมึก, ทราย
นกคอนัวร์
ประวัติความเป็นมา
คอนัวร์ (Conure) เป็นนกที่มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบลาตินอเมริกา จากแม็กซิโกลงมาถึง หมู่เกาะคาริบเบียนและชิลีใต้ คอนัวร์พันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดคือ พาทาโกเนี่ยน มีความยาวประมาณ 17.5 นิ้ว และคอนัวร์พันธุ์ที่เล็กที่สุดคือ เพ้นท์เท็ต มีความยาวประมาณ 8.5 นิ้ว คอนัวร์มาจากภูมิอากาศหลากหลาย ภูมิประเทศหลายแบบ จากทุ่งหญ้าแถบซาแวนนา (เป็นทุ่งหญ้าในเขตมรสุมของอเมริกา) จนถึงที่ป่าในเขตร้อนชื้นและบริเวณภูเขาที่มีอากาศค่อนข้างเย็น คอนัวร์เป็นนกที่รักความสงบและอยู่กันเป็นฝูงใหญ่ คำว่า conure (คอนัวร์) มาจากคำว่า Conurus (คอนูรัส) และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Aratinga "อาราทิงก้า" รังของคอนัวร์ในป่าตามธรรมชาติมักจะอยู่ตามหน้าผาหินทราย (sandstone cliff) หรือบางทีก็จะอาศัยอยู่บนต้นไม้ที่มีโพรง เพราะเหตุจากสีสันอันสดใสของ Sun conure และ Jenday จึงเป็นแรงกระตุ้นให้นักเลี้ยงนกนำคอนัวร์สองพันธุ์นี้เข้ามาเพาะเลี้ยงในประเทศอเมริกา Sun เป็นคอนัวร์พันธุ์แรกที่ถูกนำเข้ามาในสหรัฐอเมริกา เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1960 และเริ่มถูกขยายพันธุ์นำออกขายเป็นสัตว์เลี้ยง เมื่อปี ค.ศ. 1980 หลังจากนั้นไม่นาน Jenday ก็ตามเข้ามา ต่อมาการเพาะพันธุ์นกคอนัวร์ก็เริ่มมากชนิดขึ้น ซึ่งเกิดผลดีทั้งกับตัวนกและเจ้าของเอง เพราะนกที่ถูกจับมาจากธรรมชาติก็น้อยลง ทำให้เราไม่ต้องห่วงเรื่องการสูญพันธุ์ของนก ถึงแม้ว่าในปี ค.ศ. 1980 ยังมีการจับนกจากป่ามาขายเป็นเรื่องธรรมดา แต่นกจากฟาร์มที่ถูกนำมาขายเป็นสัตว์เลี้ยงก็แพร่หลายมากขึ้น นกที่มาจากฟาร์มเพาะเหมาะที่จะนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงมากกว่านกที่มาจากป่า เพราะมันแข็งแรงก่าและสภาพจิตใจก็พร้อมกว่า


สายพันธุ์

นกแก้วแบ่งออกเป็น 6 พันธุ์ใหญ่ ๆ นกคอนัวร์เป็นหนึ่งในนั้น และแบ่งเป็นพันธุ์ย่อย ๆ ในคอนัวร์อีกถึง 100 พันธุ์ ผู้ผสมบางรายเชื่อว่านกคอนัวร์และนกแก้วพันธุ์มาคอร์เกี่ยวดองกันอย่างใกล้ชิด ชื่อตระกูล (ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของนกคอนัวร์) แปลว่า Little macaw ระหว่างนกคอนัวร์และนกแก้วมาคอร์ มีความคล้ายคลึงกันทางด้านรูปร่าง ลักษณะ ดังนี้คือ รูปร่าง สีขนมีสีสดใส หางยาว คอนัวร์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Aratinga และ Aratinga Pyrrhura โดย อาราทิงก้า จะมีสีสันสดใส เช่น สีเขียว สีแดง ที่ดูมีชีวิตชีวา ส่วน Pyrrhura จะมีสีสันที่เข็มขึ้น เช่น เขียวแก่ น้ำตาล แดงเข้ม และ Aratinga จะไม่มีสีอ่อน ๆ ที่ขึ้นอยู่ตามอกหรือคอ และแก้มอย่างที่ Pyrrhura มี


นกคอนัวร์แบบต่าง ๆ ได้แก่
  • Jenday conure (Aratinga Janday)

    เกือบจะมีสีสดใสเท่า Sun conure สำหรับ Jenday เป็นนกที่น่ามอง มีมีลักษณะเด่นตรงตัวสีเหลืองสัม ปีกมีสีเขียว และตรงปลายปีกมีสีคราม รอบตามีสีขาว ปากมีสีดำ และตรงส่วนเท้ามีสีเทา เจนเดย์เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวประมาณ 12 นิ้ว และหนักประมาณ 5 ออนซ์ (1 ออนซ์ = 0.028 กิโลกรัม) เจนเดย์ไม่ได้ถูกนำออกจากประเทศบราซิลตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งถือเป็นถิ่นกำเนิดเข้าสู่สหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 15 ปี แล้ว เนื่องจากผู้เพาะพันธุ์เจนเดย์ในสหรัฐอเมริกา เพราะพันธุ์เจนเดย์ออกจำหน่ายเป็นสัตว์เลี้ยงได้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ถึงแม้ว่าเจนเดย์ค่อนข้างมีเสียงที่ดัง แต่ก็มีนิสัยอยากรู้อยากเห็น และชอบเล่นผาดโผน ซึ่งทำให้เป็นเสน่ห์ของตัวมันเอง

    ลักษณะของบลูคราวน์เป็นไปตามชื่อของมันคือ มีสีฟ้าตามสาวนหัวและหน้าสีฟ้านี้จะจัดขึ้นตามอายุของนก ขนตามช่วงลำตัวมีสีเขียวและสีเหลืองเขียวจะปรากฏอยู่บริเวณใต้ปีก ส่วนหางจะมีสีแดงอ่อน ๆ ประปราย บลูคราวน์มีผิวหนังรอบดวงตาเป็นสีขาว เท่าสีอมชมพู เมื่อนกโตเต็มที่จะมีความยาวประมาณ 15 นิ้ว และมีน้ำหนักประมาณ 7 ออนซ์

    บลูคราวน์ถูกนำมาครั้งแรกในประเทศอังกฤษช่วงปี ค.ศ. 1970 คอนัวร์พันธุ์นี้พบมากในอเมริกาใต้ จากเวเนซูเอล่ามาจนถึงอเจนติน่า และ เนื่องจากบลูคราวน์มีหางที่มีลักษณะที่แหลมยาว ทำให้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Sharp-tailed คอนัวร์พันธุ์นี้มีเสียงที่ค่อนข้างดัง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนกมีอาการตื่นเต้นหรือตกใจ) แต่โดยทั่วไปจะเป็นนกที่รักความสงบสามารถสอนให้พูดได้และมีนิสัยที่เป็นมิตรถือเป็นสัตว์เลี้ยงที่น่ารักที่เดียว คอนัวร์พันธุ์นี้ได้ถูกนำมาแสดงในภาพยนตร์เรื่อง Paulie, 1998
    Black-capped conure/Rock conure (Pyrrhura Rupicola)

    คอนัวร์พันธุ์นี้จะไม่ค่อยได้พบเห็นตามท้องตลาดสักเท่าไร่ ลักษณะลำตัวจะมีสีเขียว ส่วนหัวและหน้าจะมีสีน้ำตาลดำ ปลายปีกมีริมสีแดง มีความยาวประมาณ 10 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 3 ออนซ์ มีลักษณะนิสัยเหมาะที่จะนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง Black-capped จะมีอุปนิสัยและลักษณะที่คล้ายคลึงกับ Maroon-bellied และ Green-cheeked และเคยพบว่าสามารถสอนให้พูดได้ถึง 50 คำ

    พันธุ์นี้จะมีเหลืองอร่ามทั้งตัว จงอยปากมีสีเนื้อ ลักษณะหางสั้น ลูกนกพันธุ์นี้จะมีสีเหลืองผสมเขียวประปราย ลูกป้อนจะเชื่อง ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและมีนิสัยชอบที่จะอยู่ติดกับเจ้าของ ถือเป็นนกที่ฉลาดทีเดียว

    เพ้นท์เท็ด คอนัวร์ ถือเป็นน้องเล็กของตระกูลคอนัวร์ ด้วยขนาดความยาวเพียง 9 นิ้ว และเนื่องจากเป็นนกที่อยู่ในสายพันธุ์ Pyrrhura จึงเป็นนกที่ค่อนข้างที่จะรักความสงบ เมื่อเทียบกับคอนัวร์ในสายพันธุ์ Aratinga เพ้นท์เท็ดจัดเป็นนกคอนัวร์ที่มีความสวยงามทีเดียว มีสีเขียวเป็นส่วนใหญ่ และดูเหมือนถูกระบายสีรุ้งไว้บนตามลำตัวดังชื่อของมัน "เพ้นท์เท็ด" จากลำคอถึงช่วงหน้าอกของนกจะมีสีเขียวเข้มและค่อย ๆ ไล่ลงมาเป็นสีเหลือง ส่วนบริเวณหัวและต้นคอมีสีน้ำตาลประปรายไปด้วยสีขาว บริเวณโหนกของหัว แก้ม และคอจะมีสีฟ้า ส่วนโค้งของปีกจะมีสีแดงและ สีเลือดนกจะปรากฏตามแก้มส่วนบน ท้ายลำตัว ท้อง และส่วนบนของหาง คอนัวร์พันธุ์นี้มีปากและเท้าสีดำ ไม่ค่อยพบตามท้องตลาด ถือเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีเสน่ห์ดึงดูใจเลยทีเดียว

    พาทาโกเนี่ยน ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นคอนัวร์ที่มีลักษณะใหญ่ที่สุดในสายของนกพันธุ์คอนัวร์ มีสีน้ำตาลผสมสีเขียวเข้ม และมีสีขาวบริเวณช่วงอกด้านบน ส่วนท้องจะมีสีเหลืองสดและแดง ช่วงขาจะมีสีแดง ช่วงปีกและหางจะมีสีฟ้าขอบตาสีขาว จงอยปากสีดำ ส่วนเท้าจะมีสีออกไปทางชมพู จะพบค่อนข้างมากในประเทศชิลีและอเจนติน่า หลายครั้งพบว่านกพันธุ์นี้ไม่ชอบกินอาหารที่มีลักษณะนิ่ม เช่น ผักและผลไม้บางชนิด พาทาโกเนี่ยนมีเสียงดังและเช่นเดียวกับคอนัวร์พันธุ์อื่น ๆ ลูกป้อนมักจะมีนิสัยติดเจ้าของและสามารถเลียนเสียงพูดได้ค่อนข้างดี คอนัวร์พันธุ์นี้จำเป็นจะต้องมีกรงที่ใหญ่พอสมควร เนื่องจากขนาดของตัวใหญ่ถึง 17.5 - 18 นิ้ว และมีน้ำหนักตัวถึง ? ปอนด์ เลยทีเดียว


    ซัน คอนัวร์ ถูกขนานนามว่าเป็น Cardillac ในหมู่นกคอนัวร์ เพราะความปรอดเปรื่องและสีสันที่มีความสดใส ซัน คอนัวร์ ลำตัวของซันจะมีสีส้มอมเหลืองและสีแดง ตรงส่วนปลายปีกจะมีสีเขียวคราม ส่วนตอนเด็กจะมีสีเขียวประปรายตามปีกจนกว่าจะผลัดขนครั้งแรกถึงจะเริ่มมี สีเหลืองส้มมากขึ้น เมื่อโตเต็มที่สีปากจะเป็นสีดำ รอบดวงตาจะมีสีขาว และส่วนตรงเท้าจะมีสีเทา ความยาวของลำตัวตั้งแต่จงอยปากไปจนถึงปลาหางจะยาวประมาณ 12 นิ้ว และมีน้ำหนักประมาณ 7.5 ออนซ์ ซันจะพบมากในป่าของประเทศกิอานา (Guyana) จนถึงประเทศบราซิลตะวันออกเฉียงเหนือ และก็ถูกนำมาเพาะเลี้ยงในอเมริกาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ซัน ที่ถูกนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงขึ้นชื่อสำหรับความพึงพอใจของมันที่จะอยู่กับเจ้าของ และเล่นกับเจ้าของเป็นเวลานานหลายชั่วโมง ซันมักจะชอบที่นั่งอยู่บนไหล่ของเจ้าของและอาจส่งเสียงดังได้ ถ้าไม่ได้รับความ สนใจ ซัน เป็นนกที่ชอบความใกล้ชิดและต้องการความรักและมันยังถือเป็นสัตว์เลี้ยงที่น่ารักมากทีเดียว

    นกแก้วหายาก
    รัฐบาลออสเตรเลีย ห้ามการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อปกป้องนกแก้วพันธุ์หายาก

    ออสเตรเลียก็เหมือนกับหลายๆ ประเทศทั่วโลก ที่กำลังพยายามจัดสรรให้มีการปกป้องสิ่งแวดล้อม ไปพร้อมๆ กับการกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

    แต่ล่าสุดการตัดสินใจของรัฐบาลออสเตรเลีย ที่ห้ามตัดไม้ทำลายป่าเพื่อปกป้องนกแก้วพันธ์หายาก ได้ก่อให้เกิดข้อถกเถียงว่า เป็นมาตรการที่ทำให้คนงานหลายร้อยคนต้องตกงาน

    นกแก้วพันธุ์พิเศษซึ่งมีสีสันเขียวสดสวยงาม และมักจะพบในบริเวณป่าทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ของออสเตรเลีย กำลังถูกคุกคามจากการถางป่าประกอบกับไม่มีการปลูกป่าใหม่ๆ ทำให้พื้นที่พำนักอาศัยของนกแก้วหายากชนิดนี้ ลดน้อยลงเรื่อยๆ

    รัฐบาลออสเตรเลียประสงค์จะปกป้องนกแก้วพันธุ์นี้ไว้ จึงประกาศมาตรการห้ามตัดไม้ทำลายป่า บริเวณพื้นที่ป่าชายเลนใกล้เมือง Deniliquin ในรัฐ New South Wales ห่างจากนครซิดนีย์ลงไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 725 กิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญในการผสมพันธ์ของนกแก้วพิเศษพันธุ์นี้ แต่มาตรการดังกล่าว ก่อให้เกิดกระแสความขุ่นเคืองในอุตสาหกรรมการทำไม้ รวมทั้งรัฐบาลท้องถิ่นรัฐ New South Wales ซึ่งเกรงว่าการตัดสินใจของรัฐบาลออสเตรเลียครั้งนี้ จะเป็นการทำลายเศรษฐกิจส่วนท้องถิ่นได้

    อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมออสเตรเลีย Peter Garrett ยืนยันที่จะใช้มาตรการห้ามตัดไม้ต่อไป และจะพยายามอธิบายเหตุผลให้บรรดาผู้ต่อต้านได้เข้าใจ

    รัฐมนตรี Garrett กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่สุด คือการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างรวดเร็วที่สุด ทั้งเรื่องการปกป้องไม่ให้มีคนตกงาน และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ล้วนมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน และว่ารัฐบาลมั่นใจว่าจะสามารถรักษาความสมดุลของทั้งสองเรื่องนี้ได้แน่นอน อย่างไรก็ตาม ในภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยเช่นนี้ การพยายามทำให้บรรดานักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพออกพอใจ พร้อมๆ กับการปกป้องการจ้างงานไปด้วยนั้น ดูจะเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลยสำหรับรัฐบาลออสเตรเลีย ซึ่งปัญหานี้คือสิ่งที่หลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจนหรือรวยกำลังเผชิญอยู่เช่นกัน

    ผู้ที่ต่อต้านมาตรการห้ามตัดไม้ให้เหตุผลว่า นกแก้วพันธุ์พิเศษทำรังอยู่บนต้นไม้ ตามแนวขอบชายป่า และการทำไม้ก็มิได้รบกวนพื้นที่พักอาศัยของนกแก้วเหล่านั้น แต่อย่างใด ในขณะที่คุณ Greg Hunt โฆษกสิ่งแวดล้อมของฝ่ายค้านกล่าวว่า การปกป้องตำแหน่งงานคือภารกิจหลักอันดับแรกที่รัฐบาลควรกระทำ

    คุณ Hunt เปิดเผยว่า ในเว็บไซต์ของทางการออสเตรเลียระบุไว้ว่า นกแก้วพันธุ์นี้ มีจำนวนมากมายนับพันนับหมื่นตัว และถูกจัดอยู่ในหมวดรองสุดท้าย ของสายพันธุ์สัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ดังนั้นการที่รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมออสเตรเลีย กำลังพยายามนำงาน 1 พันตำแหน่งไปแลกกับสุขภาพจิตของนกแก้วนั้น จึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ในขณะที่เจ้าหน้าที่ป่าไม้เตือนว่า มาตรการห้ามตัดไม้ของรัฐบาลจะส่งผลให้โรงเลื่อย 11 แห่งต้องปิดตัวลง และจะทำให้อุตสาหกรรมการทำไม้ในแถบนี้ต้องล่มสลาย คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียต่อเศรษฐกิจส่วนท้องถิ่นถึง 100 ล้านดอลล่าร์

    อย่างไรก็ตาม ทางด้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมระบุว่า ปัจจุบัน มีนกแก้วพันธุ์พิเศษน้อยกว่า 5 พันคู่เหลืออยู่ในป่า และนับว่าเป็นสายพันธุ์สัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ชนิดหนึ่งของออสเตรเลีย 

    ป้าย : นกแก้วน่ารู้
    Dictionary :
    นกแก้วน่ารู้

    นกมาคอว์ ไฮยาซิน..นกแก้ว ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
    นกไฮยาซิน นกมาคอว์


    ไฮยาซิน..นกมาคอว์ คู่ผัวเมียราคากว่าล้านบาท 


              นกแก้วมาคอว์สีน้ำเงิน  หรือนกไฮยาซิน  เป็นนกแก้วขนาดใหญ่ที่สุดในโลก สนนราคาขายกันในตลาด ตัวละ 450,000-500,000 บาท หากขายเป็นคู่ไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านบาท ส่วนไข่ต่างชาติขายใบละแสน...

              นกแก้วมาคอว์ สีน้ำเงิน Hyacinthine Macaw Anodorhynchus hyacinthinus หรือ นกไฮยาซิน เป็นมาคอว์ 1 ใน 16 พันธุ์ของนกปากขอ และเป็นนกแก้วขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาดความยาวตั้งแต่หัวไปถึงปลายหางประมาณ 100 เซนติเมตร หรือตั้งแต่ 32-35 นิ้ว น้ำหนักเมื่อโตเต็มวัยประมาณ 7-9 ขีด

              ลำตัวเป็นสีน้ำเงินอมม่วง ข้อพับบริเวณปีกทั้งสองข้างสีเหลือง ขาทั้งสองข้างสีดำ รอบ ๆ ปากมีสีเหลือง ปากแข็งแรงและงองุ้มสีดำ มีฟันเล็ก ๆ คล้ายเลื่อย สามารถขบกัดลวดขนาดเล็กให้ขาดได้ มีเสียงร้องที่ดังมาก จะงอยปาก จะใหญ่เป็นพิเศษ ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะคล้ายกันมากแต่เพศผู้ใหญ่กว่า

              อุปนิสัยชอบอยู่กันเป็นฝูง รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ในฤดูผสมพันธุ์จะจับคู่กันแบบคู่ใครคู่มัน และไปสร้างรังตามต้นไม้ใหญ่ วางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 30-35 วัน ขนของ ลูกนกจะขึ้นหลังจาก 3 สัปดาห์ และขึ้น จนเต็มตัวกระทั่งมีสีสันสวยงาม

              ลูกนกจะแข็งแรงเต็มที่ เมื่ออายุ 90 วัน ในระหว่างที่ยังเล็กต้องอาศัยอาหารจากแม่นกที่นำมาป้อน โดยจะใช้ปากจิกกินอาหารจากปากแม่ของมัน จนกระทั่งลูกนกสามารถช่วยตนเองได้และในที่สุดมันก็จะบินและหาอาหารเองโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่



              ถิ่นกำเนิดอยู่ใน แอฟริกาใต้ เม็กซิโก และอเมริกาใต้ ปัจจุบันใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว ทั่วโลก มีไม่ถึง 5,000 ตัว ทำให้หลาย ๆ ประเทศ รวมทั้งคนไทยไปนำมาเพาะเลี้ยงไว้เพื่อจำหน่าย

              สำหรับการเพาะเลี้ยงในกรงนั้น ผู้เลี้ยงจะต้องคิดพิจารณาเสียก่อนว่าจะเลี้ยงในบ้านหรือในกรงขนาดใหญ่ปะปนกับนกชนิดอื่นๆ โดยปกติมักนิยมเลี้ยงกรงละหนึ่งตัวดีกว่าปล่อยรวม ขนาดของกรงควรมีขนาดสูง 3 ฟุต ยาวด้านละ 2 ฟุต ใช้กรงเหล็กเพื่อป้องกันการกัดแทะ ซี่กรงความถี่พอประมาณไม่ให้นกยื่นอวัยวะออกมาข้างนอกได้

              ผู้เลี้ยงต้องอาบน้ำให้มันเป็นประจำ ควรใช้น้ำจากฝักบัวรด ในฤดูฝนควรอาบน้ำกลางแจ้ง เพื่อให้อาบน้ำฝนบ้าง แล้วควรนำมาไว้ในที่มีแดดอ่อนๆ และอากาศบริสุทธิ์ ของเล่นภายในกรงไม่ว่าจะเป็นลูก ตุ้ม กระดิ่ง กระจกเงา และวัสดุใดๆที่ทำให้นกเกิดความเพลิดเพลิน วัสดุเหล่านี้ ควรทำด้วยเหล็ก เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายได้ง่าย...

              นอกจากของเล่นยังต้องมีภาชนะสำหรับใส่อาหารและน้ำ ภาชนะพวกนี้ควรทำด้วยเหล็ก ส่วนที่เกาะควรใช้กิ่งไม้ที่ไม่ทาสีมาทำเป็นคอนให้นกเกาะเหมือนธรรมชาติ



              นกสายพันธุ์ไฮยาซิน...เป็นนกที่ฉลาดและน่ารัก มีประสาทตาไวมาก หากเจ้าของเอาใจใส่มันก็รักเราเหมือนที่เรารักมัน สามารถสอนให้เล่นจักรยาน หรือกิจกรรมต่าง ๆ ได้ แต่ต้องหมั่นฝึกฝน

              ในยามที่มันมีอารมณ์อ่อนหวาน ...มักเข้ามาอยู่ใกล้ๆคลอเคลียกับเจ้าของก็จะดูแล้วน่ารักดี หากยามที่มันโกรธหรือไม่พอใจใคร จะตรงเข้าไปจิกกัดทันที...

              เมื่อเลี้ยงกระทั่งโตเต็มวัยแล้ว สนนราคาขายกันในตลาดตั้งแต่ ตัวละ 450,000-500,000 บาท หากขายเป็นคู่ไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านบาท ส่วนไข่ชาวต่างชาติ เช่น ไต้หวัน สิงคโปร์ ซื้อขายกันที่ใบละแสนเลยทีเดียว...

              ...โอ้โห...!! ใครทำแตกซักใบ...ลมใส่แน่นอน...!!




    ที่มา : ไทยรัฐ







  • วิตามิน A มีประโยชน์ต่อนกแก้วอย่างไร...
    วิตามิน A ถือเป็นหนึ่งในวิตามินสำคัญที่นกควรได้รับในอาหารอย่างสม่ำเสมอ วิตามิน A นอกจากจะช่วยให้นกแก้วมีสายตา ผิวหนัง และขนที่สดใสสวยงามอยู่เสมอแล้ว ยังช่วยให้ผนังเยื่อบุด้านในของทางเดินหายใจ ทางเดินอาหารและทางเดินสืบพันธุ์สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ ส่งผลให้อัตราการผสมติดสูง ไข่สมบูรณ์และลูกนกแข็งแรง นกแก้วอเมซอนถือเป็นนกที่หากได้รับวิตามิน A ปริมาณไม่เพียงพอ จะส่งผลกระทบต่อร่างกายมากกว่านกแก้วชนิดอื่น วิตามิน A มีมากในน้ำมันตับปลา, ตับต้มสุก, ไข่แดง, แครอท, ข้าวโพด, ผักขม, บร๊อคเคอรี่, มันเทศ ส่วนเมล็ดพืชถือว่ามีวิตามิน A อยู่น้อยมาก

    สมาคมสัตวแพทย์แห่งสหรัฐอเมริการะบุว่านกแก้ว (Parrots) ควรได้รับวิตามิน A วันละประมาณ 8,000 หน่วย (IU) ในขณะที่มนุษย์ต้องการวันละประมาณ 5,000 หน่วยเท่านั้น
    การขาดวิตามิน A จะแสดงออกมาภายในเวลา 2-5 เดือน โดยอวัยวะที่ได้รับผลกระทบคือตับ ถ้าเป็นแม่นกที่กำลังมีไข่ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติต่อตัวอ่อน มีผลให้ลูกนกเกิดมาขาพิการได้ นกที่โตแล้วจะเกิดความผิดปกติขึ้นที่ลำคอ ถุงพักอาหารและทางเดินหายใจ รวมถึงทำให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายลดลง, การหายของแผลใช้เวลานานขึ้น, เพิ่มโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น และมีปัญหาเกี่ยวกับเยื่อบุต่างๆในร่างกายบ่อยขึ้นอีกด้วย โรคขาดวิตามิน A มักพบในนกที่กินเมล็ดพืชเป็นอาหารเพียงอย่างเดียว
    เนื้อสัตว์และเนื้อเยื่อของปลาเป็นแหล่งสะสมวิตามิน A จึงไม่น่าแปลกใจที่คนมักนำน้ำมันตับปลามาผสมในอาหารให้นกกิน พืชไม่สามารถสร้างวิตามิน A ได้โดยตรง แต่พืชมีสารเรียกว่า เคโรทีน (Carotines) ซึ่งถือเป็นวิตามิน A ในรูปก่อนการสังเคราะห์ (Provitamins) สะสมอยู่ เมื่อนกกินพืชเข้าไปน้ำย่อยในกระเพาะก็จะย่อยสลายเคโรทีนออกเป็นวิตามิน A ไปใช้งาน แต่ก็มิได้หมายถึงจะนำไปใช้ได้ทั้งหมดมีเพียง 10 %เท่านั้นที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจึงจำเป็นต้องเลี้ยงนกแก้วด้วยอาหารที่เป็นแหล่งวิตามิน A ในปริมาณที่สูงมาก
    อาหารที่มีวิตามิน A สูงได้แก่
    มันเทศ มันแกว
    แครอท
    บร๊อคโคลี่ (ก้านและใบ)
    พืชใบเขียวต่างๆ
    มะละกอ
    มะม่วง
    พริกสด
    โปรดจำไว้ว่าการดูดซึมวิตามิน A จะดียิ่งขึ้นหากในร่างกายนกมีระดับของวิตามิน C และ E รวมถึงรวมถึงธาตุสังกะสีในระดับปกติ

    ข้อควรรู้เกี่ยวกับการให้วิตามินในน้ำแก่นก
    น้ำกินเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นกมีสุขภาพดีได้ การให้วิตามินแก่นกโดยผสมในน้ำสามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการผสมในอาหาร วิตามินที่ใช้ผสมน้ำส่วนใหญ่จะมีน้ำตาล (Dextrose หรือ Sugar) เป็นส่วนประกอบ ซึ่งจะเป็นตัวทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นวิธีการให้วิตามินในน้ำจึงต้องเปลี่ยนน้ำใหม่วันละอย่างน้อย 2 ครั้งเพื่อตัดวงจรไม่ให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ ซึ่งผู้เลี้ยงหลายคนไม่สะดวกที่ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ ดังนั้นการใช้วิตามินแบบผสมอาหารจึงเป็นวิธีที่มีผู้นิยมใช้เพิ่มมากขึ้น

    หนอนมีลเวอร์ม (Mealworm)
    หนอนมีลเวิร์ม (Mealworms) หรือหนอนเลี้ยงนก จัดเป็นอาหารส่วนสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ในการเลี้ยงนก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด เพื่อช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงเป็นปกติ การเลี้ยงสัตว์โดยใช้มีลเวิร์มเพียงอย่างเดียวถือว่าเป็นการเลี้ยงแบบทุโภชนาการ
    เพื่อให้แน่ใจว่าหนอนมีลเวิร์มมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการใช้เลี้ยงสัตว์ จึงต้องจัดเตรียมอาหารที่มีคุณค่าสำหรับใช้เลี้ยงหนอนมีลเวิร์มด้วยเช่นกัน

    หนอนมีลเวิร์มคืออะไร?

    หนอนมีลเวิร์มก็คือตัวอ่อน (larvae) ของแมลงปีกแข็งข้าวสาลี (Flour Beetle) ซึ่งพบได้ในธัญพืชจำพวกข้าว (Cereal Meal) หลายชนิดจึงเป็นที่มาของคำเรียกหนอนชนิดนี้ว่า มีลเวิร์ม (Mealworms) ชาวนามักพบหนอนชนิดนี้บริเวณพื้นของยุ้งฉางใต้กระสอบข้าว ซึ่งเป็นที่ที่หนอนชนิดนี้ไปอาศัยอยู่รวมกันจำนวนมากและเจริญเติบโตขึ้นมาโดยอาศัยเศษผงข้าวเป็นอาหาร
    หนอนมีลเวิร์มสีเหลือง (Yellow Mealworms) มีชื่อลาตินว่า Tenebrio molitor linnaeus เมื่อโตเป็นแมลงปีกแข็งจะมีสีดำมันเงา ขณะยังเป็นตัวอ่อนและดักแด้ (pupae) จะมีสีขาวและสีค่อยๆคล้ำขึ้นจนกลายเป็นสีเหลืองน้ำผึ้ง
    หนอนมีลเวิร์มสีดำ (Dark Mealworms) มีชื่อลาตินว่า Tenebrio obsurus fabricius เมื่อโตเป็นแมลงปีกแข็งมีสีดำด้าน ตัวอ่อนมีสีน้ำตาลอมเหลือง
    วงจรชีวิตของหนอนมีลเวิร์มแบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ ไข่ (Egg), ตัวอ่อน (Larvae), ดักแด้ (Pupae)และตัวโตเต็มวัย (Adult) ไข่มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว สีขาว ความยาวประมาณ 1.2 มิลลิเมตร ช่วงที่เรียกว่าเป็นหนอนมีลเวิร์มคือช่วงที่เป็น ตัวอ่อน (Larvae) ซึ่งอาจมีความยาวตัวได้ถึง 32 มิลลิเมตร (1.25 นิ้ว) และมีน้ำหนักตัว 0.140-0.150 กรัม แต่หากได้อาหารและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมอาจเติบโตได้มากกว่านี้ สำหรับช่วงที่เป็นดักแด้ระยะแรกตัวจะอ่อนนุ่มและเป็นสีขาว แล้วค่อยกลายไปเป็นสีเหลืองเมื่อโตขึ้น ตัวโตเต็มวัยของหนอนมีลเวิร์มจะกลายเป็นแมลงปีกแข็งสีดำ และมีความต้องการสารอาหารน้อยกว่าในช่วงที่เป็นตัวอ่อนและดักแด้

    คุณค่าทางอาหาร

    คุณค่าทางอาหารของหนอนมีลเวิร์มจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นกับการเลี้ยงดูแลและการให้อาหาร ตารางต่อไปนี้จะเปรียบเทียบให้เห็นว่าระหว่างหนอนมีลเวิร์มสำเร็จรูปบรรจุถุงที่ซื้อจากร้านจำหน่าย (1) กับหนอนมีลเวิร์มสดที่เพาะเลี้ยงด้วยอาหารผสมโดยใช้ความชื้นจากมันฝรั่ง (2)
    หนอนมีลเวิร์ม สำเร็จรูป (1) เพาะเลี้ยงเอง (2)
    คุณค่าพลังงาน (กิโลแคลอรี่ต่อกรัม หรือ มล.) 2.74 2.04
    โปรตีน (%) 22.30 20.80
    ไขมัน (%) 14.90 12.00
    แคลเซี่ยม (%) 0.26 0.03
    ฟอสฟอรัส (%) 0.23 0.27
    อัตราส่วนแคลเซี่ยมต่อฟอสฟอรัส 1:1 1:9

    จึงเห็นได้ว่าหนอนมีลเวิร์มที่ได้จากการเพาะเลี้ยง มีคุณค่าทางอาหารดีกว่าที่ซื้อสำเร็จรูปบรรจุถุงขายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราส่วนแคลเซี่ยมต่อฟอสฟอรัสอันเป็นผลเนื่องมาจากการเก็บหนอนแช่ไว้ในตู้เย็นเป็นเวลานาน อย่างไรก็ดีหากจำเป็นต้องใช้ชนิดบรรจุถุงขายก็ต้องเพิ่มปริมาณแคลเซี่ยมให้ได้อัตราส่วนที่เหมาะสมด้วย

    การจัดสถานที่เพาะเลี้ยง

    หากเป็นร้านขายอาหารสัตว์ทั่วไปมักจะเก็บตัวอ่อน (Larvae) ของหนอนมีลเวิร์มไว้ในตู้เย็น ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสมเพราะตัวอ่อนจะขาดน้ำและตัวเย็นทำให้มีอัตราการตายสูง การใช้อ่างเลี้ยงปลาหรือถังทรงเหลี่ยมขนาดกว้าง X ยาว = 1 X 1 ฟุตหรือกว่าเล็กน้อย และสูง 8-10 นิ้ว เป็นขนาดที่พอเหมาะและช่วยป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนปีนคลานออกมาจากถังได้ ด้านบนของถังใช้แผ่นพลาสติกปิดไว้เป็นฝาครอบเพื่อป้องกันมิให้สัตว์อื่นมารบกวนโดยเปิดช่องเล็กๆไว้ให้อากาศระบาย จงจำไว้ว่าหากใช้ถังที่ไม่สูงมากจะทำให้อากาศระบายหมุนเวียนดีขึ้น ตัวถังเพาะเลี้ยงก็สำคัญจะต้องไม่ให้เกิดความชื้น เพราะความชื้นมากเกินไปจะทำให้เกิดเชื้อราซึ่งจะเป็นพิษต่อตัวอ่อนได้ การเลี้ยงตัวอ่อนจำนวนหนาแน่นมากเกินไปจะเกิดปัญหา “กินกันเอง” (Cannibalism) ตามมา


    เลียดินกินโคลน
    การเลียดินกินโคลน (Clay Lick) ของนกมาคอว์ถือเป็นพฤติกรรมในธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งที่พบเห็นได้บ่อย มักพบบริเวณหน้าผาดินตามแถบเชิงเขาซึ่งสันนิษฐานว่าเคยเป็นจุดรวมของสายธารน้ำมาก่อน การที่นกมาคอว์ต้องเลียดินกินโคลนนี้ก็เพื่อเสริมแร่ธาตุให้กับร่างกาย ทำให้สุขภาพแข็งแรง ทนโรค และสมบูรณ์พันธุ์เต็มที่ สิ่งนี้เป็นเครื่องชี้ชัดว่าการเลี้ยงนกมาคอว์ในกรงจำเป็นต้องมีแร่ธาตุให้นกได้กินเช่นกัน แต่การให้ต้องเป็นแบบทางเลือกตามแต่นกต้องการ ไม่ให้โดยการบังคับกินรวมไปกับอาหารเพราะถ้าได้รับแร่ธาตุมากเกินไปก็จะเป็นอันตรายต่อตัวนกได้เช่นกัน





    ริงค์เน็ค...นกแก้วคลาสสิก เพาะเลี้ยงเกิดสีใหม่ไม่ มีจุดจบ 
    เชื้อไวรัส H5N1 หรือ ไข้หวัดนก ได้เกิดขึ้นในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา สร้างความเสียหายให้กับธุรกิจค้าสัตว์ปีกและวงการผู้เพาะเลี้ยงนกและสัตว์สวยงามเป็นอย่างมาก

    อีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกผลกระทบโดยตรง คือ ผู้เพาะเลี้ยง...นกแก้ว...!!!

    นายสมศักดิ์ ตึกปัญญาวุฒิ ประธานชมรมผู้เพาะเลี้ยงนกสวยงามสายพันธุ์ ต่างประเทศ (ประเทศไทย) และเจ้าของ SST. FARM บอกว่า นกแก้ว....เป็นสัตว์สวยงามที่หลายคนขนานนามว่า... ทูตแห่งสวรรค์ เพราะมันสามารถ พูดสื่อภาษากับมนุษย์ได้อย่างเข้าใจ...

    ต้นกำเนิดอยู่ทาง ประเทศอินเดีย และขยายพันธุ์ไปสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก อาทิ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ฮอลแลนด์ ฯลฯ มีการนำเข้ามา ในประเทศไทย นานกว่า 20 ปีแล้วและนกแก้วสายพันธุ์ ริงค์เน็ค เป็นที่นิยมในการเพาะเลี้ยงมากที่สุด เนื่องจากมีสีสันมากมายหลาก หลายสี เช่น กรีน, เกรย์กรีน, บลู, บลูซินนามอน, ลูติโน, อัลบิโน, เยลโลเฮดซินนามอน และ ไวท์เฮดบลูซินนามอน ซึ่งเป็นสีที่ฮอตฮิตมาก และยังสามารถเพาะเลี้ยงเพื่อให้เกิดสีใหม่ๆขึ้นอย่างไม่มีจุดจบ...ปัจจุบันมีสีมากกว่า 30-40 สี

    สิ่งที่ผู้เลี้ยงนิยมชมชอบอีกจุดหนึ่ง คือ สรีระ รูปทรง สีของขน และมีหางที่ยาวมากกว่าลำตัว เมื่อถึงขนาดโตเต็มที่...ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ตัวเมียจะวางไข่พร้อมกับกกอยู่นานประมาณ 23-24 วัน จากนั้นลูกนกก็อาศัยอยู่ในรังถึงอายุ 1 เดือน จึงจะออกมาหากินเองได้

    ปัจจุบันนกแก้วริงค์เน็ค สนนราคาตัวละ 2,000 บาทขึ้นไป แล้วแต่สีที่เกิดขึ้น ผู้ที่มือใหม่ หัดเลี้ยง ควรซื้อขนาดอายุตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป เพื่อการรอดชีวิต หากต้องการผสมสายพันธุ์ใหม่ๆเลือกที่มีอายุตั้งแต่ 7 เดือนขึ้นไป

    การเตรียมความพร้อมในการเลี้ยง โดยการกำหนดให้กรงมีขนาดเท่าไหร่ก็ได้ แต่ต้องทำรังไม้ มีขนาดความกว้างและยาวประมาณ 30 เซนติเมตรและสูงประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อให้นกมุดตัวเข้าไปนอนได้อย่างมีความสุขเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว...จึงถือว่าเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายตัวหนึ่ง



    ไชยรัตน์ ส้มฉุน







    นกแก้วสีเทา
    เกรย์แพรอทนั้น เป็นนกแก้วที่มีสายพันธุ์แบ่งย่อยออกได้ 3 สายพันธุ์คือ Congo Grey Parrot(Psitthacus Erithacus Erithacus) ,Timneh Grey Parrot ZPsittacus erithacus timneh ) และสุดท้ายคือ Ghana Grey parrot (Psittacus erithacus princeps) โดยที่ความแตกต่างของทั้งสามสายพันธุ์จะอยู่ที่ขนาดและสีสัน และสถานที่ที่เป็นถิ่นกำเนิดเท่านั้นแต่ดูเหมือนว่าเมืองไทย จะได้พบสายพันธุ์แรก คือพวก Congo Grey (บางทีเรียกกันว่า kongo Grey)เสียมากกว่าสองพวกหลัง ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะมาจากจำนวนสายพันธุ์ของชนิดนี้อาจจะมีแพร่หลายมากกว่าแต่อย่างไรก็ตามทั้งสามสายพันธุ์ก็ไม่ได้แตกต่างกันในเรื่องของความฉลาด และความเก่งกาจในการเลียนเสียงต่าง ๆ เลย เป็นที่น่าสังเกตุอีกประการสำหรับผู้ที่จะนำนกชนิดนี้มาเลี้ยงก็คือ นกแก้วสีเทา หรือ อัฟริกันเกรย์นี้ มักจะมีพฤติกรรมและอารมณ์โน้มเอียงไปทางผู้ที่เลี้ยง และพบว่าถ้าผู้เลี้ยงเป็นคนที่ค่อนข้างก้าวร้าว ก็มีความเป็นไปได้สูงที่นกชนิดนี้จะเรียนรู้และเลียนแบบพฤติกรรมคล้ายเจ้าของได้ในเวลาอย่างรวดเร็ว จึงต้องพึงระลึกว่า การเลี้ยงดูนกชนิดนี้นั้น ควรมีท่าทีและการปฎิบัติต่อนก ด้วยความนุ่มนวล ทั้งคำพูด การแสดงออก และอารมณ์ เพราะนกชนิดนี้มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมที่ค่อนข้างก้าวร้าว (Aggressive) อยู่ในสายเลือดอยู่บ้างแล้ว ความนิยมในตัวนกชนิดนี้ทำให้ การลักลอบจับออกมาจากป่ายังคงอยู่ตลอดเวลา จำนวนนกในธรรมชาติลดลงจนน่าใจหาย และในขณะเดียวกันก็ยังมีนักเพาะพันธุ์นกจำนวนหนึ่งได้พยายามที่จะเพาะพันธุ์นกชนิดนี้ออกมาเพื่อรองรับ ความต้องการของผู้ที่อยากจะได้นกชนิดนี้ไปเลี้ยงกัน และก็พบว่า นกที่ได้รับการเพาะเลี้ยงโดยมนุษย์นั้นมีสุขภาพ และแนวโน้มที่จะปรับตัวเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ได้ดีกว่า และนอกจากนี้ความฉลาดในการเรียนรู้และจดจำรวมไปถึงไอคิวนั้น ควรข้างจะดีกว่านกที่นำมาจากป่าเสียด้วยซ้ำ แต่เนื่องจากการผลิตลูกนกออกมานั้น ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้ ยังคงมีนกที่ถูกจับออกมาจากป่ายังคงมีการนำออกมาจำหน่ายด้วยเช่นกัน กอรปกับราคาของนกที่เพาะพันธุ์โดยมนุษย์กับนกที่ถูกจับมาจากป่านั้น ยังมีราคาที่แตกต่างกันมากทำให้กลายเป็นข้อเปรียบเทียบที่ยังคงมีนกป่าจำหน่ายอยู่ต่อไป





    นกแลก็คือนกแก้ว



    จุดกำเนิดของวงดนตรีเด็กชาวเหนือที่สร้างปรากฎการณ์ให้กับวงการเพลงมาแล้วกลางยุคแปดศูนย์ อยู่ที่โรงเรียพุทธิโสภณ จังหวัดเชียงใหม่ โดย ครูสมเกียรติ์ สุยะราชเป็นผู้ริเริ่มโครงการดนตรีเพื่อเยาวชนนกแลขึ้นในปี 2523 วัตถุประสงค์ของโครงการนี้มีอยู่ว่าครูสมเกียรติ์ต้องการให้เด็กๆในโรงเรียนใช้เวลาว่างอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่ครูสมเกียรติ์มองว่ามีปัญหาทางบ้าน และเกรงว่าจะใช้เวลาว่างไปในทางที่ไม่ถูกต้องจึงได้ตั้งวงดนตรีประจำโรงเรียนขึ้น โดยในช่วงแรกอยู่ในรูปแบบวงดุริยางค์จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นวงแบบโฟล์คซองเล่นเพลงพื้นบ้าน ออกแสดงในโรงเรียน สถาบันการศึกษารวมถึงแหล่งชุมชนต่างๆในเชียงใหม่ ได้รับการตอบรับที่ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง

    ชื่อ "นกแล" มีที่มาอยู่ว่าวันหนึ่งมีเด็กแม้วกลุ่มหนึ่งมาวิ่งเล่นแถวๆโรงเรียนบริเวณที่เด็กๆกำลังฝึกซ้อมดนตรีอยู่ เสื้อผ้าที่เด็กแม้วใส่มาสะกิดให้ครูสมเกียรติ์คิดที่จะเปลี่ยนชุดที่วงดนตรีสวมใส่แสดงจากชุดพื้นเมืองมาเป็นชุดแม้ว เขาเห็นเด็กแม้วเอานกแก้วมาวางบนไหล่เดินไปเดินมา ครูสมเกียรติ์จึงเข้าไปถามแบบชวนคุยว่า "นี่นกอะไร" เด็กแม้วก็ตอบว่า นกแลจึงกลายเป็นที่มาทั้งชื่อวงและเอกลักษณ์ด้านการแต่งกายของวง

    เพลงที่นำมาเล่นในช่วงแรกๆ ก็เป็นเพลงพื้นเมืองของเชียงใหม่ที่ดังอยู่แล้ว เช่น "น้อยใจยา" ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างชื่อเสียงให้กับวงนกแล ครูสมเกียรติ์จึงหาทุนมาบันทึกเทปชุด "ช่วยเด็กยาก" แนวโฟลค์ซองออกขายเอง แต่ไม่ประสบความสำเร็จในวงกว้างนัก ต่อมาทางวงได้ลงทุนซื้อเครื่องดนตรีประเภทสตริงเข้ามาเสริมวง ทั้ง เบส คีย์บอร์ด กลอง ทำให้ รูปแบบของวงเป็นวงใหญ่ขึ้นจึงคิดที่จะบันทึกเสียงงานชุด ช่วยเด็กยาก อีกครั้งโดยเรียบเรียงดนตรีใหม่ในแบบวงสตริง ใช้ชื่อชุดว่า "นกแลกับดอกทานตะวัน" ได้ จรัล มโนเพ็ชรมาช่วยขัดเกลาดนตรีให้ งานชุดนี้ได้รับความสำเร็จในเชียงใหม่

      นกแลกับดอกทานตะวัน - งานก่อนเข้าแกรมมี่

    ครูสมเกียรติ์เริ่มมองเห็นความสำเร็จในการปั้นวงนกแลให้เป็นวงระดับประเทศ จึงให้สื่อมวลชนของเชียงใหม่ประสานงานกับทางกรุงเทพว่าถ้ามีงานแสดงดนตรีไม่ว่ารูปแบบใด ทางวงจะขอเข้าไปเล่นให้ จนถึงงานประกาศผลรางวัลตุ๊กตาทองปีหนึ่งทางวงได้รับการติดต่อ ให้ไปแสดง เด็กๆทั้งวงดีใจกันมาก ตัดผมกันใหม่แล้วนั่งอัดกันในรถกระบะจากเชียงใหม่เข้ากรุงเทพ ผลปรากฏว่าเมื่อไปถึงงานจริงๆ เกิดความผิดพลาดในเรื่องของคิวจึงไม่ได้แสดงออกโทรทัศน์ แต่ได้ขึ้นเล่นก่อนเวลา

    ความผิดหวังที่ผ่านมาไม่ได้ทำให้วงนกแลท้อถอย และก็มีโอกาสได้เล่นออกทีวีครั้งแรก ในงานเปิดสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ส่วนภูมิภาค จังหวัดเชียงใหม่ และได้เล่นสดในรายการโลกดนตรี ที่จัดขึ้นเป็นพิเศษที่สวนลุม ในโอกาสวันเด็กปี 2528 การแสดงวันนั้นแจ้งเกิดให้กับวงนกแลอย่างเต็มตัว ด้วยความน่ารักที่เด็กๆเล่นดนตรีกันเอง เป็นเพลงของตัวเอง ชุดแต่งกายที่สร้างความน่าสนใจได้ในทันทีที่ดูครั้งแรก ทำให้วงนกแลเข้าตาแกรมมี่ทันที ในเวลาต่อมา เรวัต พุทธินันทน์ ได้คุยตรงกับ ครูสมเกียรติ์ ชวนกันมาร่วมงานกับสังกัดแกรมมี่ ครูสมเกียรติ์ไม่ลังเลแต่มีข้อแม้ว่าไม่อยากให้ทางแกรมมี่มาเปลี่ยนซาวนด์เดิมของนกแล และต้องการให้เด็กๆบันทึกเสียงกันเอง

    2528 หนุ่มดอยเต่า บันทึกเสียงเสร็จและออกขายทุกแผงเทปเปิดเพลง "หนุ่มดอยเต่า" และ "นกแล" แบบไม่ต้องนัดแนะกันมาก่อน จากนั้นก็มีงานออกกับแกรมมี่อีกสี่ชุด ก่อนที่จะถึงจุดที่ต้อง พักวงรุ่นนี้กันไป เหตุผลนั้นไม่ยากเกินคาดเดา พอนกแลรุ่นไลน์อัพหนุ่มดอยเต่า เริ่มโตๆ กัน พวกเขาก็ไม่ใช่เด็กชาย เด็กหญิง กันอีกต่อไป สมาชิกใหม่ที่เปลี่ยนเข้ามาก็ไม่สามารถสร้างความประทับใจได้เท่ากับรุ่นแรกๆ  

    ปัจจุบันวงนกแลเปรียบเสมือนสถาบัน จะมีเด็กรุ่นใหม่ๆขึ้นมาทดแทนรุ่นพี่ๆ ตลอดเวลาพวกเขายังมีงานแสดงในเชียงใหม่อย่างต่อเนื่อง และมีงานออกมาเป็นระยะๆ แต่แน่นอนว่าความโด่งดังคงจะเทียบกับรุ่นพี่ๆ ได้สร้างเอาไว้ในยุคแปดศูนย์ได้ยาก ทั้งนี้องค์ประกอบที่ผลักดัน จังหวะเวลาที่เหมาะสมได้ผ่านไปแล้ว

    สมาชิกรุ่น 2528-29
    สุวิทย์ ไชยช่วย (หนึ่ง) – กลอง,ร้องนำ
    ปรัชญา ปัญจปัญญา (หนุ่ม) – คีย์บอร์ด,ร้องนำ
    ทิพย์พร นามปวน (นก) – เบส
    ทินกร ศรีวิชัย (ยัน) – บองโก้,ร้องนำ
    อุดร ตาสุรินทร์ (ดร) – ทอมบ้า
    ศิริลักษณ์ จุมปามณีวรณ์ (น้อย) – ร้องนำ
    ดาราภรณ์ ศรีวิชัย (หนึ่ง) – ร้องนำ
    แพรวพราว ไชยทิพย์ (ตุ๊กตา) – โฆษก,จังหวะ
    อภิชาต ขยันแข็ง (เอ) – ร้องนำ
    ศรัญญา อุปพันธ์ (ตุ๊ดตู่) – ร้องนำ
    สมเกียรติ์ สุยะราช – ควบคุมวง,กีต้าร์โปร่ง











    สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

    ติดประกาศ: 2010-04-23 (11072 ครั้ง)

    [ ย้อนกลับ ]
    Content ©