-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 223 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ปศุสัตว์4





ไก่คอล่อน
                                                                                                
ยรรยง บุณยรัตน์   
สมศักดิ์ นวลสม


1.ประวัติความเป็นมา
การเลี้ยงไก่คอล่อนในภาคใต้จากข้อมูลพบว่า เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างไก่คอล่อนกับไก่พื้นเมืองของจังหวัดพัทลุง (ไก่ชน)

“ไก่คอล่อน” เชื่อว่าเป็นไก่ที่มีสายพันธุ์มาจากไก่ของฝรั่งเศส ที่นำมาเลี้ยงในประเทศเวียดนามและกัมพูชา เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยทหารญี่ปุ่นได้นำไก่คอล่อนจากประเทศเวียดนามและกัมพูชามาเป็นอาหารในกองทัพ โดยทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา มีการจัดสร้างถนนยุทธศาสตร์สายสงขลา–พัทลุง ทำให้ไก่คอล่อนแพร่หลายในพื้นที่ดังกล่าว โดยเฉพาะจังหวัดพัทลุงและจังหวัดในภาคใต้ตอนล่าง และได้มีการคัดเลือกปรับปรุงสายพันธุ์จนเรียกว่าไก่คอล่อนพัทลุงต่อมา


2. ลักษณะมาตรฐานประจำสายพันธุ์

ลักษณะประจำพันธุ์
ไก่คอล่อนเป็นไก่ประเภทให้เนื้อ มีลักษณะคล้ายไก่พื้นเมือง (ไก่ชน) โดยบริเวณกระเพาะพักจนถึงปากไม่มีขน หรือมีขนแต่หนาไม่เกิน 1.5 นิ้ว จึงเรียกว่า “คอล่อน” สีขนมีสีเขียวจนถึงดำ (ยกเว้นสีน้ำตาลตลอดลำตัว) หงอนถั่ว แข้งเหลือง ผิวหนังสีเหลืองหรือสีขาว สำหรับสีขนนั้นมีลักษณะของสีประจำมาจากสายพันธุ์ของบรรพบุรุษ โดยไม่เกี่ยวกับปริมาณของขนและน้ำหนักตัวโดยทั่วไปไก่คอล่อนจะมีสีปากและขา สีดวงตาและขนจะมีสีเดียวกัน ส่วนคอไม่มีขนและรูขุมขน แนวสันหลังเปลือย ล่อน ขนน่อง ในเพศผู้แทบจะไม่มี เพศเมียมีบ้างเล็กน้อย ลักษณะหน้าอกใหญ่ เนื้อหน้าอกเยอะ ไหล่กว้าง  มองด้านบนเป็นรูปสามเหลี่ยม สีหน้าจะมีสีชมพู ลำตัวเมื่อกางปีกจะไม่มีขน
ขนาดน้ำหนักตัว
      
วัยเจริญพันธุ์  ตัวผู้อายุประมาณ 7 เดือน ตัวเมีย อายุประมาณ 5.5 เดือน โดยมีน้ำหนักตัว เพศผู้หนัก 2.5–3.0 กก. เพศเมียหนัก 1.5–2.0 กก. เมื่อโตเต็มที่ เพศผู้หนัก 3.0–4.5 กก. เพศเมียหนัก 2.0–2.8 กก.


การผสมพันธุ์
ไก่คอล่อนแม่พันธุ์ สามารถผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 5–5.5 เดือน ส่วนตัวผู้จะใช้ทำพันธุ์ได้เมื่ออายุ 7–8 เดือน พ่อพันธุ์ 1 ตัว สามารถคุมแม่พันธุ์ได้ 7–10 ตัว อัตราการไข่เฉลี่ยปีละ 4–5 ชุด ชุดละ 12–15 ฟอง ฟักเป็นตัว 10–12 ตัว เลี้ยงรอด 8–10 ตัว (แม่ไก่ฟักและเลี้ยงลูกเอง)


คุณลักษณะที่ดี
1. การเจริญเติบโตเร็ว เนื้อแน่น น้ำหนักตัวดี
2. ทนทานต่อโรค ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีอากาศร้อน
3. ให้เนื้อมากและนุ่มกว่าไก่พื้นเมืองทั่วไป
4. เนื้อล่อนไม่ติดกระดูก เหมาะที่นำไปบริโภค
5. ตลาดมีความต้องการ นิยมบริโภค
6. ขนที่คอและลำตัวมีน้อย การชำแหละใช้เวลาน้อย
7. เลี้ยงลูกเก่ง อารมณ์ดี ไม่ดุร้าย
8. เหมาะที่จะเลี้ยงรวมเป็นฝูง ในที่โล่งกว้าง
9. ผสมกับไก่พันธุ์อื่นจะได้ลักษณะเด่นลูกออกมาเป็นคอล่อน


การเลี้ยงดู
1.  เลี้ยงแบบปล่อยลาน จะต้องมีเนื้อที่กว้าง และมีอาหารจำพวกหญ้าและธัญพืชอย่างสมบูรณ์  เพราะไก่คอล่อนชอบอยู่อย่างอิสระสภาพพื้นแห้ง มีเนินดินน้ำไม่ท่วม มีไม้พุ่ม ไม้อาศัยนอน
2.  เลี้ยงแบบขังคอก จะต้องจัดกลุ่มหรือฝูงไก่ให้มีขนาดใกล้เคียงกัน และฝูงหนึ่งๆ ไม่ควรเกิน 50 ตัว เพราะถ้ามีพื้นที่เลี้ยงน้อยไก่จะจิกตีกัน และจะต้องให้อาหารที่มีคุณภาพดี โปรตีนสูง เพราะเลี้ยงขังคอกไม่สามารถหาอาหารโปรตีนจากแหล่งอื่นได้


การเตรียมคอก
       โดยโรยปูนขาวให้ทั่ว ใช้วัสดุรองพื้น เช่น แกลบ ขี้เลื่อย รองพื้นคอกหนา 1 นิ้ว พร้อมพ่นยาฆ่าเชื้อให้ทั่วก่อนนำไก่เข้าเลี้ยง


ระยะเวลาการเลี้ยงดู
1.  การเลี้ยงแบบปล่อยลาน จะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3–4 เดือน สามารถให้น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1.5–1.8 กก.
2.  การเลี้ยงแบบขังคอก จะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 2.5–3 เดือน สามารถให้น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1.4–1.6 กก.


การให้อาหาร
1.การเลี้ยงแบบปล่อยลาน ให้อาหารที่มีโปรตีนต่างกัน 3 ระยะ ดังนี้
-  ระยะแรก อายุ 0–4 สัปดาห์ ให้อาหารไก่เนื้อเล็ก
-  ระยะสอง อายุ 4–12 สัปดาห์ ให้รำผสมปลายข้าวและอาหารไก่รุ่น อัตรา 55:35:10 กก. 
-  ระยะสาม อายุ 12–16 สัปดาห์ ให้รำละเอียดผสมปลายข้าวและอาหารไก่ใหญ่ อัตรา    50:40:10 กก.

2.การเลี้ยงแบบขังคอก ใช้อาหารสำเร็จรูป เช่นเดียวกับการเลี้ยงไก่เนื้อทุกประการ


การป้องกันรักษาโรค
       โรคระบาดที่ทำความเสียหายให้แก่ไก่คอล่อน  ได้แก่   โรคนิวคาสเซิล  โรคหลอดลมอักเสบ โรคฝีดาษ
โรคอหิวาต์เป็ด – ไก่


การทำวัคซีน
       ทำตามโปรแกรมการทำวัคซีนของกรมปศุสัตว์


การถ่ายพยาธิ
       ทั้งพยาธิภายในและภายนอกให้ทำทุกๆ 6 เดือน

       แหล่งที่มีการเลี้ยงไก่คอล่อนจำนวนมากในภาคใต้อยู่ที่จังหวัดพัทลุงส่วนจังหวัดอื่น ๆ มีเลี้ยงจำนวนน้อย     

                                                    

ที่มาข้อมูล
จากการสัมมนาโครงการอนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ไก่พื้นเมืองประจำถิ่น
*นักวิชาการสัตวบาล 8 ว   สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 8  จังหวัดสุราษฎร์ธานีและนักวิชาการสัตวบาล 5    ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช




ไก่คอล่อน


ไก่คอล่อน หรือบางคนเรียกว่า ไก่คอเปลือย สนง.เกษตร จ.พัทลุง รายงานไว้ว่า "ไก่คอล่อน พัทลุง"เป็นไก่ลูกผสมระหว่างไก่คอล่อนของฝรั่งเศสกับไก่ชนของ จ.พัทลุง (ไก่คอล่อนของฝรั่งเศสเป็นไก่คอล่อนที่นำมาเลี้ยงในอินโดจีน และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้นำเข้ามาในประเทศไทยเป็นอาหารของทหาร ได้ยกพลขึ้นบกที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลามีการสร้างถนนสายยุทธศาสตร์สงขลา-พัทลุง ทำให้ไก่คอล่อนแพร่หลายในพื้นที่จังหวัดพัทลุง) แต่มีบางกระแสว่า "ไก่คอล่อนพัทลุง" เป็นไก่ที่นำเข้ามาจากประเทศมาเลเซียเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2500


ลักษณะประจำพันธุ์ไก่คอล่อน เป็นไก่ที่มีรูปร่างลักษณะหลายส่วนคล้ายไก่บ้านหรือไก่อูเช่นมีขนสีดำเหลือบเขียว แต่จะมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างได้แก่ ที่บริเวณไหล่ ลำคอไปถึงศีรษะไม่มีขน จึงเรียกว่า "ไก่คอล่อน" ตรงบริเวณด้านหลังศีรษะ (ท้ายทอย) จะมีขนเป็นกระจุกคล้ายสวมหมวก และบริเวณต้นคอด้านหน้าทั้งซ้ายและขวาจะมีปอยขนอยู่ข้างละกระจุกเล็กๆ

ถ้าเป็นไก่แบบคอล่อนแท้จะพบว่าบริเวณต้นคอ หน้าอก หลัง และน่อง ก็จะไม่มีขนด้วย ลักษณะขน มักมีสีดำเหลือบเขียวทั้งตัวเป็นส่วนใหญ่ ขนปีกและหาง อาจมีสีขาวแซมบ้าง ลักษณะหงอน มีลักษณะแบบมงกุฎแต่มีขนาดใหญ่กว่าไก่ชน ลักษณะเหนียง จะไม่เป็นเหนียงที่ชัดเจนเหมือนของไก่ฝรั่งแต่จะมีผิวหนังที่ใต้คางจนถึงลำคอส่วนบนเป็นแผ่นย้วยห้อยลงมาคล้ายหนังคอวัวอินเดีย ขนาดและน้ำหนักตัว เมื่อวัยเจริญพันธุ์ เพศผู้หนัก 2.5-3.0 กก. เพศเมียหนัก 1.5-2.0 กก.เมื่อโตเต็มที่ เพศผู้หนัก 3.0-3.5กก. เพศเมียหนัก 2.0-2.8 กก.

รูปร่างของไก่คอล่อน
รูปร่างลำตัวคล้ายไก่ชนแต่มีบางลักษณะเด่นกว่าไก่ชน เช่น มีหน้าอกกว้าง เนื้อหน้าอกเป็นมัดใหญ่มาก ถ้าเทียบกับไก่ชน ถ้ายังเป็นๆ ผู้บริโภคอาจรังเกียจบ้างเพราะส่วนที่ไม่มีขนจะมีหนังสีแดงดูรูปร่างไม่สวยงามเหมือนไก่ชน แต่ถ้าทำการฆ่าถอนขนแล้ววางคู่กับไก่บ้าน(ชน) คนก็จะเลือกไก่คอล่อนเพราะมีรูปร่างดีดูมีเนื้อมากกว่าไก่บ้าน(ชน) ที่ได้ชื่อว่าไก่คอล่อน(พัทลุง) ก็เพราะเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมากในอำเภอต่างๆ ของจ.พัทลุง แต่จากการสำรวจในเบื้องต้นพบว่ามีการเลี้ยงกันอยู่ทั่วไปในภาคใต้ตอนล่าง แต่ไม่หนาแน่นเท่าที่จังหวัดพัทลุง





ไก่เบตง


ประวัติความเป็นมาของ ไก่เบตง สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเบตง จังหวัดยะลา รายงานว่า ตามประวัติความเป็นมาของไก่พันธุ์เบตง เข้าใจว่าเป็นไก่ที่มีเชื้อสายมาจากไก่พันธุ์แลงชาน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ไก่เบตงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งควบคู่กันไปในหมู่คนจีนเบตง คือ ไก่กวางไส (กวางไสเป็นเมืองหนึ่งในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน) คนจีนได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากเมืองกวางไส และนำไก่พันธุ์นี้เข้ามาทางประเทศมาเลเซีย นำมาเลี้ยงในพื้นที่อำเภอเบตง และอำเภอธารโต จังหวัดยะลา และบางส่วนของจังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันนี้ไก่พันธุ์นี้มีจำนวนลดน้อยลง เนื่องจากการเกิดโรคระบาดและการกลายพันธุ์ ขาดการคัดเลือกพันธุ์ที่ดี


ลักษณะขนของไก่เบตง ขนมีสีเหลืองทอง หรือเหลืองอ่อนตลอดตัว ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วงอายุยังน้อย จะมีขนน้อย อายุประมาณ 4 เดือน จึงจะมีขนขึ้นเต็มตัว ลักษณะหาง เป็นไก่ที่มีขนหางสั้น หางเป็นดอก ไม่มีขนแผ่นแข็ง ลักษณะปาก จงอยปากงองุ้มแข็งแรง มีสีเหลือง ลักษณะหงอน เป็นหงอนจักร ประมาณ 5 – 6 จักร สีแดง (ตัวเมีย มีเพียง 4 – 5 จักร) ลักษณะปีก มีขนปีกสั้น ไม่มีขนปีกแข็ง (long flight feather) และไม่มีขนสีดำแซม ลักษณะหาง เป็นดอก ลักษณะผิวหนัง มีสีเหลือง, แดงเรื่อๆ ลักษณะแข้ง มีสีเหลือง ลักษณะนิ้ว มีสีเหลือง ลักษณะเล็บนิ้ว มีสีขาวอมเหลือง น้ำหนักตัวผู้โตเต็มที่ หนักประมาณ 3 กิโลกรัม น้ำหนักตัวเมียโตเต็มที่ หนักประมาณ 2.5 กิโลกรัม

       
วันนี้เวลาของรายการสาระความรู้ทางการเกษตรหมดลงอีกแล้วนะคะ คุณผู้ฟังจะติดตามรับฟังรายการ “สาระความรู้ทางการเกษตร” ได้ใหม่ ณ สถานีวิทยุ มอ. เอฟเอ็ม แปดสิบแปด เม็กกะเฮิร์กซ์ ทุกวันจันทร์ เวลาประมาณสิบห้านาฬิกายี่สิบนาที หากคุณผู้ฟังต้องการได้รายละเอียดเกี่ยวกับรายการสาระความรู้ทางการเกษตรเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ หรือมีปัญหาทางการเกษตรต้องการคำปรึกษา แนะนำ หรือต้องการให้คำแนะนำ ติชม แก่ทางรายการฯ ก็ตามนะคะ ขอเชิญติดต่อเข้ามาได้ค่ะ ทั้งทางจดหมายและโทรศัพท์ ทางจดหมายจ่าหน้าซองถึง คุณดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ หัวหน้างานฝึกอบรม คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รหัสไปรษณีย์ 90112 ส่วนทางโทรศัพท์กรุณาติดต่อมาที่หมายเลข 074 – 219-234 และหมายเลข 074 286-059-60 ได้ทุกวัน ในเวลาราชการนะคะ สำหรับวันนี้ดิฉันขอลาคุณผู้ฟังไปก่อน สวัสดีค่ะ







กวาวเครือขาว


สมุนไพรไทย เพิ่มน้ำหนักตัวไก่พื้นเมือง ทำให้ไม่มีการสะสมของสารคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเนื้อไก่ ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค


นักวิจัยไทยพบสรรพคุณของ กวาวเครือขาว สมุนไพรไทย สามารถเพิ่มน้ำหนักตัวไก่พื้นเมืองพันธุ์แดงและพันธุ์คอล่อนและทำให้ไม่มีการสะสมของสารคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเนื้อไก่ ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค

ผู้เขียน: nonglak onkrang ชมแล้ว : 2,662 ครั้ง  post ครั้งแรก : Sat 3 October 2009, 10:52 pm ปรับปรุงล่าสุด : Sun 4 October 2009, 10:15 am
อยู่ในส่วน : ไม่ได้ระบุว่าให้อยู่ห้องใด
   
หน้าที่ 1 - nonglak onkrang

ผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยทักษิณ : พบสรรพคุณของ กวาวเครือขาว สมุนไพรไทย สามารถเพิ่มน้ำหนักตัวไก่พื้นเมืองพันธุ์แดงและพันธุ์คอล่อนและทำให้ไม่มีการสะสมของสารคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเนื้อไก่ ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค


อาจารย์วิศาล อดทน  หัวหน้าคณะผู้วิจัย กล่าวว่า ปัจจุบันการเลี้ยงไก่พื้นเมืองตอน ชาวบ้านนิยมใช้การตอนแบบฝังฮอร์โมนที่เรียกว่าเฮกเอสตรอล (hexoestrol) ที่ออกฤทธิ์ไปกดการทำงานของอัณฑะไม่ให้มีการเจริญพัฒนาและไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเพศผู้ได้ มีผลทำให้ร่างกายไก่สะสมไขมันมากขึ้น โดยฮอร์โมนมีระยะการออกฤทธิ์ประมาณ 45-50 วัน ฉะนั้น การตอนไก่แบบฝังฮอร์โมนจึงต้องนำไก่ไปรับประทานหลังฝังฮอร์โมนประมาณ 60 วัน แต่ในทางปฏิบัติเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ฝังฮอร์โมนไม่ได้คำนึงถึงผลตกค้างฮอร์โมนในเนื้อ จึงนิยมนำไก่ออกขายหลังตอนประมาณ 30-45 วัน เพราะหลังจาก 45 วันไปแล้วไก่จะน้ำหนักตัวลดลง และใช้อาหารเปลือง กำไรลดลง และเนื่องจากฮอร์โมนตกค้างทำให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคไก่ตอน กระทรวงสาธารณสุข จึงมีคำสั่งที่ 417/2529 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2529 ให้เพิกถอนทะเบียนตำหรับยาที่มีตัวยา Hexoestrol (ราชกิจจานุเบกษา, 2529) ทั้งนี้เพราะมีสารตกค้างจนอาจถึงระดับทำให้เกิดอาการพิษต่อผู้บริโภคได้ แต่ในทางปฏิบัติก็ยังคงมีเกษตรกรลักลอบใช้สารเคมีนี้ในการตอนไก่อยู่จนถึงปัจจุบัน


การตอนไก่แบบผ่าข้างนั้นทำได้โดยตัดเอาอัณฑะที่เป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนเพศผู้ออก ทำให้ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน (testosterone) มีผลทำให้ไก่เพศผู้ตอนเป็นไก่ไม่มีเพศ และมีการสะสมไขมันในร่างกายมากขึ้น แต่การตอนวิธีนี้มีความยุ่งยากในการตอน และไก่มีความเสี่ยงต่อการตายสูง รวมทั้งยังใช้เวลาในการเลี้ยงนานประมาณ 8-12 สัปดาห์ จึงจะจำหน่ายได้


กวาวเครือขาวมีสาระสำคัญอยู่ในกลุ่ม Isoflavonois เช่น Miroestrol และ Deoxymiroestrol ที่ถูกสร้างโดยธรรมชาติและออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ดังนั้นถ้าใช้กวาวเครือขาวผสมลงในอาหารไก่ในอัตราส่วนที่เหมาะสมและเลี้ยงไก่ในช่วงอายุที่พอเหมาะ ทำให้ไก่แสดงออกทางด้านสมรรถภาพการผลิตได้ใกล้เคียงกับการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ (สมโภชน์ และคณะ, 2549) ส่วนการใช้กวาวเครือขาวในการผลิตไก่นั้น สุชาติและคณะ (2545) ได้ทำการศึกษาระดับของกวาวเครือขาวในอาหารไก่ลูกผสมพื้นเมืองในระดับ 2% 4% และ 6% นาน 8 สัปดาห์ พบว่าไก่ทั้ง 3 กลุ่ม มีน้ำหนักตัวเพิ่มไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) และไม่มีการสะสมของสารคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเนื้อไก่ทุกกลุ่ม ดังนั้น การใช้กวาวเครือขาวที่เป็นพืชสมุนไพรของประเทศไทยเพื่อการผลิตไก่ตอนที่ปลอดภัยทดแทนฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ถูกห้ามใช้ จึงเป็นอีกแนวทางเลือกหนึ่งที่สามารถผลิตไก่ตอนที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค นอกจากนั้นยังลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่อีกด้วย 


สนใจข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ อาจารย์วิศาล อดทน  คณะเทคโนโลยีและการพัฒนชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง  โทร. 074-693996  หรือ 084-2525518  หรือที่งานประชาสัมพันธ์ โทร. 074-311885-7 ต่อ 7207


ข้อมูลเพิ่มเติม
ไก่คอล่อน จังหวัดพัทลุง หรือบางคนเรียกว่า ไก่คอเปลือย สนง.เกษตร จ.พัทลุง รายงานไว้ว่า "ไก่คอล่อน พัทลุง"เป็นไก่ลูกผสมระหว่างไก่คอล่อนของฝรั่งเศสกับไก่ชนของ จ.พัทลุง (ไก่คอล่อนของฝรั่งเศสเป็นไก่คอล่อนที่นำมาเลี้ยงในอินโดจีน และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้นำเข้ามาในประเทศไทยเป็นอาหารของทหาร ได้ยกพลขึ้นบกที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลามีการสร้างถนนสายยุทธศาสตร์สงขลา-พัทลุง ทำให้ไก่คอล่อนแพร่หลายในพื้นที่จังหวัดพัทลุง) แต่มีบางกระแสว่า "ไก่คอล่อนพัทลุง" เป็นไก่ที่นำเข้ามาจากประเทศมาเลเซียเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2500


ลักษณะประจำพันธุ์ไก่คอล่อน เป็นไก่ที่มีรูปร่างลักษณะหลายส่วนคล้ายไก่บ้านหรือไก่อูเช่นมีขนสีดำเหลือบเขียว แต่จะมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างได้แก่ ที่บริเวณไหล่ ลำคอไปถึงศีรษะไม่มีขน จึงเรียกว่า "ไก่คอล่อน" ตรงบริเวณด้านหลังศีรษะ (ท้ายทอย)จะมีขนเป็นกระจุกคล้ายสวมหมวก และบริเวณต้นคอด้านหน้าทั้งซ้ายและขวาจะมีปอยขนอยู่ข้างละกระจุกเล็กๆ ถ้าเป็นไก่แบบคอล่อนแท้จะพบว่าบริเวณต้นคอ หน้าอก หลัง และน่อง ก็จะไม่มีขนด้วย ลักษณะขน มักมีสีดำเหลือบเขียวทั้งตัวเป็นส่วนใหญ่ ขนปีกและหาง อาจมีสีขาวแซมบ้าง ลักษณะหงอน มีลักษณะแบบมงกุฎแต่มีขนาดใหญ่กว่าไก่ชน ลักษณะเหนียง จะไม่เป็นเหนียงที่ชัดเจนเหมือนของไก่ฝรั่งแต่จะมีผิวหนังที่ใต้คางจนถึงลำคอส่วนบนเป็นแผ่นย้วยห้อยลงมาคล้ายหนังคอวัวอินเดีย ขนาดและน้ำหนักตัว เมื่อวัยเจริญพันธุ์ เพศผู้หนัก 2.5-3.0 กก. เพศเมียหนัก 1.5-2.0 กก.เมื่อโตเต็มที่ เพศผู้หนัก 3.0-3.5กก. เพศเมียหนัก 2.0-2.8 กก. รูปร่างของไก่คอล่อน รูปร่างลำตัวคล้ายไก่ชนแต่มีบางลักษณะเด่นกว่าไก่ชน เช่น มีหน้าอกกว้าง เนื้อหน้าอกเป็นมัดใหญ่มาก ถ้าเทียบกับไก่ชน ถ้ายังเป็นๆ ผู้บริโภคอาจรังเกียจบ้างเพราะส่วนที่ไม่มีขนจะมีหนังสีแดงดูรูปร่างไม่สวยงามเหมือนไก่ชน แต่ถ้าทำการฆ่าถอนขนแล้ววางคู่กับไก่บ้าน(ชน) คนก็จะเลือกไก่คอล่อนเพราะมีรูปร่างดีดูมีเนื้อมากกว่าไก่บ้าน(ชน) ที่ได้ชื่อว่าไก่คอล่อน(พัทลุง) ก็เพราะเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมากในอำเภอต่างๆ ของจ.พัทลุง แต่จากการสำรวจในเบื้องต้นพบว่ามีการเลี้ยงกันอยู่ทั่วไปในภาคใต้ตอนล่าง แต่ไม่หนาแน่นเท่าที่จังหวัดพัทลุง


*หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน วิชาการ.คอม เรามีความยินดีและอนุญาตให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น กรุณาให้เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและ วิชาการ.คอม (www.vcharkarn.com) ทุกครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา





วิจัยกวาวเครือขาว พัฒนาสู่การเลี้ยงไก่คอล่อน

ผลงานนักวิจัย ม.ทักษิณ ก่อนต่อยอดสู่เกษตรกร


วิจัยกวาวเครือขาว พัฒนาสู่การเลี้ยงไก่คอล่อน ผลงานนักวิจัย ม.ทักษิณ ก่อนต่อยอดสู่เกษตรกร พัฒนางานวิจัย สมุนไพรไทย กวาวเครือขาว สามารถเพิ่มน้ำหนักตัวไก่พื้นเมืองพันธุ์แดงและพันธุ์คอล่อน  พัฒนางานวิจัย สมุนไพรไทย กวาวเครือขาว สามารถเพิ่มน้ำหนักตัวไก่พื้นเมืองพันธุ์แดงและพันธุ์คอล่อนและทำให้ไม่มีการสะสมของสารคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเนื้อไก่ ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค


อาจารย์วิศาล อดทน อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง พร้อมคณะ ได้ทำวิจัยเรื่อง ผลของวิธีการตอนไก่ต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่พื้นเมือง พบว่า สรรพคุณของ กวาวเครือขาว สมุนไพรไทย สามารถเพิ่มน้ำหนักตัวไก่พื้นเมืองพันธุ์แดงและพันธุ์คอล่อนและทำให้ไม่มีการสะสมของสารคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเนื้อไก่ ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค

               
อาจารย์วิศาล อดทน  หัวหน้าคณะผู้วิจัย กล่าวว่า ปัจจุบันการเลี้ยงไก่พื้นเมืองตอน ชาวบ้านนิยมใช้การตอนแบบฝังฮอร์โมนที่เรียกว่าเฮกเอสตรอล (hexoestrol) ที่ออกฤทธิ์ไปกดการทำงานของอัณฑะไม่ให้มีการเจริญพัฒนาและไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเพศผู้ได้ มีผลทำให้ร่างกายไก่สะสมไขมันมากขึ้น โดยฮอร์โมนมีระยะการออกฤทธิ์ประมาณ 45-50 วัน ฉะนั้น การตอนไก่แบบฝังฮอร์โมนจึงต้องนำไก่ไปรับประทานหลังฝังฮอร์โมนประมาณ 60 วัน แต่ในทางปฏิบัติเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ฝังฮอร์โมนไม่ได้คำนึงถึงผลตกค้างฮอร์โมนในเนื้อ จึงนิยมนำไก่ออกขายหลังตอนประมาณ 30-45 วัน เพราะหลังจาก 45 วันไปแล้วไก่จะน้ำหนักตัวลดลง และใช้อาหารเปลือง กำไรลดลง และเนื่องจากฮอร์โมนตกค้างทำให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคไก่ตอน กระทรวงสาธารณสุข จึงมีคำสั่งที่ 417/2529 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2529 ให้เพิกถอนทะเบียนตำหรับยาที่มีตัวยา Hexoestrol (ราชกิจจานุเบกษา, 2529) ทั้งนี้เพราะมีสารตกค้างจนอาจถึงระดับทำให้เกิดอาการพิษต่อผู้บริโภคได้ แต่ในทางปฏิบัติก็ยังคงมีเกษตรกรลักลอบใช้สารเคมีนี้ในการตอนไก่อยู่จนถึงปัจจุบัน

               
การตอนไก่แบบผ่าข้างนั้นทำได้โดยตัดเอาอัณฑะที่เป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนเพศผู้ออก ทำให้ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน (testosterone) มีผลทำให้ไก่เพศผู้ตอนเป็นไก่ไม่มีเพศ และมีการสะสมไขมันในร่างกายมากขึ้น แต่การตอนวิธีนี้มีความยุ่งยากในการตอน และไก่มีความเสี่ยงต่อการตายสูง รวมทั้งยังใช้เวลาในการเลี้ยงนานประมาณ 8-12 สัปดาห์ จึงจะจำหน่ายได้


กวาวเครือขาวมีสาระสำคัญอยู่ในกลุ่ม Isoflavonois เช่น Miroestrol และ Deoxymiroestrol ที่ถูกสร้างโดยธรรมชาติและออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ดังนั้นถ้าใช้กวาวเครือขาวผสมลงในอาหารไก่ในอัตราส่วนที่เหมาะสมและเลี้ยงไก่ในช่วงอายุที่พอเหมาะ ทำให้ไก่แสดงออกทางด้านสมรรถภาพการผลิตได้ใกล้เคียงกับการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ (สมโภชน์ และคณะ, 2549) ส่วนการใช้กวาวเครือขาวในการผลิตไก่นั้น สุชาติและคณะ (2545) ได้ทำการศึกษาระดับของกวาวเครือขาวในอาหารไก่ลูกผสมพื้นเมืองในระดับ 2% 4% และ 6% นาน 8 สัปดาห์ พบว่าไก่ทั้ง 3 กลุ่ม มีน้ำหนักตัวเพิ่มไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) และไม่มีการสะสมของสารคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเนื้อไก่ทุกกลุ่ม ดังนั้น การใช้กวาวเครือขาวที่เป็นพืชสมุนไพรของประเทศไทยเพื่อการผลิตไก่ตอนที่ปลอดภัยทดแทนฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ถูกห้ามใช้ จึงเป็นอีกแนวทางเลือกหนึ่งที่สามารถผลิตไก่ตอนที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค นอกจากนั้นยังลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่อีกด้วย 


สนใจข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ อาจารย์วิศาล อดทน  คณะเทคโนโลยีและการพัฒนชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง  โทร. 074-693996  หรือ 084-2525518  หรือที่งานประชาสัมพันธ์ โทร. 074-311885-7 ต่อ 7207





ไก่คอล่อน จากฟาร์มตัวอย่างในพระราชดำริจังหวัดพัทลุง
ตลาดมีความต้องการสูง
              


จากการที่โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริจังหวัดพัทลุง ได้นำไก่คอล่อน ซึ่งเป็นไก่พันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดพัทลุง  มาเลี้ยงในฟาร์มตัวอย่างฯ  ที่บ้านทุ่งคลองชีพ  ตำบลนาปะขอ  อำเภอบางแก้ว  จังหวัดพัทลุง  เพื่อให้เกษตรกรที่สนใจ ได้ศึกษา เรียนรู้ ตามคำขวัญ “ เรียนรู้ที่ฟาร์ม ทำจริงที่บ้าน ”   ปรากฏว่า ได้มีเกษตรกรสนใจ ไปศึกษาเรียนรู้การเลี้ยงไก่คอล่อนที่ฟาร์มตัวอย่างฯ  แล้วนำความรู้กลับไปเลี้ยงที่บ้านจำนวนมาก  โดยได้รับความนิยมจากผู้บริโภค โดยเฉพาะร้านขายข้าวมันไก่ ทั้งในจังหวัดพัทลุง และอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  จนทางฟาร์มตัวอย่างฯ  ไม่สามารถจัดหาให้เพียงพอกับความต้องการได้                
ซึ่งในเรื่องนี้ นายวินัย  ครุวรรณพัฒน์  ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง กล่าวว่า ไก่คอล่อน มีคุณสมบัติพิเศษกว่าไก่พันธุ์อื่น ๆ คือ เมื่อนำไปประกอบอาหารแล้ว  เนื้อจะไม่ยุ่ยเหมือนไก่พันธุ์เนื้อ  และเนื้อไม่แข็ง  ไม่เหนียว เหมือนไก่พื้นเมือง แต่จะมีเนื้อมากกว่า เพราะช่องอกจะกว้างกว่าไก่ธรรมดาทั่วไป  นอกจากนี้ เนื้อไก่จะนุ่ม อร่อยอีกด้วย  

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพัทลุง





คุณภาพซาก องค์ประกอบทางเคมี ลักษณะทางกายภาพ
ลักษณะเนื้อสัมผัสของเนื้อไก่คอล่อนและเนื้อไก่พื้นเมือง

ชื่อนักวิจัย:
1. ผศ. ดร.ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
2. อาจารย์ ดร. อาภรณ์ ส่งแสง มหาวิทยาลัยทักษิณ
3. ผศ. สุธา วัฒนสิทธิ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
4. อาจารย์ ดร. พิทยา อดุลยธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
5. อาจารย์ เสาวคนธ์ วัฒนจันทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

E-mail Address chaiyawan@tsu.ac.th

ระยะเวลาโครงการ: 1 พฤษภาคม 2545 - 11 พฤษภาคม 2547


การศึกษาลักษณะความแตกต่างของรูปร่างภายนอก คุณภาพซากและคุณภาพเนื้อของไก่คอล่อนและไก่พื้นเมืองเพศผู้และเพศเมียซึ่งเลี้ยงตามวิธีการของเกษตรกรรายย่อย โดยสุ่มจับไก่ทั้งสองสายพันธุ์ที่มีน้ำหนักมีชีวิต เท่ากับ 1.3 1.5 และ 1.8 กิโลกรัม มาศึกษาจำนวน 180 ตัว ซึ่งพบว่าไก่คอล่อนและ ไก่พื้นเมืองมีลักษณะรูปร่างภายนอกคล้ายคลึงกัน คือ มีรูปทรงของลำตัวแบบเดียวกับไก่ชน เพียงแต่ ไก่คอล่อนไม่มีขนบริเวณส่วนคอไปจนถึงบริเวณกระเพาะพักและส่วนต้นของหน้าอก แม้ว่าไก่ทั้งสองสายพันธุ์จะมีหงอนแบบถั่วแต่หงอนของไก่คอล่อนมีขนาดหงอนสั้นกว่าและมีความกว้างมากกว่าหงอนของไก่พื้นเมือง เมื่อทำการตรวจวัดขนาดของร่างกาย พบว่าไก่คอล่อนมีช่วงคอที่สั้นกว่า มีส่วนปีกที่สั้นกว่าไก่พื้นเมือง แต่มีความกว้างของลำตัวมากกว่า (P>0.01) ขณะที่ไก่เพศผู้มีขนาดของหงอน กะโหลก ความยาวคอ ความยาวปีก ความลึกของลำตัว และความยาวส่วนขามากกว่าไก่เพศเมีย (P<0>0.05) โดยไก่คอล่อนมีปริมาณขน (เมื่อถอน) น้อยกว่าไก่พื้นเมือง (P<0.01) และมีปริมาณส่วนหัวและคอน้อยกว่าไก่พื้นเมือง (P<0.01) เมื่อพิจารณาถึงชิ้นส่วนของซาก พบว่า ไก่คอล่อนมีปริมาณชิ้นส่วนอก (Pectoralis major) และมีเนื้อสันใน (Pectoralis minor) น้อยกว่า ไก่พื้นเมือง (P<0.01) นอกจากนั้นไก่คอล่อนยังมีชิ้นส่วนปีกรวมเมื่อคิดเป็นร้อยละของน้ำหนักซากน้อยกว่าของไก่พื้นเมือง (P<0>0.05) เมื่อชำแหละแยกชิ้นส่วนของซากออกเป็นเนื้อ หนัง ไขมัน และกระดูก พบว่าไก่คอล่อนมีน้ำหนักเนื้อและมีปริมาณหนังเมื่อคิดเป็นร้อยละน้อยกว่าไก่พื้นเมือง (P<0.01) แต่มีปริมาณไขมันมากกว่าไก่พื้นเมือง (P<0>0.05) ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักมีชีวิตมีผลทำให้น้ำหนักซากเย็น ชิ้นส่วนอก สันใน และชิ้นส่วนสะโพก รวมทั้งปริมาณเนื้อ ไขมัน และหนังเมื่อคิดเป็นร้อยละของน้ำหนักซากเพิ่มขึ้น ไก่เพศผู้มีน้ำหนักซากเย็น ชิ้นส่วนอก ส่วนสันใน และไขมันเมื่อคิดเป็นร้อยละน้อยกว่าไก่เพศเมีย (P<0.05) แต่มีปริมาณชิ้นส่วนสะโพก น่อง และปีกเมื่อคิดเป็นร้อยละมากกว่าไก่เพศเมีย (P<0>0.05) แต่กล้ามเนื้อทั้งสองส่วนของไก่คอล่อนมีค่าความแดง (a*) และความเหลือง (b*) น้อยกว่าเนื้อไก่พื้นเมือง (P<0.01) สำหรับสีของหนังพบว่า หนังของไก่คอ-ล่อนมีค่าความสว่างและความเหลืองน้อยกว่า (P<0>0.05) โดยเนื้อไก่เพศผู้มีค่าสี L* สูงกว่า (P<0>0.05) ขณะที่หนังของไก่เพศผู้มีค่าสี L* และ a* ไม่แตกต่างกับหนังของไก่เพศเมีย (P>0.05) แต่หนังของไก่เพศผู้มีค่าสี b* ต่ำกว่า (P<0>0.05) ทั้งนี้ความแตกต่างระหว่างเพศไม่มีผลต่อค่าความสามารถในการอุ้มน้ำของเนื้อทั้งหมด เมื่อตรวจค่าแรงตัดผ่านเนื้อ พบว่ากล้ามส่วนอกและส่วนสะโพกของไก่คอล่อนมีค่าแรงตัดผ่านต่ำกว่ากล้ามเนื้อของไก่พื้นเมือง (P<0>0.05)

สำหรับองค์ประกอบทางเคมีในเนื้อ พบว่ากล้ามเนื้อไก่คอล่อนและเนื้อไก่พื้นเมืองทั้งส่วนอกและสะโพกมีปริมาณความชื้น โปรตีน ไขมัน เถ้า ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) แต่กล้ามเนื้อส่วนอกและ ส่วนสะโพกของไก่คอล่อนมีปริมาณไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลสูงกว่าที่พบในไก่พื้นเมือง (P<0>0.05) เมื่อพิจารณากรดไขมันเป็นรายชนิด พบว่าในส่วนของกรดไขมันอิ่มตัวของไก่ทั้งสองสายพันธุ์มีปริมาณกรดปาล์มิติก (C16:0) สูงสุด รองลงมา คือ กรดสเตียริก (C18:0) และกรดอะราชิดิก (C20:0) ตามลำดับ โดยเนื้อไก่คอล่อนมีปริมาณกรดปาล์มิติกสูงกว่าเนื้อไก่พื้นเมืองทั้งในกล้ามเนื้อส่วนอกและสะโพก (P<0.05) สำหรับกรดไขมันไม่อิ่มตัว พบว่าเนื้อไก่ทั้งสองสายพันธุ์มีปริมาณกรดโอลิอิก (C18:1) สูงสุดทั้งในกล้ามเนื้อส่วนอกและส่วนสะโพก รองลงมา คือ กรดลิโนลีอิก (C18:2) และกรดลิโนลีนิก (C18:3) กรดโดโคซาเตทตรา- อิโนอิก (C22:4) กรดนิซินิก (C22:6) และกรดอะราชิโดนิก (C20:4) ตามลำดับ ในส่วนปริมาณ คอลลาเจนทั้งหมด พบว่าเนื้อส่วนอกของไก่คอล่อนมีปริมาณคอลลาเจนทั้งหมดสูงกว่าเนื้อไก่พื้นเมือง (P<0>0.05) อย่างไรก็ตามเนื้อส่วนอกและส่วนสะโพกของไก่คอล่อนและไก่พื้นเมืองมีปริมาณคอลลาเจนที่ละลายไม่แตกต่างกัน (P>0.05) กล้ามเนื้อของไก่เพศผู้และเพศเมียมีคุณค่าทางโภชนะ คือ โปรตีน ไขมัน เถ้า ไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล และปริมาณกรดไขมันไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามกล้ามเนื้อของไก่เพศผู้มีปริมาณคอลลาเจนทั้งหมดสูงกว่า (P<0.01)

เมื่อนำเนื้อสดจากส่วนอกและส่วนสะโพกของไก่คอล่อนและไก่พื้นเมืองมาทำการประเมิน คุณภาพทางประสาทสัมผัสโดยนำมาเปรียบเทียบร่วมกับเนื้อไก่กระทง พบว่าผู้ประเมินให้คะแนนการยอมโดยรวมต่อเนื้อไก่กระทงสดมากกว่าเนื้อไก่คอล่อนและไก่พื้นเมืองสด (P<0>0.05) รวมทั้งความแตกต่างระหว่างเพศไม่มีผลทำให้ค่าคะแนนการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสของเนื้อที่ได้แตกต่างกันทางสถิติ





การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถภาพการเจริญเติบโต
และลักษณะซากของไก่คอล่อนพัทลุงกับไก่พื้นเมือง

ม.ทักษิณ :


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสมรรถภาพการเติบโตและลักษณะซากของไก่คอล่อนพัทลุงกับไก่พื้นเมือง โดยได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 4 หัวข้อย่อย ได้แก่ (1) การศึกษาสภาพการเลี้ยงไก่คอล่อนของเกษตรกรในจังหวัดพัทลุง (2) การศึกษาสมรรถภาพการเติบโตของไก่คอล่อนในรูปแบบการเลี้ยงของเกษตรกรรายย่อยโดยเปรียบเทียบกับไก่พื้นเมือง (3) การศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะของซากไก่คอล่อนพัทลุงกับไก่พื้นเมืองทั่วไป และ (4) การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีในกล้ามเนื้อและหนังของไก่คอล่อนเปรียบเทียบกับไก่พื้นเมืองและไก่กระทง


ผลการศึกษาสภาพการเลี้ยงไก่คอล่อนของเกษตรกรในจังหวัดพัทลุงโดยวิธีสัมภาษณ์เกษตรกร- ผู้เลี้ยงไก่คอล่อนจำนวน 23 ราย พบว่าเกษตรกรทั้งหมดเลี้ยงไก่คอล่อนเป็นอาชีพเสริมร่วมกับการประกอบอื่น ลักษณะการเลี้ยงไก่คอล่อนมี 2 ลักษณะ คือ เลี้ยงไก่คอล่อนโดยไม่สร้างโรงเรือนร้อยละ 21.7 และสร้างโรงเรือนร้อยละ 78.3 ทั้งนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 95.6) นิยมปล่อยให้ไก่หากินธรรมชาติ สำหรับการจัดการด้านอาหารพบว่าเกษตรกรร้อยละ 34.8 ปล่อยให้ไก่หากินเองตามธรรมชาติโดยไม่เสริมอาหาร ขณะที่เกษตรกรอีกร้อยละ 60.9 ปล่อยให้ไก่หากินเองตามธรรมชาติและเสริมด้วยอาหารสำเร็จรูป และอีกร้อยละ 4.3 เลี้ยงแบบขังคอกและจัดหาวัตถุดิบมาผสมอาหารให้ไก่กินเอง ในเรื่องปัญหาด้านสุขภาพของไก่ พบว่าเกษตรกรร้อยละ 78.3 มีปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ ในขณะที่เกษตรกรอีกร้อยละ 21.7 ให้ความเห็นว่ามีปัญหา ในด้านการป้องกันโรคระบาด พบว่ามีเกษตรกรเพียงร้อยละ 56.5 ทำวัคซีน ส่วนที่เหลือ (ร้อยละ 43.5) ไม่ได้ทำวัคซีน ปัญหาสำคัญของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่คอล่อนในจังหวัดพัทลุง ได้แก่ ขาดการส่งเสริมด้านการเลี้ยงจากหน่วยงานของรัฐบาล มีปัญหาเกี่ยวกับการปรับปรุงสายพันธุ์เพื่อหลีกเลี่ยงการผสมแบบเลือดชิด และมีปัญหาภัยเรื่องน้ำท่วมทำให้ไก่ตายเป็นจำนวนมากในช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม


สำหรับผลการศึกษาสมรรถภาพการเติบโตของไก่คอล่อนที่เลี้ยงในสภาพพื้นบ้านซึ่งไม่มีการทำวัคซีน โดยนำไก่คอล่อนพัทลุง อายุประมาณ 2 สัปดาห์ คละเพศ จำนวน 40 ตัว โดยแบ่งไก่ออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 20 ตัว แบ่งการเลี้ยงดูไก่ออกเป็น 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 มีโรงเรือนให้ไก่พัก โดยปล่อยให้ไก่หากินอาหารตามธรรมชาติในช่วงเวลาเช้า-บ่าย และเสริมด้วยอาหารสำเร็จรูปในช่วงเวลาเย็นหลังจากไก่กลับเข้าสู่โรงเรือน และรูปแบบที่ 2 เป็นการเลี้ยงไก่ในโรงเรือนตลอดเวลา ให้อาหารไก่ไข่ระยะที่ 2 เป็นอาหารหลัก เสริมด้วยข้าวเปลือก หรือหยวกกล้วยสับอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้ทั้งอย่างร่วมกัน พบว่า ไก่คอล่อนที่เลี้ยงในรูปแบบที่ 1 มีการเพิ่มน้ำหนักตัวต่ำกว่า (P&lt;0.05) และมีเปอร์เซ็นต์การเลี้ยงรอดต่ำกว่ากลุ่มที่เลี้ยงในรูปแบบที่ 2 (ร้อยละ 55 และ 75 ตามลำดับ) นอกจากนั้นไก่คอล่อนที่เลี้ยงในรูปแบบที่ 1 ยังมีน้ำหนักซาก ปริมาณชิ้นส่วนอก และโครงร่างเมื่อคิดเป็นร้อยละต่ำกว่าต่ำกว่าไก่คอล่อนที่เลี้ยงในรูปแบบที่ 2 (P&lt;0.05) เกษตรกรที่เลี้ยงไก่รูปแบบที่ 1 ไม่ได้รับผลกำไรจากการเลี้ยง ขณะที่เกษตรกรที่เลี้ยงในรูปแบบที่ 2 ได้รับผลตอบแทน เท่ากับ 7.19 บาท/ตัว


สำหรับสมรรถภาพการเติบโตของไก่คอล่อนและไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงแบบพื้นบ้าน พบว่าไก่ทั้งสองสายพันธุ์มีน้ำหนักตัวเฉลี่ยตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 ถึง สัปดาห์ที่ 26 ไม่แตกต่าง (P&gt;0.05) โดยไก่คอล่อนมีการเพิ่มน้ำหนักตัวที่อายุ 2 8 10 12 14 16 18 24 และ 26 สัปดาห์ เท่ากับ 81.20 249.87 387.50 600.40 738.25 818.56 1,081.50 1,717.00 และ 1,818.18 กรัม ตามลำดับ ส่วนไก่พื้นเมืองมีการเพิ่มน้ำหนักตัวในช่วงอายุเดียวกันเท่ากับ 96.10 260.80 419.87 587.26 800.70 970.23 1,276.41 1,765.88 และ 1,870.00 กรัม ตามลำดับ โดยไก่คอล่อนมีเปอร์เซ็นต์การเลี้ยงรอดต่ำกว่าไก่พื้นเมือง (ร้อยละ 55 และ 85 ตามลำดับ) เมื่อศึกษาถึงต้นทุนและผลตอบแทนจากการเลี้ยงไก่ทั้งสองสายพันธุ์โดยไม่คิดต้นทุนค่าโรงเรือน ค่าอุปกรณ์ ค่าเสื่อม และค่าเสียเวลา พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองได้รับผลตอบแทนในการเลี้ยงไก่สูงกว่าเกษตรกรที่เลี้ยงไก่คอล่อนถึง 9.79 บาท/ตัว


สำหรับการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของกล้ามเนื้ออกส่วน Pectoralis major กล้ามเนื้อสะโพก และหนัง ของไก่คอล่อน ไก่พื้นเมือง และไก่กระทงเพศเมีย พบว่ากล้ามเนื้อ Pectoralis major ของ ไก่คอล่อนและไก่พื้นเมืองมีปริมาณความชื้น (ร้อยละ 72.24 และ 72.76) โปรตีน (ร้อยละ 24.38 และ 23.81) เถ้า (ร้อยละ 1.28 และ 1.26) และคอลลาเจนที่ละลายได้เมื่อคิดเป็นร้อยละของคอลลาเจนทั้งหมด (19.27 และ 17.77) ไม่แตกต่างกัน (P&gt;0.05) ขณะที่ไก่กระทงมีปริมาณความชื้น (ร้อยละ 77.06) และคอลลาเจนที่ละลายได้เมื่อคิดเป็นร้อยละของคอลลาเจนทั้งหมด (ร้อยละ 33.13) สูงกว่าไก่ทั้งสองพันธุ์แรก แต่มีปริมาณโปรตีน (ร้อยละ 21.30) และเถ้า (1.03) ต่ำกว่าที่ตรวจพบในไก่คอล่อนและไก่พื้นเมือง (P&lt;0.05) ในส่วนกล้ามเนื้อสะโพก พบว่าไก่คอล่อน ไก่พื้นเมือง และไก่กระทงมีปริมาณความชื้น (ร้อยละ 76.36 76.04 และ 77.11) และเถ้า ash (ร้อยละ 0.97 0.99 และ 0.99) ไม่แตกต่างกันทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่ากล้ามเนื้อส่วนนี้ไก่คอล่อน ไก่พื้นเมืองมีปริมาณโปรตีน (ร้อยละ 20.96 และ 20.50) และคอลลาเจนทั้งหมด (13.58 และ 11.63 มก./เนื้อ 100 กรัม) สูงกว่ากล้ามเนื้อสะโพกของไก่กระทง (ร้อยละ 18.64 และ 6.38 มก./เนื้อ 100 กรัม) (P&lt;0.01) กล้ามเนื้อสะโพกยังของไก่คอล่อนและไก่พื้นเมืองยังมีปริมาณคอเลสเตอรอล (37.54 และ 43.65 มก./เนื้อ 100 กรัม) และคอลลาเจนที่ละลายได้เมื่อคิดเป็นร้อยละของคอลลาเจนทั้งหมด (ร้อยละ 23.70 และ 25.46) ไม่แตกต่างกัน แต่ต่ำกว่าที่ตรวจพบในไก่กระทง (56.14 มก./เนื้อ 100 กรัม และร้อยละ 40.60 ของคอลลาเจนทั้งหมด ตามลำดับ) (P&lt;0.05) ขณะที่กล้ามเนื้อสะโพกของไก่คอล่อนมีปริมาณไขมันต่ำสุด (ร้อยละ 3.81) รองลงมา คือ ไก่พื้นเมือง (ร้อยละ 4.26) และไก่กระทงมีปริมาณไขมันสูงสุด (ร้อยละ 4.81) (P&lt;0.05) เมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบทางเคมีของหนัง พบว่าไก่คอล่อนมีปริมาณความชื้น และคอลลาเจนทั้งหมดมากที่สุด (ร้อยละ 68.33 และ 101.77 มก./เนื้อ 100 กรัม) รองลงมา คือ ไก่พื้นเมือง (ร้อยละ 56.59 และ 86.31 มก./เนื้อ 100 กรัม) และไก่กระทง (ร้อยละ 53.43 และ 39.00 มก./เนื้อ 100 กรัม) (P&lt;0.05) ขณะที่หนังของ ไก่คอล่อนและไก่พื้นเมืองมีปริมาณโปรตีน (ร้อยละ 13.82 และ 13.23) ไม่แตกต่างกัน (P&gt;0.05) แต่สูงกว่าไก่กระทง (ร้อยละ 10.52) (P&lt;0.05) ขณะที่ไก่คอล่อนมีปริมาณไขมันต่ำที่สุด (ร้อยละ 11.02) รองลงมา คือ ไก่พื้นเมือง (ร้อยละ 30.53) และไก่กระทง (ร้อยละ 48.30) ตามลำดับ (P&lt;0.05) โดยไก่ทั้งสามพันธุ์มีปริมาณคอเลสเตอรอลในส่วนหนังไม่แตกต่างกัน (78.31 72.98 และ 78.16 มก./เนื้อ 100 กรัม ตามลำดับ) (P&gt;0.05)ทั้งนี้หนังของไก่คอล่อนมีปริมาณคอลลาเจนที่ละลายได้ไม่แตกต่างกับไก่พื้นเมือง (ร้อยละ 35.97 และ 41.93) แต่สูงกว่าไก่กระทง (ร้อยละ 47.23 ของปริมาณคอลลาเจนทั้งหมด) (P&lt;0.05) โดยไก่พื้นเมืองมีปริมาณคอลลาเจนที่ละลายได้เมื่อคิดเป็นร้อยละของ คอลลาเจนทั้งหมดไม่แตกต่างกับไก่กระทง









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (970 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©