-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 359 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้เศรษฐกิจ7








มะค่าโมง(Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib)

พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดสุโขทัย


ชื่อวิทยาศาสตร์
Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib

วงศ์ LEGUMINOSAE - CAESALPINIOIDEAE

ชื่ออื่น มะค่าใหญ่ มะค่าหลวง

ไม้ต้น  ขนาดใหญ่ แต่สูงไม่มากนัก ผลัดใบ แตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง ลำต้นมักเป็นครีบและปุ่มปม โคนเป็นพูพอน 

เปลือก  สีน้ำตาลอ่อนหรือชมพูอมน้ำตาล แตกสะเก็ดเป็นหลุมตื้น ๆ 

ใบ  ประกอบเรียงสลับ ใบย่อยติดตรงข้ามกันเป็นคู่ 3-5 คู่ แผ่นใบรูปไข่แกมรูป ขอบขนาน กว้าง 2-5 เซนติเมตรยาว 4 - 9 เซนติเมตร โคนใบมนหรือหยักเว้าเล็กน้อยปลายใบทู่เป็นติ่ง 

ดอก  ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อยาว 5-15 เซนติเมตร กลีบดอกมี 4 กลีบ แต่ละกลีบซ้อนทับกัน มีเพียงกลีบบนสุดเพียงกลีบเดียวที่เจริญขึ้นเป็นกลีบดอกสีแดงเรื่อ ๆ หรือแดงอมชมพู 

ผล  เป็นฝักแบนแข็ง รูปบรรทัดสั้น ๆ กว้าง 7-10 เซนติเมตร ยาว 12-20 เซนติเมตร  แตกออกเป็น 2 ซีก เมื่อแห้ง เมล็ดแก่สีดำเป็นมัน เรียงตามขวาง 4-5 เมล็ด   แต่ละเมล็ดมีเยื่อหนารูปถ้วยสีเหลืองสดห่อหุ้ม ส่วนฐานอยู่

นิเวศวิทยา ขึ้นในป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้งใกล้แหล่งน้ำ ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ สูงจากระดับน้ำทะเล 100-600 เมตร

ออกดอก กุมภาพันธ์-มีนาคม ฝักแก่ มิถุนายน-สิงหาคม

ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด


วิธีปฏิบัติต่อเมล็ดและการเพาะเมล็ด
1.  ตัด - ทำแผลที่ปลายเมล็ดแช่น้ำไว้ 1 คืน ก่อนเพาt
2.   การเพาะอาจเพาะลงถุงพลาสติกหรือเพาะในแปลงเพาะ


ข้อสังเกตและผลการทดลอง
  
1.  เมล็ดจะงอกภายในประมาณ 7 วัน
2. กล้าจากแปลงเพาะควรย้ายเมื่อเมล็ดเริ่มแทงรากและใบเลี้ยง
3. ขนาดของกล้าที่พอย้ายปลูกได้อายุประมาณ 3-4 เดือนขึ้นไป สูงประมาณ 1 ฟุต


ประโยชน์
เนื้อไม้สีน้ำตาลอมเหลืองอ่อน แข็งเหนียว ทนทานขัดและชักเงาได้ดี ใช้ทำเสา รอด ตง พื้น ไม้เครื่องบน ต่อเรือ เครื่องกลึง พานท้ายปืนและรางปืน ทำกลองโทน รำมะนา   เป็นไม้ที่ให้ปุ่มมะค่ามีลวดลายสวยงามและราคาสูง   เปลือกทำน้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง เมล็ดอ่อนเนื้อในรับประทานได้

นิเวศวิทยา
ขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณพื้นที่ที่ค่อนข้างชุ่มชื้นทางภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ส่วนภาคตะวันออก และภาคใต้มีขึ้นอยู่มากใน ป่าดงดิบ ป่าน้ำท่วม และตามท้องนา ทั่ว ๆ ไป


ออกดอก
กรกฎาคม-กันยายน   ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม   เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือน ธันวาคมขึ้นไป ผลแก่ จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือน มีนาคม

ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด


วิธีปฏิบัติต่อเมล็ดและการเพาะเมล็ด
 

ข้อสังเกตและผลการทดลอง  
1. เมล็ดงอกใช้เวลาประมาณ 20 วัน
2. ภายในระยะเวลาประมาณ 4 เดือน ต้นกล้ามีความสูงประมาณ 20 ซม. สามารถย้ายปลูกได้


ประโยชน์
เนื้อไม้ละเอียดแข็ง ใจกลางมักเป็นโพรง ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่รับน้ำหนัก   เสา กระดานพื้น และเครื่องมือการเกษตร และนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ





ไม้มะค่าโมง


เกียรติก้อง พิตรปรีชา สมบูรณ์ กีรติประยูi
สัจจาพร กาญภิญโญ ประเสริฐ สอนสถาพรกุล


คำนำ
ไม้มะค่าโมงจัดเป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่าง กันไปตามท้องที่ต่าง ๆ ดังนี้ เข้งหรือเบง(เขมร) ปิง(จันทบุรี) ปิ่น(นครราชสีมา) มะค่าโมง มะค่าใหญ (ภาคกลาง) มะค่าหลวง  มะคาหัวดำ(ภาคเหนือ) และมีชื่อวิทยาศาสตร์ Afzelia xylocarpa Craib(เต็ม, 2523) จัดอยู่ในวงศ์  Caesalpiniaceae พบขึ้นกระจายอยู่ตามริมลำธารในป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้งทั่วไป ยกเว้นภาคใต้


ไม้มะค่าโมง มีเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลอมเหลืองอ่อน ถึงแก่ เสี้ยนคอนข้างสั้น เนือหยาบ มีริ้วแทรก แข็งเหนียว แข็งแรงทนทาน เลื่อยค่อนข้างยาก เมื่อแห้งตกแต่งง่าย ขัดและชักเงาได้ดี ใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ ที่ต้องการความแข็งแรงทนทาน ทำเสา หมอนรองรางรถไฟ ทำไม้บุผนัง ทำตัวถังรถบรรทุก ใช้เป็นส่วนประกอบโครงสร้างเรือใบ เรือเดินทะเล ทำเครื่องมือกสิกรรม เช่น ไถ คราด สาก กระเดื่อง ทำพานท้ายปืน เครื่องดนตรี เช่น กลอง โทน รำมะนา เป็นไม้ที่ให้ปุ่มมะค่าลวดลายสวยงามและราคาสูง ใช้ทำเครื่องเรือนชั้นดี นอกจากนี้แล้วเปลือกยังมีน้ำฝาดสำหรับใช้ฟอกหนัง และเนื้อในเมล็ดอ่อนใช้รับประทาน


ลักษณะทั่วไป
ไม้มะค่าโมงเป็นไม้ที่ต้นขนาดใหญ่ แต่ไมสูงมากนักมีความสูงระหว่าง 10-18 เมตร แตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มแผ่กว้าง
เปลือก
มีสีน้ำตาลอ่อนหรือชมพูอมน้ำตาล
่กิ่งอ่อน ม้วนคลุมบาง ๆ
ใบ
เป็นช่อเรียงสลับกัน
ช่อใบยาว 18-29 ซม
.
ก้านช่อ ใบคอนข้างสั้น ยาวประมาณ 2 ซม. บนแกนช่อใบมีใบย่อยขึ้นตรงกันข้าม 3-5 คู่
ใบย่อย รูปไข่แกมรูปขอบขนานกว้าง 2-5 ซม. ยาว 4-9 ซม. ปลายใบ มนมักจะเว้าตื้น ๆ ตรงกลางฐานใบมนหรือตัด ก้านใบย้อย 3-5 มม
.
ดอก ออกเป็นช่อแตกแขนงที่ปลายกิ่ง ยาว 5-15 ซม. มีขนคลุมบาง ๆ ก้านดอกย่อยยาว 7-10 มม.
ใบประดับรูปขอบขนานแกมรูปไข่ยาว 6-9 มม. มีขนประปราย
กลีบรองกลีบดอกติดกัน ส่วนนี้แยกเป็นกลีบรูปขอบ ขนาน 4 กลีบ แต่ละกลีบซ้อนทับกัน กลีบยาวประมาณ 10-12 มม. กลีบดอกมีเพียงกลีบบนสุด เพียงกลีบเดียวที่เจริญขึ้น เป็นกลีบดอกมีสีแดงเรื่อ ๆ หรือแดงอมชมพู ตรงเกือบจะเป็นแผ่นกลม ยาวประมาณ 7-9 มม. ส่วนฐานคอดเข้าหากันเป็นก้านกลีบดอกยาว 5-12 มม.
เกสรผู้ที่สมบูรณ์มี 3-8 อัน ก้านเกสรแยกจากกันเป็นอิสระหรือติดกันเล็กน้อยที่ฐาน เกสรผู้ปลอม 3 อัน คอนข้างสั้น
รังไข่
ยาวประมาณ 7 มม. มีขนคลุมติดอยูบนก้านสูง ยาวประมาณ 7 มม.
ผล เป็นฝักแบนรูปบรรทัด สั้น ๆ กว้าง 7-10 ซม. ยาว 12-20 ซม. ผนังฝักแข็งมาก หนาประมาณ 5-7 มม. เมื่อฝักแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก กว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 2.5-4 ซม. หนา 0.8-1.2 ซม. เมล็ดแก่สีดำ มีเนือหนา รูปถ้วยยาวประมาณ 1.5 ซม. สีเหลืองสด ห่อหุ้มสวนฐานเมล็ด


การกระจายพันธ์ตามธรรมชาติ
ไม้มะค่าโมงนั้นพบขึ้นกระจายอยู่ในสังคมพืชป่าเบญจพรรณ โดยเฉพาะในพืนที่ที่คอนข้างชุมชื้น เช่นบริเวณริมห้วย เป็นต้น ซึ่งพบขึ้นกระจายอยู่ในประเทศแถบตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชา ไทย พม่า และอินเดีย ซึ่งสังคมป่าเบญจพรรณมักจะประกอบด้วยไม้ที่มีขนาดกลางถึงไม้ที่มีขนาดใหญ ใบร่วงเกือบหมดในช่วงฤดูแล้ง เรือนยอดโปร่ง ชนิดพันธุ์ที่ปรากฏค่อนข้างมาก โดยทั่วไปไม้สักเป็นไม้เด่น แตในบางสังคมก็ไมพบไม้สักขึ้นอยู่  นอกจากนี้ยังอาจพบในสังคมพืชป่าดิบแล้งในบางสังคมย่อยด้วย ได้แก่สังคมตะเคียนหิน และสังคมยางแดง (ทวี, 2529) แต่อย่างไรก็ตามจะไมพบในสังคมพืชป่าดิบแล้งภาคใต้(จำลอง, 2526)


ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
โดยสภาพธรรมชาติไม้มะคาโมงมักพบขึนอยูในสังคมพืชป่าเบญจพรรณ ซึ่งโดยทั่วไปมักพบในเขตมรสุม ที่มีปริมาณนำฝนอยูระหวาง ้ ่ ่1,000-1,500 มม.ตอปี มีช่วงแล้งนานประมาณ 5-6 เดือน สำหรับในประเทศไทยมักพบขึ้นอยูที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลางระหว่าง 150-650 เมตร. และมีอุณหภูมิต่ำสุดและสูงสุดเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 19๐-24๐ เซลเซียส วัตถุต้นกำเนิดดินเป็น พวกหินทรายและหินปูน ชนิดดินที่พบจัดอยูในจำพวก ่rendzinas, brown forest soil, red-brown earths, red-yellow podzolic soil และ reddish-brown lateritic soil


การขยายพันธุ์และการผลิตกล้าไม้
การขยายพันธุ์ของไม้มะค่าโมงที่นิยมและสะดวกที่สุด มักจะขยายพันธุ์จากเมล็ด โดยการใช้เมล็ดเพาะชำเพื่อจัดเตรียมเป็นกล้าไม้ โดยในการเตรียมกล้าไม้มะคาโมงนั้น เนื่องจากเมล็ดมะคาโมงมีเปลือกเมล็ดที่แข็งมาก หากนำเมล็ดไปเพาะชำเลยเมล็ดจะงอกช้าเสียเวลานานมาก ดังนั้นกอนนำเมล็ดไปเพาะควรขลิบเปลือกเมล็ดตรงส่วนหัวของเมล็ดให้เห็นเนี้อด้านในเล็กน้อยแล้วจึงนำไปแช่น้ำ 1 คืน หรือแช่เมล็ดด้วยน้ำเดือด ทิ้งไว้จนน้ำเย็นและแช่ไว้เป็นเวลา 1 คืน โดยไม่ต้องขลิปเปลือกเมล็ดดังกล่าวก็ได้  จากนั้นจึงนำไปหว่านลงในแปลงที่เตรียมไว้ วัสดุเพาะชำในแปลงควรเป็นดินปนทรายอัตราส่วน 1:1 โดยหว่านเมล็ดให้ห่างกันประมาณ 2-3 ซม. เสร็จแล้วให้โรยทรายละเอียดกลบเมล็ดโดยให้มีความหนาประมาณ 0.5-1.0 ซม. สำหรับการให้น้ำในแปลงเพาะนั้น ในระยะแรกควรให้น้ำวันละ 2 ครัง (เช้าเย็น) ทุก ๆ วัน นอกจากนี้ควรผสมยาป้องกันเชื้อรากับน้ำที่รดด้วยในช่วงแรก ๆ จากนั้นประมาณ 7-10 วัน เมล็ดก็จะงอก เมื่อเริ่มมีใบเลี้ยงก็สามารถย้าย ชำลงถุงพลาสติกที่เตรียมดินไว้ นำกล้าไม้ที่ย้ายชำไปเลี้ยงไว้ในเรือนเพาะชำพรางแสงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เลี้ยงกล้าไม้ไว้อย่างน้อย 6 เดือน ก่อนทำการย้ายปลูก แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจาก ไม้มะค่าโมงเป็นไม้โตช้า ต้องใช้เวลานานในการปรับตัวภายหลังการย้ายปลูก ดังนันเพื่อป้องกันความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นควรใช้กล้าไม้มะคาโมงที่มีอายุไมน้อยกว่า 1 ปี โดยก่อนทำการย้ายปลูกให้ทำการสร้างความแข็งแกร่งให้กับกล้าไม้ โดยให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงจากลักษณะของลำต้น กิ่งและใบของกล้าไม้ แต่อย่างไรก็ตามการใช้กล้าไม้ที่มีอายุมาก จะทำให้คาใช้จายตาง ๆ สูงขึ้น ดังนั้นควรพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการปลูกสร้างสวนป่าไม้มะค่าโมงในโครงการนั้นๆ ต่อไป 


การเตรียมกล้าไม้มะค่าโมง
นอกจากจะใช้วิธีหว่านเมล็ดลงในแปลงเพาะชำแล้วยังสามารถใช้เมล็ดที่เตรียมไว้เรียบร้อยแล้วหยอดลงถุงพลาสติกที่เตรียมดินไว้ การหยอดเมล็ดพยายามกดเมล็ด ให้จมลงในดินจะช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น หลังจากหยอดเมล็ดแล้วก็ให้น้ำในลักษณะเดียวกันกับที่ได้กล่าวถึงข้างต้น


การคัดเลือกพื้นที่และการเตรียมพื้นที่สำหรับปลูก
โดยทั่วไปการคัดเลือกพื้นที่ที่จะทำการปลูกสร้างสวนป่ า มักจะพิจารณาหาพื้นที่ขนาดใหญ่ ราบเรียบ ไม่เป็นที่ลุมน้ำขังเมื่อฝนตก สภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินดีพอใช้ แต่ในปัจจุบันในทางปฏิบัติการคัดเลือกหาพื้นที่ดังที่ได้กล่าวมาแล้วคงหาได้ยากมาก เพราะสภาพที่ดินราบเรียบจะถูกนำไปใช้ในด้านการเกษตรเสียเป็นสวนใหญ่ ดังนั้นการพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ที่จะปลูกสร้างสวนป่าคงหนีไม่พ้นจากพื้นที่ที่มีความลาดชัน แตอย่างไรก็ตาม ควรคัดเลือกพื้นที่ที่มีความลาดชันน้อยที่สุด เพื่อสะดวกแก่การเตรียมพืนที่และการบำรุงดูแลรักษาหลังจากการปลูกโดยอาศัยเครื่องจักรกลเป็นครั้งคราว


การเตรียมพื้นที่สำหรับปลูก

การเตรียมพื้นที่เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ภายหลังการปลูก การเตรียมพื้นที่ดีมีส่วนทำให้กล้าไม้เจริญเติบโตได้ดี เริ่มแรกต้องทำ่ความสะอาดแปลงปลูกโดยถางวัชพืช กำจัดต้นไม้กิ่งไม้ ปลายไม้ที่ไม่ต้องการรวมกองทิ้งไว้ให้แห้งแล้วเผา ถ้าหากมีงบประมาณมากพอ ควรทำการไถพรวนพื้นที่ด้วย เพื่อเป็นการปรับสภาพของดินเดิมที่แน่นให้ร่วนซุย สามารถดูดซับน้ำฝนได้ปริมาณที่มากขึ้น การถายเทอากาศในดินก็จะดีขึนกวาเดิม วัชพืชต่าง ๆ ก็จะน้อยลง เมื่อทำการไถพรวนพื้นที่เสร็จแล้วให้ทำการวางแนว ปักหลักหมายระยะที่จะปลูกกล้าไม้ตามระยะที่ต้องการ


วิธีการปลกและระยะปลกที่เหมาะสม

การปลูกไม้มะค่าโมงลงในแปลงที่เตรียมไว้ สามารถปลูกโดยใช้เหง้า ่(stump) ที่มีอายุ ตั้งแต่ 9-12 เดือน หรือกล้าไม้ในลักษณะเปลือยราก (bare root) ซึ่งทั้งสองวิธีเป็นวิธีที่สะดวกที่จะนำกล้าไม้ไปปลูกได้คราวละมาก ๆ แต่อย่างไรก็ตามอาจจะมีปัญหาหลังจากปลูก ถ้าฝนทิ้งช่วงนานกล้าไม้จะกระทบแล้ง ทำให้มีเปอร์เซ็นต์การรอดตายของกล้าไม้ต่ำ ดังนันควรใช้กล้าไม้ที่ชำลงในถุงดินอายุอยางน้อย ่6 เดือนปลูกในแปลง โดยก่อนนำกล้าไม้ไปปลูกควรรดนำกล้าไม้ให้ชุ่มอีกครัง เพื่อสามารถทนตอสภาพแห้งแล้งได้นานขึ้น สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการย้ายปลูก ปริมาณฝนในอดีตที่ผานมา เชน ในพื้นที่นั้น โดยทั่วไปแล้ว ฝนตกชุกในระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน แต่ในปีนั้นปรากฏวาในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคมมีฝนตกชุกติดต่อกัน ถ้าเราทำการย้ายปลูกในช่วงนี้อาจจะทำให้กล้าไม้ต้องประสบกับภาวะแห้งแล้งภายหลังการย้ายปลูกได้ แต่อย่างไรก็ตามหากว่าการรายงานสภาพภูมิอากาศยืนยันว่าจะยังคงมีฝนตกติดต่อกันในพื้นที่นันตอไปอีกนาน การย้ายปลูกในช่วงนั้นก็อาจจะเป็นผลดีกับกล้าไม้ที่ย้ายปลูกก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิจารญาณ การตัดสินใจและประสบการณ์ของผู้ปลูกเอง

สำหรับระยะปลูกที่เหมาะสมนั้น จากการศึกษาของ เมธี(2531) พบวาการปลูกมะค่าโมงด้วยระยะปลูก 4x4 เมตร เป็นระยะที่เหมาะสมที่สุดในรูปแบบของการปลูกสร้างสวนป่ามะค่าโมง  ซึ่งจะให้ผลตอบแทนในด้านปริมาตรเนื้อไม้ต่อพืนที่ปลูกเพิมขึ้น อีกทั้งรูปทรงของต้นไม้จะมีลักษณะที่มีความเรียวเหมาะที่จะทำเป็นการค้าได้

นอกจากนี้เราอาจจะประยุกต์ปลูกสร้างสวนป่าไม้มะค่าโมงจากรูปของสวนป่าไม้ชนิดเดียว  ดังเช่นการปลูกสร้างสวนป่าไม้ชนิดอื่น ๆ  ในอดีตที่ผานมมาเป็นการปลูกสร้างสวนป่าไม้หลายชนิด ทังนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ต้นไม้ที่ปลูกเป็นไม้โตเร็วหรือโตช้าก็ได้ ก็จะทำให้การใช้ประโยชน์จากไม้ที่ผลิตได้จากพื้นที่นั้นมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดการระบาด หรือ ลดระดับความรุนแรงของการระบาดของโรคและแมลงได้อันเนื่องมาจากความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ซึ่งเป็นแหล่งอาหารและที่อยูอาศัยของโรคและแมลงเหล่านั้น

นอกจากนี้ จากการศึกษาของ Nakamura et. al. (1991) พบว่า ไม้มะค่าโมงในช่วงอายุ 1 ปีแรกภายหลังการย้ายปลูก สามารถเจริญเติบโตได้ดีที่สุดที่แสงระดับ 40-50 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ้การปลูกพืชควบนอกจากจะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และช่วยเพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจของ ิพื้นที่แล้วยังเป็นตัวช่วยอนุบาลกล้าไม้มะค่าโมงภายหลังการย้ายปลูกด้วย

สำหรับการปลูกผสมกับพืชเกษตรนั้น โดยทั่วไปให้ปลูกในร่องกลางระหว่างแถวของต้นไม้ ตามแนวยาว โดยให้เว้นระยะห่างจากโคนต้นประมาณปีละ ่50 เซนติเมตร โดยชนิดของพืชเกษตรนั้น ตามหลักการแล้วควรปลูกชนิดพันธุ์ที่ช่วยในการปรับปรุงดิน เชน พืชจำพวกถั่ว แตในทางปฏิบัติ การปลูกพืชจำพวกถั่วในบางท้องถิ่นอาจจะไม่เป็นการสะดวก โดยเฉพาะทางด้านการตลาด ดังนั้น พืชเกษตรที่ปลูกควบอาจพิจารณาเลือกใช้พืชเศรษฐกิจในท้องถินนั้น ๆ และให้ปลูกพืชจำพวกถัวควบในรอบต่อไปในลักษณะของการปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อเป็นการปรับปรุงคุณสมบัติของดิน

ในกรณีของการปลูกไม้ยืนต้นควบนั้น ให้พิจารณาจากรูปแบบของการจัดการ เช่น  ในการปลูกสร้างสวนป่าไม้มะค่าโมงในเชิงธุรกิจ การปลูกไม้มะค่าโมงชนิดเดียวควบกับพืชเกษตรก็นาจะเป็นวิธีการที่เหมาะสม แต่ในการปลูกสร้างสวนป่าไม้มะค่าโมงเพื่อเป็นไม้ใช้สำหรับชุมชน ที่เราเรียกว่า “ป่าชุมชน (community forest)” ตามแนวความคิดของ  “วนศาสตร์ชุมชน(social forestry)” นั้นควรพิจารณาถึงความหลากหลายของการใช้ประโยชน์จากพืนที่ซึ่งรวมถึงผลผลิตของเนือไม้ที่ได้
จากพืนที่นั้นด้วย กล่าวคือ นอกจากจะให้ได้เนื้อไม้มะค่าโมงเพื่อใช้ในการก่อสร้างและมีพื้นที่่สำหรับทำการเกษตรเลี้ยงชีพแล้ว ควรคำนึงถึงการใช้สอยไม้ในรูปอื่น ๆ เชน ไม้ฟืน ถ่าน ไม้ใช้สอยในครัวเรือนซึ่งรวมถึงไม้ที่ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องการความแข็งแรงมากนัก ดังนั้นจึงควรปลูก ควบกับไม้โตเร็วชนิดอื่นๆ ด้วย ทั้งนี้ต้องพิจารณาถึงชนิดพันธุ์ไม้ การเจริญเติบโต การใช้ประโยชน์ ฯลฯ

โดยทั่วไปการปลูกไม้โตเร็วควบกับไม้โตช้านั้น ชนิดไม้ที่ปลูกมักจะเป็นพวกไม้ยูคาลิปตัส. คามาลดูเลนซิส. ไม้กระถินณรงค์. ไม้สะเดา. ฯลฯ เนื่องจากไม้เหล่านี้มีรอบตัดฟันสั้น  เนื้อไม้ใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง สำหรับระยะปลูกนั้น ควรพิจารณาให้เหมาะสม อาจจะเป็น 4x4 หรือ 5x4 หรือ 5x5 หรือ 6x6 เมตร ก็ได้  โดยปลูกสลับต้นกันกับไม้มะค่าโมง สำหรับไม้สะเดาและยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส ที่ปลูกในระบบนี้ควรใช้ระยะปลูก 5x4 หรือ 4x4 เมตร ร่องกลางที่ปลูกพืชเกษตรควบเป็น 4 เมตร  สำหรับในการปลูกควบกับไม้กระถินณรงค์นั้นควรใชั้้ระยะปลูก 6x4 เมตร ร่องกลางปลูกพืชเกษตรควบเป็น ่4 เมตร ทั้งนี้เนื่องจากธรรมชาติของไม้โตเร็วเหล่านี้มีอายุประมาณ 5 ปี เนื้อไม้ใช้ทำเป็นไม้ฟืน เผาถ่าน ใช้ในการกอสร้างในสวนที่ไม่ต้องการความแข็งแรงมากนัก สำหรับการขยายพันธุ์ในรอบที่สองนั้น ไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส มีความสามารถในการแตกหน่อสูง แต่ไม้กระถินณรงค์และสะเดานา จะทำการปลูกทดแทนโดยใช้กล้าไม้จะดีกวา

การบำรุงรักษา
ในการบำรุงรักษาสวนป่าไม้มะค่าโมงนั้น หลังจากการปลูกกล้าไม้แล้วประมาณ 1 เดือน ให้เริ่มทำการถางหญ้าและพรวนโคนต้นไม้ โดยในช่วงปีแรกของการปลูกให้ทำการถางหญ้าและ พรวนโคนต้นไม้ 2-3 ครัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของวัชพืชในแปลงปลูก โดยวิธีในการกำจัดวัชพืช นั้นอาจให้ดำเนินโดยใช้แรงงานคน แต่ถ้าหากเป็นพื้นที่ขนาดใหญการใช้รถไถในการ ่ ่ ้ ดำเนินการนาจะมี ่ ประสิทธิภาพมากกวา นอกจากนีควรใสปุ ๋ ยเม็ดเสริมโดยให้พิจารณาจากความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยใน การใส่ปุ๋ยให้ใส่ในช่วงต้นฝน ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่  สำหรับในการจัดสร้างแนว กันไฟนั้นให้แบ่งแปลงปลูกให้มีขนาดเล็ก โดยพิจารณาจากสภาพภูมิประเทศเป็นหลัก ใช้รถไถจัดทำเป็นทางตรวจการซึ่งใช้เป็นแนวกันไฟจากภายนอกแปลงไปในตัวด้วย  นอกจากนี้ภายในแปลงควรทำแนวกันไฟแบ่งย่อยให้แปลงเล็กลง เพื่อป้องกันไฟภายในแปลงปลูกอีกชั้นหนึ่ง

การลิดกิ่งนั้นให้กระทำได้ทันทีที่ตรวจพบวากิ่งของไม้มะค่าโมงที่เกิดขึ้นมานั้นมีแนวโน้มที่จะทำให้รูปทรงเสียไป การที่จะกำหนดช่วงเวลาในการลิดกิ่งนั้นอาจจะสายเกินไปที่จะรักษารูปทรงของต้นไม้ไว้ และเมื่อต้นไม้มีการเจริญเติบโตที่ระดับหนึ่ง โดยให้สังเกตจากเรือนยอดที่ชิดกัน การเจริญเติบโตของต้นไม้มีอัตราที่ลดลง ณ ที่จุดนั้นให้ตัดฟันต้นไม้ออกส่วนหนึ่งซึ่งการตัดในลักษณะแถวเว้นแถว (ทั้งในทางยาวและทางขวาง) เป็นวิธีการที่สะดวก ใช้เวลาน้อย ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเรา่เรียกวา การตัดสางขยายระยะแบบวิธีกล (mechanical thinning)แต่อย่างไรก็ตามการกาหนดระยะ
ปลูกนั้น ควรให้พิจารณาถึงช่วงเวลาของการตัดสางขยายระยะด้วย ถ้ากำหนดระยะปลูกถี่ไป การตัดสางขยายระยะก็จำเป็นต้องดำเนินการเมื่อต้นไม้มีขนาดเล็ก ไม้ที่ตัดออกมาไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ในขณะเดียวกนระยะปลูกถี่กเป็นวิธีการหนึ่งในการเพิมผลผลิตของหมู ั่ ็ ่ ่ ไม้ สำหรับระยะปลูก 4x4 เมตร ที่กล่าวไว้เป็นระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับไม้โตช้าทั่ว ๆ ไป ่่ เช่น ไม้สัก ไม้ประดู่  เป็นต้น สำหรับ โรค แมลง และศัตรูธรรมชาตินั้น ยังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจัง แต่จากการสังเกตุพบวาเมล็ดของไม้มะค่าโมงจะถูกกัดกินจากแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่งแต่มิได้ทำอันตรายกับส่วนของเนื้อในเมล็ด โดยกัดกินเฉพาะในส่วนของหัวจุกหุ้มเมล็ดเทานั้น  สำหรับไม้มะค่าโมงที่ปลูกในแปลงทดลองจากการสำรวจพบวา ถูกกัดทำลายโดยแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่งเช่นกัน ซึ่งจะทำให้การเจริญเติบโตของต้นไม้ลดลง และอาจทำให้รูปทรงของต้นไม้เสียไป แต่อย่างไรก็ตามเราสามารถที่จะลดความรุนแรงของการระบาดของโรค และแมลงตาง ๆ ในสวนป่าไม้มะค่าโมงได้  โดยการปลูกสร้างสวนป่าในรูปแบบของสวนป่าชนิดพันธุ์ผสม และถ้าหากเกิดการระบาดรุนแรงก็ให้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยตรงต่อไป

นอกจากนี้จากการสังเกตุในพื้นที่ปลูกทดลองเมื่อต้นไม้ยังมีอายุน้อยอยู่พบว่า ศัตรูตามธรรมชาติของไม้มะค่าโมง ่ ได้แก่ ตัวตุ่น และจิ้งหรีด ซึ่งตัวตุ่นชอบกัดกินราก ทำให้ต้นไม้ตายได้ ่ สวนจิ้งหรีดมักจะกัดกินลำต้นจนขาด โดยส่วนมากมักพบในช่วงหนึ่งปีแรกภายหลังการย้ายปลูก เนื่องจากกล้าไม้ยังมีขนาดเล็กอยู่

การเจริญเติบโตและผลผลิต
สำหรับการศึกษาเกี่ยวกับการเจริญเติบโต และผลผลิตของไม้มะค่าโมงนันมีอยู่น้อยมาก ่เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมา ไม้มะค่าโมงมีอยู่จำนวนมากในป่าธรรมชาติ มีการตัดฟันมาใช้ประโยชน์อยางกว้างขวาง ทั้งที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย และถึงแม้ในปัจจุบัน ไม้มะค่าโมงในประเทศมีปริมาณลดน้อยลงอยางมากก็ตาม การลักลอบนำเข้าไม้มะค่าโมงจากประเทศเพื่อนบ้านก็มีอยู่มาก ดังนั้นจึงไม่มีคนสนใจที่จะดำเนินการปลูกสร้างสวนป่าขึ้นมา รวมทั้งผู้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพรรณไม้ก็มักจะทำการศึกษาเฉพาะในขณะเมื่อยังเป็นกล้าไม้อยู ทังนี้ เนื่องจากไม้ไม้มะค่าโมงโดยธรรมชาติแล้วจัดเป็นไม้ที่โตช้า ในการศึกษาเกี่ยวกับการเจริญเติบโต ต้องใช้เวลานาน ดังนั้นการปลูกทดลองสวนใหญมักจะเป็นในรูปของการทดลองปลูกเป็นแปลงเล็ก ๆ มิได้มีการติดตามการเจริญเติบโตสม่าเสมอ ซึ่งในการที่จะส่งเสริมให้มีการปลูกไม้ชนิดนี้ทั้งในภาครัฐบาลและเอกชนนัน ควรที่จะมีข้อมูลในสวนนี้อยูพอสมควร อยางน้อยก็เป็นชวงหนึ่งของการเจริญเติบโตในระยะแรก ๆ เช่น 5-10 ปี เป็นต้น 

จากการศึกษาของ Nakamura et al. (1991) พบว่าเมื่ออายุครบ 1 ปี ไม้มะค่าโมงที่ปลูกภายใต้แสง 40 เปอร์เซ็นต์ มีการเจริญเติบโตดีที่สุด มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 2.50 เมตร เมื่อเทียบ
กับไม้พะยูง ตะเคียนทอง และ ยางนา ภายใต้ความเข้มของแสงระดับเดียวกันพบวามีความสูงเฉลี่ย ประมาณ 2.20, 1.00, และ 0.50 เมตร ตามลำดับ ซึ่งจากผลการศึกษานี้เราสามารถนำไปประยุกต์ในการจัดการสวนป่าไม้มะค่าโมงได้ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

การใช้ประโยชน์
ไม้มะค่าโมง มีเนื้อไม้เป็นสีนำตาลอมเหลืองอ่อน แข็งเหนียว แข็งแรงทนทาน ขัดและชักเงาได้ดี เหมาะสำหรับใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ ที่ต้องการความแข็งแรงทนทาน ทำเสา หมอนรองรางรถไฟ ทำไม้บุผนัง ทำตัวถังรถบรรทุก ใช้เป็นส่วนประกอบโครงสร้างเรือใบ เรือเดินทะเล ทำเครื่องมือกสิกรรม เช่น ไถ คราด สาก กระเดื่อง ทำพานท้ายปืน เครื่องดนตรี เชน กลอง โทน รำมะนา เป็นไม้ให้ปุ่มมะค่าลวดลายสวยงามและราคาสูง ใช้ทำ่ เครื่องเรือนชั้นดี  นอกจากนี้แล้วเปลือกยังมีน้ำฝาดสำหรับใช้ฟอกหนัง และเนื้อในเมล็ดอ่อนใช้รับประทาน


ข้อจำกัดของไม้มะค่าโมง
จากการพิจารณาธรรมชาติของไม้มะค่าโมง พบว่าควรเลือกปลูกในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยูระหวาง 19๐-24๐ เซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยระหว่าง 1,000-1,500 มิลลิเมตรต่อปี ดินควร่เป็นดินร่วนมีการระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์พอสมควร วัตถุต้นกาเนิดดินควรเป็นพวกหินทราย และหินปูนอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลางไม่เกิน ่้650 เมตร


ข้อเสนอแนะต่อราษฎรและภาคเอกชนที่สนใจ
จากที่กล่าวมาแล้วว่าไม้มะค่าโมงนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะจัดดำเนินการปลูกสร้างเป็นสวนป่า แต่ยังขาดข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับไม้ชนิดนีอยู่มาก ดังนั้น ในเบื้องต้นนี้ ผู้ที่สนใจจะทำการปลูกไม้มะค่าโมงควรประยุกต์เอาวิธีการต่าง ๆ จากการปลูกสร้างสวนป่าไม้โตช้าชนิดอื่นๆ เชน ไม้สัก มาประยุกต์ใช้ นอกจากนี้ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ควรดำเนินการในลักษณะของระบบวนเกตษรเพื่อป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากการดำเนินการในระบบดังกลาว ค่อนข้างจะประณีต ความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นมีน้อยกว่า และยังเป็นการช่วยอภิบาลและเร่งการเจริญเติบโตของไม้มะค่าโมงที่ปลูกด้วย สำหรับภาคเอกชนที่ต้องการดำเนินการในพื้นที่ขนาดใหญนั้นสามารถที่จะดำเนินการได้เช่นกัน ในรูปแบบของการประยุกต์ใช้ระบบวนเกษตร แต่ข้อจำกัดที่สำคัญก็คือการดำเนินงานในลักษณะนี้ในพื้นที่ขนาดใหญนั้นยากแก่การดูแล ดังนั้นควรจะประยุกต์นำเอาระบบหมู่บ้านไม้ป่าไม้มาใช้ด้วย เช่น แบงพื้นที่รับผิดชอบของแต่และครอบครัว หรือแต่ละคนให้มีขนาดที่เหมาะสม ดำเนินการได้ทันตามแผนโดยให้มีแรงจูงใจในรูปของผลตอบแทนเกี่ยวกับค่าจ้างแรงงาน ผลผลิตการเกษตร และมีรางวัลตอบแทนเมื่อสามารถดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ รวมถึงมีการจัดสวัสดิการแก่สมาชิกในด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ที่อยูอาศัย การรักษาพยาบาล การจัดรถขนส่งผลผลิตทางด้านการเกษตร ่ เป็นต้น









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (2954 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©