-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 308 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้เศรษฐกิจ6







พืชที่ให้น้ำยางและชัน



น้ำยางและชัน เป็นผลิตภัณฑ์ของพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เพราะ นำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทั้งในชีวิตประจำวันและอุตสาหกรรมต่างๆ น้ำยางและ ชัน หมายถึง
1. Gums
2. Resin (hard resin, oleo-resin & gum-resin)
3. Latex


1.กัมส์ (gums)
เป็นสารที่ละลายน้ำแล้วได้สารละลายที่ข้นและเหนียว หรืออมน้ำแล้วพองตัวออก ลักษณะเป็นเมือกลื่นๆ คล้ายวุ้นหรือเยลลี่ เมื่อทิ้งไว้นานๆ น้ำจะค่อยๆ ระเหยออกไป จนเหลือแต่สิ่งที่มีลักษณะแข็งและใสคล้ายแก้ว การเกิดกัมส์นั้นไม่ทราบว่าเกิดมาอย่างไร และด้วยสาเหตุอะไร อาจเป็นเพราะผลของกระบวนการ metabolism อันเกิดจากเชื้อรา และแบคทีเรียเข้าไปในบาดแผลพืช แล้วสร้างน้ำย่อยไปสลาย เซลลูโลสและเฮมิ เซลลูโลส ในผนังเซลล์ทำให้กลายสภาพมาเป็นยางที่มีลักษณะเป็นเมือกๆ หรือระหว่าง การเจริญเติบโตของบางเซลล์ทำให้เซลลูโลส แปรสภาพและเมื่อดูดน้ำเข้าไปแล้วจะพอง ตัวออกและไหลซึมออกมาตามบาดแผลหรือรอยแตกตามเปลือกไม้


คุณสมบัติทางกายภาพ
1. เมื่อเป็นของแข็ง มีหลายสี สีขาวใส เหลือง อำพัน ส้ม น้ำตาล
2. ไม่มีกลิ่น หรือเกือบ มีกลิ่น
3. ไม่มีรส หรือรสหวานเล็กน้อยหรือรสขม จึงทำให้ยางไม้หลายชนิดรับประทาน ไม่ได้
4. ละลายน้ำได้ทั้งหมด หรือเพียงแต่ดูดน้ำ แล้วพองออกเป็นก้อน คล้ายวุ้น และมีเมือกลื่นๆ เมื่อดูดน้ำจนเต็มที่ จึงจะแตกตัวออก การละลายน้ำจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอายุของพืชที่ให้น้ำยาง
5. ละลายน้ำได้สารละลายที่เป็น คอลลอยด์ (colloidal solution) มีความเหนียว ความตึงผิวต่ำ ไม่ตกตะกอน และไม่ตกผลึก
6. ไม่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ (organic solvent) เช่น อีเธอร์ อัลกอฮอล์


คุณสมบัติทางเคมี
1. ประกอบด้วย C. H. O. เป็นส่วนใหญ่ N. และธาตุอื่นเป็นส่วนน้อย ยางไม้บางชนิดอาจมีแทนนินปะปนด้วย
2. เมื่อรวมกับน้ำแล้วได้สารคอลลอยด์เหนียวเรียกว่า gelatin หรือกาว
3. ไม่ตกผลึก
4. เมื่อละลายด้วย mineral acid ที่เจือจางจะได้ น้ำตาลชนิดต่างๆ เช่น pentose, arabinose, xylose, tragacanthose และ galactose ประมาณ 80% ของ ยางไม้ทั้งหมด สามารถเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาลได้ปกติ กัมส์จะไหลออกมาจากต้นไม้ทางเลนติเวล แล้วจับตัวเป็นก้อน เมื่อถูกกับอากาศทำให้น้ำระเหยออกไปและกัมส์จะแข็งตัวมากขึ้นเรื่อยๆ พืชที่ให้กัมส์นี้มีจำนวนมาก แต่ละชนิดให้ปริมาณมากน้อยแตกต่างกัน วงศ์ Leguminosae ให้กัมส์มากที่สุดโดยเฉพาะสกุล Acacia นอกจากนี้มี Albizzia,  Astragalus,  Bauhinia, Caesalpinia,  Pithecellobium นอกจากนี้ก็พบในวงศ์ Anacardiaceae, Combretaceae, Meliaceae, Rosaceae, Rutaceae และ Sterculiaceae




ชนิดของกัมส์ จำแนกกัมส์ตามคุณสมบัติในการละลายได้ 3 ชนิด

1. Soluble gums...เป็นกัมส์ละลายน้ำได้และให้สารละลายที่ใสและเหนียว เช่น gum arabic
2. Insoluble gums...เป็นกัมส์ไม่ละลายน้ำ แต่ดูดน้ำและพองออกเป็นก้อนลื่นๆ คล้าย เยลลี่ ถ้าเพิ่มปริมาณน้ำ ให้มากจะได้ของเหลวที่ขุ่นและเหนียว เช่น gum tragacanth
3. Semi-insoluble gums...เป็นกัมส์ที่มีคุณสมบัติอยู่ระหว่างกัมส์ชนิดที่ 1 และ 2 ละลายน้ำได้บ้างและมีลักษณะเป็นเมือกคล้ายเยลลี่ เพิ่มปริมาณน้ำมากขึ้น จะค่อยๆ ละลายมากจนดูคล้ายกับเป็นเยลลี่ใสๆ เช่น Persian gums จาก Prunus spp.


ประโยชน์ของกัมส์ ใช้เป็น adhesive substance ผสมหมึกพิมพ์และเขียนผ้า ผสมทำสีรองพื้นผสมยา อาหาร ขนม ไอศรีม ยาอม ผสมในของใช้บางชนิด เช่น ยา ทาเล็บ ยาสีฟัน น้ำยาหรือครีมโกนหนวด



กัมส์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่

1. Gum Arabic
เป็นยางไม้ที่ได้จาก Acacia senegal (Leguminosae) เป็น พืชขนาดเล็กมีถิ่นกำเนิดในอัฟริกา ปลูกมากในประเทศซูดาน ไนจีเรีย น้ำยางได้จาก เนื้อไม้ ควรเก็บกัมส์ช่วงที่ฝักแก่เพราะเป็นระยะให้กัมส์มากที่สุดซึ่งจะอยู่ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคมโดยจะต้องลอกเอาเปลือกออก น้ำยางเหนียวจะออกมา จากเนื้อไม้ หลังจากนั้นประมาณ 3-8 สัปดาห์ ยางไม้นั้นจะแข็งเกษตรกรจึงจะเก็บยาง ไม้ ตากให้แห้งแล้วกำจัดสิ่งเจือปน


น้ำยางนี้จะละลายน้ำเย็นได้แม้จะช้า แต่ละลายได้หมดสมบูรณ์ แต่มีความเหนียว ข้น มีความหนืดสูง ติดได้ดี ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ในด้านการทำเส้นใยให้แข็งแรง ทำ กาว ยาขัดมันในสีในทางการแพทย์ใช้เป็นตัว emulsifying agent

2. Gum tragacanth
เป็นน้ำยางได้จาก Astragalus gummifer (Leguminosae) พืชชนิดนี้เป็นไม้พุ่มมีหนาม มีถิ่นกำเนิดทางเอเซียตะวันตกและยุโรป ตะวันออกเฉียงใต้ น้ำยางได้จากการเปลี่ยนรูปของเซลล์ pith และ medullary ray มา อยู่ในรูปของสารเมือก จะขับออกมาเมื่อเปลือกของพืชเป็นแผล เมื่อทิ้งไว้น้ำยางจะแข็ง แล้วจึงเก็บเกี่ยว ลักษณะของผลิตภัณฑ์นั้นเกษตรกรจะทำ 3 รูปแบบ ได้แก่เป็นก้อน บิดเป็นเกลียวและเป้นแถบยาว ประเทศที่ทำเป็นการค้า ได้แก่ อิหร่านและตุรกี ใช้ใน อุตสาหกรรมพิมพ์ผ้าดอก หรืออุตสาหกรรมอย่างอื่นเป็นยาโบราณที่เก่าแก่ที่สุดทำให้ เนื้อยาติดเป็นเม็ดและเป็น suspensor ของผงยาที่ไม่ละลายน้ำ gum tragacanth ประกอบด้วย bassorin 60-70% ไม่ละลายน้ำ tragacanthin 8-10% นำไปใช้ ประโยชน์เช่นเดียวกับ gum arabic


3. Karaya gum (Indian gum)
เป็นน้ำยางที่ได้จาก Sterculia urens (Sterculiaceae) ไม้ต้นขนาดใหญ่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย น้ำยางได้จาก heartwood โดย 
 



4. กัมส์จากพืชชนิดอื่นๆ

ได้จาก มะตูม (Aegle marmelos Corr., Rutaceae)
จามจุรี (Albizzia lebbek Benth., Leguminosae) กางขี้มอด (A. odoratissima Benth., Leguginosae) ชงโค (Bauhinia purpurea L., Leguminosae) หางนกยูงฝรั่ง (Delonix regia Raf.,Leguminosae) แคบ้าน(Sesbaniagrandiflora Desv., Leguminosae)มะม่วง (Mangifera indica L., Anacardiaceae) มะกอก(Spondias pinnata Kurz, Anacardiaceae) สะเดา (Azadirachta indica juss., Meliaceae) หูกวาง (Terminalia catappa L., Combretaceae) สมอไทย (T. chebula Retz., Combretaceae) และสมอดีงู (T.citrina Roxb. ex Flem., Combretaceae)


2. เรซิน (resins)
เรซินหรือที่เรียกว่ายางหรือชัน เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันของน้ำมันหอม ระเหยชนิดต่างๆ ในพืชที่องค์ประกอบทางเคมีแตกต่างกันแล้วแต่ว่าเรซินนั้นเกิดจาก น้ำมันหอมระเหยชนิดใด เมื่อพืชสร้างเรซิน เรซินก็จะถูกขับไปตามท่อน้ำยาง (resin duct หรือ resin canal) และขับออกมาสู่ภายนอก ทางรอยแตกของเปลือกไม้หรือตาม บาดแผล เมื่อเรซินถูกกับอากาศ น้ำในเรซินจะค่อยๆ ระเหยออกไปทำให้เรซินแข็งและ จับตัวเป็นก้อน


พืชบางชนิดสร้างและขับเรซิน ออกมาปนกันกัมส์เรียกสารนี้ว่า gum-resin ซึ่งมี ลักษณะกึ่งเหนียวกึ่งแข็ง พืชบางชนิดสร้างและขับเรซินออกมาปนกับน้ำมันหอมระเหย เรียกว่า oleo-resin มีลักษณะเหนียวและหนืด หากสารถูกขับออกมา รวมกับเรซินและ น้ำมันหอมระเหยปะปนกันเรียกสารนั้นว่า oleo-gum-resin


พืชที่ให้เรซินชนิดที่มีความสำคัญ พบในวงศ์ Anacardiaceae, Apiaceae, Burseraceae, Dipterocarpaceae, Clusiaceae, Leguminosae, Pinaceae และ Stryracaceae เป็นต้น 
 


คุณสมบัติของเรซิน ไม่ละลายน้ำ ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ เมื่อถูกกับ อากาศจะแข็งตัวมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อ


ประโยชน์ของเรซิน

1. ใช้ทำยาและผสมยา
2. ใช้ในอุตสาหกรรมทำน้ำมันชักเงา และผสมสีต่างๆ เนื่องจากมีคุณสมบัติในการกัน น้ำ และป้องกันการผุกร่อน
3. ผสมกับสารอื่น เช่น ผสมข้ากับน้ำมันยางแล้วใช้ทางเรือหรือภาชนะอื่นๆ เพื่อกันน้ำ
4. ใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ ทำให้กระดาษเหนียวและทำหมึกพิมพ์
5. ใช้แกะสลักหรือตกแต่งดัดแปลงเป็นเครื่องบูชา โดยมากใช้เรซินที่เป็นฟอสซิล ซึ่งไม่มี การสลายตัวอีก เช่น อำพัน (amber)


ชนิดของเรซิน
เรซินมีคุณสมบัติและส่วนประกอบทางเคมีแตกต่างกัน ทางเคมี นั้น จำแนกเรซินตามองค์ประกอบทางเคมี ส่วนทางชีวภาพจำแนกเรซิน ตามคุณสมบัติ ทางกายภาพ จำแนกได้ 3 ประเภทดังนี้

1. Hard Resins เป็นยางที่แห้งแล้วแข็ง ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจได้แก่
1.1 ชัน (Copals) เป็นน้ำยางชันที่มีชื่อเสียงของโลกไม่มีในประเทศได้แก่ East african copals, West African copals, Kauri copal, Manila copal, South American copals เรซินนี้มาจากการออกซิไดซ์น้ำมันหอมระเหยหลายอย่าง มีความ ซับซ้อนของโมเลกุลมาก องค์ประกอบก็แปรปรวน แต่เรซินนี้มีแหล่งกำเนิดที่แน่นอน ซึ่งต่อมจะเป็นโพรงและเป็นน้ำยางข้นออกมาทางเปลือกไม้ และแข็งเมื่อถูกอากาศ บาง กรณีเรซินนี้อาจจะปนอยู่กับน้ำมันหอมระเหยหรือกัมส์ แต่ไม่ละลายในน้ำเลย เป็นสารที่ ละลายได้ในอีเทอร์ อัลกอฮอล์

จากคุณสมบัติที่มีน้ำมันหอมระเหยผสมอยู่ด้วย ตัวสารเองมีลักษณะเป็น น้ำมัน จึงนำเรซินไปใช้เป็นส่วนผสมของน้ำยาขัดเงา เมื่อน้ำมันที่มีอยู่ในตัวระเหยไปสาร ที่เหลือกลายเป็นตัวกันน้ำได้ดี ใช้เป็นส่วนผสมในสารกันน้ำได้ดีด้วย ชาวอียิปต์ก็ใช้เร ซินนี้อาบศพมัมมี่ นอกจากนี้ใช้เป็นส่วนผสมของแลคเคอร์ ใช้ในทางการแพทย์ อุตสาหกรรมทำกระดาษ สารประกอบทำเสื่อน้ำมัน การทำไขที่ใช้เขื่อนรอยรั่ว อุตสาหกรรมน้ำหอม ในทางการค้าจะเรียกเรซินว่า ชัน ซึ่งได้จากพืชต่างๆ  เช่น
1.2 ชันยาเรือ (Damar หรือ Dammae) ได้จากพืชวงศ์ Dipterocarpaceae ในสกุลตะเคียนชันตาแมว (Balanocarpa), ตะเคียน (Hopea), เต็ง (Shorea) และวงศ์ Burseraceae เช่น สกุลมะเกิ้ม (Canarium) เป็นต้น
1.3 อำพัน (Amber) ได้จากสนเป็นน้ำยางจากฟอสซิล พบทางทะเล บอลติก (Baltic amber) ได้จากพืชหลายชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้วโดยเฉพาะ Pinus succinifera
1.4 แลคเคอร์ (Lacquer) ได้จาก Rhus verniciflua (Lacquer tree) วงศ์ Anacardiaceae เป็นพืชทางเอเซีย น้ำยางสีขาว เมื่อถูกอากาศจะสีเข้มหรือดำ เมื่อใช้จะทาบาง น้ำยางนี้แห้งเร็วมากเหลือไว้แต่เคลือบบางๆ แต่แข็ง สารนี้ทนต่อ ความเป็นกรด ด่าง หรืออัลกอฮอล์ และความร้อนถึง 160oF ในทางการค้าจะใช้ ร่วมกับสี ชาวจีนใช้มาเป็นเวลานานก่อนคริสตกาล พืชที่ให้แลคเกอร์ในประเทศไทย ได้แก่ รักใหญ่ (Glute) วงศ์ Anacardiaceae เช่น รักใหญ่ (G.usitata, Vanish tree)
1.5 แชลแลค (Shellac) ได้จาก ครั่ง (Tachardia lacca) lacinsect แมลงชนิดนี้ดูดกินน้ำเลี้ยงจากกิ่งไม้ ตัวมันเองจะผลิตสารเรซินที่เรียกว่า ครั่ง ซึ่งหุ้ม ตัวเองไว้ เพื่อป้องกันอันตราย ปลอกนี้เรียกว่า stick-lac เมื่อนำไปต้มกับน้ำจะได้สีแดง ใช้ย้อมผ้า กากเหลือทำให้แห้งและบดเป็นผงเรียกว่า ผลครั่ง (seed-lac) ถ้านำผลครั่งนี้ ไปหลอมให้เป็นของเหลว แล้วเทใส่พิมพ์ออกมาเป็นแผ่นแบนและบาง มีลักษณะโปร่งใส เปราะ มีสีเหลืองแกมแดง หรือสีแดงแกมส้ม เรียกว่า shel-lac นำมาละลายใน แอลกอฮอล์ ใช้ทาสิ่งของให้เป็นมันเงา แชลแลคไม่ทนน้ำ พืชที่เป็นอาศัย ของแมลงนี้มี ประมาณ 40 ชนิด เช่น ทองกวาว (Butea monosperma) ตะคร้อ (Schleichera oleosa), ถั่วแระ (Cajanus cajan.) และโพธิ์ (Ficus religiosa) เป็นต้น


2. น้ำมันจากต่อมพืช (Oleo-resins)

เป็นน้ำยางเรซินที่มีน้ำมันหอมระเหยปะปนค่อนข้างมาก จึงมีความเหลว มากกว่าซิน แต่ละชนิดมีกลิ่นระเหยแตกต่างกันประกอบด้วยสารสำคัญจำพวก
2.1 ชันสน (Rosin หรือ Colophony) หรือน้ำมันสน (Turpentines) ได้ จากการกลั่นจากยางสน (Coniferous) มีลักษณะคล้ายน้ำผึ้ง เหนียว เมื่อแห้งจะเป็น ก้อนนุ่มวาว น้ำมันสนนี้ผลิตจากต่อมพิเศษที่อยู่ใกล้กับชั้นแคมเบียม ในทางการค้าจะ เจาะต้นสนเข้าไปเมื่อได้น้ำยางสด จะนำไปกลั่น ได้น้ำมันหอมระเหย หรือ turpentine และ rosin เช่น น้ำมันสนออสเตรเลีย (Pinus australis) น้ำมันสนพินนาสเตอร์ (P.pinaster)
2.2 อนุภัณฑ์น้ำมันสน (Turpentines of Minor Importance)
ก. Canada Balsam มีลักษณะสีเหลืองใส ใช้ทำกาวได้จาก Abies balsamea มีมากทางอเมริกาและแคนาดา
ข. Oregon Balsam เป็นน้ำมันที่ได้จาก Douglas fir
ค. Spruce Guth น้ำมันที่ได้จาก Picea rubens
ง. Venetian turpentine ได้จาก Larix deciduas ในยุโรปน้ำมันมา จากต่อม

ที่อยู่ใจกลางของพืชต้องเจาะรูเข้าไปตรงกลางจึงจะได้ยางไม้ Turpentines ชนิดอื่นอีกอาจได้จาก Pinus pinaster และ Abies alba


2.3 ยางไม้หอม (Balsams)
เป็นพวก oleo-resins ที่มีกรด benzoic, cinnamic ปนอยู่ จึงมี กลิ่นหอม น้ำมันประเภทนี้จะมีความเป็นน้ำมันน้อยกว่าน้ำมันพวก terpentines ความเหนียวข้นก็ น้อยกว่าด้วย เมื่อกลั่นจะได้น้ำมันหอมระเหย ใช้ประโยชน์ ทางยา และอุตสาหกรรม น้ำหอม
ก. ยางไม้หอมจากเปรู (Balsam of Peru, Myroxyion pereinrae) เป็นไม้ใหญ่คล้าย มะฮอกกานี ยางสีดำ น้ำตาลแดงกลิ่นหอม ได้จาก
ข. ยางโทลู (Balsam of tolu, Myroxylon balsamum) ยางสี เหลืองหรือน้ำตาล กลิ่นหอม ใช้ปนยาหม่อง (salves, ointments) ยาขจัดเสมหะ ยา ฆ่าเชื้อแก้ไอ แก้หวัด หลอดลมอักเสบ ผสมในน้ำยาแก้ไอช่วยให้กลิ่นน้ำหอมติดใช้ใน การผลิตสบู่
ค. สไตแรกซ์ (Styrax) ได้จากบาดแผลของ Linquidambar orientalis เกิดจากเปลือกไม้ชั้นในมีประโยชน์ในอุตสาหกรรมทำสบู่ เครื่องสำอาง แต่ง กลิ่นในยาสูบ ขับเสมหะ รักษาโรคเรื้อน โรคหิด
ง. เบนซอย (Benzoia) เป็นยางน้ำแช่แข็ง เป็นสารฆ่าเขื้อ มีถิ่น กำเนิดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จากเนื้อไม้ของ Styrax tonkinense และ S. benzoides ยางสีเหลืองน้ำตาล มีสีขาวขุ่นอยู่ตรงกลางเป็นก้อนแข็งเป็นประกาย มีกลิ่น หอมคล้าย วนิลา ใช้เป็นยาขับเสมหะทาน้ำหอม สบู่ โลชั่น น้ำยาล้าง ห้องน้ำ ผงขัด ฟัน ใช้เป็นยารมฆ่าเชื้อ


2.4 กัม-เรซิน (gum-resin)
เป็นเรซินที่ถูกขับออกมาปนกับกัมส์ จึงมี ลักษณะกึ่งเหนียวกึ่งแข็ง ละลายน้ำได้เป็นบางส่วน ส่วนมากได้จากพืชสกุล Garcinia กัมเรซินที่รู้จักกันดีที่สุดได้จากต้น รง หรือรงทอง (Gum Cambodge treem G. hanburyi) และรงทอง (G.acuminata) เป็นไม้ต้น สูง 7-15 เมตร ใบดกทึบสีเขียวเข้ม เป็นมันตลอดทั้งปี ดอกสีเหลืองอ่อน แยกเพศ เปลือกสีเทา ส่วนเปลือกในสีเหลืองอ่อน มีวันสีเหลืองซึมออกมาตามรอยปริของเปลือกเสมอ รงที่มีจำหน่ายเป็นสินค้าส่วนใหญ่ได้ จากบริเวณภาคตะวันออกของไทย เช่น จันทบุรี ตราด และบางส่วนของประเทศ กัมพูชา


3. ลาเทกซ์ (latex)

เป็นยางเหลวที่ส่วนมากจะขุ่น สีขาวหรือเหลืองอ่อนๆ สร้างขึ้นในท่อน้ำยาง (lacticiferous duct) พืชขับน้ำยางออกภายนอก เมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้น น้ำยางจาก พืชก็มีคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีแตกต่างกัน เช่น สี ความข้นความยาวหยุ่น



คุณสมบัติของลาเทกซ์
1. เป็นของเหลวซึ่งส่วนมากขุ่น สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน บางชนิดเป็นยางใสและ เปลี่ยนสีเมื่อถูกกับอากาศ เช่น ยางบัว
2. องค์ประกอบสำคัญ คือ โปรตีน น้ำมันน้ำตาล
3. เมื่อทำปฏิกริยากับกรด จะแข็งตัวหรือเปลี่ยนสภาพเป็นของที่แข็งเหนียวและ ยืดหยุ่นได้

ประโยชน์ของลาเทกซ์ ใช้ทำยางลบ ยางรถยนต์ หมากฝรั่ง กาว แบบ พิมพ์ฟัน ฉนวนไฟฟ้าถุงยางอนามัย



ชนิดของลาเทกซ์
การจำแนกลาเทกซ์อาศัยคุณสมบัติในการยืดหยุ่นตัวของยางได้ ดังนี้
1. ยางที่เหนียวและยืดหยุ่นตัวได้ดี (elastic rubber) ได้แก่ ยางพารา (Para rubber) และ Indian rubber
2. ยางที่ยืดหยุ่นตัวได้น้อย (non elastic rubber) ได้แก่ Gutta percha, Chicle jelutong ยางพารา (Hevea Rubber, Para rubber, Hevea brasiliensis, Euphorbiaceae) พืชในวงศ์นี้มักจะมีน้ำยางสีขาวเป็นลักษณะสำคัญ เป็นพืชเศรษฐกิจที่ สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย ยางพาราสามารถนำไปเป็นวัตถุดินเพื่อผลิตสินค้าได้หลาย ชนิด และประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มผู้ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก


ยางพารามีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำอเมซอน การปลูกยางพารานิยมใช้วิธี ติดตา (budding) มากกว่า การเพาะเมล็ด ซึ่งมักจะได้ต้นที่มีคุณภาพด้อยลงกว่าพ่อแม่ เสมอ เมื่อต้นยางอายุ 5-7 ปีก็สามารถกรีดเอาน้ำยางได้ หากต้นสมบูรณ์ดีก็จะให้น้ำยางต่อไปได้ถึง 30 ปี ท่อน้ำยางอยู่ในชั้นที่ใกล้กับแคมเบียม และเกิดเวียนรอบลำต้น จากซ้ายไปขวา และจากข้างล่างขึ้นข้างบน การกรีดยางจึงต้องกรีดจากซ้ายไปขวา และ


แหล่งปลูกยางพาราของประเทศไทย
มากกว่าหนึ่งล้านไร่ สงขลา ตรัง นครศรีธรรมราช
มากกว่าเจ็ดแสนไร่ นราธิวาส ยะลา
มากกว่าห้าแสนไร่ กระบี่
มากกว่าสองแสนไร่ ปัตตานี พัทลุง พังงา จันทบุรี ระยอง
น้อยกว่าสองแสนไร่ ตราด สตูล ระนอง ภูเก็ต


พื้นที่ส่งเสริมการเพาะปลูก ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ อุบลราชธานี สกลนคร นครพนม หนองคาย เชียงใหม่ และเชียงราย


ผลิตผลจากยางพารา
1. น้ำยางข้น ได้แก่ น้ำยางที่ได้จากการกรีดยาง และผ่านกรรมวิธีขจัดน้ำออก เพื่อให้น้ำยางข้นมากๆ น้ำยางข้นนี้นำไปใช้ทำกาว ทำลูกโปร่งและผสมสีทาบ้าน เป็น ต้น
2. ยางแผ่น ได้จากการทำน้ำยางข้นไปทำปฏิกริยากับ กรด formic หรือกรด acetic เพื่อให้น้ำยางแข็งตัวจับกันเป็นก้อน มีความเหนียวมาก จากนั้นนำไปเข้าเครื่อง รีดให้เป็นแผ่นบางๆ ขนาดความหนาสม่ำเสมอ และแขวนตากลมให้แห้ง ยางชนิดนี้บาง ทีเรียกว่า ยางผึ่งแห้ง (air dried sheet) นำมาใช้แทนยางเครพขาวได้
3. ยางเครพขาว (pale crepe หรือ latex crepe) ได้จากการนำน้ำยางสดมา ทำให้จับตัวเป็นก้อนโดยใช้กรด แล้วรีดให้เป็นแผ่นบางที่สุด ผึ่งในที่ร่มจนแห้งหรืออบใน ห้องอบความร้อนก็ได้ ยางชนิดนี้ถ้าบางและใสจึงจะนับว่ามีคุณภาพดี ดังนั้นอาจต้องใส่ สารบางอย่างเพื่อช่วยกันสีให้แผ่นยางขาว เช่น โซเดียมไบซัลไฟท์ (Sodium bisulphite) เมื่อนำไปทำของใช้อาจใส่สีเพื่อให้ของใช้นั้นมีสีสดสวยขึ้นก็ได้ ยางชนิดนี้ ส่วนมากนำมาทำ หัวนมสำหรับเด็ก ถุงมือแพทย์ กระเป๋าน้ำร้อน และถุงน้ำแข็ง เป็น ต้น
4. ยางแผ่นรมควัน (rubbed smoked sheet) ได้จากกรรมวิธีเช่นเดียวกับการ ทำยางแผ่น แต่ต้องผ่านการรมควัน ไทยผลิต 70-80% ของยางดิบที่ได้ทำรองเท้า
5. ยางแท่ง (block rubber) ใช้ทั้งน้ำยางและเศษยางก้อน ทำเป็นแท่งแล้วอบ ให้แห้งด้วยความร้อนใช้เวลาในการผลิตนานกว่าวิธีอื่นๆ


พืชเศรษฐกิจที่น้ำยาง

1.ยางพารา
ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ ของประเทศและชีวิตความ เป็นอยู่ของประชากรกว่า 6 ล้านคน หรือร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ในปี 2544 ยาง ผลิตภัณฑ์ยาง และผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารา ทำรายได้จากการส่งออกให้กับ ประเทศ คิดเป็น มูลค่าทั้งสิ้น 135,280 ล้านบาท แยกเป็นมูลค่าการส่งออกยางในรูป วัตถุดิบ 58,703 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์ยาง 48,496 ล้านบาท และ ผลิตภัณฑ์ไม้ยางพารา 28,081 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2543 ซึ่งมีมูลค่า 123,642 ล้านบาท มูลค่าการ ส่งออกในปี 2544 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.4 แต่เมื่อพิจารณาแยกรายสินค้า มูลค่าการส่งออก ยางในรูปวัตถุดิบลดลงร้อยละ 3.3 การส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง และผลิตภัณฑ์ ไม้ยางพารา เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 และร้อยละ 34.5 ตามลำดับ ปริมาณการผลิตยางของไทยในปี 2544 จำนวนทั้งสิ้น 2.319 ล้านตัน คิด เป็นสัดส่วนร้อยละ 32 ของการผลิตทั้งหมดของโลก และ ส่งออกยางปริมาณ 2.042 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40 ของการส่งออก ยางทั้งหมด ของโลก


การจำแนกทางอนุกรมวิธาน (Taxonomic clissification)

Class : Angiospermae

Subclass : Dicotyledoneae

Order : Euphorbiales

BO 216 657

Family : Euphorbiaceae

Genus : Hevea

Species : brasiliensis

Scientific name : Hevea brasiliensis Muell Arg.

Common name : Para Rubber

พืชที่สามารถให้น้ำยางซึ่งสามารถนำมาใช้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ได้มากมายนั้น ส่วน ใหญ่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ใต้ และอาฟริกาเขตร้อน เท่าที่พบตระกูลที่นับว่ามี ความสำคัญ ได้แก่ ตระกูล Moraceae ; Castilla elastica มีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโก และอเมริกากลาง Ficus elastica มีถิ่นกำเนิดในประเทศพม่า ตระกูล Apocynaceae ; Cryptostegia grandiflora, Cryptostegia madagascariensis มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง และมาลากัสซี ตระกูล Compositae ; Parthenium argentatum มีถิ่นกำเนิดในแถบอาฟ ริกา และอเมริกาเขตร้อน ตระกูล Euphorbiaceae ; Hevea spp. มีถิ่นกำเนิดแถบลุ่มน้ำ อเมซอนในประเทศบราซิล พืชที่ให้น้ำยางตระกูลสุดท้ายนับว่ามีความสำคัญมากที่สุด ทั้งนี้เพราะให้น้ำยางในปริมาณที่มากกว่า ตามการบันทึกของ La Condamine ทำให้ ทราบความเป็นมาของ Hevea ซึ่งมาจากคำว่า "heve" เป็นคำที่ใช้เรียกน้ำยางที่เก็บได้ จากต้นพื้นเมือง คาดว่าอาจเป็นต้น Castilla ulei ต่อมา Aublet ให้ชื่อสกุลเสียใหม่เป็น Hevea พืชให้น้ำยางในสกุล Hevea มีหลายชนิดด้วยกัน อาศัยความแตกต่างจากลักษณะ ทางสัณฐานและสรีรวิทยาแบ่งออกเป็นดังนี้ H. camporum, H. brasiliensis, H. guyanensis, H. benthamiana, H. microphylla H. similis, H. spruceana, H. minor, H. nitida, H. pauciflora, H. discolor, H. rigidifolia, H. lutea, H. confusa. ทั้งหมดนี้มีถิ่น กำเนิดในอเมริกาใต้ แถบลุ่มน้ำอเมซอนเกือบทั้งหมด พืชในสกุล Hevea brasiliensis มี การปรับตัวดีที่สุด จากการรวบรวมของ Wickham และมีคุณสมบัติบางประการได้แก่ เปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง (dry rubber content; DRC) องค์ประกอบทางเคมีของน้ำยาง ความหนืดของน้ำยาง และอัตราการไหลของน้ำยางที่ดีเหมาะแก่การผลิตเพื่ออุตสาหกรรม ในทุกพื้นที่ปลูก มีชื่อเรียกทั่ว ๆ ไปว่า ยางพารา (Para rubber) ตามชื่อเมือง para ซึ่ง เป็นแหล่งกำเนิดในบราซิล หรือ Hevea rubber ตามชื่อตระกูล



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของยางพารา
1.ราก (Roots)

ยางพารามีระบบรากเป็นระบบรากแก้ว (tap root system) ประกอบด้วยราก แก้ว (tap root) ที่มีความยาวโดยเฉลี่ยตามความลึกของดินประมาณ 2.5 เมตร ในต้น ยางที่มีอายุ 3 ปี ทำหน้าที่ยึดเกาะพยุงลำต้นไม่ให้โค่นล้มเมื่อลมแรงและมีน้ำท่วม ราก แขนง (lateral root) แตกแขนงออกมาจากชั้น pericycle ของรากแก้ว มีความยาวเฉลี่ย 7-10 เมตร เจริญอยู่ในระดับผิวดินบริเวณทรงพุ่ม ทำหน้าที่ดูดยึดน้ำและธาตุอาหารส่งไป ยังใบเพื่อขบวนการสังเคราะห์แสง


2.ลำต้น (Stem)
แบ่งลำต้นออกเป็น 2 ชนิดตามชนิดของวัสดุปลูก คือ ลำต้นรูปกรวย (cone) เป็นลำต้นที่เกิดจากการปลูกด้วยเมล็ด (seedling tree) จะสังเกตเห็นได้ชัดว่า ส่วนฐาน ของลำต้นจะโตแล้วค่อยเล็กลงตามความสูง ลำต้นอีกชนิดหนึ่งคือ ลำต้นรูปทรงกระบอก (cylinder) เป็นลำต้นที่เกิดจากการปลูกด้วยต้นติดตา (budded stump) ลักษณะของลำต้น ส่วนล่างสุดมีขนาดใหญ่มากเรียกว่า "เท้าช้าง" เลยจากจุดนี้ขึ้นไปจะเป็นลำต้นที่มีขนาด เท่ากันทั้งส่วนโคนต้นและส่วนปลาย ในช่วงแรกของการเจริญเติบโตพบว่า ลำต้นทั้งสอง ชนิดมีเกล็ดใบ (scale leaves) อยู่ตรงส่วนตายอด ทำหน้าที่ห่อหุ้มใบอ่อนไม่ให้ได้รับ อันตราย ถัดลงมาก็เป็นกลุ่มของใบซึ่งแตกเป็นฉัตรรอบลำต้น เมื่อลำต้นมีอายุมากขึ้นก็จะ มีการแตกกิ่งก้านสาขา ฉัตรใบบริเวณล่าง ๆ จะร่วงหล่นไปกลายเป็นลำต้นเปลือย (bare trunk) ความสูงของลำต้นเปลือยแตกต่างกันออกไปโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 2-2.5 เมตร ส่วนประกอบของลำต้นที่เราจะนำมาใช้ประโยชน์ในการสกัดน้ำยาง ได้แก่ เปลือก ซึ่ง ประกอบด้วย


2.1 เปลือกแห้ง (corky bark)
เปลือกที่อยู่ส่วนนอกสุดของลำต้นมีสีน้ำตาลถึง ดำ ไม่มีท่อน้ำยางอยู่ภายในเลย เกิดจากการสร้าง outer soft cell ของชั้น cortex ที่ยังมี ชีวิตอยู่ที่เรียกว่า bark cambium ต่อมามีสารพวกลิกนิน ซูเบอร์ลิน มาสะสมทำให้เห็น 
 

2.2 เปลือกแข็ง (hard bark)
อยู่ถัดจากเปลือกแห้งเข้ามา มีสีส้ม หรือสีน้ำตาล อ่อน เกิดจากการแบ่งเซลล์ของ bark cambium แล้วเจริญเข้าทางด้านใน มีการสะสมสาร พวกลิกนิน และซูเบอร์ลินน้อยกว่าเปลือกแห้ง แต่มี stone cell อยู่เป็นจำนวนมาก กระจัด กระจายอยู่ทั่วไปในชั้นนี้ ทำให้ท่อน้ำยางมีลักษณะขาดตอน (interupted latex vessel) และมีจำนวนน้อย ชั้นนี้อาจเรียกว่า outer cortex

2.3 เปลือกอ่อน (soft bark)
เป็นเปลือกชั้นในสุดถัดจากเปลือกแข็งเข้าไป เกือบใกล้เนื้อไม้ เป็นส่วนของ inner cortex ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่อ่อนนุ่ม มีชีวิต และ หนาของเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร (sieve tube) ซึ่งวางตัวอยู่ในแนวตั้ง ภายในเป็นแหล่ง สะสมอาหารจำนวนมาก เนื้อเยื่อดังกล่าวติดต่อกันตลอดทั้งในลำต้น กิ่งก้าน และใบ อาหารที่มาสะสมก็คือน้ำยางนั่นเอง ซึ่งเรียกว่า latex น้ำยางที่ถูกสร้างขึ้นเป็นโพลิเมอร์ ของ cis-1, 4-polyisoprene ส่วนของเนื้อเยื่อลำเลียงอาหารก็คือ ท่อน้ำยาง (lacitifer) ที่มี ลักษณะเชื่อมติดต่อกันตลอดไม่ขาดตอน (continuous latex vessel) มีการจัดเรียงตัวใน แนวเอียง ทำมุม 2-5 องศากับแนวดิ่ง วนจากขวาวนมายังซ้ายล่าง ในชั้นนี้ยังพบเนื้อเยื่อ อีกชนิดหนึ่งรอบๆ เนื้อเยื่อลำเลียงอาหารคือ medulla rays มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น น้ำ เป็นตัวที่คอยควบคุมความเข้มข้นของน้ำยางในท่อน้ำยาง และช่วยรักษาความเต่ง สภาพสมดุลย์ของท่อน้ำยางด้วย ชั้นเปลือกอ่อนมีความหนาแน่นของท่อน้ำยางสูง จึงทำให้ขนาดของท่อน้ำยางเล็กกว่าในชั้นเปลือกแข็ง


3. ใบยางพารา (Leaf)
ใบยางพาราจัดเป็นใบประกอบ (compound leaf) แบบ palmate ในใบประกอบ ชุดหนึ่งของยางพารามี 3 ใบย่อย ซึ่งเรียกว่า trifoliage leaves ใบย่อยแต่ละใบจะมีก้านใบ ย่อย (peteolule) ซึ่งมีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 0.5-2.5 ซม. แตกออกตรงส่วนปลาย ของ peteole ณ จุดเดียวกัน peteole ของใบยางพาราจะมีความยาวโดยเฉลี่ย 15 ซม. (2- 70 ซม.) การเรียงตัวของใบในฉัตรเป็นแบบเกลียว (spiral) ใบที่แก่ที่สุดของกลุ่มใบย่อย คือ ใบที่ใหญ่ที่สุดและมี peteolule ยาวกว่า แผ่นใบหรือตัวใบมีขนาดแตกต่างกันออกไป  

3.1 elliptical type มีลักษณะปลายและโคนใบแหลม ความยาวประมาณ 3 เท่า ของความกว้าง ความกว้างที่สุดจะอยู่ที่ส่วนกลาง

3.2 obovate type มีลักษณะปลายใบมนและโคนใบแหลม ส่วนกว้างที่สุดจะ อยู่กึ่งกลางถึงปลายใบ

3.3 ovate type มีลักษณะคล้ายรูปไข่ ส่วนที่กว้างที่สุดอยู่ระหว่างโคนใบกับ กึ่งกลางใบ

3.4 diamond type ลักษณะคล้าย elliptical type แต่ขอบใบส่วนปลายและ โคนใบค่อนข้างเป็นเส้นตรงคล้ายผลึกเพ็ชร เส้นใบ (vein) จะมีการแตกเป็นแบบขนนก (pinnate) โดยทั่ว ๆ ไป แล้วมีจำนวนคู่ของเส้นใบประมาณ 20 คู่ในใบหนึ่ง ๆ


4.ดอก (Flowers)

เกิดเป็นจำนวนมากจากตาตรงซอกใบ (axillary bud) มีลักษณะเป็นช่อ สั้น ๆ ตรงฐานของกลุ่มใบใหม่ ช่อดอกของยางพาราเป็นแบบ compound raceme หรือ panicle ในช่อดอกหนึ่ง ๆ ประกอบด้วย แกนใหญ่ของช่อเรียกว่า main axis แล้วมีการแตกแขนง ของช่อดอกเป็นแขนงย่อยอีกมากมาย แขนงย่อยแรกที่แตกจาก main axis เรียกว่า primary branch แขนงย่อยที่ 2 แตกจาก primary branch เรียกว่า secondary branch อันเป็นที่ตั้งของก้านชูดอก (peduncle และ pedicel) การแตกแขนงของช่อดอกในลักษณะ ดังกล่าวจะลดหลั่นกัน มองดูแล้วคล้ายรูปสามเหลี่ยม ในช่อดอกจะประกอบไปด้วยดอก 2 ชนิดแยกกัน คือ

4.1 ดอกตัวเมีย (pistillated flowers) มีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ส่วนปลายสุดของ แขนงช่อดอก ประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ ดังนี้ กลีบเลี้ยงสีเหลือง เมื่อบานรูปร่างคล้ายระฆัง (bell-shape) จำนวน 5 กลีบ กลีบดอกไม่มี เกสรตัวเมียซึ่งประกอบด้วย รังไข่ 3 พู และ ยอดเกสรตัวเมียที่ไม่มีก้านชู (sessile stigma) มีลักษณะ 3 แฉก เกสรตัวผู้ซึ่งเป็นหมัน (staminode) จำนวน 5 อัน  

4.2 ดอกตัวผู้ (staminated flowers) มีขนาดเล็ก ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่า ดอกตัวเมียในแขนงเดียวกันของช่อดอก ในช่อดอกหนึ่ง ๆ จะมีดอกตัวผู้ประมาณ 60-80 ดอก ประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ ดังนี้ กลีบเลี้ยงจำนวน 5 กลีบ กลีบดอกไม่มี เกสรตัวผู้ที่ไม่มี ก้านชูละอองเกสร (sessile stamen) จำนวน 10 อันเรียงกันเป็น 2 วง วงละ 5 อัน รอบ corollar tube

หลังจากแทงช่อดอกแล้ว 2 อาทิตย์ ช่อดอกมีการพัฒนาเต็มที่พร้อมที่จะบาน โดยดอกตัวผู้จะบานก่อน ช่วงการบานของดอกตัวผู้ 1 วันก็จะร่วง ส่วนดอกตัวเมียจะบาน ในช่วงเวลาถัดมา อาจบานนาน 3-5 วัน


5.ผล (Fruit)
ดอกตัวเมียที่สามารถผสมติดให้ผลมีเพียง 30-50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนดอกที่ผสม ไม่ติดจะร่วงหล่นไป หลังจากผสมแล้ว รังไข่จะพัฒนามาเป็นผลภายในเวลา 3 เดือน และ ต่อมาอีก 3 เดือน ผลก็จะสุก ผลที่แก่มีขนาดใหญ่ แน่น มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 ซม. ประกอบด้วย 3 พู แต่ละพูจะบรรจุ 1 เมล็ด ส่วนประกอบของผลมีเปลือกผล (epicarp) และผลชั้นกลาง (mesocarp) บางนิ่ม ส่วนผลชั้นใน (endocarp) แข็งหนา เมื่อผลสุก ผล ชั้นในจะแตกออกเป็น 6 ส่วนแล้ว เมล็ดจะถูกดีดออกไปได้ไกลเป็นระยะทางถึง 15 หลา


6.เมล็ด (Seed)
มีขนาดใหญ่ รูปร่างกลมถึงรีแล้วแต่พันธุ์ เมล็ดแน่น เป็นมัน มีขนาด 2-3.5 x 1.5- 3 ซม. เปลือกของเมล็ด (seed coat) แข็ง มีสีน้ำตาลอ่อน สีเทา มีจุดน้ำตาลเข้ม ประปราย ด้านท้องของเมล็ดตรงปลายสุดด้านหนึ่งจะเป็นที่ตั้งของขั้วเมล็ด (hilum) และ micropyle ซึ่งเป็นทางงอกของรากอ่อน ถัดมาเป็นรอยที่ funiculus อ้อมมาติดกับเมล็ด ตรงขั้วเรียกว่า raphe รูปร่างของเมล็ดขึ้นอยู่กับการกดของผลซึ่งมีเมล็ดบรรจุอยู่ภายใน ภายในเมล็ดมีอาหารสะสมเป็นพวกไขและมันสีขาวเมื่อมีชีวิตอยู่ และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อเมล็ดแก่ ส่วนของอาหารสะสมสามารถนำมาสกัดน้ำมันใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ กากที่เหลือนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์หรือทำปุ๋ย ชั้นของอาหารสะสมดังกล่าวล้อมรอบแกน


การผลิตยางพารา
- ศักยภาพการส่งออก
ปริมาณการส่งออกยางพาราในช่วงปี 2546 - 2548 คาดว่าจะ สูงขึ้น หากกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันยังคงมี นโยบายลดกำลัง การผลิตเพื่อยกระดับราคา
น้ำมันให้สูงขึ้น จะทำให้ราคายางสังเคราะห์อยู่ในระดับสูงเช่นกัน ความต้องการใช ยางพารา เพื่อทดแทนยางสังเคราะห์ก็จะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้สัดส่วนการส่งออกยางแผ่น รมควันลดลงจากร้อยละ 55 เป็นร้อยละ 42 ขณะที่ยาง แท่ง มีสัดส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 24 เป็นร้อยละ 37 ซึ่งไทยสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตให้สอดคล้อง กับตลาดได้

- ศักยภาพการใช้ในประเทศ อุตสาหกรรมยางยานพาหนะเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้ ยางธรรมชาติมากที่สุดถึงร้อยละ 45 ของ ปริมาณการใช้ทั้งหมด เนื่องจาก ปัจจุบันมีการ ย้ายฐานการผลิตมายังไทยจนทำให้ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตยางยานพาหนะที่สำคัญ ประเทศหนึ่ง อุตสาหกรรมที่ใช้ยางธรรมชาติมากรองลงมาได้แก่ ถุงมือยาง ปัจจุบันไทย เป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก มีการใช้ยางธรรมชาติประมาณ ร้อยละ 13 ซึ่งทั้ง 2 อุตสาหกรรมนี้มีมูลค่า การส่งออกรวมกว่า 30,000 ล้านบาท จาก มูลค่า ส่งออกผลิตภัณฑ์ ทั้งหมด 40,000 ล้านบาท อีกประมาณร้อยละ 42 เป็นการใช้ยาง ธรรมชาติในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ อะไหล่ รถยนต์ ยางยืด สายพาน เปลือกหม้อ แบตเตอรี่ ถุงยาง รองเท้า ยางรัดของ ฯลฯ จะเห็นได้ว่าหากรัฐมีการ สนับสนุนใน อุตสาหกรรม ยาง ยานพาหนะและ ถุงมือยาง เพิ่มขึ้น จะทำให้มีการใช้ยางในประเทศ เพิ่มขึ้น และสามารถเพิ่มมูลค่าเพิ่มในการใช้ยางเพิ่มขึ้น


การผลิต
พื้นที่กรีด ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ของยางพารามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 9.548 ล้านไร่ 2.168 ล้านตัน และ 227 กิโลกรัม ในปี 2540 เป็น 9.795 ล้านไร่ 2.319 ล้านตัน และ 230 กิโลกรัม ในปี 2544 ในอัตราร้อยละ 0.69, 3.41 และ 0.44 ตามลำดับ เนื่องจาก พื้นที่ปลูก ทดแทนด้วยยางพันธุ์ดีสามารถกรีดและให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2540 ความต้องการใช้ยางพารา อุตสาหกรรมภายในประเทศต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้นจาก 182,020 ตัน ในปี 2540 เป็น 253,105 ตัน ในปี 2544 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.84 โดยอุตสาหกรรมยางยืดมีการใช้ ยางเพิ่มขึ้นมากที่สุดเฉลี่ยร้อยละ 19.44 ต่อปี รองลงมาได้แก่ ยางรถ จักรยานยนต์ รองเท้า ถุงมือยาง และยางยานพาหนะมีการใช้ยางเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 19.15, 13.99, 11.14 และ 7.06 ตามลำดับ


การส่งออก
การส่งออกยางพาราในช่วงปี 2540-2544 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1.916 ล้านตัน ในปี 2540 เป็น 2.042 ล้านตัน ในปี 2544 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.94 ขณะที่มูลค่า ส่งออกลดลงจาก 57,344 ล้านบาท ในปี 2540 เป็น 46,693 ล้านบาท ในปี 2544 ทั้งนี้ เนื่องจากภาวะ วิกฤตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียทำให้ค่าเงินของกลุ่มประเทศในเอเชีย อ่อนตัว เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ ทำให้ความต้องการซื้อ ยาง ในภูมิภาคเอเชียลดลง ขณะที่อเมริกาและสหภาพยุโรปนำเข้ายางมากขึ้น ส่งผลให้ยางแผ่นรมควัน ซึ่งส่วนใหญ่ ส่งออกในตลาดเอเชีย มีแนวโน้มลดลงร้อยละ 5.4 ขณะที่ยางแท่งส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.42

ระหว่างปี 2539-2543 การส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนจากไม้ยางพารา เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ต่อปี โดยมีมูลค่า 12,253 ล้านบาท ในปี 2539 เป็น 20,874 ล้านบาท ในปี 2543ตลาดเฟอร์นิเจอร์ของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป โดยใน ปี 2541 เมื่อ เปรียบเทียบกับปี 2540 ไทยส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ไปญี่ปุ่นเป็นมูลค่า 188.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 22.2 สหรัฐอเมริกา 157.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อย ละ 19.7 และสหภาพยุโรป 45.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 16.3 ส่วนแบ่งตลาด

664 BO 216


ราคา
ราคายางพาราในช่วงปี 2540-2544 มีแนวโน้มลดลง โดยราคา ยางแผ่นดิบชั้น 3 ที่เกษตรกรขายได้ ราคาประมูลยางแผ่นดิบชั้น 3 ตลาดกลางยางพาราอำเภอหาดใหญ่ และราคาส่งออกยางแผ่นรมควันชั้น 3 ลดลงในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 0.64, 3.54 และ 4.08 ต่อปีตามลำดับ เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งการอ่อนตัว ของค่าเงินในภูมิภาค เอเชีย และภาวะเศรษฐกิจถดถอย


ส่วนประกอบของน้ำยาง น้ำยางสดจากต้นยางพารา มีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวหรือสีครีม โดยมีอนุภาคยาง แขวนลอย อยู่ในตัวกลางที่เป็นน้ำ อนุภาคยางมีรูปร่างกลมหรือรูปลูกแพร์ มีขนาด 0.05 -5 ไมครอน ความหนาแน่น 0.975-0.980 กรัม/มิลลิลิตร มีความเป็นกรด-ด่างประมาณ 6.5-7.0
ผิวของอนุภาคยางมีเยื่อหุ้ม (membrane) ที่ประกอบด้วยไขมันและโปรตีน โดยแต่ ละอนุภาคมีอนุมูลลบของโปรตีนอยู่รอบนอก ทำให้เกิดแรงผลักระหว่างอนุภาคยาง ซึ่งมี ผลให้น้ำยางสามารถคงสภาพเป็นของเหลวได้ ดังนั้นเมื่อมีการทำลาย เยื่อหุ้มอนุภาค หรือมีการสะเทินอนุมูลลบ จะทำให้อนุภาคยางที่แขวนลอยอยู่ในตัวกลางเกิดการรวมตัว จับกันเป็นก้อน

อุตสาหกรรมแปรรูปยาง

  1. น้ำยางข้น
  2. ยางแผ่นดิบ
  3. ยางแผ่นผึ่งแห้ง ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง

ขั้นตอนที่ 1 การตวงน้ำยางใส่ตะกง ตวงน้ำยางที่กรองแล้ว ใส่ในตะกงที่สะอาด ตะกงละ 3 ลิตร

ขั้นตอนที่ 2 การผสมน้ำกับน้ำยาง เติมน้ำสะอาดลงในตะกงที่ใส่น้ำยางไว้แล้วตะกงละ 2 ลิตร จะได้อัตราส่วนผสมระหว่างน้ำ ยางกับน้ำในอัตรา 3 ส่วนต่อ 2 ส่วน (อัตราส่วนผสมอาจเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าหากน้ำยาง เจือจางบ้างแล้ว เช่น กรณีที่ฝนตกขณะเก็บน้ำยางหรือจากเหตุอื่น ๆ)

ขั้นตอนที่ 3 การเลือกใช้น้ำกรดและการผสมน้ำกรด เพื่อให้ยางแข็งตัวและได้ยางแผ่นที่คุณภาพดี ตรงตามความต้องการของผู้ซื้อหรือโรงงาน อุตสาหกรรม ควรเลือกใช้กรด “ฟอร์มิก” ชนิด ความเข้มข้น 90% ซึ่งมี คุณสมบัติแตกต่าง จากกรดชนิดอื่น คือ ไม่มีสี กลิ่นฉุนจัด หากสูดดมจะแสบจมูกอย่างรุนแรง และละลายน้ำได้ดีมาก ข้อดีของกรดฟอร์มิก คือ
1. ยางแผ่นแข็งตัวสม่ำเสมอ หากทำให้เจือจางด้วยน้ำสะอาดที่ถูกต้อง
2. สามารถระเหยได้ ไม่ตกค้างในแผ่นยาง
3. ไม่ทำให้แผ่นยางเหนียวเหนอะ
4. สมบัติและความยืดหยุ่นของแผ่นยางคงเดิม
5. ไม่ทำให้โรงเรือนและแผ่นยางมีกลิ่นเหม็น
6. ไม่ทำให้เครื่องมือและอุปกรณ์เสียหายมากนัก จะทำให้อายุการใช้งานยาวนาน


การผสมกรดฟอร์มิก เพื่อให้ยางแผ่นแข็งตัวในเวลา 30-45 นาที ควรผสมกรด ฟอร์มิกในอัตราส่วนกรดฟอร์มิก 30 มิลลิลิตร (2 ช้อนแกง)ผสมน้ำสะอาด 1,170 มิลลิลิตร (3 กระป๋องนม) แล้วกวนให้เข้ากันโดยเทกรดลงในน้ำ และควรใช้ภาชนะที่เป็น กระเบื้องเคลือบหรือ แกลลอนพลาสติกในการผสม


ขั้นตอนที่ 4 การใช้น้ำกรดผสมน้ำยาง ใช้ใบพายกวนน้ำยางในตะกง 1-2 เที่ยว แล้ว ตวงน้ำกรดที่ผสมแล้ว 390 มิลลิลิตร (1 กระป๋องนม) เทลงในน้ำยางให้ทั่วตะกง ขณะที่เท น้ำกรดใช้ใบพายกวนน้ำยางไปประมาณ 6 เที่ยว (น้ำกรดฟอร์มิก 1 ขวด ทำแผ่นยางได้ ประมาณ 90-100 แผ่น)

ขั้นตอนที่ 5 การกวาดฟองน้ำยาง ขณะกวนน้ำยางจะมีฟองเกิดขึ้น ใช้ใบพายกวาดฟอง ออกจากตะกงให้หมด เก็บรวบรวมใส่ภาชนะไว้ขายเป็นเศษยางชั้นดี ฟองน้ำยาง ถ้าไม่ กวาดออก เมื่อนำยางไปรมควันจะทำให้เห็นรอยจุดอากาศในแผ่นยาง ทำให้ได้ยางชั้นต่ำ กว่าที่ควรจะเป็น

ขั้นตอนที่ 6 การใช้วัสดุปิดตะกง ควรใช้แผ่นสังกะสี หรือวัสดุอื่นใดก็ได้ปิดตะกงเพื่อ ป้องกันมิให้ฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกตกลงในน้ำยางที่กำลังจับตัว ทิ้งไว้ประมาณ 30-45 นาที

ขั้นตอนที่ 6 การนวดแผ่นยาง เมื่อยางจับตัวแล้ว ก่อนนำไปนวดควรรินน้ำสะอาดหล่อ ไว้ทุกตะกงเพื่อสะดวกในการเทแท่งยางออกจากตะกง การนวดยางควร นวดแผ่นยางบน โต๊ะที่สะอาด ซึ่งปูด้วยอลูมิเนียมหรือแผ่นสังกะสี นวดด้วยมือ หรือ ไม้กลมแล้วแต่ถนัด นวดยางให้หนา ประมาณ 1 เซนติเมตร

ขั้นตอนที่ 7 การรีดแผ่นยางด้วยเครื่องรีดลื่น นำยางแผ่นที่นวดแล้ว เข้าเครื่องรีดลื่น 3-4 ครั้ง ให้บางประมาณ 3-4 มิลลิเมตร

ขั้นตอนที่ 8 การรีดแผ่นยางด้วยเครื่องรีดดอก หลังจากนำแผ่นยางเข้าเครื่องรีดลื่น แล้วก็นำยางเข้าเครื่องรีดดอกจะช่วยให้แผ่นยางแห้งเร็วขึ้นเมื่อนำไปรมควัน

ขั้นตอนที่9การล้างแผ่นยาง แผ่นยางที่รีดดอกแล้ว ควรล้างด้วยน้ำสะอาดเพื่อล้าง น้ำกรดและสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ตามผิวของแผ่นยางออกให้หมด

ขั้นตอนที่ 10 การผึ่งแผ่นยาง แผ่นยางที่ล้างด้วยน้ำสะอาดแล้ว ควรนำมาผึ่งไว้ในที่ร่ม ไม่ควรนำออกไปผึ่งหรือตากไว้กลางแดด เพราะจะทำให้ยางแผ่นเสื่อม คุณภาพได้ง่าย อย่าวางแผ่นยางบนพื้น หรือพาดแผ่นยางในที่ที่มีฝุ่น หรือถูกสิ่งสกปรกได้ง่าย  

ขั้นตอนที่11การเก็บยางแผ่นเพื่อรอจำหน่าย หลังจากผึ่งยางแผ่นไว้ประมาณ 6 ชั่วโมง ให้เก็บรวบรวมยางแผ่น โดยพาดไว้บนราวในโรงเรือนเพื่อรอจำหน่าย (ถ้ามีโรงรม ให้นำเข้า รมควันหรืออาจจะอบยางในโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อให้ยางแผ่นแห้ง ป้องกันเชื้อรา และสามารถเก็บไว้ได้นาน) เกษตรกร เจ้าของสวนยางจะขายยางให้ได้ ราคาสูง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำยางแผ่นให้มีคุณภาพดี และรวมกลุ่มกันขายยางร่วมกัน คราวละมาก ๆ


การผลิตยางแท่ง
ประเทศไทยเริ่มผลิตยางแท่งเมื่อปี 2511 เพื่อปรับปรุงรูปแบบให้มีขนาดเหมาะสม กับการใช้ในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ อย่างยิ่งต้องมีการตรวจสอบคุณภาพทาง วิทยาศาสตร์ และจำแนกชั้นตามข้อกำหนดมาตรฐาน วัตถุดิบที่ใช้ผลิตยางแท่งใช้ได้ทั้ง น้ำยางสดที่ต้องทำให้จับตัวก่อน และยางแห้งที่จับตัวแล้ว เช่น ยางแผ่นดิบ เศษยางก้น ถ้วย ขั้นตอนที่สำคัญในการผลิตคือ ตัดย่อย ยางดิบให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ อย่างรวดเร็ว ล้าง อบให้แห้ง และอัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยมขนาด 33.3 กิโลกรัม



ที่มา  :  ไม่ระบุ










สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (8302 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©