-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 318 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้เศรษฐกิจ4








สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ ทรงปลูกไม้ยางนา ร่วมกับคณาจารย์และนิสิตคณะวนศาสตร์ มก.



    วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.30 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงปลูกไม้ยางนา ร่วมกับคณาจารย์และนิสิตคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ บริเวณใกล้สวนป่ายางนา สวนจิตรลดา โดยมี ฯพณฯ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี รองศาสตราจารย์วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.ดำรงค์ ศรีพระราม คณบดีคณะวนศาสตร์ พร้อมด้วยคณาจารย์ บุคลากรและนิสิตคณะวนศาสตร์ เฝ้ารับเสด็จ ฯ ในปีนี้นิสิตคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 300 คน ได้ร่วมปลูกต้นตะเคียนหิน ตะเคียนทอง ยางนา สมอพิเภก สมอดีงู พะยอม เคี่ยมคะนอง แดง กฤษณา มะเกลือ มะค่าโมง และถ่านไฟผี รวม 420 ต้น
    ที่มาของการปลูกต้นไม้ในสวนจิตรลดา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยไม้ยางนา เนื่องจากเป็นไม้ที่ทรงคุณค่าของประเทศไทย แต่ป่ายางนาในสภาพธรรมชาติถูกบุกรุกทำลายจนน่าเป็นห่วงว่าจะสูญพันธุ์ ในปี พ.ศ. 2504 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เก็บเมล็ดยางนาใน อ. ท่ายาง จ. เพชรบุรี ทรงเพาะเมล็ดในสวนจิตรลดา และในวันที่ 28 กรกฎาคม 2504 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ ได้ทรงปลูกไม้ยางนาลงในแปลงโครงการป่าสาธิตในสวนจิตรลดา และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ข้าราชบริพาร คณาจารย์และนิสิตคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมปลูกไม้ยางนาจำนวน 1,096 ต้น ในป่าสาธิตเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ 1 งาน จนถึงปัจจุบันคณะวนศาสตร์ ได้ดำเนินการตามรอยเบื้องพระยุคคลบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงปลูกต้นไม้ร่วมกับนิสิตคณะวนศาสตร์ เป็นประจำทุกปี

http://pr.ku.ac.th/pr_pic/html/07%20July%2051/170751pukpa.html





ชื่อวิทยาศาสตร์ Dipterocarpus alatus Roxb.
อันดับวงศ์ DIPTEROCARPACEAE
ชื่อสามัญ Yang
ชื่ออื่น ชันนา ยางตัง ทองหลัก ยาง ยางแม่น้ำ ยางขาว ยางควาย
ประเภทไม้  ไม้ยืนต้น



ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้นขนาดใหญ่  สูงถึง 40 - 50  เมตร  ลำต้นเปล่าตรง เปลือกหนาเรียบ  สีเทาหรือเทาปนขาว  โคนต้นมักเป็นพูสูงขึ้นมาเล็กน้อย  ขนาดเส้นรอบวงเพียงอกของต้นที่มีอายุมาก  ระหว่าง   4 - 7  เมตร  หรือมากกว่า  ยอดและกิ่งอ่อนมีขนทั่วไป  และมีรอยแผลใบปรากฏชัดตามกิ่ง
ที่มา : ยางนา

ชื่อพื้นเมือง (Common  name)
ยาง ยางขาว ยางแดง ยางหยวก ยางแม่น้ำ (ทั่วไป) กาตีล (เขมร- กบินทร์บุรี ปราจีนบุรี) ขะยาง (ชาวบน- นครราชสีมา) เคาะ (กะเหรี่ยง) จะเตียล (เขมร- ศรีสะเกษ) จ้อง (กะเหรี่ยง) ชันนา (หลังสวน- ชุมพร) ทองหลัก (ละว้า- กาญจนบุรี) ยางกุง (เลย) ยางควาย (หนองคาย) ยางใต้ (กบินทร์บุรี ปราจีนบุรี) ยางเนิน (จันทบุรี) เยียง (เขมร- สุรินทร์) ร่าลอย (ส่วย- สุรินทร์) ลอยด์ (โซ้- นครพนม) เหง (ลื้อ)



การกระจายพันธ์ตามธรรมชาติ (Distribution and habitat)
ชอบขึ้นเป็นกลุ่มตามที่ราบริมลำธาร ในป่าดิบทั่วไป ที่มีดินลึกและอุดมสมบูรณ์ มีความชื้นสูง ในระดับสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 200- 600 เมตร โดยปกติจะพบไม้ยางนาในป่าดิบแล้ง ในประเทศไทยจะพบไม้ยางนาขึ้นอยู่ทุภาคทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้

ลักษณะทางด้านพฤกษศาสตร์ (Botanical  description)
ลำต้น (Stem)  ยางนาเป็นไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ ใบแก่จะร่วงหลุดไปใน ขณะเดียวกับที่มีการแตกใบใหม่มาทดแทน ลำต้นเปลา ตรง เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูง ประมาณ 30 –40 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม กลมหนา ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน และมีรอยแผลใบเห็นชัด
เปลือก (Bark) เรียบหนา สีเทาปนขาว โคนมักเป็นพูพอน
ใบ (Leaf) เป็นใบเดี่ยว(simple leaf) ติดเรียงเวียน สลับ (spirate) ทรงใบรูปไข่แกมรูปขอบขนาน(elliptical – oblong) ขนาดกว้าง 8 – 15 ซ. ม. ยาว 20 –35 ซ. ม. โคนใบ มนกว้างๆ ปลายใบสอบทู่ๆ เนื้อใบหนา ใบอ่อนมีขนสีเทา ปกคลุม ใบแก่จะผิวเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง เส้นแขนงใบ ตรงและขนานกัน มี 14 – 17 คู่ เส้นใบย่อยแบบเส้นขั้น บันได เห็นชัดทางด้านท้องใบ ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น เล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 4 ซ. ม. มีขนบ้างประปราย
ดอก (Flower) เป็นแบบดอกช่อ (inflorescence flower) แบบ panicle สีชมพู ออกเป็นช่อเดี่ยวสั้นๆ ตามง่ามใบตอนปลายๆกิ่ง การเกิดช่อดอกจะเกิดพร้อมกันกับการแตกใบอ่อน ช่อหนึ่งมีหลายดอก โดยโคนกลีบฐานเชื่อมกันเป็นรูปถ้วยและมีครีบตามยาว 5 ครีบ ปลายถ้วยแยกเป็น5 แฉก ยาว 2 แฉกและสั้น 3 แฉก มีขนสั้นๆสีน้ำตาลปกคลุมทั่วไป กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบชิดติดกัน ส่วนปลายกลีบจะบิด เวียนกันในทิศตามเข็มนาฬิกา เกสรผู้มีประมาณ 29 อัน รังไข่รูปรีๆภายในแบ่งเป็น 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 หน่วย



ผล (Fruit) เป็นผลเดี่ยว (simple fruit) ชนิดผล แห้ง (dry fruit) ที่แก่แล้วไม่แตก(indehiscent fruit) แบบ samara รูปร่างกลม เป็นครีบตามยาว 5 ครีบ มีปีกยาว 2 ปีก ยาว 10 – 12 ซ. ม. เส้นปีกตามยาวมี 3 เส้น ปีกสั้น รูปหูหนู 3 ปีก มีเมล็ดเดียว
เมล็ด (Seed) มีรูปร่างกลมรีปลายด้านหนึ่งแหลมอีกปลายด้านหนึ่งป้าน ขนาดยาวประมาณ 1 ซ.ม กว้างประมาณ 0.5 ซ.ม.



ลักษณะทางกายวิภาค (Wood  anatomy)
พอร์ เป็นแบบ พอร์เดี่ยว(solitary pore) เกือบทั้งหมด แบบของการเรียงตัวไม่เด่นชัด การกระจายเป็นแบบกระจัด กระจาย (diffuse porous) พอร์ใหญ่มาก เส้นเรย์เห็นชัด มี ท่อยางเรียงต่อกัน 3 – 4 ท่อ อยู่ใกล้ ๆ พอร์

ลักษณะเนื้อไม้ (Wood description)
สีน้ำตาลปนแดงหรือสีแดงเรื่อๆหรือสีน้ำตาลหม่น เสี้ยนมักตรง เนื้อหยาบ แข็งปานกลาง ใช้ในร่มทนทาน

คุณสมบัติของเนื้อไม้ (Wood  properties)
สกายสมบัติ (Physical properties)
ความหนาแน่น  (Density) 695 กก./ ลบ. ม.
การยืดหดตัวทางด้านรัศมี (Radial section) 3.97 %
การยืดหดตัวทางด้านสัมผัส (Tangential section) 10.15 %
การยืดหดตัวทางด้านยาวตามเสี้ยน(Longitudinal section) (ไม่มีข้อมูล) %
การผึ่งและอบไม้ (ไม่มีข้อมูล)
กลสมบัติ (Mechanical properties)
ความแข็ง (Hardness) 471 ก. ก.
ความแข็งแรง (Strength) 888 ก. ก./ ตร. ซ. ม.
ความดื้อ (Stiffness) 90,200 ก. ก./ ตร. ซ. ม.
ความเหนียว (Toughness) 2.14 ก. ก.- ม.
ความทนทานตามธรรมชาติ (Durability) ตั้งแต่ 1-10 ปี เฉลี่ยประมาณ 4.3 ปี
การอาบน้ำยาไม้ (Wood-preservation) อาบน้ำยาได้ง่าย ( ชั้นที่ 2)
ชั้นความแข็งแรง (Strength group) B
ชั้นคุณภาพไม้ (Grade timber) B

การขยายพันธ์ (Reproduction)
ปกตินิยมใช้ผลเพื่อการขยายพันธ์ ผลหรือเมล็ดที่เหมาะในการนำมาเพาะ คือช่วงที่ผลเปลี่ยนสีจาก สีเขียว มาเป็นสีน้ำตาลอ่อน ควรเก็บจากต้นไม่ควร เก็บผลที่ร่วงหล่น เพราะผลยางนาจะสูญเสีย ความชื้นในผล อย่างรวดเร็ว พบว่าหากความชื้นในผลน้อยกว่า 30 %แล้วเมล็ดจะตายหรือมีเปอร์เซ็นต์การงอกน้อยมาก ดังนั้นเมื่อเก็บผลจากต้นแล้วควรรีบทำการเพาะทันที โดยตัดปีก และเพาะในวัสดุเพาะที่เป็นขี้เถ้าแกลบ รดน้ำให้ชุ่มจะงอกได้ภายใน 5 – 6 วัน มีช่วงระยะเวลาการงอกไม่เกิน 1 เดือน

การใช้งาน (Uses)
การเลื่อย อยู่ในระดับปานกลาง การไส อยู่ในระดับปานกลาง การเจาะ อยู่ในระดับปานกลาง การกลึง อยู่ในระดับปานกลาง การยึดเหนี่ยวตะปู อยู่ในระดับปานกลาง การขัดเงา อยู่ในระดับปานกลาง

การออกดอกและการติดผล (Flowering  and fruiting habit)
ออกดอกในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม - มกราคม ผลจะแก่จัดในระหว่างเดือนมีนาคม- พฤษภาคม

การใช้ประโยชน์(Usability)
เนื้อไม้  (wood)  ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนและการก่อสร้างทั่วไป ทำเรือ ขุด เรือ ขนาดเล็ก ทำหีบ ถังใส่ปูนซิเมนต์ เครื่องเรือน ใช้ทำพื้น ฝา เพดาน รอด ตง แจว พาย กรรเชียง ตัวถังเกวียน เมื่ออาบน้ำยาโดยถูกต้องจะมีความทนทานดีขึ้น สามารถใช้งานได้ คงทนถาวรและใช้ทำไม้หมอนรองรถไฟได้ดี ทำไม้บาง ไม้อัด
ไม้ฟืน (wood fuel) ให้ค่าความร้อน 4,810 แคลลอรี่/ กรัม
ถ่านไม้ (Charcoal) ให้ค่าความร้อน 6,055 แคลลอรี่/ กรัม
น้ำมัน ที่ได้จากการเจาะต้นใช้ทาไม้ ยาแนวเรือ ทาเครื่องจักสาน ทำไต้ ใช้เดินเครื่องยนต์ แทนน้ำมันขี้โล้

สรรพคุณทางยา
เปลือกต้น  รสฝาดเฝื่อนขม ต้มดื่มแก้ตับอักเสบ บำรุงร่างกาย ฟอกโลหิต ใช้ทาถูนวด แก้ ปวดตามข้อ
เมล็ด ใบ รสฝาดร้อน ต้มใส่เกลืออมแก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน
ใบและยาง รสฝาดขมร้อน รับประมานขับเลือด ตัดลูก( ทำให้เป็นหมัน)
น้ำมันยาง รสร้อนเมาขื่น ทาแผลเน่าเปื่อย แผลมีหนอง แผลโรคเรื้อน รับประทานกล่อม เสมหะ ห้ามหนอง ใช้แอลกอฮอล์ 2 ส่วนกับน้ำมันยาง 1 ส่วน รับประทานขับปัสสาวะ รักษาแผลทางเดินปัสสาวะ แก้มุตกิดระดูขาว แก้โรคทางเดินปัสสาวะ จิบขับเสมหะ ผสม เมล็ดกุยช่ายคั่วให้เกรียม บดอุดฟันแก้ฟันผุ
น้ำมันยางดิบ รสร้อนเมาขื่น ถ่ายหัวริดสีดวงทวารหนักให้ฝ่อ ถ่ายกามโรค ถ่ายพยาธิใน ลำไส้
http://www.dnp.go.th/mfcd1/saraburisite/webpage/tree33.htm

การเลือกพื้นที่และการเตรียมพื้นที่ปลูก :

นิสัยไม้ยางนายังเป็นไม้ป่าค่อนข้างมากกว่าไม้ป่าเศรษฐกิจชนิดอื่น ไม่ว่าไม้สักหรือไม้ประดู่ การนำมาปลูกในระบบไม้เศรษฐกิจ อาจจะมีข้อจำกัดในแง่ที่จอต้องเลือกพื้นที่ปลูกไม้ได้ครบถ้วนสมบูรณ์ ก็อาจใช้วิทยาการต่างๆ ที่มีในปัจจุบันช่วยปรับสภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงกันกับนิสัยการเจริญเติบโต ของไม้ชนิดนี้ได้ นิสัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกพื้นที่ปลูกและข้อพิจารณาในการปลูกไม้ยางนามี ดังนี้

1. ควรปลูกไม้ยางนาในพื้นที่ราบหรือค่อนข้างราบ ระดับความสูงจากน้ำทะเลตั้งแต่ 100 เมตร แต่ไม่ควรเกิน 500 เมตร มีปริมาณความชื้นสูง ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยอย่างต่ำ 1,200 มิลลิเมตรต่อปี ดินเป็นดินร่วนปนทรายมีการระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์พอประมาณ ดินค่อนข้างลึกถึงลึกมาก และมีความชื้นสูง ความเป็นกรดเป็นด่าง ระหว่าง 6.0-7.0

2. ไม้ยางนาในป่าธรรมชาติเป็นไม้ขนาดใหญ่ ขึ้นอยู่โดดเด่นเห็นได้ชัดแต่ไกล จึงเป็นไม้ที่ต้องการแสงมาก แต่ขณะที่เป็นกล้าไม้หรือลูกไม้อยู่ ยางนากลับต้องการร่มเงามาก คือ ควรมีร่มเงาจากไม้หรือพืชอื่นๆ ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลาประมาณ 3 ปี จึงจะเปิดร่มออกได้ การที่ไม้ยางนาต้องการร่มเงาในระยะแรกๆ เนื่องจากกล้าไม้ยางนาจะมีจุลินทรีย์ในดินที่เรียกว่า ไมคอร์ไรซ่า (Mycorrhiza) ซึ่งเป็นพวกราที่ขึ้นอยู่บริเวณปลายราก เชื้อราเหล่านี้จะอาศัยรากไม้ยางนาโดยช่วยให้รากมีลักษณะอวบอ้วน สามารถดูดซับน้ำและธาตุอาหารของพืชได้มาก โดยที่เชื้อราดังกล่าวจะอาศัยธาตุอาหารพืชในลักษณะพึ่งพาซึ่งกันและกัน เชื้อราไมคอร์ไรซ่าจะไม่ทนทานต่อความร้อน หากอุณหภูมิเกินกว่า 30 องศาเซลเซียส ขึ้นไปเชื้อราจะตาย จึงต้องมีร่มเงาให้ยางนาในระยะ 3 ปีแรก หลังจากนั้นแล้วรากไม้ยางนาจะหยั่งรากลึกลงในดินมากๆ เกินกว่าความร้อนจะมีผลต่อเชื้อราได้

การเตรียมพื้นที่ปลูก/ระบบการปลูกไม้ยางนา : พื้นที่ ปลูกไม้ยางนาควรเป็นพื้นที่ที่มีร่มเงาอยู่ก่อนแล้ว เพราะไม้ยางนาต้องการร่มเงาเพื่อการเติบโตในช่วงของ 3 ปีแรก หากปลูกไม้ยางนาในพื้นที่โล่งแจ้งโดยตรงจะมีอัตราการรอดตายน้อย การเตรียมพื้นที่ปลูกจึงต้องมีการวางแผนอย่างมีระบบ ดังนี้

ช่วงปีแรกของการปลูกไม้ยางนา จะต้องเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกไม้หรือพืชให้ร่มเงาก่อน ไม้ที่จะเป็นร่มเงานี้ควรจะเป็นพันธุ์ไม้ที่โตเร็ว ประเภทพืชตระกูลถั่ว หรือปลูกพืชควบโดยระบบวนเกษตร เช่น แคฝรั่ง กล้วย ถั่วแระ พืชชนิดหลังให้ร่มเงาได้ดีและสามารถเก็บขายหรือเป็นอาหารได้ด้วย ยิ่งกว่านั้นสามารถบำรุงดินได้ เมื่ออายุประมาณ 3 ปี ถั่วแระ จะตายไปเองโดยไม่ต้องตัดออก เป็นระยะเวลาที่ไม้ยางนาตั้งตัวได้ไม่ต้องการร่มเงาอีกต่อไปแล้ว

ช่วงปีที่สองของการปลูกไม้ยางนา หลังจากพืชร่มเงาสร้างร่มเงาได้เพียงพอแล้ว จึงเตรียมพื้นที่ปลูกกล้าไม้ยางนา โดยการไถพรวนพื้นที่ระหว่างพืชร่มเงาได้อย่างเต็มที่ เพราะมีระยะห่าง 4 เมตร หรือ 8 เมตร หากไม่ไถพรวนพื้นที่ก็อาจปลูกยางนาได้เช่นกัน แต่อัตราการเจริญเติบโตเมื่อย้ายกล้าลงปลูกใหม่ ๆ จะสู้การตรียมพื้นที่ปลูกโดยการไถพื้นที่ไม่ได้

ระยะปลูกและหลุมปลูก :  ระยะปลูกที่ เหมาะสมคือ 4 x 4 เมตร จะทำให้อัตราการรอดตายสูงและเจริญเติบโตได้ดี หลุมปลูกควรมีขนาด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ก้นหลุมควรมีดินผิวที่ร่วนซุย หรือถ้าทำได้ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุมไว้ สำหรับพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้งปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 1,200 มิลลิเมตร ต่อปี ควรใช้โพลีเมอร์ใส่ก้นหลุมๆ ละ 1 ช้อนโต๊ะ เพื่อช่วยดูดซับน้ำไว้ในช่วงฤดูฝน ปละเป็นแหล่งความชื้นให้กล้าไม้ยางนาในช่วงฤดูแล้งได้ เมื่อย้ายปลูกแล้วควรกลบหลุมให้ได้ระดับผิวดิน อย่าให้น้ำขัง แต่ถ้าเป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างแห้งแล้งควรกลบหลุมให้เป็นแอ่งเล็ก ๆ รอบโคนต้นเพื่อรับน้ำฝน แต่อย่าให้เป็นหลุมจนน้ำขังแช่โคน มิเช่นนั้นจะทำให้กล้าไม้ตายได้

http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=1172&s=tblplant

อ้างถึง
ที่สำคัญ ก่อนที่จะปลูกต้นยางนาไม่ควรเพิกเฉย คือ ไม้ยางนาเป็นไม้หวงห้าม ประเภท ก. เมื่อปลูกเป็นการค้าต้องไปแจ้งต่อป่าไม้เขต ป่าไม้อำเภอ ในท้องที่เสียก่อน เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่าเอกชน เพื่อความสะดวกหากจะตัดฟันในอนาคต
ที่มา : ปลูกต้นยางนาเพื่อลูกหลาน

http://www.sru.ac.th/TRF/Documents/0088.pdf
http://www.forest.go.th/silvic/WP_News/Information/Details/ยางนา.pdf
http://www.forest42.com/Dipterocarpus.pdf

ข้อมูลทางด้านเศษฐกิจ
                       การตลาด  ราคาไม้ยางแปรรูป (หนาxกว้างxยาว)  ไม้ฝา (1/2" x 6" x 6") เมตร (รวมค่าใส)  ราคาปี 43   = 410 บาท / ลบ.ฟุต ไม้ ระแนง (1" x 1" x 4") เมตร  ราคาปี 43  =  275 บาท / ลบ.ฟุต  ไม้พื้น (1" x 8" x 6") เมตร  ราคาปี 43  =  385  บาท / ลบ.ฟุต  ไม้หน้าเล็ก (1.1/2" x 3" x 2.5") เมตร  ราคาปี 43  =  215 - 245  บาท / ลบ.ฟุต  ไม้เสา  (5" x 5" x5- 6") เมตร  ราคาปี 43  =  435  บาท / ลบ.ฟุต

                       การบริโภค  สถิติย้อนหลัง 20 ปี ปีพ.ศ.2520-2541 ที่ผ่านมาพบว่ามีการนำไม้  ยางนามาใช้ในปริมาณมากถึง 6,669,999.26 ลบ.ม.

                       การนำเข้า  การนำเข้าไม้ยางนาสถิติปี พ.ศ.2539-2543
                                                    ปี 2539  นำเข้าไม้ยางนา  ปริมาตรรวม 427049 ลบ.ม
                                                    คิดเป็นเงิน 3,485,420 x 1,000 บาท
                                                    ปี 2540  นำเข้าไม้ยางนา  ปริมาตรรวม 343081 ลบ.ม
                                                    คิดเป็นเงิน 2,542,797 x 1,000 บาท
                                                    ปี 2541  นำเข้าไม้ยางนา  ปริมาตรรวม 173759 ลบ.ม
                                                    คิดเป็นเงิน 1,413,054 x 1,000 บาท
                                                    ปี 2542  นำเข้าไม้ยางนา  ปริมาตรรวม 155023 ลบ.ม
                                                    คิดเป็นเงิน 1,005,301 x 1,000 บาท
                                                    ปี 2543  นำเข้าไม้ยางนา  ปริมาตรรวม 329773 ลบ.ม
                                                    คิดเป็นเงิน 1,986,224 x 1,000 บาท

                       การส่งออก  การส่งออกไม้ยางนาสถิติปี พ.ศ.2540 - 2544  
                                                    ปี 2540  ส่งออกไม้ยางนา  ปริมาตรรวม 4,000  ลบ.ม
                                                    ปี 2541  ส่งออกไม้ยางนา  ปริมาตรรวม 2,452  ลบ.ม
                                                    ปี 2542  ส่งออกไม้ยางนา  ปริมาตรรวม 1,955  ลบ.ม
                                                    ปี 2543  ส่งออกไม้ยางนา  ปริมาตรรวม 4,337  ลบ.ม
                                                    ปี 2544  ส่งออกไม้ยางนา  ปริมาตรรวม 2,665  ลบ.ม

ที่มา : ศูนย์ปฎิบัติการพืชเศษฐกิจ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 มกราคม 2553 | 08:52:37 PM โดย ปลัดท้องถิ่นฯ » บันทึกการเข้า

ยิ้ม ท้องถิ่น Community สำหรับทุกท่าน :: locals.in.thailand
เป็นสื่อกลางเพื่อเสนอข้อคิดเห็น ข้อแนะนำ ร้องทุกข์หรือข้อซักถามและประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม-เทศกาล งานบุญ งานประเพณีที่น่าสนใจ สินค้าโอท๊อป (OTOP) ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ฯลฯ
ที่เกี่ยวข้องกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. อบจ. เทศบาล ตำบล อำเภอ จังหวัด ทั่วประเทศ
ปลัดท้องถิ่นฯ
สวัสดีครับ
ผู้ดูแลบอร์ด
*****

แต้มรักท้องถิ่น : 6
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ท้องถิ่น: ส่วนกลาง


locals@hotmail.co.th locals@yahoo.com
เว็บไซต์ อีเมล์
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 | 09:32:34 PM »


ยางนา และสักทอง ตามพ.ร.บ. ป่าไม้ 2484 ถือว่าเป็นไม้สงวน นั้นก็หมายความว่าไม่ว่า จะเกิดเอง ปลูก ในที่ดินใดๆ ในแผ่นดินสยามถือว่าเป็นของแผ่นดิน หากที่ดินมีกรรมสิทธิ์ท่านจะต้องขออนุญาตเจ้าพนักงานก่อน โดยปัจจุบันจต้องไปขอที่สำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมประจำจังหวัด ที่ต้นไม้นั้นเกิดขึ้น ครับ และท่านสามารถตัดโค่น แปรรูปได้เอง โดยกฏหมายให้ใช้ได้เฉพาะเลื่อยมือเท่านั้น หากจะใช้เลื่อยยนต์ๆนั้นๆจะต้องมีใบอนุญาต และหากจะแปรรูป จะต้องขออนุญาตแปรรูป
ปล. ใครออกกฏหมายก็ไม่รู้ นานจนล้าสมัยแล้ว  และแต่ละข้อเอื้อ ต่อสุนัข ทั้งนั้น
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=3791.0

จาก ที่ผมได้อ่านและเก็บข้อมูลและตารางที่มีการจดบันทึกของแต่ละองค์กรมา พอจะสรุปแบบรวมๆ สั้นๆ ว่า....ถ้าปลูกยางนา 1 ไร่ ด้วยระยะ 2.5 x 2.5 เมตร จะได้ยางนา ทั้งหมด256 ต้น ให้แข่งกันสูง ซึ่งยางนาอายุ 20 ปี โตพอที่จะขายเนื้อไม้ได้แล้ว ราคาคำนวณตามเนื้อไม้ประมาณ  20,000 บาทต่อต้น ถ้าอีก 20 ปีข้างหน้าราคาสิ่งของอื่นๆไม่เพิ่มขึ้นก็จะได้มูลค่า 5,120,000 บาท/ไร่ โดยไม่ต้องไปทำอะไรกับต้นยางเลย เพราะเมื่อต้นยางยืนต้นแล้วก็รอตัดอีก 20 ปีข้างหน้า ครับ
แต่ส่วนใหญ่ เขาจะปลูกกัน 4 X4 ...ผมลองคำนวณจากตารางแปลงที่ปลูกแบบ 4 X4  ก็ได้ค่าสรุปพอๆกัน..คือต้นยางนามันอ้วนกว่าใหญ่กว่า แต่จำนวนต้นมันน้อยกว่าครึ่งนึง...ก็แล้วแต่ว่าจะเลือกแบบไหน

บาง ที่เขาปลูกแบบให้ธรรมชาติเป็นคนดูแล...บางที่เขาดูแลทั้งน้ำทั้งปุ๋ย ทั้งกำจัดวัชพืช...ขนาดของยางนาก็แตกต่างกันออกไปอีกครับ......ประมาณนี้ แหละ...

แต่ระหว่างที่รอ 20 ปี เราก็จะได้ อาหารแบบฟรีๆจากป่ายางนา คือเห็ดเผาะ เห็ดระโงก เห็ดโคน เห็ดแดง เห็ดอื่นๆอีก..แค่เราเอาเห็ดชนิดนั้นๆ เก็บลูกแก่ๆมาปั่นแล้วเอาไปรดโคนต้นยาง ก็จะได้กินเห็นนั้นๆตลอดกาลเลย ถ้าต้นยางนายังอยู่นะครับ....ที่สำคัญเห็ดมันมีเชื้อที่ช่วยให้ต้นยางนาโต เร็วด้วย ถ้าเก็บกินไม่หมด ก็เอาไปขาย...ล่าสุดเห็ดเพาะโลละ 300 ครับ....


ที่มา : เกษตรกร ดอท คอม

อ้างถึง
การปลูกต้นยางนามีขนาดใหญ่ เรือนยอดแผ่กว้างเมื่อโตเต็มที่ ดังนั้นจึงต้องปลูกให้มีระยะห่างกันอย่างต่ำ 4X8 เมตร ตั้งแต่แรก จะได้ไม่ต้องเสียเวลาตัดสางขยายระยะ ลดต้นทุนกล้าไม้และค่าดูแลรักษา เมื่อต้นยางโตเต็มที่ให้ขยายระยะเป็น 8X8 เมตร เป็นอย่างต่ำ

ต้นยางนามีอัตราการเจริญเติบโตปีละ 1 เมตรขึ้นไป และจะมีความกว้างลำต้นประมาณปีละ 1.20 ซม. โดยปีแรกจะเติบโตเฉลี่ยเพียง 50-60 ซม. แต่จะเพิ่มอัตราพุ่งขึ้นตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป
ปลูกต้นยางนาเพื่อลูกหลาน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 ธันวาคม 2552 | 11:35:31 PM โดย ปลัดท้องถิ่นฯ » บันทึกการเข้า
ปลัดท้องถิ่นฯ
สวัสดีครับ
ผู้ดูแลบอร์ด
*****

แต้มรักท้องถิ่น : 6
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ท้องถิ่น: ส่วนกลาง


locals@hotmail.co.th locals@yahoo.com
เว็บไซต์ อีเมล์
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 | 09:57:15 PM »

ไม้ 7 ระดับ ประโยชน์ 5 อย่าง จ.อุตรดิตถ์
http://news.mcot.net/environment/inside.php?value=bmlkPTQxMTQyJm50eXBlPWNsaXA=

อ้างถึง
ต้นไม้ 7 ระดับ คืออะไร ?
นายอัษฎางค์ สีหาราช ประธานศูนย์ฝึกอบรมเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดอุตรดิตถ์ ต.คอรุม อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ อธิบายว่า ต้นไม้ 7 ระดับ ประกอบด้วย ระดับที่ 1 ไม้ชั้นบนหรือไม้ยืนต้น อายุ 10 ปีขึ้นไปจึงจะใช้ประโยชน์ได้ เช่น ประดู่ ยางนา สัก มะค่า ถือเป็นไม้ที่สร้างบำเหน็จ บำนาญ และมรดก

        ต้นไม้ระดับที่ 2 คือไม้ชั้นกลาง อายุ 3 ปี ขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นไม้ผล รวมถึงพืชพลังงาน อาทิ มะม่วง ลำไย กระท้อน ขนุน ระดับที่ 3 ไม้ทรงพุ่ม อายุ 1 ปีขึ้นไป เช่น มะนาว มะละกอ มะเขือพวง กล้วย ระดับที่ 4 พืชหน้าดิน ได้แก่ พืชผักสวนครัว ระดับที่ 5 พืชหัว คือพวกที่อยู่ใต้ดิน ประเภท ขิง ข่า กระชาย เผือก มัน ระดับที่ 6 พืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด บัว และระดับที่ 7 พืชเกาะเกี่ยวจำพวกตำลึง มะระ ถั่วฝักยาว บวบ ฯลฯ
ที่มา : รัชนิกร แสงขาว หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันพุธที่ 17 ธันวาคม พุทธศักราช 2551 หน้า 21



คลิป เกษตรประณีต พื้นที่1ไร่

อ้างถึง
พริก  มะเขือ  ผักชนิดต่าง ๆ ไก่บ้าน  ปลาในบ่อ เป็นพลทหาร จะระดมพลออกรบเมื่อไหร่ก็ได้มีพืชสมุนไพร ผักพื้นบ้านเป็นยา ใช้รักษายามเจ็บไข้ มีลูกยอ  กล้วย  เป็นนายสิบ มีไผ่เป็นนายร้อย มียางนา ตะเคียนทอง เป็นนายพัน  นายพล โดยมีเจ้าของสวนเป็นจอมทัพ สะสมกำลังอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ เพียงหนึ่งไร่
ที่มา : เกษตรปราณีต 1 ไร่ เส้นทางสู่วิถีที่ยั่งยืนชีวิตที่มั่นคง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 มกราคม 2553 | 07:35:25 PM โดย ปลัดท้องถิ่นฯ » บันทึกการเข้า
ปลัดท้องถิ่นฯ
สวัสดีครับ
ผู้ดูแลบอร์ด
*****

แต้มรักท้องถิ่น : 6
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ท้องถิ่น: ส่วนกลาง


locals@hotmail.co.th locals@yahoo.com
เว็บไซต์ อีเมล์
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 29 ธันวาคม 2552 | 09:18:39 AM »

ยางพารากับยางนาอยู่ด้วยกันได้

วันนี้ที่ราคายางพาราขึ้นไปเกือบ 70 บาท ชาวบ้านก็แห่กันปลูกยางแบบเอาเป็นเอาตาย ไม่รู้ว่าอีก 7-8 ปีข้างหน้าจะตายหรือจะรอดก็ไม่ทราบ เมื่อยางนับล้านๆ ไร่เริ่มกรีดพร้อมกัน
          
ชาว นครศรีธรรมราชจำนวนมากที่ได้สรุปบทเรียนจากยางพาราได้ปรับวิถีชีวิตกันใหม่ หลายปีแล้ว หลังจากที่ได้ทำแผนแม่บทยางพาราไทย ไม่ต้องการเสี่ยงเอาชีวิตไปแขวนอยู่บนเส้นด้ายยางพาราเส้นเดียวอีกต่อไป ไม่ว่าวันหนึ่งราคาจะสูงเพียงใด แต่ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่า วันไหนราคายางจะหล่นลงไปอยู่ที่ 20 บาทหรือต่ำกว่านั้น พูดเป็นเล่นไป อะไรๆ ก็เกิดได้
          
สู้ทำแบบอาจารย์ประกาศิต อำไพพิศ ที่บ้านสะแก ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ดีกว่า เป็นครูโรงเรียนประถมแต่เรียนรู้เรื่องสมุนไพร เรื่องพืช แล้วปลูกผสมผสานในที่ 20 กว่าไร่ โดยปลูกยางพารา 10 ไร่ ประมาณ 800 ต้น กรีดยางมาได้หลายปีแล้ว ในเวลาเดียวกันก็ปลูกยางนาประมาณ 2,000 ต้น แซมด้วยต้นกฤษณาและสมุนไพรต่างๆ
          
ไม่นานมานี้ได้ตัด 700 ต้นไปสร้างวัด เหลือยางนา 1,300 ต้น แค่นี้ก็เป็นสวัสดิการยามแก่เฒ่าและมรดกให้ลูกหลานได้พอเพียง เพราะอีก 10 ปี เมื่อยางเหล่านี้จะอายุ 20 ปี จะมีราคาต้นละหลายหมื่นบาทถ้าเอาลงทำแปรเป็นไม้กระดาน คิดแล้วอาจจะไม่อยากเชื่อว่า ยางนา 1,300 ต้นจะมีค่าอย่างน้อย 30-40 ล้านบาท
          
ไม่เท่านั้น อาจารย์ประกาศิตบอกว่า สามปีแรกที่ปลูกยางนาจะเกิดเห็ดมากมายหลายชนิด คิดเป็นมูลค่าไร่ละ 3,000 บาทต่อปี เช่น เห็ดละโงก เห็ดเผาะ เห็ดหน้าแหล่ เห็ดน้ำหมาก เห็ดก่อ เห็ดถ่าน เมื่อเข้าปีที่ 8-9 ก็จะเกิดเห็ดปลวก เห็ดปลวกจิก เห็ดปลวกไก่น้อย เห็ดปลวกตาบ ซึ่งมีดอกใหญ่ๆ ภาคกลางเรียกว่าเห็ดโคนซึ่งราคากิโลกรัมละ 200-300 บาท
          
ทุก วันนี้อาจารย์ประกาศิตบอกว่าขายเห็ดที่เกิดในพื้นที่ 6 ไร่ได้ปีละประมาณ 20,000 บาท ที่ได้แค่นี้เพราะให้ชาวบ้านเข้าไปเก็บไปกินด้วย
          
สวน ของอาจารย์ประกาศิตมีเห็ดมากมายเพราะสวนนี้ไม่ใช้สารเคมีเลย ใช้ปุ๋ยชีวภาพอย่างเดียว ทำให้เกิดความสมดุลในธรรมชาติ เห็ดก็เกิดได้ มีจุบินทรีย์ ไส้เดือน มด แมลง ปลูกถั่วฝักยาวก็ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงเพราะมีแมลงบางชนิดมากินเพลี้ย ธรรมชาติดูแลกันเอง
          
อาจารย์ประกาศิตสังเกตว่ากิ้งกือกิน เห็ด และเห็ดที่กิ้งกือกินได้ คนก็กินได้ ไม่มีพิษ นกกะปูดก็กินกิ้งกื้อ เพราะถ้าไม่กิน กิ้งกื้ออาจจะมีมากเกินไป นอกนั้นยังมีแมลงเรืองแสงชนิดหนึ่งที่กินกิ้งกือ มันมุดขึ้นมาจากดิน
          
ส่วน มดดำก็จะกินปลวกเวลาที่ต้นไม้ผุแล้วหักลงมา นกกะปูดกิน "แมงย่างซิ้น" เขียดตะปาด หอยทาก ไข่มดแดง นกกะปูดชอบเจาะรังมดแดงกินไข่ และยังชอบกินงูอีกด้วย
          
เหล่านี้เป็นตัวอย่างของวงจรธรรมชาติที่ดูแลกันเองทำให้เกิดความสมดุล
          
อาจารย์ ประกาศิตเกษียณแบบ "เออร์ลี่รีไทร์" อยู่บ้านทำสวน ทำสมุนไพร สอบได้เภสัชกรรมเมื่อปีก่อน นับว่ามีความรู้ความสามารถ และเอาวิชาเหล่านี้มาใช้ในโรงเรียน ในชุมชน
          
วันนี้เขา อยู่ได้สบายๆ บางพารา 800 ต้นให้น้ำยางและทำยางแผ่นได้วันหนึ่งประมาณ 60 กิโล กรัม ถ้าราคาวันนี้อยู่ที่ 67 บาท คงขายได้ไม่ต่ำกว่า 4,000 บาท เดือนละแสนกว่าบาท

ที่มา : โฮมเพจ ดร.เสรี พงศ์พิศ

อ้างถึง
การปลูกไม้ป่าในสวนยาง
ไม้ป่ายืนต้น โตช้า เช่น ตะเคียนทอง ยางนา ยมหิน กันเกรา (ตำเสา) สาทร ประดู่ป่า สัก การตัดฟันจะตัดฟันพร้อมกับโค่นสวนยางพารา การปลูกใช้ปลูกแซมต้นยางที่ตายในระยะ 2-3 ปีแรก ไร่ละประมาณ 15 ต้นซึ่งสามารถเก็บรักษาไว้ให้ต้นใหญ่ 2 รอบการปลูกยาง จะเป็นไม้ใช้สอยในการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยของเกษตรกรได้ โดยไม่ต้องไปโค่นไม้ป่า เป็นการอนุรักษ์ป่าไม้ของประเทศอีกวิธีหนึ่ง
ที่มา : การปลูกพืชแซม และ การปลูกพืชร่วมยาง

การเพิ่มผลผลิตเห็ดละโงกในสวนป่ายางนา จ.สุรินทร์

                ต้นยางนาเป็นไม้ยืนต้นที่มีคุณค่าสู่ขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคตในอดีตเป็นพืชโตช้า เพราะไม่ได้ใส่เชื้อเห็ดให้ไปอาศัยที่รากของต้นยางนาตั้งแต่แรกที่งอกเป็น ต้น ต้นยางนาสามารถรับเห็ดหลายชนิดเข้าไปอยู่ร่วมกันที่ราก คุณกฤษณา พงษ์พานิช เขียนเรื่อง ไมคอร์ไรซ่ากับไม้วงศ์ ไม้ยางบางชนิด ใน หนังสือไม้ยางนาและไม้วในวงศ์ไม้ยาง เล่ม 3 หน้า 273-284 (หนังสือมีที่ห้องสมุดกรมป่าไม้) กล่าวถึงเห็ดที่พบในสวนยางนาว่ามีเห็ดไข่แดง เห็ดไข่ไก่ (กลุ่มนี้ชาวบ้านมักเรียกเห็ดละโงอก) เห็ดถอบ (เห็ดเผาะ เห็ดเหียง) เห็ดก้อนกรวด (เห็ดขลำหมา เห็ดหัวเข่า) เห็ดหล่มกระสีน้ำตาล เห็ดตะโคลขาว (เห็ดหล่มขาว) เห็ดแดง เห็ดน้ำหมาก (เห็ดแดงหลวง) เห็ดหล่มกระเขียว (เห็ดตะไคล) หากเห็ดเหล่านี้ไปอยู่ที่รากแล้วจะช่วยให้อาหาร ช่วยย่อยและละลายแร่ธาตุในดินเป็นปุ๋ยช่วยจับไอน้ำในดินให้พืช ยางนาก็จะกลายเป็นไม้โตเร็ว

                คุณอดุลย์ ดีอ้อม (08-4606-0578) เริ่มปลูกยางนาให้เป็นพืชเศรษฐกิจเมื่อ 10 ปีก่อน ปลูกระยะชิด 2 เมตร x 3 เมตร ใส่เชื้อเห็ดละโงกเห็ดเผาะ ได้เอาดอกเห็ดแก่ ๆ ขยำกับน้ำ ได้น้ำสปอร์เห็ด ปัจจุบันตีปั่นแบบน้ำผลไม้ แล้วเจือจางด้วยน้ำเปล่า รดรอบโคนต้นทุกต้น ยางนาเจริญเร็วแบบไม้โตเร็วเพียง 2 ปีก็เริ่มเกิดเห็ดในหน้าฝนใต้ต้นยางนาทุกต้น

                จาก การประชุมสมาคมเห็ด 27 เม.ย. 50 ได้ปรึกษาเรื่องการใช้ภูไมท์ซัลเฟตและแร่ม้อนท์เพิ่มผลผลิตเห็ดบ้าน เมื่อกลับไปสุรินทร์ก็ใช้ภูไมท์หว่านใต้พุ่มต้นยางนาให้ทั่วถึงไร่ละ 20 กก. ครั่นเริ่มฝนตกมากพอพบว่าเห็ดละโงกขาวในสวนขึ้นมาก ดอกใหญ่ เนื้อแน่น รสอร่อยขึ้น นับว่าให้ผลผลิตเพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพ เป็นหนทางเพิ่มเห็ดป่าโดยไม่ต้องเผาป่า ถ้าเผาป่าซิลิเกตในเศษพืช ถูกเผาเปลี่ยนไปเป็นซิลิกอนไดออกไซด์ พอรวมกับน้ำก็เป็นซิลิสิค แอซิด แต่สูญเสียอินทรียวัตถุ การหว่านภูไมท์หรือแร่ม้อนท์ได้รับซิลิสิค แอสิด โดยไม่ต้องเผาป่า

ที่มา : ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ. นสพ.เดลินิวส์  ฉบับที่ 21,038  วันอาทิตย์ที่ 20  พฤษภาคม พ.ศ. 2550 หน้า 24.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 มกราคม 2553 | 07:13:06 PM โดย ปลัดท้องถิ่นฯ » บันทึกการเข้า
ปลัดท้องถิ่นฯ
สวัสดีครับ
ผู้ดูแลบอร์ด
*****

แต้มรักท้องถิ่น : 6
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ท้องถิ่น: ส่วนกลาง


locals@hotmail.co.th locals@yahoo.com
เว็บไซต์ อีเมล์
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 31 ธันวาคม 2552 | 11:21:39 PM »

เจ้าหน้าที่ปทส.ยึดไม้ยางนาในพื้นที่หมอชื่อดังมูลค่าเกือบ 2 ล้านบาท


       เมื่อเวลา 14.00 น.วันนี้( 25 ส.ค.) กองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ ( ปทส. ) นำโดย พ.ต.อ.เทขวัญ มังคละชาติ ผกก. 1 บก.ปทส. ด.ต.ศักดิ์สิงห์ พระสว่าง สายตรวจ จังหวัดอุดรธานี ได้เข้าตรวจค้นและจับกุมบุคคลที่ทำการตัดไม้ยาง ที่ บริเวณหลัก หมู่ 4 บ้านหนองนาคำ ต.เสอเพลอ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี หลังสืบทราบว่าบริเวณพื้นที่ดังกล่าวมีการตัดไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต
      
       ภายหลังเข้าตรวจค้นในพื้น พบกองไม้ยางนา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 50-100 เซนติเมตร จำนวน 67 ท่อน ไม่ที่แปรรูปแล้วจำนวน 14 แผ่น ยาว 420 เซนติเมตร กว้าง 4 เซนติเมตร หนา 3 เซนติเมตร ซุกซ่อนอยู่บริเวณใกล้ๆ โดยมีกิ่งไม้ ใบไม้วางปิดทับอำพรางไว้
      
       ทั้งหมดอยู่ในสภาพเพิ่งถูกตัดมาใหม่ มีนายทรงสิทธิ์ มณีปุระ อายุ 56 ปี อยู่บ้านเลขที่ 116/111 ซ.พหลโยธิน 52 แยก 11-1 ม.ณัฐการต์ แขวงคลองถนน เขตสายไหม กทม. รับเป็นผู้จัดการ และนายบุญมี ปักโคทะลัง อายุ 37 ปี อยู่บ้านเลขที่ 33/12 ต.เสอเพลอ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี และนายทองจันทร์ อ่อนดี อายุ 52 ปี อยู่บ้านเลขที่ 66/12บ้านดงสามสิบ ต.เสอเพลอ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี รับเป็นเป็นผู้ต้องหา ได้พร้อมของกลาง เลื่อยโซ่ยนต์ดัดแปลงไฟฟ้า 1 ตัว เลื่อยมือ 1 ปื้น สายไฟฟ้ายาว 400 เมตร
      
       จากการสอบถาม นายทรงสิทธิ์ มณีปุระ ผู้จัดการได้กล่าวว่า ตนได้รับการจ้างให้ทำการตัดไม้ดังกล่าวจากนายแพทย์ไพโรจน์ พงศ์วิธวัช โดยตนได้จ้างคนงานมา 2 คน ให้ค่าจ้างวันละ 150 บาท ซึ่งไม้ดังกล่าวนายทรงสิทธิ์ อ้างว่าทางเจ้าของที่จะนำไม้ไปทำการปลูกบ้านและจะใช้พื้นที่ดังกล่าวทำเป็น สวนกล้วย
      
       เจ้าหน้าที่จึงได้กล่าวหาว่าร่วมกระทำความผิด พ.ร.บ.ไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 ฐานร่วมกันทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต มาตรา 48 ฐานร่วมกับแปรรูปไม้ มีไว้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและมาตรา 69 ฐานมีไม้ท่อนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และ พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2549 มาตรา 9 ฐานร่วมกันทำเลื่อยโซ่ยนต์โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 4 ไปใช้ในการกระทำความผิดกฎหมายป่าไม้ ทางเจ้าหน้าที่จึงได้ตรวจยึดไม้และจะได้จะทำการดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

ที่มา:www.manager.co.th  

อ้างถึง
ไม้ยางหรือยางนา เป็นไม้หวงห้าม เหมือนกับ “ไม้สัก” แม้จะเป็นไม้ที่เราปลูกขึ้นมาเอง หรือไม้เกิดขึ้นในที่ดินเอกสารสิทธิ จะต้องขออนุญาตก่อนการตัด และการขออนุญาตก็ไม่ใช่เรื่องยาก เมื่อการตัดและแปรรูปเช่นนี้ และเจ้าหน้าที่ตรวจพบ รวมทั้งมีผู้แจ้งเบาะแส ก็ต้องทำการตรวจยึดและจับกุม โดยมีการแจ้งข้อหามีความผิดตาม พรบ.ป่าไม้ 2484 ม.11, ม.48 , ม. 69 ทำไม้ , มีไม้แปรรูป มีไม้ท่อน ในครอบครองไม่รับอนุญาต และ พรบ.โซ่ยนต์ ม.9 มีโซ่ยนต์ที่ได้รับการยกเว้น แต่นำมาใช้กระทำความผิด
จับโค่นป่ายางนาอายุร้อยปีปลูกกล้วย, อยากรู้เรื่องการตัดต้นยางนา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 มกราคม 2553 | 09:21:01 AM โดย ปลัดท้องถิ่นฯ » บันทึกการเข้า
ปลัดท้องถิ่นฯ
สวัสดีครับ
ผู้ดูแลบอร์ด
*****

แต้มรักท้องถิ่น : 6
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ท้องถิ่น: ส่วนกลาง


locals@hotmail.co.th locals@yahoo.com
เว็บไซต์ อีเมล์
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 01 มกราคม 2553 | 01:34:54 PM »

ขายไม้ยางนา เส้นรอบวงขนาด 200 - 300 ซม. ความสูงกว่า 20 เมตร จำนวนมากคิวเมตรละ 8,000 บาท สามารถขอตรวจเอกสารจากเจ้าของกับเจ้าพนักงานของรัฐก่อนการดำเนินงานได้
เงื่อนไขในการซื้อ ผู้ซื้อเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่าง ๆ
เข้าไปตัดกับเจ้าของได้เลย


อยากทราบรายละเอียดการขายไม้เช่น สัก ยางนา พยุง มะค่า และอื่นๆว่าตั้งราคากันยังไง
1.ส่วนมากไม้ที่สวนขายเองหากผ่านนายหน้า มักจะใช้วิธีเหมาสวน หรือเหมาต้น  เช่น สัก หน้า 15 นิ้ว ต้นปลุก 10 ปี ต้นละ 1500 บาท  ยางนา หน้า 20 นิ้ว ต้นละหมื่น ปลูกราวๆ 15 ปี  ประมาณนี้ครับ เพราะสวนของชาวบ้านส่วนมากมักจะไม่ทะเบียน และไม่มีอุปกรณ์แบบรูปที่ทันสมัยและถูกกฏหมาย จึงต้องอาศัยโรงเลื่อย โดยผ่านพ่อค้าคนกลาง ครับ
2. กรณีที่ท่านมีเยอะ ให้ติดต่อโรงเลื่อยใกล้บ้าน ครับ โดยก่อนท่านไปให้ท่านลอง ค้นคำว่า ราคาไม้กลาง ในgoogle ท่านจะทราบว่าราคาปลายทางเท่าไหร่ แล้วให้ท่านย้อนไปถึงไม้ของท่านว่ามีเท่าไหร่ ท่านก็จะไม่โดนเอาเปรียบเช่น
ราคากลางที่โรงเลื่อยขาย 100 บาท เวลาโรงเรื่อยไปซื้อจากเราเขาก็มักจะซื้อในราคาที่ ประมาณ 25-30 บาท ครับ ที่เหลือก็คงให้ท่านต่อรองเอาเอง ครับ
ขอยกตัวอย่างราคาไม้ที่ขายกันที่ขอนแก่นครับ ไม้หน้า 30 นิ้วขึ้นไป
1. ยางนา 2-3 หมื่น/ ต้น
2. ประดู่ 1-2 หมื่น
3. พยูง 3-5 หมื่น
4. แดง 3-5 พัน
5. สัก 3-5 หมื่น
ประมาณนี้ครับ
ที่มา : เกษตรพอเพียง.คอม


รับจ้างปลูกสวนป่า ไม้ตะกู ไม้พยูง ไม้ตะเคียนทอง ไม้ชิงชัน ไม้ยางนา

ผู้นำตลาด "ระบบบริหารจัดการ ปลูกและดูแลสวนป่าเอกชน ระดับสากล" Leading Private AgroForestry Management System
รับจ้างปลูก ดูแล บริหารจัดการโครงการปลูกสวนป่าเอกชน ด้วยไม้ป่านานาพรรณ
* ไม้โตเร็ว ต้นตะกู (พันธุ์ก้านแดง)
* ต้นประดู่
* ต้นชิงขัน
* ต้นยางนา
* ต้นตะเคียนทอง
* ต้นพยุง

รับจ้างปลูก ดูแล บริหารจัดการโครงการปลูกไม้โตเร็ว ต้นตะกู (พันธุ์ก้านแดง)
ถ้าท่านมีที่ดิน และต้องการปลูกต้นตะกู ทางเรามีบริการปลูก และรับดูแลแทนท่าน เป็นระยะเวลา 5 ปี จนกระทั่งขายเนื้อไม้ได้

ขอบเขตงาน
* เตรียมพื้นที่ปลูก ระยะปลูก 3 x 3 ม. (177 ต้น/ไร่ x 10 ไร่) = 1,770 ต้น
* ปลูกต้นกล้าต้นตะกู พันธุ์ก้านแดง
* ดูแลรักษา บริหารจัดการโครงการ เป็นระยะเวลา 5 ปี

อ้างถึง
มาตราส่วนคำนวณพื้นที่
1 ไร่ เท่ากับ 400 ตารางวา
1 ไร่ เท่ากับ 1,600 ตารางเมตร
1 งาน เท่ากับ 100 ตารางวา
1 ตารางวา เท่ากับ 4 ตารางเมตร
อ้างถึง
   1 ตารางวา = 4 ตารางเมตร
    1 งาน = 100 ตารางวา = 400 ตารางเมตร
    1 ไร่ = 4 งาน = 400 ตารางวา = 1,600 ตารางเมตร
ที่มา : http://th.wikipedia.org/

ประมาณเงินลงทุนปลูก และดูแลสวนป่า ไม้ตะกู (พันธุ์ก้านแดง) 10 ไร่
* ปีที่ 1 จำนวนเงิน 287,150 บาท
* ปีที่ 2 จำนวนเงิน 112,000 บาท
* ปีที่ 3 จำนวนเงิน 60,000 บาท
* ปีที่ 4 จำนวนเงิน 60,000 บาท
* ปีที่ 5 จำนวนเงิน 60,000 บาท
* รวมเงินลงทุนทั้งหมด 5 ปี เป็นเงิน 579,150 บาท

ผลตอบแทนจากการขาย 1,770 ต้น x 1,000 บาท/ต้น เป็นเงิน 1,770,000 บาท


สนใจติดต่อ
1. คุณดายุทธ รักมะณี โทร 081 xxx xxxx
2. คุณวรภัทร ทรวงแสวง โทร 084 xxx xxxx

http://www.agroforestrysystem.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 มกราคม 2553 | 09:08:33 PM โดย ปลัดท้องถิ่นฯ » บันทึกการเข้า
ปลัดท้องถิ่นฯ
สวัสดีครับ
ผู้ดูแลบอร์ด
*****

แต้มรักท้องถิ่น : 6
ออฟไลน์ ออฟไลน์

ท้องถิ่น: ส่วนกลาง


locals@hotmail.co.th locals@yahoo.com
เว็บไซต์ อีเมล์
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 03 มกราคม 2553 | 03:02:05 PM »

อยากปลูกยางนา ครับ หาซื้อพันธุ์ได้ที่ไหนครับ

อ้างถึง
ถ้าอยูใกล้นครนายกไปซื้อต้นขนาดสูง  1  เมตรราคาแค่ต้นละ  10  บาทเอง  ที่แถวนำตกกะอางค์เกษตรกรเพาะไม้ป่าขายกันมาก  ราคาไม่แพงเลย
ที่มา : เกษตรพอเพียง.คอม

ขอได้ฟรี..ที่ศูนย์เพาะกล้าไม้.กระทรวงเกษตรครับ.. หน่วยงานติดต่อขอรับกล้าไม้

หน่วยงาน สถานที่ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์
ฝ่ายติดตามและประเมินผล ส่วนเพาะชำกล้าไม้ กรมป่าไม้ 61 ถ.พหลโยธิน จตุจักร กทม. 10900 5614292-3 ต่อ 551
ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ที่ 1 ต.กู่ทอง   อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม 44100
043 - 370571 - 2  fax   043 - 370061
ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ที่ 2 ต.บ้านจั่น   อ.เมือง  จ.อุดรธานี  41000
01 - 9542541
ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ที่ 3 ต.ดู่ทุ่ง   อ.เมือง  จ.ยโสธร  35000
01 - 2231715
ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ที่ 4 ต.ปรุใหญ่   อ.เมือง  จ.นครราชสีมา  30000
044 - 357994 , 222001 fax  044 - 357993
ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ที่ 5 สำนักงานป่าไม้จังหวัดชุมพร ถ.ปรมินทรมรรต อ.เมือง จ.ชุมพร  86140 01 - 2295254  ,  
01 - 7260254
ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ที่ 6 ต.ฉลุง  อ.หาดใหญ่   จ.สงขลา  90110
01 - 2303024
ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ที่ 7 ตู้ ปณ. 57 เกาะพลับเพลา อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000
032 - 312103
ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ที่ 8 ต.วังชมภู   อ.เมือง  จ.เพชรบูรณ์  67210
01 - 6045343
ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ที่ 9 สหกรณ์ กิ่ง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่  50130
053 - 880793 fax 053 - 215114
ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ที่ 10 21/6 หมู่ 12 ต.ปากน้ำ   อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา 24110
01 - 9092140 01 - 2949147
ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ที่ 11 ต.ทับไทร   อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี 22140
01 - 4585137
ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ที่ 12 ต.แม่จั๊วะ   อ.เด่นชัย  จ.แพร่  54110
054 - 449267 fax  054 - 613633
ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ที่ 13 หมู่ 1 ป่าพยอม กิ่ง อ.ป่าพยอม จ.พัทลุง 93190
01 - 9581263
โครงการพัฒนาป่าไม้ ทุ่งกุลาร้องไห้ 8/44-45 ถ.ปัทมนนท์ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 043 - 526744  
fax  043 - 526745
สถานีเพาะชำกล้าไม้กรุงเทพมหานคร ศูนย์ปทุมธานี   ต.หน้าไม้ อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี 12140
02 - 9776858
สถานีเพาะชำกล้าไม้  จังหวัดเชียงราย ต.แม่คำ   อ.แม่จัน  จ.เชียงราย สำนักงานป่าไม้เขตเชียงราย  
053-712603
สถานีเพาะชำกล้าไม้แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ต.ขี้เหล็ก   อ.แม่แตง   จ.เชียงใหม่ สำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่
053-276100
สถานีเพาะชำกล้าไม้ห้วยดินดำ จังหวัดเชียงใหม่ ต.น้ำแพร่ อ.หางดง   จ.เชียงใหม่ สำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่
053-276100
สถานีเพาะชำกล้าไม้ จังหวัดลำปาง ต.บ้านหวด   อ.งาว จ.ลำปาง สำนักงานป่าไม้เขตลำปาง
054-226828
สถานีเพาะชำกล้าไม้ จังหวัดอุตรดิตถ์ ต.บ้านด่านนาขาม อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ สำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลก
055-241668
สถานีเพาะชำกล้าไม้ จังหวัดตาก ต.ท่าตะคร้อ   อ.เมือง  จ.ตาก สำนักงานป่าไม้เขตตาก
055-511721
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดพิษณุโลก ต.ดินทอง   อ.วังทอง  จ.พิษณุโลก สำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลก
055-241668
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดชัยนาท ต.บางหลวง อ.สรรพยา จ.ชัยนาท สำนักงานป่าไม้เขตสระบุรี
036-347106
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดปราจีนบุรี ต.ทุ่งโพธิ์   อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี สำนักงานป่าไม้เขตปราจีนบุรี
037-211140
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดนครนายก ต.ศรีกะอาง อ.บ้านนา   จ.นครนายก สำนักงานป่าไม้เขตปราจีนบุรี
037-211140
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดฉะเชิงเทรา ต.เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา สำนักงานป่าไม้เขตปราจีนบุรี
037-211140
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสิงห์บุรี ต.คูเมือง  อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี สำนักงานป่าไม้เขตสระบุรี
036-3447106
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดกาญจนบุรี (ไทรโยค) ต.ม่วงชุม   อ.ท่าม่วง  จ.กาญจนบุรี สำนักงานป่าไม้เขตบ้านโป่ง
036-201236
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดระยอง ต.เนินพระ   อ.เมือง  จ.ระยอง สำนักงานป่าไม้เขตศรีราชา
038-314039
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดพังงา ต.ท้ายเหมือง   อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา สำนักงานป่าไม้เขตนครศรีธรรมราช 075-356134
สถานีเพาะชำกล้าไม้
จังหวัดตรัง ต.เขาช่อง   กิ่งอำเภอนาโยง จ.ตรัง สำนักงานป่าไม้เขตสงขลา
074-312117
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดปัตตานี ต.ทรายขาว   อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี สำนักงานป่าไม้เขตปัตตานี
073-211140
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดนครศรีธรรมราช ต.นาสาร   อ.เมือง  จ.นครศรีธรรมราช สำนักงานป่าไม้เขตนครศรีธรรมราช
075-356134
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถ.สุราษฎร์ฯ - นครศรีธรรมราช อ.เมือง
จ.สุราษฎร์ธานี สำนักงานป่าไม้เขตสุราษฎร์ธานี
077-272058
สถานีเพาะชำกล้าไม้หนองเต็ง-จักราช ต.หนองเต็ง   อ.จักราช จ.นครราชสีมา สำนักงานป่าไม้เขตนครราชสีมา
044-244411
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดชัยภูมิ ต.นาฝาย อ.เมือง จ.ชัยภูมิ สำนักงานป่าไม้เขตนครราชสีมา 044-244411
สถานีเพาะชำกล้าไม้
จังหวัดอุบลราชธานี ต.ขามใหญ่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี สำนักงานป่าไม้เขตอุบลราชธานี   045-311677
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสุรินทร์ ต.น้ำเขียว   อ.รัตนบุรี  จ.สุรินทร์ สำนักงานป่าไม้เขตอุบลราชธานี   045-311677
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดขอนแก่น ต.โนนสมบูรณ์   อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น สำนักงานป่าไม้เขตขอนแก่น
043-343411-14
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดกาฬสินธุ์ ต.อิตื้อ   อ.ยางตลาด  จ.กาฬสินธุ์ สำนักงานป่าไม้เขตขอนแก่น
043-343411-14
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดอุดรธานี ต.บ้านจั่น อ.เมือง จ.อุดรธานี สำนักงานป่าไม้เขตอุดรธานี
042-221725
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสกลนคร ต.โคกภู   อ.กุดบาก  จ.สกลนคร สำนักงานป่าไม้เขตอุดรธานี
042-221725
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดเลย ต.น้ำสวย   อ.เมือง  จ.เลย สำนักงานป่าไม้เขตอุดรธานี
042-221725
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดหนองคาย ต.หาดดำ   อ.เมือง  จ.หนองคาย สำนักงานป่าไม้เขตอุดรธานี  
042-221725
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดศรีสะเกษ ต.หนองไผ่ อ.เมือง   จ.ศรีสะเกษ สำนักงานป่าไม้เขตอุบลราชธานี 045-311677
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดร้อยเอ็ด ต.กลาง   อ.เสลภูมิ   จ.ร้อยเอ็ด สำนักงานป่าไม้เขตขอนแก่น
043-343411-14
สถานีเพาะชำกล้าไม้เทพพนมจังหวัดนครพนม ต.บ้านผึ้ง   อ.เมือง  จ.นครพนม สำนักงานป่าไม้เขตอุดรธานี
042-221725
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสระบุรี ต.พุแค อ.เมือง จ.สระบุรี สำนักงานป่าไม้เขตสระบุรี
036-347106
สถานีเพาะชำกล้าไม้(มวกเหล็ก) ต.มิตรภาพ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี สำนักงานป่าไม้เขตสระบุรี
036-347106
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดลพบุรี ต.นิคม อ.เมือง จ.ลพบุรี สำนักงานป่าไม้เขตสระบุรี
036-347106
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดชลบุรี ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี สำนักงานป่าไม้เขต ศรีราชา
038 - 314039
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดตราด ต.ด่านชุมพล อ.บ่อไร่ จ.ตราด สำนักงานป่าไม้เขตศรีราชา
038 - 314039
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสระแก้ว ต.บ้านครองเจริญ อ.เมือง จ.สระแก้ว สำนักงานป่าไม้เขตปราจีนบุรี
037-211140
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดบุรีรัมย์ ต.คูเมือง อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ สำนักงานป่าไม้เขตนครราชสีมา
044-244411
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดมุกดาหาร ต.คำป่าหลาย อ.เมือง จ.มุกดาหาร สำนักงานป่าไม้เขตอุดรธานี
042-221725
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดหนองบัวลำภู ต.เทพคีรี กิ่งอำเภอนาวัง จ.หนองบัวลำภู สำนักงานป่าไม้เขตอุดรธานี
042-221725
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดน่าน ต.ไชยสถาน อ.เมือง จ.น่าน สำนักงานป่าไม้เขตแพร่
054-511162
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดแม่ฮ่องสอน อ.แม่สะเรียง   จ.แม่ฮ่องสอน สำนักงานป่าไม้เขตแม่สะเรียง
053-681323
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดลำพูน ต.ทาขุมเงิน อ.แม่ทา จ.ลำพูน สำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่
053-276100
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดพิจิตร ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร สำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลก
055-241668
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสุโขทัย ต.นาทุ่ง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย สำนักงานป่าไม้เขตตาก
055-511721
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดน่าน ต.ไชยสถาน อ.เมือง จ.น่าน สำนักงานป่าไม้เขตแพร่
054-511162
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดนครสวรรค์ ต.มหาโพธิ์ อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ สำนักงานป่าไม้เขตนครสวรรค์
056-221140
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดกำแพงเพชร ต.หนองปลิง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร สำนักงานป่าไม้เขตนครสวรรค์
056-221140
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดอุทัยธานี ต.หนองนางนวล อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี สำนักงานป่าไม้เขตนครสวรรค์
056-221140
สถานีเพาะชำกล้าไม้พุทธมณฑล ต.ศาลายา กิ่งอำเภอพุทธมณฑล จ.นครปฐม สำนักงานป่าไม้เขตบ้านโป่ง
036-201236
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสุพรรณบุรี ต.เขาพระ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี สำนักงานป่าไม้เขตบ้านโป่ง
036-201236
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต.ห้วยทราย อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรี
032-433660
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดเพชรบุรี ต.ชะอำ อ.เมือง จ.เพชรบุรี สำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรี
032-433660
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสตูล ต.ทุ่งหว้า อ.เมือง จ.สตูล สำนักงานป่าไม้เขตสงขลา
074-312117
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดชุมพร ต.วังตะกอ อ.หลังสวน จ.ชุมพร สำนักงานป่าไม้เขตสุราษฎร์ธานี
077-272058
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดอ่างทอง ต.บางเจ้าฉ่า อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง สำนักงานป่าไม้เขตสระบุรี
036-347106
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ม 4 ต.บางพระครู อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา สำนักงานป่าไม้เขตสระบุรี
036-347106
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดจันทบุรี ต.ทับไทร อ.โ่ป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี สำนักงานป่าไม้เขต ศรีราชา
038 - 314039
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดอำนาจเจริญ ต.สร้างถ่อน้อย อ.หัวตะพาน  จ.อำนาจเจริญ สำนักงานป่าไม้เขตอุบลราชธานี 045-311677
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดพะเยา ต.ทุ่งจำปี   อ.เมือง  จ.พะเยา สำนักงานป่าไม้เขตเชียงราย  
053-712603
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดเชียงใหม่ ต.น้ำแพร่ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ สำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่
053-276100
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสมุทรสาคร ม 2  ต.อำแพง  อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร สำนักงานป่าไม้เขตบ้านโป่ง
036-201236
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดระนอง ถ.หาดทรายแดง อ.เมืองจ.ระนอง สำนักงานป่าไม้เขตสุราษฎร์ธานี
077-272058
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดภูเก็ต ต.เทพกระษัตรี   อ.ถลาง จ.ภูเก็ต สำนักงานป่าไม้เขตนครศรีธรรมราช
075-356134
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดกระบี่ ม 1  ต.ห้วยน้ำขาว  อ.คลองท่อม จ.กระบี่ สำนักงานป่าไม้เขตนครศรีธรรมราช
075-356134
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดยะลา ม 5  ต.ท่าธง   อ.รามัน จ.ยะลา สำนักงานป่าไม้เขตปัตตานี
073-211140
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดนราธิวาส ม 7  ต.ไพรวัน   อ.ตากใบ จ.นราธิวาส สำนักงานป่าไม้เขตปัตตานี
073-211140
สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสงขลา ต.ฉลุง   อ.หาดใหญ่  จ.สงขลา สำนักงานป่าไม้เขตสงขลา
074-312117
สถานีเพาะชำกล้าไม้(เขาย้อย) ต.ทุ่งขนาย อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี สำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรี
032-433660

ที่มา :




ลักษณะทั่วไป
การเป็นมงคล
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
การปลูก
พยุง
Black wood

Dalbergia cochinchinensis

LEGUMINOSAE

พยูง กระยง ประดู่เสน

พยุงเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ12-20 เมตรผิวเปลือกสีน้ำตาลคล้ำแตกสะเก็ดและเป็นแผ่น
บาง ๆ ใบออกกันเป็นช่อยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ใบรวมมีใบย่อยประมาณ 6-10 ใบ ใบรูปมนรี ปลายใบแหลม โคนใบมน
ขอบใบเรียบพื้นใบสีเขียวใบมีขนาดความยาว23นิ้วกว้างประมาณ1-2 นิ้วดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ออกตามปลายกิ่งมีสีเหลืองอ่อน
หรือขาวดอกมีขนาดเล็กผลเป็นฝักแบนยาวผิวเกลี้ยงฝักยาวประมาณ46เซนติเมตรกว้างประมาณ1-2 เซนติเมตรภายในมีเมล็ด
คล้ายเม็ดถั่ว

คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นพยุงไว้ประจำบ้านจะทำให้มีความเจริญความมั่นคงเพราะพยูงหรือพยุงคือการช่วยพยุงให้
คงอยู่ให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดความสง่า เพราะโบราณได้เปรีบเทียบไว้ว่ายูงยางสูงสว่าโดดเด่นเห็นตระการ
 ตา คือ มีความสว่าในตัวเอง ซึ่งคล้ายกับความสว่าของนกยูง ซึ่งเป็นสัตว์ชั้นสูงชนิดหนึ่ง และยังมีคนโบราณบางคนได้กล่าวไว้ว่า
พยุงหรือกระยงก็คือกระยงคงกระพันได้อีกแง่หนึ่งเช่นกันทั้งนี้เพราะโบ่ราณถือว่าเนื้อไม้ของพยุงเป็นไม้ที่แข็งแกร่งและมีอิทธิ
ฤทธิ์พอสมควร

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นพยุงไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์เพราะโบราณเชื่อ
ว่าการปลูกไม้เอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ถ้าจะให้เป็นสิริมงคลแก่ตัวเองผู้ปลูกควรเป็นสุภาพบุรุษเพราะชื่อพยุงเป็นชื่อที่เหมาะ
สมสำหรับสภาถบุรุษนอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่าแก่นไม้พยุงมีลักษณะที่แข็งแกร่งจึงเปรียบเทียมความแข็งแรงเหมือนกับสุภาพ
บุรุษ
การดูแลรักษา
นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วนอัตรา 1:2 ผสมดินปลูกถ้าปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านหรืออาคารควรปลูกให้มีระยะห่างที่เหมาะสมเพราะพยุงเป็น
ไม้ที่มีทรงพุ่มใหญ่
แสง                           ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

น้ำ                             ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง

ดิน                             ชอบดินร่วนซุย

ปุ๋ย                           ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2: 3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 2-3 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15

                                   อัตรา 200-300 กรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-4 ครั้ง

การขยายพันธุ์            การเพาะเมล็ด
                                
โรคและศัตรู               ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะมีความทนทานสภาพธรรมชาติได้ดี

                                                      

maipradab.com Thailand Web Stat
6/1 หมู่ 11 คลอง15 ศูนย์พันธ์
ไม้ดอกไม้ประดับที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ต.บางปลากด อ.องครักษ์ จ.นครนายก 26120
E-mail : webmaster@maipradab.com
Tel.(01)8469556









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (5065 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©