-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 472 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้เศรษฐกิจ2




หน้า: 1/2






ตำนานกฤษณา         
กฤษณา 
เป็นพันธุ์ไม้ป่าดิบแล้งถึงป่าดิบชื้น  กระจายพันธุ์อยู่ทางแถบร้อนของเอเชีย  ได้แก่ ภาคตะวันออกของอินเดีย  บังคลาเทศ ภูฎาน เบงกอล ปากีสถาน ศรีลังกา  บางส่วน ของอัสสัม   ครอบคลุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด ได้แก่  ไทย พม่า ลาว เวียดนาม  กัมพูชา มาเลเซีย  อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และปาปัวนิกินี  กฤษณาเป็นพันธุ์ไม้ที่เนื้อไม้มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อไม้จากสีขาวเป็นสีน้ำตาลหรือดำเมื่อนำมาเผาไฟ ควันของไม้จะส่งกลิ่นหอมหวานเนื่องจากมีสารกฤษณาแทรกอยู่ในเนื้อไม้             

ในประเทศอินเดีย แต่เดิมเป็นประเทศที่มีไม้กฤษณามากที่สุด  ประเทศอินเดียมีอาณาเขตกว้างขวาง คำนวณตามพื้นที่ราว 1 ใน 5 ของโลก มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศจีน  และได้ชื่อว่าเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ของโลกแห่งหนึ่ง  ประวัติศาสตร์ของอินเดียนั้นได้พัฒนาสืบเนื่องกันมาไม่ต่ำกว่า 5,000 ปี  อีกทั้งได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากชนชาติ  กรีก  อาหรับ เปอร์เซีย และยุโรป  ตำนานต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอินเดียมีศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  เป็นแหล่งอารยธรรมในตะวันออก 

เมื่อศึกษาประวัติศาสตร์ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูไม่อาจบ่งชี้ผู้เป็นศาสดาในศาสนาได้  เชื่อเพียงว่าฤาษีผู้ไม่ปรากฏนามตนใดตนหนึ่งเป็นฤาษีที่ยิ่งใหญ่ (มหาฤาษี) เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้ชาวฮินดูได้ประพฤติปฏิบัติ ผู้เขียนได้ค้นคว้าถึงตำนานความเป็นมาของชื่อ “กฤษณา” จากคัมภีร์ตรีมูรติ ซึ่งศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่เก่าแก่มากที่สุด
   
          

หลักคัมภีร์ตรีมูรติ  เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พุทธศักราช 800 โดยพราหมณ์ได้แบ่งหน้าที่ ให้ดังนี้

1.พระพรหม  เป็นเทพผู้สร้าง  คือสิ่งสมบูรณ์สูงสุด  ควบคุมทุกอย่างในจักรวาล สร้างสรรพสิ่งใน
จักรวาล    พระพรหมจึงมีฐานะเป็นเทพเจ้าสูงสุดมีพระมเหสี ชื่อ “พระสรัสวดี”

2.พระวิษณุ (พระนารายณ์) เป็นเทพผู้รักษา ภาพพระวิษณุนิยมทำเป็นรูป 4 กร  ทรงตรีขรรค์  คฑา
จักร และสังข์ มีชายา ชื่อ พระลักษมี  พระวิษณุ  ได้ลงมาอวตารเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับโลกที่ผ่านมามี 9 ปาง  ปางที่ 7 คือพระราม ปางที่ 8 คือ ปางกฤษณะ (เกิดมาปราบคนชั่ว) และปางที่ 9 คือปางพระพุทธเจ้า (สถาปนาศาสนาพุทธ) ปางอวตารเป็นพระพุทธเจ้าของพระวิษณุ ซึ่งพราหมณ์มิอาจหยุดความรุ่งเรืองของพระพุทธเจ้าได้  จึงนำเข้ามาเป็นหลักในศาสนา เพื่อการยอมรับและไม่มีความแตกแยกในสังคมศาสนาในอดีต

3.พระศิวะ (พระอิศวร)เป็นเทพผู้ทำลาย ภาพพระศิวะ นิยมทำเป็นรูปฤาษีนุ่งห่มหนังสัตว์ประทับ
นั่งบนหนังเสือ มี 4 กร ถือ ตรีศูล ธนู ห้อยพระศอด้วยประคำหัวกะโหลก มีงูเป็นสังวาล มีพระมเหสี คือ พระแม่อุมาเทวี         

หลักตรีมูรติจึงมีผู้สร้าง  ผู้รักษา และ ผู้ทำลาย  เป็นการจำลองให้เห็นถึงสังคมมนุษย์ว่าโดยภาพรวมย่อมมี
บุคคลสามประเภทที่ปะปนอยู่            

พระรูปของพระกฤษณะ มีลักษณะผมมุ่น เสียบดอกไม้ พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือดอกบัว อีกข้างหนึ่งถือ
ขลุ่ย ที่ทำจากไม้ชนิดหนึ่ง ในบรรดาเทพเจ้าของชาวฮินดู พระกฤษณะทรงมีความเป็นมนุษย์มากที่สุด ตั้งแต่การ ดำเนินชีวิตในวัยเด็ก จนทรงเจริญวัยมากขึ้น 

ในที่สุดพระกฤษณะก็กลายเป็นนักปราชญ์ผู้ปราดเปรื่องในรูปแบบการบูชาแรก ๆ ของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู  มีความสัมพันธ์กันมากระหว่างพืชพันธุ์กับแก่นของความศักดิ์สิทธิ์  ในตำนานมีการใช้ที่นั่งและแท่นดอกบัวกันมาก  เทพหลาย ๆ องค์ต่างก็อยู่บนที่นั่งหรือแท่นดอกบัว  ซึ่งดอกบัวเปรียบดั่งดวงอาทิตย์เนื่องจากดอกบัวจะบานและหุบตามเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นและตก 

ดังนั้นในสมัยฮินดูโบราณจึงกล่าวว่า ดอกบัวเป็นที่อยู่อาศัยของพระอาทิตย์ การใช้สัญลักษณ์ดอกบัว แสดงให้เห็นถึงอะไรที่อยู่เหนือมนุษย์ หรือการเกิดที่ศักดิ์สิทธิ์ ดอกบัวที่งดงามมิได้เกิดจากพื้นดินที่ต่ำต้อย หากแต่เกิดจากผิวน้ำที่บริสุทธิ์เสมอ ไม่มีมัวหมอง ชาวฮินดูนำเมล็ดดอกบัวมาทำเป็นลูกประคำ  ถือว่าดอกบัวแทนการกำเนิดที่เหนือธรรมชาติ ที่เป็นสิ่งแรกที่กำเนิดจากน้ำในสมัยโบราณและเป็นสัญลักษณ์แทนความบริสุทธิ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง
ในทางศาสนาพุทธ 

ประวัติของพระพุทธศาสนาโดยรวม  ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของศาสนา
พราหมณ์ – ฮินดู  จากประวัติได้กล่าวไว้ว่า เมื่อพระโพธิสัตว์หลังจากเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรอันเป็นชาติสุดท้าย  ก็ไปจุติไปประทับอยู่สวรรค์ชั้นดุสิต  เมื่อประทับที่สวรรค์พอสมควรแล้ว เทพเทวดาในสวรรค์ทุกชั้นจึงอารธนาให้มาจุติในโลก เพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับอารธนา จากตำนานอินเดียในอดีตได้กล่าวไว้ว่า เมื่อประสูติ พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือดอกบัว  เช่นเดียวกับพระกฤษณะ  พระหัตถ์อีกข้างหนึ่งถือไม้กฤษณา  เป็นการแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลแนวคิดทางศาสนานอกจากนี้ในวรรณคดีไทยเรื่อง  “กฤษณาสอนน้องคำฉันท์” เป็นวรรณคดีที่มีมานานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตกทอดมาถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 3 แห่ง กรุงรัตนโกสิน ทรงโปรดให้แต่งใหม่ทั้งหมดโดย สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมสมเด็จพระปรมานุชิตโนรส จนถึงปี พ.ศ.2377 อันเป็นปีที่พระองค์ทรง ปฎิสังขรวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเสร็จเรียบร้อย  โปรดเกล้าให้จารึกความรู้แขนงต่าง ๆ  บนแผ่นหินอ่อนประดิษฐานไว้  รวมทั้งเรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย ที่มาของวรรณคดีเรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์เป็นพระองค์แรกว่ามีที่มาจากประเทศอินเดียวทำให้สามารถติดตามเรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ไปจนถึงที่สุด ซึ่งคือบรรพหนึ่งของมหากาพย์มหาภารตะที่เป็นรากฐานของอารยธรรมตะวันออก ที่ประพันธุ์โดยฤาษีวยาส ในศาสนาพราหมณ์ ในเนื้อเรื่องเกี่ยวข้องกับ พระกฤษณะและ พระนางกฤษณา  

คำว่า “กฤษณะ”  หมายถึงผู้ที่มีผิวดำ ส่วน “กฤษณา” จะหมายถึง เนื้อไม้ส่วนที่มีสีดำสะสมเป็น
สารกฤษณา จากตำนานต่าง ๆที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย ในทางพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ที่กล่าวถึงคำว่ากฤษณาหลาย ๆ เรื่องพอที่จะกล่าวไว้ว่า กฤษณาเกี่ยวข้องกับคำว่า กฤษณะ  หรือมาจากคำว่า “กฤษณะ”   เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู เป็นเทพผู้รักษา ซึ่งในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และ ศาสนาพุทธจึงให้ความเคารพไม้กฤษณาว่าเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ต้องปกป้องรักษาไว้  รวมทั้งในศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์  จึงมีการใช้ไม้กฤษณาในพระราชพิธีต่าง ๆ เมื่อไม้กฤษณาเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์จึงไม่สมควรตัดไม้กฤษณาทำลายป่า อีกต่อไป  เพราะเป็นทรัพย์ของแผ่นดิน หากไม่ปลูกทดแทน ทรัพย์สินที่ได้มาจะกลับคืนสู่แผ่นดินในที่สุด  สิ่งศักดิ์สิทธิ์  จึงเป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ในจิตใจของมนุษย์อย่างชัดเจนเป็นแรงศรัทธาที่พร้อมจะโน้มน้าวหรือชักจูงให้มนุษย์กระทำอะไรก็ตาม  ตามความฝันของตัวเองจนบรรลุผลสำเร็จ 

การเฝ้ามองสิ่งที่เกิดในธรรมชาติเช่นกฤษณาอย่างละเอียดอ่อน  แล้วแสดงความเคารพเพื่อให้ชีวิตเกิดสมดุลที่จะดำรงอยู่ และเป็นเครื่องมือสำคัญในการยึดเหนี่ยวจิตใจ และความเชื่อมั่นของคนมาโดยตลอด
การปลูกไม้กฤษณาจึงถือเป็นสิริมงคลของชีวิตเสมือนการจุดธูปหลายล้านดอก และสมควรที่จะใช้ ประโยชน์จากไม้กฤษณาปลูกเท่านั้น  เพราะปัจจุบันไม้กฤษณาปลูกสามารถกระตุ้นให้หลั่งสารกฤษณาได้ เร็วกว่าที่เกิดในธรรมชาติถึง 10 เท่ามีศักยภาพสูงมากพอในเชิงเศรษฐกิจ





วิธีการปลูกไม้กฤษณา
ควรเตรียม พื้นที่ ให้ เรียบร้อย โดยไถ่ ให้เตียนโล่ง ปราศจาก หญ้า คลุมดิน ควรเตรียม ดินภาย ในเดือน เมษายน - พฤษภาคม หลังจาก นั้นพอ ถึงฤดู ฝน หลังจาก ฝนตก อย่างต่อ เนื่อง 2-3 อาทิตย์ สามารถ นำกล้า กฤษณา ลงปลูก ในพื้น ที่ได้ แล้ว โดยระยะ ปลูกที่ เหมาะสม คือ

* ระยะ 2x3 m พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 260 ต้น เหมาะสำหรับ ปลูกใน แปลงขนาด ใหญ่ 50 ไร่ ขึ้นไป เพราะ สามารถ นำรถ ไถ่เล็ก เข้าไป ตัดหญ้า ได้ระหว่าง แถว 3 m และ กรณี ที่ไม่ มีคน งานประ จำสวน
* ระยะ 2x2 m เนื้อที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 400 ต้น เหมาะ สำหรับ ปลูกใน แปลงขนาด เล็ก 5-50 ไร่ ขึ้นไป และมี คนงาน ประจำ สวน

เมื่อได้ ระยะ เวลา ที่ลง กล้ากฤษณา นำต้น พันธุ์ ซึ่งขนาด ที่เหมาะสม คือ มีความ สูงอย่าง น้อย 50 cm. อายุ 1 ปี ลำต้นตรง แข็งแรง เพาะพันธุ์ จากเมล็ด เพราะจะมี รากแก้ว ทำให้ ต้นไม้ เจริญ เติบโต ได้เร็ว และ แข็งแรง เมื่อได้ กล้าพันธุ์ แล้ว ให้ขุด หลุมปลูก ระยะ 1 หน้าจอบ (20-25 cm.) และลึก ประมาณ 25 cm. นำหญ้า แห้งรอง ก้นหลุม ประมาณ 1 นิ้ว แล้วนำ โพลิเมอร์ (ดินวิทยาศาสตร์) ซึ่งแช่ น้ำไว้ อย่างน้อย 1 ชม. รองก้นหลุม ปรมาณ 2-3 กำมือ หลังจาก นั้น นำปุ๋ย คอก (ขี้ไก่, ขี้วัว, ปุ๋ยอินทรี) ผสมกับ ดินใน อัตรา ส่วน 1/1 รองก้น หลุม ประมาณ 2 นิ้ว แล้วนำ กล้า กฤษณา มีฉีก ถุงออก ระวัง อย่าให้ ดินแตก หัก นำต้น กล้า วาง ในหลุม ให้ลึก จากระ ดับเดิม ของ ต้นกล้า ประมาณ 3 นิ้ว แล้วกลบ ด้วยดิน ให้แน่น จากนั้นนำ ไม้ปัก ลงใกล้ โคนต้น กล้าแล้ว มัดด้วย เชือกฟาง ป้องกัน ลงพัด ไม่ให้ ต้นกล้า หักเอน ไปมา แล้วหา หญ้าแห้ง คลุมโคน ไม้ รัศมี เส้นผ่า ศูนย์กลาง ประมาณ 40-50 cm. พยายาม ให้โคน เป็นแอ่ง กะทะ เล็กน้อย และมี คันรอบๆ เส้นผ่า ศูนย์กลาง รอบโคน ต้นไม้ เพื่อไม่ ให้น้ำ ไหลออก ได้รวด เร็ว เวลา รดน้ำ ใน หน้าแล้ง

วิธีดูแลรักษาไม้กฤษณา (ไม้หอม)
ไม้กฤษณา เป็นไม้ ที่ปลูก ง่ายโต เร็ว ไม่ต้อง ดูแล เอาใจใส่ เหมือน ผลไม้ หลังจาก ปลูกแล้ว ให้ สังเกต ที่ใบ ของต้น ถ้าต้น ไม้มี การแตก ใบอ่อน ขึ้นมา ใหม่ (หลังจาก ปลูกลง ดิน ประมาณ 2-4 อาทิตย์) แสดงว่า รากของ ต้นไม้ เริ่มแก ลงดิน แล้ว หลังจาก นั้น ทุก 2 เดือน ควรหมั่น แต่งกิ่ง ไม้หอม เพราะไม้ กฤษณา จะแตก พุ่มหลาย กิ่งจะ ต้องแต่ง กิ่งให้ เหลือกิ่ง หลักเพียง กิ่งเดียว จะทำ ให้ไม้ กฤษณา โตเร็ว และทำ การดู แลรักษา ได้ง่าย ทำงาน สะดวก ต่อไป ในอนาคต

โดยทั่วไป จะทำการ แต่งกิ่ง ไม้กฤษณา ประมาณ 3 ปี หลังจาก นั้นจึง ปล่อยตาม ธรรมชาติ ข้อควร ระวัง อย่าให้ หญ้า ขึ้นรก บริเวณ โคนต้น (40-50 cm.) จะทำ ให้ไม้ กฤษณา เจริญเติบ โตได้ ช้ากว่า ปกติ และหญ้า แห้ง ที่คลุม โคนต้น ต้องหนา พอสมควร

1. การให้น้ำ ระยะ ที่ปลูก คือ หน้าฝน ระหว่าง เดือน มิถุนายน - ตุลาคม ถ้าฝน ตก สม่ำเสมอ ไม่ทิ้ง ช่วงนาน กว่า 2 อาทิตย์ ไม่ต้อง รดน้ำ เลยก็ ได้ให้ สังเกต ที่ใบ ของต้นไม้ ถ้าใบ เริ่มเหี่ยว เฉาเพราะ ขาดน้ำ อาจจะ ช่วยรดบ้าง หลังจาก หมดหน้าฝนแล้วควรรด น้ำอาทิตย์ 1-2 ครั้ง จนไม้หอมอายุได้ 3 ปี หลังจาก 3 ปี ขึ้นไป รดน้ำ อาทิตย์ ละ 1 ครั้ง จนกว่าจะเริ่มทำแผลต้นไม้

2. การใส่ ปุ๋ยควร ใส่ปุ๋ย อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงก่อน หน้าฝน และครั้ง ที่ 2 คือ หลังหน้า ฝนแล้ว ควรใส่ ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยอินทรี

3. การกำ จัดวัช พืชอย่า ให้มี หญ้าขึ้น ตามโคน ต้นรัศมี 40-50 cm. หรือมี หญ้าเลื้อย พันโคนต้น จะทำให้ ไม้เติบ โตช้า ส่วนระหว่าง โคนต้น ถ้าหญ้า ขึ้นรก สามารถ ฉีดยา ฆ่าหญ้าได้ ซึ่งหลัง จากไม้ หอมอายุ 6 ปี ขึ้นไป หญ้าจะ ไม่ค่อย ขึ้นเพราะ ใบของ ต้นไม้ จะคลุม กันเอง




การปลูกไม้กฤษณาร่วมยางพารา   

ไม้กฤษณา(Agarwood) หรือไม้หอม เป็นไม้พื้นเมืองของไทย ที่มีกลิ่นหอมและสามารถสกัดน้ำมันหอมมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ หลายประเภท เช่น ใช้น้ำมันกฤษณาเพื่อผสมเป็นหัวเชื้อในการผลิตน้ำหอม, ใช้ไม้กฤษณาในทางเภสัชกรรม และอื่นๆ อีกมากมาย จึงทำให้มีผู้เสาะหาไม้กฤษณาเพื่อนำไปจำหน่ายและส่งเป็นสินค้าออกมาอย่างช้านานแล้ว เนื่องจากว่าเป็นไม้ที่หายาก ราคาจึงอยู่ในระดับที่สูงมาก, เนื่องจากว่าประเทศผู้สั่งซื้อมีมากกว่าผู้ผลิตและเป็นสินค้าที่ต้องใช้ตลอดไป, เนื่องจากว่า ยังไม่มีใครทราบเทคนิคในการกระตุ้นต้นไม้กฤษณาให้เกิดสารกฤษณาหรือแก่นกฤษณาได้เป็นปริมาณมาก ๆ ตลาดของไม้กฤษณาจึงยังคงเปิดกว้างอย่างท้าทายตลอดเวลาที่ผ่านมาและในอนาคต

เมื่อเทียบหรือไม่เทียบกับการพยายามสืบเสาะค้นหาเทคนิคที่สุดยอดในการกระตุ้นให้เกิดสารกฤษณาในต้นกฤษณาแล้ว การปลูกต้นกฤษณาดูเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ๆ เพียงเข้าใจธรรมชาติจากแหล่งที่พบต้นกฤษณาจากป่าดิบชื้น หรือป่าดิบแล้ง นั่นเอง


ดังนั้น พื้นที่ที่เหมาะต่อการปลูกต้นกฤษณา จึงควรเป็นที่มีความชุ่มชื้น, เป็นที่เนิน, น้ำไม่ท่วม, น้ำไม่ขัง, เป็นดินที่มีการระบายน้ำดี หรือเป็นดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย การปลูกต้นกฤษณาอาจปลูกเป็นพืชเชิงเดี่ยว หรือปลูกร่วมกับพืชหรือไม้ยืนต้นอื่น(สวนป่าวนเกษตร) เช่น ปลูกร่วมกับยางพาราหรือสวนผลไม้ หรือป่าชุมชน เนื่องจากต้นกฤษณาชอบแหล่งปลูกที่มีความชื้นสูงและต้องการร่มเงาบ้าง(สำหรับในที่แห้งแล้งยาวนาน)ขณะที่ต้นยังเล็กอยู่(1-2 ปี) การปลูกต้นกฤษณาร่วมกับยางพาราจึงเป็นการเปลี่ยน "พื้นที่ว่างระหว่างแถวต้นยางที่ไร้ค่า" มาเป็น "พื้นที่ที่สุดล้ำค่า" ในสวนยางพารา นั่นเอง และที่สำคัญมาก ๆ ก็คือว่า หากท่านต้องการตั้งโรงงานเพื่อกลั่นน้ำมันกฤษณาด้วย ก็จำเป็นต้องรู้ก่อนว่าพื้นที่ในจังหวัดและอำเภอใดสามารถตั้งโรงงานกลั่นได้หรือไม่


เนื่องจากเวบไซต์นี้มุ่งเน้นด้านการทำสวนยางพารา จึงจะขอกล่าวเฉพาะการปลูกต้นกฤษณาในสวนยางพาราเท่านั้น เนื่องจากต้นกฤษณามักเจริญเติบโตได้ดีในที่มีความชื้นพอสมควร ดังนั้นในเขตพื้นที่ที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งอย่างยาวนานจึงควรปลูกต้นกฤษณาเมื่อสวนยางพารามีร่มเงาบ้างแล้ว จึ่งเหมาะที่จะปลูกเมื่อต้นยางพารามีอายุประมาณ 3-4 ปี แต่หากต้องการปลูกให้เร็วกว่านี้ ก็สามารถทำได้โดยอาจจะปลูกกล้วยเป็นพืชแซมยางเพื่อให้มีร่มเงาและสร้างความชุ่มชื้นให้แก่ดินก่อน สำหรับในภาคใต้ซึ่งอากาศไม่ร้อนมากนักและมีความชื้นในอากาศอย่างพอเพียง ก็สามารถปลูกต้นกฤษณาได้ตั้งแต่ปีแรก หรือปีที่ 2 ,3,4 โดยไม่จำเป็นต้องปลูกพืชแซมยางใด ๆ ก่อนก็ได้เช่นกัน  เนื่องจากความนิยมในการปลูกต้นกฤษณาเริ่มมีมากขึ้นเมื่อ 3-4 ปีมานี้ ดังนั้นจึงมักพบเห็นการพยายามนำไม้กฤษณาไปปลูกในสวนยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปบ้างพอสมควร ซึ่งการมีร่มเงามากเกินไปก็จะทำให้ต้นกฤษณาโตช้าหรือสูงผอมไปบ้างดังภาพ


พันธุ์ไม้กฤษณา

พันธุ์ไม้กฤษณาที่นิยมปลูกกันอยู่ทั่วไปในขณะนี้มักเป็นพันธุ์ Aquilaria crassna Pierre ex Lec. ซึ่งมีลักษณะเปลือกนอกเป็นสีเทาหรือเทาปนขาว ใบเป็นรูปเรียวถึงเรียวแหลม ลำต้นสูง10-30 เมตร ในขณะที่พันธุ์ Aquilaria malaccensis Lamk. อาจให้น้ำมันหอมที่มีคุณภาพที่ด้อยกว่าพันธุ์แรก ส่วนพันธุ์ Aquilaria subintegra Hou. นั้น ตอนนี้หาได้ค่อนข้างยากมาก ๆ


ระยะปลูกต้นกฤษณาในสวนยางพารา
 

  • ปลูกทดแทนต้นยางที่ตาย ในกรณีที่ปลูกยางพาราไว้แล้วและอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปและต้นยางตาย (หลัง 2 ปี แล้วไม่ควรปลูกซ่อม) ก็สามารถปลูกต้นกฤษณาในหลุมนั้น หรือใก้ล ๆ หลุมนั้นได้
  • ปลูกระหว่างแถวต้นยางพารา หากเป็นสวนยางพาราที่ขอทุนสงเคราะห์กับทางสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางหรือสกย. ซึ่งจะกำหนดให้ปลูกไม้ป่าในสวนยางพาราได้ไม่เกิน 15 ต้นต่อไร่โดยไม่ต้องแจ้งหรือขออนุญาติเพิ่มเติม ก็อาจจะปลูกต้นกฤษณาใน ระยะ 3x7 เมตร หรือ 6x7 เมตร หรือ 9x7 เมตร หรือปลูกระยะ 3x14 เมตร หรือ 6x14 เมตร หรือ 9x14 เมตร ก็ได้ แต่ต้องไม่เกินจำนวนดังที่กล่าว
  • ปลูกระหว่างแถวต้นยางพารา (เป็นสวนยางพาราที่ขอทุนสงเคราะห์กับทางสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางหรือสกย.) แต่ต้องการปลูกต้นกฤษณาให้ได้มากกว่า 15 ต้นต่อไร่ ซึ่งอาจปลูกระยะ 2x7 เมตร หรือ 3x7 เมตร ตลอดแถวต้นยางพาราทั่วทั้งแปลง กรณีแบบนี้ก็ต้องคุยหรือขออนุญาติกับทางสกย.ก่อน
  • สำหรับผู้ที่ลงทุนปลูกยางพาราเอง และต้องการปลูกไม้กฤษณาในระยะ 2x7 เมตร หรือ 3x7 เมตร ตลอดแถวต้นยางพาราทั่วทั้งแปลง แม้จะทำได้ แต่ก็ต้องพิจารณาดูว่าในหน้าฝน ความชื้นที่มีมากขึ้นในสวนยางจะทำให้สวนยางเสี่ยงต่อโรคที่จะมาจากเชื้อราหรือไม่

การขุดหลุมปลูกต้นกฤษณา

  • ให้ขุดหลุมปลูกแบบปลูกไม้ป่าทั่ว ๆ ไปก็ได้ คือ กว้าง 30 ซม. ยาว 30 ซม. และลึก 30 ซม. ตากดินไว้สัก 15-20 วัน
  • จากนั้นทำการรองก้อนหลุมด้วยปุ๋ยคอกเก่า ๆ หรือปุ๋ยหมักเล็กน้อย แล้วผสมปุ๋ยคอกเก่า ๆ หรือปุ๋ยหมักกับดินที่ขุดไว้ในอัตราส่วน 1:1 แล้วกลบดินลงหลุมจนเต็ม รอฤดูปลูกที่จะมาถึง ซึ่งก็ควรเป็นต้น หรือ กลางฤดูฝน

การปลูกต้นกฤษณา

ควรปลูกในต้น-กลางฤดูฝน โดยใช้มีดกรีดถุงออกและต้องระวังอย่าให้ดินแตก ปลูกให้ลึกจากระดับคอดินเดิมประมาณ 2-3 นิ้ว แล้วกลบดินให้แน่น นำไม้ชนิดที่มีความแข็งพอสมควรปักใกล้โคนต้นกล้าแล้วมัดด้วยเชือกฟางเพื่อป้องกันลมพัด ทำการคลุมโคนด้วยหญ้าแห้ง (ต้นกฤษณาเมื่อโตขึ้นมักล้มง่าย การปลูกให้ลึกจากระดับคอดินเดิมประมาณ 2-3 นิ้วก็อาจช่วยแก้ปัญหานี้ได้บ้าง)


การตัดแต่งกิ่งต้นกฤษณา

การตัดแต่งกิ่งคงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการปลูกด้วยว่าต้องการผลผลิตอย่างไรแบบไหน แต่ทั้งนี้ ก็ควรระมัดระวังไม่ตัดแต่งกิ่งจนทำให้การเจริญเติบโตชะงัก และการตัดแต่งกิ่งมากเกินไปอาจทำให้ส่วนบนหรือพุ่มใบใหญ่ ซึ่งจะทำให้เกิดการล้มได้ง่ายขึ้น

หมายเหตุ:

  • เรื่องราวของไม้กฤษณาคงมีอีกมากมาย ที่สำคัญมาก ๆ ก็คือเทคนิคการกระตุ้นให้เกิดสารกฤษณาในปริมาณมาก ฯลฯ สำหรับในเวบนี้ก็คงเขียนเฉพาะที่จำเป็นในบางเรื่องเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ควรปลูกไม้กฤษณา อย่างน้อยสัก 25 ต้น เผื่อว่าในอนาคตเราอาจจะเปิดโรงกลั่นน้ำมันกฤษณาขนาดเล็ก (ขนาด 5 หม้อ)ของเราเองได้
  • ใช่ว่าทุกคนหรือสวนยางพาราทุกสวนจะสามารถปลูกและจัดการกับผลผลิต(ชิ้นไม้กฤษณาหรือน้ำมันกฤษณา)ได้ หากเราศึกษาพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 เราจะพบว่าไม้กฤษณาไม่ได้เป็นไม้หวงห้าม แต่ถูกกำหนดให้เป็น "ของป่าหวงห้าม" นั่นก็คือเป็นของป่าหวงห้ามเฉพาะกับไม้กฤษณาที่ขึ้นหรือปลูกในเขตป่าเท่านั้น แต่ถ้าเราปลูกต้นไม้กฤษณาในที่ไม่ใช่ป่า ก็จะไม่เป็น "ของป่าหวงห้าม" การปลูกต้นกฤษณาในที่ดินที่ไม่ใช่ป่า ก็คือการปลูกในที่ดินที่เรามีเอกสารสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน, น.ส. 3, น.ส. 3 ก เป็นต้น ดังนั้น สวนยางพาราแปลงใดที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ดังกล่าวก็จะต้องเจอปัญหาข้อกฎหมายเมื่อจะทำการเก็บของป่าหวงห้าม(ตอนปลูกไม่เป็นปัญหา)
  • การขายผลผลิตจากต้นกฤษณาอาจขายเป็นน้ำมันกฤษณาหรือแก่นไม้กฤษณา หากขายเป็นน้ำมันกฤษณาจะขายโดยใช้หน่วยวัดปริมาณเป็นโตร่า(TORA) โดย 1 โตร่า เท่ากับ 12.5 ซีซี. ในประเทศไทยมีขายมากที่กรุงเทพฯ แถวซอยนานา ถนนสุขุมวิท ราคาขายโตร่าละ 4,000-10,000 บาทหรือลิตรละ 320,000-800,000 บาท แต่ถ้าส่งออกต่างประเทศราคาจะสูงไม่ต่ำกว่า 2 เท่าของราคาในประเทศ สำหรับราคาของแก่นไม้กฤษณา มักขายเป็นกิโลกรัม หากเป็นไม้กฤษณาเกรด 1 ราคาจะประมาณ 70,000-200,000 บาทต่อกิโลกรัม ถ้าส่งออกต่างประเทศราคาจะสูงไม่ต่ำกว่า 2 เท่าของราคาในประเทศ เช่นกัน





การปลูกไม้กฤษณา

การเลือกพื้นที่ปลูกสวนไม้กฤษณา หรือไม้หอม(agarwood) ควรเลือกพื้นที่ที่น้ำไม่ท่วมขัง ระบายน้ำได้ดี ไม่เป็นที่ลุ่ม หากเป็นที่ลาดเนินเขาจะดีที่สุด และมีลักษณะในการปลูกที่แตกต่างกันออกไป (ชมรมธุรกิจสวนไม้กฤษณา, 2549)

1 ระยะที่เหมาะสมในการปลูกไม้กฤษณา
ดีพร้อม (2547) กล่าวว่าระยะที่เหมาะสมสำหรับต้นกฤษณาคือ 2x2 เมตร, 2x3 เมตรระยะ 2x2 เมตร ปลูกได้จำนวน 400 ต้นต่อไร่ ระยะ 2x3 เมตร ปลูกได้จำนวน 266 ต้นต่อไร การกำหนดระยะปลูกต้นกฤษณาค่อนข้างถี่ ด้วยเหตุผลต้นกฤษณาต้องการความชื้นสูง เป็นการลดการสูญเสียน้ำจากดินที่ระเหยสู่บรรยากาศ และการโค่นล้มของต้นกฤษณา

2 การปลูกไม้กฤษณาเชิงเศรษฐกิจ
กฤษณาในป่าถูกนำมาใช้ประโยชน์โดยไม่ได้มีการปลูกสร้างกลับสู่สภาพธรรมชาติดั้งเดิม ผลผลิตกฤษณาที่ออกมาสู่ตลาดโลกจึงลดน้อยถอยลงเป็นลำดับ สวนทางกับความต้องการของตลาดที่มีมากขึ้น จากปัญหาการลักลอบตัดไม้กฤษณาในป่าธรรมชาติ จนทำให้ต้นกฤษณาใกล้จะสูญพันธุ์  จึงได้มีการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์จากการตัดไม้ในป่าธรรมชาติเพื่อนำแก่นหรือชิ้นไม้กฤษณาไปขาย มาเป็นการปลูกไม้กฤษณาในพื้นที่เพื่อขายชิ้นไม้ หรือผลิตน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบกับในปัจจุบันสามารถใช้สารกระตุ้นให้ไม้กฤษณาปลูกสร้างสารกฤษณา(ชมรมธุรกิจสวนไม้กฤษณา, 2549) ทำให้การปลูกสร้างสวนป่าไม้กฤษณาเพื่อผลิตเป็นการค้าจึงมีความเป็นไปได้สูง

3 การปลูกไม้กฤษณาร่วมกับพืชสวน
การปลูกไม้กฤษณาจะต้องมีการพัฒนา จากการเป็นพืชป่าแบบดั่งเดิมมาเป็นพืชปลูกเพื่อผลทางเศรษฐกิจอย่างแน่นอนในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปซึงเราสามารถพัฒนาการปลูกไม้กฤษณาให้มาอยูร่วมกับ พืชในสวนของเราแทนการเข้าไปตัดทำลายได้ ซึ่งการปลูกร่วมกับพืชสวนนั้นมีหลายแบบ เช่น  การปลูกแซมสวนเก่า การปลูกแซมมะพร้าว  การปลูกเป็นพืชแปลงเดี่ยว  ปลูกกฤษณาสลับกับไม้ป่า(ดีพร้อม,2547)

3.1 ปลูกแซมสวนเก่า สวนพืชเศรษฐกิจที่มีสภาพร่มครึ้มมีความชุ่มชื้นคล้ายป่า เช่น สวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน สวนไม้ผล และแม้แต่มะพร้าว หากต้นเดิมตายลงแทนที่จะปลูกพืชชนิดเดิมก็สามารถปลูกกฤษณาเข้าไปแทนที่ได้ ตามลักษณะต่างๆ อาจจะกล่าวได้ว่า ที่ใดก็ตามที่ปลูกยางพาราขึ้นได้ก็สามารถปลูกกฤษณาขึ้นได้ เมื่อกฤษณาอายุได้ 3 ปี ก็เริ่มทำแผลและน่าจะเริ่มเก็บเกี่ยวไม้หอมได้ ตั้งแต่ปีที่ 5-6

3.2 ปลูกแซมมะพร้าว เนื่องจากมะพร้าวให้รายได้ต่ำมีความพยายามอยู่มากในการเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวสวนมะพร้าว เช่น เลี้ยงโค แพะ แกะ ในสวนมะพร้าว, ปลูกโกโก้ในสวนมะพร้าว  และโกโก้ราคาไม่ดี ปลูกมะพร้าวจากผลราคาถูกเพื่อขายยอดมะพร้าวอ่อนที่อายุ 3-4 ปี แต่ก็ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของการปฏิบัติ พื้นที่ในสวนมะพร้าวลักษณะนี้สามารถที่จะปลูกต้นกฤษณาลงไปได้โดย ปลูกกระจายกันไปทั่วสวน สวนนี้ก็จะไม่ร้อนจัดเกินไปไม่ถูกลมโกรกมาก เมื่อเริ่มให้ผลผลิตคาดว่ากฤษณาก็ทำรายได้เพิ่มขึ้น ให้แก่สวนมะพร้าวได้เป็นอย่างดี

3.3 ปลูกเป็นแปลงพืชเดี่ยว ในพื้นที่แวดล้อมสภาพสวนไม้ผล สวนป่า หรือป่าไม้ ซึ่งจะให้ความชุ่มชื้นของอากาศได้ดี เราสามารถที่จะปลูกกฤษณาเข้าไปในสวนนี้ได้ นักลงทุนทำสวนป่าจัดสรรแบ่งพื้นที่ขายสามารถที่จะลดการปลูกกฤษณาเป็นพืชเดี่ยวๆ โดยมีการบำรุงดูแลที่ดีได้เพราะเป็นพืชที่มีราคาแพง สวนเกษตรกฤษณาอาจจะปลูกกฤษณาไร่ละ 400 ต้น(ดีพร้อม,2547) โดยเสียค่าใช้จ่ายกล้าพันธ์ในราคาใกล้เคียงกับสักทอง 400ต้น/ไร่ แต่จะลงทุนระบบน้ำหยดได้ถูกกว่าเพราะใช้หัวน้ำหยดเพียงแค่ 100 หัว จากที่สวนสักทองใช้ 400 หัว อย่างไรก็ตามอาจจะปลูกกฤษณาระยะชิด 2x2 เมตร หรือไร่ละ 400 ต้น โดยทำข้อตกลงพิเศษกับผู้ซื้อว่าให้ออกค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เฉพาะในส่วนของต้นกล้าที่นำมาปลูกแทนต้นสัก ปัจจุบันมีสวนเกษตรบางแห่งก็ได้เริ่มใช้วิธีนี้แล้ว และก็เป็นที่พอใจของผู้ซื้อ

3.4 ปลูกกฤษณาสลับกับไม้ป่า มีนักลงทุนบางคนต้องการที่จะลดความเสี่ยงจากการปลูกพืชอย่างเดียว อาจจะใช้วิธีปลูกกฤษณาสลับแถวเว้นแถวกับพืชที่มีความสนใจมาแต่เดิม ซึ่งอาจจะปลูกต้นกฤษณาระยะ 4x4 เมตร แล้วปลูกต้นสักแซมในระหว่างกลางของ 4 เมตร ได้อีก 300 ต้น/ไร่ หรืออาจจะใช้วิธีปลูกต้นพยุง ที่ระยะ 4x4 เมตร ไร่ละ 100 ต้น แล้วปลูกแซมด้วยกฤษณาในระหว่างกลางของ 4 เมตร นั้นได้อีกไร่ละ 300 ต้น อาจจะใช้วิธีปลูกแถวสลับแถวไปตลอดความยาว ซึ่งแถวที่เป็นสักทอง แถวที่ 2 เป็นประดู่ แถวที่ 3 เป็นต้นพยุง แถวที่ 4 เป็นต้นกฤษณา แล้วจัดแถวหมุนเวียนไปเช่นเดิม วิธีนี้ก็ยังสามารถจัดการกับต้นไม้ตามวิธีการที่เหมาะสมกับกับไม้ชนิดนั้นๆ ได้ดีด้วย
สำหรับการปลูกสวนป่าไม้กฤษณา อาจปลูกในลักษณะของสวนป่าเชิงเดี่ยว หรือปลูกแบบวนเกษตรแล้วแต่ความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ หรือปลูกไม้กฤษณาร่วมกับไม้ยืนต้นชนิดอื่น เช่น สวนยางพารา สวนไม้ผล สวนไม้ป่า เป็นต้น แต่ควรปลูกในพื้นที่เนินไม่มีน้ำท่วมขัง และดินมีการระบายน้ำดี ตลอดจนควรมีความชื้นพอสมควร


4 การดูแลหลังการปลูก
การกระจายของไม้กฤษณาซึ่งพบในป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้นของประเทศไทยเป็นป่าที่มีความชื้นสูง การปลูกต้นกฤษณาจากการเป็นพืชป่ามาเป็นพืชปลูกเพื่อผลทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องมีการดูแลเอาใจใส่ ถึงแม้ต้นกฤษณาจะเป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว แต่จะปล่อยปละละเลยเสียทีเดียวคงไม่ได้ เพราะเราต้องการผลผลิตเป็นปริมาณเนื้อไม้ แล้วใช้เนื้อไม้มาผลิตสารกฤษณา ยิ่งทำให้ต้นไม้โตมากก็มีเนื้อมาก หรือทำให้มวลของเนื้อไม้หรือนำหนักมากก็ยิ่งผลิตสารกฤษณาได้มาก ไม้กฤษณาในช่วง 1-2 ปีแรก ต้นกฤษณายังเล็กอยู่รากมีจำกัดทำให้หาอาหารได้ไม่มาก เกษตรกรและผู้สนใจปลูกควรให้ความสนใจและการดูแลหลังการปลูก ในระบบต่างๆเช่น การให้น้ำ การใส่ปุ๋ย การริดกิ่ง การป้องกันไฟ ศัตรูไม้กฤษณา การกำจัดวัชพืช( ภาณุเมศวร์( 2549); ชมรมธุรกิจสวนไม้กฤษณา(2549) และ ดีพร้อม(2547)

4.1 การให้น้ำ ในระยะ 3 เดือนแรก ควรรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ วันเว้นวันพออายุโตขึ้น 3-6 เดือน ค่อยลดเวลาให้น้ำลงเป็น 3-5 วันต่อครั้ง จนอายุมากกว่า 1 ปีแล้ว อย่างน้อยควรรดน้ำอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เว้นแต่ช่วงฝนตกไม่จำเป็นต้องให้น้ำเพราะปริมาณน้ำฝนมีเพียงพอกับความต้องการอยู่แล้ว

4.2 การใส่ปุ๋ย จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น มูลสัตว์ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยจากขยะฟาง หญ้า ใบไม้ เศษพืช หลักการที่ถูกต้องคือการแบ่งใส่ในตลอดหน้าฝน หรือระยะเวลาที่ยังมีการรดน้ำอยู่ ใส่ให้ครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้งจะทำให้เกิดขบวนการย่อยสลายอย่างช้าๆ ถ้าใส่ปุ๋ยอินทรีย์ครั้งเดียวมากๆ และจุลินทรีย์ขึ้นอย่างเต็มที่จะไปยืมไนโตรเจนในดินไปใช้ชั่วคราว ทำให้พืชแสดงอาการขาดไนโตรเจน และถ้าใส่ปุ๋ยอินทรีย์ครั้งเดียวมากๆ อาจมีผลทางการหมักย่อมมีความร้อนเกิดขึ้น และเป็นอันตรายต่อราก

4.3 การริดกิ่ง การตัดแต่งกิ่งเป็นสิ่งคัญในการปลูกไม้กฤษณา ถ้าจุดประสงค์ต้องการลำต้นเปลาตรงมาผลิตน้ำมันกฤษณา การตัดแต่งกิ่งจะทำให้ไม้กฤษณาเจริญเติบโตเร็ว ควรตัดกิ่งแขนงหรือกิ่งด้านข้าง กิ่งที่ไม่ใช่ท่อน้ำเลี้ยงใหญ่ของลำต้นออก ควรทำตั้งแต่ช่วงไม้สูงประมาณ 1 เมตร ขึ้นไปถึง 3 ปี เพราะช่วงต้นเล็กมากจำเป็นต้องอาศัยใบในการสังเคราะห์แสง ลำต้นจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วบางครั้งต้องปักเสาหลักใช้เชือกผูกโยงไม้กับเสา เพราะถ้าถูกลมพัดโยกคลอนแรงทำให้รากจับดินได้ช้า อาจโค่นล้มง่าย

4.4 การป้องกันไฟ ไฟป่าเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการปลูกสร้างสวนป่าเกษตรกรหลายรายประสบปัญหาการปลูกไม้กฤษณาในสวนป่า หากไม่สามารถป้องกันไฟไหม้สวนป่าได้ การปลูกป่าก็จะประสบความล้มเหลว เพราะต้นกฤษณาในระยะแรกที่ยังเล็กมีความต้านทานไฟต่ำมาก การป้องกันไฟจึงเป็นเรื่องที่ผู้ปลูกควรระมัดระวังการป้องกันไฟในสวนป่าสามารถทำได้โดยการทำแนวกันไฟให้กว้าง 6-10 เมตร เพื่อป้องกันไฟไหม้ต้นกฤษณาและป้องกันไฟที่จะลุกลามมาจากภายนอก คอยเก็บใบไม้กิ่งไม้เป็นเชื้อเพลิงออกจากแนวกันไฟ ในฤดูแล้งใช้รถแทรกเตอร์ล้อยางไถพรวน เพื่อกำจัดวัชพืชหรือใช้คนงานถางวัชพืชแล้วจุดไฟเผา(ดีพร้อม,2547)

4.5 ศัตรูไม้กฤษณา ศัตรูสำคัญของไม้กฤษณา คือตัวหนอนกินใบ เกิดจากผีเสื้อกลางคืนวางไข่บริเวณใบยอดของลำต้น จะสังเกตเห็นมีเส้นใยสีขาวอยู่บริเวณใต้ใบเมื่อหนอนออกจากไข่จะกัดกินผิวใบอ่อน ทำให้ต้นกฤษณาชะงักการเจริญเติบโตตัวหนอนฟักใหม่ๆ มีสีขาวหัวดำ ต่อมาตัวหนอนจะมีสีเขียว และโตจะมีสีน้ำตาลอ่อนเกษตรกรจำเป็นต้องหมั่นสังเกต ควรฉีดยากำจัดหนอน เช่น เซปวิน 85 หลังจากต้นกฤษณามีอายุมากขึ้นจะไม่ค่อยพบโรและแมลงศัตรูพืช นอกจากนี้ยังมีหนอนเจาะลำต้น ถ้าเป็นต้นขนาดเล็กอาจทำให้ต้นตายได้เสียรูปทรงที่ต้องการได้ แต่ถ้าหนอนเจาะลำต้นขนาดใหญ่กลับเป็นผลดี เพราะจะทำให้เกิดบาดแผลภายในต้นกฤษณา เมื่อทิ้งไว้นานๆ สามารถสะสมสารกฤษณาให้เกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับความพยายามที่จะสร้างรอยแผลให้กับต้นกฤษณาด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้เกิดสารกฤษณาขึ้น

4.6 การกำจัดวัชพืช ในการเตรียมดินปลูกครั้งแรก ถึงแม้จะเตรียมดินได้ดีอย่างไรแต่เมล็ดวัชพืชก็ยังเหลือในดินอยู่อีกเป็นจำนวนมาก หรืออาจจะเมล็ดวัชพืชบางอย่างถูกลมพัดปลิวมางอกในพื้นที่หลังจากปลูกต้นกฤษณาแล้วในแต่ปีจำเป็นต้องถางวัชพืชในสวนป่าอย่างน้อยปีละ 2-3 ครั้ง จะต้องทำบ่อยหรือไม่ขึ้นอยู่การเตรียมพื้นที่ สภาพพื้นที่ยิ่งพื้นที่มีดินอุดมสมบูรณ์ชุ่มชื้นดี วัชพืชก็มักจะขึ้นเร็ว การแผ้วถางก็จะต้องทำบ่อยครั้ง เพื่อให้กล้าไม้ตั้งตัวได้และเจริญเติบโตเร็วในระยะแรก ในแปลงปลูกโดยทั่วๆ ไปจะกำจัดวัชพืชใน 3 ปีแรกเท่านั้น เพราะไม้กฤษณาเป็นไม้โตเร็ว สามารถเจริญเติบโตคลุมวัชพืชได้ในระยะเวลาอันสั้น ถ้าหากสามารถควบคุมวัชพืชได้จนไม้กฤษณาสูง 2-3 เมตร การที่จะถางหรือกำจัดวัชพืชในปีต่อไปก็ไม่ค่อยมีความจำเป็นมากนัก อันตรายที่พบอีกอย่างหนึ่งคือแถววัลย์ที่ขึ้นพันรอบต้นอ่อน และต้นไม้ใหญ่ ทำให้ต้นโอนเอนและคอดกิ่วหรือคดงอ บางต้นอาจเสียรูปทรงจึงควรหมั่นตรวจสอบและแกะออก


ไม้กฤษณาเป็นไม้ที่ปลูกง่ายโตเร็วไม่ต้องดูแลเอาใจใส่เหมือนผลไม้ หลังจากปลูกแล้วให้ สังเกตที่ใบของต้นถ้าต้นไม้มีการแตกใบอ่อนขึ้นมาใหม่ หลังจากปลูกลงดินประมาณ 2-4 อาทิตย์ แสดงว่ารากของ ต้นไม้เริ่มแทงลงดินแล้ว หลังจากนั้นทุก 2 เดือน ควรหมั่นแต่งกิ่ง เพราะไม้กฤษณาจะแตก พุ่มหลายกิ่งจะ ต้องแต่ง กิ่งให้เหลือกิ่งหลักเพียง กิ่งเดียวจะทำให้ไม้โตเร็วและทำการดูแลรักษาได้ง่าย ทำงานสะดวก ต่อไปในอนาคต โดยทั่วไปจะทำการแต่งกิ่งไม้กฤษณาประมาณ 3 ปีหลังจากนั้นจึงปล่อยตามธรรมชาติ ข้อควรระวังอย่าให้หญ้าขึ้นรกบริเวณโคนต้น จะทำให้ไม้กฤษณาเจริญเติบโตได้ช้ากว่า ปกติ และควรดูแลการเข้าทำลายใบของตัวหนอนกินใบ ที่เกิดจากผีเสื้อกลางคืนมาวางไข่บริเวณใบยอดของลำต้น จะสังเกตเห็นได้จากการมีเส้นใยสีขาวอยู่บริเวณใต้ใบ

http://www.linpligg.com/forum/index.php?topic=435.0





หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©