-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 223 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ปาล์มน้ำมัน16





พัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมัน



ปาล์มน้ำมัน
(Oil palm) จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ มีถิ่นกำเนิดอยู่ใน ทวีปแอฟริกา อยู่ในตระกูล ปาล์ม มีลำต้นเดี่ยว ลักษณะคล้ายต้นตาล
  ใบเป็นรูปก้างปลา โคนกาบใบคล้ายหนามแต่ ไม่คมมาก พืชชนิดนี้แยกเพศ ต้นที่เป็นเพศผู้ก็จะให้เกสรตัวผู้เพียงอย่างเดียว ส่วนต้นที่ให้เกสรตัวเมียจึงจะติดผลเป็นทะลายเกาะติดกันแน่น


น้ำมันจากผลปาล์ม สามารถนำมาแปรรูปใช้ใน การประกอบอาหาร เช่น น้ำมันเนย ทั้งยัง ใช้ผสมในไบโอดีเซล ด้วย ประเทศไทย มีการปลูกทางภาคใต้และภาคตะวันออก พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ส่งเสริม ให้เกษตรกรปลูกเป็น ปาล์ม น้ำมันลูกผสมเทเนอรา


ในช่วงภาวะวิกฤติน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาแพง บ้านเราต้องใช้เงินซื้อ น้ำมันดีเซล จากต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่า ปีละประมาณ 270,000 ล้านบาท และ ยังมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มมากขึ้นทุกปี


ฉะนั้นด้วยเหตุผลนี้ นายสุดประสงค์ สุวรรณเลิศ ผู้ อำนวยการสถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดทำผลงานวิจัยใน “โครงการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสม เทเนอรา DXP เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมคุณภาพดี” ซึ่งเป็นการผสมพันธุ์ปาล์มน้ำมันจาก 2 สายพันธุ์ คือ ดูรา (Dura) ใช้เป็นแม่พันธุ์ ผลมีเนื้อชั้นนอก 35-60% มีกะลาหนา 2-8 มิลลิเมตร เนื้อในหนาไม่มีเส้นใย กับพ่อพันธุ์ ฟิสิเฟอรา (Pisifera) มีลักษณะผลไม่มีกะลา เนื้อชั้นนอกหนา 70-95% เนื้อในบางมีเยื่อรอบกะลา


ผู้อำนวยการสถานี วิจัยสิทธิพรกฤดากร บอก อีกว่า แม่พันธุ์ดูรา (Dura) นั้นทาง หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ได้นำมาจาก ประเทศมาเลเซีย และปลูกไว้ที่ สถานีสิทธิพรกฤดากร อำเภอบางเบิด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงเป็นโอกาสดีที่เรานำไปทดสอบคัดเลือก โดยจัดทำแปลงรวบรวมสายพันธุ์ไว้ที่แปลงจากนั้นนำ สายพันธุ์ฟิสิเฟอรา (Pisifera) มาผสม กันในแปลง…กระทั่งกลายมาเป็น DxP เทเนอรา (Tenera) ซึ่งเป็นพันธุ์ผสมจากทั้งสองสายพันธุ์ มีลักษณะผลออกมามีเนื้อชั้นเปลือกนอก 60-90% ของน้ำหนักผล กะลาบาง มีเส้นใยรอบกะลา ที่ให้ผลผลิตที่สูงกว่าสายพันธุ์เดิมๆและเหมาะสมกับทุกสภาพพื้นที่ในการนำไป ปลูก
ในคาบเวลาเดียวกัน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ก็ไม่ยอมน้อยหน้า ได้วิจัยเกี่ยวกับพัฒนาปาล์มน้ำมันอย่างต่อเนื่อง รศ.ดร.เทพ พงษ์พานิช อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชุมพร ได้ร่วมมือกับ บริษัทอาร์แอนด์ดี เกษตรพัฒนา จำกัด ผลิตกล้าปาล์มคุณภาพดีใน “โครงการความร่วมมือสหกิจศึกษาทางวิชาการเกษตร” ตั้งอยู่พื้นที่อำเภอละแม 250 ไร่ อำเภอสวี 37 ไร่ อำเภอรัตภูมิ 10 ไร่ และอำเภอควนกาหลง จังหวัดชุมพร อีกจำนวน 20 ไร่


โดยการนำ ลูกผสม DxP เทเนอรา มาใช้ใน โครงการและยังพัฒนาอีกหลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์ Deli x Nigeria มีคุณสมบัติ ทะลายสดให้ ผลผลิต 4 ตันต่อไร่ต่อปี ทนแล้ง เหมาะกับพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง พันธุ์ Compact ลักษณะเด่น มีต้นเตี้ยเก็บผลผลิตง่าย ทางใบสั้นเหมาะกับพื้นที่ ภาคตะวันออก และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในบางจังหวัด

ส่วนอีกพันธุ์หนึ่ง เป็น สายพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 ต้นเตี้ย ทรงพุ่มปานกลาง แต่ทนแล้งให้ผลผลิตดี แม้จะมีสภาพที่ไม่เหมาะสม ผลดิบสีดำ ผลสุกจะมีสีแดงส้ม และ ให้น้ำมันดิบไม่ต่ำกว่า 26-28% ต่อ ทะลาย ซึ่งทุกสายพันธุ์เป็นที่ยอมรับและรับรอง โดย กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้นำเข้าสู่โครงการ “เปลี่ยนนาร้างมาเป็นนาปาล์ม”


 

ไชยรัตน์ ส้มฉุน

*********************************************************************************************************


พานิชย์ ยศปัญญา panit@matichon.co.th

ปาล์มน้ำมัน ของ เกื้อ ทองแท้ คนรักบ้านเกิด ชุมพร

พบกับ คุณเกื้อ ทองแท้ ครั้งแรกเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ณ สถานีทดลองเกษตรที่สูงเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นหน่วยงานสังกัดกรมวิชาการเกษตร ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์วิจัยพืชสวนเพชรบูรณ์ อยู่บนเขาค้อ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีชื่อเสียงทางด้านมะคาเดเมียนัท กาแแฟ และอื่นๆ

พบกับ คุณเกื้อ ครั้งที่สอง ราว 10 ปีมาแล้ว ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนเพชรบุรี ไปทำเรื่องราวของสับปะรดเพชรบุรี ที่แกะเนื้อกินได้ไม่ต้องปอกเปลือกและมะเฟืองคั้นน้ำ

เมื่อปลายฤดูร้อน ปี 2552 มีโอกาสไปสำรวจเส้นทางเสวนาเกษตรสัญจร จังหวัดชุมพร พบคุณเกื้อครั้งที่สาม ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร

ไม่รู้จะตามไปถึงไหน...
คุณเกื้อ รับราชการเป็นเจ้าพนักงานการเกษตรฯ อยู่ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร บ้านเกิดของเขาอยู่ห่างจากศูนย์ไม่มากนัก จึงไม่แปลกใจว่า ทำไม ต้องย้ายจากเขาค้อมาชุมพร

"ผมเป็นเจ้าพนักงานการเกษตรทำงานนาน" คุณเกื้อ แนะนำตนเอง ซึ่งจริงๆ แล้ว ตำแหน่งที่ถูกต้องคือ "เจ้าพนักงานการเกษตรชำนาญการ"

เขายังบอกอีกว่า "มีนักวิชาการเกษตรตาบอดมาแต่งงานกับผม"
ได้ฟังคุณเกื้อบอก ในฐานะผู้ไปเยือน ไม่กล้าถามรายละเอียดมากนัก จนกระทั่งตกเย็น ต้องไปก๊อบปี้ภาพที่บ้านคุณเกื้อ เห็นภรรยาคุณเกื้อที่เป็นนักวิชาการเกษตร หน้าตาดี ครบถ้วนสมบูรณ์ จึงถึงบางอ้อว่า สมัยที่เป็นหนุ่มแน่น คุณเกื้อดื่มค่อนข้างหนัก และทำงานคนละสาย เขาคิดว่า คงไม่มีสาวๆ ที่เป็นนักวิชาการเกษตรมาสนใจ

สะสมเงิน ซื้อที่นาลึกปลูกปาล์มน้ำมัน
ในยุคเก่าก่อน เคยแลกเปลี่ยนกับผู้เรียนจบเกษตร ความใฝ่ฝันของพวกเขา ต้องการอยู่ในท้องถิ่นชนบท ทำงานเป็นเกษตรตำบล เมื่อมีเงินก็ซื้อรถมอเตอร์ไซค์ "ซูซูกิ A 100" หากมีเงินมากหน่อยก็ซื้อรถมอเตอร์ไซค์วิบาก เที่ยวไปจีบลูกสาวผู้ใหญ่บ้าน

ด้วยเวลาที่ผันเปลี่ยนหมุนเวียนไป สถานะของนักเกษตรจึงเปลี่ยนแปลง ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาเหล่านั้น เป็นไปตามอัตภาพ บางคนบุญพาวาสนาส่ง ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเกษตรอำเภอ ผู้ช่วยเกษตรจังหวัด

เจ้าพนักงานการเกษตร ได้เปลี่ยนเป็นนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ยานพาหนะแทนที่จะเป็นมอเตอร์ไซค์ ก็กลายเป็นรถปิคอัพแทน

เรื่องราวของคุณเกื้อดำเนินมาคล้ายกับนักเกษตรรายอื่นๆ เมื่อเริ่มรับราชการ คุณเกื้อนิยมชมชอบเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จนกระทั่งมาระยะหลังสุด คุณเกื้อหยุดโดยสิ้นเชิง ยามเย็นและเสาร์-อาทิตย์ แทนที่จะหมกมุ่นกับน้ำเมา คุณเกื้อแวะเข้าสวนดูแลปาล์มน้ำมันที่ปลูกไว้กว่า 40 ไร่ ถือว่าเป็นนักเกษตรที่มีความสุข เพราะได้ทำในสิ่งที่ตนเองชอบในระยะแรกๆ และในระยะหลังๆ ถึงแม้ระยะแรกๆ อาจจะเป็นแนวทางที่บิดเบี้ยวอยู่พอสมควรก็ตามที

คุณเกื้อ บอกว่า ตนเองมาเก็บเงินในระยะหลังๆ เมื่อมีเงินก็ซื้อที่นาลึก ซึ่งเป็นที่ลุ่ม ราคาไม่แพง คนไม่ให้ความสนใจ เพราะที่นาบริเวณดังกล่าว อย่างเก่งทำนาได้ปีละครั้ง ได้ข้าวจำนวนน้อยนิดต่อไร่ต่อปี

"ซื้อทีละ 4-5 ไร่ กู้เงินซื้อบ้าง จนทุกวันนี้มีอยู่ 42 ไร่ ตัดสินใจปลูกปาล์มน้ำมัน พันธุ์ของศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี พันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 รวมแล้วกว่า 800 ต้น ทุกวันนี้เริ่มเก็บผลผลิตได้ 200 ต้น ยังไม่เต็มที่ ได้เดือนละ 2.5 ตัน ราคาขายเดือนมีนาคม 2553 กิโลกรัมละ 3.60 บาท พออยู่ได้ หากให้ดีต้อง 4 บาท ขึ้นไป" คุณเกื้อ บอก

ปลูกและดูแลแบบผสมผสาน
ถึงแม้ทำงานในสายงานวิชาการเกษตร แต่คุณเกื้อก็ปลูกปาล์มน้ำมันแบบผสมผสาน ระหว่างความรู้และภูมิปัญญา
คุณเกื้อ แนะนำว่า ปาล์มน้ำมันพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 จัดว่าเป็นสายพันธุ์ปาล์มที่วิจัยโดยหน่วยงานราชการแล้วให้ผลผลิตสูง สำหรับระบบปลูก ได้รับคำแนะนำว่า ใช้ระยะระหว่างต้นระหว่างแถว 8 คูณ 8 เมตร สลับฟันปลาสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน พื้นที่ไร่หนึ่งปลูกได้ราว 25 ต้น

"ผมปลูกหมากแซม เลี้ยงปลาในร่อง ที่ต้องยกร่องเพราะแถบนี้เป็นที่นาลึก อย่างอื่นก็ปลูกผักพื้นบ้านผสมผสาน หลังปลูกปาล์มน้ำมันไปได้ 2 ปีครึ่ง ก็เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ แต่จะให้ผลผลิตเต็มที่ปีที่ 5 ไปแล้ว ผมปลูกปาล์ม พร้อมกับตั้งกลุ่มรักบ้านเกิด มีสมาชิก 30 ราย พื้นที่ปลูกปาล์มราว 600 ไร่ วัตถุประสงค์ก็เพื่อรับความรู้จากหน่วยงาน มีอะไรก็แลกเปลี่ยนกัน ที่ตรงนี้อยู่ห่างจากจุดรับซื้อ 5-8 กิโลเมตร ไม่มีปัญหาเรื่องการขนส่ง" คุณเกื้อ บอก

เจ้าพนักงานการเกษตรทำงานนาน ไม่ใช่สิ...เจ้าพนักงานการเกษตรชำนาญการ เล่าถึงเรื่องการดูแลว่า เรื่องน้ำ หน้าฝน ที่ชุมพรฝนชุกอยู่แล้ว แต่หากเป็นหน้าแล้ง ต้องให้น้ำ เพื่อให้ต้นปาล์มเจริญเติบโตสม่ำเสมอ

ส่วนปุ๋ย ปาล์มอายุ 1-2 ปี ใส่ปุ๋ยคอก เป็นขี้ไก่ ใส่ให้ 2 กระสอบปุ๋ย ต่อต้น ต่อปี และปุ๋ย สูตร 46-0-0
เมื่อปาล์มอายุ 3 ปี เจ้าของยังใส่ปุ๋ยขี้ไก่ให้ปีละครั้ง จำนวน 2 กระสอบปุ๋ย ต่อต้น

ส่วนปุ๋ยสูตร ใช้ สูตร 21-0-0 จำนวน 6 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง ครั้งละ 2 กิโลกรัม
สูตร 0-3-0 ใส่ให้ 3 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี ใส่ให้ครั้งเดียว
สูตร 0-0-60 จำนวน 6 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง ครั้งละ 2 กิโลกรัม
นอกจากนี้ ยังใส่กลีเซอไรด์ 1 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี และโบรอน 1 ช้อน ต่อต้น ต่อปี

"ผมเริ่มเก็บผลผลิตมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2552 ผลผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผลผลิตที่ได้จะอยู่ที่ 50 ต้น ต่อ 1 ตัน ตั้งแต่เก็บผลผลิตขายมา เก็บได้กว่า 28 ตันแล้ว เทคนิคการผลิตปาล์มนั้น ต้องเลี้ยงใบไว้ที่ต้น 30 ใบ ตั้งแต่ปลูก จนต้นปาล์มอายุ 3 ปีไม่ต้องตัดใบทิ้ง ผ่าน 3 ปีไปแล้วจึงตัด เมื่อเริ่มปลูกหากปาล์มมีผลผลิตควรตัดทิ้งตั้งแต่ทะลายยังเล็ก ผ่านเวลา 2 ปีครึ่ง 3 ปีไปแล้ว จึงเริ่มเก็บผลผลิต" คุณเกื้อ อธิบาย

ผู้สนใจถามไถ่ได้ที่ คุณเกื้อ ทองแท้ โทร. (089) 546-4197

ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับปาล์มน้ำมัน
ปาล์มน้ำมัน ต้องการธาตุอาหารที่จำเป็นทั้ง 16 ธาตุ เหมือนกับพืชชนิดอื่น ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มตามลักษณะความต้องการของปาล์มน้ำมัน ได้แก่

กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ต้องการใช้ในปริมาณมาก หรือค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่น ได้แก่ ไนโตรเจน โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และโบรอน

กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่พืชได้รับจากน้ำและอากาศ ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน

กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ปาล์มน้ำมันไม่ต้องการมากนัก และมักไม่แสดงอาการขาดธาตุอาหารในดินทั่วๆ ไป ได้แก่ แคลเซียม กำมะถัน คลอรีน ทองแดง แมงกานีส โมลิบดีนัม สังกะสี และเหล็ก

อย่างไรก็ตาม ปาล์มน้ำมันต้องการธาตุอาหารในกลุ่มที่ 1 มากที่สุด ธาตุอาหารทั้ง 5 นี้ มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และมีอิทธิพลต่อกระบวนการต่างๆ ซึ่งส่งผลให้มีการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตน้ำมันปาล์มในขั้นสุดท้าย

1. ไนโตรเจน
ไนโตรเจนมีผลต่อพื้นที่ใบ สีของใบ อัตราการเกิดใบใหม่ และการดูดซึมธาตุอาหาร ดังนั้น จึงจำเป็นต้องให้ไนโตรเจนเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมัน ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงอายุ 6 ปี อาการขาดไนโตรเจน มักพบในต้นปาล์มน้ำมันที่ปลูกในดินทรายตื้นๆ หรือดินที่มีการระบายน้ำเร็ว แก้ไขได้โดยการระบายน้ำก่อนแล้วจึงใส่ปุ๋ยไนโตรเจนตาม และพบในพื้นที่ที่มีหญ้าคาปกคลุมหนาแน่นบริเวณรากของปาล์มน้ำมัน เนื่องจากไปลดการตรึงไนโตรเจนของปาล์มน้ำมัน

อัตราการใส่ไนโตรเจนในแต่ละท้องถิ่นขึ้นอยู่กับอายุ และศักยภาพการให้ผลผลิต และมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ชนิดของดินและสภาพภูมิอากาศ โดยทั่วไปแนะนำให้ใส่ไนโตรเจน ในอัตรา 1.5-8.0 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี ในรูปของแอมโมเนียมซัลเฟต

วิธีใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ต้นปาล์มน้ำมันขนาดเล็กให้หว่านไนโตรเจนรอบๆ โคนต้น ส่วนในปาล์มน้ำมันขนาดใหญ่ให้ใส่บริเวณระหว่างแถวปาล์มน้ำมัน ควรกำจัดวัชพืชทุกครั้งก่อนใส่ปุ๋ย ไม่ควรใส่ไนโตรเจนในปริมาณที่มากเป็นแถบๆ รอบโคนต้น เพราะเป็นการสูญเสียไนโตรเจนได้ง่าย และความเข้มข้นของไนโตรเจนที่สูงอาจเป็นอันตรายต่อรากได้

ช่วงเวลาที่เหมาะสม ช่วงเวลาของการใส่ไนโตรเจนนับว่ามีความสำคัญมากกว่าธาตุอาหารอื่น เนื่องจากไนโตรเจนสูญเสียได้ง่ายจากการระเหิดและการชะล้างของน้ำบริเวณผิวดินและใต้ดิน ดังนั้น เพื่อลดการสูญเสียจากการระเหิดควรใส่ยูเรียในขณะที่ดินมีความชื้น ไม่ควรใส่มากกว่า 1 กิโลกรัม ต่อต้น ในครั้งเดียวกัน ควรแบ่งใส่หลายครั้ง

2. ฟอสฟอรัส
มีบทบาทสำคัญในการสร้างองค์ประกอบของเซลล์และการสืบพันธุ์ ทำหน้าที่เป็นตัวรับและถ่ายทอดพลังงานระหว่างสารต่างๆ ในกระบวนการที่สำคัญ เช่น การสังเคราะห์แสง การหายใจ เป็นต้น

ผลกระทบจากการขาดฟอสฟอรัส จะทำให้อัตราการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันต่ำ ทางใบสั้น ลำต้นเล็ก และขนาดของทะลายเล็ก ในกรณีที่มีฟอสฟอรัสที่ละลายได้ในดินมากเกินไป ซึ่งมักพบในดินทรายจะเป็นสาเหตุทำให้ขาดธาตุทองแดง และสังกะสีในปาล์มน้ำมันได้

การขาดธาตุฟอสฟอรัสอาจเกิดจากในดินมีฟอสฟอรัสน้อย หรือฟอสฟอรัสจากอินทรียวัตถุถูกชะล้างไป หรือหญ้าคาขึ้นมาก ซึ่งสังเกตการขาดฟอสฟอรัสของปาล์มน้ำมันได้จากต้นหญ้าที่ขึ้นในบริเวณดังกล่าวมีสีม่วงในใบล่าง

อัตราการใส่ฟอสฟอรัส ในปาล์มเล็กอายุไม่เกิน 3 ปี ควรใส่ฟอสฟอรัสที่ละลายน้ำได้ดี เช่น ทริบเปิ้ลซุปเปอ์ ฟอสเฟต (TSP) หรือไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (DAP) หรือหินฟอสเฟตที่มีคุณภาพดี ละลายน้ำได้สูง ส่วนปาล์มน้ำมันใหญ่ใช้หินฟอสเฟต เพราะมีความเหมาะสมในด้านการจัดการดิน และด้านเศรษฐกิจ

วิธีใส่ฟอสฟอรัส ในปาล์มน้ำมันเล็กให้หว่านบริเวณรอบโคนต้นหรือรอบทรงพุ่ม ส่วนปาล์มน้ำมันต้นใหญ่ให้ใส่ระหว่างแถว

ช่วงเวลาการใส่ฟอสฟอรัส ควรใส่ในช่วงที่มีฝนตกพอเพียง หรือดินมีความชื้นพอที่รากพืชจะดูดฟอสฟอรัสไปใช้ประโยชน์

3. โพแทสเซียม
โพแทสเซียมมีส่วนช่วยให้ปาล์มน้ำมันทนทานต่อความแห้งแล้ง และโรค การได้รับโพแทสเซียมในปริมาณที่เหมาะสม ช่วยให้ทะลายปาล์มน้ำมันมีขนาดใหญ่ และจำนวนเพิ่มขึ้น ในดินทรายและดินพรุมักมีปัญหาขาดโพแทสเซียมอย่างรุนแรง ทำให้การเจริญเติบโตและผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลง

อาการขาดโพแทสเซียม ลักษณะอาการขาดโพแทสเซียมค่อนข้างแปรปรวน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และชนิดของพันธุ์ อาการที่พบโดยทั่วไป คือ

1. ลักษณะเป็นจุดสีส้มตามใบ บางครั้งพบเป็นจุดสีเหลืองซีด อาการเริ่มแรกจะเป็นจุดเหลืองซีดรูปร่างจุดไม่แน่นอน พบในใบย่อยของทางใบล่าง เมื่ออาการรุนแรงจุดเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม อาการรุนแรงมากขึ้นจุดเนื้อเยื่อตายตรงส่วนกลางของจุดสีส้ม และถ้าพบว่าใบปาล์มน้ำมันทางใบล่างมีลักษณะอาการจุดส้มดังกล่าว แต่แสดงอาการเพียงต้นเดียวในขณะที่ต้นข้างเคียงไม่แสดงอาการให้พิจารณาว่าน่าจะเป็นผลทางพันธุกรรมมากกว่าอาการขาดธาตุโพแทสเซียม

2. อาการใบเหลืองหรือกลางทรงพุ่มเหลือง มักพบในดินทรายและดินอินทรีย์หรือดินพรุ โดยเฉพาะในช่วงที่ขาดน้ำอย่างรุนแรง ใบย่อยของทางใบกลางจนถึงทางใบล่างมีอาการสีเหลืองส้ม ถ้าอาการขาดโพแทสเซียมรุนแรงจะพบใบย่อยของทางใบล่างแห้งเพิ่มขึ้น และตายในที่สุด

3. อาการตุ่มแผลสีส้ม อาการเริ่มแรกจะมีลักษณะเป็นแถบสีเขียวมะกอกในใบย่อยของทางใบล่างของปาล์มน้ำมัน เมื่ออาการขาดโพแทสเซียมอย่างรุนแรง สีใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม น้ำตาลอมส้ม และตายในที่สุด

4. แถบใบยาว มีลักษณะคล้ายแท่งดินสอ มักพบตรงส่วนกลางของใบย่อยปาล์มน้ำมัน อายุ 3-6 ปี อาการนี้อาจมีสาเหตุมาจากความไม่สมดุลของธาตุอาหาร เนื่องจากปาล์มน้ำมันได้รับไนโตรเจนมากไป หรือได้รับโพแทสเซียมน้อยไป

การใส่โพแทสเซียมคลอไรด์ควรอยู่ในช่วง 1-5 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี ขึ้นอยู่กับอายุของต้นปาล์มน้ำมัน ชนิดของดิน และผลผลิตที่ต้องการ ซึ่งการตอบสนองต่อการใส่โพแทสเซียมจะลดลงถ้าปาล์มน้ำมันได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ เนื่องจากปลูกปาล์มน้ำมันแน่นมากเกินไป

การใส่โพแทสเซียมสามารถใส่ในขณะดินแห้งได้ การสูญเสียโพแทสเซียมส่วนใหญ่เกิดจากการชะล้างจากหน้าดิน การลดการสูญเสียสามารถทำได้โดยการหว่านปุ๋ยโพแทสเซียมรอบๆ ต้นปาล์มน้ำมันเล็กบริเวณที่กำจัดวัชพืช ส่วนปาล์มน้ำมันใหญ่ให้หว่านโพแทสเซียมระหว่างแถวหรือบริเวณทางใบที่นำมากองระหว่างแถว

4. แมกนีเซียม
อาการขาดแมกนีเซียม มักพบในบริเวณพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันโดยเฉพาะในดินทราย และดินกรด หรือดินทรายและดินกรดที่หน้าดินถูกชะล้าง สาเหตุอาจเกิดจากต้นปาล์มน้ำมันได้รับโพแทสเซียมมากเกินไปก็ได้ อาการขาดแมกนีเซียมพบที่ใบย่อยของทางใบล่างโดยใบจะมีสีเขียวซีด และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม มักเรียกอาการนี้ว่า "ทางใบส้ม" อาการในระยะแรก ใบมีสีซีดคล้ายสีเขียวมะกอก เมื่ออาการรุนแรงขึ้นสีจะเปลี่ยนจากเหลืองเป็นเหลืองเข้ม และแห้งในที่สุด

การแก้ไขอาการขาดแมกนีเซียมที่รุนแรง ให้ใส่กลีเซอไรด์ (MgSo4) 2-5 กิโลกรัม ต่อต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง ต่อปี สำหรับการดูแลรักษาทั่วๆ ไป ควรใส่ 0.5-1.5 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี โดยหว่านรอบๆ โคนต้นบริเวณที่มีการกำจัดวัชพืชแล้ว ต้นปาล์มน้ำมันใหญ่ควรใส่บริเวณระหว่างแถว หรือบริเวณกองทางใบปาล์ม ส่วนหินโดโลไมท์ควรหว่านในบริเวณระหว่างแถว ไม่ควรใส่โดยไม่กำจัดวัชพืช และควรใส่แมกนีเซียมก่อนการใส่โพแทสเซียม ประมาณ 2 สัปดาห์

5. โบรอน
เป็นธาตุที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันมาก ลักษณะอาการขาดโบรอนจะทำให้ปาล์มน้ำมันมีรูปร่างผิดปกติ เช่น ใบเปลี่ยนเป็นรูปตะขอ ใบเล็ก ใบย่น และใบผิดรูปร่าง นอกจากนี้ ใบยังเปราะ มีสีเขียวเข้ม ลักษณะอาการที่เริ่มขาดจะทำให้ใบสั้น โดยเฉพาะใบยอด การขาดโบรอนอาจเกิดจากการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน โพแทสเซียม และแคลเซียมมากเกินไป

โดยทั่วไปจะใส่โบแรกซ์ 50 กรัม ต่อต้น ต่อปี ให้กับปาล์มน้ำมัน ในปีที่ 4-6 จะเพิ่มเป็น 100 กรัม ต่อต้น ต่อปี ในกรณีที่ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตสูงจะมีการใส่โบรอนไปเรื่อยๆ โดยใส่ในบริเวณรอบโคนต้น ปริมาณความต้องการธาตุอาหารของปาล์มน้ำมันแปรปรวน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพันธุ์ สมบัติของดิน และสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนระยะปลูก

จากเอกสาร คู่มือปลูกปาล์มน้ำมัน ชุดที่ 1
ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี กรมวิชาการเกษตร



ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (2172 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©