-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 389 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ปาล์มน้ำมัน10





ปาล์มน้ำมัน

           
ปาล์มน้ำมันชนิดที่ปลูกเป็นการค้ามีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา และได้นำเข้ามาปลูกในประเทศไทย โดยผ่านทางอินโดนีเซียและมาเลเซีย เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๐ ที่สถานีทดลองยางคอหงษ์จังหวัดสงขลา และสถานีกสิกรรมพลิ้ว จังหวัด จันทบุรี ส่วนการปลูกเพื่อเป็นการค้าเริ่มต้น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่จังหวัดสงขลาแต่ก็ได้ล้มเลิกกิจการไปจนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๑
ได้มีการส่งเสริมอีกครั้งหนึ่ง และพื้นที่เพาะปลูกขยายตัวออกอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐มีเนื้อที่การปลูกน้ำมัน ๖๐๐,๐๐๐ ไร่  โดยแยกออกเป็นสวนปาล์มของบริษัทร้อยละ ๕๗ สวนของเอกชนร้อยละ ๒๘ และในสหกรณ์นิคมร้อยละ ๑๕  พื้นที่เพาะปลูกปาล์มยังขยายตัวออกไปอีกทุกปี ปาล์มน้ำมันเจริญเติบโตและให้น้ำฝนตั้งแต่ ๒,๐๐๐ มิลลิเมตรต่อปีขึ้นไป จึงปลูกกันมากในภาคใต้และชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทย

           
น้ำมันปาล์มเกิดขึ้นจากผลปาล์ม ๒ ส่วนคือ จากเปลือกหุ้มภายนอก และจากเนื้อในของเมล็ด

           
น้ำมันจากเปลือกของปาล์ม ประกอบด้วยกรดไขมันที่อิ่มตัว ประมาณร้อยละ ๕๒ และกรดไขมันไม่อิ่มตัว ร้อยละ ๔๘ ดังนั้น จึง
ต้องนำน้ำมันดิบผ่านกรรมวิธีแยกกรดไขมันทั้งสองออกจากกัน นำน้ำมันไม่อิ่มตัวไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิด เช่น ใช้ปรุงอาหาร ทำเนยเทียม หรือ มาการีน เนยขาวเป็นส่วนผสมของนมข้นหวาน ไอศกรีม และขนมอีกหลายชนิดส่วนที่เป็นกรดไขมันอิ่มตัวก็ไปทำสบู่ ผงซักฟอก และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ
           
ส่วนน้ำมันเนื้อในของเมล็ดปาล์ม ประกอบ  ด้วยน้ำมันชนิดอิ่มตัวสูงถึงร้อยละ ๘๕ - ๙๐ ทำให้ไม่เหมาะต่อการบริโภค จึงนำไปใช้ในอุตสาหกรรมทำสบู่ เครื่องสำอาง ผงซักฟอกอุตสาหกรรมสี และเรซิน เป็นต้น

           
ปาล์มน้ำมันมีอยู่หลายชนิด แต่ที่ปลูกเป็นการค้ามีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Elaeis guineensis
และจำแนกออกเป็น ๓ พันธุ์ คือ

๑. พันธุ์ดูรา (Dura) มีเปลือกหุ้มผล ค่อนข้างบางและมีกะลาหนา มีปริมาณน้ำมันต่อทะลายต่ำเพียงร้อยละ ๑๘ - ๒๐
๒. พันธุ์ฟิสิเฟอรา (Pisifera) มีเปลือกหุ้มผลค่อนข้างบาง แต่ให้ผลขนาดเล็กและดอกตัวเมียเป็นหมันผลิตผลต่อต้นต่ำ
                                                                                                                                                                                                                          ๓. พันธุ์เทนเนอรา (Tenera) เป็นพันธุ์ ลูกผสม โดยรวมลักษณะดีจากทั้งสองพันธุ์ดังกล่าวเข้าด้วยกัน โดยใช้ดูราเป็นแม่และฟิสิเฟอรา เป็นพ่อ ให้น้ำหนักผลปาล์มต่อทะลายสูง เนื่องจากมีเปลือกหุ้มผลหนา และมีปริมาณน้ำมันมาก

           
ผลปาล์มน้ำมัน เป็นรูปเรียวรีหรือรูปไข่ มีขนาดกว้าง ๓ เซนติเมตร และยาว ๕ เซนติเมตรมีน้ำหนักผลละ ๑๐ - ๑๕ กรัม เปลือกผิวนอกของผลปาล์มเป็นสีเขียวหรือดำเมื่ออ่อน และเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงเมื่อสุกแก่ ภายใต้เปลือกเป็นเมล็ด ประกอบด้วยกะลาและเนื้อในซึ่งมีต้นอ่อน ฝังอยู่ เมื่อนำไปเพาะให้งอกจะเห็นรากและยอดอ่อนโผล่ออกมาจากช่องของกะลา รากของปาล์ม น้ำมันเป็นระบบรากฝอย แตกออกจากโคนด้าน เพื่อทำหน้าที่ยึดลำต้น ดูดน้ำและแร่ธาตุ ต้นปาล์มที่เจริญเติบโตเต็มที่จะมีรากจำนวนมากประสานกันอยู่อย่างหนาแน่นในบริเวณใต้ผิวดิน ๓๐ - ๕๐ เซนติเมตร  รากมีขนาดใหญ่อาจยาวถึง ๕ เมตร และแตกออกเป็นรากที่สองและที่สามซึ่งมีความยาวและขนาดเล็กลง แต่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

           
ลำต้นปาล์มตั้งตรง เปลือกภายนอกแข็งภายในเนื้อเยื่อและเส้นใย ต้นปาล์มมียอดอยู่ ยอดเดียว ถ้าถูกทำลายต้นปาล์มก็จะตาย นช่วง๓ ปีแรก ลำต้นจะเจริญเติบโตขยายตัวออกทางด้านข้าง มีโคนอวบใหญ่ หลังจากนั้นจึงยึดตัวเติบโตทางยอด ปล้องบนลำต้นเห็นได้อย่างชัดเจนต้นปาล์มอาจสูงถึง ๓๐ เมตร และมีอายุนานถึง ๑๐๐ ปี แต่พันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้ามีความสูงเพียง ๑๕ - ๑๘ เมตร และตกผลดกในช่วงอายุ ๒๕ ปี หลังจากนั้นตกผลน้อยลง

           
ใบปาล์มเป็นใบประกอบมีความยาว ๖ - ๘ เมตร มีใบเล็กหรือทางใบยาวประมาณ ๑ เมตร แตกออกจากก้านใบทั้งสองด้านเป็นรูปขนนกจำนวนประมาณ ๑๐๐ - ๑๖๐ คู่ ก้านใบมีหนามแหลมเรียงอยู่ ๒ แถว ทางใบแตกออกจากยอดประมาณปีละ ๒๐ - ๔๐ ทาง และมีอายุประมาณ ๒ ปีช่อดอกแยกเป็นช่อดอกตัวผู้และตัวเมียแต่
อยู่บนต้นเดียวกัน ออกสลับกันจากมุมก้านใบแต่มีช่อดอกตัวเมียมากกว่า การพัฒนาตั้งแต่ตาดอกจนถึงดอกบานและรับการผสมเกสรใช้เวลา๓๐ เดือน หลังจากนั้นอีก ๖ เดือน ผลบนทะลายจึงสุกแก่ ช่อดอกตัวเมียประกอบด้วยช่อดอกย่อยประมาณ ๑๐๐ - ๑๑๐ ช่อ และแต่ละช่อย่อยมีดอกตัวเมีย ๑๕ - ๓๐ ดอก ดังนั้นในหนึ่ง ทะลายมีดอกตัวเมียประมาณ ๔,๐๐๐ ดอก
          
การปลูกปาล์มน้ำมันเริ่มต้นด้วยการนำเมล็ดมาเพาะในถุงให้งอกเป็นต้นกล้า (ซึ่งใช้เวลาประมาณ๖ - ๙ สัปดาห์) หลังจากนั้นจึงย้ายลงปลูกในถุงบรรจุดิน ขนาด ๑๕ x ๒๐ เซนติเมตร ต้นละถุง เก็บไว้ในเรือนเพาะชำ (อีก ๑ - ๓ เดือน)เพื่อสะดวกต่อการให้น้ำและดูแลรักษา ต่อจากนั้นจึงย้ายต้นกล้าลงปลูกในถุงขนาดใหญ่ (ขนาด๕๐ x ๗๕ เซนติเมตร) นำไปเก็บรวมในแปลง เพาะเลี้ยง เพื่อให้ต้นกล้าเจริญเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ (ประมาณ ๑ ปี) จึงย้ายไปปลูกในแปลงใหญ่ช่วงต้นฤดูฝน

         
ต้นปาล์มขึ้นได้ดีในที่ที่มีหน้าดินลึก ๗๕เซนติเมตร และเป็นดินร่วนซุย ระบายน้ำได้เร็วการปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่ควรแบ่งแปลงออกเป็นแปลงย่อย โดยตัดถนนผ่านระหว่างแปลง เพื่อสะดวกต่อการเข้าไปดูแลรักษา และขนส่งทะลายปาล์มจากสวนสู่โรงงาน ควรปลูกต้นปาล์ม เป็นแถวโดยมีระยะระหว่างแถว ๘ - ๑๐ เมตรระหว่างต้น ๗ - ๘ เมตร  จะมีต้นปาล์ม ๒๐ - ๓๐ ต้นต่อไร

        
หลังจากปลูกแล้วควรเข้าไปตรวจสวนทุกเดือนและทำการปลูกซ่อมต้นตาย  กำจัดวัชพืชที่ขึ้นคลุมต้นปาล์ม ตลอดจนทำการป้องกันกำจัดแมลงและศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ บางแห่งมีการปลูกพืชคลุมหน้าดินเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายและรักษาความชุ่มชื้นในดิน ให้ปุ๋ยเคมีตามที่กำหนดในคำแนะนำ

         
ต้นปาล์มเริ่มออกช่อดอกเมื่อมีอายุประมาณ   ๑ ปีครึ่ง - ๒ ปี แต่เป็นช่อดอกขนาดเล็กและให้ ผลิตผลไม่มากพอ จึงควรตัดดอกชุดแรกออกทิ้งเพื่อให้ต้นเจริญและสมบูรณ์ได้เต็มที่ การเก็บเกี่ยวผลิตผลอาจเริ่มจากปีที่สามเป็นต้นไป ผลิตผลของปาล์มเพิ่มมากขึ้นตามอายุ และให้ผลิตผลสูงเมื่อย่างเข้าสู่ปีที่ ๘ โดยเฉลี่ยให้ผลิตผลตั้งแต่ ๘ - ๑๕ ทะลาย/ต้น/ปี ทะลายหนึ่งมีผลปาล์ม ๑,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ ผล และหนักทะลายละ ๑๐ - ๑๕ กิโลกรัม ต้นปาล์มจะให้ผลิตผลสูง ไปจนถึงอายุ ๒๕ - ๓๐ ปี หลังจากนั้นเริ่มลดลง ซึ่งเป็นเวลาที่ต้องรื้อสวนเก่าออกเพื่อปลูกใหม่

          
เมื่อผลปาล์มสุกแก่ เปลือกนอกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มและเริ่มร่วงหล่น เป็นระยะที่เปลือกมีน้ำมันสะสมมากที่สุด ควรทำการเก็บเกี่ยวทันทีโดยใช้เสียมหรือมีดตัดที่ก้านของทะลาย รวบรวมนำส่งโรงงานหีบน้ำมัน โดยให้ได้รับการกระเทือนน้อยที่สุดภายในเวลา ๒๔ ชั่วโมงจึงจะได้น้ำมันคุณภาพสูง

          
โรงงานจะนำผลปาล์มสดทั้งทะลายไปอบไอน้ำเพื่อยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของน้ำมัน และช่วยให้ผลปาล์มหลุดออกจากทะลายและแยกเปลือกออกจากกะลาได้ง่ายขึ้น จากนั้นจึงนำไปย่อยอีกครั้งเพื่อแยกเอาเปลือกไปสกัดน้ำมันออกนำน้ำมันไปทำความสะอาดและลดความชื้น แล้วจึงส่งน้ำมันดิบเข้าโรงกลั่นเพื่อแยกน้ำมันบริสุทธิ์อีกครั้งหนึ่ง นำกากเส้นใยและเศษของทะลายที่แยกออกกลับไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ส่วนเมล็ดปาล์ม ที่แยกมาจากเปลือก นำไปกะเทาะอีกครั้งเพื่อแยกเอาเนื้อในออกจากกะลานำเนื้อไปอบให้แห้งส่งไปยังโรงงานที่กลั่นน้ำมันจากเนื้อของเมล็ดปาล์มโดยเฉพาะ ส่วนกะลาที่เหลือนำกลับไปใช้ เ ป็นเชื้อเพลิง










สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1270 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©