-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 297 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ปาล์มน้ำมัน6





ม.แม่โจ้ ชุมพร ปลูกปาล์มน้ำมันจากต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  
โดยปกติการปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศไทยเกือบทั้งหมดจะใช้ต้นกล้าปาล์มจากการเพาะเมล็ดและเมล็ดปาล์มคุณภาพดีส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศคอสตาริกา ปัจจุบันมีเรื่องที่น่ายินดีที่การปลูกปาล์มน้ำมันในบ้านเราได้มีความก้าวหน้าไปอีกระดับหนึ่ง ผศ.ดร.ศิริชัย อุ่นศรีส่ง รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า การปลูกปาล์มน้ำมันจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นเทคโน โลยีใหม่ของประเทศไทย ต้นกล้าที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นต้นกล้าที่ผ่านการคัดเลือกอย่างดีที่สุดมาจากต้นแม่ คอมแพ็ค ที่มีคุณสมบัติดีเด่น ผลผลิตสูงและมีการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชุมพร ได้ดำเนินการทดสอบ,ศึกษาและวิจัย เปรียบเทียบพันธุ์ปาล์มน้ำมันจากต้นกล้าเพาะเมล็ดกับต้นกล้าที่มาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อว่าชนิดไหนมีความดีเด่นกว่ากัน

ในอนาคตการส่งเสริมให้เกษตรกรไทยปลูกปาล์มน้ำมันที่ใช้ต้นกล้าจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะเป็นอีกทางเลือกใหม่เช่นเดียวกับในต่างประเทศ เช่น ประเทศคอสตาริกา ไนจีเรียและกานา เป็นต้น ที่พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันประมาณ 80% ของพื้นที่ปลูกทั้งหมดใช้ต้นกล้าจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ อ.ศิริชัยยังได้บอกว่าการปลูกปาล์มน้ำมันจากต้นที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในประเทศคอสตาริกา จะใช้ระยะปลูก 7.2x6.2 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ปลูกได้ 35 ต้น และให้ผลผลิตประมาณ 7 ตันต่อไร่นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชุมพร ยังได้นำต้นปาล์มเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อตระกูลคอมแพ็คเข้ามาส่งเสริมให้เกษตรกรได้ขยายพื้นที่ปลูก ซึ่งจัดเป็นสายพันธุ์ปาล์มที่ให้ผลผลิตสูง, ต้นเตี้ย ทางใบสั้น โดยวิธีการเริ่มต้นจากเก็บข้อมูลลักษณะดีเด่น เช่น อัตราการเจริญเติบโตต่อปี, ผลผลิตทะลายสดต่อต้นต่อปี, ความต้านทานโรคซึ่งจะใช้เวลาในการเก็บข้อมูลอย่างน้อย 6-8 ปี เมื่อได้ข้อมูลแน่ชัดว่า ต้นปาล์มน้ำมันดังกล่าวที่ได้คัดเลือกไว้มีคุณสมบัติตรงที่นักปรับปรุงพันธุ์ต้องการ จึงเข้าสู้ขั้นตอนโคลนนิ่ง โดยจะนำชิ้นส่วนเนื้อเยื่อของช่อดอกอ่อนนำไปเลี้ยงในห้องปฏิบัติการซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี จะได้ต้นกล้าที่มีใบและรากพร้อมที่จะนำไปอนุบาลต่อในโรงเรือนเพาะชำนานประมาณ 1 ปี จึงนำลงไปปลูกในแปลงต่อไป

ปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชุมพร ได้จัดทำ “โครงการความร่วมมือสหกิจศึกษาทางวิชาการเกษตร” โดยร่วมมือกับ บ.อาร์ แอนด์ ดี เกษตรพัฒนา จำกัด และเป็นภาคเอกชนที่ติดต่อประสานงานนำเข้าต้นกล้าปาล์มน้ำมันจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากประเทศคอสตาริกามาทดลองปลูกในบ้านเรา อ.ศิริชัยมีความเชื่อว่าในอนาคตโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยและการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมัน พืชทดแทนพลังงานตามยุทธศาสตร์ของชาติ ท้ายสุด อ.ศิริชัยได้สรุปข้อดีของต้นกล้าปาล์มน้ำมันที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อว่า มีการแปรปรวนทางพันธุกรรมน้อยมาก, มีลักษณะเหมือนต้นพ่อและแม่ทุกประการ, มีความต้านทานโรคและมีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตเร็วกว่าต้นที่ปลูกด้วยเมล็ด รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชุมพรโทร. 08-4507-8081

น.ส.พ.เดลินิวส์









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (2010 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©