-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 335 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ยางพารา20







นวัตกรรมเพิ่มผลผลิตน้ำยางพารา 3-4 เท่าต่อเดือน

  

นับเป็นเวลาที่เนิ่นนาน ที่มนุษย์พยายามค้นหาวิธีในการที่จะเพิ่มผลผลิตน้ำยางพาราให้ได้มากกว่าที่เป็นอยู่ ในที่สุดก็พบว่าในทุกครั้งที่มีการกรีดยางหรือทำให้เปลือกยางได้รับบาดแผลจนน้ำยางไหลออกมา ต้นยางก็จะสร้างฮอร์โมนพืชที่มีชื่อว่า "เอทธิลีน" ขึ้นในบริเวณเปลือกยางโดยเอทธิลีนจะมีผลต่อการไหลของน้ำยาง ในปัจจุบันจึงมีการผลิตแก๊สเอทธิลีน ซึ่งถือเป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติเหมือนฮอร์โมนพืช มาเป็นตัวการเร่งหรือกระตุ้นให้ได้น้ำยางมากขึ้นกว่าเดิม 3-10 เท่าต่อวัน หรือ 2.5-4 เท่าต่อเดือน


หากจะย้อนเวลาเพื่อดูความพยายามของผู้คนในการจะเพิ่มผลผลิตน้ำยาง ก็พอจะมีบันทึก ไว้บ้าง ดังนี้

  • พ.ศ. 2455 Camerun พบว่าส่วนผสมของมูลโคและดินเหนียว ทาใต้รอยกรีด จะช่วยเร่งน้ำยางได้
  • พ.ศ. 2494 Tixier พบว่าจุนสี หรือ CuSo4 ที่ฝังในรูที่เจาะไว้ที่โคนยาง 2 รู ทำให้ผลผลิตยางเพิ่มเป็นเวลา 3 เดือน และ G.W. Chapman พบว่า 2,4-D ผสมน้ำมันปาล์มทาใต้รอยกรีดที่ขูดเปลือก ทำให้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้น ซึ่งต่อมาได้มีการปรับปรุงส่วนผสมใหม่ ได้เป็นสารเคมีเร่งน้ำยางสูตรใหม่ ภายใต้ชื่อ Stimulex และผลิตออกขายเป็นระยะเวลานาน
  • พ.ศ. 2504 พบว่า เอทธิลีนออกไซด์ ทำให้น้ำยางไหลมากขึ้น
  • พ.ศ. 2507 นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ได้ผลิตสารที่ให้เอทธิลีนขึ้นมา ชื่อว่า อีเทฟอน(Ethephon) ซึ่งสามารถเร่งน้ำยางได้
  • พ.ศ. 2508 บริษัทยูเนียนคาร์ไบด์ ได้ผลิตสารอีเทฟอน เพื่อเชิงการค้าโดยใช้ชื่อว่า อีเทรล (Ethrel)
  • พ.ศ. 2511 Bonner ได้ทดลองใช้พลาสติกหุ้มเหนือรอยกรีด โดยภายในบรรจุด้วยแก๊สเอทธิลีน พบว่า ทำให้มีผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงได้ข้อสรุปว่า สารที่เป็นฮอร์โมนและสามารถปลดปล่อยแก๊สเอทธิลีนได้ สามารถเร่งหรือเพิ่มผลผลิตน้ำยางได้

ในปัจจุบันจึงมีสารเคมีเร่งน้ำยางที่มีคุณสมบัติเหมือนฮอร์โมนพืชอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดที่เป็นของเหลวที่มีชื่อว่า อีเทฟอน ซึ่งผลิตจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น อีเทรล, อีเทค, โปรเทรล, ซีฟา และอีเทรลลาเท็กซ์  และชนิดเป็นแก๊ส คือ เอทธิลีน ซึ่งทั้ง 2 ชนิด ล้วนสลายตัวให้ เอทธิลีน แก่ต้นยางเหมือนกัน และถึงแม้จะสลายตัวให้ เอทธิลีนเหมือนกัน แต่พบว่า การใช้ อีเทฟอน จะทำให้ต้นยางเป็นโรคหน้าตายอย่างมากมาย เนื่องจากผู้ใช้มักไม่ใช่เจ้าของสวนยางเอง, ใช้ไม่ถูกต้องตามคำแนะนำและใช้ระบบกรีดไม่เหมาะสมกับการใช้สารเร่ง) ตรงกันข้ามกับการใช้แก๊สเอทธิลีนที่ไม่ส่งผลดังกล่าว(แต่ต้องใช้ตามอัตราที่กำหนดเช่นกัน)


เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมการอัดแก๊สหรือฮอร์โมนเอทธิลีนเข้าไปในเปลือกต้นยางพาราเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำยางได้ก่อกำเนิดมาจาก ดร.สิวากุมาราน อดีตผู้อำนวยการโครงการวิจัยและพัฒนาของสถาบันวิจัยยางมาเลเซีย  ผู้ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของการเพิ่มผลผลิตน้ำยาง โดยเฉพาะจากต้นยางพาราที่ปลูกมาแล้วไม่น้อยกว่า 15 ปี ซึ่งมีการกรีดยางไปแล้วทั้ง 2 หน้า และเปลือกงอกใหม่ยังบางหรือหนาไม่ถึง 1 ซม. หากกรีดซ้ำหน้าเดิมก็จะได้น้ำยางน้อย จึงได้คิดค้นเทคโนโลยีการใช้อุปกรณ์ณ์เพื่อให้สามารถอัดฮอร์โมนเอทธิลีนเข้าไปในเปลือกยางพาราได้ ซึ่งเรียกสิ่งนี้ว่า เทคโนโลยีริมโฟลว์ (กระเปาะพลาสติก)โดยทำการกรีดยางหน้าสูงด้วยรอยกรีดสั้นเพียง 4 นิ้ว ทำให้ได้ผลผลิตน้ำยางมากอย่างน่าอัศจรรย์ เทคโนโลยีนี้ได้เริ่มทดลองใช้ในประเทศมาเลเซียเมื่อ ประมาณ 12 ปีกว่ามาแล้ว และถูกนำมาเข้ามาทดลองใช้ในประเทศไทยโดยศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี นับเป็นเวลา 8 ปี  นอกจากนี้ ในปัจจุบันเราจะพบเห็นระบบอุปกรณ์การให้ฮอร์โมนแก่ต้นยางอีกแบบหนึ่ง(กระเปาะเหล็ก)หรือแบบเลท-ไอ (LET-I) ซึ่งเป็นการดัดแปลงระบบริมโฟลว์ของมาเลเซียจนกลายมาเป็นแบบของไทยโดยห้างหุ้นส่วนจำกัดไอ ที รับเบอร์ (อ.เบตง จ.ยะลา)









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (2667 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©