-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 449 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ยางพารา14





การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อยางพารา


ไทยเริ่มต้นศึกษาในปี 2532 ตั้งแต่การนำเนื้อเยื่อจากส่วนต่างๆ ของต้นยางมาทดสอบพบว่าเนื้อเยื่อจากส่วนเมล็ดมีความเหมาะสมที่สุด โดยเฉพาะเนื้อเยื่อส่วนที่เรียกว่าคัพภะของเมล็ดยาง หลังจากนั้นได้ทดลองกับเมล็ดยางอ่อน แล้วลดขนาดและอายุของเมล็ดยางลงเรื่อยๆ ซึ่งในปัจจุบันเราสามารถเพาะเลี้ยงที่มีขนาดเล็กมาก หรือมีอายุเพียง 3- 5 วันหลังจากผสมพันธุ์เท่านั้น นำมาเพาะเลี้ยงบนอาหารเทียมแล้วชักนำให้พัฒนาเป็นต้นสมบูรณ์ได้ ต้นใหม่ที่ได้นี้มีทั้งได้จากวิธีการที่มาจาก 1 เมล็ดเพาะเลี้ยงได้ 1 ต้น และวิธีการที่ 1 เมล็ดเพาะเลี้ยงได้หลายต้น


ข้อดีของวิธีการนี้ นอกจากสามารถดำเนินการได้ในขณะที่เมล็ดมีอายุน้อยมาแล้ว


การปรับปรุงพันธุ์ยาง
กว่าจะได้ยางพันธุ์ใหม่มาแนะนำให้ชาวสวนยางปลูก ต้องใช้เวลานานไม่ต่ำกว่า 25 ปี และในแต่ละขั้นตอนก็มีความยุ่งยากโดยเฉพาะการผสมพันธุ์ยางให้ได้ยางพันธุ์ใหม่ ในการปรับปรุงพันธุ์ยางเพื่อให้ได้ยางพันธุ์ใหม่มีอยู่ 2 แนวทาง คือ ผสมพันธุ์ยาง และการนำเข้าพันธุ์ยางจากต่างประเทศตามโครงการแลกเปลี่ยนพันธุ์ยางระหว่างประเทศ

1. การผสมพันธุ์ยาง
โดยการนำเกสรตัวผู้จากต้นที่มีลักษณะดีเด่นตามที่ต้องการ ไปผสมกับเกสรดอกตัวเมียบนต้นแม่ที่มีลักษณะดีเด่นเช่นกันในสภาพแปลงปลูกตามธรรมชาติ ซึ่งวิธีการนี้ยังคงเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันในกลุ่มประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ เนื่องจากสามารถทราบประวัติของพันธุ์พ่อ-แม่ และสามารถติดตามการถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ ในลูกผสมได้เมื่อนำไปปลูกทดสอบ การคัดเลือกพันธุ์ยางที่ได้จากการผสมพันธุ์จะต้องผ่านขั้นตอนต่าง ๆ หลายขั้นตอน ทั้งนี้เนื่องจากยางพาราเป็นพืชยืนต้นกว่าจะปลูกให้ได้ข้อมูลผลผลิตและลักษณะรอง ต่าง ๆ ในแต่ละขั้นตอนต้องใช้เวลายาวนาน กล่าวคือหลังจากผสมพันธุ์แล้วต้องนำเมล็ดยางลูกผสมที่ได้ไปปลูกคัดเลือกในแปลงคัดเลือกพันธุ์ยางซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ลูกผสมที่มีลักษณะดีตามที่ต้องการ สำหรับนำไปปลูกในแปลงเปรียบเทียบพันธุ์ขั้นต้น ซึ่งใช้เวลาอีกประมาณ 10 ปี หลังจากนั้นจะต้องทำการคัดเลือกสายพันธุ์จากแปลงเปรียบเทียบพันธุ์ขั้นต้น ไปปลูกทดสอบในแปลงเปรียบเทียบพันธุ์ขั้นปลายในท้องที่ต่าง ๆ โดยใช้เวลาอีกประมาณ 13 ปี ดังนั้นกว่าจะได้ยางพันธุ์แนะนำชั้น 1 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยทั่วไปอย่างมั่นใจ ต้องใช้เวลาดำเนินการประมาณ 26 ปี เป็นอย่างน้อย

การผสมพันธุ์ยาง เนื่องจากที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันสถาบันวิจัยยางของทุกประเทศผู้ผลิตยางยังคงนิยมใช้วิธีผสมเกสรด้วยแรงคน ถึงแม้ว่าด้วยวิธีการนี้อัตราความสำเร็จหรืออัตราการผสมติดอยู่ในระดับต่ำมาก คืออยู่ระหว่าง 2-5 % เท่านั้น และยังมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และมีปัจจัยหลายอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลสำเร็จ ทั้งที่ควบคุมได้และไม่ได้ เพราะเมล็ดที่ผสมนี้อยู่ในสภาพธรรมชาติ และเมล็ดจะใช้เวลาถึง 5 เดือนจึงจะพัฒนาเป็นเมล็ดแก่ ดังนั้นในช่วง 5 เดือนนี้ เมล็ดก็ต้องเสี่ยงอยู่ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ จึงมีผลให้ความสำเร็จอยู่ในอัตราต่ำ

ข้อดีของการผสมพันธุ์ คือ สามารถทราบที่มาของพ่อและแม่พันธุ์ที่ใช้ ทำให้สามารถติดตามลักษณะเด่นและลักษณะด้อยที่สำคัญในลูกผสมที่ได้ เช่น การให้ผลผลิต ความสามารถในการต้านทานโรค หรือการอ่อนแอต่ออาการเปลือกแห้ง

การผสมพันธุ์ของยางพาราจะต่างจากพืชอื่นคือปกติทั่วไปฝักยางจะประกอบด้วย 3 เมล็ด ในการผสมพันธุ์แต่ละฝักจะต้องได้รับการผสมครบทั้ง 3 เมล็ดก่อน จึงจะมีการพัฒนาต่อเป็นเมล็ดแก่ ถ้าได้รับการผสมเพียง 1 หรือ 2 เมล็ด ก็จะมีการพัฒนาต่ออีกระยะสั้นๆ แล้วร่วงในที่สุด ซึ่งต่างจากพืชอื่นตรงที่แม้ผสมไม่ครบก็สามารถพัฒนาเป็นเมล็ดแก่ได้ จะพบเห็นได้ง่ายในไม้ผลทั่วไป เมื่อนำเทคนิคนี้มาใช้กับยางพารา ฝักที่มีการผสมติดแม้เพียง 1 เมล็ด ก็สามารถนำมาเพาะเลี้ยงให้เป็นต้นสมบูรณ์ได้ ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพของการผสมพันธุ์ยางได้มากขึ้น นอกจากนี้ต้นยางใหม่ที่ได้รับก็สามารถขยายพันธุ์ต่อในห้องปฏิบัติการให้ได้ปริมาณมากตามที่ต้องการ ไม่เหมือนวิธีการเดิมที่จะได้เพียง 1 ต้นต่อ 1 เมล็ดเท่านั้น

จากนั้น ได้นำผลที่ได้ไปขยายผลในการศึกษาการผสมพันธุ์ยางในหลอดแก้ว เป็นการควบคุมสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม โดยนำเอาเกสรจากดอกตัวผู้ที่ใช้เป็นพ่อพันธุ์ไปผสมกับดอกตัวเมียที่ใช้เป็นแม่พันธุ์ ดำเนินการในห้องปฏิบัติการ เมื่อผสมติดก็นำไปเพาะเลี้ยงตามวิธีการที่ได้รับข้างต้น ซึ่งขณะนี้ได้รับผลเป็นที่พอใจในระดับหนึ่ง และอยู่ในระหว่างการศึกษาวิธีการผสมเกสรในปริมาณมาก ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผสมพันธุ์ยางแล้ว ยังสามารถดำเนินการได้ในปริมาณมาก ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการสั้นกว่า และใช้พื้นที่ในการดำเนินการน้อยอีกด้วย

2. การนำเข้าพันธุ์ยางจากต่างประเทศ
โดยโครงการแลกเปลี่ยนพันธุ์ยางระหว่างประเทศ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ฝรั่งเศส และประเทศ บราซิล นำพันธุ์ยางที่ได้จากการแลกเปลี่ยนไปปลูกทดสอบและคัดเลือกพันธุ์ในแปลงเปรียบเทียบพันธุ์ขั้นต้น และแปลงเปรียบเทียบพันธุ์ขั้นปลายในท้องที่ต่าง ๆ โดยใช้ขั้นตอนและเวลาดำเนินการเช่นเดียวกันกับพันธุ์ยางที่ได้จากการผสมพันธุ์ในประเทศ



ที่มา  : WWW.YANGPARA.CO,









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1453 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©