-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 456 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ยางพารา13





การป้องกันแผลไหม้จากแสงแดด


ต้นยางที่ปลูกในเขตแห้งแล้ง มักจะปรากฏรอยไหม้จากแสงแดด ซึ่งเกิดจากการที่เนื้อเยื่อส่วนนั้นได้ รับแสงแดดเป็นเวลานานติดต่อกันจนเซลล์เนื้อเยื่อเสียหาย ไม่สามารถเจริญเตโตต่อไปได้ หรืออาจเกิดจากการใช้วัสดุคลุมชิดโคนต้นมากเกินไป ทำให้หยดน้ำค้างที่จับอยู่ตามวัสดุคลุมโคนต้นยาง เมื่อได้รับความร้อนจากแสงแดด และสะสมความร้อนมีอุณหภูมิสูงคล้ายน้ำร้อน จึงลวกเนื้อเยื่อที่สัมผัสอยู่ ทำให้เกิดอาการแห้งแล้งเป็นรอยแผลขนาดต่างๆ ตามความรุนแรงของอาการไหม้ ดังนั้นก่อนเข้าช่วงแล้ง จึงต้องใช้ปูนขาวละลายน้ำให้เข้มข้นพอสมควร แล้วหมักไว้ 2-3 วัน จากนั้นจึงนำมาทาบริเวณโดคนต้นส่วนที่เป็นสีน้ำตาลและสีเขียวอมน้ำตาล เพื่อป้องกันความรุนแรงของแสงแดดในช่วงแล้ง สำหรับรอยแผลที่เกิดอาจใช้สีทาปิดทับอีกครั้งก่อนที่เข้าช่วงฝนในฤดูกาลต่อไป

การบรรเทาอาการตายกลับ
การตายกลับของต้นยางในหน้าแล้ง อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ดินขาดความชุ่มชื้นติดต่อกันนานเกินไป อุณหภูมิสูง ต้นยางได้รับพิษตกค้างจากสารเคมีหรือปุ๋ยและสาเหตุอื่น ๆ อีกมากจนเป็นเหตุให้ต้นยางแสดงอาการเฉา ใบแก่ร่วงจนหมดต้น และอาจจะแตกตาแขนงข้างออกมาใหม่แล้วแห้งตายซ้ำอีกการแก้ไขอาการเหี่ยวเฉาและแห้งตายนี้ ถ้าได้แก้ไขตามสาเหตุ และป้องกันล่วงหน้าโดยการใช้วัสดุคลุมโคน ก็อาจบรรเาความเสียหายได้ แต่ในกรณีที่ต้นยางแสดงอาการในหน้าแล้ง และขาดการป้องกันล่วงหน้าก็อาจยุ่งยากในการรักษาต้นยางมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ควรแก้ไขตามสาเหตุ โดยการให้น้ำช่วยเฉพาะต้นแล้วใช้วัสดุคลุมโคนเพื่อรักษาความชื้น ต่อจากนั้นหมั่นตรวจสอบส่วนลำต้นที่แห้งตาย จึงใช้กรรไกรตัดส่วนนี้ทิ้ง เหลือไว้เฉพาะส่วนที่ดีอยู่เพราะถ้าปล่อยไว้ส่วนที่แห้งตายจะลุกลามลงมาถึงโคนต้นแล้วตายตลอดต้นในที่สุด หลังจากตัดส่วนที่แห้งตายออกแล้ว ให้ใช้ปูนขาวทาตลอดลำต้นเพื่อลดการคายน้ำ และการเข้าทำลายของเืชื้อราในระยะต่อไป อย่างไรก็ตามต้นยางอาจแสดงอาการตายกลับ โดยมิใช่เกิดจากการขาดความชื้นเพียงอย่างเดียว ปลวกในดินที่อาศัยอยู่บริเวณราก แม้จะไม่ทำลายรากยางโดยตรง แต่การทำรังบริเวณดังกล่าว ก็เป็นสาเหตุให้โครงสร้างของดินเสีย ไม่อาจรักษาความชื้นในช่วงแล้งไว้ได้ มีผลให้ต้นยางแสดงอาการเฉาแล้วตายกลับได้ ฉะนั้นควรใช้สารเคมีกำจัดปลวกเสียก่อน แล้วจึงให้น้ำและใช้วัสดุคลุมดินตามวิธีการข้างต้น






ที่มา  : WWW.YANGPARA.CO,









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1503 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©