-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 413 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ยางพารา5





 

ปลูกสักแซมยางพารา

การใช้ระบบวนเกษตร มาประยุกต์ใช้กับสวนยางพารา โดยการปลูกต้นสักแซมในระหว่างแถวยาง จะช่วยให้ชาวสวนยางมีไม้ใช้สอยที่มีคุณค่าทางการเศรษฐกิจ จะช่วยสร้างฐานะให้แก่เกษตรกรมีฐานะมั่นคงขึ้น หรือหากภายหลังที่่สวนยางให้ผลผลิตน้อยลงและทำการตัดโค่นเพื่อขายไม้ยางพาราแล้ว หากไม่ประสงค์จะโค่นต้นสัก ป่าสักก็จะคงอยู่เป็นการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น ทำให้สามารถทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืน

สัก เป็นไม้ที่มีลวดลายสีสันสวยงาม เลื่อยไสตกแต่งง่าย ยืดหดตัวน้อยไม่ฉีกหรือแตกง่าย น้ำหนักเบาแข็งแรง มีความทนทานสูง ไม่ว่าจะต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพลม ฟ้า อากาศ หรือแมลงและเห็ดรา และที่สำคัญที่สุด คือมีราคาแพงกว่าไม้ชนิดอื่น

ต้นสัก ถือได้ว่าเป็นไม้ที่ปลูกง่าย ตายยากและโตเร็วเพราะมีใบใหญ่ กว้าง สามารถสังเคราะห์อาหารได้ในปริมาณมากกว่าปกติ ไม้สักสามารถสร้างสารชนิดหนึ่งเรียกว่า เทคโตกวิโนน สะสมในเนื้อไม้ทำให้ปลวกไม่กิน เนื้อไม้สักที่มีคุณภาพดีจะมีสีน้ำตาลอมเหลืองทอง จึงมักเรียกว่า "สักทอง" จากคุณสมบัติเด่นของไม้สักที่ปลวกไม่ทำลาย ยืดหดตัวต่ำ ตกแต่งง่าย จึงมีผู้นิยมใช้ไม้สักมากมายทั่วโลก ราคาไม้สักสูงเป็นทองคำตลอดมา และอาจจะสูงยิ่งขึ้น เพราะกำลังผลิตของป่าสักต่ำลง นอกจากนี้ไม้สักยังให้ความภาคภูมิใจแก่ผู้ใช้อีกด้วย เพราะเชื่อกันทั่วไปว่า ไม้สักเป็นไม้ชั้นหนึ่งของโลก

สักทอง เป็นชื่อพื้นบ้านที่เรียกไม้สัก ซึ่งมีเนื้อสีเหลืองเหมือนทอง อันเป็นลักษณะเด่นของไม้สักไทย ซึ่งไม้สักไทยจะแบ่งออกเป็น 5 ชนิด ได้แก่ ไม้สักทอง ไม้สักหยวก ไม้สักขี้ควาย ไม้สักหิน และไม้สักไข ซึ่งทุกชนิดก็เป็นไม้สักชนิดเดียวกัน และมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Tectona grandis linn.f ด้วยกันทั้งสิ้น

การที่ไม้สักมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ก็เพราะเนื้อไม้สักนั้น บางครั้งสีสันและความแข็งอ่อนแตกต่างกันอย่างเห็นเด่นชัด ซึ่งเกิดจากสภาพของสิ่งแวดล้อม คือ ดิน หิน แร่ธาตุ ปริมาณน้ำผน อุณหภูมิ ความสูงต่ำจากระดับน้ำทะเล เป็นต้น

ไม้สักทอง มักจะขึ้นอยู่ในสภาพดินที่เหมาะสม ไม่มีหินมากเกินไป มีปริมาณน้ำฝน และอุณหภูมิที่พอเหมาะกับการเจริญเติบโต สีของเนื้อไม้จึงเป็นสีทองงดงามและมีความแข็งอ่อนปานกลาง

ไม้สักหยวก มีสีของเนื้อไม้ค่อนข้างขาว และเนื้อค่อนข้างอ่อนกว่าไม้สักชนิดอื่น มักจะเป็นไม้สักที่ขึ้นตามริมห้วย มีน้ำอุดมสมบูรณ์ และมีอัตราความเจริญเติบโตสูง

ไม้สักขี้ควาย เป็นไม้สักสีค่อนข้างดำ มีเนื้อไม้แข็งกว่าไม้สักสีทอง มักจะขึ้นอยู่ในที่แห้งแล้ง สภาพของพื้นดินมีหินปะปนมาก

ไม้สักหิน เป็นไม้สักที่มีลักษณะเนื้อไม้ใกล้เคียงกับไม้สักขี้ควาย ซึ่งมีสีคล้ำ แต่มีความแข็งแรงมากกว่า และขึ้นอยู่ในดินที่แห้งแล้งมากกว่าพื้นดินที่มีสภาพเป็นหินทำให้ขาดแคลนอาหาร อันมีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของไม้สัก

ไม้สักไข นั้นสักเกตได้จากเนื้อไม้ เมื่อถูกมีขวานฟันหรือไสกบ จะมีลักษณะเป็นมันลื่น คล้ายๆ เอาเทียนไขไปทาไว้ ไม้สักไขนี้อาจจะเกิดจากแร่ธาุตุในดินเป็นส่วนใหญ่ มากกว่าสภาพแวดล้อมอื่นๆ แต่ก็ยังไม่มีผลงานวิจัยในขณะนี้

ไม้สักที่โตเร็วเกินไป ความเป็นสักทองก็ลดน้อยลงแต่ไม้สักก็คือไม้สัก ไม่ว่าจะเป็นสักหิน สักหยวก สักขี้ควาย สักไข หรือสักทองในแง่ของผู้บริโภคแล้วราคาก็ยังคงแพงลิบลิ่วอยู่นั่นเอง

ป่าสักโดยทั่วไปแล้วจะเป็นป่าผสมผลัดใบ หรือที่เรียกว่า ป่าเบญจพรรณ โดยจะมีการผลัดใบในฤดูแล้งเจริญเติบโตได้ดีในสภาพพื้นที่ที่มีความชุ่มชี้นสูง ดินลึก มีการระบายน้ำดี ดินมีความเป็นกลางหรือด่างเล็กน้อย โดยมีค่าของเป็นกรด-ด่าง (PH) ระหว่าง 6.5-7.5 ปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และคุณภาพของเนื้อไม้อยู่ระหว่าง 1,500 มม.-1,600 มม. ต่อปี และมีฤดูแล้งสบัลกับฤดูผนที่ชัดเจน ทำให้เนี้อไม้มีลวดลายของวงปีชัดเจน และระดับความสูงของพื้นที่ 200-750 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ไม้สัก เป็นไม้ที่มีความต้องการแสงแดดมากชนิดหนึ่ง ปริมาณความเข้มของแสงสว่างที่เหมาะสม คือ 75-79% ของปริมาณแสงแดดในแต่ละวัน อุุณหภูมิระหว่าง 13-40 องศาเซลเซียส

ภายหลังการปิดป่าไม้สัมปทาน และให้หยุดยั้งการทำไม้ เมื่อเดือนมกราคม 2532 ทำให้ไม้สำหรับใช้สอยในประเทศไทยหายาก และมีราคาแพงมากขึ้นจำเป็นจะต้องจัดซื้อจากต่างประเทศ และพยายามชักจูงให้ใช้วัตถุอื่นแทนไม้

ในด้านการหาซื้อไม้จากต่างประเทศนั้น ก็คงจะหาได้ในระยะเวลาอันสั้นเพราะทุกประเทศก็มีแนวโน้มที่จะสงวนทรัพยากรป่าไม้ของเขาเช่นเดียวกัน ดังนั้นในอนาคตข้างหน้า ไม้จะหายากและมีราคาแพงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะไม้สัก และไม้สักทอง จะยิ่งทวีค่าเพิ่มขึ้น

ดังนั้นพื้นที่ปลูกยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเหมาะสมที่สุดสำหรับการปลูกไม้สักเป็นพืชร่วมยางเพราะสภาพแวดล้อมเื้อื้ออำนวย และโดยเฉพาะสภาพความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลเหมาะสมต่อความต้องการตามธรรมชาติของไม้สัก

แต่เนื่องจากลักษณะดินหลายพื้นที่เป็นดินเวลาหรือค่อนข้างเลวซึ่งจะทำให้คุณภาพของเนี้อไม้ไม่เป็นสักทองแต่อย่างน้อยก็เป็นสักขี้ควายหรือสักหินซึ่งมีคุณภาพดีกว่าสักหยวกมาก และราคาก็แตกต่างกว่าค่อนข้างมากเช่นเดียวกัน

อีกประการหนึ่ง สักเป็นไม้ป่าซึ่งขึ้นเองตามธรรมชาติในภูมิประเทศทางภาคเหนือของประเทศไทยและไม่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ตามหลักพันธุ์กรรม เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่อื่นซึ่งสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ดังนั้น หากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันมาก ลักษณะความเจริญเติบโตรูปร่างทางสัณฐานวิทยา และคุณภาพของเนื้อไม้ก็จะแปรปรวนไป.


ที่มา : วารสารสวนยาง ฉบับที่ 142 ปีที่ 38









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (2003 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©