-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 351 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เห็ด16







การผลิตเชื้อข้าวฟ่าง

การผลิตเชื้อข้าวฟ่าง

การเลือกเมล็ดข้าวฟ่าง ให้เลือกเมล็ดที่มีขนาดใหญ่ เมล็ดไม่ค่อยแตกหักมากนัก และเป็นเมล็ดพันธุ์ใหม่ที่จำหน่ายให้พวกเลี้ยงสัตว์เท่านั้น เนื่องจากไม่มีสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงเชื้อราตกค้าง ส่วนพันธุ์ข้าวฟ่างแดงหรือขาวก็ได้

การล้างเมล็ดข้าวฟ่าง นำเมล็ดมาล้างเอาฝุ่นละอองออกและคัดเมล็ดที่ลอยน้ำ ซึ่งเป็นเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์หรือถูกแมลงทำลายออกไป เหลือแต่เมล็ดที่จมน้ำซึ่งเป็นเมล็ดที่สมบูรณ์นำมาทำให้สุกต่อไป

การทำให้สุกโดยการนึ่ง แช่เมล็ดที่ล้างสะอาดแล้วในน้ำ เพื่อให้เมล็ดอมน้ำ สามารถนึ่งสุกได้ง่ายเป็นเวลา ๑ คืน แล้วนำมาล้างน้ำอีกหลายๆ ครั้ง จนหมดกลิ่นเปรี้ยวที่เกิดจากการบูดเน่าของเมล็ดที่แตก นำมาใส่ห่อผ้าหลวมๆ ห่อละ ๒-๓ ขีด เอาไปนึ่งในลังถึงหรือหม้อนึ่งความดันจนสุกดี แต่ไม่ถึงกับแฉะ ซึ่งในปัจจุบันการทำให้สุก ด้วยวิธีนี้ได้รับความนิยมลดลงและหันมาใช้วิธีการ ทำให้สุกโดยการต้มเมล็ดข้าวฟ่างมากกว่า

การทำให้สุกโดยการต้ม นำเมล็ดข้าวฟ่างที่ล้างสะอาดดีแล้วลงต้มในหม้อ หรือภาชนะขนาดใหญ่พอเหมาะกับจำนวนเมล็ด เร่งไฟให้น้ำเดือดแล้วจึงค่อยหรี่ไฟให้เดือดเบาๆ อาจใช้ไม้พายช่วยกวนบ้าง เพื่อให้เมล็ดกระจายได้รับความร้อนอย่างทั่วถึง จนเมล็ดข้าวฟ่างเริ่มสุกเล็กน้อย คือ พองและมีรอยปริเล็กน้อย ไม่ควรต้มจนเมล็ด พองเบาเพราะจะใช้ทำงานไม่สะดวกจากนั้นตัก เมล็ดข้าวฟ่างขึ้นมาจากหม้อแล้วเกลี่ยบางๆ ผึ่งลมให้สะเด็ดน้ำต่อไป

การผึ่งเมล็ดข้าวฟ่างสุก นำเมล็ดข้าวฟ่างใส่ในกระด้าง ถาด หรือตะแกรง ที่น้ำผ่านออกได้ง่าย เช่น ถาดที่พื้นเป็นมุ้งไนลอน ใส่เมล็ดวางแผ่ให้บาง ในบางแห่งอาจใช้พัดลมเป่า และคอยเกลี่ยเมล็ด ก็จะทำให้เมล็ดแห้งเร็วยิ่งขึ้น

การกรอกใส่ขวด นิยมใช้ขวดเหล้าแบนใหญ่ที่ล้างสะอาดและตากแห้งมา แล้วกรอกเมล็ดโดยใช้กรวยกรอกเพื่อป้องกันปากขวดเปื้อนเมล็ดข้าวฟ่างสุก ซึ่งอาจทำให้เชื้อราอื่นเจริญเข้าไปภายในขวดได้ ทำการกรอกจนได้ปริมาณครึ่งขวดหรือ ๒ ใน ๓ ของขวด โดยไม่ควรใส่เมล็ดข้าวฟ่างสุก มากหรือน้อยเกินไป เนื่องจากหากใส่มากเกินไป เส้นใยเห็ดจะเจริญได้ช้า แต่ถ้าใส่น้อยเกินไปเส้นใย เห็ดจะเจริญได้เร็วเหมาะแก่การใช้งาน แต่มีราคาแพงไม่เป็นนิยมของผู้ซื้อ

การอุดจุก ใช้สำลีปั้นจุกให้มีขนาดพอเหมาะ อุดได้ไม่แน่นไม่หลวมจนเกินไป ซึ่งวิธีการทำเช่นเดียวกับการทำจุกอุดขวดอาหารวุ้น พี.ดี.เอ.

การป้องกันจุกเปียกขณะนึ่ง อาจใช้ถ้วยพลาสติกชนิดทนร้อนที่ทำขึ้นโดยเฉพาะสวมครอบทีละจุก หรือนำขวดใส่ตะกร้าหลายๆ ขวดแล้วคลุมด้านบนด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ก็ได้ ซึ่งเหมาะกับการทำงานที่ต่อเนื่อง คือ มักจะเขี่ยเชื้อในวันรุ่งขึ้น ไม่ทิ้งขวดที่ฆ่าเชื้อแล้วเอาไว้นาน แต่ถ้านึ่งครั้งละหลายๆ ขวดแล้วแบ่งเก็บไว้เขี่ยเชื้อหลายรุ่นในภายหลัง ควรใช้กระดาษหุ้มจุกสำลีและรัดยางติดกับปากขวดก่อนนึ่ง ซึ่งหลังจากฆ่าเชื้อแล้วจะเก็บรอการใช้งานได้นาน โดยไม่ต้องแกะกระดาษหุ้มจุกออก

การฆ่าเชื้อ ใช้หม้อนึ่งความดันไอน้ำเช่นเดียวกับการฆ่าเชื้อในอาหารวุ้น โดยใช้ความดันไอน้ำไม่น้อยกว่า ๑๕ ปอนด์ และรักษาระดับความดันที่ ๑๕-๑๖ ปอนด์ นาน ๓๕-๖๐ นาที ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ขึ้นอยู่กับจำนวนขวดที่นึ่ง และหลังฆ่าเชื้อแล้ว ๒ วัน ถ้ามีเวลาเตรียมงานมากจึง ค่อยเขี่ยเชื้อวุ้น

การใส่เชื้อวุ้นลงข้าวฟ่าง สำรวจดูว่าเมล็ดข้าวฟ่างไม่บูด (ถ้าไม่ดีข้าวฟ่างจะบูดภายใน ๒ วัน) สังเกตเห็นน้ำเยิ้มขาวๆ หรือแฉะเหนียวหนืด มักเกิดขึ้นกับ ผู้ผลิตมือใหม่ที่นึ่งโดยไล่ลมออกไม่หมดก่อนให้ความดันเพิ่มขึ้น มีเชื้อหลงเหลือภายในหม้อนึ่ง ซึ่งอาจเป็นเชื้อบักเตรีทนร้อน แต่ไม่พบเชื้อราที่ตายง่ายกว่า การใส่เชื้อวุ้นลงข้าวฟ่างจะใช้เข็มเขี่ยลนไฟเชื้อแล้วทิ้งไว้เย็น เปิดจุกสำลีขวดเชื้อวุ้น ซึ่งควรเป็นเชื้อเส้นใยเจริญดีเกือบเต็มผิวหน้าวุ้นหรือเพิ่งเจริญเต็มผิววุ้นใหม่ๆ ไม่มีเชื้ออื่นปะปน ตัดชิ้นวุ้นที่มีเส้นใยเจริญขนาดประมาณ ๑x๑ เซนติเมตร เอาออกมานอกขวด ลนไฟปากขวดและปิดสำลี จากนั้นจับปากขวดข้าวฟ่างขึ้น เปิดจุกสำลี ลนไฟปากขวด ตะแคงขวดให้เมล็ดข้าวฟ่างไหลมาทาง ใกล้ปากขวดส่วนหนึ่ง แต่อย่าให้หกออกมาวางชิ้นวุ้นลงในส่วนลึกของขวด คะเนว่าเมื่อวางขวดตั้งแล้วเมล็ดข้าวฟ่างจะไหลกลบชิ้นวุ้นให้อยู่ท่ามกลางเมล็ดข้าวฟ่างพอดี นำเข็มเขี่ยออกลนไฟปากขวด อุดจุกสำลีและห่อจุกด้วยกระดาษแล้วรัดด้วยกระดาษแล้วรัดด้วยหนังยาง นำไปบ่นเชื้อต่อไป

การบ่มเชื้อข้าวฟ่าง นำขวดที่ใส่เชื้อวุ้นลงข้าวฟ่างไปเก็บหรือวางบนชั้นในห้องที่ไม่ถูกแดดส่อง และไม่มีเศษผงละอองมากเกินไป เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง ยกเว้นเห็ดหอมถ้าต้องการให้โตเร็วควรเก็บในห้องที่ปรับอุณหภูมิอยู่ระหว่าง ๒๐-๒๕ องศาเซลเซียส หมั่นตรวจสอบทุกวันหากพบขวด ใดมีการปะปนของเชื้อซึ่งอาจมีตัวไรที่กินเส้นใยเห็ดเป็นแมลงพาหะ ในขั้นตอนนี้เส้นใยเห็ดจะเจริญแผ่ลามออกมาจากชิ้นวุ้นกระจายออกทุกทิศทางจนเต็มขวด ซึ่งกลุ่มเห็ดนางรมและเห็ดนางฟ้าจะใช้เวลา ๗-๑๐ วันเชื้อเห็ดเป๋าฮื้อใช้เวลา ๑๔-๒๐ วันเชื้อเห็ดหอมอาจใช้เวลานานกว่านี้ ส่วนเห็ดหูหนูจะใช้เวลา ๑๐-๑๔ วัน

การแก่ของเชื้อ เชื้อข้าวฟ่างที่เหมาะสมต่อการใช้งานมากที่สุด คือ เมื่อเส้นใยเริ่มเจริญเต็มขวดใหม่ๆ สามารถเขย่าให้เมล็ดร่วนได้ง่าย เหมาะต่อการเทเชื้อลงในถุงขี้เลื่อย ซึ่งถ้าทิ้งไว้นานเกินไปจนเส้นใยแก่ เส้นใยจะสานกันแน่น เขย่าไม่ร่วน เทเชื้อไม่ได้ หากจำเป็นและ ต้องการยืดอายุเชื้อข้าวฟ่างที่เจริญเต็มที่แล้วออกไป อาจทำได้โดยการเขย่าให้ร่วนทุกวัน แต่คุณภาพของเชื้อจะ ไม่ดีเท่าระยะที่เพิ่งเจริญเต็มขวดใหม่ๆ

การเสียของเชื้อ

อาการ

สาเหตุ

-มีการบูดเน่าที่เมล็ดข้าวฟ่างมีลักษณะเยิ้มแฉะสีขาวขุ่น

 

-มีเชื้อราอื่นตกหล่นบนเมล็ดข้าวฟ่าง

-ชิ้นวุ้นที่ใส่กลางเมล็ดข้าวฟ่างเสียหาย

-ทุกขวดเสียเหมือนกันหมด จากวุ้นกลางเมล็ดข้าวฟ่าง

-มีเชื้อราลามจากปากขวดลงบนผิวหน้าเมล็ดข้าวฟ่าง แล้วลามลงด้านล่างขวด

-เป็นการเน่าเสียเพราะเชื้อบักเตรี เนื่องจากการนึ่งฆ่าเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างไม่หมด ควรแก้ไขโดยการนึ่งฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง

-ขี้ผงหล่นลงไปขณะเปิดปากขวดเขี่ยเชื้อ

-เชื้อวุ้นที่นำมาใช้มีเชื้ออื่นปะปน หรือเข็มเขี่ยไม่สะอาด ไม่ได้ฆ่าเชื้อดีพอ

-เชื้อวุ้นสกปรกหรือมีการปนเปื้อนมาก่อน

-ทำจุกไม่ดีหรือปากขวดเปื้อนขณะที่กรอกเมล็ดใส่ลงขวด

สำหรับฟาร์มใหม่ๆ ควรใช้เชื้อข้าวฟ่างที่ซื้อจากฟาร์มที่มีความชำนาญในการผลิตจะดีกว่าการลงทุนทำเอง เนื่องจากไม่มีความรู้ความชำนาญพอ และไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน



www.suanhed.com/article-th-41693-การผลิตเชื้อข้าวฟ่าง.html -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1535 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©