-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 325 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เห็ด8




หน้า: 1/2






 

เห็ดโคนญี่ปุ่น ทางเลือกใหม่

คำกล่าวที่ว่า “พรสวรรค์หรือจะสู้พรแสวง” น่าจะใช้ได้ดีสำหรับ “วรเทพ ชนะชัย” หรือที่ลูกศิษย์ลูกหามักเรียกจนติดปากว่า “อาจารย์อ้วน” เจ้าของฟาร์ม “สุขสมบูรณ์” ที่ปัจจุบันกลายเป็นผู้ผลิตและจำหน่าย เห็ดโคนญี่ปุ่นหรือเห็ดยานางิ รายใหญ่ แห่งบ้านหนองสมบูรณ์ อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ


แต่กว่าจะถึงวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะเขาต้องใช้ความพยายามอย่าง มากในการศึกษาเรียนรู้วงจรชีวิตของเห็ดชนิดนี้จาก  ฟาร์มเห็ด “จิรวุฒิ” ของ อาจารย์จิรวุฒิ อินทรานุกูล ต้นตำรับเห็ดโคนญี่ปุ่น ในฐานะผู้ริเริ่มและจุด ประกายให้เกษตรกรไทยหันมาสนใจเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นในเชิงธุรกิจ เนื่องจากขาย ง่าย ได้ราคาดีและมีความต้องการของตลาดสูงมาก


“ไม่มีความรู้เรื่องเกษตรมาก่อน ผมจบวิศวะคอมพ์ หลังเรียนจบก็ทำ งานที่บริษัทผลิตซอฟท์แวร์อยู่พักหนึ่งแล้วก็ลาออกมาเปิดบริษัทผลิตถุงน้ำยา ปรับผ้านุ่ม แต่ก็ไปไม่รอด สู้บริษัทใหญ่ไม่ได้ เพราะเขามีตัวแทนจำหน่าย อยู่ทั่วประเทศ” วรเทพย้อนอดีตอันขมขื่น ก่อนจะมาลงเอยที่เห็ดโคนญี่ปุ่น


เขายอมรับว่าเริ่มแรกไม่ได้เจาะจงมาที่เห็ดโคนญี่ปุ่นโดยเฉพาะ แต่ อยากจะทำธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตร เนื่องจากเห็นว่าน่าจะไปได้ดี โดยมองมาที่ พืชที่ให้ผลผลิตเร็ว ขายได้ราคาดีและมีตลาดรองรับที่แน่นอน ฉะนั้นการเพาะเห็ด จึงอยู่ในความคิดที่จะทำในเชิงธุรกิจ เนื่องจากทำง่าย ให้ผลผลิต เร็ว เมื่อเทียบกับพืชเศรษฐกิจตัวอื่น


“ตอนแรกคิดจะเพาะเห็ดโคน เพราะเป็นเห็ดที่ขายได้ราคาดี เมื่อเทียบ กับเห็ดชนิดอื่น แต่บังเอิญเห็นเรื่องเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นของฟาร์มจิรวุฒิลง ในสื่อ สนใจอยากจะลองทำดู จึงตัดสินใจมาเรียนการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นที่ฟาร์ม จิรวุฒิ ซึ่งเขาเปิดอบรมทุกเดือน ตอนนั้นใช้เวลาอบรมแค่ 2 วันเท่านั้น”


แม้ใช้เวลาอบรมเพียงแค่2 วัน แต่เขาก็มีความรู้มากพอที่จะต่อยอดมา ทำในเชิงธุรกิจได้ จากนั้นก็ได้เช่าพื้นที่ของชาวบ้านใน อ.จัตุรัส จ. ชัยภูมิ ประมาณ 2 ไร่เศษสำหรับทำฟาร์มเห็ด ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวประกอบไป ด้วยโรงเรือนสำหรับเปิดดอก 4 หลัง โรงบ่ม 1 หลัง โรงตีก้อน 1 หลัง และบ้าน พักอาศัยอีก 1 หลัง


วรเทพเผยต่อว่าหลังก่อสร้างฟาร์มแล้วเสร็จก็ลงมือปฏิบัติการทันที โดยเริ่มแรกทำก้อนเชื้อเอง เพาะเลี้ยงเอง ทำเองทุกอย่าง จากนั้นก็ ค่อยๆ ขยายมาผลิตก้อนเชื้อขาย เนื่องจากการผลิตดอกอย่างเดียวจะทำไม่ได้ ตลอด เพราะบางช่วงอาจต้องหยุดพักโรงเรือน แต่การทำก้อนเชื้อขายนั้นทำได้ทุก วันไม่มีวันหยุด


“ตอนนี้เราจะทำสองอย่างควบคู่กันไป ทั้งผลิตดอกและทำก้อน เชื้อ ส่วนตลาดนั้นไม่มีปัญหา ทางฟาร์มจิรวุฒิเขารับซื้อไม่อั้น ขณะนี้ดอก เห็ดราคาส่งอยู่ที่ 130-150 บาทต่อกิโล ส่วนก้อนเชื้อจะอยู่ที่ก้อน ละ บาท ตอนนี้ก็ผลิตไม่ทันขาย ต้องสั่งจองล่วงหน้า” เจ้าของฟาร์มเห็ดสุข สมบูรณ์เผย


กว่า 3 ปีที่วรเทพเปลี่ยนวิถีชีวิตจากลูกจ้างบริษัทผลิตซอฟท์แวร์ ยักษ์ใหญ่ในเมืองหลวง มีรายได้เดือนละหลายหมื่น หันมาสวมหมวกเกษตรกรเต็ม ขั้น ด้วย การเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น พร้อมกับการเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่อง เห็ดโคนญี่ปุ่นแก่ผู้ที่สนใจ แม้มีรายได้ไม่มาก แต่ก็มีความสุขกับงานที่ตัว เองรัก ในชื่อ “ฟาร์มสุขสมบูรณ์”




เทคนิคการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นครบวงจร


2 วัน 1 คืนในการเข้าแคมป์เรียนรู้เทคนิคการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นที่ “สวนเห็ดจิรวุฒิ” อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายนนี้ ตามโครงการ “คม ชัด ลึก ฝึกอาชีพ สัญจร”


ซึ่งจะจัดขึ้นในลักษณะนี้ ไม่บ่อยนักและครั้งนี้ก็เป็นครั้งแรกในหลักสูตร “เทคนิคการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น” ที่ยกพลไปเรียนกันถึงฟาร์มเห็ด


ถึงแม้จะมีเวลาน้อยเพียงแค่ 2 วัน แต่ก็คุ้มค่า ซึ่งคุณจิรวุฒิ อินทรานุกูล เจ้าของสวนเห็ดจิรวุฒิยืนยันว่าเรียนจบหลักสูตรสามารถเปิดฟาร์มเห็ดได้เลย เพราะกระบวนการเรียนรู้จะเน้นการเพาะเห็ดแบบครบวงจร มีทั้งภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติจริงในทุกขั้นตอน ตลอดจนกวิธีการเก็บเกี่ยว การดูแลรักษาดอกเห็ดให้อยู่ได้นาน ที่สำคัญมีการสอนคำนวณต้นทุนจริงให้ด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่ทำในเชิงธุรกิจอุตสาหกรรม


คุณ จิรวุฒิเผยรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการฝึกอบรมว่า หลังรับประทานอาหารเที่ยงเสร็จก็จะเข้าห้องประชุมเพื่อเรียนภาคทฤษฎีการเพาะ เห็ดแบบต่างๆ อย่างครบวงจร ซึ่งขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง จากนั้นก็จะฝึกทำก้อนเชื้อเห็ดใส่ถุง พร้อมส่วนผสมที่ถูกต้องแล้วเช็กเชื้อเห็ดว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร แล้วมาดูวิธีคัดเชื้อที่ถูกต้องก่อนจะนำก้อนเชื้อมาเข้าโรงบ่ม


วันรุ่งขึ้นช่วงเช้าหลังรับประทานก็จะเรียนรู้ถึงการต่อเชื้อ เรียนทฤษฎีเกี่ยวกับโรงบ่ม การสร้างโรงเรือนแบบต่างๆ เพื่อลดต้นทุน แล้วมารู้จักวิธีการทำให้เห็ดเปิดดอกเพื่อให้ผลผลิตสูง ตลอดจนเทคนิคการเก็บเกี่ยวเห็ดที่ถูกวิธีและวิธีการเก็บรักษาไว้ให้นานที่ สุด ก่อนถึงมือผู้บริโภค จากนั้นในช่วงบ่ายก็จะออกเดินทางไปดูงานฟาร์มเห็ดโคนญี่ปุ่นของเกษตรกรที่ ประสบความสำเร็จ ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพฯ


คุณจิรวุฒิเผยอีกว่า สำหรับการอบรมหลักสูตร “เทคนิคการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นครบวงจร” ใน “โครงการ คม ชัด ลึก ฝึกอาชีพสัญจร” ครั้งนี้จะมีความพิเศษที่ต่างๆ ไปจากการอบรมที่จัดขึ้นตามปกติ เพราะนอกจากจะเรียนรู้เรื่องเห็ดโคนญี่ปุ่นแล้ว ยังจะได้เรียนรู้เห็ดตัวใหม่ที่ฟาร์มเพิ่งคิดค้นขึ้นมา นั่นก็คือเห็ดโคนหิมะ ซึ่งมีรสชาติ ความกรอบอร่อยดีกว่าโคนญี่ปุ่น ที่สำคัญราคาจะแพงกว่า 10-20 %


“ตอนนี้เรามีเห็ดตัวใหม่ออกมาคือเห็ดโคนหิมะ มีลักษณะคล้ายกับเห็ดโคนญี่ปุ่น แต่จะมีสีขาวทั้งดอกคล้ายหิมะ ขณะนี้ยังไม่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป เพราะอยู่ระหว่างการเตรียมขยายพันธุ์ให้เครือข่ายของเรา ส่วนราคารับซื้อจะอยู่ที่ 140-160 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่เห็ดโคนญี่ปุ่นปัจจุบันจะอยู่ที่ 120-150 บาทต่อกิโลกรัม”


เจ้าของสวนเห็ดจิรวุฒิกล่าวถึงจุดเด่นเห็ดโคนหิมะว่ารสชาติดีกว่าเห็ดโคน ญี่ปุ่น เก็บได้ยาวนานกว่า เพราะมีความแข็งแรงมากกว่า ที่สำคัญราคาดีกว่าเห็ดโคนญี่ปุ่นมาก เนื่องจากเป็นเห็ดสายพันธุ์ใหม่ทำให้ตลาดมีความต้องการสูง โดยขณะนี้ฟาร์มสามารถผลิตเห็ดชนิดนี้ได้เพียง 400 กิโลกรัมต่อสัปดาห์เท่านั้น แต่ความต้องการมีเป็นพันกิโลกรัม ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด


“วิธีการเพาะก็เหมือนกับโคน ญี่ปุ่นทุกประการ แต่ปัญหาก็คือจะให้ดอกน้อยมาก ฉะนั้นจะทำอย่างไรที่จะให้โคนหิมะสามารถเปิดดอกให้ได้ในปริมาณมากเท่ากับโคน ญี่ปุ่น ซึ่งเราจะมาเรียนรู้กันในตรงจุดนี้ด้วย” คุณจิรวุฒิกล่าว พร้อมยืนยันว่าสำหรับผู้ที่มีฟาร์มเห็ดหรือประกอบอาชีพเพาะเห็ดอยู่แล้ว แม้จะเป็นเห็ดสายพันธุ์อื่นก็ไม่มีปัญหา เพราะการวิธีการเพาะโคนญี่ปุ่นและโคนหิมะจะใช้วิธีการเดียวกัน จะต่างกันตรงที่เทคนิคการเปิดดอกเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นโรงเรือน การทำก้อนเชื้อ การบ่มและอื่นๆ


“หากผู้ที่มีความรู้เรื่องการเพาะ เห็ดหรือประกอบอาชีพเพาะเห็ดอยู่แล้วก็จะดีหน่อยเพราะมีพื้นฐานอยู่แล้ว เพียงแต่มาเรียนรู้เทคนิคเพิ่มเติม สำหรับคนที่ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลยก็ไม่มีปัญหาสามารถเรียนรู้เท่าทันกัน ได้ เพียงแต่ต้องใช้เวลาหน่อย แล้วก็ต้องลงทุนสร้างโรงเรือนด้วยหากคิดจะทำ” เจ้าของสวนเห็ดจิรวุฒิกล่าวทิ้งท้าย



สุรัตน์ อัตตะ







การเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น

คุณ สุภีร์ ดาหาร อายุ 47 ปี ผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองโข่ย อยู่บ้านเลขที่ 175 หมู่ที่ 19 ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (เกษตรกรรม) จากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาวิทยาเขตเกษตรลำปาง ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตลำปาง


หลัง จากจบการศึกษาแล้ว ก็ไปสมัครเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของกรมวิชาการเกษตร ตั้งแต่ปี 2527 ซึ่งงานที่ได้ทำส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นงานวิจัยส่งเสริมและพัฒนา หลังจากนั้นได้ไปเป็นครูอัตราจ้างอยู่ 1 ปีการศึกษา ก็หมดสัญญาจ้าง ปี 2529 ก็ไปสมัครเข้าทำงานซึ่งเป็นโครงการร่วมกับต่างประเทศของกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ จากนั้นก็เปลี่ยนงานไปเรื่อยๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นงานโครงการของกรมวิชาการเกษตรมาตลอด จนถึงปี 2547 จึงลาออกจากงานมาทำกิจการของตัวเองอย่างจริงจัง


คุณสุภีร์ ดาหาร แต่งงานมีครอบครัวแล้วเมื่อปี 2530 กับ คุณทิพยาภา ดาหาร พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม มีบุตรด้วยกัน 2 คน เป็นชายทั้งหมด ซึ่งในช่วงที่ทำงานเป็นลูกจ้างของกรมวิชาการเกษตรนั้น ได้มีโอกาสเดินทางไปปฏิบัติงานฝึกอบรม ศึกษาดูงานทั่วทุกภาคของประเทศไทยโดยเฉพาะภาคอีสานไปทุกจังหวัด จากแนวคิดตั้งแต่สมัยเรียนหนังสือ ซึ่งคิดไว้อยากมีฟาร์มเป็นของตนเอง ประกอบกับชอบงานที่เป็นอิสระ เพราะในช่วงที่ทำงานอยู่นั้นก็ได้ศึกษาอาชีพที่ได้ไปเห็นมา หาข้อดี ข้อเสียมาเปรียบเทียบกับสภาพพื้นที่ของตนเองว่าจะทำได้หรือไม่ ซึ่งมีที่ดินประมาณ 5 ไร่ ได้ปลูกมะม่วงไว้ 2 ไร่ ส่วนที่เหลือก็ปลูกมันสำปะหลังสลับกับข้าวโพดมาตลอด


ต่อมาปี 2540 ได้นำฝรั่งมาปลูกจำนวน 100 ต้น มะขามเทศ 50 ต้น และซื้อก้อนเชื้อเห็ดมาเปิดดอก จำนวน 2,000 ก้อน ฝรั่งที่ปลูกไว้ก็ให้ผลผลิตดี คุณภาพก็ดีในช่วงแรก แต่ก็มีปัญหาเรื่องแรงงานและต้องพ่นสารเคมีด้วย ซึ่งตนเองก็ไม่ชอบอยู่แล้ว และมะขามเทศก็มีปัญหาเช่นเดียวกับฝรั่ง


ส่วนเห็ดนั้นช่วงแรกจะเป็น เห็ดนางฟ้า โดยซื้อมาก้อนละ 4 บาท ปรากฏว่าได้ผลดีมากและก็ขายได้ราคาดี และสิ่งที่ชอบก็คือ ไม่ฉีดพ่นสารเคมี และก็ขายเห็ดได้ประมาณ 20,000 บาท หลังจากนั้นก็ได้ไปศึกษาดูงานการทำฟาร์มเห็ดจากหลายๆ แห่ง เพราะช่วงนั้นยังทำงานอยู่จึงมีโอกาสไปหลายแห่ง ซึ่งก็ได้นำข้อดี ข้อเสียของแต่ละฟาร์มมาปรับใช้กับฟาร์มของตนเอง จากนั้นก็ได้เริ่มซื้ออุปกรณ์มาเก็บไว้ พร้อมกับการศึกษาดูงานการเพาะเห็ดอยู่เรื่อยๆ และศึกษาจากหนังสือต่างๆ เริ่มหัดทำอาหารวุ้น PDA และทำหัวเชื้อและเมล็ดข้าวฟ่าง ทำช่วงแรกไม่ได้ผล แล้วก็ลองทำใหม่จนได้ผล หลังจากที่เตรียมอุปกรณ์การเพาะเห็ด ประกอบกับคิดว่ามีความชำนาญจากการเรียนรู้ด้วยตนเองแล้ว จึงตัดสินใจลาออกจากงานมาทำฟาร์มเห็ดอย่างเต็มตัว โดยในปีแรกก็เริ่มทำก้อนเชื้อเอง แต่เชื้อเห็ดได้สั่งซื้อจากที่อื่น โดยเพาะเห็ดขอนขาว จำนวน 6,000 ก้อน จำนวน 1 โรงเรือน ซึ่งให้ผลผลิตดีมาก คือเก็บผลผลิตได้ 4 เดือน คิดเป็นน้ำหนักประมาณ 1,000 กิโลกรัม ซึ่งในช่วงที่เปิดดอกเห็ดขอนขาวโรงแรกนี้ ก็ได้ฝึกทำเชื้อและทำอาหารวุ้นควบคู่กันไปด้วย เมื่อเริ่มทำได้แล้วก็เริ่มซื้ออุปกรณ์ในการทำหัวเชื้อ เช่น หม้อนึ่งความดัน ถังผสม และเครื่องอัดก้อนเชื้อ ซึ่งก็ได้ทุนมาจากผลผลิตของเห็ดขอนขาวโรงแรก


เมื่อผลิตหัวเชื้อได้ แล้ว ก็ได้เพิ่มการผลิตก้อนเชื้อเห็ดชนิดอื่นขึ้นอีก เช่น เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดบด เห็ดนางนวล เห็ดหัวลิง เห็ดเป๋าฮื้อ และสุดท้ายก็ได้ทดลองเพาะเห็ดยานางิ (เห็ดโคนญี่ปุ่น) ซึ่งในตอนนี้ก็สามารถผลิตหัวเชื้อเห็ดที่กล่าวมาข้างต้นได้ทุกชนิดพร้อม จำหน่าย ซึ่งการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นในช่วงแรก เมื่อได้ผลผลิตในตอนแรกแม้แต่ตนเองก็ยังไม่กล้ารับประทานสักเท่าไหร่ แต่เมื่อได้เพาะแล้วก็ต้องลองดู ปรากฏว่าอร่อยดี จากนั้นก็ให้เพื่อนบ้านลองชิมดูก็มีทั้งคนกล้าและไม่กล้า แต่เมื่อได้ลองกินดูแล้วต้องขอเพิ่มอีก จากนั้นชาวบ้านก็เริ่มจะมีความคุ้นเคยกับเห็ดชนิดนี้ ลองซื้อไปทำกินที่บ้าน หลังจากนั้นจะกลับมาซื้อใหม่อีก ซึ่งในช่วงนั้นเห็ดโคนญี่ปุ่นก็เริ่มมีคนรู้จักมากขึ้นทั้งทางวิทยุ หนังสือพิมพ์ และโทรทัศน์มากขึ้น คนก็เริ่มรู้จักดียิ่งขึ้น ซึ่งผู้บริโภคในช่วงแรกก็จะเป็นผู้ที่ทำงานในสำนักงานหรือส่วนราชการต่างๆ แต่ช่วงหลังมาระดับชาวบ้านก็ซื้อไปประกอบอาหารมากขึ้น โดยมีความเชื่อว่าเห็ดชนิดนี้เป็นได้ทั้งอาหารและยา ซึ่งเห็ดโคนญี่ปุ่นนี้จะมีข้อดีก็คือ การดูแลรักษาเหมือนเห็ดนางฟ้าแต่ราคาเท่าเห็ดหอม และก็สามารถผลิตได้ทุกฤดู อายุการให้ผลผลิตแต่ละรุ่นนาน 12 เดือน รสชาติอร่อย อ่อนนุ่ม กรอบ เมื่อเทียบกับเห็ดหอมมีความกรอบมากกว่า เป็นทั้งอาหารและมีสรรพคุณทางยาด้วย แต่จะมีข้อเสียก็คือ เมื่อให้ผลผลิตแล้วจะมีระยะพักตัวนานกว่าเห็ดชนิดอื่นคือ 20-30 วัน




วิธีการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น


สูตรส่วนผสมการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น
1. ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม

2. รำอ่อน 100 กิโลกรัม

3. ปูนขาว 2 กิโลกรัม

4. ดีเกลือ 3 ขีด

5. พูไมท์ 2 กิโลกรัม

6. แป้งข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม

7. น้ำ 60-70%



วิธีคลุกส่วนผสมและการนึ่งฆ่าเชื้อ
นำวัสดุส่วนผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ในขั้นสุดท้ายนำน้ำมาผสมลงไปให้พอเหมาะ อย่าให้แฉะเกินไป บรรจุลงถุงอัดให้แน่น ใส่คอขวดพลาสติค รัดด้วยยางรัด แล้วนำไปนึ่ง ในอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 3-4 ชั่วโมง การจับเวลาในการนึ่งควรจับหลังจากที่มีไอน้ำพุ่งขึ้นมาเป็นเส้นตรง หลังจากนึ่งเสร็จแล้วปล่อยให้เย็น แล้วนำออกจากหม้อนึ่ง นำเข้าห้องเขี่ยเชื้อ



วิธีการเขี่ยเชื้อเห็ดโคนญี่ปุ่นลงถุงพลาสติก
วัสดุในการเขี่ยเชื้อ

1. ขวดหัวเชื้อเห็ด

2. ตะเกียงแอลกอฮอล์

3. สำลี

4. ไม้ขีดไฟ

5. กระดาษหนังสือพิมพ์ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ขนาด 2.5×4 นิ้ว

6. ยางรัด



ขั้นตอนการเขี่ยเชื้อเห็ดโคนญี่ปุ่น
1. จุดตะเกียงแอลกอฮอล์

2. นำขวดเชื้อมาลนไฟที่ตะเกียง

3. เช็ดมือให้สะอาดด้วยแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ 70%

4. นำขวดเชื้อที่ลนไฟแล้วมาแคะหรือย่อยให้หัวเชื้อละเอียด

5. หลังจากเขี่ยเชื้อลงถุงเรียบร้อยแล้ว ปิดกระดาษ แล้วรัดด้วยยางรัดทันที

6. นำก้อนที่เขี่ยแล้วขึ้นตั้งเรียงไว้เพื่อบ่มเชื้อในโรงเรือนบ่ม ใช้ระยะเวลาในการบ่มประมาณ 45-50 วัน สามารถนำไปเปิดเอาดอกในโรงเรือนได้

7. เชื้อ 1 ขวด ควรเขี่ยลงถุงได้ 32-35 ถุง



ลักษณะโรงเรือนเห็ดโคนญี่ปุ่น
ลักษณะ โรงเรือนเหมือนกับการเพาะเห็ดนางฟ้านางรมทั่วๆ ไปคือขนาด 4.5×10 เมตร ด้านข้างสูงประมาณ 1.4 เมตร บรรจุก้อนเชื้อได้ 6,000 ก้อน หลังคามุงด้วยหญ้าคาหรือใบจาก ด้านข้างกั้นด้วยซาแรน 60% โครงสร้างภายในทำเป็นแผง เอียงทำมุม 75 องศาเซลเซียส การสร้างโรงเรือนควรสร้างในแนวทิศตะวันออก-ตก เพื่อการถ่ายเทอากาศได้ดี


การดูแลรักษา
หลัง จากบ่มเชื้อครบ 45-50 วัน แล้วนำก้อนเชื้อเข้าสู่โรงเปิดดอก โดยแกะกระดาษ เขี่ยข้าวฟ่างและสำลีออกให้หมด ทำความสะอาดพื้นโรงเรือน รดน้ำให้ชุ่ม วันละ 3 เวลา คือเช้า เที่ยง เย็น เห็ดจะออกดอกได้ดี


วิธีการเก็บดอกเห็ดโคนญี่ปุ่น
ใช้ มือกดปากถุงเห็ดไว้ อีกมือหนึ่งค่อยๆ ดึงดอกเห็ดออกจากถุงอย่าให้หน้าก้อนเห็ดแตก และอย่าพยายามให้มีเศษขาของดอกเห็ดปิดรูถุง เพราะจะทำให้เกิดเชื้อรา ปิดปากถุงเห็ดกันเห็ดรุ่นต่อไปไม่ให้ออกดอกมาได้



สำหรับราคาจำหน่าย เห็ดภายในฟาร์มมีดังนี้ ราคาดอกเห็ด เห็ดโคนญี่ปุ่น กิโลกรัมละ 150-200 บาท เห็ดบด 100 บาท เห็ดขอนขาว 60 บาท เห็ดนางฟ้า-นางรม 50 บาท เห็ดเป๋าฮื้อ 60 บาท ส่วนราคาก้อนเชื้อเห็ดโคนญี่ปุ่นก้อนละ 10 บาท ขอนขาว 6 บาท นางฟ้า นางรม 5 บาท เป๋าฮื้อ 7 บาท



ในปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่า กิจกรรมหลักในสวนจะเป็นการเพาะเห็ด แต่ก็ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำผสมผสานกันไป ซึ่งได้แก่ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพจากก้อนเชื้อเห็ดเก่าจำหน่าย การเลี้ยงกบ จำนวน 4 บ่อ การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ จำนวน 2 บ่อ เตาเผาถ่านคุณภาพสูง จำนวน 1 เตา เพื่อผลิตน้ำส้มควันไม้ เลี้ยงหมูป่า และหมูลูกผสม พ่อพันธุ์ 1 ตัว แม่พันธุ์ 4 ตัว ปลูกน้อยหน่า 50 ต้น ฝรั่ง 50 ต้น และปลูกไผ่บงหวาน จำนวน 100 กอ โดยกิจกรรมเสริมทั้งหมดนี้ได้ทำควบคู่ไปกับการเพาะเห็ด และก็ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วทุกกิจกรรม ทำให้มีรายได้และความเป็นอยู่ดีขึ้นเป็นลำดับ


ปัจจุบันคุณสุภีร์ ดาหาร ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนในหมู่บ้าน ให้เป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองโข่ย หมู่ที่ 19 ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และยังให้ความร่วมมือกับสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองขอนแก่น ใช้ฟาร์มเห็ดของตนเองเป็นจุดถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร เพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจโดยทั่วไป ท่านใดสนใจอยากจะเยี่ยมชมผลงานหรือสอบถามความรู้และข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. (081) 975-2612, (043) 261-835



อำพน ศิริคำ


matichon





หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©