-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 313 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เห็ด7




หน้า: 1/2





 

เห็ดนางฟ้า


            เห็ดนางฟ้ามีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับเห็ดนางรม เห็ดทั้งสองชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์ (family) เดียวกัน ชื่อ "เห็ดนางฟ้า" เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในเมืองไทย คนไทยบางคนเรียกว่าเห็ดแขก เนื่องจากมีผู้พบเห็นเห็ดนี้ครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย พบขึ้นตามธรรมชาติบนตอไม้เนื้ออ่อนที่กำลังผุ ในแถบเมืองแจมมู (Jammu) บริเวณเชิงเขาหิมาลัย ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Pleurotus sajor-caju (Fr.) Singer

            เห็ดนางฟ้าถูกนำไปเลี้ยงในอาหารวุ้นเป็นครั้งแรกโดย Jandaik ในปี ค.ศ. 1947 ต่อมา Rangaswami และ Nadu แห่ง Agricultural University, Coimbattore ในอินเดียเป็นผู้นำเชื้อบริสุทธิ์ของเห็ดนางฟ้าเข้ามาฝากไว้ที่ American Type Culture Collection (ATCC) ในอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1975 ได้ทราบว่าประมาณปี ค.ศ. 1977 ทางกองวิจัยโรคพืช กรมวิชาการเกษตร เป็นผู้นำเชื้อจาก ATCC เข้ามาประเทศไทยเพื่อทดลองเพาะดู ปรากฏว่าสามารถเจริญได้ดี

            อีกสายพันธุ์หนึ่ง เป็นเห็ดที่มีผู้นำเข้ามาจากประเทศภูฐาน มาเผยแพร่แก่นักเพาะเห็ดไทย ได้มีการเรียกชื่อเห็ดนี้ว่า เห็ดนางฟ้าภูฐาน มีหลายสายพันธุ์ซึ่งชอบอุณหภูมิที่แตกต่างกัน บางพันธุ์ออกได้ดีในฤดูร้อน บ้างพันธุ์ออกได้ดีในฤดูหนาว เป็นที่นิยมมาเพาะเป็นการค้ากันมาก

            ลักษณะของดอกเห็ดนางฟ้า มีลักษณะคล้ายกับดอกเห็ดเป๋าฮื้อ และดอกเห็ดนางรม เมื่อเปรียบเทียบกับเห็ดเป๋าฮื้อ ดอกเห็ดนางฟ้าสีจะอ่อนกว่า และมีครีบอยู่ชิดกันมากกว่า เห็นนางฟ้าสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นนานได้หลายวัน เช่นเดียวกับเห็ดเป๋าฮื้อ เนื่องจากเห็ดชนิดนี้ไม่มีการย่อตัวเหมือนกับเห็ดนางรม ด้านบนของดอกจะมีสีนวลๆ ถึงสีน้ำตาลอ่อน ในอินเดียดอกเห็ดมีขนาดตั้งแต่ 5 - 14 เซ็นติเมตร และจะมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 30 - 120 กรัม เห็ดนางฟ้ามีรสอร่อย เวลานำไปปรุงอาหารจะมีกลิ่นชวนรับประทาน เห็ดชนิดนี้สามารถนำไปตากแห้ง เก็บไว้เป็นอาหารได้ เมื่อจะนำเห็ดมาปรุงอาหาร ก็นำไปแช่น้ำเห็ดจะคืนรูปเดิมได้



วงจรชีวิตของเห็ดนางฟ้า
วงจรชีวิตของเห็ดนางฟ้าก็เป็นแบบเห็ดทำลายไม้ทั่ว ๆ ไป คือมีชีวิตอยู่ข้ามฤดูอัตคัด ด้วยคลามีโดสปอร์ในท่อนไม้ พอถึงฤดูชุ่มชื้นก็งอกออกมาเป็นเส้นใย แล้วสร้างดอกเห็ดขึ้น ปล่อยสปอร์ลอยไป สปอร์งอกเป็นเส้นใยแล้วเจริญไปบนอาหารจนสร้างดอหเห็ดอีก วนเวียนไปอย่างนี้

           
เห็ดนางฟ้าเติบโตดีที่ pH. 5 - 5.2 (คือเป็นกรดเล็กน้อย) อุณหภูมิที่เหมาะมากต่อเส้นใยคือ 32 องศาเซลเซียส และสร้างดอกเห็ดได้ดีที่ 25 องศาเซลเซียส เส้นใยสีขาวจัด มีความสามารถเชื่อมต่อเส้นใยได้ดี ใช้น้ำตาลในแง่ของอาหารคาร์โบไฮเดรตได้ดีกว่าพวก โพลีแซคคาไรค์ หรืออาหารซับซ้อน




วงจรชีวิตเห็ดนางฟ้า
1. ดอกเห็ดนางฟ้าเมื่อโตเต็มที่จะสร้างสปอร์บริเวณครีบ โดยการปล่อยสปอร์เมื่อแก่ออกเป็นระยะ ๆ

           
2. เมื่อดอกเห็ดปล่อยสปอร์ออกมาแล้ว สปอร์ก็ปลิวไปตามกระแสลม

           
3. เมื่อสปอร์ปลิวไปตกในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะงอกออกมาเป็นเส้นใยขั้นต้นมี 1 นิวเคลียส

           
4. เส้นใยขั้นที่ 1 เมื่อเจริญเต็มที่แล้ว ก็จะมารวมตัวกัน ซึ่งอาจมาจากต่างสปอร์กัน การรวมตัวของเส้นใยขั้นที่ 1 จะเป็นการเชื่อมกันแล้วถ่ายทอดนิวเคลียสมาอยู่ในเซลเดียวกัน กลายเป็นเส้นใยขั้นที่ 2

           
5. หลังจากเส้นใยขั้นที่ 1 รวมตัวกันเป็นเส้นใยขั้นที่ 2 แล้ว ก็จะเจริญเติบโตและสร้างเส้นใยเห็ดแทนเส้นใยขั้นที่ 1 อย่างรวดเร็วบนอาหาร

           
6. เมื่อเส้นใยขั้นที่ 2 เจริญบนอาหารและโตเต็มที่แล้ว จะสะสมอาหารแล้วรวมตัวกันอีกครั้งเพื่อสร้างดอกเห็ดต่อไป

           
7. ดอกเห็ดนางฟ้าที่เกิดจากการรวมตัวของเส้นใยเห็ดขั้นที่ 2



ขั้นตอนการเพาะเห็ดนางฟ้า
การเพาะเห็ดนางฟ้ามีระบบการผลิตแยกชัดเจนได้เป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
1) การผลิตเชื้อวุ้น
2)การทำหัวเชื้อเห็ด
3)การผลิตเชื้อถุงหรือก้อนเชื้อ
4)การเพาะให้เกิดเป็นดอกเห็ด

การลงทุนจะมากในขั้นตอนที่ 1-3 ส่วนขั้นที่ 4 คือการผลิตดอกเห็ด จะทำขนาดเล็กใหญ่เท่าใดก็ได้ ไม่ต้องลงทุนมาก หรือจะดัดแปลงจากโรงเรือนอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว และที่วางอยู่มาใช้ได้ และในขั้นตอนนี้ ผู้ที่ต้องการเพาะจะทำครบทุกขั้นตอนเลยก็ได้ หรืออาจจะทำเป็นบางขั้นตอน เช่น จะทำเฉพาะหัวเชื้อเห็ด โดยการนำก้อนเชื้อที่ทำสำเร็จรูปแล้วมาเปิดออก รดน้ำให้เกิดดอกเห็ดเลยก็ได้ ซึ่งระบบการตั้งฟาร์มเห็ด ได้รับการแนะนำให้ทำเป็นขั้น ๆ ดังต่อไปนี้

           
1. เริ่มเรียนรู้วิธีการกินเห็ด
เราจะทำธุรกิจเห็ดต้องกินเห็ดเก่ง ต้องปรุงอาหารจากเห็ดหลายชนิด ทำให้อร่อยด้วย สามารถแนะนำผู้ซื้อเห็ดไปปรุงเองได้อย่างมั่นใจ เช่นนี้ทำให้เราพร้อมต่อการขายเห็ด

          
2. ผลิตดอกเห็ดขาย
90% ของฟาร์มเห็ดที่ทำอยู่เริ่มจากวิธีนี้ โดยทำโรงเรือนขนาดย่อมๆ เพื่อใช้เพาะเอาดอกเห็ด ซื้อถุงเชื้อจากฟาร์มมาผลิตดอก โดยหาความชำนานและความรู้ไปเรื่อยๆ จนเชี่ยวชาญ ขั้นนี้อย่าเพิ่งลงทุนทำถุงเชื้อเอง ให้ซื้อถุงเชื้อจากฟาร์มที่ทำขายดีกว่า เริ่มจากน้อยๆ ทยอยทำ ได้เห็ดมาก็นำไปขายตลาด ขายเองหรือส่งแม่ค้าก็ได้ ขยายตลาดดอกเห็ดเพิ่มมากขึ้นไปเป็นลำดับ จนตลาดใหญ่ขึ้นและสม่ำเสมอดีแล้วจึงคิดผลิตถุงเชื้อ แต่ถ้าตลาดไปไม่ได้ก็หยุดแค่นั้น ไม่ขาดทุนมาก

           
3. ผลิตถุงเชื้อเห็ด
ถ้าตลาดรับซื้อเห็ดและถุงเชื้อมากพอ จึงตั้งหน่วยผลิตถุงเชื้อได้ แต่ถ้าคำนวณว่าซื้อถุงถูกกว่าผลิตเองก็ไม่ควรทำ ควรไปดูฟาร์มทำถุงเชื้อหลาย ๆ ฟาร์ม แล้วมาคำนวณว่าเครื่องมือและวิธีการแบบใดดีที่สุด เตรียมการเอาคนคุมงานไปฝึกงานในฟาร์ม หรือติดต่อจ้างคนชำนาญในฟาร์มเก่ามาทำฟาร์มใหม่ ขั้นตอนนี้ก็ควรซื้อเชื้อข้าวฟ่าง ยังไม่ควรทำเอง การลงทุนขนาดเล็กจะใช้หม้อต้มไอน้ำต่างหาก (สตีมเม่อร์) แล้วต่อท่อมาอบถุงขี้เลื่อยในอีกหม้อต่างหาก ถ้างานนี้มากขึ้นเรื่อยๆ จนเห็นสมควร แล้วค่อยผลิตเชื้อข้างฟ่างและซื้อวุ้นต่อไป

           
4. ผลิตเชื้อวุ้นและเชื้อข้าวฟ่าง
เริ่มทำเมื่องานฟาร์มมีขนาดใหญ่มาก สำหรับระยะ 1 - 2 ปี ที่ผ่านมานั้นถ้ายังไม่ทำเชื้อวุ้นและเชื้อข้าวฟ่างมาก่อน ก็ไม่ควรทำขึ้นใหม่ มีผู้ทำขายมากอยู่แล้ว ซื้อเขาใช้ดีกว่า นอกจากจะห่างไกลซื้อยากจริงๆ แล้วต้องใช้มากจึงค่อยทำ






 

เห็ดสกุลนางรม (นางฟ้า,นางรม,นางฟ้าภูฐานและเป๋าฮื้อ)เห็ดนางฟ้า
maejo.comเป็นเห็ดนางรมชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดแถบภูเขาหิมาลัยซึ่งมีอากาศชื้นและเย็น ในธรรมชาติจะขึ้นอยู่กับต้นไม้ที่ผุพัง บางครั้งพบว่าขึ้นกับต้นไม้ที่เป็น ๆ มีดอกหนาปานกลาง เนื้อแน่น ขนาดไม่ใหญ่และสีไม่คล้ำเท่ากับเห็ดเป๋าฮื้อ รสชาติดี สามารถเป็นอาหารทดแทนโปรตีนได้ เป็นเห็ดที่ใช้อาหารแทบทุกประเภทที่เป็นเซลลูโลสได้อย่างกว้างขวาง เช่น ขี้เลื่อย ซังข้าวโพดละเอียด กากอ้อย ขุยมะพร้าว ฟาง เป็นต้น ควรเพาะเลี้ยงในหน้าหนาว

เห็ดนางรม

maejo.comมีพื้นเพเดิมมาจากสหรัฐและยุโรป ซึ่งมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับเห็ดมะม่วง เห็ดขอนขาว ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตามต้นไม้ที่เน่าเปื่อย ผุพัง ซึ่งมักจะเกิดดอกอ่อน ๆ มาบริโภคอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคในฤดูฝน แต่เห็ดนางรมสามารถเพาะให้เกิดดอกได้ตลอดทั้งปีทั้งยังเป็นเห็ดที่มีคุณค่าทางอาหารสูง คือประกอบไปด้วย ธาตุอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน รวมทั้งแร่ธาตุ ต่าง ๆ และวิตามินที่อยู่ในเห็ดนางรมหลายชนิด

เห็ดนางฟ้าภูฐานหรือเห็ดนางรมภูฐาน

maejo.comเห็ดนางฟ้าภูฐาน เป็นเห็ดที่เกิดขึ้นบนต้นไม้เนื้ออ่อนที่ตายแล้ว เจริญเติบโตได้เร็วมาก ซึ่งพบที่ประเทศภูฐาน เป็นเห็ดตระกูลเดียวกับเห็ดนางฟ้า ทำการคัดเลือกโดยอาจารย์อานนท์ เอื้อตระกูล เมื่อครั้งที่ไปดำรงตำแน่งผู้เชี่ยวชาญเห็ดขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ณ ประเทศภูฐาน ท่านได้รับเชิญจากองค์การอาหารแห่งสหประชาชาติให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเห็ดประจำประเทศภูฐาน ได้รวบรวมและคัดเลือกส่งกลับเมืองไทยเพื่อให้ทดลองซ้ำให้แน่ใจอีกครั้งหนึ่ง ความดีเด่นของเห็ดนางฟ้าภูฐาน คือเส้นใยเจริญได้ดี และเร็วมาก ทั้งในอาหารวุ้นและหัวเชื้อเมล็ดธัญพืช เส้นใยเจริญบางในระยะแรกแล้วจะรวมตัวกันหนาขึ้นเดินเต็ม แต่หัวเชื้อบริสุทธิ์ จะมีการอ่อนตัวเร็วมาก หากทำการต่อเชื้อบ่อย ๆ ครั้ง และสิ่งที่เด่นกว่าเห็ดชนิดอื่นคือการออกดอกเห็ดเร็ว ระยะช่วงห่างของการออกดอกสั้น มีความสามารถในการใช้อาหารสูง ถ้าใส่อาหารมากผลผลิตก็มาก มีความต้านทานราสีเขียวและราสีดำสูงสามารถเพาะได้ตลอดปี

สูตรอาหารเพาะเลี้ยงเห็ดตระกูลนางรม
สูตร 1 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา,ไม้เนื้ออ่อน 100 กก.
รำละเอียด 5 กก.
ดีเกลือ 0.2 กก.
ปูนขาว 1 กก.
น้ำ 80 เปอร์เซ็นต์
 
สูตร 2 การใช้ฟางหมัก
1. นำฟางแห้งมาสับยาวประมาณ 4-6 นิ้ว และแช่ฟางให้ชื้นหมาด นำปุ๋ยยูเรียมาใส่ผสมให้เข้ากันแล้วหมักใน แบบพิมพ์หรือตั้งกองเป็นรูป หมัก 3 วัน ฝาชีสูงประมาณ 1.20เมตร ขึ้นไป แล้วคลุมกองด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันการระเหยของความชื้น

2. เมื่อหมักครบ 3 วัน ให้ทำการกลับกองหรือกระจายกองฟาง เพื่อระบายแก็สแอมโมเนียม และใช้ปูนขาว 1 กก. ผสมลง ไปเพื่อปรับ สภาพอาหารหรือฟางหมักและคลุมกองฟางด้วย หมัก 3 วัน พลาสติก ให้เหลือส่วนปลายของกองไว้ประมาณ 30 ซม. เพื่อเป็นช่องระบายอากาศ

3. กระจายกองฟางอีกรอบเพื่อระบายความร้อนและเติม ดีเกลือลงไป 0.2 กก. หมัก 3 วัน


4. ครั้งสุดท้ายกระจายกองฟางอีก 1 ครั้ง และระบายอากาศ โดยไม่ต้องเติมอะไรลงไปอีก เมื่อฟางหมักเย็นตัวดีแล้ว ทำ การกองฟาง เป็นรูปฝาชีเหมือนเดิมและคลุมด้วยพลาสติก ทิ้งไว้อีก 3 วัน จึงนำไปใช้ได้ การใช้ฟางหมักเพาะเห็ดสกุลนางรม โดยใช้ฟางหมัก 100 กก. ผสม รำละเอียด 5 กก. ความชื้น 75-80 เปอร์เซ็นต์ แล้วนำไปกรอกลง ในถุง พลาสติกต่อไป


 
วิธีการเพาะ
1. ผสมวัสดุเพาะทั้งหมดเข้าด้วยกัน และทดสอบความชื้นให้พอเหมาะโดยจะมีความชื้นประมาณ 75-80%

2. บรรจุวัสดุเพาะลงในถุง ถ้าเป็นวัสดุเพาะเป็นขี้เลื่อยใช้ถุงขนาด 6.5x12.5 นิ้ว หนัก 800 - 1,000 กรัม ถ้าวัสดุเพาะเป็นฟางหมักควรใช้ถุงขนาด 7x13 นิ้ว แล้วอัดวัสดุให้แน่น แต่ละถุงจะมีน้ำหนักประมาณ ถ้าเป็นฟางหมัก 6-8 ขีด ถ้าเป็นขี้เลื่อยประมาณ 600 - 800 กรัม เสร็จแล้วใส่คอขวดรัดด้วยยางรัดปิดด้วยจุกสำลี


3. นำถุงก้อนเห็ดที่บรรจุแล้วไปนึ่งฆ่าเชื้อ โดยใช้หม้อนึ่ง 2 แบบ คือ

3.1 หม้อนึ่งฆ่าเชื้อแบบลูกทุ่ง หรือหม้อนึ่งไม่อัดความดัน โดยใช้ถัง 200 ลิตร บรรจุครั้งละ 100 ถุง นึ่งนาน 1.5-2 ชั่วโมง หรือหม้อนึ่งที่ประกอบด้วยเหล็กแผ่นเป็นรูปสี่เหลี่ยมบรรจุถุงได้ตั้งแต่ 500-5,000 ถุง โดยใช้ระยะเวลาในการนึ่งประมาณ 4-10 ชั่วโมง
3.2 การนึ่งแบบมีความดัน จะเป็นถังที่สามารถทนความร้อนสูงได้ 121 องศาเซลเซียส และมีความดันประมาณ 15-18 ปอนด์/ตารางนิ้ว ใช้เวลาในการนึ่งประมาณ 2-3 ชั่วโมง
การปลูกเชื้อเห็ดลงถุง

เปิดจุกสำลีออกแล้วใช้เชื้อเห็ดในเมล็ดธัญพืชหยอดลงไปประมาณ 20 เมล็ด แล้วปิดด้วยกระดาษนำไปบ่มให้เส้นใยเห็ดเดินต่อไป ระยะเวลาการบ่มเส้นใย เห็ดนางรมและนางฟ้าภูฐาน จะใช้เวลาประมาณ
25-30 วัน ส่วนเห็ดนางฟ้าและเห็ดเป๋าฮื้อ จะใช้เวลา ประมาณ 45-50 วัน
การเปิดดอก

เมื่อเส้นใยเห็ดเดินเต็มถุงหรือใช้เวลาในการบ่มได้ที่แล้ว นำถุงก้อนเชื้อเห็ดเข้าในโรงเรือนเปิดดอกและดึงกระดาษที่ปิดหน้าถุงออก เพิ่มความชื้นภายในโรงเรือนให้ได้ ประมาณ 80-85% โดยการฉีดพ่นน้ำ เป็นละอองฝอย วันละ 2-3 ครั้ง จากนั้นประมาณ 7-10 วัน ดอกเห็ดก็จะเริ่มออกและเก็บได้ ก่อนเก็บผลผลิต ควรงดการให้น้ำเพราะเห็ดจะเปียกชื้นไม่เป็นที่ต้องการของตลาด


การเก็บเกี่ยว
ทำการดึงดอกเห็ดที่ออกจากหน้าถุงเมื่อโตเต็มที่อยู่ในระยะที่ยังไม่บาน สังเกตจากขอบดอกเห็ดยังงุ้มอยู่ โดยดึงดอกเห็ดให้หลุดออกจากถุงทั้งกลุ่มไม่ให้เหลือโคนติดที่ถุง เพราะจะทำให้หน้าถุงเน่าทำให้มีเชื้อราอื่นหรือมีแมลงหวี่เข้าทำลาย


อ้างอิง : อาจารย์ปรีชา รัตนัง มหาวิทยาลัยแม่โจ้
www.champa.kku.ac.th/somphong/doc/mush.htm -




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©