-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 213 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เห็ด6






เห็ดหลินจือ










หลินจือ เป็นคำเรียกทับศัพท์ภาษาจีน Ling Zhi หมายถึงเห็ด

หมื่นปีในภาษาอังกฤษเรียกว่า Lacquered mushroomและ

Holymushroomในประเทศไทยนั้นมีทั้งที่เรียกทับศัพท์ภาษาจีนว่า

หลินจือ ซึ่งแปลมาจากภาษาญี่ปุ่นว่า หมื่นปี หรือตั้งชื่อใหม่ว่าเห็ด

อมตะ เห็ดหลินจือเป็นยาจีน  (Chinese traditional medicine )ที่ใช้

กันมานานกว่า 2,000 ปี ตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เป็นต้นมา

เห็ดหลินจือเป็นของหายากมีคุณค่าสูงในทางสมุนไพรจีน และได้ถูก

บันทึกไว้ในคัมภีร์โบราณ“เสินหนงเปินเฉ่า” ซึ่งเป็นตำราเก่าแก่ที่สุด

ของจีนมีคนนับถือมากที่สุด ได้กล่าวไว้ว่า เห็ดหลินจือเป็น“เทพเจ้า

แห่งชีวิต”( Spiritual essence )มีพลังมหัศจรรย์บำรุงร่างกายใช้เป็น

ยาอายุวัฒนะในการยืดอายุออกไปให้ยืนยาว  ทำให้ผิวพรรณเปล่ง

ปลั่ง และยังสามารถรักษาโรคต่าง ๆ  ได้อย่างกว้างขวาง


4605586




      

                                  1                                                       2

http://www.surecothai.com/

http://www.matichon.co.th/youth/youth.php?tagsub=031105&tag950=03you20150839&show=1



        ชาวจีนโบราณต่างยกย่องเห็ดหลินจืออย่างเหนือชั้นว่าดีที่สุด

ในหมู่สมุนไพรจีนนอกจากนั้นยังปลอดภัยไม่มีพิษใด ๆต่อร่างกาย  

ในปี ค.ศ ๑๙๗๑ ได้มีการปลูกเห็ดชนิดนี้ในประเทศญี่ปุ่นและเป็นที่

ยอมรับกันแพร่หลายให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพชนิดหนึ่งที่ช่วย

บำรุงรักษาและส่งเสริมสุขภาพ 



4605586




 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

         จัดเป็นเห็ดที่มีอายุข้ามปี ดอกเห็ดเกิดเป็นดอกเดียว หรือเป็น

กลุ่มที่มีโคนติดกันกลุ่มละ  ๓-๔ ดอก ดอกเห็ดมีรูปร่างคล้ายพัด ซึ่ง

มีก้านหรือไม่มีก้าน  ดอกเห็ดที่มีก้าน ก้านจะเกิดอยู่กึ่งกลางหรือค่อน

ไปข้างใดของดอก  ผิวหมวกเห็ดมีลักษณะเป็นมันเงา  คล้ายทาด้วย

แชลแลคสีน้ำตาลแดง    อาจมีสีเหลืองหรือสีขาวบริเวณขอบหมวก
 
เนื้อเยื่อภายในดอกเห็ดเป็นเส้นใยสีน้ำตาล  และมีความหนาจากผิว

หมวกลงไปถึงรูเล็กๆ สีขาวหรือเหลืองอ่อน เมื่อเวลาแก่หรือจับต้อง 

จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม  ด้านใต้หมวกซึ่งเป็นรูเล็กๆ มีสีนวล เมื่อ

ดอกเห็ดพัฒนาสมบูรณ์แล้วจะสร้างสปอร์ปล่อยออกมาจำนวนมาก

มายร่วงหล่นออกมา     สปอร์ส่วนหนึ่งลอยขึ้นปกคลุมที่ผิวบนของ

หมวกเห็ดเป็นผงสีน้ำตาล  เมื่อแตะชิมดูจะมีรสขม  สปอร์สีน้ำตาล

รูปร่างรี ปลายด้านหนึ่งตัด ผนังหนามี 2  ชั้น ผนังชั้นนอกเรียบผนัง

ชั้นในยื่นคล้ายหนามไปชนผนังชั้นนอก ดอกเห็ดแก่ที่ขอบหมวกจะ

งุ้มลง  สีหมวกเข้มขึ้น  และอาจมีดอกใหม่งอกซ้อนกันได้  ในที่อับ

อากาศมีคาร์บอนไดออกไซด์สูง เห็ดจะมีก้านยาว แตกกิ่งคล้ายเขา

กวาง  แต่ไม่สร้างหมวก



4605586

 

แหล่งที่พบ

        ในธรรมชาติจะพบในป่าเขตอบอุ่น และเขตร้อนและมีผู้

พบว่าขึ้นกับต้นไม้บางชนิด  เช่น   คูน  ก้ามปูหางนกยูงฝรั่ง

ยางนา ยางพารา มักจะขึ้นกับตอไม้ที่ตายแล้ว  บางกรณีอาจ

เป็นพาราสิตของรากพืช



              

     รูปแสดงการเจริญบนต้นพืช ซึ่งอาจทำพืชตายได้
http://botit.botany.wisc.edu/toms_fungi/images/glucidum.jpg



4605586

การเพาะเห็ดหลินจือ

       หน่วยปฏิบัติการวิจัยเห็ด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทดลอง

นำหัวเชื้อเห็ดหลินจือเพาะลงถุงขี้เลื่อย    เช่นเดียวกับการเพาะเห็ด

โดยทั่วไป  โดยใช้ขี้เลื่อยยางพาราผสมรำยิบซั่ม  และดีเกลือ บ่มที่

อุณหภูมิธรรมชาติในช่วงฤดูฝนที่อากาศไม่ร้อนจัด  เส้นใยเจริญได้

ดี   เมื่อเส้นใยเต็มถุงแล้วต้องรอให้ก้อนเชื้อสมบูรณ์อีก  2  สัปดาห์ 

จึงทำการเปิดถุงออก   โดยดึงจุกสำลีออก แล้วให้ความชื้น  เห็ดจะ

เริ่มโผล่ส่วนก้านขึ้นมาในเวลา  7 - 10 วัน ดอกเห็ดเจริญเติบโตช้า 

ใช้เวลาอีกประมาณ 3 สัปดาห์ จึงพัฒนาเต็มที่  สร้างรูใต้หมวกและ

สร้างสปอร์  ลักษณะดอกที่เพาะจากถุง  ขึ้เลื่อยอาจมีรูปร่าง  และสี

ต่างจากที่ขึ้นในธรรมชาติเนื่องจากปัจจัยเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อม


          

                                รูปแสดงการเพาะเห็ดหลินจือ
        

http://www.reishirescue.com/index.cfm? fuseaction=ArticleList&SectionID=105


 


4605586

    

คุณประโยชน์เห็ดหลินจือ

1.  วินิจฉัยโรคได้ (Scanning)

2.  กำจัดพิษหรือชำระล้างสิ่งแปลกปลอมที่หมักหมม/สะสม/ตกค้าง

     ที่มีโอกาสทำอันตรายกับการทำงานของระบบของร่างกายได้

3.  ปรับร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุลย์ การไหลเวียนของเลือดลม

     และอุณหภูมิ

4.  ปรับสภาพร่างกายให้มีสุขภาพพลานามัย  แข็งแรง  และกระตุ้น

     ระบบการทำงานให้ปกติ โดยการเพิ่มออกซิเจนแก่อวัยวะต่างๆ

5.  สร้างภูมิต้านทานและชลอความแก่

6.  เพิ่มกระบวนการเปลี่ยนแปลงสารอาหารในร่างกาย ให้มี
    
    
ประสิทธิ ภาพมากยิ่งขึ้น









หลินจือ เป็นคำเรียกทับศัพท์ภาษาจีน Ling Zhi หมายถึงเห็ดหมื่นปี ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Lacquered mushroom และ Holy mushroom ส่วนในประเทศไทยนั้นมีทั้งที่เรียกทับศัพท์ภาษาจีนว่า หลินจือ ที่แปลมา จากภาษาญี่ปุ่นว่า หมื่นปี หรือตั้งชื่อใหม่ว่าเห็ดอมตะ เห็ดหลินจือเป็นเห็ดที่ชาวจีน มีความเชื่อถือว่ามีสรรพคุณทางยามา แต่โบราณนับพันปี ในปี ค.ศ ๑๙๗๑ ได้มีการปลูกเห็ดชนิดนี้ในประเทศญี่ปุ่น และเป็นที่ยอมรับกันแพร่หลาย ให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพชนิดหนึ่งที่ช่วยบำรุงรักษาและส่งเสริมสุขภาพ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เห็ดหลินจือ จัดเป็นเห็ดที่มีอายุข้ามปี ดอกเห็ดเกิดเป็นดอกเดียว หรือ เป็นกลุ่มที่มีโคนติดกันกลุ่มละ ๓-๔ ดอก ดอกเห็ดมีรูปร่างคล้ายพัด ซึ่งมีก้านหรือไม่มีก้าน ดอกเห็ดที่มีก้าน ก้านจะเกิดอยู่กึ่งกลางหรือค่อนไปข้างใด ข้างหนึ่งของดอก ผิวหมวกเห็ดมี ลักษณะเป็นมันเงา  คล้ายทาด้วยแชลแลคสีน้ำตาลแดงอาจมีสีเหลืองหรือสีขาวบริเวณขอบหมวก เนื้อเยื่อภายในดอกเห็ดเป็นเส้นใยสีน้ำตาลและมีความหนาจากผิวหมวกลงไปถึงรูเล็กๆ สีขาว หรือเหลืองอ่อน เมื่อเวลาแก่หรือจับต้อง จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม สปอร์มีสีน้ำตาลรูปวงรี ปลายบนมีผิวหน้าตัดผนังหมวกเป็น ๒ ชั้น และมีหนามที่มียอดแหลมชี้ไปที่ผนังชั้นนอกแต่ไม่ทะลุผิวนอก ผิวนอกของสปอร์เรียบ


จุดเริ่มต้นของหนังสือเรื่องเห็ดหลินจือกับการรักษาโรคเล่มนี้ มีแรงบันดาลใจมาจากความเชื่อของบรรพบุรุษ ที่ใช้เห็ดหลินจือเป็นยาอายุวัฒนะในการรักษาจากโรคร้ายต่างๆ มากมาย รวมถึงสมุนไพรไทย ซึ่งในบรรดาโรคร้ายๆ ที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ในสมัยนั้นก็น่าจะมี โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคตับ โรคภูมิแพ้ โรคไขมันในเส้นเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง และอีกหลายๆโรครวมอยู่ด้วย

สูตรอาหารสำหรับประเทศไทย มีดังนี้คือ

    ๑. ขี้เลื่อยไม้ยางพารา รำ และน้ำตาลทราย ในอัตราส่วน 100:3:2
    ๒. ขี้เลื่อยไม้ยางพารา รำ ยิบซั่ม ปูนขาวและดีเกลือในอัตราส่วน 100:5:0:2
    ๓. ขี้เลื่อยไม้ยางพารา รำ ยิบซั่ม ปูนขาวและดีเกลือในอัตราส่วน 100:5:1:0:2 (โดยน้ำหนักรวม)
    ๔. ขี้เลื่อยไม้เบญพรรณ ปูนขาว และแอมโมเนียมซัลเพต (๒๑-๐-๐) ในอัตราส่วน 100:1:2 ผสมกับน้ำ คลุกให้ทั่ว หมักนาน ๒ เดือน โดยกลับกองที่หมักนี้ทุกๆ ๑๕ วันหมักจนหมดกลิ่น ต่อจากนั้นนำขี้เลื่อยซึ่งหมักได้ที่แล้วมาผสมกับรำและน้ำตาลในอัตราส่วน 100:3:2



การเพาะเห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือเป็นเห็ดสมุนไพรที่ชาวจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และใต้หวันใช้รับประทานบำรุงสุขภาพมาช้านาน เห็ดชนิดนี้มีราคาค่อนข้างแพงและมีรสชาติขม การเพาะทำได้ไม่ยากโดยใช้ขี้เลื่อยผสมวัสดุต่างๆ ดังนี้ วิธีการและขั้นตอนดังต่อไปนี้


สูตรอาหาร

สูตร 1 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม รำ 1.5 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม น้ำ 60-65 เปอร์เซ็นต์
สูตร 2 ขี้เลื่อยไม้ฉำฉา 100 กิโลกรัม รำละเอียด 5 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม ยิบซั่ม 1 กิโลกรัม
น้ำ 60-65 กิโลกรัม
สูตร 3 ขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ 100 กิโลกรัม ปูนขาว 1 กิโลกรัม ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 2 กิโลกรัม
น้ำ 60-65 เปอร์เซ็นต์
สำหรับสูตร 3 ทำการหมักเป็นเวลา 2 เดือน กลับกองทุก 15 วัน ก่อนนำไปบรรจุถุง ผสมด้วยรำละเอียด 3 กิโลกรัม และน้ำตาลทราย 2 กิโลกรัม


สายพันธุ์
สัญลักษณ์ จี -2 เป็นสายพันธุ์ที่ผ่านการทดสอบแล้วว่าให้ผลผลิตได้ดี จากการเพาะตลอดทั้งปีที่ กทม.


อุปกรณ์
1. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 7x13 นิ้ว หรือ 6 1/2x 12 นิ้ว
2. คอพลาสิกสำหรับรูป ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว สูง 1 นิ้ว พร้อมที่ครอบปิด และมีฝาปิด (ซึ่งรองด้วยกระดาษอีกชั้นหนี่ง) หรือสำลี หรือฝาปิดแบบประหยัด
3. ยางรัด ตะเกียงแอลกอฮอล์
4. หัวเชื้อเห็ดในเมล็ดข้าวฟ่าง
5. โรงเรือนพร้อมชั้น สำหรับบ่มก้อนเชื้อ และเปิดดอก แยกกัน
6. อุปกรณ์ให้น้ำ เช่น บัวรดน้ำ สายยาง หัวพ่นฝอย
7. พลั่ว และหม้อนึ่งไม่อัดความดัน


วิธีการทำ

      1. ผสมขี้เลื่อย รำ ยิปซั่ม หรือปูนขาว เข้าด้วยกัน นำดีเกลือหรือน้ำตาล ตามสูตรละลายน้ำแล้วผสมกับขี้เลื่อยให้ทั่ว เติมน้ำลงไปให้เป็นฝอย
คลุกเคล้าให้เข้ากันดี ตรวจสอบให้มีความชื้นประมาณ 60-65 เปอร์เซ็นต์ โดยการบีบขี้เลื่อยผสมให้แน่นแล้วคลายมือออก ขี้เลื่อยผสมควรจับตัวกันอยู่ได้แต่ไม่ชื้นจนมีหยดน้ำไหลออกมาและไม่แห้งจนขี้เลื่อยผสมแตกร่วนเมื่อคลายมือ สำหรับสูตร 1 และ 2

      2. บรรจุขี้เลื่อยผสมในถุงพลาสติกทนร้อนประมาณ 900 กรัมต่อถุง แล้วอัดให้แน่นพอประมาณรวบปากถุง ใส่คอขวดพลาสติก ดึงปากถุงพับลง
รัดด้วยยางวง ทำช่องตรงกลางถุงอาหารเจาะด้วยไม้แหลมสวมฝาครอบสำเร็จรูปและฝาปิด (ซึ่งรองด้วยกระดาษ) หรือสำลีและปิดทับด้วยกระดาษหรือปิดด้วยจุกแบบประหยัด

     3. นำถุงอาหารซึ่งเตรียมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไปเรียงในหม้อนึ่งหรือถังนึ่ง ไม่อัดความดันแล้วนึ่งเป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือด โดยสังเกตจากไอน้ำที่พุ่งตรงจากรูที่เจาะไว้ที่ฝา แล้วทิ้งให้เย็น

     4. การหยอดหัวเชื้อเห็ด หัวเชื่อเห็ดนั้นจะต้องมีการเขย่าขวดเป็นระยะ และก่อนจะนำมาใช้ 1 คืน ควรจะเขย่าให้เมล็ดข้าวฟ่างกระจายออก ดึงจุกสำลีลนปากขวดหัวเชื้อที่เปลวไฟเทหัวเชื้อลงในถุงอาหารประมาณถุงละ 20-30 เมล็ด ปิดที่ครอบคอขวดไว้ตามเดิม การหยอดหัวเชื้อต้องทำในที่สะอาดและไม่มีลมพัดผ่าน

      5. การบ่มก้อนเชื้อ นำถุงที่ใส่หัวเชื้อเห็ดวางบนชั้น ในแนวตั้งหรือแนวนอน ก็ได้ในที่มืดจนเส้นใยเจริญเต็มถุง ใช้เวลาประมาณ 1-1 1/2 เดือน

      6. การเปิดดอก ดึงฝาครอบคอขวดออกแล้วนำก้อนเชื้อซึ่งเส้นใยเจริญเต็มถุงไปวางโรงเรือนสำหรับเปิดดอกโดยวางซ้อนกัน ให้น้ำวันละ 1-2 ครั้ง โดยรดน้ำไปตามบริเวณพื้นและรอบๆ โรงเรือนอย่าให้น้ำถูกดอกเห็ด หรือให้ถูกดอกเห็ดแต่อย่าให้เปียกมาก ในโรงเรือนต้องมีแสงสว่างและอากาศถ่ายเทได้ดีดอกเห็ดจะค่อยๆ เจริญใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ขึ้นกับสภาพอากาศจึงจะเจริญเต็มที่ การเก็บดอกให้สังเกตุบริเวณขอบของดอกจะเป็นสีน้ำตาลเช่นเดียวกันทั้งดอก แล้วทิ้งไว้ระยะหนึ่งจึงจะเก็บ การเก็บดอกเห็ดหลินจือต้องพยายามดึงดอกเห็ดให้หลุดออกกมาทั้งหมด ผลผลิตดอกเห็ดหลินจือจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมที่เพาะ โดยเฉลี่ยจะได้ผลผลิตประมาณ 50-100 กรัมต่อถุงขี้เลื่อยขนาด 900 กรัม

     7. การทำแห้ง ดอกเห็ดหลินจือนิยมเก็บไว้ในสภาพแห้ง เมื่อเก็บดอกเห็ดสดมาแล้วก็ตัดส่วนปลายก้านทิ้ง เล็กน้อย ล้างดอกเห็ดทิ้งให้สะเด็ดน้ำ
หรือไม่ต้องล้างน้ำ หั่นเป็นชิ้นบางๆ เมื่อหั่นเสร็จต้องรีบนำไปตากหรืออบแห้งทันที ไม่เช่นนั้นจะมีสีขาวๆ ออกมา จะทำให้มีสีขาวติดอยู่กับเห็ด ซึ่งทำให้เห็ดเสียราคาได้การทำแห้งก็โดยการตากแดดจัดๆ สัก 3 ครั้ง แล้วอบที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หรือใช้อบที่อุณหภูมิ
60-70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 ถึง 24 ชั่วโมง นำมาผึ่งให้เย็นแล้วเก็บใส่ถุงให้มิดชิด


หมายเหตุ

เห็ดในสกุลกาโนเดอมาบางชนิดเป็นศัตรูของพืช เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว และหมาก เป็นต้น จึงควรระมัดระวังในการเพาะเห็ดชนิดนี้ และก้อนเชื้อที่เหลือทิ้งจากการเพาะแล้วควรเผาทิ้ง อย่านำไปใส่เป็นปุ๋ยกับต้นไม้ทันที ต้องนำไปผ่านขบวนการหมักเสียก่อน


แหล่งที่มา

http://kanchanapisek.or.th/kp1/data/38/sm6.htm
http://www.boonmeeherb.com/ztzhi.htm
http://www.doae.go.th/library/html/detail/vegetable/hedlenjue_index.html
http://www.pantown.com/data/8541/content5/f3.gif












สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (3842 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©