-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 319 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เห็ด2





การุณย์ มะโนใจ

เพาะเห็ดหอม อาชีพสร้างรายได้ ที่เวียงป่าเป้า

เห็ดหอม เป็นเห็ดที่มีผู้นิยมบริโภคมาก มีรสชาติอร่อย สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด ปัจจุบันสามารถเพาะจากขี้เลื่อยได้แล้ว เห็ดหอมมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่นเรียกว่า ไชอิตาเกะ เกาหลีเรียกว่า โบโกะ จีนเรียกว่า เฮียโกะ ภูฏานเรียกว่า ชิชิ-ชามุ อังกฤษเรียกว่า Black Mushroom หรือ เห็ดดำ มีถิ่นกำเนิด ประเทศจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และไต้หวัน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ หมวกเห็ดหอมมีรูปทรงกลม ผิวมีขนรวมกันเป็นเกล็ดหยาบๆ สีขาวกระจายอยู่ทั่วไป ผิวหมวกด้านบนสีน้ำตาล น้ำตาลปนแดง หรือน้ำตาลเข้ม ครีบดอกเป็นแผ่นบางสีขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม ก้านดอกมีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน หากปล่อยไว้ให้ถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม โคนก้านดอกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีขาว เห็ดหอมเนื้อนุ่ม มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงได้ชื่อว่า เห็ดหอม ฤดูกาลเพาะสามารถเพาะได้ตลอดปีแต่จะให้ผลผลิตดีในช่วงฤดูหนาว แหล่งปลูกหรือเพาะมีมากทางภาคเหนือตอนบนแถบจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ภาคอีสานแถบจังหวัดเลยและสกลนคร การกิน เห็ดหอมที่นำมากิน มีทั้งเห็ดหอมสดและเห็ดหอมแห้ง หากเป็นเห็ดหอมแห้งจะต้องนำมาแช่น้ำก่อนปรุงอาหาร เช่น เห็ดหอมผัดน้ำมันหอย เห็ดหอมตุ๋น โจ๊กเห็ดหอม ใส่ในข้าวผัด และผัดผัก เป็นต้น สรรพคุณทางยา คนจีนใช้เห็ดหอมเป็นอายุวัฒนะ รักษาหวัดทำให้เลือดลมดี แก้โรคหัวใจ ป้องกันการเติบโตของเนื้อร้าย ต้านพิษงู ป้องกันโรคเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคมะเร็ง โรคร้ายจากเชื้อไวรัส ช่วยลดความดันโลหิต ผู้เป็นความดันโลหิตต่ำไม่ควรบริโภค เห็ดหอมมีกรดอะมิโนชื่อ eritadenine ช่วยให้ไตย่อยโคเลสเตอรอลได้ดี มีสารเลนติแนน (Lentinan) ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ ในระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพ ในการต่อสู้กับเซลล์เนื้องอก

คุณอัครพล อ่องเภา เจ้าของฟาร์มเพาะเห็ดหอม อ.รุ่งเรืองฟาร์ม ผู้เพาะเห็ดแห่งบ้านแม่ห่างเหนือ ตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เล่าให้ฟังว่า การเพาะเห็ดหอมในถุงพลาสติค ในสภาพธรรมชาติได้ประสบความสำเร็จมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 จนถึงปัจจุบันในการเพาะเห็ดหอมด้วยวิธีเพาะเลียนแบบธรรมชาติโดยไม่ต้องใช้ไม้ก่อ (ไม้ที่ควรสงวนและรักษา) โดยใช้หลักการที่ว่า เห็ดหอมสามารถย่อยเซลลูโลสและลิกนินได้ ขี้เลื่อยจึงเป็นวัสดุเพาะที่ใกล้เคียงที่สุด และช่วยแก้ไขปัญหาการนำไม้ก่อมาใช้เพาะเห็ดหอมได้อีกทางหนึ่ง

วัสดุอุปกรณ์ในการเพาะประกอบด้วยวัสดุเพาะ ที่ได้ผลดีคือ ขี้เลื่อยไม้มะขาม รองมาคือ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ขี้เลื่อยไม้กระถินณรงค์หรือขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณหมัก และวัสดุเสริม ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้ ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม รำข้าว 5 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 2 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม ยิปซัมครึ่งกิโลกรัม ผสมน้ำให้มีความชื้น 55-65% ถุงพลาสติคทนร้อน และอุปกรณ์การเพาะเห็ดในถุงพลาสติคหม้อนึ่งความดัน หรือถังนึ่งไม่อัดความดันพร้อมอุปกรณ์การให้ความร้อนในการนึ่งฆ่าเชื้อและโรงเรือน หรือสถานที่บ่มเส้นใยและให้ผลผลิต

วิธีการเพาะ ผสมวัสดุเพาะและวัสดุเสริมทั้งหมดให้เข้ากัน อย่าให้แห้งหรือแฉะ ให้วัสดุพอจับตัวกันได้ เมื่อบีบดูต้องไม่มีหยดน้ำ เมื่อคลายมือออก ส่วนผสมต้องไม่แตกร่อนออกอย่างรวดเร็ว บรรจุส่วนผสมลงในถุงพลาสติคทนร้อน อัดแน่นพอประมาณ ถุงละครึ่งกิโลกรัมถึง 1 กิโลกรัม ใส่คอขวดปิดจุกสำลี และปิดทับด้วยกระดาษหรือฝาครอบกันไอน้ำ แล้วนำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันเป็นเวลา 40 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ด้วยความดัน 15-20 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว (หรือใช้ถังนึ่งไม่อัดความดันก็ได้ผลดีพอควร โดยเริ่มจับเวลาตั้งแต่ไอน้ำเดือดพุ่งตรงสม่ำเสมอ เป็นเวลา 2-4 ชั่วโมง ต้องรักษาระดับไอน้ำไว้ตลอดเวลา ด้วยการปรับความร้อนให้มีอุณหภูมิภายในถังนึ่ง 85-100 องศาเซลเซียส ตลอดเวลา) แล้วทิ้งให้เย็น แกะกระดาษหรือฝาครอบออก เปิดจุกสำลีแล้วใส่เชื้อเห็ด (นิยมใช้หัวเชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่าง) ควรทำในบริเวณที่สะอาด ป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค แล้วนำไปบ่มเส้นใย การบ่มเส้นใย ระยะเวลาที่บ่มเส้นใย 3-4 เดือน ขึ้นกับน้ำหนักอาหารที่ใช้ หรือมีการสร้างตุ่มดอก ประมาณ 2/3 ของก้อนเชื้อ

ปัจจัยที่สำคัญและการดูแล คืออุณหภูมิการบ่มเส้นใยเห็ดหอมที่ดีที่สุด คือที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส การทำห้องหรือโรงเรือนที่ตั้งอยู่ใต้ร่มเงาไม้สำหรับบ่มเส้นใยอย่างง่าย เช่น ทำจากหญ้าคา จากฟาง ไม้ไผ่ ฯลฯ ก็ได้ และมีการให้น้ำภายนอกโรงเรือน หรือบริเวณพื้นโรงเรือนเป็นครั้งคราวเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส ความชื้นระยะบ่มเส้นใย ต้องการความชื้นในบรรยากาศในระดับปกติคือ ประมาณ 50% ไม่ต้องให้น้ำที่ถุงเห็ด ถ้ามีความจำเป็นต้องให้น้ำโรงเรือนต้องระวังมิให้น้ำถูกสำลีที่จุกปากถุง เพราะจะเป็นทางทำให้เกิดเชื้อโรคไปทำลายเชื้อเห็ดได้ ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมต่อการสร้างดอกเห็ดและการเจริญของดอกเห็ด อยู่ระหว่าง 80-90% และ 60-70% ตามลำดับ การผ่านลมเย็นในขณะดอกเห็ดเจริญ จะทำให้หมวกเห็ดแตก คล้ายกับดอกเห็ดหอมที่นำเข้าจากต่างประเทศ อากาศ การถ่ายเทอากาศที่ดีจำเป็นต่อการเจริญของดอกเห็ด และทำให้มีการสะสมเชื้อโรคน้อยลง ถ้ามีการสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากจะทำให้เห็ดมีก้านยาว บางครั้งหมวกเห็ดอาจจะไม่เจริญหรือมีลักษณะผิดปกติอื่นๆ แสงช่วยกระตุ้นให้เส้นใยเกิดตุ่มเห็ด สร้างแผ่นสีน้ำตาล และเจริญเป็นดอกเห็ดได้เร็วกว่าที่มืดและยังช่วยให้หมวกเห็ดมีสีเข้ม ไม่จางซีด การแช่น้ำเย็นหลังจากบ่มเส้นใยสมบูรณ์แล้ว ให้แช่ก้อนเชื้อในน้ำเย็น 2 ชั่วโมง หรือค้างคืนก็ได้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดดอก

การให้ผลผลิตโดยเปิดปากถุงให้ออกดอกทางด้านบนหรือเปลือยก้อนเชื้อโดยแกะถุงพลาสติคออกทั้งหมด ให้ก้อนเชื้อสัมผัสอากาศเป็นการกระตุ้นให้เกิดดอกเห็ด ถ้าต้องการเห็ดดอกใหญ่ก็เปิดให้มีการเกิดดอกเป็นบางส่วน การเปลือยก้อนเชื้อจะได้ดอกเห็ดจำนวนมากแต่ดอกจะเล็ก และอาจจะมีการปนเปื้อนจากเชื้อโรคหรือถูกกระทบจากสภาพแวดล้อมได้ง่าย ผลผลิตดอกเห็ดสดจะได้ 50-400 กรัม ต่อก้อนเชื้อครึ่งกิโลกรัม ถึง 1 กิโลกรัม ขึ้นกับความใส่ใจและเทคนิควิธีการของผู้เพาะเห็ด ราคาของเห็ดหอมเฉลี่ยจะอยู่ที่ 100 บาท ต่อกิโลกรัม ในรายนักเพาะเห็ดหอมมือใหม่ ก้อนเห็ดอาจให้ดอกประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่ไม่ออกดอกสามารถนำไปเพาะเห็ดอื่นๆ ได้ แต่ไม่สามารถนำมาเพาะเห็ดหอมซ้ำได้ คือการเพาะเห็ดหอมจะต้องใช้ขี้เลื่อยใหม่เท่านั้น

การเก็บผลผลิตและการทำแห้ง อย่างถูกวิธีในการเก็บผลผลิตนั้น ควรเก็บดอกเห็ดขณะที่หมวกเห็ดยังไม่บานเต็มที่ หรือขอบหมวกยังงุ้มอยู่ ซึ่งเป็นลักษณะที่ตลาดต้องการ และอย่าให้ส่วนของดอกเห็ดเหลือติดอยู่ที่ก้อนเชื้อ จะทำให้เน่าเสียและเกิดโรค ในขณะที่เก็บผลผลิตถ้ามีการให้น้ำที่ดอกเห็ดมากเกินไปจะทำให้ดอกเห็ดเน่าเสียง่าย ถ้าไม่มีการให้น้ำดอกเห็ดเมื่อเก็บดอกเห็ดแล้วใส่ถุงพลาสติคไว้ จะสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน 3-4 สัปดาห์ โดยจะต้องห่อด้วยผ้าชุบน้ำก่อนเก็บในตู้เย็น มิเช่นนั้นเห็ดจะมีเมือกสีดำเปรอะเปื้อนถุงบรรจุ ไม่สวยงาม เป็นที่รังเกียจของผู้บริโภค

การทำแห้งเห็ดหอม ทำได้ 2 วิธี การตากแห้งโดยตากแดด จนกว่าดอกเห็ดจะแห้งสนิท ควรหลีกเลี่ยงตากแดดจัดมากเกินไป เพราะจะทำให้ดอกเห็ดไหม้เกรียม และควรคว่ำดอกเห็ดให้ครีบอยู่ด้านใต้ เพื่อป้องกันครีบสีคล้ำ การตากแดดเป็นวิธีลดความชื้นในดอกเห็ดในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้ดอกเห็ดยุบตัวมาก เมื่อดอกเห็ดแห้งสนิทดีแล้ว เก็บในภาชนะที่กันความชื้น มิฉะนั้นอาจจะมีเชื้อราเกิดขึ้นได้ การอบแห้งใช้ลมร้อนค่อยๆ ลดความชื้นภายในดอกเห็ด ซึ่งจะได้เห็ดที่มีคุณภาพที่ดีกว่าเห็ดที่ตากแดด การอบใช้อุณหภูมิ เริ่มแรกประมาณ 30 องศาเซลเซียส จากนั้นเพิ่มอุณหภูมิขึ้นทีละ 1-2 องศาเซลเซียส ทุก 1 ชั่วโมง จนถึง 50 องศาเซลเซียส แล้วเพิ่มให้เป็น 60 องศาเซลเซียส และรักษาอุณหภูมิระดับนี้ไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อเพิ่มรสชาติ กลิ่น และทำให้ดอกเห็ดหอมมีลักษณะเป็นเงาสวยงาม

หากสนใจการเพาะเห็ดหอมสร้างรายได้ สอบถามจากคุณอัครพล อ่องเภ่า ที่บ้านเลขที่ 118 หมู่ที่ 10 บ้านแม่ห่างเหนือ ตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดพะเยา โทร. (053) 704-551



ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน






เห็ดหอม

การเพาะเห็ดหอมในถุงพลาสติก ประสบความสำเร็จมาตั้งแต่ พ.ศ 2521 โดยไม่ต้องใช้ท่อนไม้ก่อ(ไม้ที่ควรสงวนและรักษา) โดยใช้หลักการที่ว่า เห็ดหอมสามารถย่อยเซลลูโลสและลิกนินได้ ขี้เลื่อยจึงเป็นวัสดุเพาะที่ใกล้เคียงที่สุด และช่วยแก้ไขการนำไม้ก่อมาใช้เพาะเห็ดหอมอีกทางหนึ่ง                       
วัสดุอุปกรณ์
1. วัสดุเพาะ ที่ได้ผลดี คือ ขี้เลื่อยไม้มะขาม รองลงมาคือ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ขี้เลื่อยไม้กระถินณรงค์ หรือขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณหมัก และวัสดุเสริม ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้ ขี้เลื่อย 100 กก. , รำข้าว 5 กก. , น้ำตาลทราย 1 - 2 กก. , ดีเกลือ 0.2 กก , ยิปซั่ม 0.5 - 1 กก. , แคลเซี่ยม 0.5 กก. และผสมน้ำให้ความชื้น 55 - 65 %
2. ถุงพลาสติกทนร้อน และอุปกรณ์การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก
3. หม้อนึ่งความดัน หรือถังนึ่งไม่อัดความดันพร้อมอุปกรณ์การให้ความร้อนในการนึ่งฆ่าเชื้อ
4. โรงเรือน หรือสถานที่บ่มเส้นใยและให้ผลผลิต  
                    
วิธีการเพาะ
1. ผสมวัสดุเพาะและวัสดุเสริมทั้งหมดให้เข้ากันอย่าให้แห้งหรือแฉะ ให้วัสดุพอจับตัวกันได้ เมื่อบีบดูต้องไม่มีหยดน้ำ มือคลายมือออก ส่วนผสมต้องไม่แตกร่อนออกอย่างรวดเร็ว
2. บรรจุส่วนผสมลงในถุงพลาสติกทนร้อน อัดแน่นพอประมาณ ถุงละ 0.8 กก. - 1 กก.ใส่คอขวดปิดจุกลำลี และปิดทับด้วยกระดาษหรือฝาครอบกันไอน้ำ
3. แล้วนำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันเป็นเวลา 40 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ด้วยความดัน 15-20 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือใช้ถังนึ่งไม่อัดความดันก็ได้ผลดีพอควร โดยเริ่มจับเวลาตั้งแต่ไอน้ำเดือดพุ่งตรงสม่ำเสมอ เป็นเวลา 2-4 ชั่วโมง ต้องรักษาระดับไอน้ำไว้ตลอดเวลาด้วยการปรับความร้อนให้มีอุณหภูมิภายในถังนึ่ง 85-100 องศาเซลเซียสตลอดเวลาแล้วทิ้งให้เย็น
4. แกะกระดาษหรือฝาครอบออก เปิดจุกสำลีแล้วใส่เชื้อเห็ด (นิยมใช้หัวเชื้อจากเมล็ดข้าวฟ่าง) ควรทำในบริเวณที่สะอาด ป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค แล้วนำบ่มเส้นใย 
                       
การบ่มเส้นใย
ระยะเวลาที่บ่มเส้นใย 4-5 เดือน ขึ้นกับน้ำหนักอาหารที่ใช้ หรือมีการสร้างตุ่มดอกประมาณ 2/3 ของก้อนเชื้อ ปัจจัยที่สำคัญและการดูแลรักษา

1. อุณหภูมิ การบ่มเส้นใยเห็ดหอมที่ดีที่สุดคือที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส การทำห้องหรือโรงเรือนที่ตั้งอยู่ในร่มเงาไม้ สำหรับบ่มเส้นใยอย่างง่าย เช่น ทำจากหญ้าคา, จาก, ฟาง, ไม้ไผ่ ฯลฯ ก็ได้ และมีการให้น้ำภายนอกโรงเรือน หรือ บริเวณพื้นโรงเรือนเป็นครั้งคราว เมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส
2. ความชื้น ระยะบ่มเส้นใย ต้องการความชื้นในบรรยากาศในระดับปกติ คือ ประมาณ 50% ไม่ต้องให้น้ำที่ถุงเห็ด ถ้ามีความจำเป็นต้องให้น้ำโรงเรือนต้องระวังมิให้น้ำถูกสำลีที่จุกปากถุง เพราะจะเป็นทางทำให้เกิดเชื้อโรคไปทำลายเชื้อเห็ดได้ ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมต่อการสร้างดอกเห็ดและการเจริญของดอกเห็ด อยู่ระหว่าง 80-90% และ 60-70% ตามลำดับ การผ่านลมเย็นในขณะดอกเห็ดเจริญจะทำให้หมวกเห็ดแตก คล้ายกับดอกเห็ดหอมที่นำเข้าจากต่างประเทศ
3. อากาศ การถ่ายเทอากาศที่ดีจำเป็นต่อการเจริญของดอกเห็ด และทำให้มีการสะสมเชื้อโรคน้อยลง ถ้ามีการสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากจะทำให้เห็ดมีก้านยาว บางครั้งหมวกเห็ดอาจจะไม่เจริญหรือมี

ลักษณะผิดปกติอื่น ๆ
4. แสง ช่วยกระตุ้นให้เส้นใยเกิดตุ่มเห็ด สร้างแผ่นสีน้ำตาล และเจริญเป็นดอกเห็ดได้เร็วกว่าที่มืดและยังช่วยให้หมวกเห็ดมีสีเข้มไม่จางซีด 
                         
การกระตุ้นเห็ดหอมให้เกิดดอกเห็ด
1. เมื่อก้อนเชื้อมีอายุการพักบ่มนาน 120 วันแล้ว จากนั้นจึงทำการถอดกระดาษที่ปิดบนจุกสำลีออกพร้อมทั้งถอดคอขวดพลาสติกออก แล้วดึงปากถุงพลาสติกให้ชูขึ้น เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้หน้าก้อนเชื้อเห็ดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลให้มากที่สุด โดยจะใช้เวลาประมาณ 15-30 วัน
2. เมื่อตรวจดูก้อนเชื้อเห็ดพบว่าหน้าก้อนเชื้อได้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแล้ว ให้ทำการตัดปากถุงให้ได้เสมอไหล่ของก้อนออกทิ้งแล้วทำการกรีดด้านก้นถุงเพื่อระบายน้ำที่ขังอยู่ในก้อนเห็ด จำนวน 4 แผลโดยรอบทั้ง 4 มุม ยาวประมาณแผลละ 1 นิ้ว
3. ทำการรดน้ำในก้อนเห็ดให้ชุ่มมากที่สุดประมาณ 1 วัน ห่างกันครั้งละ 1-2 ชั่วโมง
4. วิธีการทำให้ก้อนเชื้อออกดอกสามารถทำได้โดย
4.1 แช่น้ำเย็น 10-15 oซ นาน 24 ชั่วโมง หรือ
4.2 ใช้กระสอบป่านชุบน้ำแล้วนำมาคลุกหน้าก้อนเห็ดประมาณ 24 ชั่วโมง หรือ
4.3 ทำการตบหน้าก้อนเชื้อเห็ดให้ได้รับความกระทบกระเทือนประมาณ 3 ครั้งด้วยแผ่นพลาสติกที่ความยืดหยุ่น หรือ
4.4 ทำการคว่ำหน้าเห็ดลงบนพื้นดินนาน 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นหงายหน้าก้อนเห็ดขึ้น
หมายเหตุ วิธีการกระตุ้นอาจใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งแล้วแต่ความสะดวก
5. หลังจากเลือกใช้วิธีกระตุ้นแต่ละวิธีแล้ว ควรทำการรดน้ำที่หน้าก้อนเชื้อให้ชุ่ม หลังจากนั้นอีกประมาณ 2-3 วัน จะเริ่มมีตุ่มดอกเห็ดเกิดขึ้นและพัฒนาการจนเป็นดอกเห็ดสามารถเก็บเกี่ยวได้โดยใช้ระยะเวลา 4-5 วัน โดยสังเกตจากเนื้อเยื่อของหมวกดอก เริ่มขาดจากก้านเห็ดประมาณ 20-50 เปอร์เซ็นต์ จึงทำการเก็บเกี่ยวดอกเห็ด ซึ่งเป็นระยะที่เห็ดมีคุณภาพที่สุด
6. หลังจากเก็บผลผลิตรุ่นแรกเสร็จแล้ว ทำการพักก้อนเชื้อเห็ดนาน 15-30 วัน จึงทำการกระตุ้นในรุ่นต่อไป โดยทำตามขั้นตอนที่กล่าวข้างต้น เห็ดหอมแต่ละก้อนจะเก็บได้ประมาณ 6 รุ่น และอาจเก็บผลผลิตดอกเห็ดหอมได้ 150-200 กรัมต่อก้อน ตั้งแต่ดอกแรกจนถึงดอกสุดท้าย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ การปฏิบัติดูแลรักษาและสภาพแวดล้อมที่ก้อนเชื้อเห็ดได้รับในขณะนั้น                        

การเก็บเกี่ยวผลผลิต
หลังจากการกระตุ้นเห็ดแล้วประมาณ 5-7 วัน ก็จะเริ่มทำการเก็บดอกเห็ดหอมได้ โดยต้องเก็บดอกเห็ดในลักษณะยังตูมอยู่คือขอบหมวกเห็ดแยกออกจากก้านประมาณ
20-50 เปอร์เซ็นต์ จับดอกเห็ดโยกไปมาแล้วหมุนจนดอกเห็ดหลุดจากหน้าก้อนเห็ด จากนั้นนำดอกเห็ดที่เก็บได้ไปตัดแต่งตัดโคนทิ้ง ให้ก้านเห็ดยาวติดกับดอกประมาณ 2.5 ซม. แล้วนำไปคัดขนาดต่อไป


อ้างอิง : อาจารย์ปรีชา รัตนัง มหาวิทยาลัยแม่โจ้
   


 www.champa.kku.ac.th/somphong/doc/mush.htm -







  • [ขอบคุณแหล่งข้อมูล:กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์]
เห็ดนางรม-ฮังการี

ธรรมชาติของเห็ดนางรม
เห็ดนางรมในธรรมชาติจะเจริญบนไม้ที่มีชีวิต  และเมื่อต้นไม้ตายเห็ดนางรมก็สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้อีก  เห็ดนางรมจะเป็นเห็ดที่เจริญเติบโตได้ดี ในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดเล็กน้อย  หรือมี pH 6.5-6.8 ฉะนั้น ในการผสมขี้เลื่อยหรือวัสดุที่ใช้ เพาะจึงไม่จำเป็นต้องใส่ปูนขาวลงไป อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ของเส้นใยเห็ดนางรมประมาณ 30-32 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิที่เหมาะต่อการออกดอกของเห็ดประมาณ 25 องศาเซลเซียส

ส่วนประกอบของเห็ดนางรม
หมวกดอกมีลักษณะคล้ายหอยนางรม
หมวกดอกมีลักษณะแบนราบไม่เหมือนเห็ดฟาง กลางหมวกดอกมีลักษณะเป็นแอ่ง
หมวกดอกอาจมีสีขาวหรือสีเทาก็ได้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
และลักษณะของหมวกดอกอาจเป็นเนื้อเดียวกับก้านดอก ก้านดอก
เป็นส่วนที่ใช้ชูดอกขึ้นไปในอากาศ ก้านดอกค่อนข้างจะสั้น
และเจริญเข้าหาแสงสว่าง ครีบดอก มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆสีขาวหรือสีเทา
ที่บริเวณครีบดอกเป็นแหล่งสร้างสปอร์

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ดนางรม

1.แสงสว่าง มีผลต่อการพัฒนาและเจริญเติบโตของดอกเห็ดมากเพราะแสงจะช่วยกระตุ้นในการรวมตัวของเส้น ใยและการพัฒนาเป็นดอกเห็ดที่สมบูรณ์ ถ้าได้รับแสงน้อยจะทำให้หมวกดอกมีขนาดเล็กลงและก้านดอกยาวขึ้นและถ้าแสงน้อยมากๆจะทำให้ดอกเห็ดมีลักษณะผิดปกติไปดังนั้นในการเพาะเห็ดนางรมควรให้เห็ดได้รับแสงอย่างน้อย 15-20 นาทีต่อวัน


2. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามปกติจะมีผลในการเร่งการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดนางรมแต่ในระยะที่เห็ดพัฒนาเป็นดอก 
ถ้ามีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงก็จะทำให้ดอกเห็ดผิดปกติได้ดังนั้นควรทำให้โรงเรือนมีอากาศถ่ายเทได้บ้าง


3. ความชื้นของอากาศมีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ดนางรมอย่างมากโดยเฉพาะ ระยะเปิดดอกเห็ดนางรมต้องการความชื้นค่อนข้างสูงประมาณ 70-80 %จึงควรรดน้ำ 2-3 ครั้งต่อวัน


4. อุณหภูมิ อุณหภูมิมีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของเห็ดนางรมอย่างมากเห็ดนางรมจะให้ผลผลิตสูงในช่วงอุณหภูมิ 24-33 องศาเซลเซียสจากการศึกษาพบว่าถ้าก้อนเชื้อได้ผ่านอุณหภูมิต่ำประมาณ 20 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 18-21 วัน ก่อนนำมาเปิดดอกที่อุณหภูมิ 26-30 องศาเซลเซียสจะช่วยเพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี



การผลิตก้อนเชื้อเห็ดนางรม

ในการเพาะเห็ดนางรมในถุงพลาสติกนั้น ผู้ผลิตสามารถนำเอาวัสดุเหลือ ใช้ในท้องถิ่นมาใช้ในการเพาะเห็ดได้ เช่น  ฟางข้าวสับ ซังข้าวโพด ขี้เลื่อยไม้ยางพารา เป็นต้น โดยทั่วไปนิยมใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราเป็นวัสดุเพาะ เพราะสามารถหาได้ง่าย  สะดวกในการบรรจุ และสามารถนำมาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการหมัก  สำหรับสูตรอาหารที่ใช้ในการเพาะเห็ดนางรมนั้นมีหลายสูตร คือ


สูตร 1
ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม รำละเอียด 5 กิโลกรัม น้ำสะอาด 65-70 %

สูตร 2
ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม รำละเอียด 3-5 กิโลกรัม แป้งข้าวเจ้าหรือน้ำตาลทราย 3-5 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.5 กิโลกรัม น้ำสะอาด 65-70 %

สูตร 3
ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 ส่วนโดยปริมาตร รำละเอียด 8 ส่วนโดยปริมาตร แป้งข้าวเจ้าหรือน้ำตาลทราย 2-3 ส่วนโดยปริมาตร กากถั่ว 2 ส่วนโดยปริมาตร หินปูน 2-3 ส่วนโดยปริมาตร น้ำสะอาด 70-75 %

หมายเหตุ
ในการเลือกใช้สูตรต่างๆนั้นต้องคำนึงถึงต้นทุนในการผลิตด้วย การเพิ่มปริมาณของอาหารเสริมมากๆนั้น ถึงแม้จะเป็นการเพิ่มผลผลิตก็ตาม แต่โอกาสที่ก้อนเชื้อจะเสียหายหรือ ถูกทำลายจากจุลินทรีย์ชนิดอื่นก็มีมากเช่นกัน


ขั้นตอนการเตรียมก้อนเชื้อ

1. นำส่วนผสมต่างๆมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน

2. เติมน้ำลงไปผสม ควรผสมให้ความชื้นกระจายให้ทั่วสม่ำเสมอ ทดสอบให้ได้ความชื้นประมาณ 65-75 % โดยใช้มือกำส่วนผสมขึ้นมาแล้วบีบดู ถ้ามีน้ำซึมออกมาแสดงว่าชื้นเกินไปให้เติมขี้เลื่อยลงไป  ถ้าไม่มีน้ำซึมออกมาให้แบมือออก ส่วนผสมจะจับกันเป็นก้อนและแตกออก 2-3 ส่วนแสดงว่าใช้ได้

3. บรรจุใส่ถุงพลาสติกทนร้อนที่ใช้เพาะเห็ด ถุงละประมาณ 8-10 ขีด อัดให้แน่นพอประมาณใส่คอขวดพลาสติก หุ้มด้วยสำลีและกระดาษ

4. นำไปนึ่งด้วยหม้อนึ่งลูกทุ่งที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส (น้ำเดือด)นาน 3-4 ชั่วโมง

5. หลังจากนึ่งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วใส่เชื้อลงไป นำก้อนเชื้อไปบ่มในที่มืดและอุณหภูมิสูงประมาณ 28-35 องศาเซลเซียส เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของเส้นใย เส้นใยเห็ดจะเจริญเต็มถุงประมาณ 3-4 สัปดาห์

6. เมื่อเส้นใยเดินเต็มถุงแล้วให้พักก้อนเชื้อระยะหนึ่ง เพื่อให้เส้นใยสะสมอาหารและพร้อมจะ เจริญเป็นดอกเห็ดแล้วนำไปเปิดดอกในโรงเรือนต่อไป ดูรายละเอียด
การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก


การเปิดถุงก้อนเชื้อเห็ดนางรม   ทำได้ 4 วิธี คือ

1. การเปิดปากถุงโดยการม้วนปากถุงลง โดยการดึงคอขวดออก พร้อมกับม้วนปากถุงลงไปจนถึงก้อนเชื้อ แล้วนำไปวางบนชั้นภายในโรงเรือน ข้อเสียของการเปิดถุงโดยวิธีนี้คือ โอกาสที่น้ำจะขังในถุงและทำให้ก้อนเชื้อเสียมีมาก

2. การเปิดปากถุงโดยใช้มีดปาดปากถุงบริเวณคอขวดออก แล้วนำไปวางบนชั้นเพาะเห็ด วิธีนี้มีข้อเสียคล้ายกับวิธีแรก

3. การกรีดปากถุงโดยใช้มีดคมๆ กรีดข้างถุงเป็น 4 แนว แล้วนำไปวางตั้งหรือแขวนในแนวตั้ง ข้อเสีย คือ เปลืองเนื้อที่ในการวางก้อนเชื้อ

4. ดึงจุกสำลีออกแล้วนำก้อนเชื้อมาวางเรียงซ้อนกันภายในโรงเรือน ให้เห็ดเจริญออกมาทางปากถุงทางเดียว เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากเพราะประหยัดเนื้อที่ภายในโรงเรือนและน้ำไม่ขังในก้อนเชื้อ ดูรายละเอียด


การเปิดดอกเห็ดนางรม-ฮังการี

ปัญหาที่พบในการเพาะเห็ดนางรม


1. เส้นใยไม่เดินลงถุงก้อนขี้เลื่อย ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุ คือ
-หัวเชื้อเห็ดเป็นเชื้ออ่อน หรือเชื้อเห็ดนั้นผ่านการแต่งเชื้อมาหลายครั้งแล้ว ทำให้เส้นใยอ่อนแอ
- หัวเชื้อเห็ดมีเชื้อจุลินทรีย์อื่นปลอมปน และเจริญแข่งกับเส้นใยเห็ด
- วัสดุที่ใช้เพาะมีสารเคมีที่เป็น อันตรายต่อเห็ดโดยเฉพาะยาฆ่าเชื้อรา ผู้เพาะควรเลือกวัสดุเพาะที่ปราศจาสารเคมีดังกล่าว
- สภาพความเป็นกรด-ด่าง(pH) ควรปรับให้อยู่ระหว่าง 6.5-6.8 จะช่วยให้เส้นใยเห็ดนางรมเจริญดีขึ้น
- ส่วนผสมมีความชื้นมากเกินไป ทำให้เส้นใยเห็ดชะงักการเจริญเติบโต ในขณะที่สภาพดังกล่าวจะเหมาะต่อการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย

2. เส้นใยเดินบางมาก และเมื่อนำไปเพาะจะไม่ค่อยเกิดดอกหรือให้ผลผลิตน้อยมาก อาจมีสาเหตุจาก
- วัสดุที่ใช้เพาะสลายตัวเกือบหมดแล้ว ทำให้อาหารเหลืออยู่น้อย ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของเส้นใย หรือใส่อาหารเสริมน้อยเกินไป ดังนั้นจึงควรใส่อาหารเสริมในอัตราส่วนที่เหมาะสม
- การนึ่งฆ่าเชื้อไม่ดีพอ ทำให้จุลินทรีย์อื่นๆเจริญเติบโตแข่งกับเห็ดได้ ดังนั้นการนึ่งก้อนเชื้อควรใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือด

3. เส้นใยเห็ดเดินแล้วหยุด อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
- ถุงก้อนเชื้อมีความชื้นมากเกินไป ทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญได้ดี แล้วเชื้อเห็ดไม่สามารถเจริญเติบโตได้
- เชื้อเห็ดอ่อนแอ เมื่อเจริญได้ระยะหนึ่งแล้วก็ชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้นควรเลือกเชื้อที่แข็งแรง

4. เห็ดออกดอกช้าหลังจากเปิดถุงแล้ว อาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
- เกิดจากการเปิดปากถุงเร็วเกินไป หลังจากเส้นใยเดินเต็มแล้ว ควรปล่อยให้เส้นใยรัดตัวและมีการสะสมอาหารก่อนเปิดถุงประมาณ 8-10 วัน
- การถ่ายเทอากาศในโรงเรือนไม่ดี ทำให้มีการสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง

- อุณหภูมิภายในโรงเรือนสูงหรือต่ำเกินไปหรือความชื้นไม่เพียงพอทำให้การพัฒนาของเส้นใยไปเป็นดอกเห็ดช้า

5. ดอกเห็ดไม่พัฒนาเจริญเป็นดอกเห็ด ในการเพาะเห็ดบางครั้งมีดอกเห็ด เจริญเป็นดอกเล็กๆบนก้อนเชื้อเต็มไปหมด ดอกเห็ดพวกนี้มีขนาดเล็กและไม่เจริญ ต่อไปแต่ดอกเห็ดจะเหี่ยวและแห้งตายในที่สุดเกิดจาก
- หัวเชื้อเห็ดอ่อนแอทำให้ดอกเห็ดไม่สมบูรณ์
-การเปิดปากถุงกว้างเกินไปทำให้เส้นใยเจริญไปเป็น ดอกเห็ดจำนวนมากและ อาหารภายในก้อนเชื้อไม่เพียงพอ ทำให้ดอกที่งอกออกมาแคระแกร็น และแห้งดังนั้นการเปิดปากถุงไม่ควรเปิดกว้างมากนัก
- ความชื้นไม่เพียงพอทำให้ดอกที่กำลังเติบโตแห้งได้

- รดน้ำมากเกินไป และรดไม่ถูกวิธี ทำให้น้ำขังในถุงพลาสติก ทำให้เห็ดภายในถุงพลาสติกเน่าเสียได้
- เชื้อจุลินทรีย์เข้าทำลายก้อนเชื้อหลังเปิดถุง เนื่องจากโรงเรือนสกปรก
- อาจมีแมลงเข้าไปกัดและทำลายก้อนเชื้อ




http://www.khaomak.com/i/articles.php?article_id=7






ฮังการี เห็ดดีที่น่าปลูก [C]

เห็ดฮังการีออกดอกได้ดีแม้อากาสร้อน หรือเย็น
      
หากย้อนหลังไปเมื่อซัก 10 ปี ผู้เพาะเห็ดอาจยังไม่คุ้นกับ เห็ดนางรมที่มีชื่อว่าฮังการีซักเท่าใด เพราะไม่ด่อยได้มีนักวิชาการโปรโมต เหมือนเห็ดนางฟ้าภูฐาน  แต่ด้วยข้อเสีย ข้อจำกัดของเห็ดนางฟ้าภูฐาน และเห็ดตระกูลนางรม-นางฟ้า สายพันธุ์อื่นๆ ที่มักเฉพาะเจาะจงกับสภาพอากาศเกินไป เช่น บางพันธุ์ออกดอกดีในฤดูร้อน  ส่วนบางพันธุ์ชอบฝน  ในขณะที่บางพันธุ์ชอบหนาว ทำให้เกษตรกรต้องเดือดจัดหาเชื้อพันธุ์เห็ดมาเปลี่ยนเพาะ  บางทีไม่ทันเปลี่ยนพันธุ์เห็ดเกิดสภาพอากาสเปลี่ยนแปลงกระทันหัน เช่น ฝน เป็น หนาวจัดทันที ใน 1-2 วัน ก็ทำให้เห็ดที่เพาะไว้ เป็นหมื่นๆ ก้อนไม่ออกดอกเอาดื้อๆ  เกษตรกรหลายฟาร์มจึงแสวงหาพันธุ์เห็ดที่สามารถเพาะได้ตลอดทั้งปี และเห็ดนางรมฮังการีก็เป็นเห็ดพันธุ์ดีที่เกษตรกรบอกต่อ ด้วยคุณสมบัติที่ดีหลายประการ ได้แก่       

1.ทนหนาว (มีสายพันธุ์เดิมมาจากประเทสฮังการีซึ่งเป็นเมืองหนาว) ในขณะที่เห็ดชนิดอื่นๆพักตัว แต่เห็ดฮังการีก็สามารถออกดอกได้ดี และมีสีสวยที่สุดในฤดูนี้ คือมีสีออกน้ำเงิน (จริงๆ)        

2.ในฤดูร้อนในขณะที่เห็ดอื่นๆ มีปัญหาเรื่องใบเห็ดม้วนงอ อันเนื่องมาจากการรบกวนของแมลงหวี่ แต่ดอกเห็ดฮังการรี่ก็ยังให้ดอกสวย เพราะใบดอกเล็กจึงไม่หงิกงอ ใบดอกไม่แห้ง และมีนำหนักดีกว่าดอกเห็ดอื่นๆ       

3.ในฤดูฝน เป็นช่วงเวลาที่เห็ดอื่นๆออกดอกได้ดี ฮังการีก็ยังออกดอกได้ดี พวงใหญ่เป็นพิเศษ สีขาวบริสุทธิ์ เพียงแต่ต้องลดการรดนำไม่ให้ดอกชื้นเกินไปเพราะเน่าง่าย       

4.ลักษณะที่ดีของพวงดอกเห็ดฮังการรีที่ใหญ่ หนึ่งพวงมีมากกว่า 20-30 ดอก ดอกเห็ดแน่น รสชาดหวานเหมือนกินยอดผัก กรอบ  นำหนักดี เริ่มเป็นที่นิยมของผู้บริโภคมากขึ้น เก็บในตู้เย็นได้นานเช่นเดียวกับเห็ดนางฟ้า ทนต่อการขนส่งเพราะเหนียว ไม่ช้ำง่าย(เมื่อช้ำใบดอกจะไม่เปลี่ยนเป็นสีนำตาล)        

5.เส้นใยเจริญเติบโตไว้ เพียง 25-30 วัน ในก้อนเชื้อเห็ด และพักรอเส้นใยรัดตัว เพียง 5-6 วัน ก็สามารถเปิดดอกได้        

หากเกษตรกรมือใหม่ ที่ริเริ่มทำฟาร์มเพาะเห็ด หรือแม้แต่เกษตรกรที่ต้องการลดความเสี่ยงจากการเพาะเห็ดตระกูลนางฟ้า-นางรม ขอแนะนำให้เริ่มต้นที่เห็ดนางรมสายพันธุ์ ฮังการีนี้ดีที่สุด



http://gotoknow.org/blog/tavichai-farm/265155









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (2264 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©