-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 579 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชพลังงาน7








หญ้าหวาน (วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน)
หญ้าหวานมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Eupatorium rebaudianum อยู่วงศ์ Compositae ตระกูล Stevia ชนิด Rebaudiana หญ้าหวาน เป็นชื่อสามัญที่มีชื่อเรียกต่างๆ กันได้แก่ หญ้าหวาน ( yaa waan ) , สตีเวีย , ใบไม้แห่งปารากวัย ( Sweet leaf of Paraguay ), คาฮีอี (Ca-he-ee ), กาฮี ( Kaa-jhee), คาอายูปิ(ca -a-yupi) , อาซูคาคา (azucacaa ) , อีราคา (eira-caa ), คาปิม โดซ (capim doce), เออร์วา โดซ (erva doce ), สมุนไพรหวาน, น้ำผึ้งเยอร์บา (honey yerba), ใบน้ำผึ้ง (honey leaf ) , ใบลูกกวาด (candy leaf )

หญ้าหวาน เป็นไม้ล้มลุกอายุประมาณ 3 ปี ทรงพุ่มเตี้ย สูง 20-90 เซนติเมตร ใบเป็นใบเดี่ยว รูปใบแบบหอกกลับ มีรสหวาน ดอกสีขาว ใบหญ้าหวานแห้งจะมีรสหวานกว่าน้ำตาลทราย 15 เท่า สารสกัดจากหญ้าหวานมีความหวานกว่าน้ำตาลทราย 300 เท่า หญ้าหวานชอบอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 20 - 26 องศาเซลเซียส และเจริญ เติบโตได้ดีบนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 400 เมตรขึ้นไป ดินที่เหมาะสมควรเป็นดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ขยายพันธุ์โดยการปักชำและการเพาะเมล็ด เป็นพืชที่ต้องดูแลสูงทั้งการให้น้ำและใส่ปุ๋ยบำรุงดิน เมื่ออายุ 1 ปีจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ 6 - 10 ครั้งต่อปี ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมคือเดือนธันวาคมถึงมกราคม

แหล่งกำเนิด หญ้าหวานเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ แถบเทือกเขาพรมแดนประเทศปารากวัยและบราซิล ซึ่งในปีพ.ศ.2518 ชาวญี่ปุ่นนำมาปลูกครั้งแรกในประเทศไทยที่จังหวัดสงขลา แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะฝนตกชุกเกินไป จึงย้ายมาปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา ซึ่งปลูกได้ผลดีที่สุดที่จังหวัดน่าน ในปัจจุบันจังหวัดที่เริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกหญ้าหวานเพื่อการส่งออกและนำมาบริโภคเป็นชาคือ เชียงใหม่ จังหวัดเดียวเท่านั้น การเก็บใบหญ้าหวานจะตัดกิ่งแล้วรูดใบออก จากนั้นจึงนำใบไปตากแดด 2-3 วันหรือใส่ตู้อบอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสนาน 12 ชั่วโมง จะได้ใบหญ้าหวานสีเขียวสวย เก็บใส่ภาชนะพร้อมจำหน่าย

สารสกัดจากหญ้าหวานมีความหวานกว่าน้ำตาลทราย 300 เท่า ไม่ให้พลังงาน มีสารประกอบพวกไกลโคไซด์ (Glycosides) อยู่ 88 ชนิด และมีสารให้ความหวานอยู่ 8 ชนิด ได้แก่ Stevioside Steviobioside Rebaudioside A,B,C,D,E และ Dulcoside A ใบของหญ้าหวานมีสารสตีวิโอไซด์ (Stevioside) มากสุดประมาณ 3 - 8 % ของน้ำหนักแห้งของใบหญ้าหวาน ลักษณะเป็นผลึกแข็งสีขาวขนาดเล็กมีสูตรทางเคมี คือ C38 H60 O18 ประกอบด้วย sucrose sophorose และ steviol ในสภาพอัดตัวกันแน่น และไม่แตกตัวออกจากกันในสภาวะธรรมชาติ มีน้ำหนักโมเลกุล 804.9 มีคุณสมบัติดูดความชื้นจุดหลอมเหลว 198 องศาเซลเซียส สามารถละลายได้ในน้ำแอลกอฮอล์ และตัวทำละลายอื่นๆ

สารสกัดจากหญ้าหวานมีความหวานกว่าน้ำตาลทราย แต่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร รับประทานได้ประมาณ 0.92 กรัม/คน/วัน ซึ่งนับว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย ชาวญี่ปุ่นบริโภคสารสกัดจากหญ้าหวานไม่ต่ำกว่า 1,000 ตันต่อปี โดยไม่มีรายงานพบว่าผู้บริโภคได้รับพิษภัยจากการบริโภคสารสกัดจากหญ้าหวานแต่อย่างไร มีการนำสารสกัดจากหญ้าหวานผสมกับผักดอง ซีอิ้ว เต้าเจี้ยว และเครื่องดื่ม เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม เป็นต้น

การศึกษาเบื้องต้นในประเทศปรากวัยและบราซิลพบว่า การบริโภคสารสกัดหญ้าหวานเพียง 6 - 8 ชั่วโมง สามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานได้ถึง 35% ในประเทศจีนได้ใช้หญ้าหวานเป็นสมุนไพรเพื่อกระตุ้นความอยากในการบริโภคอาหาร ช่วยในการย่อยอาหาร และช่วยในเรื่องการควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย สำหรับประเทศไทยมีประกาศกระทรวงสาธารสุข เรื่องสารสกัดจากหญ้าหวานเป็นผลิตภัณฑ์ควบคุมสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและในวงการแพทย์สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตามสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้นำข้อมูลต่างๆทุกด้านที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ รวมถึงความแตกต่างกับสารให้ความหวานอื่นๆ ที่มีการพิจารณาอนุญาตไปแล้วมาพิจารณาอีกครั้ง เพื่อให้เกิดผลในการบังคับใช้อย่างกว้างขวางขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อประเทศทั้งในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการค้าต่อไป

นายสยาม สินสวัสดิ์ ฝ่ายวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

www.naewna.com/news.asp?ID=217833 -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (2161 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©