-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 448 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชพลังงาน3








สบู่ดำ พืชพลังงานทดแทนในอนาคต


จากการเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมันในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจปัจจุบัน ก่อให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องพลังงานทดแทนในประเทศไทย ซึ่งแหล่งพลังงานที่กำลังได้รับความสนใจมากที่สุดในขณะนี้คือ น้ำมันไบโอดีเซลจากพืชพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงที่ใกล้เคียงกับน้ำมันไบโอดีเซล แต่ผลิตจากพืชซึ่งมีองค์ประกอบทางน้ำมันสูง เช่น สบู่ดำ ปาล์มน้ำมัน และทานตะวัน พืชต่างๆเหล่านี้สามารถนำมาใช้แทนน้ำมันดีเซลและเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมากถ้าเทียบกับน้ำมันดีเซลที่ใช้กันในปัจจุบัน โดยพืช ที่ได้รับความนิยมและกำลังทดลองทำอยู่ในตอนนี้ก็คือ สบู่ นั้นเอง

สบู่ดำ" พืชพลังงานทดแทนน้ำมันดีเซล ซึ่งเรียกได้ว่าประเทศแทบทุกมุมโลกต่างก็พยายาม ที่จะหามาชดเชยพลังงานปิโตรเลียมที่นับวันจะร่อยหรอและหมดไป ไทยเราก็เช่นกันต่างก็หาวิธีทำการวิจัยและได้ทดลองหาพืช ที่มีศักยภาพที่จะให้ผลิตผลออกมาเป็นพลังงานทดแทนได้ ทั้งในรูปแบบของงานอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจแบบพอเพียง   ซึ่งล่าสุดนี้ทาง ปตท. ก็ได้ร่วมจับกับ ม.เกษตร ทำการวิจัยเพิ่มผลผลิตสบู่ดำ เพื่อช่วยลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ เนื่องจากว่า สบู่ดำ เป็นพืชที่ไม่ใช่อาหารและเป็นวัตถุดิบที่มีศักยภาพในการนำ มาผลิตเป็นไบโอดีเซล ที่สามารถทดแทนพลังงานได้ในอนาคต อันใกล้


นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จักการใหญ่ปตท
.กล่าวว่า ปตท.ตระหนักถึงภารกิจในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติ นอกจากได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค แล้วยัง มุ่งพัฒนา พลังงานทางเลือก เพื่อสนองแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ช่วยเกษตรกร และสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ รวมทั้งช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประเทศและประชาชน ซึ่งล่าสุดนี้ทางปตท.ก็ได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิจัยและพัฒนาเพิ่มผลผลิตของต้นสบู่ดำ เพื่อเป็นพลังงานทดแทนในอนาคต โดยปตท. ได้มอบทุนในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ประมาณ 60 ล้านบาท ในระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี


สบู่ดำ เป็นพืชน้ำมันชนิดหนึ่ง ซึ่งน้ำมันที่ได้จากเมล็ดสบู่ดำนั้น สามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่เกษตรกรใช้อยู่ได้ โดยไม่ต้องใช้น้ำมันชนิดอื่นผสมอีก ใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค ใช้ปลูกเป็นแนวรั้ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเข้าทำลายผลผลิต เนื่องจากมีสารพิษ
Hydrocyanic มีกลิ่นเหม็นเขียว สบู่ดำจึงเป็นพืชที่น่าให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งในสภาวะที่ราคาน้ำมันดีเซลมีราคาสูงอย่างในปัจจุบัน สบู่ดำมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Jatropha Curcas Linn. อยู่ในวงศ์ไม้ยางพารา ซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ ชาวโปรตุเกสนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อนำมาบีบน้ำมันสำหรับทำสบู่ ปัจจุบันสบู่ดำมีปลูกอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ภาคเหนือเรียกว่ามะหุ่งฮั้ว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่ามะเยาหรือสีหลอด ภาคใต้เรียกว่ามาเคาะ 
ซึ่งการขยายพันธุ์นั้น จะใช้เมล็ดในการขยายพันธ์โดยการเพาะลงในถุงเพาะหรือกระบะทรายประมาณ 2 เดือน จึงนำไปปลูก ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะให้ผลผลิตได้ประมาณ 8-10 เดือนหลังปลูก การใช้ท่อนพันธุ์ควรใช้ท่อนพันธุ์สีน้ำตาลปนเขียวยาว 45-50 เซนติเมตร จะเริ่มมีดอกและให้ผลผลิตระยะ 6-8 เดือนหลังปลูก



สำหรับความร่วมมือในการวิจัยพัฒนาเพิ่มผลผลิตต้นสบู่ดำครั้งนี้ ประกอบไปด้วย 5 โครงการได้แก่ โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาสายพันธุ์และการจัดการสบู่ดำ โครงการวิจัยเพื่อทดลองปลูกสบู่ดำในแปลงขนาดใหญ่ โครงการการจัดการองค์ความรู้สบู่ดำ โครงการวิจัยและศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการปลูกปาล์มน้ำมันและสบู่ดำในพื้นที่แห้งแล้ง และโครงการวิจัยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์พลอยได้ที่ศึกษาเก็บเกี่ยวและสกัดน้ำมันสบู่ที่เหมาะสม คาดว่าจากการศึกษาวิจัยร่วมกันในครั้งนี้จะสามารถเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา สบู่ดำ ซึ่งเป็นพืชพลังงานของไทยให้ได้คุณภาพสูงและมีผลผลิตเทียบเคียงกับน้ำมันปาล์มประมาณ 600-700 กิโลกรัมน้ำมันต่อปี ทั้งนี้ยังเป็นการเสริมการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลให้ได้ ปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการทดแทนน้ำมันดีเซล และช่วยสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานรวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างยั่งยืน


รศ
. วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สนับสนุนโครงการพัฒนาไบโอดีเซลอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันให้การส่งเสริมไบโอดีเซลและ เอทานอลเป็นวาระแห่งชาติ โดยเมื่อปี 2548 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดตั้งโครงการเคยู-ไบโอดีเซลขึ้น โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆเพื่อศึกษาทดลองด้านการปรับปรุงพันธุ์และเขตเพาะปลูกด้านเทคนิคการผลิตไบโอดีเซลและเครื่องมือต่างๆและด้านการใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆของต้นสบู่ดำ


สบู่ดำ เป็นพืชน้ำมันเพื่อพลังงานที่มีความสำคัญอีกชนิดหนึ่งนอกเหนือไปจากพืชน้ำมันชนิดอื่นๆ เช่น ปาล์มน้ำมัน และพืชตระกูลถั่วต่างๆ ซึ่งเมื่อถูกนำมาใช้ทั้งในด้านของการบริโภคและพลังงานในเวลาเดียวกันแล้ว สบู่ดำยังมีความแตกต่างจากพืชน้ำมันอื่นๆ เนื่องจากไม่สามารถที่จะนำมาบริโภคได้ มีเพียงการนำมาใช้สำหรับการเป็นยารักษาโรคเท่านั้น แต่ก็ยังคงไม่ได้รับความสนใจแพร่หลายมากนัก มีเพียงบางกลุ่มที่นำมาใช้ในการทำเครื่องสำอางและน้ำมันหล่อลื่น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันสบู่ดำยังมีการส่งเสริมให้ปลูกในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย ซึ่งองค์กรในสังกัดกรมวิชาการเกษตรและองค์กรของรัฐอื่นๆ รวมทั้งภาคเอกชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ โดยเฉพาะการเน้นหนักในเรื่องของการนำมาเป็นพลังงานทางการเกษตร เช่น เครื่องกลการเกษตรกรที่ใช้ในระดับหมู่บ้าน ใช้เป็นพลังงานที่ใช้กับเครื่องยนต์ภายในครัวเรือน ซึ่งรัฐบาลเองก็ยังคงให้การสนับสนุนและชูนโยบายของการเป็นพืชพลังงานทดแทนอีกด้วย 

ทางด้านประโยชน์ของสบู่ดำนั้น ประกอบไปด้วย


1.
ยางจากก้านใบ ใช้ป้ายรักษาโรคปากนกกระจอก ห้ามเลือด แก้ปวดฟัน แก้ลิ้นเป็นฝ้าขาว โดยผสมกับน้ำนมมารดาป้ายลิ้น


2.
ลำต้น ตัดเป็นท่อนต้มน้ำให้เด็กกินแก้ซางตาลขโมย ตัดเป็นท่อนแช่น้ำอาบแก้โรคพุพอง ใช้เป็นแนวรั้วป้องกันสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ ม้า แพะ เข้าทำลายผลผลิต

3.
เมล็ด หีบเป็นน้ำมัน ใช้ทดแทนน้ำมันดีเซล ใช้บำรุงรากผม ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ โดยใช้กากที่เหลือจากการหีบน้ำมัน ซึ่งมีธาตุอาหารหลัก มากกว่าปุ๋ยหมักและมูลสัตว์หลายชนิด ยกเว้นมูลไก่ที่มีฟอสฟอรัส และโปรแตสเซี่ยม มากกว่า และยังมีสารพิษ Curcin มีฤทธิ์เหมือนสลอด เมื่อกินเข้าไปแล้วจะทำให้ท้องเดิน





นอกจากนี้น้ำมันสบู่ดำยังสามารถละลายได้ดีในน้ำมันดีเซลและเบนซิน เมื่อเก็บไว้นานๆ จะไม่มีการแยกชั้น แต่อย่างใดดังนั้น น้ำมันสบู่ดำจึงใช้ประโยชน์ในการผสมกับน้ำมันเบนซิน ทำให้เดินเครื่องยนต์เบนซินได้ดีขึ้น สบู่ดำจึงกลายเป็นพืชความหวังใหม่ในนำมาการผลิตไบโอดีเซล เนื่องจากเป็นพืชพลังงานโดยตรง ไม่ใช่พืชอาหาร ทุกส่วนของสบู่ดำสามารถใช้ประโยชน์ได้ครบ โดยเฉพาะกากที่เหลือจากการบีบน้ำมัน ซึ่งมีค่าไนโตรเจนสูง เหมาะที่จะเป็นส่วนผสมของปุ๋ยและอาหารสัตว์ แต่กากสบู่ดำมีสารพิษชื่อเลคตินและเคอร์ซิน ซึ่งก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง คลื่นไส้ อาเจียนตลอดจนเป็นสารก่อมะเร็ง ทำให้การนำมาใช้ประโยชน์ดังกล่าว มีข้อกังวลถึงความปลอดภัย


อย่างไรก็ตาม
คาดว่าการวิจัยและพัฒนาเพิ่มผลผลิตของต้นสบู่ดำ เพื่อเป็นแหล่งพลังงานทดแทนในอนาคต ในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศสูงสุดต่อไป




"สบู่ดำ" พืชพลังงานทดแทนน้ำมันดีเซล

จากภาวะในปัจจุบันที่มีการรณรงค์ให้คนไทยหันมาประหยัดน้ำมันกัน ก่อนที่จะไม่มีน้ำมันให้ใช้ ส่งผลให้ราคาน้ำมันแพงขึ้น จึงมีการนำพืชที่สามารถใช้ทดแทนน้ำมันได้มาสกัดใช้งาน

"สบู่ดำ" มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Jatropha curcas Linn. เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ไม้ยางพารา Euphorbiaceae เช่นเดียวกับสบู่แดง ปัตตาเวีย ฝิ่นต้นหรือมะละกอฝรั่ง หนุมานนั่งแท่น โป๊ยเซียน มันสำปะหลัง มะยม มะขามป้อม ผักหวานบ้าน ฯลฯ ซึ่งมีความหลากหลายกันค่อนข้างมากในลักษณะต้น ใบ ช่อดอก ผล และเมล็ด สบู่ดำเป็นพืชพื้นเมืองของอเมริกาใต้ ชาวโปรตุเกสนำเข้ามาในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อรับซื้อเมล็ดไปคัดบีบเอาน้ำมันสำหรับทำสบู่

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 2-7 เมตร ลำต้นมีลักษณะเกลี้ยงเกลา ใบเรียบมี 4 แฉก คล้ายใบละหุ่ง แต่มีหยักตื้นกว่าใบที่เจริญเติบโตเต็มที่ มีขนาดเท่าฝ่ามือ ลำต้น ใบ ผล และเมล็ด มีสาร hydrocyanic สังเกตได้เมื่อหักลำต้น ส่วนยอดหรือส่วนก้านใบจะมียางสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนมไหลออกมา มีกลิ่นเหม็นเขียว ต้นสบู่ดำออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ข้อส่วนปลายของยอด ขนาดดอกเล็กสีเหลืองมีกลิ่นหอมอ่อนๆ มีดอกตัวผู้จำนวนมากและดอกตัวเมียจำนวนน้อยอยู่บนต้นเดียวกัน เมื่อติดผลแล้วมีสีเขียวอ่อนเกลี้ยงเกลาเป็นช่อพวงมีหลายผล เวลาสุกแก่จัดมีสีเหลืองคล้ายลูกจัน รูปผลมีลักษณะทรงกลมขนาดปานกลาง เปลือกหนาปานกลาง มีปลูกทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ผลหนึ่งส่วนมากมี 3 พู โดยแต่ละพูทำหน้าที่ห่อหุ้มเมล็ดไว้ เมล็ดสีดำขนาดเล็กกว่าเมล็ดละหุ่งพันธุ์ลายขาวดำเล็กน้อย สีตรงปลายเมล็ดมีจุดสีขาวเล็กๆ ติดอยู่ เมื่อเก็บไว้นานจุดนี้จะหดตัวเหี่ยวแห้งลง ขนาดของเมล็ดเฉลี่ยความยาว 1.7-1.9 เซนติเมตร หนา 0.8-0.9 เซนติเมตร น้ำหนัก 100 เมล็ด ประมาณ 69.8 กรัม เมื่อแกะเปลือกนอกสีดำออกจะเห็นเนื้อในสีขาว

สบู่ดำ เป็นชื่อเรียกในภาคกลาง ภาคเหนือเรียกว่า มะหุ่งฮั้ว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า มะเยา หรือ สีหลอด ภาคใต้เรียก มะหงเทศ เมล็ดสบู่ดำมีสารพิษเรียกว่า CURCIN หากบริโภคแล้ว ทำให้เกิดอาการท้องเดินเหมือนสลอด กากสบู่ดำยังมีธาตุอาหารใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ ในชนบทยังใช้สบู่ดำเป็นยาสมุนไพรกลางบ้าน โดยใช้ยางจากก้านใบป้ายรักษาโรคปากนกกระจอก ห้ามเลือดและแก้ปวดฟัน รวมทั้งผสมน้ำนมมารดากวาดป้ายลิ้นเด็กที่มีฝ้าขาวหรือคอเป็นตุ่ม และใช้ส่วนของลำต้นมาตัดเป็นท่อนๆ ต้มให้เด็กกินแก้โรคซางหรือตาลขโมย

การขยายพันธุ์ การใช้เมล็ด ควรเก็บฝักที่มีสีเหลืองแก่แกมสีน้ำตาล สามารถเพาะในถุงเพาะหรือกระบะทรายอายุประมาณ 2 เดือน จึงนำไปปลูก ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะให้ผลผลิตได้ประมาณ 8-10 เดือนหลังปลูก การใช้ท่อนพันธุ์ควรใช้ท่อนพันธุ์สีน้ำตาลปนเขียวยาว 45-50 เซนติเมตร จะเริ่มมีดอกและให้ผลผลิตระยะ 6-8 เดือนหลังปลูก

การปลูก การเจริญเติบโตลำต้นจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านจึงควรตัดแต่งกิ่งบ่อยๆ เพื่อให้ต้นแตกกิ่งก้าน ระยะปลูก 2 X 2.5 ตารางเมตร ฤดูปลูกที่เหมาะสมเป็นช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม พื้นที่ปลูกควรเลือกพื้นที่ดอนน้ำไม่ท่วมขัง อยู่กลางแจ้งแสงแดดจัด เช่น คันนา นาดอนจัด หัวไร่ปลายนา ริมรั้วบ้าน

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดชัยนาท (จักรกลเกษตร) ได้ดำเนินการโครงการส่งเสริมการใช้น้ำมันสบู่ดำกับเครื่องยนต์ดีเซลเพื่อการเกษตร โดยการจัดทำแปลงสาธิตปลูกต้นสบู่ดำ จำนวน 3 แปลง คือ

1. แปลงบ้านโป่งกำแพง หมู่ที่ 18 ตำบลเนินขาม กิ่งอำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท พื้นที่ 5 ไร่ ปลูกเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2544 ระยะปลูก 150 X 100 เซนติเมตร จำนวนต้นที่ปลูกทั้งสิ้น 5,300 ต้น ใช้ต้นกล้าจากการเพาะเมล็ด ปัจจุบันให้ผลผลิตแล้ว

2. แปลงสาธิตภายในศูนย์ พื้นที่ปลูก 2 ไร่ ปลูกเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2544 ระยะปลูก 150 X 200 เซนติเมตร ใช้ต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดปลูกจำนวน 600 ต้น และจากท่อนพันธุ์จำนวน 480 ต้น รวม 1,080 ต้น ปัจจุบันให้ผลผลิตแล้ว และขณะนี้เก็บผลผลิตได้แล้ว

3. แปลงสาธิตบ้านดงเกณฑ์หลวง ตำบลหนองขุ่น อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท พื้นที่ปลูก 5 ไร่ ปลูกเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2546 ระยะปลูก 100 X 250 เซนติเมตร ใช้ต้นกล้าที่เพาะจากเมล็ดปลูก จำนวน 1,600 ต้น และจากท่อนพันธุ์ จำนวน 1,600 ต้น รวม 3,200 ต้น ปัจจุบันให้ผลผลิตแล้ว

การสกัดน้ำมันสบู่ดำ ผลสบู่ดำแห้ง (ผลสีเหลืองถึงสีดำ) ที่แก่จากต้น นำมากะเทาะเปลือกออกให้เหลือเฉพาะเมล็ด นำไปล้างน้ำทำความสะอาด นำมาผึ่งลมให้เมล็ดแห้งนำไปบุบเมล็ดให้แตก โดยการทุบหรือบดหยาบ นำเมล็ดที่ได้บุบแล้วออกตากแดดเพื่อรับความร้อนประมาณ 30 นาที แล้วนำเมล็ดสบู่ดำเข้าเครื่องสกัด (ใช้แรงงานคน) นำน้ำมันที่ได้ไปกรองเพื่อแยกเศษผง เมล็ดสบู่ดำ 4 กิโลกรัม สกัดน้ำมันได้ 1 ลิตร

น้ำมันที่ได้จากการสกัดเมล็ดสบู่ดำสามารถใช้แทนน้ำมันดีเซลได้ โดยไม่ต้องใช้ส่วนผสมและไม่ทำให้เครื่องยนต์เสียหาย กากเมล็ดสบู่ดำที่เหลือจากการสกัดน้ำมันมีปริมาณไนโตรเจนสูง ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการ จึงสามารถนำไปเป็นปุ๋ยอินทรีย์ของพืชได้

การทดสอบการใช้งาน จากการนำน้ำมันสบู่ดำที่ได้ไปทดลองเดินเครื่องยนต์คูโบต้าดีเซล 1 สูบ แบบลูกสูบนอกระบบ 4 จังหวะ ระบายความร้อนด้วยน้ำ ปริมาตรกระบอกสูบ 400 ซีซี 7 แรงม้า/2,200 รอบ/นาที เปรียบเทียบการทำงานของเครื่องยนต์ (รอบ/นาที) และความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง (ซีซี/ชั่วโมง) ระหว่างการใช้น้ำมันสบู่ดำกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว

ผลจากการทดสอบกับเครื่องยนต์ เมื่อเดินเครื่องยนต์ด้วยน้ำมันสบู่ดำครบ 1,000 ชั่วโมง ถอดชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ออกมาตรวจสอบ เสื้อสูบ ลูกสูบ แหวนลิ้น หัวฉีด และอื่นๆ ไม่พบยางเหนียวจับ ทุกชิ้นยังคงสภาพดีเหมือนเดิม

และในปี 2547 นี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จะมีพระชนมพรรษา 72 พรรษา กรมส่งเสริมการเกษตรและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงดำเนินการนำร่องส่งเสริมการใช้น้ำมันสบู่ดำในไร่นา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระชนมพรรษา 72 พรรษา เพื่อกระตุ้นและเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรทั่วไปเห็นความสำคัญของพลังงานทดแทนที่ประเทศไทยสามารถผลิตได้เอง ทดแทนการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศต่อไป


ที่มา  :  http://www.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=0505010947&srcday=2004/09/01&search=no


news.cedis.or.th/detail.php?id=1040&lang=en&group_id=1 -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1502 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©