-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 223 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

มะพร้าวน้ำหอม-น้ำหวาน




หน้า: 3/3



6. มะพร้าวกะทิ

ความเป็นมา
ธรรมชาติ ของ “มะพร้าวกะทิ” ทุกสายพันธุ์ เวลาติดผลในหนึ่งทะลาย จะมีผลที่
กลายเป็นกะทิร่วมอยู่ด้วย 1 ผล หรือเป็นกะทิ ได้มากที่สุด ไม่เกิน 3 ผล ต่อหนึ่ง
ทะลาย จึงเป็นสาเหตุทำให้ “มะพร้าวกะทิ” มีราคาแพงกว่ามะพร้าวแกงทั่วไปในยุค
สมัยก่อน “มะพร้าวกะทิ” จะมีสายพันธุ์เดียวคือ เป็นพันธุ์ที่มีต้นสูง 10 หรือ 15
เมตร ต้องปีนขึ้นไปเก็บลำบากมาก ในยุคนั้นไม่ค่อยได้รับความนิยมปลูกกันด้วย จึง
ทำให้หารับประทานยากและมีราคาแพงตามที่กล่าวข้างต้น


ส่วนใหญ่ นิยมเอาเนื้อ “มะพร้าว กะทิ” ไปใส่น้ำแข็งไสผสมน้ำเชื่อมโดยใช้ ช้อน
คว้านเป็นชิ้นพอคำ หรือใช้ช้อนตัก กินเฉยๆก็ได้ รสชาติหวานมันอร่อยมาก ปัจจุบัน
นิยมคว้านใส่ไอศกรีม ทำบัวลอย “มะพร้าวกะทิ” ขายตามร้านอาหาร ภัตตาคารดังๆ
ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ผู้ปลูก “มะพร้าวกะทิ” จำนวนมากที่
ซื้อต้นพันธุ์ไปปลูกแล้ว มีปัญหาเมื่อ “มะพร้าวกะทิ” ติดผลเป็นทะลาย มีผลมากกว่า
15-20 ผล ต่อ 1 ทะลาย เมื่อปล่อยให้ผลแก่เต็มที่คาต้น ไม่สามารถแยกได้ว่า
ผลไหนเป็นมะพร้าวกะทิ ต้องใช้วิธีปอกเปลือกทุกผล และผ่าดูเนื้อในทุกผล ทำให้
เสียเวลา และผลที่ไม่ใช่ “มะพร้าวกะทิ” เสียหาย เพราะนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น
ไม่ทันนั่นเอง เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีวิธีพิสูจน์แบบง่ายๆ ใช้มาแต่โบราณแล้วคือ เมื่อ
“มะพร้าวกะทิ” ติด ผลเป็นทะลายปล่อยให้ผลแก่คาต้นก่อน ตัดทะลายลงมา เอาผล
แต่ละผลเขย่าฟังดูว่าถ้าไม่มีเสียงน้ำในผลดังกระฉอกเลย หมายถึงมะพร้าวผลนั้นเป็น
“มะพร้าวกะทิ” อย่างแน่นอน ไม่ต้องปอกเปลือก หรือทุบ ดูเนื้อในทุกผลให้เสียเวลา
ทำหรือฝึกบ่อยๆจึงจะชำนาญ ช่วงแรกอาจมีผิดบ้างเป็น ธรรมดา คนโบราณก็ใช้วิธีนี้
เหมือนกัน


ส่วน วิธีผ่ารับประทาน คนเฒ่าคนแก่บอกเคล็ดลับว่า ถ้าต้องการให้เนื้อในของ
“มะพร้าวกะทิ” ฟู หรือเหนียวแน่น อร่อย ต้องนวดก่อน โดยเอาผลที่ปอกเปลือก
แล้วกระแทกกับพื้นปูนเบาๆรอบๆผลให้ทั่ว กะเวลาจนแน่ใจว่าพอแล้วจึงนำผลไปผ่า
ครึ่ง จะพบว่าเนื้อในฟูเป็นสีขาวคล้ายปุยฝ้าย ใช้ช้อนตักรับประทานได้เลย รสชาติ
หวานมันหอมอร่อยมาก


ปัจจุบัน “มะพร้าวกะทิ” มี 2 ชนิด พันธุ์ที่ ได้รับความนิยมรับประทานและนิยมปลูก
กันแพร่หลาย ได้แก่“มะพร้าวกะทิน้ำหอม” กับ “มะพร้าวกะทิน้ำหวาน” ซึ่งทั้ง 2
พันธุ์ เป็นพันธุ์ที่มีต้นเตี้ย สูงเต็มที่ไม่เกิน2-3 เมตร ติดผลดก 15-20 ผลต่อ
หนึ่งทะลาย มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร โครงการ 19 แผง
“ดาบสมพร” กับโครงการ 13 แผง “คุณภิญโญ” และโครงการ 21 แผง “คุณ
พร้อมพันธุ์” ราคาสอบถามกันเองครับ.



การทำมะพร้าวกะทิ

วิธีที่ 1
ทำมะพร้าวจากมะพร้าวพันธุ์อะไรก็ได้ ถ้าต้องการให้ลูกออกมาเป็นมะพร้าว
กะทิ ก็เอาถุงพลาสติกหุ้มจั่น จั่นก็คือดอกมะพร้าว 1 จั่นคือ 1 ทะลาย จั่นไหนถูก
ห่อด้วยพลาสติก จั่นนั้นหรือทลายดอกนั้นมันจะพิการ ทั้งนี้จะต้องห่อตั่งแต่กลีบจั่น
เริ่มแย้มบาน ห่อไปจนกระทั่งมีลูกขนาดลูกหมากจึงค่อยเอาออก โดยทั่วไปมะพร้าว
ในทะลายที่ห่อจั่นประมาณ 80-90 % จะเป็นมะพร้าวกะทิ วิธีนี้เป็นการทำ
มะพร้าวกะทิแบบชั่วคราว มะพร้าวในทะลายอื่น ๆ ที่ไม่ได้ห่อจั่นจะไม่เป็นมะพร้าว
กะทิ


วิธีที่ 2
เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบถาวร วิธีนี้ให้นำมะพร้าวที่เพาะไว้ ที่มีหน่อเหนือเปลือก
ขึ้นมาราว 30 ซม. แล้วใช้มีดตัดส่วนปลายตรงข้ามกับหน่อให้กะลาขาด จนเห็น
เนื้อสีขาวและจาวสีเหลือง ภายในกะลามะพร้าวจากนั้นคว้านเอาจาวที่อยู่กลางกะลา
ออก เอาดินเหนียวอัดลงไปในกะลาแทนจาวจนเต็มและแน่นพอประมาณ สามารถนำ
ไปปลูกได้ นายมานิตย์ เล่าให้ฟังว่า มะพร้าวที่ทำวิธีนี้จะเป็นมะพร้าวกะทิประมาณ
50 % หากจะเพิ่มปริมาณ ก็สามารถทำได้โดยให้เอาผลมะพร้าวที่ไม่เป็นมะพร้าว
กะทิมาเพาะแล้วทำวิธีการเดียวกับที่กล่าวมานี้ ก็จะทำให้มะพร้าวในต้นใหม่เป็น
มะพร้าวกะทิ ถึง 80-90 % ทีเดียว มะพร้าวทุกพันธุ์สามารถทำมะพร้าวกะทิได้
ทั้งสิ้น แต่ถ้าใช้มะพร้าวน้ำหอม ทำมะพร้าวกะทิไม่ดีเพราะมีกลิ่นเหม็นหืน มะพร้าวที่
ดีที่สุดในการทำมะพร้าวกะทิคือ มะพร้าวกลาง


www.kasedtakon.com › Blogsadmin's blog -



7. โครงการวิจัย การปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวกะทิ

หัวหน้าโครงการวิจัย นายสมชาย วัฒนโยธิน

ความเป็นมา
• มะพร้าวกะทิ เกิดจากการกลายพันธุ์ของมะพร้าวธรรมดาทั่วไป

• มีเนื้อนุ่มหนา น้ำข้นเหนียว เพาะไม่งอก ลักษณะของมะพร้าวกะทิ ถ่ายทอด
ทางพันธุกรรมไปยังรุ่นลูก

• ต้นมะพร้าวกะทิที่พบในสวนมะพร้าวทั่วไ จะเป็นต้นมะพร้าว ลูกผสมกะทิ
เนื่องจากเกษตรกรนำผลมะพร้าวธรรมดาจากต้น มะพร้าวกะทิลูกผสมไปเพาะ
ขยายพันธุ์

• ต้นมะพร้าวลูกผสมกะทิในธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์มะพร้าว ประเภท
ต้นสูง และปลูกกระจัดกระจาย จึงพบผลมะพร้าวกะทิในบาง ทลาย จนมีคำ
กล่าวว่า “ จะพบมะพร้าวผลที่เป็นกะทิในทลายที่อยู่ทาง ทิศตะวันออก ”

• ความเป็นจริงถ้าปลูกมะพร้าวกะทิเป็นแปลงหรือเป็นกลุ่มอย่างน้อย 5 ต้น
ขึ้นไป ก็จะพบมะพร้าวกะทิเกิดขึ้นทุกทลาย

• ปัจจุบันพบต้นมะพร้าวลูกผสมกะทิน้ำหอมต้นเตี้ยทั่วไปในสวน เกษตรกร
และแปลงทดลองคัดเลือกพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมเพื่อการ ส่งออก จำนวน 2 ต้น

• เนื่องจากลักษณะมะพร้าวกะทิเป็นลักษณะด้อย เมื่อนำคัพภะมะพร้าวกะทิที่
ได้จากต้นพันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิที่ปลูกโดยทั่วไป นำไปเพาะเลี้ยงในอาหาร
สังเคราะห์ เมื่อได้ต้นกะทิพันธุ์แท้ไปปลูก จะพบ ต้นมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ที่มี
ลักษณะที่ผิดปกติ มากกว่า 90 %

• ในปี 2530 บริษัท บางกอกฟลาวเวอร์เซ็นเตอร์ จำกัด ได้เริ่มทำการเพาะ
เลี้ยง คัพภะมะพร้าวกะทิที่ซื้อมาจากสวนเกษตรกร ได้ต้นมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้
และ นำลงปลูกบนเกาะในเขื่อนวชิราลงกรณ์ อ . ทองผาภูมิ จ . กาญจนบุรี
ในปี 2531 และ 2533 รวมจำนวน 2,150 ต้น เกาะมะพร้าวกะทิแห่งแรกของ
โลกจึงได้ เกิดขึ้นที่ประเทศไทย

• ในปี 2538 ดร.อุทัย จารณศรี ได้ขอให้บริษัท บางกอกฟลาวเวอร์เซ็นเตอร์
จำกัด ให้ความเอื้อเฟื้อกรมวิชาการเกษตรไปศึกษาพันธุ์มะพร้าว กะทิที่บนเกาะ
และคัดเลือกต้นพันธุ์มะพร้าวกะทิที่ดี นำดอกเกสรตัวผู้ มาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์
มะพร้าวกะทิ

• ในปี 2538 งานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวกะทิ จึงได้เกิดขึ้นที่ประเทศไทย
เป็นแห่งแรกของโลก แม้ว่าระยะแรกๆ จะได้รับการดูถูก เหยียดหยามจากนักปรับ
ปรุงพันธุ์มะพร้าวชาวฟิลิปปินส์ว่า เป็น โครงการวิจัยโง่ๆ นักวิจัยฟิลิปปินส์ไม่สน
ใจมะพร้าวที่เอามาสกัด น้ำมันไม่ได้

• นักวิจัยคนไทยบางคนบอกว่า คนใต้ เวลาผ่าเจอมะพร้าวกะทิ เอามาทำ
มะพร้าวแห้งไม่ได้ ก็โยนให้สุนัข สุนัขมันยังไม่กิน แล้วจะปรับปรุงพันธุ์มะพร้าว
กะทิไปทำไม

• เนื่องจากมะพร้าวกะทิยังมีน้อย จึงมีราคาแพง ต้นพันธุ์มะพร้าวที่ดีที่ จะใช้
เป็นแม่พันธุ์ก็มีน้อย ประกอบกับยังไม่มีประเทศใดที่คิดจะทำงาน วิจัยเกี่ยวกับ
มะพร้าวกะทิ จึงได้วางแผนการดำเนินงานวิจัย การเปรียบเทียบพันธุ์มะพร้าวลูก
ผสมกะทิที่ใช้พันธุ์มะพร้าวธรรมดาเป็น ต้นแม่พันธุ์



วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี ได้แก่
มะพร้าวพันธุ์ลูกผสมกะทิ 5 สายพันธุ์ ดังนี้

กรรมวิธีที่ 1 มะพร้าวพันธุ์น้ำหอม x กะทิ (NHK)
กรรมวิธีที่ 2 มะพร้าวพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย x กะทิ (YDK)
กรรมวิธีที่ 3 มะพร้าวพันธุ์มลายูสีแดงต้นเตี้ย x กะทิ (RDK)
กรรมวิธีที่ 4 มะพร้าวพันธุ์ทุ่งเคล็ด x กะทิ (TKK)
กรรมวิธีที่ 5 มะพร้าวพันธุ์เวสท์อัฟริกันต้นสูง x กะทิ (WAK)


ผลการทดลอง

- ผลผลิตรวมที่เป็นทั้งผลผลิตมะพร้าวธรรมดาและมะพร้าวกะทิของทุกสาย
พันธุ์ พบว่า ผลผลิตรวม 3 ปี (อายุ 4-7 ปี ) ของมะพร้าวลูกผสมทุกสายพันธุ์
ให้ ผลผลิตเรียงตามลำดับดังนี้

1. สายพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย x กะทิ ให้ผลผลิตสูงสุด 3, 378 ผล /ไร่
2. สายพันธุ์ลูกผสมทุ่งเคล็ด x กะทิ ให้ผลผลิตรองลงมา 2, 864 ผล /ไร่
3. สายพันธุ์ลูกผสมมลายูสีแดงต้นเตี้ย x กะทิ ให้ผลผลิต 2, 768 ผล /ไร่
4. สายพันธุ์ลูกผสมน้ำหอม x กะทิ ให้ผลผลิตรวม 1, 917 ผล /ไร่
5. สายพันธุ์เวสท์อัฟริกันต้นสูง x กะทิ ให้ผลผลิตรวม 1, 887 ผล /ไร่



- รายได้จากการทำสวนมะพร้าวลูกผสมกะทิ
• ผลผลิตที่ได้จากการปลูกมะพร้าวสายพันธุ์ลูกผสมกะทิ ซึ่งมีทั้งผลผลิต
มะพร้าวกะทิและผลผลิตมะพร้าวธรรมดา เมื่อนำผลผลิตทั้งหมดที่ได้มา
คำนวณรายได้โดยคิดราคาผลมะพร้าวกะทิที่ราคาผลละ 30 บาท และมะพร้าว
ธรรมดาราคาผลละ 3 บาท พบว่าผลผลิตรวม 3 ปี (ปีที่ 4-7) ของผลผลิตรวม
มี รายได้รวม 3 ปีแรกดังนี้

1. สายพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย x กะทิ ให้รายได้รวมสูงสุด 28,008 บาท/ไร่
2. สายพันธุ์ทุ่งเคล็ด x กะทิ มีรายได้รวม 22,346 บาท/ไร่
3. สายพันธุ์มลายูสีแดงต้นเตี้ย x กะทิ ให้รายได้รวม 20,892 บาท/ไร่
4. สายพันธุ์น้ำหอม x กะทิ ให้รายได้รวม 15,177 บาท/ไร่
5. สายพันธุ์เวสท์อัฟริกันต้นสูง x กะทิ มีรายได้น้อยที่สุด 13,764 บาท/ไร่


จากการผสมพันธุ์มะพร้าวระหว่างต้นแม่พันธุ์มะพร้าวน้ำหอมกับละอองเกสร
มะพร้าวกะทิ พบว่าได้ต้นพันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิ ที่ให้ผลผลิตเป็น มะพร้าว
กะทิที่มีเนื้อและน้ำมีกลิ่นหอม เหมือนกับแม่พันธุ์ ซึ่งเป็นพันธุ์น้ำหอม ในซ้ำที่
1 จำนวน 9 ต้น ซ้ำที่ 2 จำนวน 8 ต้น ซ้ำที่ 3 จำนวน 8 ต้น และ ซ้ำที่ 4
จำนวน 9 ต้น รวมทั้งหมด 35 ต้น จากจำนวนทั้งหมด 64 ต้น คิดเป็น 55
เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนต้นทดลอง


สรุปผล
- มะพร้าวต้นแม่พันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย มีความสามารถถ่ายทอดลักษณะดี
ไปยังรุ่นลูกได้ (highly heritable)
- มะพร้าวต้นแม่พันธุ์น้ำหอมมีคุณลักษณะพิเศษ เมื่อจับคู่ผสมพันธุ์กับกะทิ จะ
ถ่ายทอดพันธุกรรม ความหอมของน้ำและเนื้อมะพร้าวไปยังรุ่นลูกผสม ทำให้
ลูกผสมกะทิให้ผลผลิตมะพร้าวกะทิที่มีความหอมทั้งน้ำและเนื้อ จำนวน 55 %
ของจำนวนต้นพันธุ์ลูกผสม
- เปอร์เซ็นต์ผลมะพร้าวกะทิที่ได้จากพันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิขึ้นอยู่กับแหล่ง
ปลูกต้องปลอดจากมะพร้าวพันธุ์ธรรมดา และการเพิ่มเปอร์เซ็นต์ผลมะพร้าว
กะทิ จากการปลูกมะพร้าวพันธุ์ลูกผสมกะทิ สามารถเพิ่มได้ถึง 50 % จาก 25
% ตามกฎของเมนเดล โดยใช้เทคนิคการช่วยผสมเกสรด้วยพันธุ์มะพร้าวกะทิ
พันธุ์แท้


ประโยชน์ที่ได้รับ
- ได้ต้นพันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิ ระหว่างพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย กับกะทิ
ที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดีตามที่ตลาดต้องการ เสนอเป็น พันธุ์แนะนำของ
กรมวิชาการเกษตรในปี 2551
- ได้ต้นพันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิระหว่างพันธุ์น้ำหอม X กะทิ ที่ให้ผล ผลิตเป็น
มะพร้าวกะทิน้ำหอม เสนอเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการ เกษตร ในปี 2551
- พันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิ ที่ให้ผลผลิตมะพร้าวกะทิน้ำหอม เพื่อใช้ ในการ
ผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ย โดยใช้เทคนิคการเพาะ
เลี้ยงคัพภะมะพร้าว

 

as.doa.go.th/hort/operation/hortResponse/.../coconuttihrp01.htm -




8. มะพร้าวกะทิ 2 พันธุ์ใหม่...ทั้งเตี้ย ทั้งหอม


นับเป็นข่าวดีที่ กรมวิชาการเกษตร ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์มะพร้าว
กะทิลูกผสมพันธุ์ใหม่ 2 พันธุ์ ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมเสนอให้คณะกรรมการวิจัยปรับ
ปรุงพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร พิจารณาประกาศเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการ
เกษตร  เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก เพื่อการค้า
   
นายสมชาย วัฒนโยธิน นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยพืชสวน กรม
วิชาการเกษตร กล่าวว่า ทีมนักวิจัยเริ่มปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิที่สวนผลิต
พันธุ์มะพร้าวลูกผสมคันธุลี ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี เมื่อปี 2538 โดยได้รับความ
ร่วมมือจากสวนมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ของบริษัท อูติเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน จำกัด อ.
ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ซึ่งสนับสนุนพ่อพันธุ์มะพร้าวกะทิสายพันธุ์แท้ 1  พันธุ์
จำนวน 44 ต้น นำมาผสมกับแม่พันธุ์มะพร้าว 5 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์น้ำหอม
สายพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย  สายพันธุ์มลายูสีแดงต้นเตี้ย สายพันธุ์ทุ่งเคล็ด และ
สายพันธุ์เวสท์อัฟริกันต้นสูง  พันธุ์ละ 100 ต้น
   
เบื้องต้นได้สายพันธุ์มะพร้าวลูกผสม กะทิ ชื่อย่อ  NHK,  YDK, RDK,
TKK  และ WAK ซึ่งทีมนักวิจัยได้ทำการทดลองปลูกพร้อมคัดเลือกสายพันธุ์
เรื่อยมากระทั่งปี 2549 พบว่า มะพร้าวลูกผสมกะทิ 2 พันธุ์มีความโดดเด่นและมี
ศักยภาพการให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ คือ YDK และ NHKซึ่งเหมาะสมที่จะส่ง
เสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อเพิ่มรายได้
   
สำหรับสายพันธุ์ YDK เป็นมะพร้าวพันธุ์ลูกผสมกะทิระหว่างมลายูสีเหลืองต้นเตี้ย
(พันธุ์แม่) กับมะพร้าวกะทิสายพันธุ์แท้ (พันธุ์พ่อ)มีลักษณะเด่น คือ ออกจั่นและ
ติดผลเร็วขณะที่ต้นเตี้ย (สูงจากพื้นที่ดินประมาณ 50-60 เซนติเมตร) หลัง
ปลูกประมาณ 4 ปี ก็เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ให้ผลผลิตสูง เฉลี่ย 1,902 ผล/
ไร่/3 ปีแรก (ช่วงอายุ 4-7 ปี)คิดเป็นรายได้ 28,008 บาท/ไร่ ถ้าแหล่ง
ปลูกปลอดจากมะพร้าวธรรมดา จะมีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะ
ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 34,002 บาท/ไร่ ขึ้นอยู่กับระบบการจัด
การสวน
   
ส่วนสายพันธุ์ NHK เป็นมะพร้าวพันธุ์ลูกผสมกะทิระหว่างพันธุ์น้ำหอม (พันธุ์แม่)
กับกะทิสายพันธุ์แท้ (พันธุ์พ่อ) มีลักษณะเด่น คือ ออกจั่นเร็ว ให้ผลผลิตเป็น
มะพร้าวกะทิที่มีกลิ่นหอมทั้งน้ำและเนื้อ จำนวน 55% ของจำนวนต้นที่ปลูก โดยให้
ผลผลิตเฉลี่ย 1,064 ผล/ไร่/3 ปีแรก (อายุ 4-7 ปี) ซึ่งต้นมะพร้าวลูก
ผสมกะทิจำนวนดังกล่าว สามารถใช้พัฒนาพันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ยได้โดย
ใช้เทคนิคการผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ และใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงคัพภะ
(Embryo culture) เข้ามาช่วยในการเพาะเลี้ยงผลมะพร้าวกะทิน้ำหอม ก็
จะได้ต้นพันธุ์มะพร้าว กะทิน้ำหอม 100%
   
กรมวิชาการเกษตรจะประกาศให้มะพร้าวลูกผสมกะทิพันธุ์ใหม่ทั้ง 2 สายพันธุ์ เป็น
พันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรภายในปี 2553 นี้ พร้อมส่งเสริมให้
เกษตรกรนำไปปลูกเพื่อการค้าเพื่อเพิ่มรายได้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ปัจจุบันอยู่
ระหว่างเร่งผลิตต้นพันธุ์มะพร้าวกะทิลูกผสมพันธุ์ใหม่ทั้ง 2 พันธุ์ โดยใช้พื้นที่กว่า
80 ไร่ เพื่อรองรับความต้องการของเกษตรกรที่มียอดสั่งจองต้นพันธุ์เข้ามา
แล้วกว่า 20,000 ต้น ขณะเดียวกันยังมีแผนขยายผลการวิจัยพัฒนาและปรับปรุง
พันธุ์ต่อ เพื่อให้ได้พันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ยซึ่งเป็นพันธุ์แท้ต่อไป
   
หากสนใจเกี่ยวกับมะพร้าวกะทิลูกผสมพันธุ์ใหม่ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
สถาบันวิจัยพืชสวน  กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-0583  ต่อ 
135  หรือ สวนผลิตพันธุ์มะพร้าวลูกผสมคันธุลี ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี โทร.
0-7738-1963.


www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content... -




9. การปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิ

ผลงานวิจัยของพิศวาท บัวรา สมชาย วัฒนโยธิน และสมเดช วรลักษณ์ภักดี คณะนัก
วิจัยจากสถาบันวิจัยพืชสวน


วัตถุประสงค์ของการวิจัยในการปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิเพื่อให้มะพร้าวลูก
ผสมกะทิแนะนำพันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพดี  ให้ผลผลิตสูงเพื่อเผยแพร่และส่งเสริมให้
เกษตรกรปลูกเป็นการค้าและส่งออก เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรและนำไปใช้ในการ
ปรับปรุงพันธุ์ต่อ เพื่อให้ได้พันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิน้ำหอมต้นเตี้ยพันธุ์แท้ต่อไป


ลักษณะเด่น
1.มะพร้าวลูกผสมกะทิจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ยกับพันธุ์
กะทิ เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดถึง 3,378 ผล/ไร่ ในช่วง 3 ปีแรก  คิดเป็น
รายได้ 28,008 บาท/ไร่ ในช่วง 3ปีแรก มีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิต/ไร่ให้
สูงขึ้นเป็น 34,002 บาท/ไร่ ในช่วง 3 ปีแรก โดยเลือกแหล่งที่ปลูกให้ปลอด
จากมะพร้าวพันธุ์ธรรมดา และให้มีรายได้สูงขึ้นเป็น 55,737 บาท/ไร่ ในช่วง 3
ปีแรก โดยใช้เทคโนโลยีในการทำหมันและช่วยผสมพันธุ์มะพร้าวด้วยละอองเกสร
มะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ พันธุ์มะพร้าวดังกล่าวจึงสามารถเสนอเป็นพันธุ์แนะนำของกรม
วิชาการเกษตรในปี 2550


2.มะพร้าวลูกผสมพันธุ์กะทิจากการผสมระหว่างพันธุ์น้ำหอมกับพันธุ์กะทิ  เป็น
พันธุ์ที่ให้ผลผลิตมะพร้าวกะทิที่มีกลิ่นหอมทั้งน้ำและเนื้อ จำนวน 55 เปอร์เซ็นต์
ของจำนวนต้นที่ปลูก  ต้นมะพร้าวลูกผสมกะทิจำนวนดังกล่าวสามารถใช้พัฒนา
พันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ย  โดยใช้เทคนิคการผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์และการ
เพาะเลี้ยงคัพภะมะพร้าวในเบื้องต้น พันธุ์คู่ผสมระหว่างพันธุ์น้ำหอมกับพันธุ์กะทิ
สามารถเสนอเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรได้อีก 1 พันธุ์


ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย  
1.เสนอให้เป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร
2.ได้แนะนำและเผยแพร่ให้เกษตรกรนำไปปลูกเป็นการค้าและการส่งออกเพิ่มรายได้
3.มะพร้าวสายพันธุ์ลูกผสมกะทิได้นำไปวิจัยพัฒนาปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์
มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ย ซึ่งเป็นพันธุ์แท้เพื่อเสนอขอเป็นพันธุ์แนะนำและรับรอง
ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้าและการส่งออก.

www.ryt9.com/s/tpd/859943




10. การทำมะพร้าวกะทิ

สาขาของภูมิปัญญา : ด้านการเกษตร

ข้อมูลติดต่อ : 23/20 หมู่ 3 ต.ชายนา อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา 13100 โทร. 01-8065608

รายละเอียดของภูมิปัญญา :


วิธีที่ 1

ทำมะพร้าวจากมะพร้าวพันธุ์อะไรก็ได้ ถ้าต้องการให้ลูกออกมาเป็นมะพร้าวกะทิ ก็เอาถุงพลาสติกหุ้มจั่น จั่นก็คือดอกมะพร้าว 1 จั่นคือ 1 ทะลาย จั่นไหนถูกห่อด้วยพลาสติก จั่นนั้นหรือทลายดอกนั้นมันจะพิการ ทั้งนี้จะต้องห่อตั่งแต่กลีบจั่นเริ่มแย้มบาน ห่อไปจนกระทั่งมีลูกขนาดลูกหมากจึงค่อยเอาออก โดยทั่วไปมะพร้าวในทะลายที่ห่อจั่นประมาณ 80-90 % จะเป็นมะพร้าวกะทิ วิธีนี้เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบชั่วคราว มะพร้าวในทะลายอื่น ๆ ที่ไม่ได้ห่อจั่นจะไม่เป็นมะพร้าวกะทิ



วิธีที่ 2

เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบถาวร วิธีนี้ให้นำมะพร้าวที่เพาะไว้ ที่มีหน่อเหนือเปลือกขึ้นมาราว 30 ซม. แล้วใช้มีดตัดส่วนปลายตรงข้ามกับหน่อให้กะลาขาด จนเห็นเนื้อสีขาวและจาวสีเหลือง ภายในกะลามะพร้าวจากนั้นคว้านเอาจาวที่อยู่กลางกะลาออก เอาดินเหนียวอัดลงไปในกะลาแทนจาวจนเต็มและแน่นพอประมาณ สามารถนำไปปลูกได้ นายมานิตย์ เล่าให้ฟังว่า มะพร้าวที่ทำวิธีนี้จะเป็นมะพร้าวกะทิประมาณ 50% หากจะเพิ่มปริมาณ ก็สามารถทำได้โดยให้เอาผลมะพร้าวที่ไม่เป็นมะพร้าวกะทิมาเพาะแล้วทำวิธีการเดียวกับที่กล่าวมานี้ ก็จะทำให้มะพร้าวในต้นใหม่เป็นมะพร้าวกะทิ ถึง 80 -90 % ทีเดียว มะพร้าวทุกพันธุ์สามารถทำมะพร้าวกะทิได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าใช้มะพร้าวน้ำหอม ทำมะพร้าวกะทิไม่ดีเพราะมีกลิ่นเหม็นหืน มะพร้าวที่ดีที่สุดในการทำมะพร้าวกะทิคือ มะพร้าวกลาง


ประโยชน์ :

ช่วยทำให้เศรษฐกิจของเกษตรกรดีขึ้น เป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรในท้องถิ่น


www.tei.or.th/songkhlalake/database/local.../agri_1.html -




11. มะพร้าวกะทิ

มะพร้าวกะทิ ไม่ได้จัดเป็นมะพร้าวพันธุ์หนึ่งดังที่หลายคนเข้าใจ เนื่อง
จากในธรรมชาติไม่มีต้นมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้อยู่เลย แต่ผลมะพร้าวกะทิ
จะเกิดร่วมกับผลมะพร้าวปกติในต้นมะพร้าวธรรมดาทั่วไปบางต้นเท่านั้น
ลักษณะมะพร้าวกะทิถือเป็นลักษณะด้อยในทางพันธุกรรม

อูติพันธุ์พืช ได้นำเอาคัภพะ (Embryo) จากผลมะพร้าวกะทิมาเลี้ยงใน
อาหารวิทยาศาสตร์ภายในสภาพปลอดเชื้อ เป็นระยะเวลาประมาณ 8 – 9
เดือน แล้วจึงนำออกปลูกลงดินในถุงเพาะให้ต้นกล้ามีอายุประมาณ 18
เดือน จึงนำปลูกลงดินตามธรรมชาติ เนื่องจากต้นกล้ามะพร้าวกะทิพันธุ์
แท้อยู่ในสภาพการงอกที่ผิดธรรมชาติ (งอกในอาหารวิทยาศาสตร์ ภาย
ใต้สภาพปลอดเชื้อ) กล่าวคือไม่ได้งอกจากผลมะพร้าวที่มีกะลาและ
เปลือกมะพร้าวห่อหุ้มไว้ ทำให้ต้นกล้าถูกเชื้อจุลินทรีย์เข้าทำลายได้ง่าย
โอกาสรอดตายจึงน้อย

อูติพันธุ์พืชได้จัดพื้นที่ปลูกมะพร้าวกะทิบนเกาะเล็กๆแห่งหนึ่งในเขื่อนวชิ
ราลงกรณ์ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องด้วยต้นมะพร้าวกะทิ
พันธุ์แท้ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงคัภพะและต้นกล้าในอาหารวิทยาศาสตร์
ต้องปลูกเป็นกลุ่มเดียวกันโดยไม่มีมะพร้าวธรรมดาปะปนอยู่เลย  มะพร้าว
กะทิพันธุ์แท้จะให้ผลเป็นมะพร้าวกะทิทุกผล (100%) แต่หากมีต้น
มะพร้าวธรรมดาอยู่ในบริเวณใกล้เคียง จะมีโอกาสที่เกิดการผสมข้ามเกิด
ขึ้นได้ ซึ่งจะให้ผลเป็นมะพร้าวกะทิไม่ทุกผล

ผลมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้นี้ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ตามธรรมชาติ อูติพันธุ์
พืชสามารถผลิตมะพร้าวกะทิได้ประมาณ 600 – 2000 ผลต่อสัปดาห์ ซึ่ง
ขึ้นอยู่กับฤดูกาล โดยมะพร้าวกะทิจะให้ผลดกที่สุดในช่วงฤดูร้อน และให้
ผลผลิตน้อยสุดในช่วงฤดูหนาว

www.horoworld.com/.../19226_



12.การปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิ

          
เป็นผลงานวิจัยของ พิศวาท บัวรา  สมชาย วัฒนโยธิน และสมเดช วรลักษณ์
ภักดี คณะนักวิจัยจากสถาบันวิจัยพืชสวน  วัตถุประสงค์ของการวิจัยในการปรับปรุง
พันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิ เพื่อให้ได้มะพร้าวลูกผสมกะทิพันธุ์แนะนำพันธุ์ใหม่ที่มี
คุณภาพดีให้ผลผลิตสูง เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้าและส่ง
ออก เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร และนำไปใช้ในการปรัปปรุงพันธุ์ต่อ เพื่อให้ได้
พันธุ์มะพร้าวลูกผสมกะทิน้ำหอมต้นเตี้ยพันธุ์แท้ต่อไป


ลักษณะเด่น 
1. มะพร้าวลูกผสมกะทิจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย  กับ
พันธุ์กะทิเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดถึง 3,378 ผล/ไร่ในช่วง3 ปีแรก คิดเป็น
รายได้ 28,008 บาท/ไร่ ในช่วง 3 ปีแรก  มีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิต/ไร่
ให้สูงขึ้นเป็น 34,002 บาท/ไร่ ในช่วง 3 ปีแรก  โดยเลือกแหล่งที่ปลูกให้
ปลอดจากมะพร้าวธรรมดาและให้มีรายได้สูงขึ้นเป็น 55,737 บาท/ไร่ ในช่วง 3
ปีแรก  โดยใช้เทคโนโลยีในการทำหมันและช่วยผสมพันธุ์มะพร้าวด้วยละอองเกสร
มะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ พันธุ์มะพร้าวดังกล่าวจึงสามารถเสนอเป็นพันธุ์แนะนำของกรม
วิชาการเกษตรในปี 2550

2. มะพร้าวลูกผสมกะทิจากการผสมพันธุ์ ระหว่างพันธุ์น้ำหอมกับพันธุ์กะทิ  เป็น
พันธุ์ที่ให้ผลผลิตมะพร้าวกะทิที่มีกลิ่นหอมทั้งน้ำ  และเนื้อจำนวน 55 เปอร์เซ็นต์
ของจำนวนต้นที่ปลูก  ต้นมะพร้าวลูกผสมกะทิจำนวนดังกล่าวสามารถใช้พัฒนา
พันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ย โดยใช้เทคนิค

การผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ และการเพาะเลี้ยงคัพภะมะพร้าว  ในเบื้องต้นพันธุ์คู่
ผสมระหว่างพันธุ์น้ำหอมกับพันธุ์กะทิ สามารถเสนอเป็นพันธุ์แนะนำของกรม
วิชาการเกษตรได้อีก 1 พันธุ์


ประโยชที่ได้รับจากการวิจัย 
1. เสนอเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร
2. ได้แนะนำและเผยแผร่ให้เกษตรกรนำไปปลูกเป็นการค้าและการส่งออกเพื่อ
เพิ่มรายได้
3. มะพร้าวสายพันธุ์ลูกผสมกะทิที่ไส้นำไปวิจัยพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ต่อ  เพื่อให้
ได้พันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ยซึ่งเป็นพันธุ์แท้ เพื่อเสนอขอเป็นพันธุ์แนะนำและ
รับรองและส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้าและเพื่อการส่งออก
4. มะพร้าวสายพันธุ์ลูกผสมกะทิที่ได้นำไปวิจัยพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ต่อ  เพื่อให้
ได้พันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ยซึ่งเป็นพันธุ์แท้ เพื่อเสนอขอเป็นพันธุ์แนะนำและ
รับรอง และส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้าและเพื่อการส่งออก



http://it.doa.go.th/pibai/pibai/n12/v_3-apr/jakfam.html





พานิชย์ ยศปัญญา panit@matichon.co.th

13. วิจัยมะพร้าวให้เป็นกะทิ เพิ่มมูลค่าผลผลิต
งานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นกะทิแท้ 100 เปอร์เซ็นต์


เมื่อมาอยู่ในร่มเงาของนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน และได้ออกไปทำข่าวตาม
ต่างจังหวัด ได้พบเห็นสิ่งแปลกใหม่ ที่ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ โดยสิ่งเหล่านั้น เป็น
ผลงานการคิดสร้างสรรค์ และวิจัยของนักวิชาการเกษตร โดยเฉพาะสถาบันวิจัย
พืชสวน กรมวิชาการเกษตร

ปี 2532 มีโอกาสไปอีสาน เนื่องจากรถวิ่งเร็ว เห็นคล้ายๆ ชาวบ้านตากผ้าเช็ดตัว
หรือผ้าอ้อม แต่ที่ไหนได้ เข้าไปใกล้ๆ กลายเป็นแผ่นยางพารา ที่เกษตรกรปลูก
ไว้ขาย คิดดูชาวบ้านเขาปลูกยางพาราขายเป็นการค้าแถบริมโขงกว่า 20 ปีมา
แล้ว พอไปถึงสถานีวิจัยพืชสวนนครพนม ได้ลิ้มรสทุเรียนชะนี เขาไม่ได้ปลูก
เพียงต้นสองต้น แต่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ งานนั้น ผอ.ปรีชา เชยชุ่ม เป็นผู้นำเสนอ

ทราบว่า ท่านย้ายไปหลายที่หลายแห่งในอีสาน คาดว่า ท่านน่าจะเกษียณแล้ว
เพราะตื่นเต้นกับงานวิจัย หลังๆ จึงแวะเวียนไปตามศูนย์วิจัยและสถานีวิจัย
ของกรมวิชาการเกษตร ที่กระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ นอกจากงานวิจัยเด่นๆ
แล้ว ตามศูนย์และสถานีวิจัยเขายังมีบ้านพักที่เงียบสงบ ภูมิทัศน์สวยงาม
สนนราคาที่พักนั้นก็ถูกมาก คืนหนึ่งตกหัวละ 30 บาท ระยะหลังๆ ขึ้นมาเป็น 50
บาท ทุกวันนี้ บางแห่งเขาปรับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร แต่คนยังรู้จักกัน
น้อย

ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร เป็นหน่วยงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ที่สมบูรณ์แบบ
มาก ทีมงานเทคโนโลยีชาวบ้านแวะเวียนไปอยู่เป็นประจำ นอกจากไปทำข่าว
แล้ว ยังพาสมาชิกไปเสวนาเกษตรสัญจร ดูงานสมุนไพร งานมะพร้าว ถึงคราว
นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านจัดงาน "เกษตรมหัศจรรย์ฯ" ทีมงานยังขอความ
อนุเคราะห์ นำพันธุ์มะพร้าวมาโชว์ รวมทั้งพนักงานของศูนย์วิจัยฯ ก็มาสาธิตการ
สกัดน้ำมันมะพร้าว

ผู้อำนวยการศูนย์คนปัจจุบันคือ คุณดำรงค์ พงศ์มานะวุฒิ

ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ตั้งอยู่อำเภอสวี งานวิจัยเด่นๆ ที่ทำมานานคือ เรื่องมะพร้าว

นอกจากที่สวีแล้ว งานวิจัยมะพร้าว ยังมีอยู่ที่คันธุลี อำเภอท่าชนะ จังหวัด
สุราษฎร์ธานี ที่คันธุลี มีงานวิจัยมะพร้าวกะทิ หัวหน้าโครงการคือ คุณสมชาย
วัฒนโยธิน จากสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ผู้วิจัยภาคสนามที่ผ่านมา
คือ คุณสมเดช วรลักษณ์ภักดี ปัจจุบันมี คุณปริญดา หรูนหีม รับผิfชอบโดยตรง



ผลงานวิจัยเด่น
นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ปักษ์ที่ 483 วันที่ 15 กรกฎาคม 2553 เคยตีพิมพ์
งานวิจัยมะพร้าวกะทิลูกผสมไปแล้วค่อนข้างละเอียด

แต่ขอนำเรื่องมาเล่าย้อนหลังอีกสักนิด แต่เดิมนักวิชาการเกษตร มีงานวิจัยให้ได้
มะพร้าวพันธุ์ดี ซึ่งก็ได้มาหลายสายพันธุ์ อาทิ ชุมพรลูกผสม 60, สวี 1, สวี 2
เป็นต้น ต่อมาจึงมีงานวิจัยมะพร้าวให้ได้มะพร้าวกะทิ ซึ่งใช้เวลากว่า 10 ปี จึง
ประสบผลสำเร็จ ถือว่าเป็นงานวิจัยมะพร้าวกะทิชิ้นแรกของโลก เมื่อปี 2551 จึง
ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมของกรมวิชาการเกษตร รวมทั้งงานวิจัยยอดเยี่ยมในวาระที่
กรมวิชาการเกษตร ก่อตั้งครบ 36 ปี

แนวทางการวิจัย เขาได้นำเกสรมะพร้าวกะทิมาผสมกับมะพร้าวหลายๆ สายพันธุ์
แต่ที่พบว่ามีลักษณะดีเด่น คือคู่ผสมระหว่างมะพร้าวมลายูสีเหลืองต้นเตี้ยxกะทิ
และมะพร้าวน้ำหอมxกะทิ

เป็นลูกผสม 2 สายพันธุ์

แต่ละสายพันธุ์มีลักษณะดังนี้
1. มะพร้าวพันธุ์ลูกผสมกะทิ ระหว่างมลายูสีเหลืองต้นเตี้ยxกะทิ (YDK) เป็นพันธุ์
ที่ให้ผลผลิตสูงสุด จำนวน 3,378 ผล/ไร่/3 ปีแรก คิดเป็นรายได้ 28,008 บาท/
ไร่/3 ปีแรก มีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิต/ไร่ ให้สูงขึ้นเป็น 34,002 บาท/ไร่/3 ปี
แรก โดยเลือกแหล่งที่ปลูกให้ปลอดจากมะพร้าวธรรมดา และให้มีรายได้สูงขึ้น
เป็น 55,737 บาท/ไร่/3 ปีแรก โดยใช้เทคโนโลยีในการทำหมันและช่วยผสม
พันธุ์มะพร้าวด้วยละอองเกสรมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ พันธุ์มะพร้าวดังกล่าวจึง
สามารถเสนอเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร ในปี 2550

2. มะพร้าวพันธุ์ลูกผสมกะทิ ระหว่างพันธุ์น้ำหอมxกะทิ (NHK) ให้มะพร้าวลูก
ผสมกะทิที่ให้ผลผลิตเป็นมะพร้าวกะทิที่มีกลิ่นหอมทั้งน้ำและเนื้อ จำนวน 55
เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนต้นที่ปลูก ต้นมะพร้าวลูกผสมกะทิจำนวนดังกล่าวสามารถ
ใช้พัฒนาพันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ย โดยใช้เทคนิคการผสมพันธุ์ คัดเลือก
พันธุ์ และการเพาะเลี้ยงคัพภะมะพร้าว ในเบื้องต้นพันธุ์คู่ผสมระหว่างน้ำหอมx
กะทิ สามารถเสนอเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรได้อีก 1 พันธุ์

ลูกผสมทั้ง 2 สายพันธุ์ เมื่อนำไปปลูก จะให้ผลที่เป็นกะทิราว 25 เปอร์เซ็นต์ แต่
หากมีการควบคุมเกสรจะได้มากกว่านี้

ตัวอย่าง...ในปีหนึ่งมะพร้าวติดผล จำนวน 100 ผล/ต้น/ปี ในจำนวนนี้ 25 ผล จะ
เป็นกะทิ

ปกติมะพร้าวธรรมดา ขายกันเป็นมะพร้าวแกง ผลละ 8 บาท จะมีรายได้ 800
บาท/ต้น/ปี หากปลูกแล้วได้มะพร้าวกะทิ25 ผล หากขายผลละ 50 บาท จะได้
เงินจากการขายมะพร้าวกะทิ 1,250 บาท บวกกับที่ไม่เป็นกะทิ 600 บาท เป็น
เงิน 1,850 บาท ดังนั้น ผู้ปลูกมะพร้าวจะมีรายได้ต่อต้นเพิ่มขึ้น

หากพื้นที่ไร่หนึ่ง ปลูกมะพร้าวได้ 25 ต้น (ระยะ 8x8 เมตร) เกษตรกรจะมีรายได้
จากการปลูกมะพร้าว 46,250 บาท/ไร่ นี่คือเหตุผลหลักที่ทำให้มีงานวิจัยเกิดขึ้น

เป็นการคิดคำนวณด้วยตัวเลขกลางๆ บางท้องถิ่น ผลผลิตมะพร้าวต่อต้นอาจจะ
สูงกว่านี้ รวมทั้งราคาขายสูงกว่านี้ อาจจะมีรายได้เพิ่มขึ้น

ถึงแม้มะพร้าวกะทิ จะเป็นที่นิยมบริโภคกันเฉพาะกลุ่ม แต่ราคาขายนั้นไม่ได้ถูก
แถบวัดญาณฯ บางละมุง ชลบุรี ชาวต่างชาติจะมาเที่ยวเป็นกลุ่ม โดยเฉพาะชาว
จีน ชาวฮ่องกง นิยมมะพร้าวกะทิกันมาก ราคาที่ชาวบ้านขายได้ผลละ 60-80 บาท

ในเรื่องคุณค่าของมะพร้าวที่เป็นกะทิ เดิมทีเข้าใจกันว่า หากบริโภคกันมากๆ แล้ว
ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ แต่จริงๆ แล้ว ตรงกันข้าม คือเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ใน
ต่างประเทศ อย่างจีน ถึงกับดื่มกะทิคล้ายๆ กับดื่มนมกันเลยทีเดียว แถวศรีลังกา
ก็มีเครื่องดื่มประเภทนี้

ปัจจุบัน มะพร้าวลูกผสมทั้ง 2 สายพันธุ์ ของกรมวิชาการเกษตร ได้รับความสนใจ
กันมาก ยอดสั่งจองล้น ต้องรอคิวนานข้ามปี

งานวิจัยมะพร้าวกะทิให้ได้ผลผลิต 25 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเป็นงานชิ้นเอกของคุณ
สมชายและทีมงาน

คุณสมชาย บอกว่า ขึ้นปีงบประมาณใหม่นี้ จะเริ่มงานวิจัย คัดสายพันธุ์ให้ได้
มะพร้าวกะทิลูกผสม 50 เปอร์เซ็นต์

"ผมยังไม่เกษียณ คิดว่าจะอยู่จนทำกะทิให้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์" คุณสมชาย
บอกอย่างอารมณ์ดี

จริงๆ แล้ว อีก 2 ปี นักวิชาการเกษตรผู้เปรื่องปราดท่านนี้ก็จะเกษียณ เชื่อเหลือ
เกินว่า งานต่างๆ คงได้รับการสานต่อให้ก้าวหน้าอย่างแน่นอน



กะทิ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำได้
ตามที่แนะนำไปแล้ว เรื่องการทำมะพร้าวให้ได้กะทิ 25 เปอร์เซ็นต์/ต้น/ปี เขาใช้
วิธีการผสมพันธุ์ ต้นใหม่ที่ได้ มาจากการเพาะเมล็ดหรือนำผลมะพร้าวไปเพาะ

แต่มีแปลงปลูกมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ 100 เปอร์เซ็นต์ อยู่จำนวนหนึ่ง ที่เขาขยาย
พันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อคุณปริญดา หรูนหีม ผู้รับผิดชอบโครงการภาค
สนาม เล่าว่า เมื่อมีการวิจัยจนได้ผลมะพร้าวกะทิ จากพันธุ์ลูกผสมแล้ว ทางทีม
งานวิจัยได้นำคัพภะหรือต้นอ่อน จากผลมะพร้าวที่เป็นกะทิมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ซึ่งผลการเพาะเลี้ยงทำได้ยาก จึงได้ต้นพันธุ์จำนวนไม่มาก

ปัจจุบัน ต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อ ที่นำลงปลูกเริ่มให้ผลผลิตแล้ว ผู้วิจัย
กำลังคัดเลือกต้นที่มีลักษณะดี โดยดูข้อของลำต้น ใบ และการให้ผลผลิต

จากการนำต้นที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อลงปลูก ลักษณะของต้นและผลแตก
ต่างกันออกไปมาก บางต้นไม่สามารถที่จะเก็บไว้ทำพันธุ์ได้เลย

ผลผลิตที่ได้จากต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ผลผลิตไม่ดก ทั้งนี้ เกิดจากการคลุมช่อ
ดอก เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นอื่นมาผสมนั่นเอง

คุณสมชาย บอกว่า การนำต้นที่ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อ ปลูกเพื่อให้ได้กะทิ 100
เปอร์เซ็นต์ มีทำแล้วที่เกาะกลางเขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี แต่หากปลูก
โดยทั่วไป ต้องปลูกห่างจากมะพร้าวอื่น 5 กิโลเมตร หรือรอบๆ แปลงมะพร้าวมี
ไม้ชนิดอื่นขึ้นล้อมรอบอยู่ แต่เปอร์เซ็นต์กะทิอาจจะไม่ถึง 100 เปอร์เซ็นต์

เรื่องราวงานวิจัยมะพร้าวกะทิ มี 2 ประเด็น หรือ 2 แนวทาง ด้วยกัน

หนึ่ง...เขาผสมพันธุ์มะพร้าว โดยใช้เกสรมะพร้าวกะทิ 100 เปอร์เซ็นต์ จากเกาะ
ที่เขื่อนเขาแหลม ผสมเข้าไปในมะพร้าวมลายูต้นเตี้ยและมะพร้าวน้ำหอม นำผล
ที่ได้ไปเพาะ แล้วนำไปปลูก ลูกที่ออกมาจะเป็นกะทิ 25 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิต
ทั้งปี

สอง...นักวิจัย เอาต้นอ่อน จากผลมะพร้าวกะทิเท่านั้น ไปเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ นำ
ต้นที่ได้ไปปลูก เมื่อมีดอก ต้องคลุมถุงเพื่อไม่ให้เกสรต้นอื่นมาผสม จะได้กะทิ
100 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันพบต้นที่มีลักษณะดีแล้วหลายต้น

ผลกะทิ ที่นำต้นอ่อนมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ไม่จำเป็นต้องนำมาจากลูกผสม 2 สาย
พันธุ์ แต่นำมาจากที่ไหนก็ได้

ถือว่าเป็นงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อวงการเกษตรไทยอย่างยิ่ง

ผู้สนใจสอบถามได้ที่ คุณสมชาย วัฒนโยธิน โทร. (02) 940-5484 ต่อ
118 หรือ คุณปริญดา หรูนหีม โทร. (081) 472-2647 และ (086) 657-
4517


http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05030011153&srcday=&search=no

--pagebreak--

แหล่งปลูกกระจายทั่วทุกภาค จังหวัดที่ปลูก มะพร้าวมากที่สุด คือจังหวัดชลบุรี คิดเป็นร้อยละ10 ของพื้นที่ทั้งหมด รองลงมาคือ ราชบุรี่ สมุทรสาคร นครปฐม และชุมพร แต่ผลผลิตมะพร้าวน้ำหอมจังหวัดสมุทรสาครมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ให้ผลผลิตแล้วเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือ จังหวัดราชบุรี

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
• ควรมีฝนตกกระจายสม่ำเสมอไม่น้อยกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี และไม่ควรมีฝนตกน้อยกว่า 50 มิลลิเมตร เกิน 3 เดือน
• อุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส จะสูงหรือต่ำกว่านี้ไม่เกิน 7-8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิไม่ควรเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน
• มะพร้าวควรได้รับแสงแดดอย่างน้อย 5 ชั่วโมงต่อวัน แสงแดดต้องสาดส่องอย่างสม่ำเสมอตลอดปี
• ควรมีลมพัดอ่อน ๆ แต่พัดอย่างสม่ำเสมอ
• ดินไม่เปรี้ยวหรือเค็มจัด มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ และความชื้นพอเหมาะ แต่ถ้าเป็นดินน้ำไหลทรายมูลที่เกิดจากน้ำพัดพามาสะสม เช่น ดินริมแม่น้ำ จะปลูกมะพร้าวได้ดีที่สุด

พันธุ์มะพร้าวน้ำหอม
เชื่อว่ามะพร้าวน้ำหอมกลายพันธุ์มาจากพันธุ์หมูสีเขียว เกิดจากการคัดเลือกพันธุ์โดยธรรมชาติ จุดเด่นคือ น้ำมะพร้าวมีกลิ่นหอมและรสหวานจึงเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นการค้ามากที่สุด ในบรรดามะพร้าวที่ปลูกเพื่อขายผลอ่อน เป็นมะพร้าวที่ให้ผลเร็วติดผลดกและต้นเตี้ย การบานของดอกตัวผู้และดอกตัวเมียใกล้เคียงกัน จึงผสมตัวเอง แทนที่จะผสมข้ามต้นแบบมะพร้าวต้นสูง ทำให้มะพร้าวน้ำหอมไม่ค่อยกลายพันธุ์

วิธีการปลูก
การเตรียมที่ปลูก
  
ที่ลุ่ม

พื้นที่ลุ่มน้ำท่วมขังจำเป็นต้องยกร่องให้สูงกว่าระดับน้ำ ไม่น้อยกว่า 50 ซม. คันร่อง กว้าง 5-8 เมตร ร่องลึก 1 เมตร กว้าง1 1/2 - 2 เมตร
  
ที่ดอน
ถ้าเป็นพื้นที่รกร้าง ต้องถางให้เตียน โค่นต้นไม้และขุดตอออกให้หมด เพื่อสะดวกในการดูแลรักษามะพร้าวต่อไป
  
ระยะปลูกที่เหมาะสม
คือ ระยะระหว่างต้น x ระยะระหว่างแถว เท่ากับ 6x6 เมตร
  
การเตรียมหลุมปลูก
การปลูกมะพร้าวบนที่ดอนและดินมีความอุดมสมบูรณ์ เช่น เป็นดินทราย หรือดินลูกรัง ควรขุดหลุมกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร และลึก 1 เมตร ส่วนในที่ลุ่มหรือที่ที่ดินอุดมสมบูรณ์อาจขุดหลุมให้เล็กกว่านี้ได้ การเตรียมหลุมปลูกที่ดีจะช่วยให้หน่อมะพร้าวเจริญเติบโตเร็วการขุดหลุม ให้ขุดเอาดินผิวไว้ด้านหนึ่ง และดินชั้นล่างไว้อีกทางหนึ่ง และควรขุดในฤดูแล้ง หลังจากขุดหลุมแล้ว ให้ตากดินไว้สัก 7 วัน ถ้าสามารถหาไม้มาเผาในก้นหลุมจะช่วยป้องกันปลวกหลังจากขุดหลุมแล้ว เมื่อจะใส่ดินลงในหลุม ถ้าที่ปลูกนั้นเป็นที่ดอน และสามารถหากาบมะพร้าวมารองก้นหลุมได้ ควรรองก้นหลุมด้วยกาบมะพร้าวสัก 2 ชั้น แล้วจึงเอาดินชั้นบนใส่ลงไปประมาณครึ่งหลุม และใช้ดินเคล้ากับปุ๋ยคอกผสมลงไป บางแห่งก็แนะนำให้ใส่ปุ๋ยกับดิน และกาบมะพร้าวสลับกันไปเป็นชั้น ๆ ปุ๋ยคอกที่ใส่ควรใส่หลุมละประมาณ1 ปี หรือ หินฟอสเฟตครึ่งกิโลกรัมต่อหลุม ใส่ดินและปุ๋ยที่ผสมกันแล้วจนเต็มหลุมและทิ้งไว้จนถึฤดูปลูก
  
การปลูก
หลังจากฝนตกหนัก 2 ครั้ง ในช่วงต้นฝนจึงเริ่มลงมือปลูก โดยขุดดินตรงกลางหลุม ขนาดเท่าผลมะพร้าว เอาหน่อมะพร้าววางลงจัดรากให้แผ่ตามธรรมชาติ เอาดินกลบเหยียบด้านข้างให้แน่น กลบดินให้เสมอผิวของผลมะพร้าว ปักหลักกันลมโยกในระยะแรก ๆ ควรทำร่มบังแดดด้วย

  
การดูแลรักษา
การให้น้ำ
ในช่วง 1-2 ปีแรก การให้น้ำแก่ต้นมะพร้าวเป็นสิ่งจำเป็นในฤดูแล้ง ควรรดน้ำอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง และใช้เศษหญ้าคลุมโคนมะพร้าวเพื่อรักษาความชื้น
  
การใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ในช่วงฤดูฝน ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ปริมาณเท่าจำนวนอายุของมะพร้าว แต่ไม่เกิน 4 กิโลกรัม ต่อต้นต่อปี สำหรับปุ๋ยคอกใส่ประมาณ 2 ปีบต่อต้นต่อปี ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมีห่างจากโคนต้นมะพร้าวออกมา 15 เซนติเมตร จนถึงรัศมี 1.5 เมตร รอบต้น

การปลูกพืชแซม
ในปีที่ 1-2 มะพร้าวอ่อนยังมีทรงพุ่มไม่ใหญ่นัก และยังไม่ได้ผลผลิต ช่วงนี้จึงควรปลูกพืชอายุสั้น เช่น พืชผัก พืชตระกูลถั่ว พืชไร่ หรือ พืชสวน เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับผู้ปลูกมะพร้าวอ่อน

ศัตรูมะพร้าว

ด้วงแรด
กัดกินยอดมะพร้าวทำให้ใบมะพร้าวขาดเป็นริ้ว ๆ รูปสามเหลี่ยม ต่อมาทางมะพร้าวจะหักพับลงทำให้มะพร้าวโทรม หรือตายได้ แหล่งขยายพันธุ์ในซากลำต้นหรือตอของมะพร้าว หรือมูลสัตว์ที่กองทิ้งไว้นาน ๆ การกำจัดแหล่งขยายพันธุ์เป็นการป้องกันที่ดีที่สุด
การป้องกันกำจัด
ใช้วิธีเขตกรรม
การกำจัดแหล่งขยายพันธุ์เป็นวิธีที่ดีที่สุด และลงทุนน้อย โดยไม่ปล่อยแหล่งขยายพันธุ์ไว้เกิน 2-3 เดือน มีวิธีดำเนินการดังต่อไปนี้
• เผาหรือฝังซากท่อนมะพร้าว ตอมะพร้าว
• นำชิ้นส่วนของพืชและมูลสัตว์ที่กองทิ้งไว้ ควรเกลี่ยกระจายบนพื้นดินไม่ให้หนาเกิน 15 ซม.
• ถ้าจำเป็นต้องกองทิ้งไว้เกิน 2-3 เดือน ควรหมั่นพลิกกลับกอง เพื่อตรวจหาไข่หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัยของด้วงแรด แล้วกำจัดทันที
ใช้วิธีกล
• หมั่นทำความสะอาดบริเวณตอมะพร้าวตามโคน และยอด หากพบให้ใช้เหล็กแหลมแทงด้วงแรดในรู เพื่อกำจัดทันที ก่อนจะทำลายตายอดมะพร้าว พร้อมใส่สารฆ่าแมลงป้องกันไม่ให้ด้วงงวงมะพร้าววางไข่
ใช้สารฆ่าแมลง
• พอสซ์ หรือลอร์สแบบ 40 อีซี ปริมาณ 80 มล./น้ำ 20 ลิตร สำหรับมะพร้าวอายุ 1-5 ปี ราดบริเวณคอมะพร้าวให้เปียกชุ่มโดยใช้น้ำยาผสมประมาณ 1-1.5 ลิตร/ต้น ตามขนาดของคอมะพร้าว ห่างกัน 15-20 วัน ทำติดต่อกัน 1-2 ครั้ง
• เซฟวิน 85 ดับบลิวพี ใช้เซฟวิน 85 ดับบลิวพี 1 ส่วน ผสมขี้เลื่อย 33 ส่วน ใช้ทารอบยอดส่วนของโคน ทางใบมะพร้าว
• ลูกเหม็น ใช้ลูกเหม็น 6-8 ลูก/ต้น ใส่ลูกเหม็นไว้ที่โคนทางมะพร้าวที่อยู่รอบยอดที่ยังไม่คลี่จำนวน 3-4 ทาง ๆ ละ 2 ลูก ลดจำนวนลูกเหม็นลงเป็น 1 ลูก/ทางใบมะพร้าวต้นเล็ก
• ฟูราดาน 3% จี ใช้ฟูราดาน 200 กรัม/ต้น โรยรอบคอมะพร้าวตามโคนกาบใบ

ด้วงงวงชนิดเล็กและชนิดใหญ่
ตัวด้วงกัดกินส่วนอ่อนของมะพร้าว เช่น ยอดอ่อนหรือโคนมะพร้าว ทำให้มะพร้าวแคระแกร็น ใบหดสั้น ใบอ่อนร่วงหล่น คอมะพร้าวเน่า และตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด
ใช้น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว หรือ ชันผสมน้ำมันยาง ทารอบต้นตั้งแต่โคนต้นถึงระดับเหนือพื้นดิน 2 ฟุต ที่พบรอยแผลหรือรอยแตกของเปลือก เพื่อป้องกันการวางไข่ ทำปีละ 2 ครั้ง ใช้สารเคมีลอร์สแบน 40-80 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หยอดตามรอยแผลหรือรูเจาะที่เกิดจากด้วงแรด บริเวณรอบคอมะพร้าว และราดบริเวณบาดแผลที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อน พร้อมอุดรูด้วยดินน้ำมัน หรือดินเหนียว
การเก็บเกี่ยว
วิธีการที่สามารถใช้สังเกตอายุการเก็บเกี่ยวมะพร้าวที่เหมาะสมได้ เช่น
• การนับทะลาย นับทะลายที่จะเก็บเกี่ยวเป็นทะลายที่หนึ่ง แล้วนับทะลายที่ออกตามมาเป็นทะลายที่สองและสามไปเรื่อย ๆ เมื่อจั่นที่ 12 แทงออกและกาบหุ้มยังไม่แตกเป็นระยะที่ มะพร้าวทะลายแรกอยู่ในช่วงที่อ่อนกำลังดี
• สังเกตจากหางหนู เก็บเกี่ยวในช่วงที่หางหนูแห้งครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งยังสดอยู่
• สังเกตจากสีผล ให้สังเกตบริเวณรอยต่อของขั้วกับตัวผล ซึ่งจะเห็นเป็นวงสีขาว ๆ รอบขั้วผลอยู่ในระยะที่เพิ่ง เลือนหายไป

วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
• แช่ผลมะพร้าวในสารละลายโซเดียมเมตาซัลไฟท์ ความเข้มข้นประมาณ 3 % นาน 3 นาที จะช่วยรักษาสีผิวของมะพร้าวอ่อนให้เก็บในอุณหภูมิต่ำได้นานเป็นเดือน
• หุ้มผลด้วยฟิล์มพลาสติกเพื่อป้องกันผลเหี่ยว และช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการควบแน่นของไอน้ำระหว่างการเก็บรักษา ซึ่งถ้ามีน้ำสะสมที่ผิวผลมากจะทำให้เกิดเชื้อราขึ้นระหว่างการเก็บรักษาหรือการวางจำหน่ายได้
• อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับรูปแบบ หรือลักษณะของมะพร้าว หากเป็นมะพร้าวที่แต่งเปลือกเขียวออกจนหมดควรเก็บที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสจะเก็บได้นานถึง 4 สัปดาห์ แต่ถ้าปอกเปลือกนอกออกทั้งหมด เหลือเฉพาะส่วนขั้วผลและขัดกะลาจนเรียบ ควรเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 2-4 องศาเซลเซียส แต่ถ้าแต่งเปลือกสีเขียวออกบางส่วนจะต้องเก็บที่อุณหภูมิสูงขึ้นคือ 10 องศาเซลเซียสเพื่อป้องกันความเสียหาย จากความเย็นที่ส่วนเขียวซึ่งจะเกิดจุดสีน้ำตาล และทำให้เปลือกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหากเก็บที่อุณหภูมิต่ำนานเกิน

การแปรรูป
• มะพร้าวแก้ว
• วุ้นมะพร้าว
• มะพร้าวสวรรค์
• ข้าวเกรียบมะพร้าว
• เยลลี่มะพร้าว




http://it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=42



การเกิดมะพร้าวกะทิ


ซูนิก้า (Zunica) ชาวฟิลิปปินส์ได้ทำการศึกษา โดยการควบคุมการผสมเกสร
มะพร้าวต้นที่ให้ผลมะพร้าวกะทิ  และมะพร้าวธรรมดา ให้ผสมตัวเอง ผลปรากฎ
ว่าได้ผลมะพร้าวธรรมดา 3 ส่วน และมะพร้าวกะทิ 1 ส่วน จึงสรุปได้ว่าการเกิด
มะพร้าวกะทิเป็นเรื่องของพันธุกรรม ลักษณะการเกิดมะพร้าวกะทิถูกควบคุมโดยยืน
เพียงคู่เดียว และถ่ายทอดตามกฎของเมนเดลทุกประการ ลักษณะกะทิเป็นลักษณะ
ด้อย  ส่วนลักษณะธรรมดาเป็นลักษณะข่ม  และต้นมะพร้าวที่ให้ลูกเป็นกะทิอยู่
ในสภาพฮีทธีโรไซโกท (Heterozygote)หรือลักษณะที่เป็นพันธุ์ทาง  เมื่อ
มะพร้าวธรรมดาผสมกับมะพร้าวพันธุ์ทาง  จึงให้ผลผลิตออกมาเป็นมะพร้าว
ธรรมดา 3 ส่วน มะพร้าวกะทิ 1 ส่วน


ปัจจุบันฟิลิปปินส์ได้พบมะพร้าวต้นที่ให้ผลมีเนื้อเหมือนมะพร้าวธรรมดาไม่ฟู  เมื่อ
เคี้ยวจะมีลักษณะนุ่มอร่อย ฟิลิปปินส์เรียกมะพร้าวพันธุ์ดังกล่าวว่า “โลโน”(Lono)
ผลมะพร้าวโลโนไม่สามารถเพาะให้งอกเป็นต้นเช่นเดียวกับมะพร้าวกะทิ


การสังเกตผลมะพร้าวกะทิ
การเก็บเกี่ยวมะพร้าวจากต้นที่เป็นกะทิในทะลายหนึ่ง  จะพบผลที่เป็น
กะทิประมาณ 1 หรือ 2 ผล ใน 10 ผล  ข้อสังเกตผลที่เป็นกะทิอายุ 11-12
เดือน เมื่อเขย่าผลจะไม่ได้ยินเสียงดอนน้ำ  ถ้าเป็นมะพร้าวปกติจะได้ยินเสียงดอน
น้ำ ชาวสวนมะพร้าวบางคนมีความชำนาญจากการฟังเสียง  เมื่อปอกเปลือกออก
เหลือแต่กะลาแล้วใช้นิ้วดีดเสียงดังจะแตกต่างกันระหว่างมะพร้าวกะทิและมะพร้าว
ปกติ


ปรากฏการณ์การเกิดมะพร้าวกะทิในธรรมชาติ
มะพร้าวกะทิที่พบส่วนใหญ่เกิดขึ้นในมะพร้าวกลางและมะพร้าวใหญ่  ซึ่งเป็น
มะพร้าวพันธุ์ต้นสูง  ที่มีช่วงการบานของดอกตัวผู้ และดอกตัวเมีย ไม่คาบเกี่ยว
กันเนื่องจากต้นมะพร้าวที่ให้ผลมะพร้าวกะทิอยู่ในสภาพฮีทธีโรไซโกต
(Heterozygote) หรือพันธุ์ทาง โอกาสจะเกิดมะพร้าวกะทิบางผลในมะพร้าว
ต้นนั้นจะเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ


1.  มะพร้าวที่ให้ผลกะทิ ปลูกอยู่เพียงต้นเดียวท่ามกลางมะพร้าวที่ให้ผลปกติ
การจะเกิดมะพร้าวกะทิได้จะต้องเกิดจากการผสมเกสรระหว่างเกสรตัวเมียของจั่นพี่
กับเกสรตัวผู้ของจั่นน้องภายในต้นเดียวกัน


2.  มะพร้าวที่ให้ผลกะทิ ปลูกอยู่หลายต้นในบริเวณเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน
การเกิดมะพร้าวกะทิจะเกิดจากการผสมข้ามต้น หรือผสมภายในต้นเดียวกันแต่คน
ละจั่น


นอกจากพบมะพร้าวกะทิ  ในมะพร้าวพันธุ์ต้นสูงแล้วยังพบมะพร้าวกะทิในพันธุ์
มะพร้าวน้ำหอม หรือหมูสีเขียว ซึ่งเป็นพันธุ์เตี้ย  โอกาสที่จะพบมะพร้าวกะทิใน
มะพร้าวน้ำหอมมีน้อยมาก  เพราะส่วนใหญ่จะเก็บผลอ่อนขาย  จะพบได้ในกรณี
ที่เจ้าของสวนเก็บผลไว้ทำพันธุ์  ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น  จึงเป็นแนวทางในการ
พัฒนาพันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ยพันธุ์แท้ต่อไป


การเพิ่มประชากรมะพร้าวกะทิ
จากปรากฏการณ์การเกิดมะพร้าวกะทิในธรรมชาติ  สามารถที่จะนำความรู้ที่เกิด
ขึ้นนั้นมาพัฒนาเพื่อสร้างสายพันธุ์ที่ให้มะพร้าวกะทิที่มีคุณภาพ  และมีปริมาณ
มากพอเพียงกับความต้องการของตลาดภายในประเทศ และนำไปสู่การส่งออก
ตลาดต่างประเทศ ทั้งในรูปเนื้อสดและแปรรูป


การเพิ่มประชากรมะพร้าวกะทิมีวิธีดำเนินการ ดังต่อไปนี้
1.  เก็บผลมะพร้าวที่ผลปกติในทะลายที่มีมะพร้าวกะทิมาเพาะ เป็นวิธีที่
เกษตรกรดำเนินการมาเป็นเวลานานแล้ว  โอกาสที่จะได้ต้นมะพร้าวกะทิมีเพียง
ครึ่งเดียว


2.  ควบคุมการผสมเกสรต้นมะพร้าวกะทิให้ผสมตัวเอง โดยการตัดดอกตัวผู้ไป
ผลิตเป็นละอองเกสรที่มีความชื้นไม่เกิน 15% เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดาได้นาน 2
สัปดาห์  ใช้ถุงผ้าใบคลุมจั่นที่มีดอกตัวเมีย เมื่อบานก็นำละอองเกสรผสมกับแป้ง
ดินสอพอง อัตราส่วน 1:20 ไปพ่นทุกวันจนกว่าดอกตัวเมียจะบานหมด ทิ้งไว้ 2
สัปดาห์ แล้วจึงเปิดถุงออก วิธีการนี้จะมีโอกาสได้ต้นมะพร้าวกะทิ 2 ใน 3 แต่ต้น
มะพร้าวกะทิส่วนใหญ่จะสูงมาก  จึงลำบากในการปีนขึ้นไปตัดดอกตัวผู้และผสม
พันธุ์


3.  การนำคัพภะมะพร้าวกะทิไปเพาะเลี้ยงในอาหารวิทยาศาสตร์  ในห้อง
ปฏิบัติการสภาพปลอดเชื้อ บุคคลที่เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการ จนเป็นผลสำเร็จเป็นคน
แรกคือ ดร. เดอ กูซแมน (Dr.de Guzman) อาจารย์มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์
แห่งลอส บันยอส (Los Banos)เมื่อปี 2503 และในปี 2533 ทีมงานของศูนย์
วิจัยฟิลิปปินส์ได้พัฒนาการเพาะเลี้ยงคัพภะมะพร้าวกะทิจำหน่ายให้เกษตรกรปลูก
เป็นการค้า  ต้นมะพร้าวกะทิที่ได้มะพร้าวกะทิพันธุ์แท้แต่เนื่องจากประเทศ
ฟิลิปปินส์ ปลูกมะพร้าวพันธุ์ปกติอยู่ทั่วไป จึงหาที่ปลอดจากมะพร้าวพันธุ์อื่นได้
ยาก  การปลูกมะพร้าวกะทิใกล้กับมะพร้าวพันธุ์ปกติ  ทำให้ผลผลิตที่ได้จะเป็น
กะทิประมาณ 50-75% ที่เป็นเช่นนี้เพราะอิทธิพลของละอองเกสรมะพร้าวธรรมดา
ปลิวมาผสมพันธุ์กับดอกเกสรตัวเมียของมะพร้าวกะทิทำให้มะพร้าวผลนั้นเป็น
มะพร้าวปกติ


(คัพภะ คือ ส่วนที่เป็นเมล็ดสีเหลืองอ่อนที่อยู่ในเนื้อมะพร้าวตรงบริเวณตานิ่ม ซึ่ง
จะพัฒนาเป็นจาว และต้นมะพร้าว)
สำหรับประเทศไทย ในปี 2530 ดร.อุทัย 
จารณศรี  แห่งบริษัทบางกอกฟลาวเวอร์เซ็นเตอร์  จำกัด  ได้ทำการเพาะเลี้ยง
มะพร้าวกะทิที่ได้จากพันธุ์มะพร้าวใหญ่และมะพร้าวกลางในอำเภอทับสะแก 
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  มะพร้าวกะทิมี 3 ลักษณะ คือ ผลใหญ่ กลาง และเล็ก
เริ่มปลูกตั้งแต่ปี 2531-2533 รวมต้นที่ปลูก 2,150 ต้น ที่ริมอ่างเก็บน้ำเขื่อน
เขาแหลม  ในพื้นที่ประมาณ 250 ไร่ ที่อำเภอทองผาภูมิ  จังหวัดกาญจนบุรี
และพื้นที่ที่ปลูกมะพร้าวอยู่ห่างไกลจากมะพร้าวพันธุ์อื่นประมาณ 10 กม.  เนื่อง
จากมะพร้าวกะทิที่ได้เป็นพันธุ์กะทิแท้อยู่ในสภาพรีเซสสิฟ โฮโมไซโกต
(Recessive Homozygote) จึงพบลักษณะที่ผิดปกติในต้นพันธุ์มะพร้าวกะทิ
ค่อนข้างสูง ลักษณะที่ผิดปกติที่พบ ได้แก่ ปล้องห่าง ก้านทางทำมุมแหลมกับลำ
ต้น ใบย่อยแคบ และเรียงกันห่าง ๆ จั่นสั้น ระแง้จั้นหยิกไม่มีดอกตัวเมีย ผลบิดเบี้ยว
เป็นต้น  อย่างไรก็ตามสวนมะพร้าวกะทิ ดังกล่าวจัดว่าเป็นสวนมะพร้าวกะทิพันธุ์
แท้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก  ผลผลิตที่ได้มะพร้าวกะทิ 100% และเป็นแหล่งพันธุ
กรรมมะพร้าวกะทิที่มีประโยชน์ในด้านการปรับปรุงพันธุ์  ปัจจุบันดำเนินการโดย
คุณจิตติ  รัตนเพียรชัย และ ดร.อุทัย  จารณศรี  แห่งบริษัท อุติ จำกัด  ซึ่ง
ได้ให้ความเอื้อเฟื้อกับกรมวิชาการเกษตร โดยให้ผู้เขียนไปศึกษาพันธุ์มะพร้าวกะทิ
และคัดเลือกต้นพันธุ์ที่มีลักษณะที่ดี นำดอกตัวผู้มาผลิตละอองใช้ในการปรับปรุง
พันธุ์มะพร้าวกะทิ


4.  ผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์มะพร้าวธรรมดากับมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้เพื่อหาสาย
พันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตมะพร้าวกะทิที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด  และ
มะพร้าวธรรมดามีเนื้อหนา เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง กรมวิชาการเกษตร ได้ทำการผสม
พันธุ์มะพร้าวระหว่างมะพร้าวธรรมดากับมะพร้าวกะทิ  โดยใช้พันธุ์ธรรมดาเป็นต้น
แม่ ได้แก่ พันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย มลายูสีแดงต้นเตี้ย ทุ่งเคล็ด น้ำหอม และ
เวสท์อัฟริกันต้นสูง และคัดเลือกพันธุ์มะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ ที่สวนริมอ่างเก็บน้ำ
เขื่อนเขาแหลม อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี  เก็บดอกตัวผู้มาผลิตละออง
เกสรผสมกับต้นแม่พันธุ์ทั้ง 5 พันธุ์และปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ 2 แห่ง คือ สถานี
ทดลองพืชสวนคันธุลี ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์
ธานี  เมื่อเดือนตุลาคม 2540 พันธุ์ลูกผสมระหว่างทุ่งเคล็ดและกะทิต้นแรกออก
จั่นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2542 อายุประมาณ 2 ปี 1 เดือน แห่งที่ 2 คือ
ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เริ่มปลูกเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม
2542  คาดว่าประมาณ 3 ปี สามารถที่จะทราบในเบื้องต้นว่าพันธุ์ลูกผสมที่จะใช้
เป็นพันธุ์ส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปปลูกเป็นการค้าเป็นพันธุ์ลูกผสมคู่ใด  ซึ่งจะทำ
ให้เกษตรกรมีรายได้จากการทำสวนเพิ่มขึ้น  ถ้าหากเปรียบเทียบระหว่างการทำ
สวนมะพร้าวธรรมดา  เมื่อขายผลผลิต ราคาผลละ 4 บาท จำนวน 100 ผล
เกษตรกรจะได้เงิน 400 บาท  ถ้าปลูกมะพร้าวกะทิลูกผสม  จะได้ผลผลิต
มะพร้าวกะทิประมาณ 25% ผลผลิต 100 ผล จะได้มะพร้าวกะทิ 25 ผล ราคาผล
ละ 20 บาท เป็นเงิน 500 บาท มะพร้าวธรรมดา 75 ผล ๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน
300 บาท เกษตรกรจะขายมะพร้าวจำนวน 100  ผล ได้เงิน 800 บาท 
มากกว่าการทำสวนมะพร้าวธรรมดา เป็นเงิน 400 บาท


5.  การผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์มะพร้าวกะทิเพื่อให้ได้พันธุ์กะทิต้นเตี้ยมีรส
หอมหวานอร่อย โดยใช้มะพร้าวน้ำหอมเป็นต้นแม่พันธุ์ และละอองเกสรมะพร้าว
กะทิพันธุ์แท้ผสมพันธุ์  เมื่อได้ลูกผสมชั่วที่ 1 นำไปปลูกและควบคุมการผสมตัว
เอง ในลูกชั่วที่ 2 จะมีโอกาสที่ได้มะพร้าวกะทิ 1 ใน 6 ส่วน ในขั้นตอนต่อไป
ต้องอาศัยเทคนิคการเพาะเลี้ยงคัพภะมาช่วย  เมื่ได้ต้นมะพร้าวกะทินำไปปลูกคัด
เลือกต้นที่มีลักษณะที่ต้องการ ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเลี้ยงคัพภะ เพื่อเป็นพันธุ์
การค้าต่อไป  ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้เริ่มดำเนินผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์
มะพร้าวน้ำหอมกับพันธุ์กะทิเมื่อต้นปี 2544


ตลาดการค้ามะพร้าวกะทิ
การขายมะพร้าวกะทิส่วนใหญ่จะขายเป็นผล มีเพียงบริษัท อุติ จำกัด ที่จำหน่าย
เฉพาะเนื้อมะพร้าวกะทิ และผลผ่าซีก ผลผลิตที่ได้จากสวนของบริษัทฯ  ในฤดูที่
มีผลผลิตมากจะผ่าและแล่เนื้อมะพร้าวแช่แข็งไว้ และนำออกมาขายในฤดูกาลที่มี
ผลผลิตน้อย  ตลาดส่วนใหญ่คือกรุงเทพฯ เนื่องจากผลผลิตยังมีไม่มาก  ทั้งนี้
เพราะแหล่งมะพร้าวกะทิมีอยู่กระจัดกระจาย  ยุ่งยากต่อการรวบรวมผลผลิตจึงไม่
สามารถส่งขายต่างประเทศ  ทั้ง ๆ ที่ตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการ เช่น
สหรัฐอเมริกา และยุโรป  ซึ่งมีคนเอเซียจากแหล่งปลูกมะพร้าวและรู้จักบริโภค
มะพร้าวกะทิอพยพไปอยู่ยังคงมีกำลังซื้อและมีส่วนแบ่งในตลาดที่ไทยสามารถส่ง
ออกได้  ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ส่งออกมะพร้าวกะทิทั้งในรูปเนื้อสดและ
แปรรูปมากที่สุด ในปี 2534 ส่งออกจำนวน 420 ตัน เป็นเงิน 1 ล้านเหรียญ
สหรัฐ ปี 2537 ส่งออก 643 ตัน เป็นเงิน 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐ


ในอนาคตการเพิ่มประชากรมะพร้าวกะทิให้มากขึ้นจะทำให้การเพิ่มผลผลิตของ
มะพร้าวกะทิพอเพียงสำหรับตลาดภายในประเทศ และเพื่อการส่งออกตลาดต่าง
ประเทศ  งานวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์และการแปรรูปมะพร้าวกะทิเป็น
เรื่องสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการพร้อมกันไป  การศึกษาคุณค่าทาง
โภชนาการของเนื้อมะพร้าวกะทิ  โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรต  กาแลคโตแมนนัน
(Galactomannan) ที่เป็นส่วนประกอบของเนื้อมะพร้าวกะทิ ถ้าหากพบว่าเป็น
กาแลคโตแมนนัน ชนิดเดียวกับที่เป็นส่วนประกอบของบุก การบริโภคมะพร้าวกะทิ
จะเป็นการเพิ่มสารที่เป็นกากใยช่วยให้ระบบการขับถ่ายของเสียจากลำไส้ได้ดีขึ้น


ผู้เขียนขอขอบพระคุณอาจารย์ ดร.อุทัย  จารณศรี และคุณจิตติ  รัตนเพียรชัย
ที่เอื้อเฟื้อให้ใช้ประโยชน์สวนมะพร้าวกะทิในการศึกษาวิจัย
 
.







หน้าก่อน หน้าก่อน (2/3)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (32552 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©