-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 433 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชน้ำ2






แห้ว

โดย นายไสว พงษ์เก่า และนายโสภณ สินธุประมา
         
คนไทยรู้จักแห้วมานานแล้ว เดิมที่เดียวเราต้องสั่งซื้อแห้วจากเมืองจีนเข้ามารับประทานเป็นมูลค่าปีละหลายหมื่นบาท  ประเทศจีนสามารถผลิตแห้วส่งเป็นสินค้าออกไปขายในอเมริกาประเทศเดียวปีละประมาณ ๑,๐๐๐ ตัน นับเป็นพืชที่สามารถทำรายได้ให้กับประเทศได้พืชหนึ่ง  ประเทศไทยสามารถปลูกแห้วได้  แต่ยังไม่มีการปลูกมากนัก  เป็นการผลิตเพื่อใช้ในการบริโภคภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ถ้าสามารถส่งเป็นสินค้าออกไม่ว่าจะในรูปหัวสดหรือบรรจุกระป๋องได้ แห้วจะทำรายได้ให้กับกสิกรและประเทศได้อีกพืชหนึ่งทีเดียว
        
ยังไม่มีสถิติที่แน่นอนเกี่ยวกับเนื้อที่ปลูกผลิตผล และการค้าแห้วของประเทศไทย เท่าที่รวบรวมได้พอจะทราบว่า  ปัจจุบันมีเนื้อที่ปลูกแห้วประมาณ ๕๐๐ ไร่  ราคาหัวแห้วสดเคยสูงถึงกิโลกรัมละ ๒๕-๓๐ บาท  ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๔๙๗    แต่ราคาตกลงเหลือกิโลกรัมละประมาณ ๒ บาท ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๐  เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน แต่ส่วนมากซื้อขายกันเป็นถัง ปัจจุบันราคาถังละ ๓๐-๓๕ บาท ผลผลิตหัวแห้วสดประมาณ ๓-๔ ตันต่อไร่หรือประมาณ ๓๐๐ ถังต่อไร่


ประวัติความเป็นมาและแหล่งปลูก
แห้วหรือแห้วจีน มีชื่อภาษาอังกฤษว่าวอเทอร์นัท (waternut) หรือ ไชนิส  วอเทอร์เชสต์นัต (Chinese water chestnut)  หรือ มาไต (Matai) แห้วเป็นพืชดั้งเดิมของแถบร้อน ขึ้นเองตามธรรมชาติ  ในประเทศทางแถบเอเชียตะวันออกมีการนำแห้วมาปลูกเป็นครั้งแรกในประเทศทางแถบอินโดจีน  หรือจีนภาคตะวันออกก่อน ปัจจุบันมีการปลูกแห้วเป็นการค้าในประเทศจีน  ฮ่องกง  ฟิลิปปินส์สหรัฐอเมริกา (รัฐฮาวาย)  อินเดีย  อเมริกาใต้ และประเทศไทย ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีการปลูกแห้วเป็นการค้าในประเทศไทยเมื่อใด  แต่มีผู้นำแห้วมาปลูกที่จังหวัดเชียงรายนานมาแล้ว และได้นำมาปลูกในเขตอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ปรากฏว่าปลูกได้ผลดี  ได้ผลผลิตหัวสดถึงไร่ละ๔,๐๐๐ กิโลกรัม ราคาในขณะนั้นกิโลกรัมละ ๑๒-๑๕บาท ทำกำไรมากมายให้แก่ผู้ปลูก จึงมีการปลูกแห้วเพิ่มขึ้นขยายเนื้อที่ออกไป  ทำให้ราคาลดลงเรื่อยๆจนเหลือราคากิโลกรัมละ ๒ บาทในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ การขยายเนื้อที่ปลูกจึงไม่กว้างขวางออกไปมากนักแต่ก็ยังมีผู้นิยมปลูกแห้วกันอยู่มากพอสมควร ปัจจุบันมีการปลูกแห้วมากแถวสองฝั่งแม่น้ำท่าจีน  เขตอำเภอเมือง   อำเภอศรีประจันต์   อำเภอสามชุกจังหวัดสุพรรณบุรี เนื้อที่ปลูกประมาณ ๕๐๐-๑,๐๐๐ ไร่


 
ลักษณะทั่วไป
แห้วเป็นพืชปีเดียวขึ้นในน้ำเหมือนข้าว  ต้นเล็กเรียวคล้ายต้นหอม หรือใบกก หรือใบหญ้าทรงกระเทียม  ใบน้อย  หัวเป็นประเภทคอร์ม (corm) สีน้ำตาลไหม้  หัวกลมมีลักษณะคล้ายหอมหัวใหญ่แต่ขนาดเล็กกว่ามาก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประ-มาณ ๑-๔ เซนติเมตร เนื้อสีขาว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แห้วหรือแห้วจีนมาชื่อวิทยาศาสตร์ว่า เอลิโอชาริสดัลซิส ทริน (Eleocharisdulcis Trin.)  มีชื่ออื่นอีก ได้แก่ อี ทูเบอโซา ชุลท์ (E. tuberosa Schult.)  หรือซีปุส  ทูเบอโรซัส  รอกซ์บ (Scirpus tuberosus Roxb.)  อยู่ในตระกูลไซเปอราซี (Cyperaceae)  เป็นกกชนิดหนึ่งคล้ายกับหญ้าทรงกระเทียม  แต่เป็นคนละชนิด (specie) กัน  แห้วเป็นพืชปีเดียว  ลำต้นแข็ง  อวบ  ลำต้นกลวง  ตั้งตรง  มีความสูง ๑-๑.๕ เมตร  ดอกเกิดที่ยอดของลำต้นดอกตัวเมียเกิดเมื่อต้นสูง ๑๕ เซนติเมตร  เหนือน้ำ แล้วจึงเกิดดอกตัวผู้ตามมา เมล็ดมีขนาดเล็ก รากหรือหัวเป็นพวกไรโซม หรือ คอร์ม (rhizomes or corms)  มี ๒ ประเภท หัวประเภทแรกเกิดเมื่อต้นแห้วอายุ ๖-๘ สัปดาห์ ทำให้เกิดต้นแห้วขยายเพิ่มขึ้น หัวประเภทที่สองเกิดหลังจากแห้วออกดอกเล็กน้อยโดยทำมุม ๔๕ องศากับระดับดิน และลึกประมาณ ๑๒ เซนติเมตรจากระดับดิน หัวแห้วระยะเริ่มแรกเป็นสีขาว  ต่อมาเกิดเป็นเกล็ดหุ้มสีน้ำตาลไหม้จนกระทั่งแก่  หัวมีขนาดแตกต่างกัน ขนาดที่ส่งตลาด ๒-๓.๕ ซม.  ต้นหนึ่งๆ แตกหน่อออกไปมากและได้หัวประมาณ ๗-๑๐ หัว

ชนิด
นอกจากแห้วซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ อี ดัลซิส (E.dulcis) แล้ว ยังมีแห้วซึ่งมีรูปร่างคล้ายๆ กันนี้ อีก ๒ ชนิด ชนิดแรกเป็นแห้วป่าขึ้นอยู่ในน้ำนิ่ง  หัว เล็กมาก  สีเข้มเกือบดำ  บางทีเรียกว่า  อี พลานทาจินี  (E. plantaginea) หรือ  อี พลานทาจิโน-อิเดส (E. plantaginoides) อีกชนิดหนึ่งเป็นชนิดที่ต้องปลูก   แห้วชนิดนี้มีหัวใหญ่  มีรสหวาน  เดิมที่เดียว จัดไว้ต่างชนิดออกไป คือ เรียกว่า อี ทูเบอโรซา (E. tuberosa) ปัจจุบันจัดเป็นชนิดเดียวกัน
[กลับหัวข้อหลัก]


แห้วจีน สุพรรณบุรี

แห้วจีน (Water chestnut) เป็นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นที่สำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี และเป็นพืชที่ปลูกได้ผลดีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และยังสามารถปลูกได้เฉพาะบางตำบลของอำเภอศรีประจันต์ และอำเภอเมืองสุพรรณบุรีเท่านั้น ทั้งนี้เพราะแห้วจีนเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในดินชุดสระบุรีไฮเฟต ซึ่งดินชุดนี้มีลักษณะพิเศษคือ จะมีลักษณะคล้ายชั้นดินดาน ลึกประมาณ 50-70 เซนติเมตร ซึ่งเป็นประโยชน์ในการปลูกแห้วจีนเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อแห้วจีนลงหัว หัวของแห้วจีนจะไปกองหรือแผ่ขยายในบริเวณชั้นดินดาน ทำให้สะดวกในการเก็บเกี่ยว แต่ถ้าเป็นดินชุดอื่น จะทำให้แห้วจีนเจริญลงไปเรื่อย ๆ ทำให้ยากต่อการเก็บเกี่ยวและบางครั้งก็ไม่ยอมลงหัว



ประวัติความเป็นมาของแห้วเป็นอย่างไร

ลักษณะหัวแห้วสด


แห้วหรือแห้วจีน มีชื่อภาษาอังกฤษว่า วอเทอร์นัท (waternut) หรือไชนิส วอเทอร์เชสต์นัต (Chinese water chestnut) หรือ มาไต (Matai) แห้วเป็นพืชดั้งเดิมของแถบร้อน ขึ้นเองตามธรรมชาติ ในประเทศทางแถบเอเชียตะวันออกมีการนำแห้วมาปลูกเป็นครั้งแรกในประเทศทางแถบอินโดจีน หรือจีนภาคตะวันออกก่อน ปัจจุบันมีการปลูกแห้วเป็นการค้าในประเทศจีน ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา (รัฐฮาวาย) อินเดีย อเมริกาใต้ และ ประเทศไทย ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีการปลูกแห้วเป็นการค้าในประเทศไทยเมื่อใด แต่มีผู้นำแห้วมาปลูกที่จังหวัดเชียงรายนานมาแล้ว และได้นำมาปลูกในเขตอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ปรากฏว่าปลูกได้ผลดี ได้ผลผลิตหัวสดถึงไร่ละ ๔,๐๐๐ กิโลกรัม ราคาในขณะนั้นกิโลกรัมละ ๑๒-๑๕ บาท ทำกำไรมากมายให้แก่ผู้ปลูก จึงมีการปลูกแห้วเพิ่มขึ้นขยายเนื้อที่ออกไป ทำให้ราคาลดลงเรื่อย ๆ จนเหลือราคากิโลกรัมละ ๒ บาทในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ การขยายเนื้อที่ปลูกจึงไม่กว้างขวางออกไปมากนักแต่ก็ยังมีผู้นิยมปลูกแห้วกันอยู่มากพอสมควร ปัจจุบันมีการปลูกแห้วมากแถวสองฝั่งแม่น้ำท่าจีน เขตอำเภอเมือง อำเภอศรีประจันต์ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เนื้อที่ปลูกประมาณ ๕๐๐-๑,๐๐๐ ไร่


แห้วมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าอะไร

ต้นแห้วเป็นกกชนิดหนึ่งคล้ายกับหญ้ากระเทียม



ลักษณะทั่วไป
แห้วเป็นพืชปีเดียวขึ้นในน้ำเหมือข้าว ต้นเล็กเรียวคล้ายต้นหอม หรือใบกก หรือใบหญ้าทรงกระเทียม ใบน้อย หัวเป็นประเภทคอร์ม (corm) สีน้ำตาลไหม้ หัวกลมมีลักษณะคล้ายหอมหัวใหญ่แต่ขนาดเล็กกว่ามาก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑-๔ เซนติเมตร เนื้อสีขาว

ต้นแห้วระยะออกดอก



ลักษณะทางพฤษศาสตร์
แห้วหรือแห้วจีนมาชื่อวิทยาศาสตร์ว่า เอลิโอชาริสดัลซิส ทริน (Eleocharisdulcis Trin.) มีชื่ออื่นอีก ได้แก่ อี ทูเบอโซา ชุลท์ (E. tuberosa Schult.) หรือ ซีปุส ทูเบอโรซัส รอกซ์บ (Scirpus tuberosus Roxb.) อยู่ในตระกูลไซเปอราซี (Cyperaceae) เป็นกกชนิดหนึ่งคล้ายกับหญ้าทรงกระเทียม แต่เป็นคนละชนิด (speice) กัน แห้วเป็นพืชปีเดียว ลำต้นแข็ง อวบ ลำต้นกลวง ตั้งตรง มีความสูง ๑-๑.๕ เมตร ดอกเกิดที่ยอดของลำต้น ดอกตัวเมียเกิดเมื่อต้นสูง ๑๕ เซนติเมตร เหนือน้ำแล้วจึงเกิดดอกตัวผู้ตามมา เมล็ดมีขนาดเล็ก รากหรือหัวเป็นพวกไรโซม หรือ คอร์ม (rhizomes or corms) มี ๒ ประเภท หัวประเภทแรกเกิดเมื่อต้นแห้วอายุ ๖-๘ สัปดาห์ ทำให้เกิดต้นแห้วขยายเพิ่มขึ้น หัวประเภทที่สองเกิดหลังจากแห้วออกดอกเล็กน้อยโดยทำมุม ๔๕ องศากับระดับดิน หัวแห้วระยะเริ่มแรกเป็นสีขาว ต่อมาเกิดเป็นเกล็ดหุ้มสีน้ำตาลไหม้จนกระทั่งแก่หัวมีขนาดแตกต่างกัน ขนาดที่ส่งตลาด ๒-๓.๕ ซม. ต้นหนึ่ง ๆ แตกหน่อออกไปมากและได้หัวประมาณ ๗-๑๐ หัว

แห้วมีกี่ชนิด

ลักษณะลำต้นของแห้ว


นอกจากแห้วซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ อี ดัลซิส (E. dulcis) แล้ว ยังมีแห้วซึ่งมีรูปร่างคล้าย ๆ กันนี้อีก ๒ ชนิด ชนิดแรกเป็นแห้วป่าขึ้นอยู่ในน้ำนิ่ง หัวเล็กมาก สีเข้มเกือบดำ บางทีเรียกว่า อี พลานทาจินี (E. plantaginea) หรือ อี พลานทาจิโนอิเดส (E. plantaginoides) อีกชนิดหนึ่งเป็นชนิดที่ต้องปลูก แห้วชนิดนี้มีหัวใหญ่ มีรสหวาน เดิมที่เดียวจัดไว้ต่างชนิดออกไป คือ เรียกว่า อี ทูเบอโรซา (E. tuberosa) ปัจจุบันจัดเป็นชนิดเดียวกัน


แห้วมีวิธีการปลูกอย่างไร

ลักษณะของรากแห้ว



ฤดูปลูก
แห้วเป็นพืชที่ขึ้นในน้ำ ขึ้นได้ดีในแหล่งที่มีการให้น้ำได้ตลอดปี ชอบอากาศอบอุ่นเกือบตลอดปี ในการงอกต้องการอุณหภูมิในดินประมาณ ๑๔-๑๔.๕ องศาเซลเซียส ฤดูปลูกที่เหมาะสมจึงควรเป็นต้นฤดูฝน ประมาณเดือนมีนาคม - เมษายน เพื่อให้มีน้ำเพียงพอ เริ่มเพาะเดือนมีนาคม - เมษายน ย้ายลงปลูกในแปลงใหญ่ได้ในราวเดือน พฤษภาคม - กรกฎาคม ฤดูเดียวกับการทำนา

 
ลักษณะของต้นแห้วที่เจริญเติบโตเต็มที่



การเลือกและการเตรีย่ มที่
แห้วขึ้นได้ในดินเหนียวหรือดินร่วน pH ๖.๙-๗.๓ ขึ้นได้ในที่ราบ จนถึงที่สูงถึง ๑,๒๐๐ เมตร เตรียมดินโดยทำการไถ พรวนให้ดินร่วนดี กำจัดวัชพืชให้หมด เหมือนการเตรียมดินปลูกข้าว

ลักษณะดอกแห้ว



วิธีปลูก
แห้วปลูกโดยใช้หัวเล็กๆ สามารถปลูกได้ ๒ วิธี วิธีหนึ่งเพาะหัวแห้วในแปลงเพาะเสียก่อนคล้ายปลูกหอม แต่ละหัวห่างกัน ๓-๔ ซม. ทำร่มรดน้ำ จนกระทั่งต้นแห้วสูงประมาณ ๒๐-๓๐ ซม. ในราว ๑๕-๒๐ วัน จึงย้ายลงปลูกในแปลงเพาะปลูกห่างกันราว ๙๐-๑๐๐ ซม. นานราว ๒ เดือน เมื่อแตกหน่อจึงใช้หน่อไปปลูกในแปลงใหญ่ โดยปักดำคล้ายดำนา วิธีนี้ปลูกในเนื้อที่ไม่มาก อีกวิธีหนึ่งปลูกหัวแห้วลงฝนแปลงใหญ่เลย ไม่ต้องเพาะก่อน ถ้าเนื้อที่ไม่มากใช้มือปลูก ปลูกลงในหลุมลึก ๑๐-๑๒ ซม. แต่ในเนื้อที่มาก ๆ เช่น ในต่างประเทศ ปลูกด้วยมือไม่ทันต้องใช้เครื่องปลูกโดยเปิดร่องเสียก่อนแล้วหยอดหัวแห้วลงในร่องให้ห่างกันตามที่ต้องการแล้วกลบ ระยะปลูกที่ใช้กันในสหรัฐอเมริกา ระยะระหว่างแถว ๗๕ ซม. ระหว่างหลุม ๗๕ ซม. ในประเทศจีนปลูกเป็นรูปสามเหลี่ยม ระหว่างต้นห่างกัน ๔๕-๖๐ ซม. สำหรับกสิกรไทยใช้ระยะปลูกห่างกันประมาณ ๑๐๐ ซม.


แห้วมีการทะนุบำรุงอย่างไร


ต้นแห้วที่ปลูกอยู่ในแปลงใหญ่



การให้น้ำ
หลังจากปลูกแห้วแล้วทดน้ำเข้าให้ท่วมแปลงเป็นเวลา ๒๔ ชั่วโมง แล้วปล่อยให้ระบายออกเมื่อต้นแห้วสูงประมาณ ๒๐-๓๐ ซม. ทดน้ำเข้าให้ระดับน้ำสูงประมาณ ๑๐-๑๕ ซม. เมื่อต้นแห้วสูงขึ้นเพิ่มน้ำขึ้นเรื่อย ๆ จนแห้วสูงประมาณ ๕๐-๖๐ ซม. ให้น้ำ ๒๕-๓๐ ซม. จนตลอดฤดูปลูก

ต้นแห้วก่อนเก็บเกี่ยวซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง



การกำจัดวัชพืช
ถ้าได้เตรียมดินและกำจัดวัชพืชอย่างดีแล้วก่อนปลูกเกือบจะไม่ต้องกำจัดวัชพืช ในต่างประเทศใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช เช่น ๒,๔-D กสิกรไทยยังไม่มีการใช้สารเคมีดังกล่าว จะกำจัดด้วยแรงงานหรือไม่กำจัดเลย

การงมแห้วและปลิดหัวแห้วออกจากกอ


การใส่ปุ๋ย
การปลูกแห้วในต่างประเทศ ใส่ปุ๋ยผสมเกรดสูง ๆ ในอัตรา ๔๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ ครึ่งหนึ่งใส่ก่อนปลูก อีกครึ่งหนึ่งหลังปลูก ๘-๑๐ สัปดาห์ วิธีใส่ปุ๋ยครั้งนี้ ใช้วิธีหว่านเหมือนใส่ปุ๋ยในนาข้าว ถ้าปล่อยน้ำให้แห้งก่อนได้ก็ดี หว่านปุ๋ยแล้วปล่อยน้ำเข้า

ลักษณะของหัวแห้วที่วางขาย



โรคและแมลง
โรคและแมลงที่ร้ายแรงไม่มี แมลงที่พบเสมอ ได้แก่ ตั๊กแตน เพลี้ยไฟ ถ้าปลูกในดินที่เป็นกรดคือ pH ๕.๕ มักเกิดโรคซึ่งเกิดจากเชื้อรา ศัตรูที่พบนอกจากโรคแมลงได้แก่ ปู และปลากัด กินต้นอ่อน


การเก็บหัวและรักษา
แห้วมีอายุประมาณ ๗-๘ เดือน เมื่อแห้วเริ่มแก่ คือ ใบเหี่ยวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และสีน้ำตาล ผิวนอกของหัวเป็นสีน้ำตาลไหม้ แสดงว่าเริ่มทำการเก็บได้ ประมาณเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ระยะเดียวกันกับเก็บเกี่ยวข้าว เก็บแห้วโดยปล่อยน้ำออกก่อนถึงเวลาเก็บ ๓-๔ สัปดาห์เพื่อให้ดินแห้ง เก็บโดยขุดแล้วล้างหัว ผึ่งให้แห้ง ถ้าปลูกมากอาจเก็บโดยใช้ไถ ไถลึกประมาณ ๑๕ ซม. พลิกหัวขึ้นมาแล้วเลือกหัวแห้วล้างน้ำ สำหรับรายที่ไม่สามารถระบายน้ำออกได้ ซึ่งได้แก่ การปลูกในจังหวัดสุพรรณบุรี ต้องเก็บแห้ว โดยการใช้มือลงไปงมขึ้นมาเรียกว่า "งมแห้ว" ในต่างประเทศผลผลิตหัวแห้วสดประมาณ ๓.๒-๖.๔ ตันต่อไร่ สำหรับประเทศไทยผลผลิตประมาณ ๓-๔ ตันต่อไร่ หรือประมาณ ๓๐๐ ถัง ขนาดของหัว ๓-๓.๕ ซม.

หัวแห้วสามารถเก็บรักษาไว้ได้ โดยตากให้แห้งบรรจุในภาชนะที่รักษาความชื้นได้ หรือเก็บในอุณหภูมิ ๑-๔ องศาเซลเซียสได้นานกว่า ๖ เดือนขึ้นไป กสิกรสามารถเก็บรักษาหัวแห้วไว้ได้เองโดยเก็บในภาชนะปิดสนิท เช่น ตุ่ม ลังไม้หรือทรายแห้งสนิท เก็บได้นานประมาร ๖ เดือน ถ้าอยู่ในอุณหภูมิ ๑๔ องศาเซลเซียส หัวแห้วจะงอก


ประโยชน์
หัวแห้วประกอบด้วยส่วนที่กินได้ร้อยละ ๔๖ ส่วนที่เป็นของแข็งประมาณร้อยละ ๒๒ ในจำนวนนี้เป็นโปรตีนร้อยละ ๑.๔ คาร์โบไฮเดรตและเส้นใยต่ำกว่าร้อยละ ๑ จากการวิเคราะห์หัวแห้วสดประกอบด้วย : ความชื้นร้อยละ ๗๗.๙ โปรตีนร้อยละ ๑.๕๓ ไขมันร้อยละ ๐.๑๕ ไนโตรเจนร้อยละ ๑๘.๙ น้ำตาลร้อยละ ๑.๙๔ ซูโครสร้อยละ ๖.๓๕ แป้งร้อยละ ๗.๓๔ เส้นใยร้อยละ ๐.๙๔ เพ้าร้อยละ ๑.๑๙ แคลเซียม ๒-๑๐ มิลลิกรัมต่อ ๑๐๐ กรัม ของส่วนที่กินได้ ฟอสฟอรัส ๕๒.๒-๖๕ มิลลิกรัม เหล็ก ๐.๔๓-๐.๖ มิลลิกรัม ไทอามีน ๐.๒๔ มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน ๐.๐๐๗ มิลลิกรัม ไนอาซิน มิลลิกรัม กรดแดสโคบิก (ascobic acid) ๙.๒ มิลลิกรัม
แป้งที่ให้จากหัว แห้วมีลักษณะคล้ายคลึงกับแป้งจากมันเทศหรือมันสำปะหลัง และมีขนาดใหญ่จนถึง ๒๗ ไมครอน น้ำที่สกัดจากหัวแห้วประกอบด้วยสารปฏิชีวนะ

หัวแห้วที่ซื้อขายได้ ต้องมีขนาดอย่างน้อยประมาณเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓ ซม. ขึ้นไป เนื้อแห้วสีขาวกรอบ รับประทานสด บรรจุกระป๋อง คั้น น้ำหรือจะต้มทำขนม หรือใช้ประกอบอาหารก็ได้ มักเป็นอาหารจีน นอกจากนี้ยังใช้ทำแป้งได้ด้วย หัวเล็ก ๆ ใช้เลี้ยงเป็ดไก่ได้ดี หัวแห้วบางชนิดใช้ทำยาต้นแห้วใช้เลี้ยงปศุสัตว์ ใช้ในการบรรจุหีบห่อนผลไม้ ใช้ทำตะกร้า ทอเสื้อ เป็นต้น



ที่มา หนังสือสารานุกรม เล่มที่ 5 เรื่อง พืชหัว
http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK5/chapter5/t5-5-l5.htm#sect1a


จากข้อมูล ปี 2542/2543 จังหวัดสุพรรณบุรีมีพื้นที่ปลูกแห้วจีนทั้งสิ้นประมาณ 4,161 ไร่ ให้ผลผลิตรวมประมาณ 16,785 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 109.10 ล้านบาท มีผลผลิตเฉลี่ย 4,034 กิโลกรัม ต่อไร่



ข้าวขึ้นน้ำ; กก;
แห้วจีน;
การปลูกพืชทดแทน; ผลผลิต; ผลตอบแทน
เนื่องจากการทำนาข้าวขึ้นน้ำให้ผลผลิตต่ำคุณภาพเมล็ดไม่ดี ทำให้เกษตรกรรายได้ต่ำ และสภาพนาข้าวขึ้นน้ำบางพื้นที่ที่น้ำท่วมนานเกินไป ยากแก่การเตรียมแปลง และปลูกข้าวขึ้นน้ำ ถ้าหากพัฒนาพื้นที่ที่มีสภาพดังกล่าว เพื่อปลูกพืชอื่น ซึ่งอาจ จะเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรได้มากกว่าการปลูกข้าวขึ้นน้ำ กกเป็นพืชพื้นเมือง ที่เกษตรกรในเขต อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี ปลูกเป็นรายได้อาชีพรองของเกษตรกรอยู่แล้ว

ส่วน  แห้วจีน  เกษตรกรยังไม่คุ้นเคย ซึ่งจะต้องศึกษาหาความเป็นไปได้ต่อไป ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 3 กรรมวิธี คือ

ข้าวขึ้นน้ำ (พลายงามปราจีนบุรี) กกจันทบูรณ์ แห้วจีน ใช้เผือกน้ำแทนแห้วจีน เนื่องจากผลการทดลองของปี 2535 และ ปี 2536 เก็บผลผลิตแห้วจีนไม่ได้

ข้าวขึ้นน้ำปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม (เนื่องจากสภาพแปลงทดลองมีความชื้นสูงเพราะปลูกร่วมกับกก) ในอัตราไร่ละ 20 กก./ไร่

กกจันทบูรณ์ปลูกโดยวิธีปักดำเป็นจับ โดยใช้เหง้าตัดเป็นท่อนๆ ระยะ 15*15 ซม. เผือกน้ำปักดำโดยวิธีใช้ตะเกียง (แขนง) ปักดำระยะ 50*50 ซม. ขนาดแปลงย่อย 6*6 ม.เก็บเกี่ยว 5*5 ม. ทุกกรรมวิธีปรากฏว่าการปลูกกกให้ผลตอบแทนสูงสุด โดยขายเป็นกกสดในท้องถิ่นราคาปานกลางไร่ละ 3,200 บาทต่อการเก็บผลผลิต 1 ครั้ง

ในการทดลองเก็บผลผลิตได้ 2 ครั้ง ได้ผลตอบแทนไร่ละ 6,400 บาท เผือกน้ำให้ผลผลิตและผลตอบแทนรองลงมาคือ ไร่ละ 977 กก. ราคา กก.ละ 5 บาท เป็นเงิน 4,885 บาท ข้าวขึ้นน้ำให้ผลผลิต 412 กก. ราคา กก.ละ 3.50 เป็นเง1,442 บาท



แห้วจีน; ต้นทุน; การวิเคราะห์; การปลูก; ผลตอบแทน; ขนาดฟาร์ม; ปัญหา; ราคา; ปัจจัยการผลิต; จ.สุพรรณบุรี
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกแห้วจีนในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยแบ่งตามขนาดฟาร์ม และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการปลูกแห้วจีน

โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลปฐมภูมิ จากการสุ่มตัวอย่างและสัมภาษณ์ชาวนาแห้วจีน จำนวน 84 ตัวอย่าง

เพื่อทราบว่าฟาร์มขนาดใดให้กำไรสูงสุด โดยแบ่งเป็นฟาร์มขนาดเล็ก (1-5 ไร่) จำนวน 44 ตัวอย่าง ฟาร์มขนาดกลาง (6-10 ไร่) จำนวน 21 ตัวอย่าง และฟาร์มขนาดใหญ่ (12-100 ไร่) จำนวน 19 ตัวอย่าง ตามลำดับ

การศึกษาพบว่าฟาร์มขนาดเล็ก ฟาร์มขนาดกลาง และฟาร์มขนาดใหญ่ มีต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 17,153.94 บาท, 14,460.16 บาท และ 13,633.46 บาท ตามลำดับ รายได้เฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 26,202.92 บาท, 26,419.18 บาท และ 26,032.72 บาท ตามลำดับ

ดังนั้นชาวนาแห้วจีนฟาร์มขนาดใหญ่จะมีกำไรสุทธิเฉลี่ยต่อไร่สูงสุด (12,399.24 บาท) รองลงมาคือ ฟาร์มขนาดกลาง (11,959.02 บาท) และ ฟาร์มขนาดเล็ก (9,048.98 บาท) ตามลำดับ

ปัญหาการผลิตและการตลาดของชาวนาแห้วจีนจะคล้ายคลึงกัน โดยปัญหาการผลิตที่สำคัญที่สุดได้แก่ ปัญหาราคาปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช เป็นต้น มีราคาแพง ส่วนปัญหาการตลาดที่สำคัญที่สุด ได้แก่ ปัญหาตลาดไม่มีความแน่นอน ราคาแห้วจีนขึ้นๆ ลงๆ





เมินทำนาหันมาปลูก "ส้ม" ทางเลือกใหม่ชาวสุพรรณบุรี
ที่ผ่านมาดูเหมือนว่า เกษตรกรในพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี ส่วนใหญ่จะยึดอาชีพทำนาปลูกข้าวเป็นหลัก กระทั่งเมืองสุพรรณ ได้สมญาว่า เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของเมืองไทย แต่สำหรับ นายนิคม และนางเฉลา สกุลพราหมณ์ สองสามีภรรยา แห่ง ต.วังยาง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ทั้งคู่กลับเปลี่ยนจากการปลูกข้าวขายในอดีต หันมาทำไร่ "ส้มเขียวหวาน" เลี้ยงชีพมาตั้งแต่ปี 2539
ผลปรากฏว่า ปัจจุบันส้มเขียวหวานของครอบครัวสกุลพราหมณ์นั้น สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตขายได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และรสชาติหวานอร่อย จนขายดิบขายดีไม่แพ้ส้มที่ปลูกจากแหล่งอื่น ทำให้ทุกวันนี้พวกเขามีฐานะดีขึ้น

“เดิมทีผมกับภรรยาใช้พื้นที่ 20 ไร่ ปลูกข้าวสลับกับ แห้วจีน ขายเหมือนกับชาวสุพรรณบุรีทั่วไป แต่ราคาไม่ดี โอกาสที่จะลืมตาอ้าปากได้แทบมองไม่เห็น บางครั้งต้องกู้หนี้ยืมสินอีกต่างหาก ในที่สุดเมื่อปี 2539 ลองปรึกษาภรรยาและมีความเห็นตรงกันว่า ควรหาช่องทางทำกินใหม่ พอดีเพื่อนบ้านมาชวนให้ไปดูการปลูกส้มเขียวหวาน ที่ จ.อ่างทอง จึงได้พูดคุยกับเจ้าของสวนทั้งในเรื่องวิธีการปลูก และการดูแลรักษาอย่างละเอียด" นายนิคม ย้อนเรื่องราวในอดีต

หลังจากนั้นไม่นาน นายนิคมและนางเฉลา จึงตัดสินใจกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาสุพรรณบุรี จำนวนหนึ่งเพื่อเป็นทุนในเบื้องต้น แล้วปรับพื้นที่นาสำหรับปลูกส้มเขียวหวาน โดยขุดดินยกร่องขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 120 เมตร จำนวน 30 ร่อง ระหว่างร่องมีคูน้ำกว้าง 1.50 เมตร ลึก 1.50 เมตร พร้อมทั้งซื้อกิ่งพันธุ์ส้มเขียวหวาน จำนวน 1,000 กิ่ง ราคากิ่งละ 40 บาท

จากนั้นใส่ปุ๋ยหมักรองก้นหลุมแล้วโรยดินทับ นำกิ่งพันธุ์ส้มลงปลูกแล้วกลบด้วยดิน ระยะห่างระหว่างต้น 3 เมตร ร่องละ 30-40 ต้น รดน้ำ 2 วันต่อครั้ง ประมาณ 30 เดือน ต้นส้มเขียวหวานก็จะเจริญเติบโตและเริ่มออกดอก ซึ่งระหว่างที่รอส้มให้ผลผลิต บริเวณพื้นร่องที่ว่างระหว่างต้นส้มได้ปลูกมะระขี้นกแซมด้วย ซึ่งช่วยให้มีรายได้เสริมสัปดาห์ละกว่า 1,000 บาท

ด้าน นางเฉลา บอกว่า ช่วงที่ส้มเขียวหวาน ออกดอกต้องฉีดพ่นยาบำรุงดอกเพื่อให้ติดผล 7-10 วันต่อครั้ง การให้น้ำและฉีดพ่นยา จะใช้เรือที่สร้างขึ้นมาเพื่อฉีดพ่น ส่วนน้ำให้รดเฉพาะในช่วงที่ต้นส้มเริ่มออกดอกไปจนถึงเก็บผลส้มได้ รวมประมาณ 8-10 เดือน และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 ใส่ที่โคนต้นเพื่อเพิ่มความหวาน และหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ต้องตัดตกแต่งกิ่งและบำรุงรักษาต้น เนื่องจากถ้าเอาใจใส่อย่างดีส้มก็จะสามารถให้ผลผลิตได้นานถึง 8-10 ปี

สำหรับการเก็บเกี่ยวผลผลิตในปี 2545-2546 ที่ผ่านมานั้น นางเฉลา ระบุว่า เก็บได้สูงสุดถึง 250-270 ตัน ส่งขายให้แก่พ่อค้าคนกลาง ราคา กก.ละ 8-10 บาท นับว่าเป็นรายได้ดีกว่าทำนาหลายเท่าตัว แต่ปีนี้ราคาส้มเขียวหวานเหลือเพียง กก.ละ 3-10 บาทเท่านั้น

ไม่เพียงแต่ปลูก "ส้มเขียวหวาน" ขายเท่านั้น แต่ในพื้นที่ส่วนที่เป็นร่องน้ำในไร่ส้ม ทั้ง "นายนิคมและนางเฉลา สกุลพราหมณ์" ได้นำลูกปลาตะเพียนมาปล่อย ซึ่งนับว่าโชคดีที่ไร่ส้มแห่งนี้อยู่ใกล้กับคลองชลประทานส่งน้ำขนาดใหญ่ จึงมีปลาธรรมชาติมาอาศัยอยู่ในร่องน้ำในไร่ส้มเพิ่มขึ้นอีกจำนวนหนึ่งด้วย จนทุกวันนี้ทั้งคู่จับปลาขายปีละ 1 ครั้ง ช่วยให้มีรายได้เสริมคราวละกว่า 1 หมื่นบาท



แห้ว
คนไทยรู้จักแห้วมานานแล้ว เดิมที่เดียวเราต้องสั่งซื้อแห้วจากเมืองจีนเข้ามารับประทานเป็นมูลค่าปีละหลายหมื่นบาท  ประเทศจีนสามารถผลิตแห้วส่งเป็นสินค้าออกไปขายในอเมริกาประเทศเดียวปีละประมาณ ๑,๐๐๐ ตัน นับเป็นพืชที่สามารถทำรายได้ให้กับประเทศได้พืชหนึ่ง  ประเทศไทยสามารถปลูกแห้วได้  แต่ยังไม่มีการปลูกมากนัก  เป็นการผลิตเพื่อใช้ในการบริโภคภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ถ้าสามารถส่งเป็นสินค้าออกไม่ว่าจะในรูปหัวสดหรือบรรจุกระป๋องได้ แห้วจะทำรายได้ให้กับกสิกรและประเทศได้อีกพืชหนึ่งทีเดียว
         ยังไม่มีสถิติที่แน่นอนเกี่ยวกับเนื้อที่ปลูกผลิตผล และการค้าแห้วของประเทศไทย เท่าที่รวบรวมได้พอจะทราบว่า  ปัจจุบันมีเนื้อที่ปลูกแห้วประมาณ ๕๐๐ ไร่  ราคาหัวแห้วสดเคยสูงถึงกิโลกรัมละ ๒๕-๓๐ บาท  ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๔๙๗    แต่ราคาตกลงเหลือกิโลกรัมละประมาณ ๒ บาท ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๐  เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน แต่ส่วนมากซื้อขายกันเป็นถัง ปัจจุบันราคาถังละ ๓๐-๓๕ บาท ผลผลิตหัวแห้วสดประมาณ ๓-๔ ตันต่อไร่หรือประมาณ ๓๐๐ ถังต่อไร่









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (3345 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©