-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 308 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวแวดวงเกษตร46






ยกกรมวิชาการเกษตรเป็นแกนนำดัน "มะละกอจีเอ็ม" ลงสนาม

เปลี่ยนรัฐบาลใหม่ยังไร้แววทดสอบพืชจีเอ็มโอภาคสนาม แต่ความสงบไม่ได้สยบความเคลื่อนไหว เพราะมีข่าวล่ามาจากนักวิจัยว่าประชุมกันแล้วและยกให้กรมวิชาการเกษตรเป็นแกนนำ ผลักดันทดลองพืชจีเอ็มภาคสนาม นำร่องด้วยมะละกอที่รอมานานแล้วหลายปี ปรมาจารย์จีเอ็มโอ ณ กำแพงแสน ยันไม่ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่ทุกครั้ง เก็บจากรุ่นพ่อแม่ปลูกใหม่ได้เหมือนเดิม
       
       นักวิจัยพืชจีเอ็มโอได้ของขวัญปีใหม่จากรัฐบาลขิงให้ทดสอบพืชจีเอ็มโอภาคสนามได้ แต่ผ่านไปแล้ว 2 เดือน ก็ยังไม่มีพืชจีเอ็มไหนได้ลงไร่นา เพราะข้อจำกัดยังมีมากมาย แต่เหล่านักวิจัยที่เกี่ยวข้องลงความเห็นกันแล้วว่าจะให้กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้นำผลักดันมะละกอจีเอ็มโอลงสนามก่อนเพื่อน แล้วพืชอื่นค่อยตามไปสมทบ ทั้งฝากบอกเกษตรกรที่อยากปลูกต้องช่วยกันผลักดันเรื่องนี้ด้วย
       
       รศ.ดร.สุพัฒน์ อรรถธรรม ผอ.ศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพและความปลอดภัยทางชีวภาพ และนักวิจัยมะละกอจีเอ็มเอ็ม ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน เปิดเผยว่า แม้มติ ครม. ของรัฐบาลชุดก่อนจะอนุญาตให้ทดสอบพืชจีเอ็มโอภาคสนามได้ แต่ก็ไม่ใช่ไฟเขียวผ่านตลอด ยังเป็นไฟเขียวแบบวูบวาบ เพราะมีข้อจำกัดให้ทดสอบได้เฉพาะในแปลงของราชการ ต้องทำประชาพิจารณ์ก่อน และให้เร่งรัด พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ในกฤษฎีกาอยู่
       
       "เนื่องจากข้อจำกัดหลายอย่างจึงยังไม่มีนักวิจัยคนใดเดินหน้าไปมากกว่าเดิม แต่จากการประชุมหารือระหว่างนักวิจัยด้วยกัน ทุกคนก็เห็นพ้องต้องกันว่าจะให้กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้นำในการผลักดันการทดสอบพืชจีเอ็มโอภาคสนาม เพราะว่าทางกรมวิชาการเกษตรมี พ.ร.บ.กักพืช ซึ่งดูแลในเรื่องห้ามการนำเข้าพืชจีเอ็มโอมาปลูกเชิงพาณิชย์ในประเทศไทย ส่วนพืชชนิดแรกที่จะผลักดันก็คือมะละกอจีเอ็มโอที่ก้าวหน้ามากที่สุดขณะนี้ และพร้อมจะทดสอบมาหลายปีแล้ว" รศ.ดร.สุพัฒน์ เผย ทั้งยังเปรียบเปรยว่าสถานการณ์พืชจีเอ็มโอในไทยตอนนี้ราวกับคนที่ป่วยหนักมานาน และเพิ่งจะฟื้นไข้เมื่อรัฐบาลประกาศให้ทดสอบภาคสนามได้เมื่อปลายปีที่แล้ว ส่วนจะหายดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลชุดปัจจุบันว่าจะมีนโยบายอย่างไรต่อเรื่องนี้
       
       "การปลูกพืชจีเอ็มโอขึ้นอยู่กับการเมืองเป็นหลัก ถ้ารัฐบาลเห็นด้วยก็ไปได้สวย เพราะขณะนี้เกษตรกรมากกว่า 90% ยอมรับพืชจีเอ็มโอแล้วและอยากปลูกกันทั้งนั้น ในส่วนของผู้บริโภคก็มีสัดส่วนความคิดเห็นที่หลากหลาย แต่ที่ผ่านมาไทยนำเข้าถั่วเหลืองกับข้าวโพดจีเอ็มโอสำหรับเป็นอาหารมาตั้งหลายปีแล้ว ก็ไม่เห็นมีใครที่นอกเหนือจากกลุ่มเดิมๆ ออกมาต่อต้านกันจริงจังสักที" รศ.ดร.สุพัฒน์ กล่าว
       
       ทั้งนี้ รศ.ดร.สุพัฒน์ ยังยืนยันหนักแน่นในฐานะนักวิจัยว่า พืชจีเอ็มโอไม่ส่งผลเสียแต่อย่างใดต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม
       
       "12 ปีที่ใช้ประโยชน์จากพืชจีเอ็มโอ ก็ไม่มีข้อมูลวิทยาศาสตร์บอกว่าเป็นอันตรายกับสุภาพ ลักษณะใหม่ที่นำมาใส่ให้พืชก็ผ่านการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าไม่เป็นพิษกับคนและสิ่งแวดล้อม ส่งผลดีต่อเกษตรกรผู้ใช้อย่างมาก ทั้งลดการใช้สารเคมี โดยเฉพาะยาฆ่าแมลง และลดต้นทุนการผลิตด้วย" รศ.ดร.สุพัฒน์ กล่าวและเสริมว่านักวิจัยทุกคนย่อมมีความรับผิดชอบต่อชีวิตตนเองและผู้อื่น ไม่มีนักวิจัยคนไหนอยากใส่สารพิษในพืชเพื่อว่าตนเองต้องกินเข้าไปสักวันหนึ่งแน่นอน
       
       ส่วนที่ความกังวลที่ว่าเกษตรกรต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอมาปลูกใหม่ทุกรุ่นเพราะไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เพาะรุ่นต่อไปที่ให้ลักษณะดีเช่นเดิมได้อีก
       
       รศ.ดร.สุพัฒน์ ยืนยันว่าไม่จริงแน่นอน และยกตัวอย่างมะละกอจีเอ็มโอที่ตนทดลองปลูกในโรงเรือนมาแล้ว 4 รุ่น ก็เพาะเมล็ดพันธุ์จากรุ่นพ่อแม่ทั้งนั้น ซึ่งลักษณะต้านทานโรคก็ถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูก และต้านทานได้ดีเหมือนกัน แต่เมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอที่บริษัทเอกชนหลายแห่งผลิตออกมาในช่วงแรกอาจมีการป้องกันไว้ไม่ให้เมล็ดพันธุ์รุ่นต่อไปงอก เนื่องจากเป็นกลยุทธ์เพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัทเอาไว้
       
       "ถ้าเมล็ดพันธุ์แพงมากเกินไปคงไม่มีใครซื้อ ก็ขายไม่ได้ เป็นไปตามกลไกตลาด" รศ.ดร.สุพัฒน์ กล่าว
       
       อย่างไรก็ดี ดร.สุพัฒน์ บอกฝากผ่านถึงเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชจีเอ็มโอว่าให้ร่วมกันผลักดันเรื่องนี้ให้รัฐบาลชุดใหม่พิจารณาด้วย เพราะการจะทดสอบภาคสนามได้จะต้องผ่านประชาพิจารณ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่นักวิจัยไม่ถนัดนัก แต่ถ้าทุกคนช่วยกันก็น่าจะสำเร็จได้ไม่ยาก


ที่มา  :  ผู้จัดการ









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1107 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©