-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 354 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวแวดวงเกษตร38





น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว


1) น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว หรือ โมโนแซ็กคาไรด์ (Monosaccharide) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยได้อีก เมื่อรับประทานเข้าไปไม่ ต้องผ่านการย่อย โมโนแซ็กคาไรด์ทุกชนิดมีผลึกสีขาว ละลายในน้ำและมีรสหวาน มีสูตรทั่วไปเป็น (CH2O)n ซึ่ง n มีค่า 3 ถึง 8    

การเรียกชื่อทั่วไปของมอนอแซ็กคาไรด์จะเรียกชื่อตามจำนวนอะตอมของคาร์บอนแล้วลงท้ายด้วยโ_ส(ose)เช่น C5H10O5 เรียกว่า เพนโตส(Pentose) C6H12O6 เรียกว่า เฮกโซส 
(Hexose) เป็นน้ำตาลกลุ่มนี้ ได้แก่   

- กลูโคส (Glucose) เป็นน้ำตาลที่มีอยู่ในอาหาร ทั่วไป พบมากในผักและผลไม้สุก นอกจากนี้ยังพบกลูโคสในกระแสเลือดอีกด้วย 

กลูโคสที่พบในผลไม้สุก มีมาก ใน องุ่น เรียกว่า 'น้ำตาลองุ่น'

- กลูโคสในกระแสเลือดเรียกว่า 'blood suugar'

- คนปกติจะมีกลูโคสประมาณ 100 mg ในเลืออด 100 cm3 

- ถ้ามีกลูโคสมากกว่า 160 mg ในเลือด 1000 cm3 จะถูกขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน 

- ฟรักโทส (Fructose) เป็นน้ำตาลที่มีรสหวานมากกว่าน้ำตาลชนิดอื่น พบในเกสรดอกไม้  ผลไม้ ผัก น้ำผึ้ง น้ำตาลทรายและกากน้ำตาล ในธรรมชาติมักปน อยู่กับกลูโคสในร่างกายได้จากการย่อยน้ำตาลทราย

- กาแล็กโทส (Galactose) ไม่เกิดอิสระในธรรมชาติ ในร่างกายได้จากการย่อยแล็กโทส หรือน้ำตาลที่มีอยู่ใน นม ซึ่งมีอยู่ในอาหารพวกนมและผลิตผลของนมทั่วไป แกแล็กโทสในน้ำนมมีความสำคัญ โดยรวมกับไขมันเป็นส่วนประกอบของเซลล์ประสาท 

             

2.)โอลิโกแซ็กคาไรด์(Oligosaccharide)ได้แก่

2.1) น้ำตาลโมเลกุลคู่ หรือ ไดแซ็คคาไรด์ (Disaccharide) หมายถึงคาร์โบไฮเดรตที่แตกตัวให้โมโนแซ็ก-คาไรด์จำนวน 2 โมเลกุล หรือเกิดจากโมโนแซ็กคาไรด์ 2-10 โมเลกุลมารวมตัวกันด้วยพันธะไกลโคซิดิก(glycosidic bond)ซึ่งอาจเป็นชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดกันก็ได้  

น้ำตาลโมเลกุลคู่ มีสูตรโมเลกุล เหมือนกันคือ C12H22O11 แต่มี สูตรโครงสร้างต่างกัน โดยลดน้ำออกไป 1 โมเลกุล 

C6H12O6 + C6H12O6 ----> C12H22O11+ H2O 


น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว + น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ----> น้ำตาลโมเลกุลคู่ + น้ำ ได้แก่

- ซูโครส หรือ น้ำตาลทราย (Sucrose) มีลักษณะเป็นผลึก ละลายน้ำได้ดี พบในอ้อยตาล มะพร้าว หัวบีท น้ำผึ้ง เป็นต้น เมื่อแตกตัวหรือย่อยซูโคสด้วยน้ำย่อยซูเครส(sucrase) ได้กลูโคสและฟรักโทสอย่างละ 1 โมเลกุล

C12H12O11 + H2O ----> C6H12O6+ C6H12O6
       ซูโคส + น้ำ ----> กลูโคส + ฟรักโตส   
                                                         
 

 - มอลโทส (Maltose) ละลายน้ำได้ค่อนข้างดี  จะไม่พบอยู่เป็นอิสระในธรรมชาติ  แต่จะพบในกระบวนการย่อยแป้งหรือไกลโคเจนโดยใช้เอนไซม์อะไมเลส เช่น ในเมล็ดธัญพืชที่กำลังงอกหรือในข้าวมอลต์หรือข้าวบาร์เลย์ที่นำมา ผลิตเบียร์  เครื่องดื่มและอาหารสำหรับเด็ก ที่มีการย่อย สลายแป้งจนกลายเป็นมอลโทส เมื่อย่อยมอลโทสโดยน้ำย่อย มอลเทส (maltase) จะแตกตัวได้กลูโคส 2 โมเลกุล ในร่างกาย มอลโทสเกิดจากการย่อยแป้ง  มอลโทสมีความหวานไม่มากนักประมาณ 0.4 เท่าของซูโครส

C12H12O11 + H2O ----> C6H12O6+ C6H12O6 
     มอลโตส + น้ำ ----> กลูโคส + กลูโคส


- แล็กโทส (Lactose) พบในน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนมทุกชนิด ผลึกมีลักษณะเป็นผงละเอียดคล้ายทราย ละลายน้ำได้ไม่ดี มีความหวานน้อยมากเมื่อเทียบกับซูโครส เมื่อแตกตัวจะได้กลูโคสและกาแล็กโทสอย่างละ 1 โมเลกุล ในวงการอุตสาหกรรมอาหารและยา ใช้แล็กโทสเพื่อลดขนาดผลึกซูโครส ในขนมหวานบางชนิดและใช้เป็นส่วนประกอบของยาเม็ดบางชนิด

C12H12O11 + H2O ----> C6H12O6+ C6H12O6 
     แล็กโตส + น้ำ ----> กลูโคส + กาแล็กโตส  

  

ไดแซ็กคาไรด์อาจเกิดจากปฏิกิริยาการรวมตัวระหว่างมอนอแซ็กคาไรด์สองโมเลกุล  ในทางตรงกันข้ามเมื่อไดแซ็กคาไรด์เกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส จะได้มอนอแซ็กคาไรด์ 2 โมเลกุล




ที่มา : http://61.19.145.7/student/science401/bio/bio3-2/intro.html









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (3634 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©