-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 237 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวแวดวงเกษตร35







 

แร่ธาตุในพืชอาหารสัตว์
แร่ธาตุที่จำเป็นต่อพืชอาหารสัตว์

แร่ธาตุ เป็นธาตุอาหารที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทั้งพืชและสัตว์ สำหรับพืชนั้นการจะจัดว่าแร่ธาตุใดมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชหรือไม่ ยึดถือหลักเกณฑ์การพิจารณาดังนี้                        
1.ธาตุนั้นต้องจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์พืช   ถ้าขาดไปจะทำให้พืชเจริญไม่ครบวงจรชีวิต

                       
2.พืชต้องการธาตุนั้นในลักษณะเฉพาะเจาะจง ไม่มีธาตุอื่นทำหน้าที่แทนได้

                       
3.ธาตุนั้นมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง กล่าวคือ จะต้องมีหน้าที่เฉพาะอย่างใด อย่างหนึ่งในขบวนการเมตาบอลิซึ่มในพืช

                       
จากหลักการดังกล่าวข้างต้น  จะมีธาตุที่จำเป็น (essential elements) สำหรับพืช 16  ธาตุ คือ คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (O) ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โปแตสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) กำมะถัน (S) เหล็ก (Fe) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) โบรอน (B) แมงกานีส (Mn) โมลิบดินัม (Mo) และคลอรีน (Cl) แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการยอมรับว่าธาตุบางชนิดมีความจำเป็นต่อพืชบางชนิดเช่น ซิลิคอน (Si) มีความจำเป็นต่อข้าวหรือโคบอลท์ (Co) มีความจำเป็นต่อพืชตระกูลถั่ว เป็นต้น จากธาตุ 16 ธาตุนี้ C, H และ O เป็นธาตุที่พืชได้จากอากาศและน้ำ และอีก 13 ธาตุ พืชจะได้จากดินโดยตรง ซึ่งแบ่งธาตุเหล่านี้ได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

                   
1. ธาตุปริมาณมาก
(Macro elements) ธาตุเหล่านี้พืชต้องการในปริมาณที่สูง มี 6 ธาตุ คือ N,  P,  K, Ca, Mg และ S ซึ่งธาตุทั้ง 6 นี้ ธาตุ N, P และ K พืชต้องการในปริมาณมากและในดินส่วนใหญ่มักจะมีธาตุเหล่านี้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ดังนั้นจึงเรียกธาตุทั้ง 3  นี้ว่า ธาตุอาหารหลัก (Primary nutrient elements) ส่วนธาตุ Ca, Mg และ S มักจะมีในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของพืช จึงเรียกว่า ธาตุอาหารรอง (Secondary nutrient elements)

                   
2. ธาตุปริมาณน้อย
(Micro elements) ได้แก่ ธาตุ 7 ธาตุ คือ Fe, Cu, Zn, B, Mn, Mo และ Cl ธาตุเหล่านี้พืชต้องการในปริมาณน้อยแต่ก็ขาดไม่ได้ ในดินทั่วไปจะพบธาตุเหล่านี้ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของพืช  และพืชทั่วไปมักจะไม่แสดงอาการขาด แต่ดินบางชนิดจะมีธาตุพวกนี้อยู่มากซึ่งอาจเป็นพิษต่อพืชได้

 

หน้าที่ของแร่ธาตุที่มีต่อพืชอาหารสัตว์
เนื่องจากธาตุ 13 ธาตุ (Macro elements และ Micro elements) ต่างก็มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช   พืชจะขาดธาตุใดธาตุหนึ่งเสียมิได้  เพราะแต่ละธาตุต่างก็มีหน้าที่  มีความสำคัญ แตกต่างกันไป ดังแสดงในตารางที่ 1




ตารางที่ 1 หน้าที่ของธาตุอาหารจำเป็นที่มีต่อพืชอาหารสัตว์

แร่ธาตุ

หน้าที่ที่มีต่อพืชอาหารสัตว์

ไนโตรเจน (N)




ฟอสฟอรัส (P)






โปแตสเซียม (K)

1.สร้างความเจริญเติบโตไนโตรเจนจะสร้างคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) ให้กับใบลำต้น ผลและความเจริญของพืช ดังนั้นในดินที่มีธาตุไนโตรเจน พอเพียงต่อความต้องการของพืช พืชจะเจริญเติบโตแผ่กิ่งก้านสาขาไปอย่างรวดเร็ว

2.สร้างคลอโรฟิลล์ช่วยในการปรุงอาหารของพืช

3.ช่วยในการหมุนเวียนไวตามิน (Vitamin)


1.เป็นองค์ประกอบของ Nucleoprotein ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์และการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและโครโมโซม

2.ช่วยในการเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาลในพืช

3.ช่วยทำให้รากเจริญเติบโตแข็งแรง

4.ช่วยเร่งให้พืชมีการผลิตผลและเร่งให้ผลสุกเร็วขึ้น

5.ช่วยในการดูดซึมธาตุไนโตรเจน


1.ช่วยในการผลิตน้ำตาล แป้ง และเซลลูโลส และพืชหัวต้องการโปแตสเซียมมาก เพื่อช่วยในการสะสมแป้ง

2.ช่วยรักษาสมดุลย์ของน้ำ

3.ควบคุมการปิดเปิดของปากใบ

4.ปริมาณโปแตสเซียมในพืชเป็นตัวควบคุมอัตราเร็วของกระบวนการการสังเคราะห์แสง




 

แร่ธาตุ

หน้าที่ที่มีต่อพืชอาหารสัตว์

แคลเซียม (Ca)




แมกนีเซียม (Mg)





กำมะถัน (S)



เหล็ก (Fe)


ทองแดง (Cu)


สังกะสี (Zn)


โบรอน (B)



แมงกานีส (Mn)


โมลิบดินัม (Mo)


คลอรีน (Cl)


1.ทำให้ธาตุต่าง ๆ สามารถละลายเป็นอาหารพืชได้ โดยเฉพาะช่วยในการถ่ายเทหมุนเวียนอาหาร

2.ลดความเป็นพิษของแร่ธาตุตัวอื่น

3.เป็นตัวช่วยในการงอกของเมล็ดพืชบางชนิด


1.ช่วยในขบวนการเคลื่อนย้ายธาตุฟอสฟอรัส

2.เป็นองค์ประกอบในคลอโรฟิลล์

3.ช่วยหมุนเวียนไขมันในพืช

4.ทำหน้าที่ร่วมกับแคลเซียมในขบวนการเคลื่อนย้ายอาหารของพืช

5.เป็นโคแฟคเตอร์ของเอนไซม์เกือบทุกชนิดที่เร่งปฏิกิริยา phosphorylation ในกระบวนการสังเคราะห์แสง


1.สร้างโปรตีนและไขมัน

2.ช่วยในการหายใจ

3.เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์

 1.รักษาระดับของคลอโรฟิลล์ในพืช


1.ช่วยในการ Oxidation และ Reduction


1.ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยในการทำงานของเอ็นไซม์หลายชนิด เช่น Carbonic anhydrase ในขั้นตอนการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ของการสังเคราะห์แสง

 1.สร้างสารเพคตินในผนังเซลล์

2.ช่วยในการเคลื่อนย้ายน้ำตาลในพืช


1.ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยธาตุต่าง ๆ สังเคราะห์คลอโรฟิลล์

2.ทำหน้าที่ช่วยในการสืบพันธุ์


 1.ช่วยในการตรึงไนโตรเจน


1.ส่งเสริมการเปลี่ยนไนเตรทและแอมโมเนียมไปเป็นอินทรีย์สาร

 


ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณแร่ธาตุในพืชอาหารสัตว์
ปริมาณแร่ธาตุในพืชอาหารสัตว์จะแตกต่างกันไปได้ ซึ่งสาเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจาก

                   
1.ชนิดของพืช
พืชอาหารสัตว์ต่างชนิดกันจะมีปริมาณแร่ธาตุแตกต่างกัน เช่นพืชตระกูลถั่ว จะมีแร่ธาตุต่าง ๆได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม เหล็ก สังกะสี ทองแดง โคบอลท์ และกำมะถัน สูงกว่าหญ้า หญ้า Panicum maximum มีแคลเซียมสูง แต่ Tripsacum lareum มีแคลเซียมต่ำ

                   
2.ส่วนของพืช
ส่วนต่าง ๆ ของพืชจะมีปริมาณแร่ธาตุแตกต่างกัน เช่น ผลของพืชหรือเมล็ด ของหญ้าอาหารสัตว์จะมีฟอสฟอรัสมากกว่าส่วนใบ ทั้งนี้เพราะฟอสฟอรัสในพืชจะเคลื่อนที่ไปสะสมที่เมล็ด

                   
3.ระยะการเจริญเติบโตของพืช
(Stage of Growth) มีอิทธิพลมากต่อส่วนประกอบทางเคมีของพืช ซึ่งรวมทั้งปริมาณแร่ธาตุด้วย พืชที่เติบโตเต็มที่มักจะมีปริมาณฟอสฟอรัส โปแตสเซียม โซเดียม คลอรีน ทองแดง โคบอลท์ นิเกิล สังกะสี แต่ปริมาณซิลิคอนจะเพิ่มมากขึ้นตามระยะการเจริญเติบโต ส่วนปริมาณแมงกานีส ไอโอดีนและเหล็กไม่มีความสัมพันธ์กับระยะการเจริญเติบโตของพืช

                   
4.ฤดูกาล สภาพของอุณหภูมิ
(Temperature) หรืออากาศ (Climate) มีผลต่อปริมาณ แร่ธาตุของพืชอาหารสัตว์ กล่าวคือ ในฤดูแล้งพืชจะมีแคลเซียมสูง แต่ถ้าในดินมีความชื้นสูงปริมาณแคลเซียมจะลดลง  ส่วนฟอสฟอรัสที่มีในดินที่มีสภาพเป็นกรดจะถูกชะล้างได้ง่าย ดังนั้นในฤดูฝนพืชที่เจริญเติบโตในดินที่มีสภาพเช่นนี้จะมีปริมาณฟอสฟอรัสต่ำกว่าในฤดูแล้ง

                  
5.ดินที่พืชขึ้นอยู่
ชนิดของดินและสภาพของดินที่พืชนั้นขึ้นอยู่ก็มีผลต่อปริมาณแร่ธาตุในพืชเช่นกัน พืชที่เจริญเติบโตในดินประเภทดินปูน (Calcareous soil) จะนำแมงกานีสและโคบอลท์ไปใช้ได้ยาก ถึงแม้ดินจะมีความอุดมสมบูรณ์คือมีแร่ธาตุหลายชนิดและมีปริมาณมากเพียงพอสำหรับ
การเจริญเติบโตของพืช แต่ถ้าสภาพของดินเป็นกรดก็จะมีผลต่อการนำแร่ธาตุไปใช้ประโยชน์ของพืชเช่นกัน เช่น เมื่อ pH ของดินสูงพืชจะนำโมลิบดินั่มและซีลีเนียมไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ถ้าดินมี pH ต่ำ พืชจึงจะใช้ประโยชน์จากสังกะสี  แมงกานีส เหล็ก นิเกิล และโคบอลท์ได้ ส่วนฟอสฟอรัสในดินนั้นจะถูกตรึงอยู่ในรูป อะลูมิเนียม - เหล็ก - ฟอสเฟต เมื่อดินมี pH ต่ำกว่า 6.5 และจะถูกตรึงอยู่ในรูปแคลเซียมฟอสเฟต เมื่อ pH สูงกว่า 6.5 ดังนั้นพืชจึงนำฟอสเฟตไปใช้ประโยชน์ได้ยาก

                   
6.การใส่ปุ๋ย
ปุ๋ยที่ใช้มีผลต่อปริมาณแร่ธาตุในพืช กล่าวคือการให้ปุ๋ยโปแตสเซียมแก่พืชมาก จะทำให้พืชมีปริมาณโปแตสเซียมสูง แต่โซเดียมและแมกนีเซียมจะลดลง  ดังนั้นสัตว์ที่กินพืชนั้นอาจจะแสดงอาการขาดโซเดียมและแมกนีเซียมได้ นอกจากนี้การเพิ่มปุ๋ยฟอสเฟตจะทำให้ฟอสฟอรัสในพืชเพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังมีผลทำให้แคลเซียมเพิ่มมากขึ้นด้วย แต่ไนโตรเจนไม่มีการเปลี่ยนแปลง สำหรับพืชตระกูลถั่ว การให้ปุ๋ยฟอสเฟตไม่ทำให้ปริมาณแคลเซียมมีการเปลี่ยนแปลงแต่ปริมาณไนโตรเจนจะเพิ่มมากขึ้น



ปริมาณแร่ธาตุในพืชอาหารสัตว์
พืชที่นิยมใช้เป็นอาหารสัตว์โดยทั่วไป แบ่งเป็น 2 พวก คือ พืชตระกูลถั่วและพืชตระกูลหญ้า ซึ่งโดยทั่วไปแล้วพืชตระกูลถั่วจะมีปริมาณแร่ธาตุมากกว่าหญ้า  พืชต่างชนิดกันจะมีปริมาณแร่ธาตุแต่ละชนิด แตกต่างกันไป  อายุของพืชก็มีส่วนทำให้มีปริมาณแร่ธาตุแตกต่างกันด้วย แร่ธาตุแต่ละชนิดจะมีอยู่มากตามส่วนต่างๆ ของพืช แคลเซียมที่มีอยู่ในพืชนั้นส่วนใหญ่จะมีอยู่ที่ใบมากกว่าลำต้น เมล็ดธัญญพืช เช่น ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  จะมีแคลเซียมน้อยมาก และในพืชตระกูลหญ้าจะมีแคลเซียมน้อยกว่าพืชตระกูลถั่ว เช่น จากการ วิเคราะห์ปริมาณแร่ธาตุในพืชอาหารสัตว์  (ตารางที่ 4)  หญ้ารูซี่ อายุ 45 วัน มีแคลเซียม 0.56 % แต่ต้น ถั่วลิสงมีแคลเซียมสูงถึง 1.80 % ฟอสฟอรัสมีอยู่มากในเมล็ดและผล และมีในใบอ่อนมากกว่าในใบแก่  การมีฟอสฟอรัสในต้นพืชมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพของดินที่พืชนั้นขึ้นอยู่ด้วย แมกนีเซียมมีอยู่มากในรำข้าวสาลีและอาหารโปรตีนจากพืช โดยเฉพาะกากเมล็ดฝ้าย พืชตระกูลถั่วมีปริมาณแมกนีเซียมมากกว่าพืชตระกูลหญ้าเช่นเดียวกับแคลเซียม  และมีในเมล็ดมากกว่าที่ใบหรือลำต้น อาหารที่ได้จากพืชมักจะมีโปแตสเซียมอยู่บริบูรณ์ ส่วนโซเดียมและคลอรีนมีอยู่น้อย กำมะถันในต้นพืช จะไม่สะสมอยู่ที่ส่วนหนึ่งส่วนใดของพืชโดยเฉพาะ มักจะกระจัดกระจายทั่วไปทั้งลำต้น ปริมาณของกำมะถันในเมล็ด จะมีเพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณฟอสฟอรัสที่มีอยู่ในเมล็ด แมงกานีส พบมากในรำข้าว เมล็ดพืช และกากเมล็ดพืชมีแมงกานีสอยู่ปานกลาง ยกเว้นข้าวโพดมีอยู่น้อยมาก  เหล็กพบมากในใบพืชสีเขียว  ลำต้นของพืชตระกูลถั่วและเยื่อหุ้มเมล็ด ทองแดงมีมากในเมล็ด รำ และกากถั่ว ปริมาณทองแดงในพืชจะมีความสัมพันธ์กับระดับทองแดงที่อยู่ในดิน คือถ้าดินมีธาตุทองแดงสูง จะ ทำให้พืชที่เจริญเติบโตบริเวณนั้นมีธาตุทองแดงมากด้วย โมลิบดินัมจะมีในพืชตระกูลหญ้ามากกว่าพืชตระกูลถั่ว

                       
ปริมาณความเข้มข้นของแร่ธาตุที่ระดับปกติในพืชอาหารสัตว์ที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงโคได้แสดงไว้ในตารางที่ 2 ถ้าสัตว์ได้รับอาหารที่เหมาะสมจะทำให้สัตว์มีสุขภาพดี เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตสูง  ในการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะโค กระบือ เกษตรกรมักจะเลี้ยงแบบปล่อยให้สัตว์แทะเล็มตามทุ่งหญ้าสาธารณะ สวนป่า หรือตามข้างถนนในหมู่บ้าน ซึ่งถ้าหากว่าในบริเวณนั้นมีปริมาณแร่ธาตุต่ำ จะทำให้พืชหญ้าที่ขึ้นในบริเวณนั้นมีปริมาณแร่ธาตุต่ำไปด้วย อาจไม่เพียงพอกับความต้องการของสัตว์ได้ จากการวิเคราะห์หาปริมาณแร่ธาตุในพืชอาหารสัตว์ (ตารางที่ 4) โดยกลุ่มงานวิเคราะห์อาหารสัตว์ กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ พบว่า ในหญ้าอาหารสัตว์และถั่วอาหารสัตว์มีปริมาณแร่ธาตุที่จำเป็นเกือบทุกชนิดอยู่ในระดับปกติที่มีในพืชอาหารสัตว์ ยกเว้นแร่ธาตุโซเดียม พบว่าพืชอาหารสัตว์ส่วนใหญ่มีปริมาณโซเดียมต่ำยกเว้นหญ้าขน หญ้ากินนีและหญ้ากินนีสีม่วงมีปริมาณโซเดียม 0.44 0.21 และ 0.19 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนหญ้าแพนโกล่ามีปริมาณสูงถึง 1.84 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าระดับปกติที่มีในพืชอาหารสัตว์ (0-0.81 เปอร์เซ็นต์)

                                  
สำหรับวัสดุเหลือใช้และผลพลอยได้จากการเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น ฟางข้าว ต้นข้าวโพด เปลือกฝักข้าวโพด เปลือกฝักถั่วเหลือง หัวจุกสับปะรด ฯลฯ เกษตรกรนิยมนำมาใช้เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งเกษตรกรมักจะประสบปัญหาการขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ และวัสดุเหลือใช้เหล่านี้ก็มีปริมาณมากในช่วงฤดูนี้ จากการวิเคราะห์หาปริมาณแร่ธาตุ พบว่าในวัสดุเหลือใช้ดังกล่าวมีปริมาณแร่ธาตุที่จำเป็นเกือบทุกชนิดอยู่ในระดับปกติที่เพียงพอกับความต้องการของโค ยกเว้นโซเดียมและทองแดง ซึ่งมีปริมาณต่ำในวัสดุเหลือใช้เกือบทุกชนิด และฟอสฟอรัสมีปริมาณต่ำมากในฟางข้าว คือมี 0.08 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งปริมาณฟอสฟอรัสในอาหารที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงโคมีปริมาณ 0.22 เปอร์เซ็นต์ 



ตารางที่ 2 แสดงปริมาณแร่ธาตุที่ระดับปกติในพืชอาหารสัตว์

ชนิดของแร่ธาตุ

ระดับปกติของแร่ธาตุในพืชอาหารสัตว์

แคลเซียม (Ca)

ฟอสฟอรัส (P)

แมกนีเซียม (Mg)

โปแตสเซียม (K)

โซเดียม (Na)

แมงกานีส (Mn)

ทองแดง (Cu)

เหล็ก (Fe)

สังกะสี (Zn)

0.28 - 2.50 %

0.14 - 0.50 %

0.06 - 0.73 %

1.00 - 4.00 %

0 - 0.81 %

14.0 - 936.0 ppm.

5.0 - 10.0 ppm.

150 - 250 ppm

15.0 - 100.0 ppm.


ที่มา: ดัดแปลงจาก พิไลวรรณ และคณะ (2532)




ตารางที่ 3
ปริมาณแร่ธาตุในอาหารสัตว์ที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงโค

ชนิดของแร่ธาตุ

ปริมาณแร่ธาตุ (ของน้ำหนักแห้ง)

แคลเซียม (Ca)

ฟอสฟอรัส (P)

แมกนีเซียม (Mg)

โปแตสเซียม (K)

โซเดียม (Na)

แมงกานีส (Mn)

ทองแดง (Cu)

เหล็ก (Fe)

สังกะสี (Zn)

0.22 - 0.35 %

0.22 %

0.12 %

0.31 - 0.44 %

0.05 %

40.0 ppm.

4.0 - 10.0 ppm.

30.0 ppm

20.0 - 40.0 ppm.



ที่มา: ดัดแปลงจาก Whiteman, 1980









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1297 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©