-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 142 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวแวดวงเกษตร31







เรื่องใหม่ในวงการ


ขอแนะนำเรื่องใหม่ในวงการ ดิน-ธาตุอาหารพืช-ปุ๋ย  2 เรื่อง คือ

[color=red]

เรื่องที่ 1 Zinc :
 improving crop production and human health ซึ่งเป็นรายงานการประชุมทางวิชาการ ณ ประเทศตุรกี ครอบคลุม 4 เรื่องหลักเกี่ยวกับสังกะสี คือ โภชนาการของมนุษย์ การจัดการดินและพืช บทบาทของสังกะสีด้านธาตุอาหารพืชและการใช้ปุ๋ยสังกะสี พันธุศาสตร์และชีววิทยาโมเลกุล บทความหนึ่งกล่าวถึงความสำคัญของสังกะสีต่อสุขภาพของมนุษย์ดังนี้
             
“การขาดสังกะสีเป็นปัญหาสำคัญของโลกในด้านการผลิตพืชและโภชนาการของมนุษย์ ประมาณครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมดที่ใช้ปลูกธัญพืช มีสังกะสีไม่เพียงพอที่จะให้ผลผลิตสูง และผลผลิตมีคุณค่าทางโภชนาด้านธาตุนี้ที่เหมาะสม ด้วยเหตุนี้จึงพบว่าประชากรในแถบซึ่งพื้นที่ซึ่งมีสังกะสีต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา มีปัญหาสุขภาพเนื่องจากขาดธาตุนี้กันโดยทั่วไป ประชากรของโลกประมาณร้อยละ 30 มีภาวะเสี่ยงต่อการขาดสังกะสี ซึ่งทำให้ลดการเจริญเติบโต ระบบภูมิคุ้มกันและการทำงานของสมองผิดปรกติ เชื่อว่าหากมนุษย์ยังคงบริโภคธัญพืชที่มีสังกะสีต่ำเช่นนี้ต่อไปอีก ปัญหาการขาดธาตุนี้ก็จะยิ่งขยายขอบเขตและเพิ่มความรุนแรงขึ้นด้วย การปรับปรุงพันธุ์พืชที่มีประสิทธิภาพด้านสังกะสี และการใช้ปุ๋ยสังกะสีเพื่อแก้ไขความขาดแคลนในดิน จะช่วยเพิ่มผลผลิตพืชและแก้ปัญหาการขาดธาตุนี้ในมนุษย์ได้อย่างดี”
            
บทความที่นำเสนอในการประชุมนี้ส่วนหนึ่ง ตีพิมพ์ในวารสาร Plant and Soil (2008), volume 301, number 1
             
สำหรับความก้าวหน้าทางวิชาการเกี่ยวกับบทบาทของสังกะสีต่อพืชและมนุษย์ มีการนำเสนอในการประชุมวิชาการดินและปุ๋ยแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 23-24 เมษายน 2552 ผู้สนใจอาจติดตามรายงานการประชุมวิชาการนี้ ที่จะพิมพ์เผยแพร่ในภายหลัง จากสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ที่ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน



เรื่องที่ 2 Mechanisms of salinity tolerance
นับเป็นบทความปริทรรศน์ (review) ล่าสุดด้านความทนเค็มของพืช ที่อธิบายกลไกความทนเค็มตั้งแต่ระดับพืชทั้งต้น ระดับเซลล์และระดับโมเลกุล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของยีน เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานทางชีววิทยาและสามารถนำความรู้ไปปรับใช้สำหรับพัฒนาพันธุ์พืชปลูกให้ทนเค็มได้มากขึ้น บทความนี้เริ่มจากการอธิบายพื้นฐานความแตกต่างของพืชด้านความทนเค็ม กลไกความทนต่อความเครียดออสโมซิส (osmotic stress tolerance) การสะสมเกลือในส่วนเหนือดิน ความทนของเนื้อเยื่อพืชต่อโซเดียม กลไกความทนเค็มแบบอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับขับโซเดียม และแนวทางการวิจัยในอนาคต ผู้เรียบเรียงบทความนี้อ้างอิงผลงานวิจัย 146 เรื่อง จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักวิจัยที่กำลังศึกษาเรื่องความทนเค็มของพืชเศรษฐกิจ
 



ที่มา  :  รศ.ดร.ยงยุทธ  โอสถสภา









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1817 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©