-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 286 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวแวดวงเกษตร30





ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน (Vermicompost)

หมายถึง เศษซากอินทรีย์วัตถุต่างๆ รวมทั้งดินและจุลินทรีย์ที่ไส้เดือนดินกินเข้าไปแล้วผ่านกระบวนการย่อยสลายอินทรียวัตถุเหล่านั้นภายในลำไส้ของไส้เดือนดิน แล้วจึงขับถ่ายเป็นมูลออกมาทางรูทวาร ซึ่งมูลที่ได้จะมีลักษณะเป็นเม็ดสีดำ มีธาตอาหารพืชอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ในปริมาณที่สูงและมีจุลินทรีย์จำนวนมาก ซึ้งในกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักโดยใช้ไส้เดือนดินขยะอินทรีย์ที่ไส้เดือนดินกินเข้าไป และผ่านการย่อยสลายในลำไส้แล้วขับถ่ายออกมา มูลไส้เดือนดินที่ได้เรียกว่า “ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน”


คุณสมบัติของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน

ลักษณะโครงสร้างทางกายภาพของปุ๋ยหมักไส้เดือนดินมีลักษณะเป็นเม็ดร่วนละเอียด มีสีดำออกน้ำตาล โปร่งเบา มีความพรุนระบายน้ำและอากาศได้ดีมาก มีความจุความชื้นสูงและมีประมาณอินทรียวัตถุสูงมาก ซึ่งผลจากการย่อยสลายขยะอินทรีย์ที่ไส้เดือนดินดูดกินเข้าไปภายในลำไส้ และด้วยกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้และน้ำย่อยของไส้เดือนดินจะช่วยให้ธาตุอาหารหลายๆ ชนิดที่อยู่ในเศษอินทรียวัตถุเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ เช่น เปลี่ยนไนโตรเจน ให้อยู่ในรูป ไนเตรท หรือ แอมโมเนีย ฟอสฟอรัสในรูปที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซียมในรูปที่แลกเปลี่ยนได้ และนอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบของธาตุอาหารพืชชนิดอื่นและจุลินทรีย์หลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อดิน รวมทั้งสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชหลายชนิดที่เกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ในลำไส้ของไส้เดือนดินอีกด้วย


การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและน้ำหมักมูลไส้เดือนดินในการปลูกพืชจะส่งผลให้ดินมีโครงสร้างดีขึ้น คือทำให้ดินกักเก็บความชื้นได้มากขึ้น มีความโปร่งร่วน
ซุย รากพืชสามารถชอนไชและแพร่กระจายได้กว้าง ดินมีการระบายน้ำและอากาศได้ดี ทำให้จุลินทรีย์ดินที่เป็นประโยชน์บริเวณรากพืชสามารถสร้างเอนโซม์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้เพิ่มชึ้น นอกจากนี้จุลินทรีย์ดินที่ปนออกมากับมูลของไส้เดือนดินยังสามารถสร้างเอ็นไซม์ฟอสฟาเตสได้อีกด้วย ซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มประมาณฟอสฟอรัสในดินให้สูงขึ้นได้



ประโยชน์และความสำคัญของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน

1. ส่งเสริมการเกิดเม็ดดิน

2. เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุแก่ดิน

3. เพิ่มช่องว่างในดินให้การระบายน้ำและอากาศดียิ่งขึ้น

4. ส่งเสริมความพรุนของผิวหน้าดิน ลดการจับตัวเป็นแผ่นแข็งของหน้าดิน

5. ช่วยให้ระบบรากพืชสามารถแดร่กระจายตัวในดินได้กว้าง

6. เพิ่มขีดความสามารถในการดูดซับน้ำในดิน ทำให้ดินชุ่มขึ้น

7. เพิ่มธาตุอาหารพืชให้แก่ดินโดยตรงและเป็นแหล่งอาหารของสัตว์และจุลินทรีย์ดิน

8. เพิ่มศักยภาพการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดิน

9. ช่วยลดความเป็นพิษของธาตุอาหารพืชบางชนิดที่มีปริมาณมาเกินไป เช่น อลูมินัม และแมงกานีส

10. ช่วยเพิ่มความต้านทานในการเปลี่ยนแปลงระดับความเป็นกรด-เบส (Buffer capacity) ทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นไม่เร็วเกินไปจนเป็นอันตรายต่อพืช

11. ช่วยควบคุมปริมาณไส้เดือนฝอยในดิน เนื่องจากการใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจะทำให้มีปริมาณจุลินทรีย์ที่สามารถขับสารพวกอับคาลอยด์และกรดไขมันที่เป็นพิษต่อไส้เดือนฝอยได้เพิ่มขึ้น



การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินเป็นส่วนผสมของวัสดุปลูกและวัสดุเพาะกล้าพืช
         
นอกจากการนำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินไปใช้เป็นปุ๋ยแล้ว ยังสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมของวัสดุปลูกและวัสดุเพาะกล้าพืชได้ วัสดุปลูกพืชหรือสัสดุเพาะกล้าพืชทีมีส่วนผสมของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจะมีธาตุอาหารพืชอยู่ในปริมาณที่เจือจางและอยู่ในรูปพร้อมใช้ ซึ่งจะค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารให้กับต้นกล้าพืชในการเจริญเติบโตระยะแรกได้อย่างเหมาะสม ประกอบกับปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินมีโครงสร้างที่โปร่งเบาระบายน้ำและอากาศได้ดี และจุความชื้นได้มาก ดังนั้นต้นกล้าพืชจะสามารถเจริญเติบโตออกรากและชอนไชได้ดีมาก ในการนำมาปลูกพืชจำพวกได้ประดับจะส่งเสริมให้พืชออกดอกได้ดีมากเนื่องจากจุลินทรีย์ในปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินสามารถสร้างเอนไซม์ฟอสฟาเตสได้ จึงทำให้วัสดุปลูกนั้นมีปริมาณของฟอสฟอรัสเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้พืชออกดอกได้ดียิ่งขึ้น

         
คุณสมบัติของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่นำมาใช้เป็นวัสดุปลูกพืชจะแตกต่างกันตามวัสดุที่นำมาใช้ผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน แต่โดยทั่วไปแล้วโครงสร้างของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่ได้จะมีลักษณะที่คล้ายกัน คือจะมีส่วนประกอบของธาตุอาหารพืชอยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดไปใช้ได้ มีส่วนประกอบของธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมเกือบทุกชนิดที่พืชต้องการ

         
ในการนำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินมาใช้เป็นวัสดุปลูก ควรจะนำมาผสมกับวัสดุปลูกชนิดอื่นๆ ก่อน เนื่องจากปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจะประกอบด้วยอินทรียวัตถุเป็นส่วนใหญ่ และมีอนุภาคของดินอยู่น้อย ดังนั้นในการนำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่ได้มาผสมกับวัสดุปลูกชนิดอื่นๆ จะได้ผลดีกว่าและสิ้นเปลืองน้อยกว่าการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินเพียงอย่างเดียว ซึ่งในการปลูกพืชสวนประดับสามารถนำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินมาเจือจากได้หลายระดับ



ข้อดีของวัสดุปลูกที่มีส่วนผสมของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน

  1. ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินสามารถช่วยเก็บความชื้นและปลดปล่อยออกมาให้พืชอย่างช้าๆ เมื่อพืชต้องการยืดระยะเวลาการให้น้ำแก่พืชได้นานขึ้น
  2. กรณีใช้ผสมดินที่เป็นดินเหนียวจะช่วยเพิ่มอากาศในดิน ทำให้ดินร่วนซุย และช่วยในการถ่ายเทน้ำและอากาศได้สะดวก
  3. กรณีผสมดินที่เป็นดินทรายจะช่วยเพิ่มเนื้อดิน ช่วยให้ดินเก็บรักษาความชื้น และธาตุอาหารในดิน ลดการชะล้างธาตุอาหารของน้ำ
  4. ลดปัญหาการสลายตัวของธาตุอาหาร เป็นตัวปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าๆ ทำให้ประหยัดปุ๋ย
  5. ปกป้องดินไม่ให้มีสภาพโครงร้างแน่นเข็งและช่วยเติมอินทรียวัตถุในเนื้อดิน ช่วยให้ดินร่วนซุย รากพืชสามารถแพร่ขยายได้กว้าง
  6. ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจะมีสาวนประกอบของกรดฮิวมิคซึ่งเป็นตัวกักเก็บธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชหลายชนิด เช่น ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) เหล็ก (Fe) และทองแดง (Cu) ซึ่งธาตุอาหารเหล่านี้จะถูกเก็บอยู่ในโมเลกุลของกรดฮิวมิค อยู่ในรูปพร้อมใช้ และจะถูกปลดปล่อยออกมาเมื่อพืชต้องการ









สุพจน์ สอนสมนึก

เลี้ยงไส้เดือนขายมูล ที่สกลนคร สร้างรายได้มหาศาล

คุณปิราณี หรือ อาจารย์แดง ราชสุภา อายุ 35 ปี บ้านเลขที่ 28 หมู่ที่ 5 บ้านขุนภูมิ หัวหน้ากลุ่มผู้เลี้ยงไส้เดือน บ้านขุนภูมิ ตำบลเดื่อศรีคันไชย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกนคร เล่าว่า ไส้เดือน (Earthworms) เป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง หลายท่านคงได้พบเห็นกันมาตั้งแต่เด็กๆ และอาจเคยได้สัมผัส จับต้องกันมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะในชนบทนั้น ชาวบ้านมักนำไส้เดือนดินมาเป็นเหยื่อเกี่ยวเบ็ดตกปลา หรือนำมาให้เป็ด ไก่ หรือสัตว์อื่นเป็นอาหารเสริม เพิ่มสีสันทำให้สัตว์เลี้ยงแข็งแรง

ชาวบ้านชนบทในอดีตถึงกับบอกว่า สัตว์ชนิดนี้เป็นยาดีอีกขนานหนึ่ง เพราะเคยมีเด็กๆ ลูกหลานไม่สบายเป็นซาง ตานขโมย พุงโรก้นปอด เจ็บป่วย เลี้ยงยาก ออดๆ แอดๆ งอแง พ่อแม่จะไปหาจับไส้เดือนมาตากแห้ง จากนั้นนำไปย่างไฟให้สุก แล้วมาแช่น้ำ กรองเอาน้ำใสให้ลูกหลานกินหายจากโรคภัย มีสุขภาพแข็งแรง ดีมาแล้ว เพราะไส้เดือนมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก แม้แต่คนบางประเทศก็ยังนิยมบริโภคไส้เดือนเป็นอาหารจานโปรดก็มี เพราะมีโปรตีนสูงกว่า 60% และใช้ไส้เดือนดินบางชนิดรักษาโรคบางชนิด เช่น โรคเก๊าต์ โรคหัวใจ และเป็นยาบำรุงทางเพศอีกด้วย

ไส้เดือน อาจจะเป็นสัตว์ที่หลายคนรังเกียจ เพราะรูปร่างหน้าตา แต่ความจริงแล้วเขามีประโยชน์ต่อแผ่นดินอย่างมาก โดยพื้นฐานแล้วไส้เดือนจะเป็นตัวดัชนีวัดคุณภาพของดิน ที่ใดที่มีไส้เดือนมาก แสดงว่าบริเวณนั้นดินดี อุดมสมบูรณ์ และล่าสุดตำราการแพทย์จากต่างประเทศมีงานวิจัยออกมาชัดเจนว่า ไส้เดือนมีสารเคมีบางชนิดช่วยในการรักษาโรคหัวใจ ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น ส่วนตามตำรายาจีนระบุว่าไส้เดือนเป็นอาหารที่ใช้บำรุงกำลัง แก้โรคช้ำใน คนจีนจะกินไส้เดือนที่ปรุงสำเร็จตามสูตรแล้ว เป็นอาหารเช้าคู่กับน้ำเต้าหู้ ทั้งนี้ ตามหลักการแล้ว เนื้อไส้เดือนก็คือโปรตีนอย่างหนึ่งนั่นเอง ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวคนไทยกินไส้เดือนมีการติดตามข่าวนี้ พบว่าจากการตรวจร่างกายของคนๆ นั้น เขาก็ไม่ได้เป็นอะไร แข็งแรงดี ร่างกายก็ไม่มีเชื้อโรคหรือเชื้อพยาธิแต่อย่างไร

คุณปิราณี เล่าถึงความเป็นมาของการจัดตั้งกลุ่มเลี้ยงไส้เดือนว่า เมื่อก่อนนั้นเป็นประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในหมู่บ้านขุนภูมิ โดยพาสมาชิกแม่บ้านกว่า 50 คน ทำกิจกรรมทอผ้า เย็บผ้า และอื่นๆ ต่อมาเมื่อปี 2550 ได้มีคณะเจ้าภาพการทอดกฐินมาจากกรุงเทพฯ มาทอดถวายที่วัดในหมู่บ้าน และได้นำกลุ่มแม่บ้านลงมาช่วยกันทำอาหารต้อนรับกับผู้มาทอดกฐิน และได้รู้จักกับ คุณศุภโชค ศักดิ์ไกวัล ที่เดินทางมาทอดกฐินด้วย ซึ่งได้มีการพบปะพูดคุยกันกับกลุ่มแม่บ้าน โดยคุณศุภโชคได้บอกว่า ตอนนี้เขามีโครงการเลี้ยงไส้เดือน ขายมูลไส้เดือน เป็นปุ๋ยอย่างดี พร้อมทั้งบอกว่าประหยัดกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี ลดภาวะโลกร้อน เป็นไปตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง พร้อมทั้งสามารถสร้างรายได้ดีให้กับผู้เลี้ยง และหากใครอยากเรียนก็ยินที่จะสอนให้ฟรี

จึงมีแม่บ้านสนใจอยู่ 4-5 คน และตกลงกันว่าเมื่อคุณศุภโชคกลับไปกรุงเทพฯ แล้ว จะกลับมาสอนวีธีการเลี้ยงไส้เดือน เพื่อทำปุ๋ยอินทรีย์ จากนั้นอีกประมาณ 1 สัปดาห์ คุณศุภโชคจึงกลับมาที่หมู่บ้าน พร้อมกับแนะนำวิธีการเลี้ยงไส้เดือนให้กับชาวบ้านทันที โดยแนะนำ 3 สายพันธุ์ คือ พันธุ์บลูเวอร์ม พันธุ์ขี้ตาแร่ และพันธุ์แอฟริกัน โดยพันธุ์บลูเวอร์มและพันธุ์ขี้ตาแร่ เป็นพันธุ์พื้นเมือง หลังจากนั้น ก็เพาะเลี้ยงเรื่อยมา โดยปัจจุบันกลุ่มผู้เลี้ยงมีทั้งสิ้น จำนวน 15 ราย

คุณปิราณี บอกอีกว่า จากนั้นเป็นต้นมาก็มีคนสนใจติดต่อมาดูงานและซื้อขี้หรือมูลไส้เดือนกันเป็นจำนวนมาก จนผลิตขายแทบไม่ทัน และได้ตกลงในกลุ่มใช้ชื่อกลุ่มว่า ?ช้างแดงฟาร์ม? โดยมี คุณศุภโชค ศักดิ์ไกวัล เป็นนักวิชาการ สอนการเลี้ยงให้ ทุกคนที่ต้องการวิธีการเลี้ยง

พื้นที่การเลี้ยง

ไส้เดือน เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย และอาหารก็ไม่ต้องเปลือง ลงทุนครั้งเดียวสามารถเก็บผลผลิตขายได้ตลอดปี

คุณศุภโชค หรืออาจารย์ช้าง ผู้สอนการเลี้ยงไส้เดือนของกลุ่มช้างแดงฟาร์มกล่าวว่า สายพันธุ์ที่มาแนะนำให้กลุ่มชาวบ้านขุนภูมิเลี้ยงได้มาจาก รศ.ดร.สมชัย จันทร์สว่าง ครั้งแรกมาแนะนำให้กลุ่มชาวบ้านขุนภูมิเลี้ยง รายละ 1,000 ตัว ปัจจุบัน มีรายละ 300,000-400,000 ตัว แล้ว

การเลี้ยงไส้เดือนดินมีการศึกษาวิจัยมากว่า 100 ปีแล้ว ในแถบอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย มีการนำไส้เดือนดินมากำจัดขยะอินทรีย์ เพื่อผลิตปุ๋ยหมักใช้ในระดับอุตสาหกรรมด้วย และปัจจุบันมีโครงการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินเชิงการค้าหลายสิบประเทศทั่วโลก ซึ่งบางประเทศผลิตในฟาร์มใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น ฟิลิปปินส์ อินเดีย มีเกษตรกรเกือบ 1,000 คน ลดการใช้เคมีถึง 90% โดยมีการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินแทนในการปลูกองุ่น ทับทิม กล้วย ซึ่งจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ได้นำเข้าไส้เดือนประมาณ 3,000 ล้านตัว/ปี

สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาก็เริ่มมีการใช้ไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์และวัสดุที่เหลือทิ้งจากการเกษตร เช่น ฟางข้าว เศษผัก ผลไม้ รวมทั้งเศษอาหาร เพื่อผลิตปุ๋ยหมักใช้ในฟาร์ม แต่ใช้เทคโนโลยีไม่สูงนัก

ประเทศที่ประสบผลสำเร็จในการใช้ไส้เดือนดินผลิตปุ๋ยหมักและกำจัดขยะในชุมชนคือ คิวบา มีศูนย์ผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนขนาดใหญ่ ใช้มูลวัวเป็นหลัก ปุ๋ยที่ได้ใช้กับข้าวโพด ยาสูบ มะเขือเทศ กระเทียม และไม้ตัดดอก

สหรัฐอเมริกา มีบริษัทปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินในเมืองโอรากอน ใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติ มีกำลังผลิตวันละ 12-14 ตัน โดยใช้วัสดุเหลือใช้และขยะอินทรีย์จากชุมชนในเมือง ใช้พื้นที่ 90 ตารางเมตร ภายในโรงเรือนที่ควบคุมอุณหภูมิ คิดค่าเก็บขยะในตัวเมือง ราคา 2,000 บาท/ตัน แล้วขายปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ในราคา 1,000 บาท/ตัน

ที่ฝรั่งเศสก็ใช้ระบบอัตโนมัติทั้งหมด รองรับขยะอินทรีย์ได้ 20 ตัน/วัน โดยใช้ไส้เดือนดิน 1,000-2,000 ล้านตัว ช่วยย่อยสลายขยะ

และที่ประเทศอินเดีย ก็มีการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินอย่างจริงจัง สามารถผลิตได้มากกว่า 3,000 ล้านตัน/ปี

คุณศุภโชค บอกอีกว่า จากข้อมูลที่ได้ศึกษาประกอบกับการได้รับการฝึกอบรมที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ที่ สวทช. (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) และการค้นคว้าเพิ่มเติม จากตำราการเพาะไส้เดือนดินและเทคนิคการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจากขยะอินทรีย์ ซึ่งเป็นวัตถุเหลือทิ้งทางการเกษตร ประกอบกับศึกษาดูงานจากผู้เพาะเลี้ยงไส้เดือนดินหลายแห่ง จึงทำให้เกิดทักษะแนวคิดว่าน่าจะเพาะเลี้ยงไส้เดือนมาทำปุ๋ย และเมื่อมีโอกาสเดินทางไปทำบุญที่บ้านขุนภูมิ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เมื่อช่วง 9 เมษายน 2550 หรือเมื่อ 3 ปีก่อน

ดังนั้น เมื่อมาพบกับคุณปิราณีจึงได้จัดตั้งกลุ่มเพาะเลี้ยงไส้เดือน เรียกว่า ?ไส้เดือนทองคำ? เพราะทำเงินและสามารถให้อยู่ปลอดจากสารพิษได้ การเลี้ยงไส้เดือนบ้านขุนภูมิจึงเกิดขึ้นโดยยึดหลักของพ่อหลวงที่สอนให้เรารักดิน แม่หลวงสอนให้รักน้ำ อาจารย์สอนให้รักษ์สิ่งแวดล้อม สอนให้ทำปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงใช้เอง เพื่อลด-เลิกใช้ปุ๋ยเคมี ที่มีราคาแพงและปลอมปนมาก ตลอดจนมีผลเสียต่อดินระยะยาวด้วย

เมื่อมีการเลี้ยงไส้เดือนเพียง 6 เดือนแรก ก็ประสบผลสำเร็จ สามารถนำปุ๋ยจากไส้เดือนดินมาใส่นาข้าวของตัวเอง ปรากฏว่าผลผลิตข้าวที่ออกมาได้เพิ่มขึ้น โดยไม่มีการซื้อปุ๋ยเคมีมาใช้แต่อย่างใด เป็นข้าวปลอดสารพิษ คนกินปลอดภัย คนใช้ก็ไม่อันตราย จึงเป็นที่สนใจของคนทั่วไป

จากนั้นเป็นต้นมา จะมีชาวบ้านผู้สนใจเดินทางมาศึกษาดูงาน และขอซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไส้เดือนไปเลี้ยง และนำน้ำปุ๋ย ตลอดจนปุ๋ยจากมูลไส้เดือนไปใส่พืชผลผลิตทางการเกษตรมากขึ้น และพบว่าในหมู่บ้านทั้งไกลและใกล้ได้ลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงอย่างเห็นได้ชัด ลดการขาดดุลลงได้มหาศาล

สำหรับวิธีการเลี้ยง

เตรียมท่อปูนซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง กว้าง 1 เมตร สูง 1 เมตร หรือที่เรียกว่า พื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยท่อปูนซีเมนต์ดังกล่าวจะต้องเจาะท่อระบายที่พื้นข้างท่อไว้ เพื่อให้ระบายน้ำได้ เหตุที่ใช้ท่อปูนซีเมนต์เนื่องจากดูแลง่ายและควบคุมอุณหภูมิได้ ทำให้ไส้เดือนโตเร็ว ล้างให้สะอาด จากนั้นนำมาวางให้เอียงด้านท่อระบายเล็กน้อยเพื่อให้น้ำจากมูลไส้เดือนไหลออกได้ตลอดเวลา

นำปุ๋ยคอก (ขี้วัว หรือ ขี้ควาย) มาเทใส่ท่อปูนซีเมนต์ ประมาณ 70 เซนติเมตร จากนั้นตักน้ำเทใส่ลงไปแช่ประมาณ 2 ถัง แช่น้ำไว้ประมาณ 2-3 วัน (ที่เทน้ำใส่เพื่อให้ขี้วัวเกิดความยุ่ยสลายตัว เกิดความนิ่ม และให้กรดแก๊สลดลง) จากนั้นเปิดก๊อกน้ำที่ก้นท่อระบายน้ำออก โดยใช้ถังรองน้ำไว้ เพื่อนำไปฉีดหรือรดต้นไม้อื่นๆ

ปล่อยให้ขี้วัวหมาดๆ ทดลองใช้มือกำดินขึ้นมาดูให้แน่น หากพบว่าปั้นเข้าติดกันได้ ถือว่าใช้ได้

เสร็จแล้วเตรียมพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไส้เดือนนำมาปล่อยลง ประมาณ 1 ท่อ/1,000 ตัว (หรือที่เรียกว่า สูตร 1 ตารางเมตร/1,000 ตัว) ทิ้งไว้ 3-4 วัน จากนั้นหาฟางข้าวหรือมุ้งเขียวมาคลุม เพื่อป้องกันศัตรูของไส้เดือน เช่น จิ้งจก คางคก แล้วคอยดูว่าไส้เดือนใช้หางแทงดินขึ้นมาบนผิวมูลวัวหรือไม่ หากพบว่า มีการแทงมูลขึ้นมา จะพบว่าคล้ายกับมูลแมลงสาบ ก็แสดงว่าไส้เดือนปรับสภาพเข้ากับพื้นที่ได้ จากนั้นก็นำเศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ นำมาโรยปากท่อ แล้วนำผ้าหรือฟางมาคลุมอีกชั้นหนึ่ง (เศษผัก ผลไม้ ประมาณ 2 กิโลกรัม/ท่อ)

ขั้นตอนนี้เรียกว่า แปลงของไร้ค่ามาเป็นเงิน

ประมาณ 10 วัน มาดู แล้วใช้มือปาดกวาดมูลไส้เดือนออกมาใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ จะได้มูลไส้เดือน ประมาณ 20 กิโลกรัม/ต่อ/10 วัน และน้ำที่ได้จากท่อระบาย ประมาณ 20 ลิตร น้ำมูลไส้เดือนมาเป็นปุ๋ย และน้ำที่ระบายจากท่อนำไปพ่นฉีดพืชผักและได้ประโยชน์ทันที

ข้อสังเกตจะพบว่า การขยายพันธุ์ไส้เดือน 1 ท่อ เมื่อนำมาปล่อยครั้งแรกจะประมาณ 1,000 ตัว เมื่อเก็บมูลไส้เดือนขายและสับเปลี่ยนไปมา ประมาณ 2 เดือน จะมีประชากรไส้เดือนเพิ่มประมาณ 4,000-5,000 ตัว/ท่อ ก็สามารถคัดพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไปเพาะบ่อใหม่ต่อไปภายใน 2 เดือน

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเพาะไส้เดือนดิน

สร้างงาน สร้างเงิน เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ง่ายๆ ขายปุ๋ยไส้เดือน ขายน้ำหมักจากไส้เดือน ขายตัวไส้เดือน ได้ผักปลอดสารพิษ

ช่วยย่อยสลายขยะในครัวเรือนและขยะในชุมชน ทำให้ดินดี ช่วยปรับปรุงดิน ช่วยลดรายจ่ายในการใช้ปุ๋ยเคมี ลดการนำเข้า ลดการขาดดุล ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและลดมลพิษในชุมชน ช่วยลดภาวะโลกร้อน และที่สำคัญช่วยให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายมูลวัว มูลควาย มูลสุกร และช่วยให้เกษตรกรในชุมชนร่วมกันผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีใช้เอง และจำหน่ายในราคาถูก เป็นการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมกับช่วยให้คนได้มีอาหารที่ปลอดสารพิษและต้นทุนต่ำกำไรงามอีกด้วย

คุณศุภโชค บอกกล่าวอีกว่า ตนเองเป็นชาวกรุงเทพฯ โดยกำเนิด แต่ก็รักท้องไร่ท้องนา รักดิน รักป่า รักสิ่งแวดล้อม แม้อยู่ในกรุงเทพฯ มีพื้นที่จำกัดก็สามารถเลี้ยงไส้เดือนดินได้ และนำน้ำหมักมูลไส้เดือนมารดผัก ต้นไม้ ไม่ต้องลงทุนอะไรมาก ที่สำคัญปุ๋ยไส้เดือนนี้ เป็นการขายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์กับพืชทุกชนิดมากที่สุด และเป็นน้ำปุ๋ยหรือปุ๋ยอินทรีย์ที่เร็วที่สุดในโลกกว่าชนิดอื่น และสามารถสร้างรายได้ เลี้ยงครั้งเดียวมีรายได้ตลอดไป และชื่อที่ตั้งฟาร์มได้มาจากตัวเอง ที่ชาวบ้านเรียก อาจารย์ช้าง และ คุณปิราณี เรียก อาจารย์แดง จึงให้ชื่อฟาร์มว่า ?ช้างแดงฟาร์ม?

ในส่วนรายได้จะมาจากการจำหน่ายปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน น้ำหมักจากไส้เดือนและขายพ่อพันธุ์ไส้เดือน ซึ่งในปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 5 00,000 บาท แต่ในปีนี้เพิ่งเริ่มมา ต้นปี 3 เดือน จำหน่ายไปแล้วกว่า 100,000 บาท ซึ่งนับว่าเป็นรายได้ที่พออยู่ได้อีกทางหนึ่ง เพราะลงทุนไม่มาก

หากใครสนใจอยากอบรมศึกษาดูงาน การผลิตปุ๋ยจากไส้เดือน ติดต่อได้ที่ ช้างแดงฟาร์ม สกลนคร บ้านขุนภูมิ ตำบลเดื่อศรีคันไชย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เบอร์โทร. อาจารย์ช้าง (คุณศุภโชค) (086) 099-5999, (089) 143-0928 หรือ อาจารย์แดง (คุณปิราณี) โทร. (081) 758-9920 ทุกวัน อบรมให้ฟรี


วิธีการบรรจุไส้เดือนดินและน้ำหมักมูลไส้เดือนเพื่อจำหน่าย

นำมูลไส้เดือนที่เก็บได้มาไว้ที่ร่ม ประมาณ 2-3 วัน นำมาร่อนเอาแต่มูลไส้เดือนบรรจุถุงซิป ถุงละ 1 กิโลกรัม ขายราคากิโลกรัมละ 40-50 บาท

นำน้ำหมักมูลไส้เดือนที่เก็บไว้มากรองใส่ขวดน้ำอัดลมหรือขวดพลาสติคก็ได้ บรรจุขวดละ 1 ลิตร ขายลิตรละ 40-50 บาท

ส่วนตัวไส้เดือนที่เป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ขายตัวละ 5 บาท

อายุของพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไส้เดือน จะอยู่ที่ 5-6 ปี



ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1685 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©