-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 176 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวแวดวงเกษตร29




หน้า: 1/2



4 สายพันธุ์ไส้เดือนดินที่ใช้เลี้ยงในการกำจัดขยะและผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน



สายพันธุ์ที่ 1
 อายซิเนีย ฟูทิดา (Eisenia foetida)

ชื่อสามัญ The Tiger worm, Manure worm, Compost worm

เป็นไส้เดือนดินสีแดงที่มีลำตัวกลม ขนาดเล็ก ลำตัวมีสีแดงสด เห็นปล้องแต่ละปล้องแบ่งอย่างชัดเจน สามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้รวมเร็วและมีกลิ่นตัวที่รุนแรง มีลักษณะโดยทั่วไปดังนี้

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ลำตัวมีขนาด 35-130 x 3-5 มิลลิเมตร

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ลำตัวมีสีแดง ร่างระหว่างปล้องและบริเวณปลายหางมีสีเหลือง

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->มีอายุยืนยาว 4-5 ปี แต่มักจะอยู่ได้ 1-2 ปี เมื่อเลี้ยงในบ่อ

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->สร้างถุงไข่โดยเฉลี่ยประมาณ 150-198 ถุง/ตัว/ปี

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->สร้างไข่ได้ประมาณ 900 ฟอง/ตัว/ปี

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 32-40 วัน (ขึ้นอยู่กับฤดูกาล) โดยเฉลี่ยฟัก 3 ตัว/ถุงไข่

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ใช้เวลาในการเติบโดเต็มวัย 3-6 เดือน (ขึ้นอยู่กับฤดูกาล)

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าสลายและมีอนุภาคขนาดเล็ก


ประเทศในแถบยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย นิยมนำไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ หรือ สายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกันคือ สายพันธุ์ Eisenai Andrei (ไม่ขอกล่าวในที่นี้) มาใช้ในการกำจัดขยะอินทรีย์และกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน เป็นพันธุ์การค้าที่ได้รับความนิยมทั่วโลก มีหลายเหตุผลที่ทำให้ผู้ผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินเลือกใช้สายพันธุ์นี้ คือ ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีอยู่ทั่วไปในบริเวณที่มีขยะอินทรีย์ โดยพวกมันจะขยายพันธุ์และเจริญเติบโตอยู่ในกองขยะอินทรีย์เหล่านั้น เป็นพันธุ์ที่มีความทนทานต่อช่วงอุณหภูมิกว้าง และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในขยะอินทรีย์ที่มีความชื้นได้หลายระดับ โดยรวมแล้วเป็นไส้เดือนดินสายพันธุ์ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดีมาก ทำให้เลี้ยงง่าย




สายพันธุ์ที่ 2
 ยูดริลัส ยูจีนิแอ (Eudrilus eugeniae)

ชื่อสามัญ African Night Crawler

ลักษณะโดยทั่วไป

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ลำตัวมีขนาด 130-250 x 5-8 มิลลิเมตร

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงปนเทา

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->จับคู่ผสมพันธุ์ใต้ดิน

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->สร้างถุงไข่ได้โดยเฉลี่ยประมาณ 162-188 ถุง/ตัว/ปี

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 13-27 วัน โดยเฉลี่ยฟัก 2 ตัว/ถุงไข่

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ใช้เวลาในการเติบโตเต็มวัย 6-10 เดือน

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าสลายเป็นอาหาร

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->มีอายุยืนยาว 4-5 ปี

ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้เป็นไส้เดือนดินสีแดงที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วมาก โดยทั่วไปรู้จักกันในชื่อของ แอฟริกัน ไนท์ ครอเลอร์ (African night crawler) สามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว มีการเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้กันอย่างกว้างขวาง ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้นอกจากนำมาใช้ในกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินแล้วยังมีความเหมาะสมมากในการนำมาผลิตเป็นโปรตีนเสริมสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ เนื่องจากมีขนาดใหญ่และมีอัตราการแพร่พันธุ์ได้สูงมาก แต่มีข้อเสียตรงที่ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ทนทานต่อช่วงอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมได้ต่ำ เลี้ยงยาก และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยากด้วย เนื่องจากไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ซึ่งจะชอบอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง โดยจะเจริญเติบโตได้ไม่ดีในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส และจะตายในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส การเลี้ยงไส้เดือนสายพันธุ์นี้ในประเทศเขตหนาวจะถูกจำกัดการเลี้ยงเฉพาะภายในโรงเรือนที่มีการควบคุมอุณหภูมิในช่วงฤดูหนาวเท่านั้นถึงจะเลี้ยงได้ดี สำหรับการเลี้ยงภายนอกโรงเรือน จะเหมาะสมเฉพาะกับพื้นที่เขตร้อน หรือ กึ่งร้อนเท่านั้น สำหรับในด้านการนำมาใช้จัดการขยะพบว่า ไส้เดือนสายพันธุ์นี้มีความสามารถในการย่อยสลายขยะในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว




สายพันธุ์ที่ 3
 ลัมบริคัส รูเบลลัส (Lumbricus rubellus)

ชื่อสามัญ Red worm, Red Marsh worm, Red wriggler

ลักษณะโดยทั่วไป

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ลำตัวมีขนาด 60-150 x 4-6 มิลลิเมตร

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ผิวบริเวณท้องมีสีขาวขุ่น บริเวณด้านหลังมีสีแดงสด ร่องระหว่างปล้องมีสีเหลือง

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->เป็นไส้เดือนดินในกลุ่ม อิพิจีนิค อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน หรือในกองมูลสัตว์

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->กินเศษซากพืชที่เน่าเปื่อย ขยะอินทรีย์ และมูลสัตว์เป็นอาหาร

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศอย่างแท้จริง

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->จับคู่ผสมพันธุ์ใต้ดิน

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->สามารถผลิตถุงไข่ได้ 79-106 ถุง/ตัว/ปี

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 27-45 วัน โดยเฉลี่ยฟัก 2 ตัว/ถุงไข่

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ใช้เวลาเจริญเติบโตเต็มวัย 5-6 เดือน

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->มีชีวิตยืนยาว 2-3 ปี


ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ เป็นไส้เดือนดินที่มีลำตัวสีแดง ตัวไม่ใหญ่มาก และลำตัวแบน โดยจะมีลำตัวใหญ่กว่าไส้เดือนดินสายพันธุ๋ อายซิเนีย ฟูทิดา และเล็กว่าไส้เดือนดินสายพันธุ์ แอฟริกัน ไนท์ ครอเลอร์ พบได้ทั่วไปในดินที่มีความชุ่มชื้น หรือบริเวณที่มีมูลสัตว์หรือกากสิ่งปฏิกูล มีความทนทานต่อสภาพอุณหภูมิและความชื้นในช่วงกว้าง ไม่ค่อยเคลื่อนไหวมาก กินเศษซากอินทรียวัตถุได้รวดเร็วมาก และขยายพันธุ์ได้ค่อนข้างเร็ว เป็นไส้เดือนพันธุ์การค้าที่มีความเหมาะสมในการนำมาใช้ในกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน




สายพันธุ์ที่ 4
 ฟีเรททิมา พีกัวนา (Pheretima peguana)

ชื่อท้องถิ่น ขี้ตาแร่

ลักษณะโดยทั่วไป

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ลำตัวมีขนาด 130-200 x 5-6 มิลลิเมตร

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงเข้ม

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน ใต้กองมูลสัตว์ เศษหญ้า กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อย และมูลสัตว์เป็นอาหาร

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->จับคู่ผสมพันธุ์บริเวณผิวดิน

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->สามารถผลิตถุงไข่ได้ 24-40 ถุง/ตัว/ปี

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 25-30 วัน โดยเฉลี่ยฟัก 10 ตัว/ถุงไข่

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ใช้เวลาเจริญเติบโตเต็มวัย 5-6 เดือน

<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->มีชีวิตยืนยาว 2-4 ปี


ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้เป็นไส้เดือนดินสีแดงที่พบได้ทั่วไปในทวีปเอเชีย รวมทั้งในประเทศไทย มีลำตัวกลมขนาดปานกลาง โดยมีขนาดใกล้เคียงกับไส้เดือนดินสายพันธุ์ แอฟริกัน ไนท์ ครอเลอร์ โดยพบในมูลวัวนม และใต้เศษหญ้าที่ตัดทิ้งในนาข้าว โดยอาศัยอยู่บริเวณผิวดิน ไม่ขุดรูอยู่ในดินที่ลึกเหมือนกับ ไส้เดือนพันธุ์สีเทา ที่อาศัยอยู่ในสวนผลไม้และอยู่ในชั้นดินที่ลึกลงไป ชาวบ้านแถบภาคเหนือเรียกว่า “ขี้ตาแร่” ชาวบ้านมักจะนำมาใช้เป็นเหยื่อตกปลา ลักษณะพิเศษของไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้คือ จะมีความตื่นตัว (Active) สูงมาก เมื่อสัมผัสถูกตัวมันจะดิ้นอย่างรุนแรงและเคลื่อนที่หนีเร็วมาก นอกจากนี้ในการนำมาใช้กำจัดขยะอินทรีย์พบว่า ไส้เดือนสายพันธุ์นี้จะสามารพกินขยะอินทรีย์จำพวกเศษผัก ผลไม้ได้หมดอย่างรวดเร็ว หากนำมาเลี้ยงและฝึกให้กินขยะอินทรีย์เหล่านี้ นอกจากกินขยะอินทรีย์เก่งแล้ว ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ยังมีอัตราการแพร่พันธุ์ได้สูงมากด้วย ดังนั้นในการนำไส้เดือนดินมาใช้กำจัดขยะในประเทศไทย ไส้เดือนดินสายพันธุ์ “ขี้ตาแร่” เป็นไส้เดือนสายพันธุ์ที่นับว่าเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยและหามาเลี้ยงได้ง่าย



ที่มา ศูนย์สารสนเทศไส้เดือนดินแม่โจ้ ภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้





บทบาทหน้าที่ของไส้เดือนดิน


สภาพความสมบูรณ์ของพื้นป่า มักพบไส้เดือนดินจำนวนมาก


บทบาทของไส้เดือนดินจะถูกมองว่ามีประโยชน์มากกว่ามีโทษต่อมนุษย์ โดยเฉพาะไส้เดือนดินจะมีส่วนช่วยทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น โดยการชอนไชทำให้ดินร่วนซุย ทำให้การระบายน้ำและอากาศไปสู่ดินได้ดีขึ้น  ไส้เดือนดินสามารถชอนไชลงใต้ดินได้ลึกกว่า 20 เมตร ซึ่งเป็นการไถพรวนทางธรรมชาติ ที่เครื่องกลทางการเกษตรไม่สามารถทำได้ และยังช่วยให้ดินอุดมสมบูรณ์โดยการช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุและธาตุอาหารแก่ดิน นอกจากนี้ยังพบว่าไส้เดือนดินมีประโยชน์ต่อพืชในการช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชด้วย สามารถบอกถึงการปนเปื้อนสารเคมีในดิน ด้วยการดูจำนวนของไส้เดือนในดิน ถึงปริมาณความหนาแน่นของประชากรไส้เดือน  



ปริมาณชั้นหน้าดินที่มีอินทรียวัตถุกับไส้เดือนดิน 




การเกื้อกูลกันของธรรมชาติโดยมีไส้เดือนเป็นส่วนประกอบด้วย



บทบาทด้านที่เป็นประโยชน์ของไส้เดือนดิน
 
1.ช่วยพลิกกลับดิน  นำดินด้านล่างขึ้นมาด้านบนโดยการกินดินที่มีแร่ธาตุบริเวณด้านล่างและถ่ายมูลบริเวณผิวดินด้านบน ช่วยให้เกิดการผสมคลุกเคล้าแร่ธาตุในดิน นำแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในชั้นใต้ดินขึ้นมาด้านบนให้พืชดูดนำไปใช้ได้

2. ช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ในดิน ซากพืช ซากสัตว์ และอินทรียวัตถุต่างๆ ทำให้ธาตุต่างๆ อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น ไนโตรเจน ในรูปแอมโมเนียและไนเตรท และอีกกลายชนิด รวมทั้งสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชและวิตามินจะถูกปลอดปล่อยออกมาด้วย

3. ช่วยเพิ่มและแพร่กระจายจุลินทรีย์ในดินที่มีประโยชน์ต่อพืช เช่น ไรโซเบียม ไมคอร์ไรซา ในบริเวณรากพืช

4. การชอนไชของไส้เดือนดิน ทำให้ดินร่วนซุย การถ่ายเทน้ำและอากาศดี ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น เพิ่มช่องว่างในดินทำให้รากพืชชอนไชได้ดี
  

แนวทางการนำไส้เดือนดินมาใช้ประโยชน์
           
1) นำมาย่อยสลายขยะอินทรีย์และเศษอาหารจากบ้านเรือนเพื่อผลิต ปุ๋ยหมักมูล ไส้เดือนดิน นำมาใช้ในการ เกษตรลด ต้นทุนการซื้อปุ๋ยเคมี
           
2) นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ เนื่องจากมีปริมาณเปอร์เซ็นต์โปรตีนที่สูงมากช่วยลดค่าใช้จ่ายในค่า อาหารสัตว์
3) ใช้ฟื้นฟูสภาพดินที่เสื่อมโทรมเช่นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และเหมืองแร่เก่า
4) ใช้เป็นดัชนีทางสิ่งแวดล้อมในการตรวจสอบธาตุโลหะหนักและสารเคมีที่ปนเปื้อน จากการเกษตรในดิน
5) ใช้เป็นอาหาร ยาบำบัดโรค ยาบำรุงทางเพศ  หรือใช้เป็นวัตถุดิบในวงการเภสัชกรรม และเครื่องสำอาง
           
6) ใช้เป็นดัชนีทางสิ่งแวดล้อมในการตรวจสอบธาตุโลหะหนัก และการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรในดิน




การเลี้ยงไส้เดือนในชั้นพลาสติก ( คอนโดไส้เดือน )



การเลี้ยงไส้เดือนดินในชั้นพลาสติกเหมาะสำหรับการเลี้ยงไว้ในในที่กำจัดเช่น บ้านพัก ที่อยู่อาศัย เพราะมีความสะดวก จัดตั้งง่าย สามารถนำไปวางไว้มุมไหนของบ้านก็ได้ที่ปราศจากสิ่งรบกวนต่างๆ หรือศัตรูของไส้เดือนเดือน และยังหาซื้อได้ง่าย จัดเก็บและทำความสะอาดง่าย ไม่เปลืองพื้นที่


-  ปัจจุบันที่จำหน่ายชั้นสำหรับเลี้ยงไส้เดือนดิน หรือที่เรียกว่าคอนโดไส้เดือน สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ราคาไม่แพง นำมาเจาะรูระบายอากาศ ตามจำนวนชั้นที่ต้องการเลี้ยงไส้เดือน และเจาะรูระบายอากาศด้านบน



- นำมาเจาะรูระบายอากาศ จำนวน 3 ชั้น และเจาะรูระบสยอากาศด้านบน เว้นชั้นล่างหรือชั้นที่ 4 เพื่อไว้รองรับน้ำหมักจากเศษอาหารและที่ไส้เดือนขับถ่ายสามารถนำมาเป็นปุ๋ยชั้นดี รดต้นไม้ ปัจจุบันมีการจำหน่ายกันราคาค่อนข้างสูง



- นำวัสดุมาทำเป็นที่อยู่ของไส้เดือนดินหรือที่เรียกว่า Bedding วัสดุที่ใช้สำหรับทำ Bedding ควรเป็นวัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี มีความพรุน เช่นกากใยมะพร้าว ผสมมูลวัวแห้ง รดน้ำพอชุ่ม โดยใส่ไว้ในลิ้นชัก 1/4 ของลิ้นชัก ทั้ง3 ชั้น หลังจากนั้นนำพันธุ์ไส้เดือนดินมาใส่ประมาณ 100-200 ตัวต่อชั้น



อาจหากระดาษกล่องแช่น้ำใส่ลงไป เพื่อเป็นที่อยู่และอาหารของไส้เดือนแต่ไม่ควรแห้งหรือเปียกกันเกินไป ทั้งนี้เพื่อป้องกันไส้เดือนหนีและใช้หลบภัย



หลังจากนั้นก็ตามด้วยอาหารประเภทอินทรียวัตถุ เศษผัก ผลไม้ เหลือของเหลือ อินทรียวัตุภายในครัวเรือนหรือเป็นอาหารสำหรับไส้เดือนและเพื่อให้ไส้เดือนย่อยสลายเป็นปุ๋ยไส้เดือนดินนำมาใช้ประโยชน์ได้อีก





 เร่งเพาะพันธุ์ ‘ไส้เดือนดิน’ ให้เทศบาลกำจัดขยะ เผย ‘อียู-จีน’ ฮิตซื้อทำยา

นักวิชาการหันมาค้นคว้า ‘ไส้เดือน’ หวังลุยตลาดโลก เผย ‘อียู-จีน’ รับซื้อทำยาบำรุง รักษาโรคหัวใจ กิโลกรัมละ 350 บาท ระบุคุณประโยชน์มหาศาล และบ่งชี้ชัดว่ายังเป็นตัวกำจัดขยะที่มีประสิทธิภาพสูง 
                   
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2547 ดร. อาณัฐ ตันโช อาจารย์ภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการสนับสนุนจากโครงการหลวง และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทำโครงการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากขยะชุมชนที่ย่อยสลายได้ กล่าวว่า จากการทำโครงการนี้ ทำให้ได้ศึกษาพฤติกรรมการดำรงชีวิตของไส้เดือนดิน พบว่าสัตว์ชนิดนี้มีคุณประโยชน์มหาศาล คือ สามารถกำจัดขยะที่ย่อยสลายได้ โดยเฉพาะเศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ หรือแม้กระทั่งกระดาษชำระและหนังสือพิมพ์ ได้เร็วที่สุดในโลก
โดยไส้เดือน 1 กิโลกรัม หรือประมาณ 1,200 ตัว จะกำจัดขยะ 1 กิโลกรัม ได้ภายในเวลา 4 วัน ขยะจะถูกย่อยสลายโดยการดูดกินของไส้เดือน และไส้เดือนจะถ่ายออกมากลายเป็นปุ๋ยหมัก ที่นำไปบำรุงรักษาต้นไม้ได้อีกต่อหนึ่ง ทั้งนี้ขยะ 100 กิโลกรัมจะถูกไส้เดือนดูดกินเหลือออกมาเป็นปุ๋ยได้ถึง 70 กิโลกรัม ในขณะที่การใช้วิธีอื่นเพื่อกำจัดขยะประเภทนี้ต้องใช้เวลานานกว่านี้มาก บางวิธียังส่งผลข้างเคียง เช่น เกิดมลภาวะ มีกลิ่นเหม็นอีกด้วย

                   
“วิธีการที่ทำคือเอาดินที่มีไส้เดือนอาศัยอยู่ ใส่ลงไปในวัสดุที่หาได้โดยทั่วไป แล้วเอาเศษผัก ผลไม้ เศษอาหารใส่ลงไป ไส้เดือนจะดูดกินขยะเหล่านี้ภายในเวลาอันรวดเร็ว และจะได้ปุ๋ยหมักคุณภาพดีอีกด้วย ที่สำคัญคือ ระหว่างการทำงานของไส้เดือนนั้นจะไม่มีการส่งกลิ่นเหม็นรบกวน และทำลายบรรยากาศรอบข้างเลย” ดร. อาณัฐ กล่าว 
                   
ดร. อาณัฐ กล่าวอีกว่า หลักการทำงานดังกล่าวนี้ กำลังได้รับความสนใจจากเทศบาลต่างๆ ทั่วประเทศ และได้เดินทางมาดูงานที่มหาวิทยาลัยเพื่อเตรียมนำหลักการนี้ไปใช้ในพื้นที่ตัวเองจำนวนมาก เพราะหลายพื้นที่กำลังมีปัญหาเรื่องขยะล้นเมือง แต่จากปัญหามลภาวะที่เป็นผลมาจากการดำเนินการต่างๆ ที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณไส้เดือนในประเทศลดจำนวนลง ขณะนี้จึงได้คิดเพาะพันธุ์ไส้เดือนเพิ่มมากขึ้น พันธุ์พื้นเมืองที่มีคุณภาพดีที่สุดดูดกินเก่งที่สุดเวลานี้ คือ พันธุ์คิตะแร่ อย่างไรก็ตามได้สั่งไส้เดือนที่ดูดกินเก่งอีก 8 สายพันธุ์ จากต่างประเทศเข้ามาเพื่อทดลองเลี้ยงและปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้การทำงานด้านนี้มีประสิทธิภาพดีขึ้นแล้ว คาดว่าจะเริ่มประมาณต้นปีหน้า


                   
“ไส้เดือนอาจจะเป็นสัตว์ที่หลายคนรังเกียจ เพราะรูปร่างหน้าตา แต่ความจริงแล้วเขามีประโยชน์ต่อแผ่นดินอย่างมาก โดยพื้นฐานแล้วไส้เดือนจะเป็นตัวดัชนีวัดคุณภาพของดิน ที่ใดที่มีไส้เดือนมาก แสดงว่าบริเวณนั้นดินดี อุดมสมบูรณ์ และล่าสุดตำราการแพทย์จากต่างประเทศมีงานวิจัยออกมาชัดเจนว่า ไส้เดือนมีสารเคมีบางชนิดช่วยในการรักษาโรคหัวใจ ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น ส่วนตามตำรายาจีนระบุว่าไส้เดือนเป็นอาหารที่ใช้บำรุงกำลัง แก้โรคช้ำใน คนจีนจะกินไส้เดือนที่ปรุงสำเร็จตามสูตรแล้ว เป็นอาหารเช้าคู่กับน้ำเต้าหู้ ทั้งนี้ตามหลักการแล้ว เนื้อไส้เดือนก็คือโปรตีนอย่างหนึ่งนั่นเอง ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวคนไทยกินไส้เดือนผมก็ติดตามข่าวนี้พบว่าจากการตรวจร่างกายของคนคนนั้น เขาก็ไม่ได้เป็นอะไรแข็งแรงดี ร่างกายก็ไม่มีเชื้อโรคหรือเชื้อพยาธิแต่อย่างไร” ดร. อาณัฐกล่าว 
                   
ดร.อาณัฐกล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันนี้หลายประเทศเริ่มทำอุตสาหกรรมเพาะพันธุ์ไส้เดือนเพื่อส่งออกอย่างจริงจัง  ขณะนี้ไส้เดือนมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 350 บาท จุดประสงค์หลักการนำเข้า คือ เพื่อผลิตปุ๋ยหมักจากมูล เพื่อทำอาหาร และเพื่อผลิตยา ประเทศที่นำเข้าไส้เดือนมากที่สุดคือกลุ่มสหภาพยุโรป และประเทศจีน ส่วนประเทศที่ส่งออกไส้เดือนมากที่สุดคือประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะประเทศนี้ใช้เทคโนโลยีตัดต่อพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ไส้เดือนทำให้มีคุณสมบัติในการดูดกินเศษอาหารมากว่าไส้เดือนพันธุ์อื่น รองลงมาคืออินเดียและประเทศไทย สำหรับประเทศไทยนั้น หลายพื้นที่หันมาเพาะพันธุ์ไส้เดือนเพื่อส่งออกโดยเฉพาะที่จังหวัดนครพนม จังหวัดอุบลราชธานี ทางภาควิชาทรัพยากรดินฯ แม่โจ้ กำลังหาวิธีการเพื่อขยายและปรับปรุงพันธุ์ไส้เดือน เพื่อให้เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ และใช้ในการลดปริมาณขยะและแปลงสภาพเป็นปุ๋ยให้ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามยืนยันว่าจะยังไม่ได้ใช้วิธีตัดต่อพันธุกรรมอย่างเด็ดขาด เพราะยังไม่มีความพร้อมเพียงพอ ...

เอกสารอ้างอิง
บอกเล่าเรื่องราว - หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2547
ภาพประกอบ - สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท)
 



Bedding ที่อยู่ของไส้เดือน

 


ปัจจัยที่มีอิทธิพล / ศัตรูของไส้เดืนดิน
ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อไส้เดือนดิน
  

ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อไส้เดือนดิน ได้แก่ ความชื้น อุณหภูมิ ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) การระบายอากาศและความเข้มข้นของกาซคาร์บอนไดออกไซด์ ชนิดและโครงสร้างของดิน (ที่อยู่) ปริมาณอินรียวัตถุ และ แหล่งอาหาร รวมทั้ง  ศัตรู ของไส้เดือน
           

ไส้เดือนดินมีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณ 70 – 80 % ของน้ำหนักตัว กิจกรรมต่างๆของไส้เดือนดินจะขึ้นอยู่กับความชื้นของดิน ซึ่งมีอิทธิพลต่อน้ำหนักตัวไส้เดือนดิน ไส้เดือนดินจะเจริญเติบโตได้ดีในระดับความชื้นที่แตกต่างกัน แต่โดยมากจะชอบอาศัยอยู่ในดินที่มีความชื่นประมาณ 60–80 % 
           

สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับไส้เดือนดินจะอยู่ประมาณ 15–28 องศาเซลเซียส โดยไส้เดือนดินที่อาศัยอยู่ในเขตร้อนจะทนต่อชาวงอุณหภูมิที่สูงได้ดีกว่าไส้เดือนดินที่อาศัยในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว
           

ไส้เดือนดินเกือบทุกชนิดจะชอบดินที่มีค่าความเป็นกรด-ด่างเป็นกลาง (pH เท่ากับ 0.7) แต่ไส้เดือนดินสามารถอาศัยอยู่ในดินที่มีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วง 5–8 ได้ การใช้ปูนขาวเจือจางน้ำพ่นลงไปในบ่อเลี่ยงสามารถปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง ที่ต่ำให้สูงขึ้นได้ 
           

ชนิดและโครงสร้างของดินส่งผลต่อประชากรของไส้เดือนดินทางอ้อม โดยเนื้อดินที่เหนียวและแน่นหรือมีส่วนผสมของกรวดทรายอยู่มาก จะส่งผลให้ไส้เดือนดินเคลื่อนที่ได้ยากและมีแหล่งอาหารอยู่น้อย การระบายน้ำและอากาศไม่ดี ทำให้ประชากรไส้เดือนดินอยู่น้อย นอกจากนี้ไส้เดือนดินยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในดินทั่วไปที่มีความเข้มข้นของกาซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ระหว่าง 0.01–11.5 % ดินที่มีปริมาณความเข้มข้นของกาซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่สูงจะส่งผลเสียต่อไส้เดือนดิน
           

ในดินที่มีอินทรียวัตถุน้อยจะพบไส้เดือนดินอาศัยอยู่น้อย ในทางตรงกันข้ามบริเวณดินที่มีปริมาณอินทรียวัตถุมากก็จะพบไส้เดือนในปริมาณมาก ซึ่งปริมาณอินทรียวัตถุที่เพิ่มขึ้นในดินจะส่งผลให้ดินมีโครงสร้างที่ดีขึ้นเหมาะต่อการอาศัยอยู่ของไส้เดือนดิน และปริมาณอินทรียวัตถุเหลานี้ยังเป็นแหล่งอาหารของไส้เดือนดินด้วย ซึ่งอาหารของไส้เดือนดินจะประกอบด้วย ดิน เศษอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อย จุลินทรีย์ขนาดเล็กรวมถึงกรวดทรายซึ่งไส้เดือนดินจะกินกรวดทรายเข้าไปเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร

 

  






สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเลี้ยงไส้เดือนดิน
¨
* อุณหภูมิ 15-25 ºC (จำกัด 4-30 ºC)
¨* ความชื้น 80-90 %  (จำกัด 60-90 %)
¨* ความต้องการอากาศ
¨* ความเข้มข้นของแอมโมเนีย ต่ำกว่า  0.5 มก/ล
¨* ความเข้มข้นของเกลือ ต่ำกว่า 0.5 %
¨* pH 5-9
¨* ความมืด
¨* อากาศระบาย



นกกินไส้เดือนดิน (นกสตาร์ลิ่ง)







ศัตรูทางธรรมชาติของไส้เดือนดิน           

ไส้เดือนดินเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์ผู้ล่าที่มีกระดูกสันหลังหลายชนิด ซึ่งไส้เดือนดินมักจะถูกกินโดยสัตว์ปีกหลายชนิด เช่นนกชนิดต่างๆ เป็ด ไก่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบสัตว์เลื้อยคลานอย่าง งู จิ้งจก ตุ๊กแก กบ และสัตว์แทะอย่างหนู ก็จะล่าไส้เดือนเป็นอาหารเช่นเดียวกัน  ตัวอย่างของนกที่กินไส้เดือนดินเป็นอาหาร เช่นนกสีดำ นกสตาร์ลิ่ง นกกระสา นกนางนวล นกกินหนอน นกโรบิ้น ซึ่งเป็นนกขนาดเล็กมีขนตรงหน้าอกสีแดง เป็นต้น  นอกจากนี้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น เม่น ตัวตุ่น หมาจิ้งจอกและสุกร ก็กินไส้เดือนดินเช่นกัน และปลาอีกหลายชนิดที่กินไส้เดือน เช่นปลาช่อน ปลาชะโด เป็นต้น

 
¨


Content ©