-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 260 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวแวดวงเกษตร25








วิมล สุขสุสร นายกสมาคมธุรกิจปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพไทย

"เรานำเข้าปุ๋ยเคมี 7 หมื่นล้าน
หากใช้ปุ๋ยอินทรีย์สัก 3 หมื่นล้าน ก็จะลดการนำเข้าได้มาก"


ถ้าเราลดการนำเข้าปุ๋ยเคมีได้ครึ่งหนึ่งก็สามารถประหยัดเงินได้ประมาณ 3.5หมื่นล้านบาท ทางกรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ในอัตราส่วน ปุ๋ยอินทรีย์ 3 ส่วน ปุ๋ยเคมี 1 ส่วน ถ้าทำได้อย่างกรมวิชาการเกษตรบอกก็สามารถลดเงินตราที่จะออกไปนอกประเทศได้อีกมหาศาล

เรื่องของเกษตรอินทรีย์ได้รับการกล่าวถึงมากในบ้านเรา ปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยหนุนส่งให้การผลิตมีความก้าวหน้านั้นคงหนีไม่พ้นเรื่องของปุ๋ยอินทรีย์ แต่การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในเชิงอุตสาหกรรมที่ผ่านมามีอุปสรรคไม่น้อย โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับตัวบทกฎหมาย และวัตถุดิบที่นำมาผลิต

คุณวิมล สุขสุสร นายกสมาคมธุรกิจปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพไทย ได้มาบอกเล่าข้อมูลบางสิ่งบางอย่าง
ทั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนาก้าวไปในแนวทางที่ชัดเจน โดยความร่วมมือของหลายๆ ฝ่าย
ต่อไปนี้คือ คำให้สัมภาษณ์ของ คุณวิมล สุขสุสร นายกฯ ผู้มุ่งมั่น

จุดเริ่มต้นของการตั้งสมาคมธุรกิจปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพไทย
สาเหตุที่ตั้ง เพราะว่าจุดแรกเลย ทางกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศกฎหมายออกมา เราดูแล้วว่ามีผลกระทบกับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ เราพยายามเข้าคุยกับกรมวิชาการเกษตร เขาบอกว่า เข้าคุยไม่ได้หรอก คุณต้องตั้งสมาคมออกมาให้เป็นรูปธรรม หากไม่มีสมาคมน้ำหนักความเชื่อถือจะไม่มี ให้เราไปตั้งสมาคมเพื่อรวมตัวกัน แล้วเอาปัญหามาคุยกับกรมวิชาการเกษตร เราเห็นดีด้วย เมื่อก่อนปุ๋ยอินทรีย์ไม่มีกฎหมายเด่นชัด ทำให้ต่างคนต่างทำ พอเรามาตั้งสมาคมจะเป็นศูนย์รวมข้อมูลจะทันสมัยได้รับรู้ข่าวสารดียิ่งขึ้น ตั้งขึ้น วันที่ 11 กรกฎาคม 2551

สมาชิกมีประมาณ 60 ราย มีทั้งผู้ประกอบการ โรงงาน ลูกค้า เกษตรกร เป็นวิสาหกิจชุมชนยังไม่มี เราจะเข้าไปในพื้นที่ เราจะไปประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจเข้ามาเป็นสมาชิก เป้าหมายคือวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ ยังเปิดรับอยู่ เราคิดว่าสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน ส่วนหนึ่งยังไม่ได้รับรู้ข้อมูลปุ๋ยอินทรีย์อย่างเต็มที่ การทำปุ๋ยอินทรีย์วันนี้ต่างคนต่างทำ ดังนั้น เรื่องกฎหมายและอุปสรรครับรู้ยังไม่เต็มที่

ขอบข่ายการทำงาน
เราเน้นเรื่องของข้อกฎหมายที่ภาครัฐออกมามีผลกระทบต่อผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้ใช้ และทำอย่างไรเราถึงจะรวมตัวกัน เราพยายามเป็นผู้ประสานระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน เพื่อที่จะเอาข้อมูลต่างๆ มารวมกันเพื่อหาจุดยุติหรือหาจุดที่สามารถเดินหน้าไปด้วยกันได้ แต่นโยบายหลักๆ ของสมาคมมีหลายอย่าง เป็นต้นว่า สมาชิกที่เข้ามาต่อไปจะมีการคัดเลือก ถ้าเป็นโรงงานใครจะมาเป็นสมาชิกได้ไม่ทั้งหมด เราไม่ได้ปิดกั้น แต่ใครจะมาเป็นสมาชิกต้องยึดตามระเบียบของสมาคม กฎระเบียบไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งตั้ง เราอาศัยสมาชิกเป็นผู้กำหนด คนที่เข้ามาต้องปฏิบัติตาม กฎระเบียบของสมาคมก็จะสอดคล้องกับข้อกฎหมาย เราจะหาท่านผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับมาเป็นที่ปรึกษา และทำงานร่วมกับสมาคม จะทำให้สมาคมเป็นที่ยอมรับจากกรมวิชาการเกษตร

ผลงานของสมาคม
ผลงานของสมาคมที่ผ่านมา ผลงานการดำเนินการเรื่องการประสานงาน ในข้อกฎหมายระหว่างกรมวิชาการเกษตรกับผู้ประกอบการ เราพยายามจัดประชุมผู้ประกอบการ ผู้จำหน่าย เกษตรกรและนำเสนอ ทำการวิจัยโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อเป็นข้อพิสูจน์และนำมาโต้แย้ง ไม่ใช่ซึ่งผลประโยชน์ของผู้ประกอบการฝ่ายเดียว แต่เป็นประโยชน์กับประเทศชาติ หลายรัฐบาลที่พยายามจะทำเกษตรอินทรีย์ให้เป็นวาระแห่งชาติ แต่ก็ยังไม่เห็นรัฐบาลชุดไหนทำได้และตั้งใจทำอย่างจริงใจ เพราะฉะนั้นการจะทำให้เกษตรอินทรีย์เป็นวาระแห่งชาติให้สำเร็จนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจะมีผู้เสียผลประโยชน์อีกมากมายที่พยายามจะขัดขวางไม่ให้ประสบผลสำเร็จ ยิ่งกฎหมายฉบับใหม่ที่ออกมาดูแล้วน่าจะเอื้อประโยชน์ให้กับปุ๋ยเคมาก การจะทำให้สำเร็จนั้นก็ต้องร่วมมือกันหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้เกี่ยวข้องกับภาครัฐเพื่อที่จะมายืนยันในแนวทางเดียวกัน

ที่ผ่านมา ยังไม่มีข้อสรุปอะไรมาก
มีเรื่องการย่อยสลายของกรมวิชาการเกษตร เขากำหนดไว้ ให้มีการย่อยสลาย เขากำหนดไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ แต่เราได้โต้แย้ง เนื่องจากเครื่องวัดของกรมวิชาการเกษตรไม่พร้อม วิธีการวัด มีหลายมาตรฐาน แต่กรมวิชาการเกษตรเลือกในมาตรฐานที่สามารถคลาดเคลื่อนได้เยอะ เป็นมาตรฐานที่ใช้มานานมาก เราพยายามโต้แย้งหาหลักวิชาการสนับสนุน จึงมีการเปลี่ยนคำว่า ?"ย่อยสลายโดยสมบูรณ์?" ทีนี้เราก็มากลัวอีกว่าย่อยสลายโดยสมบูรณ์ มันไม่มีตัวเลขกำหนด ทำให้เรามาคิดกัน สิ่งที่เขาใช้เป็นการเลี่ยงบาลีหรือเปล่า

พัฒนาการปุ๋ยอินทรีย์

การผลิตก้าว
ผมเรียนให้ทราบว่า ผมทำปุ๋ย น้อยคนนักจะรู้ว่า ทุกวันนี้ประเทศไทยส่งปุ๋ยอินทรีย์ไปต่างประเทศได้แล้ว ในตลาดของผมที่ส่งออก ทำมา 5 ปีแล้ว สามารถให้ต่างประเทศยอมรับได้ว่าประเทศของเรามีของดี ไม่ใช่นำเข้าอย่างเดียว

ประเทศที่ส่งออกมีเนปาล บังกลาเทศ เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ลาว มีทางด้านแอฟริกาใต้ เราพัฒนาสินค้าขึ้นมา เราหามาตรฐานที่ทั่วโลกยอมรับ วันนี้เรื่องปุ๋ยสิ่งที่บอกเรามีปัญหาเรื่องข้อกฎหมาย ทางกฎหมายให้เราทำตามข้อกฎหมายในประเทศ แต่ก่อนที่จะมาเป็นกฎหมายตัวนี้ เราทำการส่งออก ก่อนเริ่มส่งออก กฎหมายในบ้านเรา 7-8 ปีที่แล้ว เขาห้ามนำดินออกนอกประเทศ เราทำปุ๋ยต่างประเทศสนใจ เขาไปทดลองเขาได้ผล เขาจะสั่งซื้อ ติดข้อกฎหมาย เราพยายามแก้ไขในสิ่งนี้ สามารถแก้ไขได้ พอเราส่งออกไปตลาดต่างประเทศยอมรับ ตลาดเริ่มโต ต่อมากฎหมายฉบับใหม่ออกมา กฎหมายบอกว่า ยกตัวอย่างบางข้อ อินทรียวัตถุ (Organic matter : OM.) ต้องไม่ต่ำกว่า 20 เปอร์เซ็นต์

หลักเกณฑ์ 18 ข้อ ต้องผลิตตามกรมวิชาการเกษตร จริงๆ เราส่งออกมาก่อน เราทำตามออเดอร์ของต่างประเทศ โดยข้อกำหนดบางข้อ ที่กรมวิชาการเกษตรเราทำไม่ได้ แต่ต่างประเทศยอมรับ พอเราจะมาเปลี่ยนสเปคตามกรมวิชาการเกษตร ต่างประเทศไม่ยอมรับ คือปัญหา มีรายละเอียดปลีกย่อย อย่างกระสอบต้องมีภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ต่างประเทศก็ไม่ยอมรับว่าจะมีภาษาไทยไปทำไม คนเขาไม่ต้องการ คือปัญหา คำว่า กฎหมาย หากเราทำผิดเราไม่สามารถไปโต้แย้งได้ ทางปฏิบัติ กรมวิชาการเกษตรอาจจะบอกพี่ทำไปก่อน แล้วแก้ปัญหา แต่เราไม่ชอบ ในการดำเนินงานทุกอย่างต้องเป็นลายลักษณ์อักษร

โดยภาพรวมส่งออกไม่มากนัก ของผมส่งออก 30 เปอร์เซ็นต์ แต่แนวโน้มการส่งออกปุ๋ยอินทรีย์จะสูงขึ้น เรานำเข้าปุ๋ยเคมี มูลค่าปีหนึ่ง 7 หมื่นล้านบาท ถามว่าเราเอาปุ๋ยอินทรีย์มาใช้ครึ่งหนึ่ง เราจะประหยัดไปเท่าไหร่ ถ้าเราส่งออกได้จะยิ่งดีขึ้นไปอีก แต่ในข้อกฎหมายของเราทำให้เราเสียเปรียบที่จะแข่งขันกับต่างประเทศ ขณะนี้ จีนและอินเดียเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว ทั้งๆ ที่ปุ๋ยอินทรีย์ของเราไม่ได้ด้อยไปกว่าเขา แต่เราถูกกีดกันด้วยกฎหมายของเราเอง

เราพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ได้เร็วในเอเชีย ไทยอยู่ในอันดับต้นๆ ทางยุโรปผมไปมาหลายประเทศยังไม่มีใครทำจริงจังเป็นล่ำเป็นสัน ส่วนใหญ่ทำใช้ในประเทศ ถ้าประเทศใกล้เคียงยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร

ประเทศที่ใช้มากคือ อินโดนีเซีย มีการเพาะปลูกมาก
กระแสของปุ๋ยอินทรีย์ กระแสของพืชอินทรีย์มาแรง

ปุ๋ยอินทรีย์ดี...มีผลกระทบต่อผู้คนอย่างไร
ปุ๋ยอินทรีย์ดีอย่างไร เรารู้อยู่แล้วว่า เคมีเป็นสารที่ปรุงแต่ง แล้วแต่จะปรุงแต่งทิศทางไหน
ปุ๋ยอินทรีย์มีผลอย่างไร...อย่างแรกเลยคือเรื่องของสิ่งแวดล้อม ถ้าเราใช้เคมีอย่างต่อเนื่อง พืชและดินจะมีความแตกต่างกันเยอะมาก ถ้าใช้เคมีอย่างต่อเนื่องดินเสื่อม มีสารตกค้าง องค์ประกอบดินเปลี่ยนแปลงไป ดินไม่ร่วนซุย อากาศ น้ำ ซึมได้ยาก รากพืชไม่สามารถหาอาหารได้ดี เราต้องเพิ่มปัจจัยการผลิตเข้าไปอีก หากใส่เคมีต่อเนื่องเพิ่มทุกปีผลออกมา ผลผลิตไม่เพิ่มขึ้น รสชาติผลผลิตเปลี่ยนแปลง การเก็บรักษาเปลี่ยนแปลง ต้นทุนสูง

ถ้าใช้ปุ๋ยอินทรีย์ดินจะร่วนซุย มีธาตุอาหารมาก ผลผลิตเก็บรักษาได้นาน รสชาติเป็นธรรมชาติและต้นทุนต่ำ

จุดขายผลผลิตอินทรีย์ ลูกค้าผมเคยติดต่อเข้ามา เขานำไปใช้ ระหว่างเขาติดต่อ ผมถามเขารู้จักบริษัทของเราได้อย่างไร เขาบอกดูจากเว็บไซต์ ผมถามเขาว่า ทำไมคุณเลือกประเทศไทย เขาบอกประเทศไทยมีผลผลิตทางการเกษตรอุดมสมบูรณ์ ข้าวปลูกได้มาก มัน อ้อย เขาถึงเลือก เขาเลยมองว่าการผลิตเราดี

จุดขายอยู่ในตัวอยู่แล้ว ประเทศเราเป็นประเทศเพาะปลูก สิ่งที่เราปลูกมาก ไม่ว่าจะเป็นพืชผัก ผลไม้ ข้าว ข้าวโพด ฯลฯ ต่างประเทศยอมรับ

ข้อกฎหมายที่อยากทบทวน
เยอะมาก...ที่มีอุปสรรคต่อการผลิตและการจำหน่าย ทุกวันนี้ผู้ออกกฎหมาย และผู้ผลิตปุ๋ย ยังไม่ได้พบปะกันอย่างใกล้ชิด อุปสรรคเยอะมาก เครื่องมือเครื่องจักรในการผลิต วัตถุดิบที่นับวันก็จะลดน้อยลง เพราะนำไปทำเป็นพลังงานทดแทน

ข้อกฎหมาย การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ต้องทำให้ครบ 18 ข้อ ถ้าตกข้อใดข้อหนึ่ง บทลงโทษก็คือติดคุกและปรับ วันนี้เขากำลังนำเรื่องของปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์มาไว้ด้วยกัน ใช้บทลงโทษและการปฏิบัติเหมือนกัน ทั้งๆ ที่ปุ๋ยเคมีเป็นสารต้องห้ามและควบคุม มีอันตรายด้วยตัวของมันอยู่แล้ว เช่น ยูเรีย โปแตสเซียมคลอเรต ฯลฯ การจะนำมาปฏิบัติให้เหมือนปุ๋ยอินทรีย์ผมว่าทำไม่ถูก ยกตัวอย่าง ถ้าเราจะผลิตหรือแบ่งบรรจุให้กับบริษัทใด เราจะต้องทำไซโลให้กับบริษัทนั้นๆ พูดง่ายๆ ว่าถ้าจะผลิตหรือแบ่งบรรจุให้ 10 บริษัท ก็ต้องทำไซโลขึ้นมาอีก 10 ไซโล และยังมีเรื่องของกฎหมายอีก กฎหมายทางเคมีต้องทำอย่างนั้น เพราะเคมีแต่ละสูตรไม่เหมือนกัน

ก่อนออกกฎหมาย กรมวิชาการเกษตรระดมความคิด แต่การระดมบางทีไม่ทั่วถึง สิ่งที่เขาพูดน้อย บอกว่าเป็นงานสัมมนา จริงๆ แล้วไม่ใช่ หรือเป็นการชี้แจงเรื่องกฎหมาย พอเข้ามาแล้ว คนไ ม่ได้ปฏิบัติไม่รู้มันยากง่ายแค่ไหน เสร็จแล้วเขาถามใครมีปัญหาไหม...ใครจะมีปัญหา คนไทยไม่กล้า พูดแล้วเขาจะกระเทือนหรือเปล่า

เท่าที่ทราบดูหลายๆ ที่ต่างประเทศ ข้อกำหนดแตกต่างกัน ภูมิประเทศไม่เหมือนกัน อย่างประเทศหนาว ประเทศร้อน เท่าที่มองไม่เจอแบบบ้านเรา วันนี้หากกำหนดสูง น้อยรายจะทำได้ หากเขาเลิกทั้งๆ ที่รัฐอยากสนับสนุนให้เป็นเกษตรอินทรีย์ เป็นวาระแห่งชาติ ยังไม่เห็นใครมาสนับสนุนจริงจัง หากโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ต้องเลิกไปเพราะข้อกฎหมาย คือจำคุก กฎหมายใช้แล้ว แต่ยังไม่ลงตัว ถามว่าวันนี้ไปหยุดยั้งได้ไหม บอกว่ายาก แต่กฎกระทรวงคุยกันได้ อยากให้ภาครัฐชะลอนิดหนึ่ง ถ้าจะทำให้ยอมรับกันได้ ควรศึกษาให้ถ่องแท้อีกนิดหนึ่ง อยากให้มีคณะกรรมการฝ่ายรัฐ เอกชนคือสมาคม แล้วก็ที่เป็นกลาง คือสถาบันที่ยอมรับ อย่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึงผู้ใช้

ใน 18 ข้อ มีความพอใจ 60 เปอร์เซ็นต์ ทุกอย่างดีอยู่ ปัญหายังมีในเรื่องกฎของกระทรวง อย่างการบรรจุ จะไม่ให้เราโฆษณาลงไปในกระสอบ ให้มีแต่ตัวอักษรที่ทางกรมวิชาการเกษตรกำหนดเท่านั้น เราต้องมองว่าการแข่งขันต้องมีเรื่องโฆษณา เรามามองว่าทำอะไร วันนี้ เราทำอาหารให้คนกิน หรือให้พืชกิน ข้อกำหนดพวกนี้ ยากต่อการปฏิบัติ

เข้าใจเจตนาคนร่าง
ผมเข้าใจเจตนาเขา เขาไม่อยากให้เกษตรกรถูกเอารัดเอาเปรียบ เขามีเจตนาดี ถามว่า ผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ดี ทุกรายเอารัดเอาเปรียบเกษตรกรหรือเปล่า...ไม่หรอกครับ ในสังคมคนเรามีทั้งคนดีและไม่ดี เราจะปกป้องคนดีและกำจัดคนไม่ดีออกไปได้อย่างไร ไม่ใช่กำจัดคนไม่ดีแล้วเอาคนดีออกไปด้วย ผมคิดว่าเมื่อได้คุยกันไม่มีกำแพง ผมว่าเราจะเปิดทางไปได้สวยมาก จะเป็นผลดีต่อประเทศ ผมกล้าพูดเลยว่าปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ประเทศเราไม่เป็นที่สองก็แล้วกัน เราไม่พูดว่าเป็นที่หนึ่ง เราพูดว่าเราไม่เป็นที่สอง ในภูมิภาคเอเชีย เรารู้เรามีศักยภาพแค่ไหน ทำไมเราไม่สร้างศักยภาพตรงนี้เพิ่มขึ้น กรมวิชาการเกษตรน่าจะมองว่ากฎหมายออกมากระทบต่อเศรษฐกิจหรือเปล่า ออกมาแล้ว ทำให้ผลผลิตเป็นอย่างไร กฎหมายอย่าเอามาฆ่าเราต้องส่งเสริม เพื่อให้เราแข่งขันได้ ถ้าทำได้วงการเกษตรอินทรีย์ไทยจะก้าวหน้าอีกมาก

จะทำอย่างไรต่อไป
ผมอยากให้นั่งคุย ชะลอบทลงโทษ ต้องมาคุยอีกทีหนึ่ง ถามว่า ชะลอแล้วคนทำผิดออกมา แล้วมีคนทำผิดทำอย่างไร การชะลอต้องมีกฎระเบียบออกมาบังคับ วันนี้หากเรามองว่าระหว่างที่เราศึกษาและทบทวน ผมว่าใช้เวลาไม่นาน อาจจะมีประกาศของกระทรวงออกมาอีกฉบับหนึ่งว่า ถ้าผู้ใดผลิตให้ระบุในฉลาก ระบุอย่างไร ให้รับผิดชอบอย่างนั้น ผมคิดว่าน่าจะดี ถ้าระบุแล้ว ตรวจสอบไม่ตรงตามที่ระบุก็ให้ลงโทษได้

เรามองว่าปุ๋ยอินทรีย์สร้างรายได้ให้กับชุมชน การทำปุ๋ยอินทรีย์จะต้องมีโรงงานผลิต มีขั้นตอนการผลิต ใช้คนงานแต่ละโรงงาน 40-50 คน ผลที่ได้มีการสร้างงานให้กับชุมชน สร้างรายได้ให้กับประเทศชาติ ลดการนำเข้าปุ๋ยเคมี แล้วพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ให้ส่งออกไปแข่งขันกับต่างประเทศได้ แล้วเราส่งออกได้จะเป็นเงินเท่าไหร่

ท่านนายกสมาคมบอกว่า ทางสมาคมยินดีรับสมาชิก
สอบถามกันได้ที่ คุณสุณีย์ ทองอินทร์ โทร. (080) 661-5604 www.TC-BIOFA.com สำหรับ Email :TC-BIOFA@TC-BIOFA.com




ที่มา  :  ดทคโนโลยีชาวบ้าน









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1655 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©