-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 319 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

มะปราง-มะยง




หน้า: 2/4

 
               ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมะปราง-มะยง


       1.เรียกใบอ่อน
                
          ทางใบ :
               
        - ให้น้ำ 100 ล.+ 25-5-5(200 กรัม)หรือ 46-0-0(200 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง +ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1 ครั้งต่อการเรียกใบอ่อน 1 ชุด  ฉีดพ่นพอเปียกพื้น
     
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
               
          ทางราก :
               
        - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5ม./เดือน
        - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน               
          หมายเหตุ :
               
        - เริ่มปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่งและตัดแต่งรากเสร็จ
 
        - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ การสะสมอาหารเพื่อการออก การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอกซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก
....แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้
        
- ใบอ่อนออกมาแล้วถ้าปล่อยตามธรรมชาติต้องใช้ระยะเวลา 30-45 วัน ถือว่าค่อนข้างนาน  กรณีนี้ควรให้สารอาหารเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จะช่วยให้ใบแก่เร็วขึ้น                
        - มะปราง-มะยงต้องการใบอ่อน 3 ชุด โดยมีวิธีทำดังนี้
          วิธีที่ 1. ถ้าต้นสมบูรณ์ดีมีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว  หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้เลย  ใบชุด 2นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เรียกใบอ่อนชุด 3 ต่อได้เลยอีกเช่นกัน  การที่ใบอ่อนชุด 2 ออกไม่พร้อมกันนั้นจะส่งผลให้ใบอ่อนชุด 3 ออกไม่พร้อมกันทั้งอีกด้วย และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด3 เพสลาดจึงเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ
      วิธีที่ 2. หลังจากใบอ่อนชุดแรกแผ่กางแล้วเร่งให้เป็นใบแก่ ได้ใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 2 เมื่อใบอ่อนชุด 2 แผ่กางให้เร่งเป็นใบแก่ เมื่อใบชุด 2 เป็นใบแก่แล้วงดน้ำให้ใบสลดจนใบแก่โคนกิ่งร่วง 1-2 ใบก็ให้ลงมือเรียกใบอ่อนชุด 3 และสุดท้ายเมื่อใบอ่อนชุด 3 เพสลาดจึงเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ
         (วิธีที่ 1 ได้ผลดีกว่าวิธีที่ 2 เพราะต้นจะมีอาการโทรมน้อยกว่า....)
 
       

       2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
               
           ทางใบ  :
               
         - ให้น้ำ 100+ 0-21-74(200 กรัม) หรือ 0-39-39(200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
               
         - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
               
           ทางราก :
               
         - ให้น้ำ  ทุก 2-3 วัน  
               
           หมายเหตุ :
               
         - เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
               
         - วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด
         - สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มี(ฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย
         - ต้นที่สะสมความสมบูรณ์เต็มที่มานานหลายปีติดต่อกัน หลังจากใบอ่อนเริ่มแผ่กางแล้วสามารถข้ามขั้นตอนการบำรุงไปสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกได้เลย ทั้งนี้ ฟอสฟอ
รัส. กับโปแตสเซียม. ที่เคยให้ไว้เมื่อช่วงบำรุงผลแก่รุ่นที่แล้วนอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ได้แล้วยังช่วยเปิดตาดอกได้อีกด้วย
 
          
       3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
               
           ทางใบ  :  
                 
         - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(200 กรัม)หรือ 0-39-39(200 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.
+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน ติดต่อกัน 2-3 รอบแล้วให้น้ำ 100 ล.
+ เอ็นเอเอ.25 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. สลับ 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบติดต่อกัน 1-2 เดือน จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่
         - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน               
         - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
               
           ทางราก :
               
         - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
               
         - ให้น้ำ  ทุก 2-3 วัน
               
           หมายเหตุ :
               
         - เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเพสลาด
               
         - แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2 เดือนโดยให้กลูโคสหรือนมสัตว์สดรอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุง  และให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน....นมสด ซี/เอ็น เรโช เท่ากับ 39:1
  
       - ไม้ผลที่ผ่านการบำรุงมาอย่างดีแล้วต้องกระทบหนาวจึงออกดอกดีนั้น  ช่วงขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ถ้ามีการให้ “นมสัตว์สดหรือกลูโคส + 0-52-34 หรือ 0-42-56 + สังกะสี” ฉีดพ่นพอเปียกใบ ช่วงเช้าแดดจัด 1-2 รอบให้รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอก จากนั้น อีก 20 วัน ให้อีกเป็นรอบ 2
ก็จะช่วยให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอกและส่งผลให้เปิดตาดอกแล้วมีดอกออกมาดีอีกด้วย
   
     - วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นได้สะสมสารอาหารทั้งกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และกลุ่มสร้างใบ         
        - บำรุงต้นไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอก
ไม่มีการแตกใบอ่อนออกมาอีก ถ้าต้นแตกใบอ่อนออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่อีกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลา
               
        - เพื่อให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออดอกมากยิ่งขึ้น แนะนำให้ใส่มูลค้างคาว 100-200 กรัม/ต้นทรงพุ่ม 5 ม. ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณชายพุ่มจะเป็นการดียิ่งขึ้น.....ใช้มูลค้างคาวด้วยความระมัดระวังเพราะในมูลค้างคาวมีสารอาหารในการสร้างเมล็ด อาจมีผลกระทบช่วงบำรุงผลกลาง (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ) ได้
        - ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มี
ดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง
       

       4.ปรับ ซี/เอ็น เรโช
               
          ทางใบ :
               
        - ในรอบ 7 วัน ให้น้ำ 100 ล.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคล
เซียมโบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้ลงพื้น
               
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
               
          ทางราก :
               
          งดน้ำ  เปิดหน้าดินโคนต้น
               
          หมายเหตุ :
               
        - เริ่มปฏิบัติเมื่อสังเกตเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน
        - ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีก แต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน
        - อากาศเย็น 20-25 องศาเซลเซียส ติดต่อกันนาน 5-7 วัน จะช่วยให้การปรับ ซี/เอ็น เรโช. หรือส่งผลให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอกดีขึ้น
 
       - วัตถุประสงค์เพื่อ“เพิ่ม”ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล(ซี.) และ"ลด"ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น.) 
        - ลักษณะอั้นตาดอกของมะปราง-มะยง ให้สังเกตุลักษณะตุ่มตาที่โคนใบปลายกิ่งถ้าตุ่มตามนกลมกว้าง แสดงว่าเป็นตุ่มตาดอก  เมื่อเปิดตาดอกก็จะออกเป็นดอก แต่ถ้าตุ่มตาแหลมสูง แสดงว่าเป็นตุ่มตาใบ เมื่อเปิดตาดอกก็จะออกเป็นใบ 

       

       5.เปิดตาดอก               
          ทางใบ :               
        - ให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ 0-52-34(500 กรัม)+ สาหร่ายทะเล50 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 2-3 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ               
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
          ทางราก :               
        - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น               
        - ให้น้ำพอหน้าดินชื้นหรือพอให้ต้นรู้สึกตัว                
          หมายเหตุ :               
        - เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกทั่วทั้งต้น  หรือทุกจุดที่สามารถออกดอกได้
        - ในฮอร์โมนไข่มี 0-52-34 แล้วส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนผสมปกติ แต่เนื่องจากมะยง-มะปรางต้องการธาตุอาหารตัวนี้ในอัตราเข้มข้นขึ้นในการเปิดตาดอก จึงแนะนำให้ใส่เพิ่ม 500 กรัม
        - อาจจะพิจารณาใส่ 8-24-24(100-200 กรัม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.อีก 1 รอบก็ได้ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นพอหน้าดินชื้นเพื่อเสริมของเก่าที่ใส่เมื่อช่วงสะสมอาหารและช่วงที่ปรับ ซี/เอ็น เรโช. 
        - เริ่มลงมือเปิดตาดอกหลังจากต้นได้กระทบอากาศหนาว 20-25 องศา 5-7 วันติดต่อกัน(ช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช)จะช่วยให้ออกดอกดีกว่าอุณหภูมิสูง
        - นิสัยมะปราง-มะยงจะออกดอกแบบทยอยออก 3 รุ่น ห่างกันรุ่นละ 10-15 วัน หลังจากดอกรุ่นแรกออกมาแล้ว ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ
        
ประสบการณ์ตรง :
         มะยง-มะปราง ที่ได้ผ่านการบำรุงด้วย "แม็กเนเซียม.สังกะสี.และแคล
เซียม." อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ช่วงเรียกใบอ่อน เมื่อถึงช่วงสะสมตาดอกให้บำรุงด้วย 0-39-39 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม ทั้งทางใบและทางราก กระทั่งอุณหภูมิเริ่มเย็นลง(หนาว) ก็ให้ "งดน้ำ" จากนั้นประมาณ 10-15 วัน ให้สังเกตุตุ่มตาที่โคนใบ ถ้าเป็นตุ่มตาดอกก็ให้ "ระดมให้น้ำ" ปกติ ไม่นานมะปราง-มะยงก็จะออกดอกได้ ทั้งๆที่ไม่ต้อง "เปิดตาดอก" หรืออาจจะเผื่อกันพลาดก็ให้เปิดตาดอกด้วยสูตรเปิดตาดอกเจือจาง 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก็ได้.....ในต้นที่มีตุ่มตาทั้ง 2 แบบ ให้พิจารณาเทคนิค "ระดมให้น้ำทางราก" ร่วมกับ "เปิดตาดอก" ทางใบ โดยให้ปุ๋ยเปิดตาดอกทางใบแบบ
"เจือจาง" 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ก็ได้
          

       6.บำรุงดอก               
          ทางใบ :               
        - ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม
100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรช่วงค่ำ ทุก 2-3 วัน
          ทางราก :                       
        - ให้ 8-24-24 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
        - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น                 
        - ให้น้ำพอหน้าดินชื้น                 
          หมายเหตุ :               
        - ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็น (ก้านดอกยาว 1-2 ซม.) หรือระยะดอกตูมเห็นชัดแน่ว่าเป็นช่อดอก บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ.รอบที่ 1....เมื่อดอกบานเป็นสีดอกหมากให้บำรุงรอบที่ 2 โดย เอ็นเอเอ.จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม การให้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ต้องใช้ด้วยระมัดระวัง เพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
      - ให้ เอ็นเอเอ.20 ซีซี.+ น้ำ 20 ล.(พีเอช 6.0)ช่วงที่ดอกบาน (สีดอกหมาก)ได้ 1 ใน 4 ของดอกทั้งช่อ โดยการฉีดพ่นเป็นพื้นที่ 1 ใน 4 ของพื้นที่ทรงพุ่มทั้งต้น
        
- เทคนิคการฉีดพ่น ไม่ควรฉีดพ่นใส่ตรงๆที่ช่อดอก แต่ให้ฉีดพุ่งขึ้นเหนือยอดแล้วให้ละอองน้ำตกลงมาที่ช่อดอกเอง หรือฉีดพ่นด้านเหนือลม ฉีดแบบโฉบผ่านแล้วปล่อยให้ลมพัดละอองน้ำเข้าสู่ทรงพุ่มเอง กรณีนี้จะช่วยลดแรงกระแทกของเม็ดน้ำตอเกสรได้ดี....ข้อสังเกตุ สรีระของพืชส่วนที่รับสารอาหารทางใบ คือ ใบ ซึ่งมีคลอโรฟีลด์เมื่อ
ใบได้รับสารอาหารแล้วก็จะส่งไปยังดอกเองตามธรรมชาติ ในขณะที่ดอกไม่มีคลอโรฟีลด์ จึงไม่สามารถรับสารอาหารได้
        - เปิดตาดอกด้วยไธโอยูเรีย. อาจทำให้ใบแก่ไหม้แล้วร่วงได้ ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
          ประสบการณ์ตรง...มะยง-มะปราง ตอบสนองต่อ 0-52-34 ในฮอร์
โมนไข่ดีมาก หากต้นได้รับการ "สะสมอาหารเพื่อการออกดอก" อย่างเพียง สามารถออกดอกก่อนฤดูกาลได้ 15 วัน -1 เดือน
        - ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี               
        - ฉีดพ่นสารอาหารทางใบเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้               
        - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “ฮอร์โมนน้ำดำ และ แคลเซียม โบรอน” โดย
ให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้แบบเดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้               
        - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน                 
        - ช่วงดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก....มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก 
        - ช่วงออกดอกถ้าต้นได้รับน้ำมากเกินไป ดอกจะร่วงหรือต้นทิ้งดอก จึงควรให้น้ำพอหน้าดินชื้นเท่านั้น การที่จะรู้ว่าหน้าดินชื้นมากหรือน้อย พิสูจน์ได้โดยการเปิดอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นดูก็จะรู้ได้.....กรณีที่ใส่ 8-24-24 แล้วรดน้ำตามเพื่อละลายปุ๋ยนั้น  กว่าปุ๋ยจะละลายตามต้องการได้ ปริมาณน้ำก็อาจจะมาเกเกินไปก็ได้ ดังนั้นจึงแนะนำให้ละลาย 8-24-24 ในน้ำให้เรียบร้อยเสียก่อน จากนั้นจึงนำน้ำละลายปุ๋ยแล้วไปรดที่โคนต้น วิธีนี้จะสามารถควบคุมปริมาณน้ำได้

        ประสบการณ์ตรง :
       
ธรรมชาติการออกดอกและบำรุงดอกมะปราง-มะยงชิด
        เมื่อต้นมีความสมบูรณ์ครบทุกมิติ แม้จะเปิดตาดอกเพียงครั้งเดียว แต่เขาสามารถออกดอกได้ถึง 3 ชุด ใน 1 รุ่น ของปีการผลิต เมื่อดอกรุ่นแรกออกมาแล้ว  ราว
15-20 วัน ดอกรุ่น 2 จะออกมา และหลังจากรุ่น 2 ออกมาแล้ว 15-20 วัน ดอกรุ่น 3 ก็จะออกตามมาอีกเมื่อดอกรุ่น 1 ออกมาแล้วให้บำรุงด้วย "สูตรบำรุงดอก" ตามปกติ ระหว่างบำรุงดอกรุ่น 1 อยู่นี้จะมีดอกรุ่น 2 และรุ่น 3 ตามออกมา  ซึ่งดอกทั้งสองรุ่นหลังนี้เขาออกมาเองตามธรรมชาติจากความสมบูรณ์พร้อมของต้นโดยไม่ต้องเปิดตาดอก
หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ สูตรปุ๋ยบำรุงดอกไม่ส่งผลกระทบหรือเป็นอุปสรรคต่อการออกดอกรุ่นหลังนั่นเอง นอกจากปุ๋ยสูตรบำรุงดอกรุ่น 1 จะไม่เป็นอุปสรรคต่อการออกดอกของดอกรุ่นหลังๆแล้ว ยังช่วยบำรุงดอกรุ่นหลังที่ออกตามมาได้อีกด้วย


         สรุป :
         ให้บำรุงดอกรุ่น 1 ด้วย "สูตรบำรุงดอก" ต่อไปแม้จะมีดอกรุ่น 2 และ 3 ออกตามมา....บำรุงจนกระทั่งดอกรุ่นสุดท้ายพัฒนาเป็นผล หรือกลีบดอกเริ่มร่วง


         จากดอก สู่ผลเล็ก  ถึงผลใหญ่
         หลักธรรมชาติสรีระวิทยาของไม้ผล  ระบุว่า เมล็ด คือ ผู้สร้างผล โดยใช้ธาตุโปแตสเซียม.เป็นหลัก ตามสมทบด้วย แคลเซียม โบรอน.  เอ็นเอเอ.  และอื่นๆอีกเล็กน้อย หรือตามความจำเป็น
ธาตุหลักของสูตรบำรุงดอก คือ 15-45-15 ซึ่งมีตัวกลางสูง  มีประสิทธิภาพโดยตรงต่อพัฒนาการของดอกและเมล็ด  ระหว่างที่บำรุงดอกรุ่น 2  เท่ากับได้โอกาสบำรุงเมล็ดของรุ่น 1 ไปในตัว  เมื่อดอกรุ่น 2 เริ่มติดเป็นผล ซึ่งผลจากดอกรุ่น 1 ยังเป็นผลเล็กอยู่  แล้วมีดอกรุ่น 3  ออกมา  ก็ยังคงบำรุงด้วยสูตรเดิมต่อไปอีก  ซึ่งเท่ากับได้บำรุงเมล็ดของผลจากดอกรุ่น 1 และ 2  กับบำรุงดอกรุ่น 3  แม้ว่าดอกรุ่น 3 จะผสมติดและพัฒนาเป็นผลแล้ว  ผลที่เกิดจากดอกรุ่น 1 และ 2  ยังคงเป็นผลเล็กอยู่.....จังหวะนี้ให้สังเกตุด้วยการ  "สุ่ม"  เด็ดผลจากดอกรุ่น 1 กับผลจากดอกรุ่น 2 มาผ่าพิสูจน์  ถ้าเห็นว่า  เมล็ดเริ่มเข้าไคลแล้ว  แต่ผลที่เกิดจากดอกรุ่น 3 ยังพัฒนาไม่เต็มที่  อาจต้องยอมทิ้งผลจากดอกรุ่น 3 (ปกติจะมีจำนวนไม่มากนัก) แล้วเปลี่ยนสูตรบำรุงไปสู่ "สูตรขยายขนาดผล" หรือ 21-7-14  +ไคโตซาน  +
แคลเซียม โบรอน +สาหร่ายทะเล  และ  + ฯลฯ   ทั้งทั้งรากและทางใบ


         สรุป:
         ปุ๋ยทางใบ 15-45-15 (1 : 3 : 1)  สำหรับบำรุง  ดอก และ ผลเล็ก
  
       7.บำรุงผลเล็ก                                
          ทางใบ :
               
        - ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100
ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี. + สารสกัดสมุน
ไพร 250 ซีซี.  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
          ทางราก :
               
        - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
        - นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นพร้อมกับเสริมยิบซั่มธรรมชาติ อัตรา 1 ใน 10 ส่วนของครั้งที่ใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
        - ให้น้ำแบบค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำทีละน้อยๆของการให้น้ำ 3-4 รอบเพื่อให้ต้นรู้ตัว
           หมายเหตุ :               
        - เริ่มบำรุงเมื่อผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือหลังกลีบดอกร่วง 
               
        - ช่วงผลเล็กเริ่มโชว์รูปทรงผลแล้วให้  “น้ำ 100 ล. + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม”   ฉีดพ่น 1 รอบพอเปียกใบจะช่วยบำรุงผลไม่ให้เกิดอาการผลแตกผลร่วงตลอดอายุผลได้ดี
 
        - เทคนิคบำรุงด้วย P. สูง  วัตถุประสงค์เพื่ออาศัย P. ไปสร้างเมล็ดก่อน
โดยธรรมชาติของพืชนั้น เมล็ดคือตัวสร้างเนื้อ จึงต้องบำรุงเมล็ดก่อน จากนั้นจึงบำรุงด้วยสูตร P. ต่ำเพื่อ "หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ" ต่อไปในช่วงผลขนาดกลาง
      
       8. บำรุงผลกลาง
               
          ทางใบ :
               
        - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม (100 ซีซี.) + ไคโตซาน 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
                
          ทางราก :
                
        - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
       
 - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                 
          หมายเหตุ
 :              
        - เริ่มบำรุงเมื่อเปลือกหุ้มเมล็ดเริ่มแข็ง (เข้าไคล)
               
        - วัตถุประสงค์เพื่อขยายขนาดผลและลดขนาดเมล็ด (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ)

        - มะปราง-มะยงตอบสนองต่อฮอร์โมนดีมากจึงควรให้ทางใบด้วยฮอร์โมนสมส่วน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2-3 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลกลางจะช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้ใหญ่และเนื้อแน่นขึ้นแต่เมล็ดมีขนาดเท่าเดิม
         - ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ ฮอร์โมนน้ำดำ.กับ แคลเซียม โบรอน. 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก       

         9. บำรุงผลแก่
               
           ทางใบ :
               
         - ให้น้ำ 100 ล. + 0-0-50 (200 กรัม) หรือ  0-21-74  (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
     
         - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
               
           ทางราก :
               
         - ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24  สูตรใดสูตรหนึ่ง (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
  
       - ให้น้ำเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด               
           หมายเหตุ :
               
         - เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
         - การให้ 13-13-21 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลรุ่นเดียวกันทั้งต้น  แต่หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต้นมักโทรมจึงต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้น (เรียกใบอ่อน) กลับคืนมาโดยเร็วแล้วจึงเข้าสู่วงรอบการบำรุงใหม่
  
       - การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันซึ่งนอกจากหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตจนหมดต้นแล้วต้นไม่โทรม  ช่วยบำรุงผลรุ่นหลังต่อและทำให้ต้นมีความสมบูรณ์พร้อมสำหรับให้ผลผลิตรุ่นปีต่อไปอีกด้วย
         - มะปราง-มะยง ที่ได้รับ  "ธาตุรอง/ธาตุเสริม"  อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงช่วงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว คุณภาพผลผลิตจะดีมากโดยไม่ต้องบำรุงด้วยสูตร "บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว"  ทั้งทางรากและทางใบ  โดยคุณภาพผลเนื้อแน่น รสหวานจัด  สีดี  กลิ่นดี  เปลือกและเนื้อส่วนติดเปลือกกรอบ 



              
วิธีบำรุง  “มะปราง-มะยง”  ให้ออกนอกฤดู
                

            เตรียมต้นในรุ่นปีปัจจุบัน  
                
        1. บำรุงต้นแบบให้มีอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องมาแล้วอย่างน้อย  2 ปี
        2. ไว้ผลน้อยๆ เพื่อให้ต้นได้เหลืออาหารกลุ่มสร่งดอกบำรุงผลไว้ในต้นมากๆ
        3. บำรุงระยะผลกลางจนถึงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว ทางรากด้วย  8-24-24
        4. บำรุงระยะผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวทางรากด้วย 8-24-24  และทางใบด้วย 0-21-74 + กลูโคสหรือนมสัตว์สด                
        5. ระหว่างเลี้ยงผลให้หมั่นตัดแต่งกิ่งที่ไม่เหมาะสมต่อการออกดอกติดผล  ตั้งแต่เริ่มแทงออกมาเป็นยอดอ่อน
               
        6. บริหารจัดการปัจจัยพื้นฐาน   ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-ปุ๋ย-พันธุ์-โรค  อย่างถูกต้องสม่ำเสมอ  
                 

           วิธีทำให้ออกก่อนฤดูกาล      
                
        1. เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จให้ ตัดแต่งกิ่งแล้วเรียกใบอ่อนทันทีในวันรุ่งขึ้น
        2. ได้ใบอ่อนชุดแรกแล้วเริ่มบำรุง  เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่  ทันทีที่ใบอ่อนเริ่มแผ่กางโดยบำรุงชุดละ  2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน                
       3. เมื่อใบอ่อนชุดแรกเป็นใบแก่แล้วเรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อทันที
  
     4. เมื่อใบอ่อนชุด 2 เริ่มแผ่กางให้ข้ามขั้นตอนไปเป็นบำรุง  เปิดตาดอก  โดย........

          ทางใบ :                      
          ในรอบ 7 วันให้น้ำ 100 ล.+ 13-0-46 (1 กก.) หรือ 13-0-46 (1 กก.) + 0-52-34 (500 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง  + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. กับให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ สาหร่ายทะเล 50 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ
ช่วงเช้าแดดจัด
                    
          ทางราก :    
                    
       -  ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (1-1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
       -  ให้มูลค้างคาว 1-2 กำมือ/ต้น  ด้วยการละลายน้ำราดโคนต้นทั่วบริเวณทรงพุ่ม
       -  ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                
 
      5. เมื่อดอกออกมาแล้วให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงปกติต่อไปจนถึงเก็บเกี่ยว
            
         หมายเหตุ :
                    
       - ช่วงเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ทุกครั้งให้เสริม “กลูโคส” หรือ “นมสัตว์สด”  ร่วมด้วย
       - เพื่อความมั่นใจและประกันความผิดหวังว่าต้นได้ “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก” มากอย่างเพียงพอ  เมื่อใบอ่อนชุด  2 เริ่มแผ่กางให้บำรุงด้วยสูตร  “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก”  2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วันโดยฉีดพ่นพอเปียกใบพร้อมกับ “งดน้ำ” เพื่อปรับ ซี/เอ็น เรโช. และหลังจากให้อาหารกลุ่มสร้างบำรุงผลครบจำนวนครั้งหรือต้นเริ่มแสดงอาการสมบูรณ์ชัดเจนบ้างแล้วให้เสริมด้วยการ  “รมควัน”  ทรงพุ่ม 2-3 รอบ  รอบละ 10-15 นาที  ก็จะช่วยทำให้ต้นมีความพร้อมต่อการเปิดตาดอกมากยิ่งขึ้น               
        - ถ้ามะปราง-มะยงก่อนก่อนฤดูกาลปกติเพียง  1 เดือนก็ถือประสบความสำเร็จอย่างสูงแล้ว
                
          สรุป
 :              
          วิธีทำมะปราง-มะยงให้ออกก่อนฤดูคือ การย่นระยะเวลาปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนแต่ละขั้นตอนให้เร็วขึ้น 2-4 สัปดาห์เท่าที่สภาพอากาศอำนวยและความพร้อมของต้นที่สามารถรับได้นั่นเอง
                 

          วิธีทำให้ออกหลังฤดูกาล     
               
      1. หลังจากเก็บเกี่ยวผลลิตเสร็จปล่อยต้นตามลำพัง 1-2 เดือน หรือเลื่อนระยะเวลา  ตัดแต่งกิ่ง
 และ  เรียกใบอ่อน  ออกไปก่อน                 
      2. เรียกใบอ่อน  3 ชุด แต่ละชุดเมื่อออกแล้วปล่อยให้พัฒนาเป็นใบแก่ตามปกติโดยไม่ต้องเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
               
      3. เมื่อใบชุด 3 (ชุดท้าย) เพสลาดให้บำรุง สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
 ตามปกติแต่ให้นานขึ้นด้วยการเพิ่มจำนวนครั้ง จนกระทั่งได้ระยะยืดเวลาในการออกดอกตามต้องการแล้วจึงลงมือเปิดตาดอกตามปกติ
                
          สรุป          
               
          วิธีทำมะปราง-มะยงให้ออกหลังฤดูปกติคือ การยืดช่วงระยะเวลาปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนแต่
ละขั้นตอนให้นานขึ้น 2-4 สัปดาห์เท่าที่สภาพอากาศอำนวยและความพร้อมของต้นสามารถรับได้นั่นเอง

           เปิดตาดอกมะยงชิด-มะปราง แบบำรุง 
      1. หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จ ให้บำรุงเพื่อปรับปรุงสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาตามขั้นตอน  "เรียกใบอ่อน"  ปกติ
      2. บำรุงทางใบด้วย  "ฮอร์โมนน้ำดำ" (เพื่อให้ต้นได้สะสม Mg-Zn)  สลับด้วย Ca.Br.  เดือนละ 1 ครั้ง พร้อมกับให้น้ำพอหน้าดินชื้นสม่ำเสมอ 
      3. ก่อนถึงฤดูกาลเปิดตาดอก 3 เดือน  ช่วง 2 เดือนแรกบำรุงทางใบด้วย 0-39-39 ทุก 10 วัน ตลอดระยะ 2 เดือน  พร้อมกับให้น้ำพอหน้าดินชื้นสม่ำเสมอ เพื่อเร่งใบให้แก่จัด  ขั้นตอนนี้ให้สำรวจตุ่มตา  ถ้าพบว่าตุ่มตามีอาการลักษณะพร้อมออกดอกให้งดน้ำเด็ดขาด ซึ่งขั้นตอนงดน้ำนี้น่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 10-15 วัน
      4. งดน้ำกระทั่งใบสลดแล้วจึงให้น้ำโชกๆ 2-3 วันติดต่อกัน  จากนั้นประมาณ 10-15 วันก็จะแทงดอกออกมาให้เห็น  การออกดอกหรือไม่ออกดอกขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น และสภาพอากาศ (อุณหภูมิ) อำนวย
          หมายเหตุ :    
      การบำรุงต้นให้ได้สะสม Mg–Zn–Ca-B เป็นระยะเวลานาน ตั้งแต่เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จนั้นธาตุอาหารทั้ง 3 ตัวนี้จะเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้ต้นมะยงชิด-มะปราง ออกดอกง่าย โดยไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยทางใบสูตรเปิดตาดอกเหมือนไม้ผลอื่นๆได้
      
    
       

 




หน้าก่อน หน้าก่อน (1/4) - หน้าถัดไป (3/4) หน้าถัดไป


Content ©