-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 308 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวแวดวงเกษตร16





ประวัติข้าว


- ข้าวเป็นพืชเก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์รู้จักและปลูกเพื่อเป็นอาหารมาไม่ต่ำกว่า 5,000 ปี เป็นอาหารสำคัญของโลก โดยจะเห็นได้จากพลเมืองมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลกที่บริโภคข้าวเป็นอาหารประจำวันโดยเฉพาะชาวเอเชีย สำหรับประเทศไทยข้าวถือว่าเป็นอาหารหลักของคนไทย มาตั้งแต่เริ่มสร้างประเทศทั้งยังเป็นสินค้าส่งออกอันดับต้นๆ ที่สำคัญของประเทศ

- ข้าวพันธุ์ที่มนุษย์เพาะปลูกในปัจจุบัน พัฒนามาจากข้าวป่าในตระกูล Oryza gramineae สันนิษฐานว่า พืชสกุล Oryza มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของทวีป Gondwanaland ก่อนผืนดินจะเคลื่อนตัวและเคลื่อนออกจากกันเป็นทวีปต่างๆ เมื่อ 230 - 600 ล้านปีมาแล้ว จากนั้นกระจายจากเขตร้อนชื้นของแอฟริกา เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ออสเตรเลีย อเมริกากลางและใต้ ข้าวสามารถเจริญเติบโตได้ทั้งในเขตร้อน และเขตอบอุ่น ทั้งในที่ราบลุ่มจนถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล 2,500 เมตร และ เป็นพืชชนิดเดียวที่เจริญเติบโตได้ในบริเวณที่ไม่มีน้ำขังจนถึงระดับที่น้ำขัง 4 เมตร ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่เส้นรุ้งที่ 50 องศาเหนือในสาธารณะรัฐประชาชนจีน ถึง 40 องศาใต้ใน อาร์เจนติน่า


จุดกำเนิดของข้าว

- จากแผนที่จะเห็นว่ามีพื้นที่บางส่วนของจีนตอนใต้ ตะวันตก/ใต้ ของอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชาและเวียดนามเป็นถิ่นกำเนิดของข้าว เนื่องจากมีสภาพดินและบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการกำเนิด การเจริญเติบโต และ พัฒนาการ ของการนำข้าวป่ามาเป็นข้าวปลูกได้ดียิ่งกว่าพื้นที่อื่น

- มนุษย์ได้คัดเลือกข้าวป่าชนิดต่างๆ ตามความต้องการของตน เพื่อให้สอดคล้องกับระบบนิเวศ มีการผสมข้ามระหว่างข้าวที่ปลูกกับวัชพืชที่เกี่ยวข้อง เกิดข้าวพื้นเมืองมากมายหลายพันธุ์ ซึ่งสามารถให้ผลผลิตสูง ปลูกได้ตลอดปี ก่อให้เกิดพันธุ์ข้าวปลูกที่เรียกว่า ข้าวลูกผสมซึ่งมีประมาณ 120,000 พันธุ์ทั่วโลก

ข้าวปลูกในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น ข้าวแอฟริกา และข้าวเอเชีย /font>

1.ข้าวแอฟริกา (Oryza glaberrima) /font>

- แพร่กระจายอยู่เฉพาะบริเวณเขตร้อนของแอฟริกาตะวันตกเท่านั้น สันนิษฐานว่าข้าวแอฟริกาอาจเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชหรือหลังจากนั้น

2.ข้าวเอเชีย (Oryza glaberrima) /font>

- เป็นข้าวลูกผสม เกิดจาก Oryza sativa กับข้าวป่า มีถิ่นกำเนิดบริเวณประเทศอินเดีย บังคลาเทศ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปลูกกันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่อินเดีย ตอนเหนือของบังคลาเทศบริเวณดินแดนสามเหลี่ยมระหว่างพม่า ไทย ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้ แบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์

ข้าวสายพันธุ์แรกเรียกว่าสายพันธุ์ Sanica หรือ Japonica ปลูกบริเวณแม่น้ำเหลืองของจีนแพร่ไปยังเกาหลีและญี่ปุ่น เมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ เป็นข้าวเมล็ดป้อม

ข้าวสายพันธุ์ที่สอง เรียกว่า Indica เป็นข้าวเมล็ดยาว ปลูกในเขตร้อน แพร่สู่ตอนใต้ของอินเดีย ศรีลังกา แหลมมลายู หมู่เกาะต่างๆ และลุ่มแม่น้ำแยงซีของจีนประมาณคริสต์ศักราช 200

ข้าวสายพันธุ์ที่สาม คือ ข้าวชวา (Javanica) ปลูกในอินโดนีเซีย ประมาณ 1,084 ปีก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นแพร่ไปยังฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น ข้าวเอเชียแพร่เข้าไปในยุโรปและแอฟริกา สู่อเมริกาใต้ อเมริกากลาง เข้าสู่สหรัฐอเมริกาครั้งแรกประมาณคริสต์ศตวรรษที่17 โดยนำเมล็ดพันธุ์ไปจากหมู่เกาะมาดากัสก้า


- ในเบื้องแรก มนุษย์ค้นพบวิธีปลูกข้าวแบบทำไร่เลื่อนลอย ดังปรากฏหลักฐานในวัฒนธรรมลุงชาน ประเทศจีน และวัฒนธรรมฮัวบิเนียนประเทศเวียดนาม เมื่อประมาณ 10,000 ปีมาแล้ว ต่อมามนุษย์ค้นพบการทำนาหว่าน ดังปรากฏหลักฐานในวัฒนธรรมยางเชา บริเวณลุ่มแม่น้ำเหลืองในวัฒนธรรมลุงชาน ประเทศจีน และในวัฒนธรรมฮัวบิเนียน ประเทศเวียดนาม เมื่อ 5,000-10,000 ปีมาแล้ว ภูมิปัญญาด้านการปลูกข้าวพัฒนาสู่การปักดำ พบหลักฐานในวัฒนธรรมบ้านเชียงประเทศไทย เมื่อไม่ต่ำกว่า 5,000 ปีมาแล้ว


จากหลักฐานทางโบราณคดี

- จากหลักฐานในศิลาจารึกประจำแหล่งหรือชุมชนโบราณหลายแห่งทำให้ทราบว่าการทำนาในที่ลุ่มหรือนาลุ่มนั้นมีมานานแล้วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่น้อยกว่าพุทธศตวรรษที่ 15 ดังปรากฏข้อความในศิลาจารึกโนนสัง ต.บึงแก อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร ปี พ.ศ.1432 กล่าวว่า “พระเจ้าโสมาทิตยะได้ส่งเสริมการทำนาในที่ลุ่ม” เมื่อมาถึงสมัยสุโขทัย จารึกฐานพระอิศวรสำริด จ.กำแพงเพชร พ.ศ.2053 ได้ระบุว่าบริเวณตอนล่างของลุ่มแม่น้ำ ปิง วัง ยม น่าน มีการทำนาข้าวแบบอาศัยน้ำฝน เรียกว่า ทำนาทางฟ้า และ แบบใช้ระบบชลประทาน เรียกว่า ทำนาเหมืองฝาย

- จากหลักฐานเมล็ดข้าวที่พบในแหล่งโบราณคดีต่างๆ ในประเทศไทย ได้สรุปว่า ในอดีตมีการปลูกข้าวในพื้นที่ต่างๆ กันดังนี้ ชุมชนในวัฒนธรรมทวาราวดี คือ บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างพุทธศตวรรษ ที่ 11-16 ปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและข้าวเหนียวเมล็ดใหญ่ ชุมชนในวัฒนธรรมศรีวิชัยหรือพื้นที่ภาคใต้ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-18 ปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและข้าวเจ้า

- ชุมชนในวัฒนธรรมลพบุรี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-19 บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคเหนือตอนล่าง ปลูกทั้งข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและข้าวเจ้า ส่วนบริเวณภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปลูกทั้งข้าวเหนียวเมล็ดป้อม,เมล็ดใหญ่มาก และ ข้าวเจ้าด้วย ชุมชนในวัฒนธรรมสุโขทัย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19-20 บริเวณภาคกลางทั้งสองชุมชนนั้นปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อมมาก ข้าวเหนียวเมล็ดยาวบ้างและเริ่มปลูกข้าวเจ้าด้วย

- ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นไป ข้าวเจ้าแพร่กระจายการปลูกในพื้นที่ต่างๆ มากกว่าข้าวเหนียว เพราะความต้องการข้าวเจ้าสำหรับบริโภคภายในประเทศและการส่งออกเพิ่มมากขึ้น ข้าวเหนียวจึงลดพื้นที่ปลูกลงไปโดยปริยาย (ที่มา : มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. ข้าวขวัญของแผ่นดิน.กรุงเทพฯ:มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์,2547)


ความสำคัญของข้าว

- ในบรรดาธัญพืชด้วยกัน เช่น ข้าวสาลี (Wheat) ข้าวโพด (Corn) ข้าวฟ่าง (Sorghum) ฯลฯ นั้น ข้าวถือว่าเป็นพืชที่มีความสำคัญมากที่สุดทั้งทางเศรษฐกิจและการบริโภคของประชากรทั้งโลก โดยเฉพาะในประเทศไทย กล่าวคือ

1. มีความสำคัญต่อการบริโภคของประชากร

- เนื่องจากประชากรของโลกนับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่การผลิตอาหารสำหรับการบริโภคนั้นมีเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ซึ่งตรงกันข้ามกับความต้องการของประชากรโลก ที่กว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลกบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก และกว่า 60% ของประชากรในแถบเอเชียที่มีความต้องการในการบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักทุกวัน โดยเฉพาะประเทศไทยแล้วนิยมบริโภคข้าวมากกว่าประเทศอื่นๆ ในโลก

- หรืออาจกล่าวได้ว่าประชากรของโลกบริโภคข้าวเฉลี่ย 118 กก.ต่อคนต่อปี ส่วนคนไทยบริโภคข้าวเฉลี่ย 335 กก. ต่อคนต่อปี ปัญหาจึงมีอยู่ว่า ต่อไปประชากรของโลกจะมีข้าวไม่เพียงพอต่อการบริโภค เพราะการเพิ่มของประชากรปี ๆ หนึ่งมีมากกว่าการเพิ่มผลผลิตของข้าวในแต่ละปี ซึ่งไม่สมดุลกับการเพิ่มขึ้นของประชากรที่จำเป็นต้องบริโภคข้าวเป็นอาหารในแต่ละวัน ทั้งนี้เนื่องมาจากพื้นที่การผลิตมีอยู่จำกัด ไม่เพียงพอต่อการผลิตผลิตผลทางเกษตร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ให้สูงขึ้น

2. ความสำคัญต่อเศรษฐกิจ

- เนื่องมาจากความต้องการบริโภคข้าวของประชากรโลกมีสูงขึ้นในทุกปี แต่พื้นที่ในการผลิตข้าวกลับมีจำนวนจำกัด ทำให้ข้าวกลายเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศและของโลกด้วย กล่าวคือ ถ้าประเทศไทยผลิตข้าวได้เป็นจำนวนมาก ก็จะทำให้มีข้าวเหลือเพื่อการส่งออกจำหน่าย ทำรายได้เข้าประเทศเป็นอย่างมาก เพราะคนต้องบริโภคข้าวทุกวัน และเพิ่มจำนวนผู้บริโภคข้าวก็เพิ่มจำนวนอยู่เรื่อย ๆ

- สำหรับประเทศกสิกรรมที่ส่งข้าวออกจำหน่ายต่างประเทศนั้น จะสามารถส่งออกข้าวได้ก็ต่อเมื่อมีปริมาณข้าวเหลือพอจากการบริโภคภายในประเทศเสียก่อน ทั้งนี่เพื่อป้องกันการขาดแคลนภายในประเทศ










สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1475 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©