-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 313 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

มะนาว




หน้า: 2/7



              ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมะนาว
 


       1.เรียกใบอ่อน
               
          ทางใบ  :
               
        - ให้น้ำ 100 ล.+ 25-5-5(200 กรัม)หรือ 46-0-0(200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1 ครั้งต่อการเรียกใบอ่อน 1 ชุด  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
                
          ทางราก :
               
        - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 5-7-7(1-2 กก.)
/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
        - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                
          หมายเหตุ :
               
        - เริ่มปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่งและตัดแต่งรากเสร็จ
        - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ การสะสมอาหารเพื่อการออก การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอก ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก.......แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้
        - มะนาวต้องการใบอ่อน 2 ชุด ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้เลย ใบชุด  2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ        

       2.เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่               
          ทางใบ :               
        - ให้น้ำ 100 + 0-21-74(200 กรัม) หรือ 0-39-39(สูตรใดสูตรหนึ่ง) 400 กรัม + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
          ทางราก :               
        - ให้น้ำตามปกติ  ทุก 2-3 วัน               
          หมายเหตุ :               
        - เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
        - วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น  กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด
        - ต้นที่สะสมความสมบูรณ์เต็มที่มานานหลายปีติดต่อกันหลังจากใบอ่อนเริ่มแผ่กางแล้วสามารถข้ามขั้นตอนการบำรุงไปสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกได้เลย ทั้งนี้ฟอสฟอรัส.กับโปแตสเซียม.นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ได้แล้วยังช่วยเปิดตาดอกได้อีกด้วย        


       3.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก               
          ทางใบ :
        - ในรอบ 7-10 วันให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56 (200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1 รอบกับให้น้ำ 100 ล.+ นมสัตว์สดหรือกลูโคส 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
          ทางราก :
        - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง +8-24-24(1-2 กก.)
/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
        - งดน้ำ  ทำช่องทางระบายน้ำป้องกันน้ำฝนขังค้าง
          หมายเหตุ :               
        - เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเพสลาด               
        - แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2 เดือน  โดยให้กลูโคสหรือนมสัตว์สดรอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุง และให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน
        - วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นได้สะสมสารอาหารทั้งกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.)และกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้นไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอกไม่มีการแตกใบอ่อนออกมาอีก  ถ้าต้นแตกใบอ่อนออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่อีกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลา               
        - ช่วงหน้าฝนหรือสวนยกร่องน้ำหล่อหรือพื้นที่ลุ่มปริมาณน้ำใต้ดินมากแนะนำให้บำรุงทางใบด้วยสูตรสะสมอาหารตามปกติโดยการให้ก่อนฝนตก 1 ชม.หรือให้ทันทีหลังฝนหยุดใบแห้ง ให้บ่อยๆได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งหรือช่วงระยะเวลาให้                
        - เพื่อให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออดอกมากยิ่งขึ้น  แนะนำให้ใส่มูลค้างคาว 100-200 กรัม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณชายพุ่มจะเป็นการดียิ่งขึ้น.....ใช้มูลค้างคาวด้วยความระมัดระวังเพราะในมูลค้างคาวมีสารอาหารในการสร้างเมล็ด อาจมีผลกระทบช่วงบำรุงผลกลาง (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ) ซึ่งจะทำให้มีเมล็ดมากและขนาดใหญ่ได้
        - ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง            

         4.ปรับ ซี/เอ็น เรโช
               
            ทางใบ :
               
          - ให้น้ำ 100 ล.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคล
เซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ระวังอย่าให้ลงพื้น
          - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
            ทางราก :               
            งดน้ำ  เปิดหน้าดินโคนต้น               
            หมายเหตุ :               
          - เริ่มปฏิบัติเมื่อสังเกตเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน
          - ระยะเวลาในการงดน้ำไม่อาจกำหนดจำนวนวันที่แน่นอนลงไปได้ (อาจจะ 7-15 วัน) ทุกอย่างขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้น ดังนั้นจึงให้งดน้ำไปเรื่อยๆจนกระทั่งใบเริ่มสลดตั้งแต่ประมาณเที่ยงวัน (อากาศร้อน) แล้วฟื้นตั้งชูขึ้นเหมือนเดิมตัวตอน 16.00-17.00 น.ติดต่อกัน 3 วัน
          - การให้  “นมสัตว์สดหรือกลูโคส + ธาตุรอง/ธาตุเสริม” ทางใบ 1 ครั้ง เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.)  และ “ลด” ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น.) ซึ่งนอกจากช่วยให้ต้นเกิดอาการอั้นตาดอกดีแล้วยังช่วยให้มีดอกออกมามากๆอีกด้วย
          

          5.เปิดตาดอก               
             ทางใบ :               
           - ในรอบ 7 วันให้น้ำ 100 ล.+ ไธโอยูเรีย (500 กรัม) หรือ 0-52-34 (500 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.1 รอบกับให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ สาหร่ายทะเล 50 กรัม + สารสกัสมุนไพร 250 ซีซี. อีก 1 รอบ  ฉีดพ่นพอเปียกใบ               
           - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
             ทางราก :               
           - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น               
           - ให้น้ำโชกทั่วทรงพุ่ม 2-3 วันติดต่อกัน
             หมายเหตุ :               
           - เริ่มปฏิบัติหลังจากต้นแใบสลดติดต่อกัน 3 วันแล้ว
           - อาจจะพิจารณาใส่ 8-24-24(100-200 กรัม)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.อีก 1 รอบก็ได้ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นพอหน้าดินชื้นเพื่อเสริมของเก่าที่ใส่เมื่อช่วงสะสมอาหารและช่วงที่ปรับ ซี/เอ็น เรโช.
           - หลังจากระดมให้น้ำแล้วต้นจะแตกใบอ่อนพร้อมกับมีดอกออกตามมาด้วยเสมอ
           - เพื่อให้ต้นแตกใบอ่อน (มีดอกตามมาด้วย)มากๆ  ให้ใช้  “ไธโอยูเรีย 500 กรัม/น้ำ 100 ล.”  ฉีดพ่นซ้ำก็ได้  โดยฉีดพ่นในช่วงเช้าแดดให้ทั่วทรงพุ่ม      
           - หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าแตกยอดพร้อมกับมีดอกออกมาไม่มากพอ สาเหตุมาจากตั้งแต่ช่วงเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ
           - สำหรับมะนาวนั้น ปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 เป็นได้ทั้ง "สูตรสะสมตาดอก"  และ  "เปิดตาดอก" หมายความว่า เมื่อต้นสะสม 0-52-34 ในปริมาณที่มากพอภายใต้ความสมบูรณ์ต้นสูง มะนาวสามารถออกดอกได้เองโดยไม่ต้องเปิดตาดอกซ้ำ แต่ถ้าต้นสะสม 0-52-34 ไม่เพียงพอหรือต้นเกิดอาการเฝือใบ แนะนำให้เพิ่ม 13-0-46 โดย "น้ำ 100 ล.+ 0-52-35(1 กก.)+ 13-0-46(250 กรัม)มะน่าวต้นนั้นก็จะแทงช่อดอเกออกมาได้

3.




หน้าก่อน หน้าก่อน (1/7) - หน้าถัดไป (3/7) หน้าถัดไป


Content ©