-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 412 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

มะนาว




หน้า: 1/7


                    มะนาว


      ลักษณะทางธรรมชาติ


    * เป็นไม้ผลยืนต้นอายุหลายสิบปีและให้ผลผลิตตลอดปีแบบไม่มีรุ่น ออกดอกติดผลจากกิ่งที่แตกใหม่เสมอจึงควรมีการตัดแต่งกิ่งแล้วเรียกยอดใหม่ทุกปี
                  
    * เป็นพืชรากลอยให้คลุมดินโคนต้นด้วยเศษซากพืชประเภทคงทนชิ้นโตๆ  หนา 20-30 ซม.เต็มพื้นที่ทรงพุ่ม ล้ำออกนอกเขตทรงพุ่ม 1-1.5 ม. เพื่อเป็นการล่อราก ไม่นานรากมะนาวจะเจริญยาวขึ้นมาอยู่กับอินทรีย์วัตถุที่คลุมโคนต้นนั้น เป็นรากที่ดีสมบูรณ์แข็งแรงและจำนวนมาก

    * ต้นที่ปลุกจากเพาะเมล็ด ใช้เวลาประมาณ 2 ปี จึงเริ่มให้ผลผลิต  และบนต้นจะมีหนามจำนวนมาก แข็ง และยาว

    * ต้นที่สะสมสารทองแดงจากค็อปเปอร์ อ๊อกซี่คลอไรด์ สารเคมีกำจัดโรคแคงเคอร์จำนวนมากๆ จะทำให้ต้นไม่สามารถลำเลียงธาตุอาหารจากรากหรือจากใบไปสู่ส่วนต่างๆของต้นได้จึงส่งผลให้ต้นโทรมแล้วตายในที่สุด
           
    * การบำรุงด้วย ฮอร์โมนธรรมชาติ (ทำเอง)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ในช่วงที่ผลกำลังพัฒนาจะทำให้มะนาวผิวเห่อ เปลือกหนา น้ำน้อย รกมาก แก้ไขโดยบำรุงทางใบด้วย ฮอร์โมนเร่งหวานสูตรเด็ด + ธาตุรอง/ธาตุเสริม ก่อนเก็บเกี่ยว 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จะช่วยให้ผิวหายเห่อ เปลือกบาง
ต่อมน้ำมันสดใส รกน้อย น้ำมาก กลิ่นดี
                

    * ต้องการให้ผลขยายขนาดทางข้างเพื่อทรงผลแป้น บำรุงระยะผลขนาดกลางด้วย ฮอร์โมนขยายขนาดทางข้าง 3 ส่วน + ฮอร์โมนขยายขนาดทางยาว 1 ส่วน เสริมด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริม. ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ตามความจำเป็น
                

    * การบำรุงระยะติดผลแล้วด้วย แคลเซียม โบรอน. มากเกินไปจะทำให้จุกขั้วสูง เปลือกหนา ผิวเห่อ แก้ไขด้วยการลดแคลเซียม โบรอน.และไนโตรเจน
                

    * การให้ฮอร์โมนอาลิเอท. เจือจางประจำปีละ 2 ครั้งจะช่วยให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรง ป้องกันผลแตกผลร่วงได้ดี                

    * การให้ฮอร์โมนบำรุงราก ปีละ 2-3 ครั้ง ช่วงที่ต้นมีความจำเป็นต้องเร่งระดมอาหารจำนวนมากเพื่อการเตรียมความพร้อมของต้นต่อการพัฒนาแต่ละระยะๆ                

    * การให้ฮอร์โมนเอ็นเอเอ.(ทำเอง/ท้องตลาด)และ/หรือฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลลิน ฉีดพ่นช่วงอายุผลสัปดาห์แรกจะช่วยป้องผลแตกผลร่วงเมื่ออายุผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวได้ดี 

    * มะนาวต้นที่สมบูรณ์ดี จะออกดอก 2-3 เดือน/ชุด นั่นคือ มะนาวสามารถออกดอกติดผลได้ตลอดทั้งปี        

    * ปุ๋ยน้ำชีวภาพประเภทหมักด้วยกากน้ำตาลไม่เหมาะกับมะนาวหรือพืชตระกูลส้ม เพราะกากน้ำตาลจะเป็นตัวส่งเสริมให้เกิดเชื้อรามีลาโนส.และแอนแทร็ค
โนส. จึงไม่ควรให้ทางใบแต่สามารถให้ทางดินแทน หากต้องการให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือฮอร์โมน (ทำเอง)จะต้องเป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือฮอร์โมนที่หมักด้วยกลูโคสเท่านั้น                

    * สวนที่มีหญ้าและวัชพืชขึ้นรกปกคลุม ทั้งในบริเวณทรงพุ่มและทั่วทั้งแปลงจะมีผลดกตลอดปี มีโรคและแมลงศัตรูพืชเข้ารบกวนน้อย
                

    * ปรับแต่งทรงพุ่มตั้งแต่เป็นต้นเล็กยังไม่ให้ผลผลิต โดยบำรุงให้ลำต้นส่วนเปล้าสูงๆ หรือกิ่งง่ามแรกสูจากพื้น 50-80 ซม.เมื่ออายุต้นโตถึงระยะให้ผลผลิตได้แล้วให้ดัดและแต่งกิ่งประธานให้กระจายชี้ออกนอกทรงพุ่มเท่ากันทั่วทิศทางรอบต้นอีกครั้งหนึ่ง นอกจากทำให้ทรงพุ่มโปร่ง โรคและแมลงรบกวนน้อยแล้ว ยอดที่แตกในทรงพุ่มยังสามารออกดอกติดผลได้อีกด้วย

    *ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่ผสมตัวหรือต่างดอกในต้นเดียวหรือต่างต้นได้ดี

    * เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก)แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว
                

    * มะนาวจะแตกยอดออกใบมากในช่วงหน้าฝนแต่ไม่มีดอก เนื่องจากอัตราส่วน ซี/เอ็น เรโช.ไม่เหมาะสมต่อการออกดอก (เอ็น.มากว่า ซี.)ครั้นเข้าสู่หน้าหนาว (พ.ย.-ธ.ค.)มะนาวจะพักต้น หลังจากพักต้นระยะหนึ่งแล้วได้รับน้ำเพียงเล็กน้อยก็จะออกยอดอ่อนพร้อมกับมีดอกออกตามมาด้วย
           

    * มะนาวต้นที่มีความพร้อมในการออกดอกติดผล (ผลจากการสะสมอาหารกลุ่ม ซี.และ กลุ่ม เอ็น)เมื่อแตกยอดจะมีดอกออกตามมาด้วยเสมอ .....ดอกที่ออก ณ ปลายกิ่งอ่อนจะติดเป็นผลดีมีคุณภาพ ดอกที่ออกจากซอกใบแก่หรือใบจากปลายยอดเข้ามาจะติดเป็นผลและคุณภาพปานกลาง ส่วนดอกที่ออกตามกิ่งแก่มักไม่ติดเป็นผล หรือถึงติดเป็นผลได้ก็คุณภาพไม่ดี

    * มะนาวที่ออกดอกช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. ผลจะแก่เก็บเกี่ยวได้ในช่วง มิ.ย.-ส.ค. เป็นช่วงมะนาวราคาต่ำสุด แต่มะนาวที่ออกดอกเดือน ก.ย.-ต.ค.ผลจะแก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.เป็นช่วงมะนาวราคาแพงหรือมะนาวหน้าแล้ง                

    * การปฏิบัติบำรุงด้วยธาตุอาหารกลุ่ม สร้างดอก-บำรุงผล อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ออกดอกติดผลได้ตลอดปี ในต้นเดียวกันจะมีทั้งดอก ผลเล็ก  ผลกลางและผลใหญ่ กรณีนี้ผลใหญ่ส่วนหนึ่งจะแก่เก็บเกี่ยวในช่วงหน้าแล้งได้
                

    * ในต้นเดียวกันที่มี ดอก+ผล อยู่ในต้นเดียวกันนั้น หากต้องการบำรุงแบบให้มีผลชุดใหญ่แก่เก็บเกี่ยวได้ช่วงหน้าแล้ง สามารถทำได้โดยการทำลายดอกชุดที่ออกมาตรงกับมะนาวปี (ม.ค.-ก.พ.)ทิ้งไปแล้วบำรุงเฉพาะผลที่เหลืออยู่ตามปกติ                 

    * การที่จะบำรุงให้ออกดอกช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค.ได้จะต้องให้มะนาวกระทบแล้งช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.ให้ได้ซึ่งเป็นเรื่องยากเพราะช่วงนั้นเป็นช่วงหน้าฝน                

    * ใช้กากมะพร้าวที่คั้นกะทิออกไปหมดแล้วหว่านในทรงพุ่มให้กากมะพร้าวส่วนหนึ่งติดค้างอยู่บนใบกับส่วนหนึ่งตกลงไปที่พื้นดินโคนต้น จะช่วยให้มะนาวต้นนั้นออกดอกติดผลดกตลอดปีแบบไม่มีรุ่นได้                      

    * ใช้น้ำ 100 ล.+ เครื่องในปลาทะเลสดใหม่บดละเอียด 100-200 กรัม รดโคนต้นทุก 2-3 เดือน หรือฉีดอัดลงดินบริเวณทรงพุ่ม เป็นวิธีการทำให้ต้นได้รับธาตุอาหารต่อเนื่องตลอด 24 ชม.จะช่วยให้มะนาวออกดอกติดผลดกตลอดปีแบบไม่มีรุ่นได้           

    * ต้นที่สมบูรณ์จนเฝือใบให้บำรุงด้วยน้ำ 100 ล.+ นมสัตว์สดหรือกลูโคส 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. ฉีดพ่นทางใบให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบทุก 5-7 วัน จะช่วยให้ใบเขียวเข้ม  พร้อมให้เปิดตาดอกได้ หรือเมื่อต้นแตกใบอ่อนออกมาก็จะมีดอกออกตามมาด้วย
                

    * เป็นพืชที่ตอบสนองต่อปุ๋ยคอก มูลวัวเนื้อ/วัวนม + มูลไก่ไข่/ไก่เนื้อ/นกกระทา ดีมากหากมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1-2 กระป๋องนม/ตร.ม.ร่วมด้วย 2-3 ครั้ง/ปี แล้วคลุมทับด้วยเศษหญ้าแห้งหรือฟางหนาๆเต็มพื้นที่ทรงพุ่ม ล้ำออกนอกทรงพุ่ม 1-1.5 ม.จะช่วยให้ต้นมะนาวสมบูรณ์แข็งแรงดียิ่งขึ้น
                

    * พันธุ์ที่ลักษณะทรงผลไม่แป้น แก้ไขด้วยการให้ ฮอร์โมนขยายขนาดทางข้าง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม ตั้งแต่ผลขนาดเล็ก และให้ไปเรื่อยๆจนกระทั่งเก็บเกี่ยวจะช่วยให้ทรงผลแป้นได้

    * ต้นพันธุ์ที่เลี้ยงในถุงดำโดยมีแกลบดำล้วนๆเป็นวัสดุปลูก ก่อนนำต้นพันธุ์ต้นนั้นลงปลูกในแปลงจริง แนะนำให้ถอนต้นกล้าขึ้นมาจากถุงปลูก ล้างแกลบดำด้วยน้ำออกให้หมดแล้วจึงนำลงปลูกในหลุมปลูก ระหว่างลงหลุมปลูกให้จัดระเบียบรากให้ชี้ตรงออกด้านนอกรอบทิศทาง จะช่วยให้ต้นพันธุ์แทงรากใหม่เร็วและดีกว่าการมีแกลบดำอยุ่ในหลุมปลูกด้วย
                    

      การขยายพันธุ์               
    - ตอน (ดีที่สุด).  ทาบกิ่ง.  เพาะเมล็ด.
    - ไม่ควรใช้ต้นกล้าพันธุ์ที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการทาบหรือเสียบยอด เพราะเมื่อต้นอายุมากขึ้นส่วนที่เป็นตอจะใหญ่กว่าส่วนต้นพันธุ์ดีหรือเรียกว่าเท้าช้าง
    - เลือกต้นกล้าพันธุ์ที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนจากกิ่งกระโดง ลักษณะตรง
ข้อปล้องยาว ลำเปล้าสูง อายุน้อยๆหรือกลางอ่อนกลางแก่เป็นกิ่งอ่อนที่เปลือกยังไม่แตกลายงา หรือเริ่มมีลายงาเกิดขึ้น ใบใหญ่ ผ่านการแตกใบอ่อนมาแล้ว 2-3 ชุด มีรากอ่อนเกิดในถุงมากๆ
    - ไม่ควรเลือกต้นกล้าพันธุ์ที่เลี้ยงในถุงดำเป็นเวลานานๆจนรากแก่จัดเป็นสีน้ำตาลไหม้ บางส่วนแทงทะลุออกมานอกถุง รากที่อยู่ในถุงเริ่มเจริญยาววน (รากวน)ไปตามถุง เมื่อนำไปปลูกจะโตช้า               
    - วิธีการปลูกกล้ามะนาว ถ้ายังเป็นกิ่งอ่อนหรือกลางอ่อนกลางแก่ ให้ปลูกแบบตั้งฉากกับพื้นได้เลย ยอดใหม่จะแตกออกมาต่อจากยอดเดิมและตามข้อหรือตาที่ลำเปล้า แต่ถ้าเป็นกิ่งแก่หรือค่อนข้างแก่ให้ปลูกแบบเอียง 45 องศาหรือมากกว่า(เอียงมาก)กับพื้น ยอดใหม่จะแตกออกมาจากตาที่ข้อตั้งตรงเป็นกิ่งกระโดง ให้เลือกไว้เฉพาะยอดที่แตกออกมาจากข้อต่ำสุดเพียงยอดเดียวยอดจากตาอื่นๆให้เด็ดทิ้งไป  ยอดที่เหลือไว้นี้จะโตขึ้นเหมือนยอดกระโดง มีลำเปล้าตรงและสูงและหลังจากยอดที่เหลือไว้นี้โตเต็มที่ แล้วยอดเดิมที่ติดมากับต้นกล้าพันธุ์จะหลุดร่วงไปเอง
    - ปลูกต้นกล้าพันธุ์โดยทำพูนโคกสูง 30-50 ซม.กว้าง 1-1.5 ม.
ขุดดินกลางพูนโคกเป็นหลุมเล็กๆ ปลูกต้นกล้าลงตื้นๆพอมิดตุ้มตอนหรือตุ้มทาบ  คลุมด้วยเศษหญ้าหรือฟางแห้งหนาๆ จะช่วยให้รากเจริญเร็วกว่าการปลูกแบบขุดหลุมลึกๆบนพื้นราบธรรมดาๆ
    - ก่อนกลบดินหลุมปลูกให้เขี่ยขุยมะพร้าวที่ผิวนอกตุ้มตอนหรือตุ้มทาบ
สำรวจปลายรากว่ามีอาการหมุนวนรอบๆถุงห่อขุยมะพร้าวหรือไม่ ถ้ารากเริ่มหมุนวนให้จัดรากโดยใช้ไม้เล็กๆเขี่ยปลายรากออกมาให้ชี้ออกข้างตรงๆแล้วใช้ดินกลบกดยึดรากส่วนนั้นไว้ ถ้าไม่จัดรากก่อนเมื่อรากเริ่มเจริญยาวจะหมุนวนอยู่ในหลุมเรียกว่า ราก-วน เป็นเหตุให้ต้นโตช้าหรืออาจนั่งหลุมตายได้
                 
      สายพันธุ์               
      เลือกสายพันธุ์ที่ตรงตามความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง....พันธุ์นิยมเพื่อการบริโภคประเภทยำหรือต้มยำ ได้แก่ แป้นรำไพ. แป้นกระดาน. แป้น
ทะวาย. แป้นพวง. เนื่องจากผลดก รูปทรงสวย เปลือกบาง น้ำมาก น้ำมีกลิ่นหอม......พันธุ์นิยมเพื่อการบริโภคประเภทน้ำจิ้มคือ พันธุ์ไข่.  เนื่องจากผลดก เปลือกบาง น้ำมากและมีกลิ่นหอม.....ส่วนพันธุ์นิยมเพื่อการบริโภคประเภทน้ำแปรรูป ได้แก่ น้ำหอมทูลเกล้า. ด่านเกวียน.....และมะนาวหวาน ลักษณะต้น ผล การเจริญเติบโตเหมือนมะนาวแต่ผลแก่รสจืดชืด
      
ปัจจุบันมีมะนาวสายพันธุ์ใหม่ๆเกิดขึ้นหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ต่างก็เน้นความเป็นมะนาวแป้นและทนทานต่อโรคเป็นหลัก ส่วนการตั้งชื่อสายพันธุ์จะเน้นการจำหน่ายกิ่งพันธุ์เป็นหลัก
      
มะนาวสายพันธุ์ที่มีความต้านทานโรคสูงโดยธรรมชาติอย่างแท้จริง มี 2 สายพันธุ์คือ น้ำหอมทูนเกล้า (ไร้เมล็ด)และ ด่านเกวียน. จึงทำให้นักผสมพันธุ์มะนาวใช้
ด่านเกวียนหรือน้ำหอมทูนเกล้า ตัวใดตัวหนึ่งผสมกับมะนาวสายพันธุ์แป้น สายพันธุ์ไหนเป็นพ่อหรือแม่ก็ได้ จากการที่มีสายเลือดน้ำหอมทูนเกล้าหรือด่านเกวียน ผู้จำหน่ายกิ่งพันธุ์จึงสมอ้างว่าเป็นสายพันธุ์ต้านทานโรค แต่ในความเป็นจริงนั้น ณ วันนี้เทคโนโลยีนี้ยังไม่สำเร็จ กล่าวคือ มะนาวสายพันธุ์ใหม่ยังไม่สามารถต้านทานโรคได้เหมือนน้ำหอมทูนเกล้าหรือด่านเกวียน
                
      เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ                 
    - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
    - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง               
    - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง                 
    - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
                 
      หมายเหตุ :                
    - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่ ปลาสด เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน                 
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่ การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้
    - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง                       

      ระยะปลูก :
    - ระยะปกติ  4 x 6 ม. หรือ  6 x 6  ม.  
    - ระยะชิด (ช่วงแรก)ปรับเป็น ระยะปกติ (ช่วงหลัง).....หมายความว่า ช่วงแรกปลูกระยะห่าง 2 x 2 ม.(1 ไร่/400 ต้น) บำรุงเลี้ยงตามปกติ 2-3 ปี(ได้ผลผลิต)ระยะห่างระหว่างต้นเริ่มชิดกันให้ตัดออกต้นเว้นต้น จะเหลือ200 ต้น/ไร่ บำรุงเลี้ยงต่อไปตามปกติ 3-4 ปี (ได้ผลผลิต)ระยะห่างระหว่างต้นชิดกันอีกให้ตัดออกต้นเว้นต้น จะเหลือ 100 ต้น/ไร่ จากนั้นบำรุงเลี้ยงต่อไป ระยะห่างระหว่างต้นครั้งสุดท้ายนี้ถือเป็นระยะปลูกปกติ ข้อดีของการปลูกระยะชิดช่วงก็คือ ได้ผลผลิตส่วนหนึ่งจำหน่ายก่อน
      หมายเหตุ
:
      ระยะชิดหรือระยะปกติไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของมะนาว ตราบใดที่ต้นได้รับแสงแดด 100% มะนาวต้นนั้นก็จะให้ผลผลิตตามปกติ
                 

      เตรียมต้น
               
      ตัดแต่งกิ่ง :
                    
    - ตัดแต่งเพื่อการแตกยอดใหม่ให้ตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ  กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งหางหนูกิ่งเป็นโรค ทั้งนี้ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้
    - ตัดกิ่งทิ้งเพื่อไม่ให้แตกยอดใหม่ป้องกันทรงพุ่มทึบเกินไปให้ตัดชิดลำกิ่งประธาน
    - ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล)ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดีและเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย
    - นิสัยการออกดอกมะนาวไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว แต่การตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น                
      ตัดแต่งราก:               
    - ต้นที่อายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
    - ต้นอายุหลายปีระบบรากเก่าและแก่มาก ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลาย
ออก 1ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม.หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
 

2..




หน้าถัดไป (2/7) หน้าถัดไป


Content ©