-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 178 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวแวดวงเกษตร10





สารสกัดชีวภาพ   ทางเลือกของเกษตรกรยุคใหม่            

การผลิตน้ำสกัดชีวภาพจากเศษพืชผัก และวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นตามสูตรของเกษตรกรทั้ง 3 ท่านนั้น มีด้วยกัน 4 สูตร ดังนี้


น้ำสกัดชีวภาพสูตร
1 
(เหมาะสำหรับพืชกินใบ) ส่วนผสมใช้พืชสดทั่วไป เช่น ผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้า ผักขม ผักเสี้ยน ที่มีลักษณะ สดใหม่ สมบูรณ์ ไม่มีโรคเน่า โดยใช้ทุกส่วนละไม่มากจากพืชหลาย ๆ ชนิดมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ หั่นหรือบดให้ละเอียด ประมาณ 3 กก. จากนั้นจึงบรรจุลงไปในภาชนะพร้อมกับน้ำตาลจำนวน 1 ลิตร คนหรือเขย่าให้เข้ากันโดยให้พืชจมอยู่ในกากน้ำตาลตลอดเวลา ปิดฝา ภาชนะแล้วเก็บไว้ในที่มืด 7 วัน จึงสามารถนำมาใช้ได้
              
 สำหรับวิธีใช้น้ำสกัดชีวภาพทางใบแก่พืชผักสวนครัว พืชไร่ และไม้ผลยืนต้นนั้น ให้ใช้ในอัตรา 15-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 5-7 วัน ควบคู่กับให้ทางรากอัตรา 30-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 15-20 วัน หากจะใช้สารเร่งปุ๋ยหมักให้ใช้น้ำสกัดชีวภาพในอัตรา 75-100 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร พรมลงบนวัสดุทำปุ๋ยหมัก และในอัตราส่วนที่เท่ากันยังสามารถนำมาใช้กำจัดน้ำเสียได้ โดยการราดน้ำสกัดชีวภาพให้ทั่วบริเวณที่มี น้ำเสีย หรือในคอกปศุสัตว์ นอกจากนี้ยังมีการนำน้ำสกัดชีวภาพในอัตรา 15-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร แช่เมล็ดพันธุ์พอท่วมก่อนเพาะเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ยังมีส่วนช่วยในการเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพันธุ์ได้อีกด้วย
  
          

น้ำสกัดชีวภาพสูตร
2
(เหมาะสำหรับพืชกินดอกและผล) สูตรนี้ใช้ผลไม้สุก เช่น ฟักทองแก่ มะละกอ กล้วยน้ำว้า มะเขือเทศ อัตรา 2 กก. พืชสดหลาย ๆ ชนิดสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือบดละเอียดอัตรา 1 กก. บรรจุลงภาชนะแล้วเติมน้ำตาลจำนวน 1 กก. คนหรือเขย่าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะเก็บไว้ในที่มืดนาน 7 วัน จึงสามารถนำมาใช้ได้ โดยสูตรนี้เหมาะสำหรับพืชผักกินดอกและผล เช่น กะหล่ำดอก แตงโม แตงกวา แคนตาลูป ถั่วฝักยาว และบวบต่าง ๆ โดยใช้ในอัตราส่วน 0.5-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบทุก 5-7 วันต่อครั้ง หากต้องการให้ ดินร่วนซุยให้ใช้ในอัตรา 30-50 ซีซี/20 ลิตร ราดทางดินสลับกับการฉีดพ่นทางใบ 5-7 วัน/ครั้ง ซึ่งสูตร 2 นี้สามารถใช้จนถึงระยะพืช ออกดอกและติดผลได้
  
          

น้ำสกัดชีวภาพสูตร
3
ใช้พืชสด (สูตร 1) พืชสดและผลไม้สุก (สูตร 2) ปลาเป็น ๆ หอยเชอร์รี่ กระดูกป่น บดให้ละเอียด อย่างละ 1 กก. มีตัวเสริม (ขี้ไก่ค้างคอน ขี้นกปากห่าง ขี้เป็ดกินหอย ยาคูลท์ โยเกิร์ต กระทิงแดง) ในปริมาณเล็กน้อยบรรจุลงในภาชนะ แล้วเติมกากน้ำตาล ลงไปให้พอท่วม ใส่น้ำมะพร้าวอ่อนคลุกเคล้าลงไปอีกเพื่อให้มีน้ำมากขึ้น คนและเขย่าให้เข้ากันโดยให้เศษพืชจมอยู่ในกากน้ำตาลตลอด เวลา ปิดฝาภาชนะเก็บไว้ในที่มืดนาน 7 วัน สูตรนี้ใช้ได้ทั้งกับพืชผัก ผลไม้ พืชไร่ และนาข้าว
   
        

น้ำสกัดชีวภาพสูตร
4
ใช้พืชสด 5 ส่วน ผลไม้สุก ผลไม้ดิบ ปลาน้ำจืด ไข่หอยเชอร์รี่ และเหง้ากล้วยอย่างละ 1 ส่วน นำมาบดให้ ละเอียด ใส่ในภาชนะเติมกากน้ำตาลพอท่วม ขี้ไก่ค้างคอน 2 ส่วน มะพร้าวอ่อน รำละเอียดในปริมาณเล็กน้อย เก็บไว้ 7 วัน จึงนำมาใช้ได้ สูตรนี้เหมาะที่จะใช้กับไม้ผลเท่านั้น ห้ามนำไปใช้ฉีดผัก เพราะจะทำให้ใบกระด้าง
การทำน้ำสกัดชีวภาพตามสูตรของเกษตรกรตัวอย่างทั้ง 3 ท่าน มีเคล็ดลับอยู่ที่ระหว่างการหมักให้คอยเขย่าภาชนะที่ใช้หมัก พร้อมกับ เปิดฝาวันละ 2 ครั้ง ในเวลาเช้าและเย็น เมื่อครบ 7 วัน ให้ดมกลิ่น ถ้ามีกลิ่นหอมหวานแสดงว่าดี แต่ถ้ามีกลิ่นบูดเปรี้ยว ให้แก้ไขด้วยการ เติมกากน้ำตาลเศษ 1 ส่วน 4 หรือเศษ 1 ส่วน 2 ของที่ใส่ครั้งแรก แล้วหมักต่ออีก 3 วัน แล้วดมกลิ่นอีกครั้ง ถ้ายังมีกลิ่นบูดเปรี้ยวอีกให้เติม กากน้ำตาลต่อไป จนกว่าจะมีกลิ่นหอมหวาน
            
ส่วนการเก็บน้ำสกัดชีวภาพที่ดีนั้น จะต้องเก็บไว้ในที่มืดภายใต้อุณหภูมิห้องนาน 6 เดือนถึง 1 ปี ระหว่างที่เก็บไว้หากมีกลิ่นบูดเปรี้ยว ให้เติมกากน้ำตาลลงไปแล้วหมักต่อ นอกจากนี้ยังมีเคล็ดลับในการใช้น้ำสกัดชีวภาพทางราก ถ้าจะให้ได้ผลดีควรใช้ควบคู่ไปกับปุ๋ยคอกหรือ ปุ๋ยหมักเสมอ
            
จากภูมิปัญญาชาวบ้านในการทำน้ำสกัดชีวภาพทั้ง 4 สูตรดังกล่าว นอกจากจะช่วยให้เกษตรกรประหยัดต้นทุนในการใช้ สารเคมีแล้ว ยังช่วยให้พืชผักเจริญงอกงาม เติบโตเร็วมีรสชาติดีกว่า เนื่องจากไม่มีกลิ่นของสารเคมี ที่สำคัญผู้บริโภค สิ่งแวดล้อม และเกษตรกร ปลอดภัยจากสารตกค้างที่เป็นอันตรายอย่างแน่นอน









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1458 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©