-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 323 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

มะเดื่อฝรั่ง




หน้า: 1/2


                 มะเดื่อฝรั่ง                 


      ลักษณะทางธรรมชาติ                
    * เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่อายุหลายสิบปี ต้นที่อายุมากๆสูงได้ถึง 20 ม. ผู้คนนิยมบริโภคมานานกว่า 5,000 ปีก่อนคริสตกาล มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตเอเชียตะวันตกแล้วแพร่กระจายไปทั่วโลก ต้องการแสงแดดร้อยเปอร์เซ็นต์ (เขตร้อน) แต่ในเขตอบอุ่นหรือกึ่งร้อนชื้นจะเจริญเติบโตได้ดีกว่า แม้จะเป็นไม้ผลที่ปลูกได้ดีในเขตร้อนแต่ในเขตอากาศหนาวเย็นก็เจริญเติบโตให้ผลผลิตได้เช่นกันโดยการปลูกในโรงเรือนที่ควบคุมอุณหภูมิได้  
              
    * ปลูกได้ในทุกภาค ทุกพื้นที่ ทุกฤดูกาล ทุกสภาพดิน และสภาพอากาศของประเทศ โดยแหล่งปลูกในประเทศไทยที่ให้ผลผลิตแล้ว ได้แก่ โครงการหลวง ดอยอินทนนท์. ดอยอ่างขาง. ชมรมเผยแพร่ความรู้การเกษตร อ.เมือง จ.พิจิตร. และที่สวน อ.ประเทือง อายุเจริญ (2 หมู่ 13 ต.ทรายขาว อ.สอยดาว จ.จันทบุรี) โดยเฉพาะที่ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร ซึ่งนำพันธุ์มาจากญี่ปุ่นให้ผลผลิตคุณภาพเหนือกว่าที่ปลูกในญี่ปุ่นทั้งๆที่เป็นสายพันธุ์เดียวกัน

    * ลักษณะต้นมีกิ่งประธาน (กิ่งที่แตกจากลำต้น) กิ่งสาขา (กิ่งที่แตกจากกิ่งประทาน) และกิ่งย่อย (กิ่งที่แตกจากกิ่งสาขา) จำนวนมาก โดยเฉพาะมะเดื่อที่ปลูกในเขตหนาวเย็น (ภาคเหนือ) จะแตกกิ่งสาขาและกิ่งย่อยได้ดีมาก  เมื่ออายุต้นมากขึ้นทรงพุ่มจะมีการขยายขนาดทางข้างมากกว่าทางสูง  และมีใบมากจึงเหมาะสำหรับเป็นไม้ร่มเงาได้ด้วย  
                   
    * เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท (ลูกรัง เหนียว ทราย) ที่มีอินทรียวัตถุและความชื้นหน้าดินสูง ต้องการน้ำสม่ำเสมอหากขาดน้ำใบ-ดอก-ผลจะร่วงและชะงักการเจริญเติบโต

    * ต้นที่ได้รับไนโตรเจนมากๆจะเจริญเติบโตแตกกิ่งสาขาและกิ่งย่อยจำนวนมากแต่จะออกดอกติดผลน้อย  ซึ่งต้นที่มีกิ่งสาขาหรือกิ่งย่อยมากๆนี้เหมาะสำหรับใช้ขยายพันธุ์

    * ช่วงผลกำลังเจริญเติบโตต้องควบคุมปริมาณน้ำให้เหมาะสมพอดี เพราะถ้าได้รับน้ำมากเกินจะทำให้ผลแตกง่ายแต่ถ้าขาดน้ำผลก็จะเล็กแกร็นและร่วงได้
                
    * นอกจากปลูกลงแปลงบนพื้นดินแล้วยังปลูกในกระถางขนาดปากกว้างตั้งแต่ 12 นิ้วขึ้นไปได้ ซึ่งการปลูกในกระถางนี้สามารถให้ผลผลิตดีไม่แพ้การปลูกบนพื้นดิน ข้อดีของการปลูกในกระถางก็คือ ทำให้ควบคุมรากไม่ให้ลงลึกได้ ซึ่งจะส่งผลให้ขนาดความสูงของต้นไม่สูงมากตามความยาว-ลึกของรากอีกด้วย
                
    * เป็นไม้ผลยืนต้นอีกชนิดหนึ่งที่ให้ผลผลิตเร็ว โดยต้นที่ได้รับการปฏิบัติบำรุงอย่างถูกต้อง มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่ระยะกล้าถึงให้ผลผลิตด้วยเวลาเพียง 1 ปีเศษเท่านั้น

    * ต้นที่สมบูรณ์ดี อายุต้น 1 ปีเศษให้ผลผลิตได้ถึง 100 ผล/ต้น
                
    * ธรรมชาติการออกดอกติดผลของมะเดื่อฝรั่งรุ่นละ 2 รอบ โดยดอกรอบแรกจะออกจากกิ่งประธานที่อายุข้ามปี ส่วนดอกรอบสองจะออกจากกิ่งแขนงที่แตกใหม่หลังการตัดแต่งกิ่งซึ่งดอกและผลรอบสองนี้จะมากกว่ารอบแรก
                
    * หน้าหนาว (พ.ย.-ธ.ค.-ม.ค.) เป็นช่วงพักต้นซึ่งใบจะร่วงหมด ครั้นหมดหนาวประมาณเดือน ก.พ.จะแตกยอดใหม่พร้อมกับมีดอกออกตามมาด้วย
                
    * ดอกออกมาช่วงแรกมีสีขาวแล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีส้มและสีแดงตามลำดับ

    * แปลงปลูกในที่ดอนสามารถควบคุมปริมาณน้ำได้แน่นอน ช่วงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวมีการงดน้ำจะช่วยให้คุณภาพผลจะหวาน หอม แห้ง กรอบ นุ่ม ส่วนแปลงปลูกในที่ลุ่มไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำได้คุณภาพผลจะฉ่ำน้ำ ไม่หวาน ไม่หอม และอาจจะผลแตกร่วงง่ายอีกด้วย

    * เพื่อให้ต้นมีความสมบูรณ์อยู่เสมอตลอดปีควรให้ฮอร์โมนบำรุงราก 2-3 เดือน/ครั้งและให้ไซโตคินนิน 1-2 เดือน/ครั้ง 
               
    * การบำรุงก่อนเก็บเกี่ยวเพื่อเร่งหวานด้วย  8-24-24 หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตหมด แล้วเข้าสู่ช่วงพักต้นจะช่วยให้ต้นไม่โทรม ส่งผลให้การเรียกใบอ่อนของฤดูการผลิตรุ่นต่อไปใบอ่อนจะออกมาเร็วและได้ใบดีมีคุณภาพ                

      สายพันธุ์               
    - มีทั้งสายพันธุ์สำหรับรับประทานผลสด.  ผลแห้ง.  และเพื่อแปรรูปบรรจุกระป๋อง.
    - สายพันธุ์ทดลองปลูกที่โครงการหลวงอ่างขาง. ดอยอินทนนท์.ได้แก่ ดอร์ฟิน.
ไวท์ มาแซล. บราวน์ เตอร์กี. แบล็ค มิชชั่น. คอนนาเดรีย. และดีเสิร์ตคิง.
      สายพันธุ์ที่มีผู้สนใจทดลองปลูกแล้วประมาณ 10 สายพันธุ์ ส่วนใหญ่ยังไม่มีการตั้งชื่อเป็นภาษาไทย                 
     - พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยเป็นมะเดื่อพื้นเมือง คือ พันธุ์อุทุมพรหรือชุมพร และพันธุ์หูช้าง               
     - สายพันธุ์ต่างประเทศที่เริ่มเข้ามาปลูกในประเทศไทย  ได้แก่  อิตาลี.  ตุรกี.  และไต้หวัน.                      

       การขยายพันธุ์               
     - ปักชำด้วยยอด (ดีที่สุด).  ปักชำด้วยราก.  ติดตาหรือเสียบยอด  โดยนำตาหรือยอดของสายพันธุ์หนึ่งไปติดหรือเสียบบนตอขนาดใหญ่ของอีกสายพันธุ์หนึ่ง
     - ปักชำด้วยยอดทำโดยการเลือกตัดยอดที่สมบูรณ์ ยาวประมาณ 30-40 ซม. เหลือใบและยอดไว้คงเดิม  ตัดลงมาแล้วแช่ในไคตินไคซานทันทีนาน 6-12 ชม. ครบกำหนดแล้วนำขึ้นผึ่งลมจนแห้งจึงนำไปปักในวัสดุเพาะ (ทรายหยาบ + แกลบดำ + ปุ๋ยคอกแห้งเก่า  1 : 1 : 1) ให้มิดข้อ 1-2 ข้อ เก็บในเรือนเพาะชำ ให้น้ำบ่อยๆหรือด้วยสปริงเกอร์สเปร์ยหมอก หลังจากรากเดินแล้วแยกออกมาใส่ถุงดำอนุบาลในเรือนเพาะชำต่อจนกระทั่งต้นกล้าแข็งแรงดีจึงนำลงปลูกในแปลงจริงต่อไป                
     - ตอน. เพาะเมล็ด.                

       ระยะปลูก               
     - ระยะปกติ     4 X 6 ม. หรือ  6 X 6 ม                
     - ระยะชิดพิเศษ  4 X 4 ม. หรือ  4 X 3 ม.
                 

       เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ                 
     - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี)ปีละ 2 ครั้ง
     - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง               
     - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง                 
     - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
     - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
                
       หมายเหตุ :                
     - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
     - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่  การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้               
     - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง                

      
เตรียมต้น                 
       ตัดแต่งกิ่ง :
               
     - การตัดแต่งกิ่งมีความจำเป็นมากต่อการออกดอกติดผลรุ่นใหม่ซึ่งจะต้องตัดแต่งกิ่งทุกครั้ง การตัดแต่งกิ่งทำเหมือนองุ่น. น้อยหน่า. กล่าวคือ  ตัดแต่งกิ่งแบบโจรแขนด้วนโดยให้ลำต้นส่วนที่เป็นเปล้าสูงขึ้นมาจากพื้นถึงกิ่งประธานหรือกิ่งง่ามแรก 30-50 ซม. แล้วตัดกิ่งประธานให้ด้วนเหลือความยาวประมาณ 30-40 ซม. ทั้งต้นให้มีกิ่งประธาน 3-4 กิ่งตัดด้วนเหลือความยาว 30-40 ซม.เท่ากัน ทุกกิ่งชี้ออกรอบทิศทางของทรงพุ่ม กิ่งประธานทุกกิ่งหลังจากตัดด้วนแล้วจะมีกิ่งแขนงแตกออกมาจำนวนมาก เมื่อกิ่งแขนงเหล่านี้โตพอสมควรก็ให้ตัดยอดกิ่งแขนงเพื่อให้แตกกิ่งย่อยอีก
     - ดอกผลออกจากกิ่งแก่อายุข้ามปีน้อยกว่าดอกผลออกจากกิ่งแขนงซึ่งแตกใหม่หลังการตัดแต่งกิ่ง ถ้าต้องปริมาณผลผลิตมากๆจะต้องทำให้มีกิ่งแขนงมากๆ ส่วนกิ่งย่อยมีหน้าที่สร้างใบสำหรับสังเคราะห์อาหารซึ่งก็จะต้องมีอย่างพอเพียงเช่นกัน การมีจำนวนกิ่งประธาน กิ่งแขนง กิ่งย่อยและใบมากหรือน้อยเพียงใดนั้นจะต้องพิจารณาปริมาณแสงแดดที่ส่องเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้หรือไม่ได้ด้วย
     - การตัดแต่งกิ่งควรทำในช่วง ม.ค.-ก.พ. หรือหลังจากเข้าหนาวแล้ว จากนั้นประมาณเดือน เม.ย.-พ.ค. มะเดื่อจะแตกยอดใหม่พร้อมกับมีดอกตามออกมาด้วยแล้วผลจะแก่เก็บเกี่ยวได้ในช่วง ก.ค.-ส.ค.                

       หมายเหตุ :               
       หลังจากเก็บเกี่ยวผลลิตหมดแล้ว (ส.ค.) ให้บำรุงเพื่อฟื้นฟูต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาด้วยการให้สารอาหารกลุ่มสร้างใบบำรุงต้น ซึ่งมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบหลัก เมื่อฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้นได้แล้วให้บำรุงตามปกติจนกระทั่งเข้าสู่ช่วงหนาว (พ.ย.ธ.ค.ม.ค.) ซึ่งเป็นช่วงพักต้นก็ปล่อยให้ต้นได้พักต้น เมื่อถึง ก.พ.- มี.ค. จึงเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงเพื่อสร้างผลผลิตต่อไป
                      
       ตัดแต่งราก :               
     - ต้นที่อายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก  แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
     - ต้นอายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม  


           
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมะเดื่อฝรั่ง      

     1.เรียกใบอ่อน + เปิดตาดอก
                
       ทางใบ :               
     - ในรอบ 7-10 วันให้น้ำ 100 ล.+ 25-5-5(200 กรัม)หรือ 46-0-0(200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. กับให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สาหร่ายทะเล (100 ซีซี.)+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. อีก 1 ครั้ง  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                
       ทางราก  :               
     - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (½กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
     - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน               

       หมายเหตุ :               
     - เริ่มปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่งและตัดแต่งราก                
     - ขั้นตอนการปฏิบัติเหมือนน้อยหน่าหรือองุ่นทุกประการ            
     - วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นได้รับสารอาหารทั้งกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น)ทั้งสองอย่าง โดยปุ๋ยทางราก (8-24-24) ช่วยให้เสริมการออกดอก ส่วนปุ๋ยทางใบ (25-5-5)ช่วยเสริมการแตกใบอ่อน และฮอร์โมนไข่ช่วยเสริมการออกดอก ทั้งนี้เพราะมะเดื่อฝรั่งเป็นไม้ผลประเภทแตกยอดแล้วจะมีดอกตามออกมาด้วยนั่นเอง               
     - เพื่อให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออดอกมากยิ่งขึ้น แนะนำให้ใส่มูลค้างคาว 100-200 กรัม/ต้นทรงพุ่ม 5 ม. ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณชายพุ่มจะเป็นการดี
     - มะกอกฝรั่งไม่จำเป็นต้องเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ แต่ถ้าจะให้สัก  1 รอบเมื่อเห็นว่ามีใบออกมามากแล้วก็จะได้สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ (ฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม.) ช่วยเสริมให้ออกดอกดีขึ้น      

     2.บำรุงดอก               
       ทางใบ :               
     - ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน 1-2 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรช่วงค่ำ ทุก 2-3 วัน
       ทางราก :               
     - ให้ 8-24-24 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
     - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น                         
     - ให้น้ำพอหน้าดินชื้น                            

       หมายเหตุ :               
     - ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็น (ก้านดอกยาว 1-2 ซม.) หรือระยะดอกตูม  บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบจะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม การให้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
     - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก  ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้               
     - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้แบบเดี่ยวๆ หรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้               
     - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้                
     - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้แบบเดี่ยวๆ หรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้                
     - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน               
     - ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก.....มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก
             

     3.บำรุงผลเล็ก               
       ทางใบ :               
     - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
       ทางราก :               
     - ให้น้ำหมักชีวยภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
     - ให้น้ำแบบค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำทีละน้อยๆของการให้น้ำ 3-4 รอบเพื่อให้ต้นรู้ตัว
       หมายเหตุ :               
     - เริ่มบำรุงเมื่อผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือหลังกลีบดอกร่วง       

     4.บำรุงผลกลาง               
       ทางใบ :               
     - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม(100 ซีซี.)+ ไคโตซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
       ทางราก :               
     - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
     - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                 
       หมายเหตุ :               
     - เริ่มบำรุงเมื่อเปลือกหุ้มเมล็ดเริ่มแข็ง (เข้าไคล)                
     - วัตถุประสงค์เพื่อขยายขนาดผลและลดขนาดเมล็ด (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ)
     - ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก       

     5.บำรุงผลแก่               
       ทางใบ :               
     - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-0-50(200 กรัม)หรือ 0-21-74(200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.หรือน้ำ 100 ล.+ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ กลูโคสหรือนมสัตว์สด 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว  ฉีดพ่นพอเปียกใบ               
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
       ทางราก :               
     - ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่งหรือสลับกัน (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน                
     - งดน้ำ                
       หมายเหตุ :               
     - เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
     - ลักษณะผลแก่จัดพร้อมเก็บเกี่ยวได้ให้สังเกตที่ก้นผลซึ่งจะเปิดอ้าจนมองเห็นเนื้อภายในเป็นสีขาวอมชมพูถึงสีน้ำตาล                  
     - การให้ 13-13-21 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลรุ่นเดียวกันทั้งต้น หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วต้นมักโทรมต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้น (เรียกใบอ่อน)กลับคืนมาโดยเร็วแล้วเข้าสู่วงรอบการบำรุงใหม่                 
     - การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันหรือประเภททะวายทยอยออก แบบไม่มีรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่จัดไปแล้วต้นไม่โทรม  



    
   




           
เส้นใยอาหารในผลมะเดื่อฝรั่ง


ปัจจุบัน “มะเดื่อฝรั่ง” จัดเป็นผลไม้แปลกและหายากที่ปลูกและให้ผลผลิตได้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ปลูกในสภาพพื้นที่ราบและมีอากาศร้อน มีร้านอาหารหลายแห่งในกรุงเทพมหานครได้สั่งซื้อผลมะเดื่อฝรั่งที่ปลูกในจังหวัดพิจิตรไปประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด
   
โดยเฉพาะนำไปทำเป็นสลัด มีการสั่งซื้อจนผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ เป็นที่พิสูจน์แล้วว่าสายพันธุ์มะเดื่อฝรั่งที่สามารถปลูกในพื้นที่ราบอากาศร้อนและให้ผลผลิตและคุณภาพดี ได้แก่ พันธุ์ญี่ปุ่น, พันธุ์บราวน์ตุรกี, พันธุ์ออสเตรเลีย ฯลฯ
   
คุณพิลาณี  ไวถนอมสัตย์ สถาบัน ค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้กล่าวว่า ทางสถาบันได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับเส้นใยอาหารและเอนไซม์ฟิซินในผลมะเดื่อฝรั่งจากมูลนิธิโครงการหลวง หลายคนยังไม่ทราบว่าเอนไซม์ฟิซินเป็นเอนไซม์ย่อยอาหารประเภทโปรตีนที่พบในผลมะเดื่อฝรั่งเท่านั้น เอนไซม์ชนิดนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น ในอุตสาหกรรมเบียร์เพื่อช่วยทำให้เบียร์ทนต่อความเย็นและไม่ทำให้เกิดความขุ่น ในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์จะทำให้เนื้อนุ่มและเคี้ยวได้ง่ายขึ้น
   
สำหรับมนุษย์แล้วเอนไซม์ฟิซินจะช่วยระบบการย่อยอาหารประเภทโปรตีน มีรายงานว่า ในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้นำเอนไซม์ฟิซินในรูปของยางมะเดื่อฝรั่งไปใช้เป็นยาขับหนอนพยาธิแทนการใช้ตัวยาสังเคราะห์ ทางด้านเภสัชกรรมพบว่า เอนไซม์ฟิซินช่วย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของยา ช่วยลดคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือดได้ จากงานทดลองของสถาบันยังได้ศึกษาปริมาณของเอนไซม์ฟิซินและสารประกอบเพคติน ในผลมะเดื่อฝรั่งพันธุ์บราวน์ตุรกีว่าควรบริโภคช่วงเวลาใดจะได้รับปริมาณของสารดังกล่าวมากที่สุด พบ ว่าผลห่ามจะมีปริมาณของสารดังกล่าวสูงกว่า  ดังนั้นถ้าบริโภค ผลมะเดื่อฝรั่งที่สุก งอมจะได้เอนไซม์ลดน้อยลง
       
ในเรื่องของการปลูกและการบำรุงรักษานั้น มะเดื่อฝรั่งจัดเป็นไม้ผลที่มีอายุยืนยาว จากรายงานพบว่า ในบางประเทศมีอายุยืนยาวมากกว่า 100 ปี หลักการสำคัญที่จะทำให้เกษตรกรประสบ ความสำเร็จในการปลูกมะเดื่อฝรั่งก็คือ คัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับบ้าน เราและควรปลูกในสภาพดินที่มีอินทรียวัตถุสูงและดินมีการระบายน้ำที่ดี การตัดแต่งกิ่งจำเป็นจะต้องตัดแต่งเป็นประจำ ทุกปี
   
มะเดื่อฝรั่งจัดเป็นผลไม้ที่มีคุณ ค่าทางอาหารสูง มีเส้นใยอาหารในรูปของสารประกอบเพคตินที่เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการกำจัดของเสียของร่างกาย นอกจากนั้นยังมีเอนไซม์ฟิซินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมายและเอนไซม์ ชนิดนี้จะพบในผลมะเดื่อฝรั่งเท่านั้น.

ทวีศักดิ์  ชัยเรือยศ

http://www.dailynews.co.th/web/index.cfm?page=content&categoryID=482&contentID=86284 





'มะเดื่อฝรั่ง' ผลผลิตจากโครงการหลวง


มะเดื่อฝรั่ง ดั้งเดิมนั้นอยู่ทางตะวันตกของทวีปเอเชีย ส่วนการปลูกที่เป็นการค้าของโลกอยู่ในแถบลุ่มน้ำเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอิตาลี โปรตุเกส สเปน ตุรกี และกรีซ บางพันธุ์สามารถปลูกได้ในแคลิฟอร์เนียทางใต้ และพื้นที่แห้งแล้งของประเทศสหรัฐอเมริกา และพบว่ามีการผลิตแหล่งใหม่ได้แก่แอฟริกาใต้ มาดากัสกา อาร์เจนตินา และออสเตรเลีย อีกด้วย

ประเทศไทยนับว่าเป็นถิ่นของพืชในตระกูลมะเดื่ออยู่มากมายหลายชนิด พบได้มากถึงประมาณ 80-90 ชนิด บางชนิดนำมาใช้บริโภคได้ บางชนิดก็ไม่สามารถนำมาบริโภคได้ หรือมักมีแมลงเข้าไปวางไข่และเจริญเป็นตัวหนอนอยู่ภายในผล ที่รู้จักกันทั่วไปมีชื่อว่า มะเดื่อป่า และมะเดื่ออุทุมพร (มะเดื่อชุมพร) คนไทยส่วนใหญ่ที่ไปต่างประเทศอาจเคยได้รับประทานแบบผลสด ผลแห้ง และผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันมีการนำเข้าผลมะเดื่อฝรั่งอบแห้งและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยวางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพตลอดจนผู้สูงอายุ

มูลนิธิโครงการหลวงและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำต้นพันธุ์มะเดื่อฝรั่งจากต่างประเทศเข้ามาทดลองปลูกและศึกษาวิจัยมา เกือบ 25 ปี มีหลายสายพันธุ์ โดยพันธุ์ที่มีคุณภาพดีและสามารถปลูกได้ดีในพื้นที่โครงการหลวงได้แก่ พันธุ์บราวน์ตุรกี (Brown Turkey) ผลมีขนาดใหญ่ รับประทานสด ผลผลิตชุดแรกมีขนาดใหญ่สีน้ำตาลเข้ม ผลชุดหลังมีขนาดเล็กกว่า เนื้อผลสีชมพูอ่อน ๆ พันธุ์โดฟิน (Dauphine)  ใช้บริโภคผลสด ทนทานต่อการขนส่ง ผลมีขนาดปานกลางถึงใหญ่ ผิวเป็นมัน ในสภาพกลางแจ้งผิวสีม่วงเข้มและในร่มสีม่วงออกเขียว เนื้อหนา คุณภาพดี ผลรุ่นสองมีขนาดปานกลาง พันธุ์คาโดตา (Kadota) ผิวผลมีความเหนียวและสีเหลืองเขียว ผลผลิตชุดแรกมีรสชาติที่ดีกว่า เป็นพันธุ์ที่ใช้ในการอบแห้งและแปรรูป ต้นมีความแข็งแรง ปกติไม่มีเมล็ด

มะเดื่อฝรั่งเป็นไม้ผลที่มีอายุยืนยาวได้มากกว่า 100 ปี จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานหลายสิบปี ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ผลผลิตมะเดื่อประมาณ 90% ในโลก  จะถูกแปรรูปแบบผลไม้แห้ง และเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูใบไม้ร่วงโดยปล่อยให้ผลสุกเต็มที่ และหล่นลงบนพื้นที่แห้ง ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาจะใช้การเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักร นอกนั้นจะใช้รับประทานเป็นผลไม้สดโดยการเก็บเกี่ยวจากต้น มีปริมาณน้อยมากที่บรรจุลงในกระป๋องหรือทำการแปรรูป


ในด้านของคุณค่าทางอาหาร มะเดื่อฝรั่งเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าอาหารสูง ให้เส้นใยที่เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการกำจัดของเสียของร่างกาย เกลือโพแทสเซียมในกรดอินทรีย์ของมะเดื่อช่วยสร้างสมดุลความเป็นกรด-ด่าง ในร่างกาย นอกจากนี้ยังพบว่าภายในผลมีโปรตีน เอ็นไซม์ วิตามิน และเกลือแร่ชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย และปริมาณก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ เช่น ผลสด ของ Kadota น้ำหนัก 100 กรัม มีแคลเซียม 32 มิลลิกรัม ซึ่งมากกว่าผลไม้ชนิดอื่นหลายชนิด ผลมะเดื่อหรือสารสกัดที่ได้จากผลได้ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ในรูปของสารยับยั้งเซลล์มะเร็ง จึงจัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพชนิดหนึ่ง

อนาคตมะเดื่อฝรั่งสำหรับประเทศไทย จากสถานการณ์และสภาพแวดล้อม การทำเกษตรบนพื้นที่สูงในโลกปัจจุบันต้องคำนึงถึงผลกระทบและการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติควบคู่กันไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องมีการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพแบบครบวงจรตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึง มือผู้บริโภค นอกจากนี้ผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศต่าง ๆ ยิ่งทำให้ต้องค้นหาพันธุ์พืชที่มีความเป็นไปได้ และได้รับความนิยมตามกระแสผู้บริโภคให้มากขึ้น ดังนั้นมะเดื่อฝรั่งซึ่งเป็นพืชที่ไม่ต้องการความหนาวเย็นมากนัก  สามารถปลูกในระดับความสูง 600-800 เมตรจากน้ำทะเลได้ เป็นผลไม้ที่รับประทานได้ทั้งสดและแห้ง จึงคาดว่าน่าจะเป็นไม้ผลทางเลือกเสริมรายได้อีกชนิดหนึ่งสำหรับการเกษตรบน พื้นที่สูง

สำหรับในปีนี้มูลนิธิโครงการหลวง ได้ขยายพื้นที่ปลูกมะเดื่อฝรั่งและมีผลผลิตในปริมาณกว่า 1,500 กิโลกรัม วางจำหน่ายในร้านโครงการหลวงสาขาต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ  เชียงใหม่ และต่างจังหวัด ผู้ที่ต้องการลิ้มลองผลไม้นอกที่สามารถปลูกในประเทศไทยและเป็นผลไม้ที่มี ประโยชน์ต่อสุขภาพ สามารถนำไปเป็นของฝากแก่ผู้สูงอายุ สามารถติดต่อ สั่งซื้อโดยตรงได้ที่ งานขาย โครงการหลวง กรุงเทพฯ โทร. 0-2942-8656-9 หรืองานขาย โครงการหลวงเชียงใหม่ โทร. 0-5321-1656.




ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 6 ตุลาคม 2552

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=346&contentID=24262
 





การปรับปรุงพันธุ์มะเดื่อฝรั่ง

fig.jpg

ถ้าเอ่ยถึง Fig ส่วนใหญ่ต้องนึกถึงแบบอบแห้งที่ขายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตก่อนเลย น้อยคนที่จะนึกถึง Fig หรือ มะเดื่อฝรั่งแบบสด ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วอร่อยมาก


เห็นจากข่าวตามหนังสือพิมพ์ เข้าใจว่ามีคนนำมาปลูกในประเทศไทยกันหลายรายแล้ว ส่วนของโครงการหลวงเริ่มทดลองปลูกมะเดื่อฝรั่งครั้งแรกในโครงการ Exotic fruit ตั้งแต่ปี 2524 ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง  และสถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์ เมื่อได้ผล จึงเริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรกรชาวเขา โดยปัจจุบันปลูกอยู่หลายพันธุ์ เช่น Brown turkey (ปลูกเป็นการค้ามากที่สุดในโลก และเข้าใจว่าปลูกมากที่สุดในโครงการหลวงด้วย), Celesta, Kadota, Conadria, Dauphin และ Hourai ดังนั้นจึงมีจำหน่ายตั้งแต่ผลสีเขียว สีแดงม่วง ถึงสีแดงน้ำตาล


สำหรับของโครงการหลวงเน้นขายเพื่อให้บริโภคสด ยังไม่ได้เอาไปทำแห้งขาย เพราะเสียดายของ (ต้องลองกินแบบสด แล้วจะรู้ว่าทำไมบอกว่าเสียดายของ) ผลสดมีรสชาติหวานฉ่ำ เมล็ดกรุบคล้ายเมล็ดสตรอเบอรี่ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เปลือกบาง ทานได้ทั้งเปลือกเมื่อผลสุก ผลมะเดื่อฝรั่งสุกจะค่อนข้างนิ่ม เวลาเก็บจากต้นเพื่อนำมาขายจะเก็บแบบเริ่มนิ่ม หรือสุกแล้ว ซึ่งแปลว่าต้องรีบขาย รีบซื้อ และซื้อแล้วรีบทาน เก็บไว้นานไม่ดี 



มะเดื่อฝรั่งมีคุณค่าอาหารสูงสุดใน 10 อันดับแรกของผลไม้ที่มีในโลก มีแคลเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามิน บี1 บี2 และวิตามินซี


ฤดูกาลของผลมะเดื่อฝรั่ง จะมีขายเรื่อยๆ เล็กๆ น้อยๆ เกือบตลอดปี แต่จะมีขายจริงจังในเดือนสิงหาคม – กันยายน

http://www.d-aroi.com/fruit/fig-%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9D%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87/










มะเดื่อฝรั่ง ในเมืองไทย


ผลไม้ชนิดหนึ่งที่คนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่รู้จัก เคยได้ยินชื่อแต่ไม่เคยเห็นของจริง ผลไม้ชนิดนี้ก็คือ มะเดื่อ ครับ มะเดื่อของไทยที่เรารู้จักมานานแล้วนั้น เป็นลูกเล็ก ๆ และมักมีแมลงไปวางไข่ในผลมะเดื่อ แต่มะเดื่อที่ผมจะกล่าวถึงในที่นี้คือ มะเดื่อฝรั่ง ครับ ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นที่รู้จักกันดีครับ
 
เป็นผลไม้เพื่อสุขภาพของคนเรา

มะเดื่อฝรั่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ficus casica Linn อยู่ในวงศ์ Moraceae มะเดื่อฝรั่งหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ฟิก (Figs) เป็นพืชกึ่งร้อนตระกูลเดียวกับพวกหม่อน เป็นผลไม้ที่รู้จักกันดีเป็นเวลานานแล้วในแถบยุโรป ประเทศตุรกี กรีซ อิตาลี สเปน มักนิยมปลูกทางตะวันตกของทวีปเอเชีย และถ้าปลูกเป็นการค้าจะปลูกในที่ราบลุ่มนํ้าแถบเมดิเตอเรเนียน และยังเป็นที่นิยมกันในประเทศอินเดีย สหรัฐอเมริกา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ ใบเป็นใบเดี่ยวค่อนข้างหนา ขอบใบหยัก 3 5 หยักหรือตรงผิวใบด้านบนหยาบ เป็นพืชที่ชอบแสงแดดตลอดวัน ไม่ชอบร่มเงา


ผลสุกจะมีลักษณะกรอบ เนื้อในสีเหลืองเข้ม น่ารับประทานมาก เมล็ดมีขนาดเล็ก กรุบกรอบ รับประทานได้ทั้งผล  ในประเทศไทย มีการนำมะเดื่อฝรั่งมาปลูก เมื่อประมาณ 25 ปีมาแล้ว โดยความร่วมมือกันระหว่าง 2 หน่วยงาน คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิโครงการหลวง เป็นการปลูกมะเดื่อฝรั่ง เพื่อต้องการสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับราษฎรที่เป็นชาวไทยภูเขา ใน พ.. 2547 ได้นำพันธุ์มะเดื่อฝรั่ง จากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 5 สายพันธุ์เข้ามาปลูก คือ พันธุ์ดาโกต้า ลิซ่า ซูก้า ครอฟินล์ และ พันธุ์บราวน์เทอร์กี่ โดยนำมาปลูกขยายพันธุ์ที่ สถานีเกษตรหลวงปางดะ จังหวัดเชียงใหม่ และใน ปี พ.. 2548 ก็ได้มีการศึกษาวิจัยทดสอบการปลูกมะเดื่อฝรั่งในโรงเรือนและนอกโรงเรือน เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตที่แปลงวิจัยสถานีเกษตรหลวงปางดะ ดร.ณรงค์ พิพัฒนวงศ์ หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า จากผลการวิจัยพบว่าการปลูกในโรงเรือนให้ผลดีกว่าการปลูกนอกโรงเรือน เนื่องจากการปลูกนอกโรงเรือนจะมีสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงมากและเสี่ยงต่อโรคพืช และแมลงศัตรูพืช


มะเดื่อฝรั่ง จัดอยู่ในสิบอันดับแรกของผลไม้สุขภาพ เป็นพืชที่อุดมด้วยวิตามิน และเกลือแร่ที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย เช่น วิตามิน เอ วิตามินบี
1 วิตามิน บี 2 วิตามินซี มีธาตุแคลเซียม โพแตสเซียม ฟอสฟอรัส และมีธาตุเหล็กสูงมาก ไม่มีไขมัน ไม่มีคอเลสเตอรอล และยังมี 2 
สมบัติในการสร้างสมดุลระหว่างความเป็นกรด เบส มีนํ้าตาลธรรมชาติมากถึง 83% ได้แก่ นํ้าตาลกลูโคส ฟรุกโตสและซูโครส ถึงร้อยละ 50 35 และ 10 ตามลำดับ มีเอนไซม์ชื่อ ฟิคติน (Fictin) ซึ่งสามารถย่อยเนื้อได้ดี มีเส้นใยสูง ช่วยในการกำจัดของเสียในร่างกายและการขับถ่ายดีขึ้น ป้องกันนิ่ว และที่สำคัญคือมีสารยับยั้งป้องกันการเกิดมะเร็ง ช่วยระงับการเจริญเติบโตของมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย ดังนั้นจึงเรียกมะเดื่อฝรั่งว่าเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพแท้จริงครับ.

…………….


สุนทร ตรีนันทวัน

สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา

http://portal.ipst.ac.th/cs/BlobServer?blobcol=urldata&blobtable=MungoBlobs&blobheadervalue2=abinary%3B+charset%3DUTF-8&blobheadername2=MDT-Type&blobheadervalue1=inline%3B+filename%3D%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9D%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87+%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.pdf&blobkey=id&blobheadername1=Content-Disposition&blobwhere=1279339217219&blobheader=application%2Fpdf




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©