-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 174 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวทั่วไป25





นักวิชาการร้องนายกฯ ถอด "พืชจีเอ็ม" ออกจากโครงการ
ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม



พันธมิตร สทส. เตรียมยื่นหนังสือถึงนายกฯ ถอดถอนพืชจีเอ็มออกจากโครงการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 หวั่นกระทบการวิจัยพืชจีเอ็มในไทย อนาคตไทยอาจด้อยพัฒนาเรื่องพืชจีเอ็ม พร้อมตั้งข้อสังเกต การเกษตรแบบใช้สารเคมีส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน แต่กลับไม่นำไปรวมไว้ในกฎหมายดังกล่าวด้วย
       
       สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ (สทส.) จัดแถลงข่าวเรื่อง บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และความเห็นต่อเรื่อง "การทำเกษตรกรรมเชิงการค้า เกี่ยวกับวัตถุดิบการผลิตอาหารที่เกี่ยวเนื่องกับ GM (Geneticallly Modified) พืชดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งมีนักวิชาการและตัวแทนภาคธุรกิจจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมแสดงความคิดเห็นมากมายเมื่อวันที่ 31 มี.ค. ที่ผ่านมา
       
       การทำเกษตรกรรมเชิงการค้า เกี่ยวกับวัตถุดิบการผลิตอาหารที่เกี่ยวเนื่องกับ GM ถูกจัดเข้าไปเป็นโครงการลำดับที่ 18 ในบัญชีรายการโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ที่มีจำนวนทั้งสิ้น 19 โครงการ ตามมาตรา 67 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 โดยคณะอนุกรรมการพิจาณาแนวทางการวินิจฉัยโครงการ กิจการ หรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชุนอย่างรุนแรงทางด้านสุขภาพ และคณะอนุกรรมการรับฟังความเห็นของประชาชนเพื่อการปรับปรุงรายการโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ
       
       ดร.อนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย และอดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ในมาตราดังกล่าวของรัฐธรรมนูญให้เหตุผลว่าพืชจีเอ็ม เป็นอันตรายต่อดิน น้ำ พืช สัตว์ จุลินทรีย์ สุขภาพอนามัยของคน และสิ่งแวดล้อม จึงนำไปบรรจุไว้ในโครงการอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน ทั้งที่ความจริงแล้วการใช้สารเคมีในการเกษตรส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมมากกว่า แต่กลับไม่นำไปบรรจุให้เป็นโครงการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
       
       "การที่จะปลูกพืชจีเอ็มในเชิงพาณิชย์ได้ จะต้องมีการทดลอง กระบวนการตรวจสอบความปลอดภัยทางชีวภาพเสียก่อนจึงจะได้รับการอนุญาตให้ปลูกได้ ซึ่งพืชจีเอ็มที่ปลูกเป็นเชิงการค้าแล้วก็ผ่านการทดสอบต่างๆ แล้วว่าปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งปลูกอยู่ใน 25 ประเทศ และอีกหลายประเทศที่นำเข้าพืชจีเอ็ม" ดร.อนันต์ กล่าว
       
       นายกสมาคมพืชสวนฯ แสดงความเห็นต่ออีกว่า ผลกระทบจากพืชจีเอ็มโอที่มีการพูดถึงกันอยู่นั้นเป็นนามธรรมมากกว่า ในขณะที่การใช้สารเคมีในการทำเกษตรกรรมส่งผลกระทบที่เป็นรูปธรรมมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด เพราะสารเคมีเหล่านั้นปนเปื้อนสู่ดิน น้ำ และสะสมอยู่ในสิ่งมีชีวิตต่างๆ เป็นจำนวนมาก แต่กลับไม่มีการทำประชาพิจารณ์ก่อนการใช้สารเคมี
       
       ดร.อนันต์ บอกว่า โครงสร้างของเกษตรกรรมไทยเป็นเกษตรกรรมขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ไม่เกิน 20 ไร่ ซึ่งการทำประชาพิจารณ์เพื่อจะปลูกพืชจีเอ็มเชิงการค้าเป็นเรื่องที่ทำได้ยากในทางปฏิบัติ และประเทศเพื่อนบ้านของไทยโดยเฉพาะเวียดนามที่เร่งวิจัยและพัฒนาพืชจีเอ็มเพื่อปลูกเชิงการค้าในอนาคตอันใกล้ ในขณะที่อีกหลายประเทศรอบๆ ไทยจะนำเข้าพืชจีเอ็ม ถ้าไทยห่วงเรื่องการปนเปื้อนของพืชจีเอ็มในสิ่งแวดล้อม เมื่อถึงเวลานั้นแล้วจะสามารถป้องกันได้หรือไม่
       
       "การบรรจุพืชจีเอ็มไว้ในโครงการอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ผิดมาก เพราะจะเป็นการปิดกั้นการพัฒนาเทคโนโลยีพืชจีเอ็มของไทยและการใช้ประโยชน์จากพืชจีเอ็มจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องถอดถอนออกจากมาตรา 67 วรรค 2" ดร.อนันต์ กล่าว
       
       ด้าน ดร.อดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ ที่ปรึกษานโยบาย และอดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ถ้าไทยยังยืนยันที่จะเอาพืชจีเอ็มไปผูกติดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 การพัฒนาพืชจีเอ็มของไทยจะด้อยลงเรื่อยๆ จนอาจเป็นง่อยในที่สุดเมื่อทั่วทั้งโลกเปิดรับพืชจีเอ็ม ซึ่งอาจเป็นใน 2 ทศวรรษข้างหน้านี้
       
       ขณะที่ ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพ กล่าวว่า พืชจีเอ็มในประเทศไทยถูกป้ายสีให้ดูน่ากลัว เชื่อว่าต้องมีอะไรหมกเม็ดหรือมีผลประโยชน์แอบแฝง ในการต่อต้านพืชจีเอ็มของฝ่ายเอ็นจีโอ ซึ่งที่จริงพีชจีเอ็มไม่ได้เลวร้ายอย่างที่ถูกกล่าวหา แต่กลับเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการใช้สารเคมี ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น เกษตรกรมีสุขภาพดีขึ้น
       
       "ยังไม่เคยมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าพืชจีเอ็มส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตอย่างร้ายแรง และในประเทศไทยยังไม่เคยมีการทดลองภาคสนาม ขณะที่หลายประเทศเขาทดลองกันแล้ว ก็พบว่าเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการใช้สารเคมี และอีกสิ่งหนึ่งที่อยากเห็นในประเทศไทยคือการอภิปรายเรื่องพีชจีเอ็มกันด้วยเหตุผลระหว่างนักวิชาการและผู้ที่ต่อต้านพืชจีเอ็ม ซึ่งในต่างประเทศเขาทำกัน" ดร.เจษฎา แสดงความเห็น
       
       ทั้งนี้ กลุ่มนักวิชาการที่ประกอบด้วยหลายหน่วยงานและองค์กร เช่น สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กรมวิชาการเกษตร สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย และสมาคมอาหารสัตว์แห่งประเทศไทย มีความเห็นตรงกันว่าควรถอดถอนพืชจีเอ็มออกจาก โครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ที่มีจำนวนทั้งสิ้น 19 โครงการ ตามมาตรา 67 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 โดยจะทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีภายใน 2 สัปดาห์นี้ และหวังว่าจะได้รับการพิจารณาจากรัฐบาลโดยเร็วที่สุด

ที่มา  :  ผู้จัดการ









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (953 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©