-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 442 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวทั่วไป8





พบกุ้งชนิดใหม่ของโลก ในทะเลสาบสงขลา

ม.สงขลานครินทร์ ได้ค้นพบสัตว์คล้ายกุ้ง จำพวก Amphipod (แอมฟิพอด) ชนิดใหม่ของโลกในตะกอนดินทะเลสาบสงขลา 2 ชนิด

ดร.เสาวภา อังสุภานิช และคณะวิจัย จากภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ค้นพบสัตว์คล้ายกุ้ง จำพวก Amphipod (แอมฟิพอด) ชนิดใหม่ของโลกในตะกอนดินทะเลสาบสงขลา 2 ชนิด

ชนิดแรก คือ Kamaka songkhlaensis มีขนาด 2-3 มิลลิเมตร ตั้งชื่อชนิดตามสถานที่ที่พบ เป็นชนิดที่พบมากในทะเลสาบสงขลาตอนบน ซึ่งน้ำมีความเค็มต่ำ (ประมาณ 1-4 ส่วนในพัน) และพบแพร่กระจายลงมาได้บ้างในทะเลสาบสงขลาตอนกลางจนถึงตอนล่างบริเวณปากรอในช่วงฤดูฝนที่ความเค็มของน้ำลดลง 
 
อีกชนิดหนึ่งคือ Kamaka appendiculata มีขนาด 2-3 มิลลิเมตร ตั้งชื่อชนิดตามลักษณะเด่นของแผ่นที่โคนหนวดคู่ที่ 2 เป็นชนิดที่พบมากในช่วงที่น้ำมีความเค็มสูงประมาณ 25-33 ส่วนในพัน จึงพบหนาแน่นในทะเลสาบสงขลาตอนล่างตั้งแต่บริเวณปากทะเลสาบถึงเกาะยอ โดยพบน้อยลงในช่วงฤดูฝนซึ่งน้ำมีความเค็มต่ำ
 
กุ้งชนิดใหม่นี้ถือว่ามีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศทะเลสาบสงขลาหลายประการ เช่น เป็นองค์ประกอบหนึ่งในห่วงโซ่อาหารเพราะเป็นอาหารของปลาและกุ้งด้วยกันเอง ช่วยบรรเทาความเน่าเสียของพื้นท้องน้ำเนื่องจากเป็นสัตว์ที่กินสารอินทรีย์ในตะกอนดิน และช่วยให้มีการหมุนเวียนของอากาศและน้ำในตะกอนดินโดยผ่านรูซึ่งเป็นที่อยู่ของสัตว์จำพวกนี้
 
ดร.เสาวภา อังสุภานิช กล่าวว่า การค้นพบสัตว์สปีชีส์ใหม่ในครั้งนี้ถือเป็นเพียงผลพลอยได้จากการวิจัยเกี่ยวกับสัตว์พื้นใต้น้ำในทะเลสาบสงขลา ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 20 ปีได้ทำการเก็บข้อมูลสิ่งมีชีวิตต่างๆ ตั้งแต่แพลงก์ตอน สัตว์พื้นใต้น้ำหรือสัตว์หน้าดิน สาหร่าย หญ้าทะเล และสัตว์น้ำอื่นๆอย่างต่อเนื่อง

ที่มา  :  บางกอกโพสต์









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1331 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©