-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 203 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวเกษตร38





ธนสิทธิ์ เหล่าประเสริฐ

ดอร์เปอร์ แกะดัง ของ รักษ์ฟาร์ม ที่พนัสนิคม

ณ บ้านเลขที่ 11/1 หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งขวาง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โทร. (084) 111-1900, (080) 2733-800 คือที่ตั้งของฟาร์มเลี้ยงแกะ ในนามของ "รักษ์ฟาร์ม" ซึ่งมี คุณทะนงค์ศักดิ์ หรือ หนึ่ง ศักดารักษ์ เป็นเจ้าของ

ฟาร์มเลี้ยงแกะที่ชายหนุ่มวัย 35 ปี ผู้นี้สร้างขึ้นด้วยสองมือ ได้กลายเป็นฟาร์มเลี้ยงแกะสายพันธุ์ดอร์เปอร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ด้วยจำนวนกว่า 400 กว่าตัว และในเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้ จะเพิ่มเป็น 600 ตัว จากลูกชุดที่จะเกิดใหม่ของปี 2553 นี้

สำหรับเส้นทางการก้าวมาสู่อาชีพเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงแกะของชายหนุ่มผู้นี้ เป็นมาอย่างไร คุณทะนงค์ศักดิ์บอกเล่าให้ฟังว่า

"ผมเรียนจบทางด้านวิศวะ และทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนในบริษัทเอกชนถึงอายุ 26 ปี ในขณะทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนอยู่นั้น ผมรู้สึกเบื่อมาก คิดอยู่เสมอว่า อยากจะทำธุรกิจอะไรสักอย่างที่เป็นของตัวเอง ได้เป็นเจ้านายตัวเอง และธุรกิจนั้นเป็นสิ่งที่เราชอบทำ"

จากความตั้งใจดังกล่าว ได้ทำให้คุณทะนงค์ศักดิ์ตัดสินใจที่จะสำรวจหาสิ่งที่ตัวเองชอบ

"ดังนั้น เริ่มแรกผมก็คิดก่อนว่า สิ่งที่ตัวเองชอบทำคืออะไร ในที่สุดผมก็ค้นพบว่า ผมชอบเลี้ยงสัตว์ ผมเริ่มศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจเลี้ยงสัตว์หลายชนิด เช่น เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงแพะ จนสุดท้าย จึงค้นพบว่าการเลี้ยงแกะนี่แหละเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุด"

แรกๆ เจ้าของฟาร์มแห่งนี้ยังไม่มั่นใจว่าจะสามารถทำได้ดีหรือเปล่า และที่สำคัญกลัวว่าเงินที่ลงทุนไปจะสูญเปล่า ดังนั้นช่วงแรกคุณทะนงค์ศักดิ์จึงทำเป็นอาชีพเสริมก่อน ภายใต้เหตุผลสำคัญว่า ไม่กล้าที่จะนำเงินมาลงทุนมากเกินไป

แต่เมื่อทำไปได้สักระยะหนึ่ง คุณทะนงค์ศักดิ์ พบว่า อาชีพการเลี้ยงแกะเป็นอาชีพที่ทำให้เขามีกินมีใช้อย่างพอเพียง มีเงินเหลือเก็บหลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆ

"แต่ที่สำคัญคือ ทำให้ผมได้เป็นเจ้านายตัวเอง ทำให้ผมได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรักและที่สำคัญที่สุดทำให้ผมเข้าใจ คำว่า "พอเพียง" ได้มากขึ้น"

ในที่สุด คุณทะนงค์ศักดิ์ได้ตัดสินใจยึดอาชีพการเลี้ยงแกะเป็นอาชีพหลัก แล้วได้ก่อตั้งฟาร์มแกะขึ้นมา ชื่อว่า "รักษ์ฟาร์ม"ั้และดูแล "รักษ์ฟาร์ม" ภายใต้แนวทางแบบพอเพียง

พร้อมกันนี้ รักษ์ฟาร์ม ในวันนี้ ยังได้รับการแต่งตั้งจากกรมปศุสัตว์ ให้เป็นฟาร์มเครือข่ายของกรมปศุสัตว์ด้วย

"เหตุผลสำคัญที่ผมเลือกเลี้ยงแกะนั้น เพราะมองในแง่ตลาดแล้ว ยังกว้างมาก และอัตราการรอดของแกะจะสูงกว่าแพะ ต้นทุนการเลี้ยงก็ต่ำกว่าแพะมาก อีกทั้งปัญหาเรื่องโรคพยาธิอะไรก็น้อยกว่าแพะมาก ซึ่งผมก็มีประสบการณ์กับการเลี้ยงแพะมาแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะมีปัญหาเรื่องอัตราการรอดตายและต้นทุนที่สูง" คุณทะนงค์ศักดิ์ กล่าว

พร้อมกันนี้ที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้คุณทะนงค์ศักดิ์ประสบความสำเร็จได้ นอกจากความมุ่งมั่นตั้งใจจริงแล้ว เกิดมาจากจังหวะและโอกาส

"เนื่องจากในเวลานี้การเลี้ยงแกะพันธุ์ดอร์เปอร์ที่เป็นแหล่งใหญ่ จะมีเพียงที่กรมปศุสัตว์และฟาร์มของผมเท่านั้น เมื่อเกษตรกรคนอื่นเห็นว่าผมเลี้ยงเขาก็สนใจมาซื้อต่อกันไปเลี้ยง จึงทำให้เป็นโอกาสของเราที่ผลิตออกมาเท่าไรก็ไม่เพียงพอกับความต้องการ"

สำหรับพันธุ์แกะในฟาร์มแห่งนี้มีหลายพันธุ์ด้วยกัน เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เลือกซื้อตามความต้องการ แต่พันธุ์ที่มีชื่อเสียงของที่นี่คือ "ดอร์เปอร์" (Dorper) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมปศุสัตว์ให้มาขยายพันธุ์และส่งเสริมให้เกษตรกรอื่นๆ เลี้ยง

"สำหรับสายพันธุ์แกะดอร์เปอร์เป็นสายพันธุ์ที่ได้รับมาจากรมปศุสัตว์ โดยจุดเริ่มต้นนั้นสืบเนื่องมาจากที่ได้ไปเห็นแกะสายพันธุ์นี้ที่จังหวัดนครราชสีมา จึงมีความสนใจและเริ่มศึกษา พร้อมติดต่อขอนำสายพันธุ์แกะพันธุ์ดังกล่าวจากกรมปศุสัตว์เข้ามาเลี้ยงจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเมื่อเริ่มต้นนั้น ต้องการที่จะเลี้ยงเพื่อจำหน่ายเป็นแกะเนื้อป้อนตลาด แต่ปรากฏว่ามีเกษตรกรที่สนใจต้องการซื้อเพื่อนำสายพันธุ์ไปเลี้ยงอย่างมากมาย จึงเปลี่ยนมาเป็นการเลี้ยงเพื่อจำหน่ายพันธุ์เป็นหลักจนถึงทุกวันนี้"

ทั้งนี้ แกะพันธุ์ดอร์เปอร์นั้น เป็นแกะเนื้อที่มีคุณภาพสูง สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี ทนแล้ง มีลำตัวสีขาว หัวสีดำ ไม่มีเขา

ดอร์เปอร์ นั้น เป็นแกะที่พัฒนาพันธุ์ในช่วงปี ค.ศ. 1940 ในประเทศแอฟริกาใต้ โดยเป็นการผสมข้ามพันธุ์ ระหว่างแกะพันธุ์แบล็คเฮดั้เปอร์เซียน (Blackhead Persian) และพันธุ์ดอร์เซทฮอร์น (Dorset Horn) สำหรับในประเทศไทย กรมปศุสัตว์ได้มีการนำแกะสายพันธุ์ดังกล่าวเข้ามาในประเทศเพื่อศึกษาวิจัย จำนวน 1 รุ่น และกระจายพันธุ์ไปสู่เกษตรกร

โดยตลอดระยะเวลาของการเลี้ยง คุณทะนงค์ศักดิ์ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์แกะพันธุ์ดอร์เปอร์มาอย่างต่อเนื่อง และดำเนินการคัดเลือกสายพันธุ์แกะดอร์เปอร์ในฟาร์ม จนได้ออกเป็น 6 สาย

"ปีหนึ่งผมจะนำแกะพันธุ์ดอร์เปอร์จากกรมปศุสัตว์มาประมาณ 10 ตัว และนำมาคัดสายพันธุ์ เพื่อให้ได้ตัวที่ดีที่สุดมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ อย่างละ 10 ตัว เมื่อพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่ผมกำหนดแล้ว อย่างมากจะมีคุณภาพตามต้องการเพียง 2 ตัว เท่านั้น เมื่อได้แกะที่มีคุณสมบัติตามต้องการแล้ว จะนำมาผสมพันธุ์กับแม่แกะลูกผสมพื้นเมืองกับทาคาดิน"

จากแกะที่ผ่านการคัดเลือก คุณทะนงค์ศักดิ์จะนำมาผสมพันธุ์ เพื่อจำหน่ายสายพันธุ์ให้กับผู้สนใจ โดยขณะนี้มีทั้งแกะดอร์เปอร์เลือด 100 และแกะดอร์เปอร์ลูกผสม

"สำหรับแกะในกลุ่ม เกรด เอ หากเป็นลูกผสมเลือด 50 จำหน่ายที่กิโลกรัมละ 100 บาท ส่วนลูกผสมเลือด 75 เริ่มต้นที่กิโลกรัมละ 150 บาท และพันธุ์แท้เลือด 100 จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 300 บาท แต่ทั้งนี้หากซื้อเหมาฝูงที่ 20 ตัว จะมีส่วนลดให้เป็นพิเศษ" คุณทะนงค์ศักดิ์ กล่าว

"แต่สำหรับผู้ที่สนใจการเลี้ยงแกะแต่ยังไม่มีความพร้อม แนะนำว่า อย่าเพิ่งตัดสินใจมาเริ่มต้นกับแกะเลือด 100 เพราะต้องมีการจัดการมาก อีกทั้งยังมีปัญหาว่าไม่ทนอากาศที่ร้อนจัดได้ หากเลี้ยงแล้วปล่อยทิ้งปล่อยขว้างรับรองเลยว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ" คุณทะนงค์ศักดิ์ ให้ข้อเตือนใจ

ในส่วนของการเลี้ยงแกะพันธุ์ดอร์เปอร์ คุณทะนงค์ศักดิ์เล่าให้ฟังว่า จะเน้นการเลี้ยงในระบบโรงเรือนเป็นหลัก โดยมีทั้งสิ้น 12 โรงเรือน แบ่งออกเป็นโรงเรือนพ่อแม่พันธุ์ โรงเรือนลูกหย่านม และโรงเรือนสำหรับแกะป่วย

"โดยแกะที่เลี้ยงทั้งหมด ซึ่งแบ่งออกเป็นฝูงๆ อย่างแม่พันธุ์ฝูงหนึ่งจะมีประมาณ 30 ตัว จะถูกปล่อยหมุนเวียนลงสู่แปลงหญ้าสัปดาห์ละ 1 วัน เท่านั้น เพื่อให้ได้ออกกำลังและได้กินหญ้าสด"

สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยง คุณทะนงค์ศักดิ์ บอกว่า จะเน้นการให้อาหารหยาบ คือ หญ้าแพงโกล่า เป็นหลัก และเสริมด้วยอาหารข้นสำเร็จรูป โดยสำหรับแกะแม่พันธุ์นั้นจะให้กินอาหารข้นสำหรับโคนมและแกะพ่อพันธุ์จะให้อาหารข้นสำหรับโคขุน

ในส่วนของการจัดการด้านการผสมพันธุ์ของแกะในฝูง คุณทะนงค์ศักดิ์เล่าว่าจะเน้นการผสมเป็นชุด โดยแต่ละฝูงจะใช้พ่อและแม่พันธุ์ชุดเดิมทั้งหมด

"ที่ฟาร์มของเราเน้นการทำเช่นนี้ เพราะให้ง่ายต่อการจัดการ จะได้ไม่ต้องสับเปลี่ยนพ่อแม่พันธุ์ตลอด แต่ใช้ชุดเดิมทั้งหมด และง่ายต่อการทำพันธุ์ประวัติด้วย"

"หลังคลอดแล้ว ผมจะปล่อยพ่อพันธุ์เข้าไปผสม พอผสมติดเรียบร้อยแล้วจะนำพ่อพันธุ์ออกจากฝูง ปล่อยให้แม่พันธุ์ท้องและคลอดลูก และเลี้ยงลูกจนกว่าจะหย่านม จึงแยกลูกออกมา ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า ผมเน้นการจัดการเป็นรุ่น ซึ่งง่ายและสะดวกอย่างมาก" คุณทะนงค์ศักดิ์ กล่าว

ดังที่กล่าวแล้วว่า ในการทำฟาร์มเลี้ยงแกะของคุณทะนงค์ศักดิ์จะเน้นการบริหารจัดการที่ง่ายและสะดวกเป็นหลัก ซึ่งเป็นการทำฟาร์มที่ส่งผลให้เขาสามารถควบคุมต้นทุน การบริหารคนงาน และเวลาในการทำงานได้อย่างเต็มที่

"ปกติฟาร์มผมจะเน้นการใช้ระบบปิด ไม่เปิดให้คนภายนอกเข้ามาในฟาร์ม ยกเว้นในช่วงที่จะจำหน่ายสายพันธุ์ ซึ่งจะอยู่ประมาณช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี ดังนั้น หากผู้สนใจอยากมาปรึกษาพูดคุยเกี่ยวกับการเลี้ยงแกะ ควรมาในช่วงเดือนกรกฎาคม จะเหมาะสมที่สุด"

"ส่วนเรื่องตลาดของแกะนั้น ตอนนี้ต้องถือได้ว่า ปริมาณแกะที่เรามีกันอยู่ในประเทศนั้นยังไม่เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้น ในอนาคตผมจึงวางเป้าหมายว่า จะทำแกะขุนด้วย เพื่อส่งจำหน่ายในตลาดบน เช่น ภัตตาคาร โรงแรมต่างๆ ซึ่งมีปริมาณความต้องการอย่างสูงที่เดียว" คุณทะนงค์ศักดิ์ กล่าวในที่สุด




ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (2013 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©