-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 605 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

มะขามเทศ




หน้า: 2/2



"มะขามเทศ" บำรุงดินแก้น้ำท่วม ปลูกได้ทุกภูมิภาค
แถมเนื้ออร่อย
   


 

จำได้ว่าตอนเด็กๆออกไปวิ่งแถวหมู่บ้าน เห็นต้นมะขามเทศปลูกข้างทางแถวหมู่บ้านเยอะมาก ก็เลยอดที่จะถามคุณพ่อไม่ได้ว่ามันคือต้นอะไร เนื่องจากไม่เคยเห็นและไม่เห็นใครนำมารับประทานกัน แต่พอคุณพ่อบอกว่ามันคือต้นมะขามเทศผลอร่อยมาก ทานได้ ก็เลยอดไม่ได้ที่จะลองชิมดู พอทานก็ติดใจ เพราะเนื้อออกสีขาวอมชมพู มีเมล็ดข้างในเหมือนมะขามทั่วไป และเนื้ออร่อยนุ่ม วันนี้ก็เลยอยากที่จะนำข้อมูลเกี่ยวกับมะขามเทศมาฝากกันเพราะเชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้จักกับมะขามเทศและอยากที่จะทำความรู้จักและนำมาปลูกกันแรกเริ่ม


ชื่อสามัญ คือ Manila Tamarind หรือ Madas Tamarind ชื่อวิทยาศาสตร์ Pithecellabium dulce, Baneth.


ลักษณะต้น

เป็นไม้เนื้อแข็ง มีหนามที่ลำต้น ใบ เล็ก สีเขียว บาง รูปร่างกลม-กลมรี ดอก เป็นช่อแบบแพนิเคิล (panicle) ออกดอก ประมาณเดือนตุลาคม ทยอยบานเรื่อย ๆ ผลแก่ ประมาณเดือนธันวาคม ต่อเนื่องไปจนถึงมีนาคม


ลักษณะฝัก

โค้งเป็นวงกลม หรือเกือบวงกลม หรือโค้งเป็นวงแบบสปริง เปลือกฝักสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีชมพู-แดง-แดงเข้ม เนื้อฝัก สีขาว-สีชมพู-แดงเรื่อ ๆ เมล็ด เล็กสีดำ


มะขามเทศ พบเห็นกระจายอยู่แทบทุกภาคของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นริมถนนหนทาง สวนหลังบ้าน หรือท้องทุ่งนา หรือเกิดขึ้นเองในที่รกร้าง เพราะเป็นไม้ผลที่เจริญเติบโตเร็ว ทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี ไม่ค่อยมีปัญหาโรค-แมลงศัตรู เหมาะที่จะปลูกไว้เป็นร่มเงาและพืชบำรุงดิน


มะขามเทศเป็นพืชที่ปลูกง่าย เพียงปีเดียวก็เริ่มให้ผลผลิตแล้วและถ้าเป็นพันธุ์ดี ฝักโต รสหวานมัน จะมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 30-40 บาท และมีวางขายในห้างสรรพสินค้า ชนิดฝักใหญ่รสชาติดี ราคากิโลกรัมละ 120 บาทแหล่งปลูกที่สำคัญนั้นส่วนมากอยู่ที่ อำเภอดำเนินสะดวก อ.เมือง จ.ราชบุรี ซึ่งปลูกแบบยกร่อง แก้ปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนได้ ที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และอีกหลายจังหวัดเช่น สมุทรสงคราม, สุพรรณบุรี, สมุทรสาคร, กาญจนบุรี และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็พบปลูกมากเช่นกัน


ดังนั้นการปลูกมะขามเทศเหมือนกับไม้ผลอื่น ๆ มีการขุดหลุม เตรียมหลุมปลูก และใช้ระยะปลูกเช่นเดียวกับไม้ผลอื่น ๆ ซึ่งในระยะต้นเล็กสามารถปลูกพืชอื่นแซมได้ เช่น มะม่วง, ฝรั่ง, กล้วย ฯลฯ เมื่อปลูกแล้วรดน้ำทุกวัน จนต้นมันแข็งแรง จากนั้นก็ทิ้งระยะเวลาการให้น้ำประมาณ 4-5 วัน/ครั้งก็ได้ ทั้งนี้เพราะรากหาอาหารได้ไกล และทนแล้ง เมื่อโตเต็มที่แล้วแทบไม่ต้องให้น้ำ นอกจากได้รับน้ำฝนตามธรรมชาติก็เจริญเติบโตอยู่รอดได้ แต่ถ้ามีการให้น้ำและให้ปุ๋ยเพิ่มเติมจะทำให้ได้ผลผลิตมากยิ่งขึ้นมะขามเทศเป็นพืชเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น


เกษตรกรจำนวนไม่น้อยนิยมปลูกมะขามเทศเป็นพืชเสริมรายได้และยังนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกหลากหลาย อาทิ ปลูกเป็นรั้วเพราะมีแนวทรงพุ่มแน่น กิ่งเหนียวมีหนาม พบเห็นได้ตามสถานีรถไฟหลายแห่ง เมื่อมีอายุมากขึ้น เนื้อไม้จะแข็งนำไปใช้ประโยชน์เป็นไม้ใช้สอย และทำฟืน


ประโยชน์ทางอ้อมของมะขามเทศยังมีมาก เช่น ปลูกในระบบ "วนเกษตร" ซึ่งหมายถึง ระบบการจัดการจัดการที่ดินโดยอาศัยการป่าไม้เป็นหลักร่วมกับการเกษตรทุกแขนง การปลูกเป็นพันธุ์ไม้เพื่อฟื้นฟูสภาพดินที่เสื่อมโทรม เนื่องจากมะขามเทศเป็นพืชตระกูลถั่ว ปลูกเป็นแนวกันลมและทำรั้ว ใช้เป็นอาหารสัตว์ก็ได้ และสุดท้ายใช้ฝักเป็นอาหาร


ลักษณะพันธุ์ของมะขามเทศนั้นเนื่องจากการคัดเลือกพันธุ์มะขามเทศ ยังไม่มีการคัดเลือกพันธุ์ไว้อย่างชัดเจน จึงได้มีผู้แบ่งพันธุ์มะขามเทศไว้ 3 กลุ่มด้วยกันตามลักษณะของใบ ฝัก และขนาดของฝัก ดังนี้


1. พันธุ์ฝักขนาดใหญ่

ก. น้ำหนักประมาณ 15-20 ฝักต่อกิโลกรัม เปลือกของฝักแก่มีสีเขียวอ่อน ขาวปนสีแดงและชมพู เนื้อสีขาวปนแดงเล็กน้อย ลักษณะของฝักโค้งเป็นวงกลม ถ้าฝักยาวจะม้วนเป็นเกลียว รสชาติหวานมันค่อนข้างนุ่ม ทรงพุ่มใหญ่ และแผ่ออกด้านข้าง มีหนามยาวกว่าพันธุ์อื่น ๆ ใบค่อนข้างใหญ่กว่าพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะใบกลมรีปลายเป็นหยักจำนวน 4 ใบต่อก้านใบ ขนาดใบกว้างประมาณ 2-2.5 ซ.ม.


ข. น้ำหนักประมาณ 15-20 ฝักต่อกิโลกรัม เปลือกของฝักแก่มีสีเขียวอ่อนปนสีชมพูอ่อน ๆ แตกต่างจากพันธุ์แรกคือ เปลือกสีเขียวกว่าลักษณะของฝักโค้งเป็นวงกลม รสชาติหวานมันค่อนข้างนุ่ม ทรงพุ่มใหญ่ มีหนามยาว ใบใหญ่ ปลายใบมน ค. น้ำหนักประมาณ 17-20 ปักต่อกิโลกรัม เปลือกของฝักแก่มีสีเขียวอ่อน ลักษณะของฝักโค้งเป็นวงกลม เนื้อสีขาว รสชาติหวานมัน ทรงพุ่มใหญ่ ลักษณะใบกลม ปลายใบมน


2. พันธุ์ฝักขนาดกลาง

ก. น้ำหนักประมาณ 20-30 ฝักต่อกิโลกรัม เปลือกของฝักแก่มีสีเขียวอ่อนปนสีชมพูกึ่งแดง ลักษณะของฝักโค้งเป็นวงกลม ทรงพุ่มเป็นวงกลม รสชาติหวานมันใบค่อนข้างใหญ่ไม่ค่อยมีหนามหรือหนามเล็กมาก


ข. น้ำหนักประมาณ 20-30 ฝักต่อกิโลกรัม เปลือกของฝักแก่มีสีเขียวอ่อนปนสีชมพูกึ่งกลาง ลักษณะของฝักโค้งเป็นวงกลม รสชาติหวานมัน ขนาดใบปานกลาง


ค. น้ำหนักประมาณ 20-30 ฝักต่อกิโลกรัม เปลือกของฝักแก่มสีเขียวอ่อนปนแดง เนื้อสีขาวปนแดง ลักษณะของฝักโค้งเป็นวงกลม ทรงพุ่มใหญ่ ขยายข้างแบบ
วงกลม มีรสชาติหวานมัน ขนาดใบปานกลางมีหนามยาว


3. พันธุ์พื้นเมือง
น้ำหนักประมาณ 30 ฝักขึ้นไปต่อกิโลกรัม เปลือกของฝักแก่มีสีเขียวปนชมพูกึ่งแดง ลักษณะของฝักแก่มีสีเขียวปนสีชมพูกึ่งแดง ลักษณะของฝักโค้งเป็นวงกลม ทรงพุ่มค่อนข้างใหญ่เป็นวงกลม รสชาติหวานมันปนฝาด ขนาดใบปานกลางค่อนข้างเล็ก ลักษณะใบกลมรี ปลายใบมน มีหนามค่อนข้างมาก


การขยายพันธุ์มะขามเทศ

สำหรับการขยายพันธุ์มะขามเทศ สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเปลี่ยนยอด การทาบกิ่ง การตอน แต่ที่นิยมได้แก่การตอน แต่ต้นที่ได้จากการปลูกวิธีเพาะเมล็ดจะทนแล้งได้ดีมาก  ต้องควั่นกิ่งที่บริเวณใต้ตาประมาณ 1 นิ้ว ใช้มีดคมควั่นเปลือกนอกแล้วลอกออกให้รอยควั่นกว้างประมาณ 1 นิ้ว แล้วใช้ขุยมะพร้าวแช่น้ำหมาด ๆ พอรอยแผล โดยใช้ถุงพลาสติกหุ้ม ใช้เชือกผูกหัวและท้ายมัดให้แน่น ทิ้งไว้อย่างนั้นโดยไม่ต้องรดน้ำ ประมาณ 20-25 วัน โดยใช้หลักพิจารณาว่าเป็นกิ่งเล็กหรือกิ่งใหญ่ ถ้ากิ่งเล็กก็ประมาณ 20วัน ถ้ากิ่งใหญ่ก็เลื่อนเป็น 24-25 วัน จึงตัดไปปักชำ เมื่อตัดกิ่งตอนจากต้นลงถุงเพาะชำ จะต้องทิ้งไว้อีกประมาณ 2 อาทิตย์ จึงการปลูก


การเตรียมดิน
ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดอย่างน้อย 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ตากดินไว้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ ผสมดินปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ประมาณหลุมละ 2-3 ปุ๋ยกี๋


การปลูก
มะขามเทศสามารถปลูกได้ทั้งแบบยกร่องและเป็นพื้นที่ราบ แบบยกร่องและเป็นพื้นที่ราบ แบบยกร่องจะใช้ระยะปลูกประมาณ 8-10 x 8-10 เมตร ใน 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 16-25 ต้น ส่วนในพื้นที่ราบจะใช้ระยะปลูกประมาณ 10-12 x 10-12 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 10-16 ต้น


การปฏิบัติดูแลรักษาการให้น้ำ
ควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอทั้งในมะขามเทศต้นเล็กและต้นโต สำหรับมะขามเทศต้นโตควรงดให้น้ำในช่วงก่อนออกดอกเช่นเดียวกับไม้ผลชนิดอื่น ๆ เพื่อให้มะขามเทศพักตัวสะสมอาหารเตรียมความพร้อมที่จะออกดอก และเมื่อมะขามเทศติดดอกออกฝักแล้ว จึงเริ่มให้น้ำตามปกติ แต่ควรระวังในช่วงที่ฝักเริ่มแก่ เพราะถ้าให้น้ำในช่วงนี้มากเกินไปจะทำให้คุณภาพฝักไม่ดี ฝักแตกเร็วขึ้นเมื่อเนื้อไม่แน่นและรสชาติไม่ดีการใส่ปุ๋ย แบ่งออกเป็น 3 ช่วงที่สำคัญคือ หลังจากเก็บผลผลิตและตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ก่อนออกดอก ใส่ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนต่ำ ๆ เช่น 8-24-24 9-24-24 ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ในช่วงฝักเริ่มแก่ เพื่อปรับปรุงคุณภาพเนื้อให้มีรสชาติดีขึ้น นำไปปลูกได้


มะขามเทศเป็นไม้ผลที่มีปัญหาเรื่องโรคและแมลงน้อยในช่วงออกดอกใหม่ ๆ ใช้สารฆ่าแมลงผสมสารกันราฉีดพ่น เพื่อให้ติดฝักดก ส่วนปัญหาเรื่อง แมลงกัดกินผิวและเมล็ด ใช้สารไมแทคพ่นทุก 15-20 วัน และหยุดเมื่อฝักมะขามเทศเริ่มแตก ส่วนโรคราใช้สารยูคาร์โฟนฉีดพ่น การพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงจึงควรพ่นเท่าที่จำเป็นจริง ๆ และควรหยุดก่อนเก็บฝักอย่างน้อย 15 วัน เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้างในฝัก ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เพราะมะขามเทศเมื่อใกล้เก็บเกี่ยวเนื้อจะปริพองทำให้เปลือกของฝักแตกออก สารเคมีสัมผัสได้โดยตรงเมื่อทำการพ่นสารกำจัดศัตรูพืช


การปลูกมะขามเทศถือว่าเป็นวิธีบำรุงดินแนวทางหนึ่ง, เนื่องจากความเป็นพืชตระกูลถั่ว, มีใบไม่ใหญ่เกินไปจึงสลายตัวได้ง่ายเมื่อฝนตกหรือเปียกชื้น เราอาจปลูกมะขามเทศเพื่อหวังการขายฝักมะขามเทศมัน เช่น พันธุ์ฝักใหญ่ไร้หนาม, ซึ่งฝักใหญ่สม่ำเสมอทั้งต้น, การผลิตอาหารเลี้ยงต้นได้มากก็ต้องมีใบมาก, เราก็ปล่อยให้ทั้งต้นมีใบมาก แต่เมื่อมีใบรุ่นใหม่ทดแทนเพียงพอแล้ว ใบแก่ก็จะค่อย ๆ ร่วงหล่นลงพื้นใต้ต้น เราก็กวาดทั้งใบแห้งผสมกับเศษดิน, และปุ๋ยอินทรีย์ต่าง ๆ ไปตากแห้งแล้วบรรจุถุงขายได้หรือปลูกมะขามเทศตามแนวรั้ว, ตามคันนา, ใบที่ร่วงหล่นลงไปในไร่นาก็ทำหน้าที่เป็นวัถตุบำรุงดินโดยอัตโนมัติ สำหรับป่าที่เสื่อมโทรมรอการฟื้นฟูสามารถเพิ่มความสมบูรณ์ให้มากขึ้นโดยการใช้เมล็ดมะขามเทศหว่านกระจายไปบาง ๆ ในส่วนป่า พอได้ฝนเมล็ดก็จะงอกแล้วแทงต้น สูงขึ้นมารับแสงแดดเบื้องบน ใบของมะขามเทศจะกลายเป็นอาหารสัตว์ในกรณีของมะขามเทศหนามกุดหรือหนามนิ่มหรือไร้หนามเมื่อเติบโตพอก็ออกฝักกลายเป็นอาหารของนก ค้างคาว หนู กระรอก กระแต และของคน เมื่ออยู่ในป่าก็เพิ่มสีสันของป่าโดยมีสัตว์ต่าง ๆ มาคอยกินฝักแก่ นกจะรู้ดีและเลือกลงกินต้นที่มีรสมัน, หรือฝักมีรสฝาดน้อย การปลูกเป็นการค้าจึงต้องมีการขับไล่นกเอี้ยงและนกอื่น ๆ ที่ลงมาแย่งกินผลผลิต แต่ในสวนนกนั้นการปลูกมะขามเทศมันไว้จะได้ทั้งอาหารนก, และการบำรุงดินรอบข้างไปพร้อมกันถ้าป่าต้นน้ำมีพืชถั่วมาก, น้ำก็มีปุ๋ยมากด้วย หลังจากตัดแต่งกิ่งไปแล้ว ในเดือนตุลาคม ก็เริ่มอดน้ำหรือปล่อยน้ำออกจากร่องสวน ถ้าอากาศแห้งจะใช้เวลา 20-25 วัน จึงเริ่มปล่อยน้ำเข้าร่องสวน แล้วให้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 เพื่อเร่งสร้างตาดอกมะขามเทศจะเริ่มออกดอกในเดือนพฤศจิกายน ใช้ฮอร์โมนเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดอกติดฝักมากขึ้น และช่วงออกดอกนี้ จะมีการฉีดพ่นแลนเนท 1-2 ครั้ง เพื่อป้องกันหนอนเจาะดอก โดยผสมกับสารป้องกันเชื้อราด้วย เมื่อมะขามเทศติดฝักแล้ว ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 บำรุงต้นและทำให้ติดฝักดก และเก็บเกี่ยวฝักได้ ประมาณเดือนธันวาคม-มกราคม ทยอยเก็บได้เรื่อย ๆ หลายครั้งซึ่งขายได้ราคาดีมาก เพราะปกติมะขามเทศจะเก็บเกี่ยวผลได้ในช่วงมีนาคม-เมษายน ดังนั้น ช่วงที่มะขามเทศออกก่อนฤดู จะขายได้ราคาถึงกิโลกรัมละ 80-100 บาท (ในซูเปอร์มาร์เก็ตที่กรุงเทพฯ ราคา 120 บาท) ส่วนช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ราคากิโลกรัมละ 30-50 บาท ในสภาวะปัจจุบัน ตลาดมะขามเทศมันฝักใหญ่ ยังไปได้ดีมีราคาสูง และราคาสูงมากเมื่อผลิตได้นอกฤดู แต่มีข้อเสียบ้าง คือ เมื่อเก็บฝักมาแล้ว ต้องรีบขายโดยเร็ว หรือระหว่างการขนส่งมายังตลาด ต้องอยู่ในอากาศเย็น เพราะผลผลิตจะเสียได้ง่าย คือ เปลือกจะแห้ง และเนื้อจะเน่ารสชาติเปลี่ยนไปไม่น่ารับประทาน ซึ่งข้อจำกัดนี้ ทำให้ผู้ปลูกมะขามเทศต้องคิดตัดสินใจให้ดีหากจะขยายพื้นที่ปลูกแล้ว จะมีปัญหาเรื่องการเก็บฝัก ต้องมีการจัดการเรื่องการเก็บเกี่ยวให้ถึงตลาดอย่างรวเร็วจะขายได้ราคาดี ส่วนเรื่องอื่น ๆ ยังไม่มีปัญหามากนักนอกจากนี้ ยังทนต่อความแห้งแล้ง และปลูกได้ในดินเค็มอย่างเช่น ในภาคอีสานโดยไม่ต้องดูแลมาก ส่วนหนึ่งนิยมปลูกเพื่อรับประทานฝัก เวลาออกฝักก็ทยอยออกเรื่อย ๆ ทำให้เก็บขายได้เรื่อย ๆ ซึ่งฝักดิบนั้นแกะเปลือกเขียวออก นำเนื้อมานึ่ง จะมีรสหวาน นำมาปรุงแทนผักได้ เช่น ใส่แกงส้ม ผัดผัก ยำต่าง ๆ หรือจิ้มน้ำพริกก็ได้
 




โดย ทุ่งแค้ว

kiopattra_2006@hotmail.com This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it

http://web.ku.ac.th

เชียงใหม่นิวส์ -- ข่าวเกษตร
          







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (34206 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©