-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 282 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

มะขามเทศ




หน้า: 1/2




ที่มา : http://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=61670&begin=50



                มะขามเทศ

      ลักษณะทางธรรมชาติ

    * ปลูกได้ทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกฤดูกาล ชอบดินดำร่วนมีอินทรีย์วัตถุมากๆ ให้ผลผลิตปีละรุ่น ยังไม่พบสายพันธุ์ทะวายและยังไม่มีสารหรือฮอร์โมนใดๆบังคับให้ออกนอกฤดูได้

    * ช่วงพักต้นต้องการน้ำพอหน้าดินชื้น แต่ช่วงกำลังมีดอก-ผลต้องการน้ำมากขึ้นโดยเฉพาะช่วงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวถ้าขาดน้ำเนื้อจะแห้ง รับประทานแล้วฝืดคอ ถ้ามีการให้น้ำสม่ำเสมอเนื้อจะฉ่ำนุ่มรับประทานได้อร่อยกว่า 
 
                
    * ต้นพันธุ์ดีเสียบยอดบนตอมะขามเทศฝาด แล้วเสริมรากด้วยมะขามเทศฝาดอีก 1-2 ราก นอกจากทำให้มีรากจำนวนมากขึ้น ซึ่งหมายถึงปริมาณสารอาหารที่ส่งไปเลี้ยงต้นได้มากขึ้นแล้ว ยังช่วยสะสมไนโตรเจน (มะขามเทศเป็นพืชตระกูลถั่ว) ได้มากขึ้นอีกด้วย เมื่อต้นได้รับสารอาหารและไนโตรเจนจากรากเพิ่มมากขึ้นจึงส่งผลให้สมบูรณ์ผลผลิตดีอีกต่างหาก 
  
                
    * อายุต้น 5 ปีขึ้นไปปริมาณและคุณภาพผลผลิตจะลดลง แก้ไขโดยตัดแต่งกิ่งแบบทำสาว และตัดแต่งราก หลังจากนั้นก็ให้ตัดแต่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อเข้าสู่ฤดูกาลผลิตใหม่ปีละครั้ง

    * ออกดอกติดผลจากปลายกิ่งที่แตกใหม่ในปีนั้นเท่านั้น
                
    * กิ่งแขนงที่ออกตามโคนกิ่งของต้นที่สมบูรณ์จริงๆก็สามารถออกดอกติดผลได้

    * ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศผสมกันเองในดอกหรือต่างดอกในต้นเดียวกันหรือต่างต้นได้

 
   * เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว 
               
    * เป็นผลไม้ที่ออกสู่ตลาดในฤดูกาลที่ไม่ตรงกับไม้ผลเด่นอื่นๆ ยกเว้นไม้ผลทะวายหรือไม้ผลที่บังคับให้ออกนอกฤดูกาลจึงทำให้มะขามเทศไม่มีคู่แข่งทางตลาดและได้ราคาดี

 
   * ให้ฮอร์โมนบำรุงราก 2-3 เดือน/ครั้งและฮอร์โมนไซโตคินนิน 1-2 เดือน/ครั้งจะช่วยให้ต้นสมบูรณ์ออกดอกติดผลดี                               

      สายพันธุ์
               
      พันธุ์ที่ทางราชการส่งเสริม คือ มะขามเทศฝักใหญ่พันธุ์พระพุทธบาท ปัจจุบันมีพันธุ์เกิดขึ้น
ใหม่ซึ่งกลายพันธุ์มาจากพันธุ์พระพุทธบาทอีกหลายพันธุ์ จุดเด่นของพันธุ์ดี คือ ใบขนาดใหญ่  ในขณะที่พันธุ์พื้นเมืองใบขนาดเล็ก                

      การขยายพันธุ์
               
      ตอน. เสียบยอด. เพาะเมล็ดเสริมรากเสียบยอด (ดีที่สุด)
 
                 

      ระยะปลูก
               
    - ระยะปกติ     4 X 6 ม. หรือ  6 X 6 ม.
               
    - ระยะชิดพิเศษ  2 X 4 ม. หรือ  2 X 3 ม.
                          
      เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ  
               
    - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
  
  - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ ปีละ 2 ครั้ง               
    - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง  
               
    - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม  ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
                
      หมายเหตุ :
               
    - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่ ปลาสด เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน  
               
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่ การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้  
                
  
 - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง               

      เตรียมต้น
               
      ตัดแต่งกิ่ง :
               
    - ตัดแต่งเพื่อการแตกยอดใหม่ให้ตัดกิ่งกระโดง  กิ่งในทรงพุ่ม  กิ่งคดงอ  กิ่งชี้ลง  กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค ทั้งนี้ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้
    - ตัดแต่งเพื่อไม่ให้แตกใหม่ป้องกันทรงพุ่มทึบเกินไปให้ตัดชิดลำกิ่งประธาน
    - ตัดแต่งกิ่งเพื่อเข้าสู่วงรอบการบำรุงให้ได้ผลผลิตให้ตัดแต่งกิ่งพร้อมกับตัดแต่งราก
    - ต้นที่ตัดแต่งกิ่งออกมากๆ (มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ควรเรียกใบอ่อน 2 ชุด  ส่วนต้นที่ตัดแต่งกิ่งออกไม่มาก (ประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์)เรียกใบอ่อน 1 ชุดก็พอ
    - ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ  นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย     
    - นิสัยการออกดอกของมะขามเทศไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว แต่ถ้าตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น
 
                
      ตัดแต่งราก :
                 
    - มะขามเทศระยะต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งรากแต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
    - ต้นอายุหลายปีระบบรากเก่าและแก่มาก ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม.หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม 
    - ต้นที่อายุเกิน 5 ปีขึ้นไปแล้วต้องตัดแต่งรากทุกปีหรือปีเว้นปี  ถ้าไม่ตัดแต่งรากเพื่อเรียกรากใหม่ต้นจะไม่สมบูรณ์  ส่งผลให้ผลผลิตไม่ดีด้วย
  



              
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมะขามเทศ       

     1.เรียกใบอ่อน
               
       ทางใบ :
               
     - ให้น้ำ 100 ล.+ 25-5-5(200 กรัม)หรือ 46-0-0(200 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน
10 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1 รอบต่อการเรียกใบอ่อน 1 ชุด  ฉีดพ่นพอเปียกใบ               
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน 
               
       ทางราก :
               
     - ใส่น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
 
    - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน               
       หมายเหตุ :
               
     - ลงมือปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่งและตัดแต่งรากเสร็จ
               
     - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่  การสะสมอาหารเพื่อการออก  การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอก  ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก....แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้ 
               
     - ต้นที่ตัดแต่งกิ่งออกมากๆ (มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์) ควรเรียกใบอ่อน 2 ชุด ส่วนต้นที่ตัดแต่งกิ่งออกไม่มาก (ประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์) เรียกใบอ่อน 1 ชุดก็พอ
       

    2.เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
               
      ทางใบ :
               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-21-74(200 กรัม)หรือ 0-39-39(200 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
               
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
               
      ทางราก :
               
      ให้น้ำตามปกติ  ทุก 2-3 วัน
               
      หมายเหตุ :
               
    - ลงมือปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
               
    - วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารและเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้นกับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด
    - มะขามเทศต้นที่สะสมความสมบูรณ์เต็มที่มานานหลายปีติดต่อกัน หลังจากใบอ่อนเริ่มแผ่กางแล้วสามารถข้ามขั้นตอนการบำรุงไปสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกได้เลย ทั้งนี้ ฟอสฟอรัส.กับโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ได้แล้วยังช่วยเปิดตาดอกได้อีกด้วย       

    3.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
               
      ทางใบ :
               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน  ติดต่อกัน 2-3 รอบแล้วให้น้ำ 100 ล.+ เอ็นเอเอ.25 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250ซีซี. สลับ 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ ติดต่อกัน 1-2 เดือน  จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่
  
  - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :
               
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24(250-500 กรัม)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
    
- ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน               
      หมายเหตุ :
                
    - เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเพสลาด
               
    - แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง โดยให้กลูโคสหรือนมสัตว์สดรอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุง  และให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน 
               
    - วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นได้สะสมสารอาหารทั้งกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.)และกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้นไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอก ไม่มีการแตกใบอ่อนออกมาอีก ถ้าต้นแตกใบอ่อนออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่อีกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลา
               
    - เพื่อให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออดอกมากยิ่งขึ้น แนะนำให้ใส่มูลค้างคาว 100-200 กรัม/ต้นทรงพุ่ม 5 ม. ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นหรือฉีดอัดลงดินทุก 1 ตร.ม.บริเวณชายพุ่มจะเป็นการดียิ่งขึ้น...ใช้มูลค้างคาวด้วยความระมัดระวังเพราะในมูลค้างคาวมีสารอาหารในการสร้างเมล็ด อาจมีผลกระทบช่วงบำรุงผลกลาง (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ)ได้
               
    - ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย  แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง
       

    4.ปรับ ซี/เอ็น เรโช
               
      ทางใบ :
               
    - ในรอบ 7-10 วัน ให้น้ำ 100 ล.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคล
เซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ระวังอย่าให้ลงพื้น
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :
               
      งดน้ำ  เปิดหน้าดินโคนต้น
               
      หมายเหตุ :
               
    - ลงมือปฏิบัติเมื่อสังเกตเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน
               
    - ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีกแต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ  แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ  โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน
  
  - วัตถุประสงค์เพื่อ  “เพิ่ม”  ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.)และ  “ลด”  ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น.)            

    5.เปิดตาดอก
               
      ทางใบ :
               
    - ในรอบ 5-7 วัน ให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ สาหร่ายทะเล 50 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. อีก 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :
               
    - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น 
               
    - ให้น้ำพอหน้าดินชื้นหรือพอให้ต้นได้รู้สึกตัว 
               
      หมายเหตุ :
                
    - ลงมือปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกทั่วทั้งต้นหรือทุกจุดที่สามารถออกดอกได้
    - อาจจะพิจารณาใส่ 8-24-24(100-200 กรัม)/ต้น อีก 1 รอบก็ได้ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นพอหน้าดินชื้นเพื่อเสริมของเก่าที่ใส่เมื่อช่วงสะสมอาหารและช่วงที่ปรับ ซี/เอ็น เรโช.
 
   - หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้นให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ
    - มะขามเทศเป็นไม้ผลมีนิสัยออกดอกง่าย หากบำรุงต้นได้สมบูรณ์เต็มที่ก็สามารถออกดอกเองได้       

    6.บำรุงดอก
               
      ทางใบ :
               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
               
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรช่วงค่ำ ทุก 2-3 วัน    
               
      ทางราก :
                 
    - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
                 
    - ให้น้ำพอหน้าดินชื้น
               
      หมายเหตุ :               
               
    - ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็น (ก้านดอกยาว 1-2 ซม.) หรือระยะดอกตูม บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ.1-2 รอบจะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม การให้ฮอร์โมนเอ็นเอเอ. ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล          
   
- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี               
    - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก  ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
                
    - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น "ฮอร์โมนน้ำดำ และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก  ให้แบบเดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้
               
    - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน
                
    - ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้  หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วงหลังค่ำ
               
    - ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น  แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก.....มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอสามารถช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก
 
      

    7.บำรุงผลเล็ก
               
      ทางใบ :
               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.(เน้น จิ๊บเบอเรลลิน)+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :
               
    - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-5-5 (250-500 กรัม)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
   
 - นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นพร้อมกับเสริมยิบซั่มธรรมชาติ อัตรา 1 ใน 10 ส่วนของครั้งที่ใส่เมื่อช่วงเตรียมต้น               
    - ให้น้ำแบบค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำทีละน้อยๆของการให้น้ำ 3-4 รอบเพื่อให้ต้นรู้ตัว
 
      หมายเหตุ :
               
    - เริ่มบำรุงเมื่อผลเริ่มติดหรือหลังกลีบดอกร่วง...ระยะนี้ฝักมีรูปร่างแบนๆ เรียกว่า "ฝักดาบ" แนวทางบำรุงด้วยจิ๊บเบอเรลลินจะช่วยให้ฝักยาว  ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขยายขนาดฝักในช่วงบำรุงขั้นต่อไป
    
    - เทคนิคการให้ปุ๋ยทางใบด้วยสูตร 15-45-15 ซึ่งเป็นสูตรเดียวกับบำรุงดอกนั้น วัตถุประสงค์เพื่อให้ P. สร้างเมล็ดก่อนในช่วงแรก  ซึ่งเมล็ดนี้จะเป็นผู้สร้างเนื้อต่อไปเมื่อผลโตขึ้น
 
   - ระยะผลเล็กหรือฝักเล็กหรือฝักดาบ การบำรุงแบบเน้นจิ๊บเบอเรลลินหมายถึงการใส่เพิ่มให้ไปพร้อมกับธาตุรอง/ธาตุเสริมตัวอื่นๆ หรือแยกให้เฉพาะจิ๊บเบอเรลลินเดี่ยวๆโดยเฉพาะก็ได้
         
    8.บำรุงผลกลาง
               
      ทางใบ :
               
      ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม(100 ซีซี.)+ ไคโตซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
      ทางราก :               
    - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14(250-500 กรัม)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
   
 - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                
      หมายเหตุ :
                
    - เริ่มบำรุงเมื่อเปลือกหุ้มเมล็ดเริ่มนูน  เรียกว่า  "ขึ้นรูป"  
    - วัตถุประสงค์เพื่อขยายขนาดผลและลดขนาดเมล็ด (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ)
 
   - ให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผล        

    9.บำรุงผลแก่
               
      ทางใบ :
               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-0-50(200 กรัม)หรือ 0-21-74 (200 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.หรือ น้ำ 100 ล.+ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว ฉีดพ่นพอเปียกใบ
 
   - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :
               
    - ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24(1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
    - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน               
      หมายเหตุ :                
               
    - มะขามเทศต่างจากผลไม้อื่นๆที่ระยะผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวจะต้องให้น้ำตามปกติหรือมากกว่าปกติเล็กน้อยเพื่อให้เนื้อฉ่ำน้ำ  เมื่อรับประทานจะไม่ติดคอหรือฝืดคอ (รับประทานมะขามเทศเนื้อแห้งๆเหมือนกับรับประทานขนมโก๋)  ในขณะที่ผลไม้อื่นต้องงดให้น้ำเพื่อทำให้เนื้อแห้งและกรอบ
    - เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
    - การให้ 13-13-21 เหมาะสำหรับมะขามเทศที่มีผลรุ่นเดียวกันทั้งต้น  หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วต้นมักโทรมจึงต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้น (เรียกใบอ่อน) กลับคืนมาโดยเร็วแล้วเข้าสู่วงรอบการบำรุงใหม่                   
    - การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันหรือประเภททะวายทยอยออก แบบไม่มีรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่จัดไปแล้วต้นไม่โทรม  ใน 8-24-24 เป็นปุ๋ยประเภทสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ซึ่งจะส่งผลให้กิ่งที่ยังไม่ออกดอกติดผลเกิดอาการอั้นแล้วออกดอกติดผลเป็นผลรุ่นใหม่ขึ้นมาอีกได้
    - ให้ฮอร์โมนน้ำดำ. กับ แคลเซียม โบรอน. เดือนละ 1 ครั้ง  จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์อยู่เสมอซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตคุ๊ณภ่าพดี  
        




มะขามเทศ

ชื่อสามัญ Manila Tamarind หรือ Madas Tamarind
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pithecellabium dulce, Baneth.
ลักษณะต้น เป็นไม้เนื้อแข็ง มีหนามที่ลำต้น
ใบ เล็ก สีเขียว บาง รูปร่างกลม-กลมรี
ดอก เป็นช่อแบบแพนิเคิล (panicle)
ออกดอก ประมาณเดือนตุลาคม ทยอยบานเรื่อย ๆ
ผลแก่ ประมาณเดือนธันวาคม ต่อเนื่องไปจนถึงมีนาคม
ลักษณะฝัก

โค้งเป็นวงกลม หรือเกือบวงกลม หรือโค้งเป็นวงแบบสปริง เปลือกฝักสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีชมพู-แดง-แดงเข้ม
เนื้อฝัก สีขาว-สีชมพู-แดงเรื่อ ๆ
เมล็ด เล็กสีดำ


สภาพแวดล้อม
มะขามเทศเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในเกือบทุกสภาพพื้นที่ ทนสภาพแล้ง และทนดินเค็ม แต่ถ้าจะปลูกแบบเป็นการค้า ต้องคำนึงถึงแหล่งน้ำ และตลาด เป็นสำคัญเพราะฝักที่มีคุณภาพดีต้องมีการดูแลเรื่องการให้น้ำอย่างพอเพียง นอกจากนี้แล้วการขนส่งผลผลิตจากแหล่งปลูกไปยังตลาดต้องทำได้สะดวก เพราะฝักมะขามเทศที่เก็บมาแล้วจะเก็บได้ไม่นาน จะเน่าเสีย ต้องรีบขายทันที 

เทคนิคการตอนกิ่งมะขามเทศ
ต้องควั่นกิ่งที่บริเวณใต้ตาประมาณ 1 นิ้ว ใช้มีดคมควั่นเปลือกนอกแล้วลอกออกให้รอยควั่นกว้างประมาณ 1 นิ้ว แล้วใช้ขุยมะพร้าวแช่น้ำหมาด ๆ พอรอยแผล โดยใช้ถุงพลาสติกหุ้ม ใช้เชือกผูกหัวและท้ายมัดให้แน่น ทิ้งไว้อย่างนั้นโดยไม่ต้องรดน้ำ ประมาณ 20-25 วัน โดยใช้หลักพิจารณาว่าเป็นกิ่งเล็กหรือกิ่งใหญ่ ถ้ากิ่งเล็กก็ประมาณ 20วัน ถ้ากิ่งใหญ่ก็เลื่อนเป็น 24-25 วัน จึงตัดไปปักชำ เมื่อตัดกิ่งตอนจากต้นลงถุงเพาะชำ จะต้องทิ้งไว้อีกประมาณ 2 อาทิตย์ จึงนำไปปลูกได้  การตอนควรทำในช่วงฤดูฝนจะได้ผลดี


การปลูก
การเตรียมดิน
ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดอย่างน้อย 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ตากดินไว้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ ผสมดินปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ประมาณหลุมละ 2-3 ปุ๋ยกี๋
การปลูก มะขามเทศสามารถปลูกได้ทั้งแบบยกร่องและเป็นพื้นที่ราบ แบบยกร่องและเป็นพื้นที่ราบ แบบยกร่องจะใช้ระยะปลูกประมาณ 8-10 x 8-10 เมตร ใน 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 16-25 ต้น ส่วนในพื้นที่ราบจะใช้ระยะปลูกประมาณ 10-12 x 10-12 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 10-16 ต้น


การปฏิบัติดูแลรักษา

การให้น้ำ

ควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอทั้งในมะขามเทศต้นเล็กและต้นโต สำหรับมะขามเทศต้นโตควรงดให้น้ำในช่วงก่อนออกดอกเช่นเดียวกับไม้ผลชนิดอื่น ๆ เพื่อให้มะขามเทศพักตัวสะสมอาหารเตรียมความพร้อมที่จะออกดอก และเมื่อมะขามเทศติดดอกออกฝักแล้ว จึงเริ่มให้น้ำตามปกติ แต่ควรระวังในช่วงที่ฝักเริ่มแก่ เพราะถ้าให้น้ำในช่วงนี้มากเกินไปจะทำให้คุณภาพฝักไม่ดี ฝักแตกเร็วขึ้นเมื่อเนื้อไม่แน่นและรสชาติไม่ดี

การใส่ปุ๋ย

แบ่งออกเป็น 3 ช่วงที่สำคัญคือ
  1. หลังจากเก็บผลผลิตและตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16
  2. ก่อนออกดอก ใส่ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนต่ำ ๆ เช่น 8-24-24 9-24-24
  3. ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ในช่วงฝักเริ่มแก่ เพื่อปรับปรุงคุณภาพเนื้อให้มีรสชาติดีขึ้น

เทคนิคการทำให้ออกก่อนฤดู
หลังจากตัดแต่งกิ่งไปแล้ว ในเดือนตุลาคม ก็เริ่มอดน้ำหรือปล่อยน้ำออกจากร่องสวน ถ้าอากาศแห้งจะใช้เวลา 20-25 วัน จึงเริ่มปล่อยน้ำเข้าร่องสวน แล้วให้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 เพื่อเร่งสร้างตาดอก

มะขามเทศจะเริ่มออกดอกในเดือนพฤศจิกายน ใช้ฮอร์โมนเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดอกติดฝักมากขึ้น และช่วงออกดอกนี้ จะมีการฉีดพ่นแลนเนท 1-2 ครั้ง เพื่อป้องกันหนอนเจาะดอก โดยผสมกับสารป้องกันเชื้อราด้วย เมื่อมะขามเทศติดฝักแล้ว ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 บำรุงต้นและทำให้ติดฝักดก และเก็บเกี่ยวฝักได้ ประมาณเดือนธันวาคม-มกราคม ทยอยเก็บได้เรื่อย ๆ หลายครั้งซึ่งขายได้ราคาดีมาก เพราะปกติมะขามเทศจะเก็บเกี่ยวผลได้ในช่วงมีนาคม-เมษายน ดังนั้น ช่วงที่มะขามเทศออกก่อนฤดู จะขายได้ราคาถึงกิโลกรัมละ 80-100 บาท (ในซูเปอร์มาร์เก็ตที่กรุงเทพฯ ราคา 120 บาท) ส่วนช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ราคากิโลกรัมละ 30-50 บาท 

การบำรุงดินโดยการปลูกมะขามเทศ
การปลูกมะขามเทศถือว่าเป็นวิธีบำรุงดินแนวทางหนึ่ง, เนื่องจากความเป็นพืชตระกูลถั่ว, มีใบไม่ใหญ่เกินไปจึงสลายตัวได้ง่ายเมื่อฝนตกหรือเปียกชื้น เราอาจปลูกมะขามเทศเพื่อหวังการขายฝักมะขามเทศมัน เช่น พันธุ์ฝักใหญ่ไร้หนาม, ซึ่งฝักใหญ่สม่ำเสมอทั้งต้น, การผลิตอาหารเลี้ยงต้นได้มากก็ต้องมีใบมาก, เราก็ปล่อยให้ทั้งต้นมีใบมาก แต่เมื่อมีใบรุ่นใหม่ทดแทนเพียงพอแล้ว ใบแก่ก็จะค่อย ๆ ร่วงหล่นลงพื้นใต้ต้น เราก็กวาดทั้งใบแห้งผสมกับเศษดิน, และปุ๋ยอินทรีย์ต่าง ๆ ไปตากแห้งแล้วบรรจุถุงขายได้

หรือปลูกมะขามเทศตามแนวรั้ว, ตามคันนา, ใบที่ร่วงหล่นลงไปในไร่นาก็ทำหน้าที่เป็นวัถตุบำรุงดินโดยอัตโนมัติ สำหรับป่าที่เสื่อมโทรมรอการฟื้นฟูสามารถเพิ่มความสมบูรณ์ให้มากขึ้นโดยการใช้เมล็ดมะขามเทศหว่านกระจายไปบาง ๆ ในส่วนป่า พอได้ฝนเมล็ดก็จะงอกแล้วแทงต้น สูงขึ้นมารับแสงแดดเบื้องบน ใบของมะขามเทศจะกลายเป็นอาหารสัตว์ในกรณีของมะขามเทศหนามกุดหรือหนามนิ่มหรือไร้หนาม

เมื่อเติบโตพอก็ออกฝักกลายเป็นอาหารของนก ค้างคาว หนู กระรอก กระแต และของคน เมื่ออยู่ในป่าก็เพิ่มสีสันของป่าโดยมีสัตว์ต่าง ๆ มาคอยกินฝักแก่ นกจะรู้ดีและเลือกลงกินต้นที่มีรสมัน, หรือฝักมีรสฝาดน้อย การปลูกเป็นการค้าจึงต้องมีการขับไล่นกเอี้ยงและนกอื่น ๆ ที่ลงมาแย่งกินผลผลิต แต่ในสวนนกนั้นการปลูกมะขามเทศมันไว้จะได้ทั้งอาหารนก, และการบำรุงดินรอบข้างไปพร้อมกันถ้าป่าต้นน้ำมีพืชถั่วมาก, น้ำก็มีปุ๋ยมากด้วย 

ข้อจำกัดเรื่องมะขามเทศเน่าเสียเร็ว
ในสภาวะปัจจุบัน ตลาดมะขามเทศมันฝักใหญ่ ยังไปได้ดีมีราคาสูง และราคาสูงมากเมื่อผลิตได้นอกฤดู แต่มีข้อเสียบ้าง คือ เมื่อเก็บฝักมาแล้ว ต้องรีบขายโดยเร็ว หรือระหว่างการขนส่งมายังตลาด ต้องอยู่ในอากาศเย็น เพราะผลผลิตจะเสียได้ง่าย คือ เปลือกจะแห้ง และเนื้อจะเน่ารสชาติเปลี่ยนไปไม่น่ารับประทาน ซึ่งข้อจำกัดนี้ ทำให้ผู้ปลูกมะขามเทศต้องคิดตัดสินใจให้ดีหากจะขยายพื้นที่ปลูกแล้ว จะมีปัญหาเรื่องการเก็บฝัก ต้องมีการจัดการเรื่องการเก็บเกี่ยวให้ถึงตลาดอย่างรวเร็วจะขายได้ราคาดี ส่วนเรื่องอื่น ๆ ยังไม่มีปัญหามากนัก

ประโยชน์ทางอ้อมของมะขามเทศยังมีมาก เช่น ปลูกในระบบ "วนเกษตร" ซึ่งหมายถึงระบบการจัดการจัดการที่ดินโดยอาศัยการป่าไม้เป็นหลักร่วมกับการเกษตรทุกแขนง การปลูกเป็นพันธุ์ไม้เพื่อฟื้นฟูสภาพดินที่เสื่อมโทรม เนื่องจากมะขามเทศเป็นพืชตระกูลถั่ว ปลูกเป็นแนวกันลมและทำรั้ว ใช้เป็นอาหารสัตว์ก็ได้ และสุดท้ายใช้ฝักเป็นอาหาร


โรคและแมลง
เนื่องจากมะขามเทศเป็นไม้ผลที่มีปัญหาเรื่องโรคและแมลงน้อยในช่วงออกดอกใหม่ ๆ ใช้สารฆ่าแมลงผสมสารกันราฉีดพ่น เพื่อให้ติดฝักดก ส่วนปัญหาเรื่อง แมลงกัดกินผิวและเมล็ด ใช้สารไมแทคพ่นทุก 15-20 วัน และหยุดเมื่อฝักมะขามเทศเริ่มแตก ส่วนโรคราใช้สารยูคาร์โฟนฉีดพ่น

การพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงจึงควรพ่นเท่าที่จำเป็นจริง ๆ และควรหยุดก่อนเก็บฝักอย่างน้อย 15 วัน เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้างในฝัก ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เพราะมะขามเทศเมื่อใกล้เก็บเกี่ยวเนื้อจะปริพองทำให้เปลือกของฝักแตกออก สารเคมีสัมผัสได้โดยตรงเมื่อทำการพ่นสารกำจัดศัตรูพืช 


http://www.doae.go.th/library/html/detail/manila/manila4.htm




มะขามเทศ พืชเศรษฐกิจ  'ตัวใหม่ของเมืองแม่กลอง'


เกษตรกรในเมืองแม่กลอง พึ่งจะทดลองปลูกมะขามเทศ เมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา โดยการโค่นล้มมะพร้าวที่มีสภาพเสื่อมโทรม เนื่องจากน้ำเค็มรุกล้ำ ไม่สามารถผลิตน้ำตาลมะพร้าวได้ และพื้นที่ที่เป็นบ่อกุ้งเดิม ที่อดีตเคยเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำและเลิกลาไป จึงหันมาปลูกมะขามเทศทดแทน ส่วนมากนิยมปลูกในเขตอำเภอเมืองสมุทรสงคราม เช่น ที่ตำบลลาดใหญ่ และตำบลนางตะเคียน โดยที่ตำบลลาดใหญ่ปลูกประมาณ 200 กว่าไร่ และตำบลนางตะเคียนปลูกกันประมาณ 100 กว่าไร่


มะขามเทศที่นิยมปลูกกันก็มีพันธุ์สีชมพู, พันธุ์ปุยฝ้าย, พันธุ์ไร้หนาม และพันธุ์ทองห่อ โดยนำพันธุ์มาจากจังหวัดสระบุรี แล้วขยายพันธุ์ต่อๆ กันไป ขายในราคากิ่งละ 20-30 บาท ส่วนผลผลิตต่อไร่ประมาณ 500-700 กิโลกรัมต่อ 1 ปี ราคาขายกิโลกรัมละ 50-60 บาท 1 ไร่ จะได้เงินประมาณ 40,000-60,000 บาทต่อ 1 ปี มะขามเทศจึงเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่น่าจับตามอง


นายบุญลือ จันทร์เจริญ อายุ 60 ปี อยู่บ้านเลขที่ 41/1 หมู่ 6 ต. นางตะเคียน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม ซึ่งยึดอาชีพปลูกมะขามเทศ 10 กว่าปีมาแล้ว พร้อมยังเป็นพ่อค้าคนกลางรับซื้อมะขามเทศจากรายอื่นๆ ไปส่งตลาดอีกทอดหนึ่ง เปิดเผยว่า เริ่มปลูกมะขามเทศมาตั้งแต่ปี 2540 โดยใช้เนื้อที่ทดลองปลูกครั้งแรกประมาณ 5 ไร่ เมื่อได้ผลเป็นที่น่าพอใจจึงได้เช่าที่ดินของผู้อื่นปลูกเพิ่มเติมอีกประมาณ 10 กว่าไร่ ลงทุนไปประมาณ 2 แสนกว่าบาท โดยซื้อพันธุ์ทองห่อมาจากจังหวัดสระบุรี มาในราคากิ่งละ 50 บาท และในปัจจุบันกำลังปลูกพันธุ์ไร้หนาม เพราะดูแลได้ง่าย การรักษา และการเก็บผลผลิตก็ง่ายตามไปด้วย


นายบุญลือเล่าว่า มีรายได้โดยเฉลี่ย หากผลผลิตเก็บได้ประมาณวัน ละ 100 กิโลกรัม ราคากิโลกรัม 60 บาท เป็นเงินวันละ 6,000 บาท แต่ต้องเสียค่าแรงงานช่วยเก็บผลผลิตถึง 4 คนๆ ละ 150-200 บาทต่อวัน และคนงานที่ต้องคัดเลือกมะขามเทศอีก 1-2 คน คนละประมาณ 100-150 บาท ต่อวัน เพราะมะขามเทศมีเกรด 1-2-3 จึงต้องคัดไซส์ เมื่อหักค่าแรงงาน ค่าสารเคมี ค่าปุ๋ย และค่าขนส่ง จะเหลือกำไรสุทธิประมาณ วันละ 2,000 บาท ต่อ 100 กิโลกรัม


นายบุญลือเปิดเผยถึงวิธีการปลูกมะขามเทศว่า ไม่มีอะไรยุ่งยากไปกว่าการปลูกพืชชนิดอื่น เริ่มแรกจากการเตรียมพื้นที่ ซึ่งพื้นที่เหมาะสม ก็ควรเป็นร่องสวน ให้มีน้ำไหลถ่ายเทได้ ขุดหลุมกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร และลึกประมาณ 10 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยด้วยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก แล้วนำกิ่งชำลงปลูก กลบโคนให้เป็นโคกเล็กน้อย หมั่นดูแลรดน้ำวันเว้นวัน ให้ปุ๋ย 15 วันต่อ 1 ครั้ง ประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี มะขามเทศจะเริ่มให้ผลผลิตซึ่งชุดแรกจะให้ผลผลิตไม่มากนัก ต้องเร่งน้ำเร่งปุ๋ย จนเมื่ออายุได้ 3-4 ปี จะให้ผลผลิตอย่างเต็มที่ โดยจะให้ผลผลิตมากที่สุดในเดือนมีนาคมของทุกปี


ศัตรูของมะขามเทศที่สำคัญคืออากาศ เพราะมะขามเทศชอบอากาศ หนาวเย็น ไม่ชอบอากาศชื้นและร้อน เพราะทำให้ฝักแตกก่อนกำหนด และขึ้นรา   ส่งผลให้แมลงเข้าไปรบกวนเจาะฝักให้เสียหาย ขายไม่ได้ราคา ส่วนโรคก็มีเชื้อราเทคโนตและราสนิม ทำให้ฝักฝ่อและเชื้อราทั้ง 2 ชนิด ยังทำลายใบ ลำต้น และราก ตลอดจนแมลงวันทองที่คอยมาทำลายฝักให้เสียหาย สิ่งที่น่าวิตกก็คือผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรมและโรงผลิตกระแสไฟฟ้าของจังหวัดใกล้เคียง ทำให้เกิดอากาศเสีย เกิดฝนกรด ส่งผลให้มะขามเทศเป็น ราสนิม ผลผลิตก็ลดน้อยลงไปด้วย


สิ่งที่ผู้ปลูกมะขามเทศต้องพึงระวังก็คือ ต้องดูแลไม่ให้ต้นมะขามเทศ สูงมากเกินไป เพราะถ้ายิ่งสูงมากการดูแลและการเก็บผลผลิตจะยิ่งยุ่งยากมากขึ้น ต้องหมั่นตัดแต่ง ตอนกิ่ง และลำต้นให้อยู่ในระดับพอดี ส่วยปุ๋ยที่ ใช้ควรเป็นปุ๋ยธรรมชาติ ถ้าเป็นปุ๋ยเคมี ต้องเป็นสูตร 16-16-16 ใส่ไปประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อต้น 15 วัน ใส่ 1 ครั้ง และควรใช้สารสะเดา ซึ่งเป็นสารธรรมชาติ กำจัดแมลงศัตรู ตั้งแต่ออกใบอ่อนไม่ควรใช้สารเคมีตอนออกฝัก เพราะอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้


ปัญหาของมะขามเทศที่พบก็คือ ฝักเก็บไว้ได้ไม่คงทน ต้องจำหน่ายหรือเก็บขายวันต่อวัน ไม่เกิน 2 วัน หากเกินกว่านั้น ฝักจะเน่าและขึ้นรา รับประทานไม่ได้ ซึ่งสร้างความยุ่งยากให้กับเกษตรกรและพ่อค้าแม่ค้าที่รับไปจำหน่าย เพราะถ้าขายไม่ออก ก็จะขาดทุน และเกษตรกรส่วนใหญ่ในระหว่างออกฝัก ต้องใช้สารเคมีเป็นจำนวนมาก เนื่องจากศัตรูพืชคอยรบกวนมาก หากใช้สารเคมีที่มาจากธรรมชาติ ผู้บริโภคก็จะปลอดภัย


นายบุญลือ กล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งที่เกษตรกรต้องการก็คือ อยากให้กรมส่งเสริมการเกษตรและเจ้าหน้าที่เกษตรจังหวัด อำเภอ หรือตำบล ดูแลแนะนำเกษตรกรบ้างในเรื่องของการเพาะปลูก การใช้สารเคมี การให้ปุ๋ยและน้ำ เพราะเกษตรกรบางรายยังไม่มีความรู้ที่ถูกต้อง ไม่ใช่ปล่อยให้ปลูกกันเองไปตามบุญตามกรรม ไม่มีการพัฒนาให้ดีขึ้น รวมทั้งการจัดหาตลาด ซึ่งในปัจจุบันตลาดรับซื้อมะขามเทศยังไม่กว้างนัก จำหน่ายได้ในจังหวัดใกล้เคียงเช่น สมุทรสาคร เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม และกรุงเทพมหานคร เท่านั้น หากมีตลาดจำหน่ายมากขึ้นเชื่อว่า เกษตรกรในเมืองแม่กลองคงทดลองปลูกมะขามเทศกันมากขึ้น ส่งผลให้เป็นการกระจายรายได้เพิ่มขึ้นให้กับเกษตรกรเอง และจังหวัดสมุทรสงครามด้วย เกษตรกรรายใดต้องการจะทดลองปลูกมะขามเทศดูบ้าง สอบถามรายละเอียดได้ที่คุณบุญลือ จันทร์เจริญ บ้านเลขที่ 41/1 หมู่ 6 ต.นางตะเคียน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม 75000 หรือที่สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม ถนนเอกชัย ตำบลลาดใหญ่ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม 75000 โทร.034-711-711 ในวันและเวลาราชการ และถ้าจะซื้อมะขามเทศที่สดและอร่อยต้องที่ตลาดแม่กลองเท่านั้น ณ เวลานี้ เป็นฤดู ที่มะขามเทศกำลังมีจำหน่าย หากเดือนเมษายนผ่านพ้นไปแล้ว จะไม่มีมะขามเทศแม่กลองให้ชิม ลิ้มลองกัน

http://www.ryt9.com/s/bmnd/790067 




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©