-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 374 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวเกษตร19





แมลงนูนหลวง ศัตรูอ้อย



ขณะนี้พื้นที่เพาะปลูก "อ้อย" ในจังหวัดกาญจนบุรีและราชบุรี กำลังเดือดร้อน เนื่องจากมี "แมลงนูนหลวง" ระบาดอย่างรุนแรง...

นายสุเทพ สหายา นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร บอกกับ "หลายชีวิต" ว่า...การระบาดของแมลงดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานนับสิบปี โดยอยู่ในช่วง ปลายฝนถึงช่วงแล้ง ของทุกปี ซึ่งทางสำนักวิจัยพัฒนาฯได้ส่งทีมนักวิชาการออกไปตรวจสอบแล้ว พบว่า การระบาดไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในไร่อ้อย แต่ยังลุกลามสร้างความเสียหายแก่พืชชนิดอื่น อาทิ ยางพารา มันสำปะหลัง สับปะรด มันแกว ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน ไม้ผล รวมทั้ง ต้นยูคาลิปตัส

สำหรับ "แมลงนูนหลวง" เป็นด้วงปีกแข็ง มักพบการระบาดในสภาพดินทรายที่มี pH 6-6.5 และสภาพดินที่มีอินทรียวัตถุ 0.56-0.84% การเข้าทำลายอ้อย มักปรากฏเป็นหย่อมไม่แพร่กระจาย พื้นที่ใดค่อนข้างลุ่มเมื่อมีฝนตกน้ำขัง ตัวหนอนของแมลงนูนหลวงจะเข้าทำลายได้น้อย แต่ถ้าอ้อยปลูกในที่ดอนมักถูกหนอนเข้าทำลายที่ บางครั้ง "ตายทั้งกอ"

...โดยสังเกตได้จาก ไข่ ที่มันปล่อยทิ้งไว้ตามพื้นดิน ซึ่งมีลักษณะสีขาวค่อนข้างกลม คล้ายไข่จิ้งจก เปลือกแข็ง ขนาดใหญ่ มีความยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร กว้าง 4 มิลลิเมตร หรืออาจพบ ตัวหนอน ซึ่งลำตัวมีสีขาวนวลโดยตลอดและมีรูปโค้ง หัวกะโหลกเป็นสีน้ำตาลมีขนาดใหญ่และแข็ง ปากมีเขี้ยวใหญ่แข็งแรง

ขา เจริญเติบโตดีมองเห็นได้ชัดเจน แต่มักไม่ ค่อยใช้เดิน โตเต็มที่มีขนาด 65-70 มิลลิเมตร กว้าง 20-25 มิลลิเมตร หัวกะโหลกกว้าง 10 มิลลิเมตร พวกมันจะมุดลงดินลึกประมาณ 30-60 เซนติเมตร ก่อนเข้าสู่ดักแด้ ซึ่งมีลักษณะสีขาวนวลหรือสีครีม แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 เดือน จึงออกเป็น ตัวแก่ ลักษณะสีน้ำตาลเข้ม หนวด ขา ปีกติดอยู่ข้างลำตัว เห็นได้ชัดเจน

...ในช่วงตัวเต็มวัยปีกจะแข็งค่อนข้างใหญ่ ขนาดยาวประมาณ 32-40 มิลลิเมตร กว้าง 15-20 มิลลิเมตร ส่วนท้ายของปีกมีจุดสีขาวด้านละจุด ตัวผู้ มีสีน้ำตาลดำตลอดลำตัว ส่วน ตัวเมีย มีสีน้ำตาลปนเทา สีอ่อนกว่าตัวผู้ทั้งด้านบนและด้านล่างของลำตัว หลังออกจาก ดักแด้พอเข้าสู่ช่วงเวลาพลบค่ำ พวกมันจะบินว่อนเพื่อจับคู่ ใช้เวลาผสมพันธุ์ประมาณ 15-30 นาที จากนั้นอีก 14-25 วัน ตัวเมียจะบินลงสู่พื้นเพื่อวางไข่ลงดินลึกประมาณ 15 เซนติเมตร ต่อเนื่อง 3 วัน จำนวน 15-28 ฟอง

ใช้ระยะฟักไข่ 15-28 วัน จึงฟักออกมาเป็น ตัวหนอน ซึ่งอาหารของมันในวัยนี้ก็คือรากอ้อยใต้ผืนดิน เมื่ออ้อยไม่มีรากหาอาหาร จึงส่งผลให้ยืนต้นตายยกกอ ส่วนหนอนจะลอกคราบ 3 ครั้ง ในวัยสุดท้ายประมาณต้นเดือนสิงหาคม ซึ่งระยะนี้หนอนจะเจริญเติบโตรวดเร็ว กินจุมาก เป็นระยะที่สร้างความเสียหายให้แก่รากอ้อยได้มากที่สุด

และเพื่อเป็นการลดปัญหาดังกล่าวเกษตรกรควรใช้แนวทางการผสมผสาน ทั้งไถพรวนดินหลายๆครั้ง รวมทั้งจับตัวเต็มวัย ที่เด็กรุ่นใหม่จะไม่ค่อยรู้กันว่า สามารถนำมาประกอบอาหาร "เปิบ" ได้อร่อยแท้...

เพ็ญพิชญา เตียว

ที่มา  :  ไทยรัฐ









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1197 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©