-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 160 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวเกษตร6





ชาวไร่มันยอมเสี่ยงปลูก  ราคาล่อใจ


ชาวไร่มันสำปะหลัง ยอมเสี่ยงวิกฤติภัยแล้ง ปัญหาเพลี้ยแป้งระบาดไม่หยุด แต่ราคาหัวมันอยู่ในเกณฑ์ดี กก.ละ 2 บาทเศษ เริ่มทยอยลงปลูกมันกันแล้ว หลายรายปรับระบบปลูกยอมทุ่มทุนติดสปริงเกลอร์ฉีดน้ำ ได้ทั้งความชุ่มชื้นต้นมันและชำระล้างเพลี้ยแป้ง
 
นายคำพันธ์ ตระการจันทร์ เกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลัง จังหวัดบุรีรัมย์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงสถานการณ์การระบาดของเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลัง ว่าขณะนี้ยังมีการระบาดอย่างรุนแรงอยู่เพราะว่าเป็นช่วงฤดูแล้งฝนไม่ตกไม่มีน้ำฝนมาชะล้าง เวลานี้เป็นช่วงที่ชาวไร่กำลังเก็บเกี่ยวหัวมันพบว่าผลผลิตที่ได้ลดลงไปมากจากปกติได้ไร่ละ 7-8 ตัน หรือสูงสุด 16-17 ตัน แต่เวลานี้เหลือผลผลิตเพียงไร่ละ 3-4 ตันเท่านั้น
 
อย่างไรก็ดีแม้จะประสบปัญหาทั้งเพลี้ยแป้งระบาดและภัยแล้งกระหน่ำ พื้นที่ปลูกมันที่เก็บเกี่ยวไปแล้ว ชาวไร่ยังคงไถเพื่อจะลงปลูกมันสำปะหลังต่อไป เนื่องจากปีนี้ขายหัวมันสดได้ราคาดีคือกก.ละ 2.10-2.20 บาท ซึ่งถือเป็นราคาที่ชาวไร่พอมีกำไร เพราะต้นทุนผลิตหัวมันสดเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณกก.ละ 1.50 บาท 
 
"เพลี้ยแป้งที่ระบาดในไร่มันสำปะหลัง หากมีฝนตกลงมาจะช่วยชะล้างเพลี้ยแป้งออกไปได้ แต่ช่วงนี้ฝนไม่ตกลงมาเลยเพลี้ยแป้งจึงค่อนข้างระบาดหนาแน่น และพื้นที่เก็บเกี่ยวแล้วจะปลูกใหม่ค่อนข้างลำบาก แต่จากการที่หัวมันสดราคาสูง ชาวไร่บางรายที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำยอมลงทุนติดตั้งระบบสปริงเกลอร์ให้น้ำในไร่มันสำปะหลังเพราะช่วยให้ดินชุ่มชื้นและชำระเพลี้ยแป้ง แต่ทำกันได้ไม่มากเพราะพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือนอกจากฝนไม่ตกแล้วปริมาณน้ำในแหล่งเก็บน้ำไม่เพียงพอด้วย"
 
นายบุญถึง มีแย้มภัก เกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา กล่าวทำนองเดียวกันว่าปัญหาเพลี้ยแป้งระบาดในไร่มันสำปะหลังยังไม่ทุเลาลงแต่อย่างใด แต่ชาวไร่พบวิธีกำจัดเพลี้ยคือการฉีดน้ำ เพราะเพลี้ยแป้งจะกลัวน้ำจะเห็นได้จากช่วงฝนตกการระบาดของเพลี้ยจะเบาบางลง ชาวไร่จึงติดสปริงเกลอร์ฉีดน้ำให้กับไร่มันสำปะหลังเพื่อลดการระบาดลง
 
ด้านนายเสรี เด่นวรลักษณ์ นายกสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย กล่าวว่าปีนี้ชาวไร่จะขายหัวมันสดได้ราคาดีอย่างแน่นอน โดยราคาน่าจะเกินราคาประกันรายได้ที่รัฐบาลกำหนดไว้ที่กก.ละ 1.70 บาท เพราะว่าตลาดต่างประเทศยังคงมีความต้องการผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอย่างต่อเนื่องทั้งมันเส้น และแป้งมันสำปะหลัง และมันอัดเม็ด โดยมันเส้นจีนยังมีความต้องการสูงและราคาเสนอซื้อสูงขึ้นจากช่วงก่อนเทศกาลตรุษจีน ปัจจุบันอยู่ที่ตันละ 180 ดอลลาร์สหรัฐฯ สูงขึ้นมาตันละ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ แป้งมันสำปะหลังตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐฯ สูงขึ้นตันละ 10-20 ดอลลาร์สหรัฐฯ
 ส่วนการแก้ปัญหาเพลี้ยแป้งระบาดในไร่มันสำปะหลัง เมื่อเร็วๆ นี้คณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลังแห่งชาติ ที่มีนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐเอกชนเพื่อหาแนวทางการกำจัดเพลี้ยแป้งและช่วยเหลือชาวไร่ที่ประสบเพลี้ยแป้งระบาด ทั้งการชดเชยความเสียหายและจัดหาท่อนพันธุ์มันให้ปลูกใหม่ คาดว่าคณะอนุกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันเร็วๆ นี้
 
นายเสรี กล่าวด้วยว่าสต๊อกมันเส้นของรัฐบาล ตามโครงการรับจำนำหัวมันสดปี 2551/52 ที่ปัจจุบันยังคงเหลืออยู่ประมาณ 1.4 ล้านตัน เชื่อว่าหากการระบายออกรัฐบาลจะไม่ขาดทุน เพราะภาวะราคามันเส้นค่อนข้างดี แต่ทั้งนี้ช่วงเวลาการระบายรัฐต้องดูช่วงจังหวะให้เหมาะสมไม่ควรระบายเวลาที่ผลผลิตออกมาก 
 
นายอภิชาติ จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงสถานการณ์ภัยแล้งมีแนวโน้มว่าช่วงต้นฤดูฝนปีนี้ฝนจะตกในเกณฑ์น้อย จึงอยากให้เกษตรกรลดการทำนาปรังว่า โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีแนวโน้มที่จะทำนาปรังกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้การใช้น้ำเพิ่มขึ้นและกระทบต่อการวางแผนใช้น้ำที่วางไว้ สำหรับสถานการณ์เพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2552/53 ทั่วประเทศ กำหนดไว้ 12.28 ล้านไร่ แยกเป็นนาปรัง 9.5 ล้านไร่  พืชไร่-พืชผัก 2.78 ล้าน


ที่มา  :  ฐานเศรษฐกิจ









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1289 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©