-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 205 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวเกษตร4





'ง่วนสูน'เล็งลงทุนเครื่องเทศในพม่า

กลุ่มบริษัทง่วนสูนฯ  สบช่องอาฟต้าภาษี 0% เล็งลงทุนปลูกพริกไทย เครื่องเทศ ตั้งโรงงานผลิตที่พม่า หนีปัญหาค่าแรงงานไทยแพงเกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นที่ให้ราคาดีกว่า วัตถุดิบไม่พอป้อนโรงงาน เผยหากสำเร็จขยายเพิ่มที่ลาว เวียดนาม และกัมพูชา  ตั้งเป้าบุกตลาดยุโรปและตะวันออกกลาง ชี้ตลาดเครื่องเทศไม่หวือหวา แต่ไปได้เรื่อยๆ
นายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ  กรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัท ง่วนสูน จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์พริกไทย "ตรามือ"  เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า หลังจากที่นายสันติ วิลาสศักดานนท์  ในฐานะประธานสภาธุรกิจไทย-พม่า ได้แนะนำให้เปิดตลาดสมุนไพร เพราะมองว่าธุรกิจจะเติบโตขึ้นอีกมาก รับกระแสคนรักสุขภาพ  พร้อมกับเชิญชวนไปดูลู่ทางการลงทุนที่ประเทศพม่า ส่วนตัวมีความเห็นด้วย เนื่องจากปัจจุบันบริษัทมีปัญหาเรื่องวัตถุดิบเพราะมีแหล่งผลิตวัตถุดิบอยู่ที่เดียวคือที่จังหวัดจันทบุรี และปัจจุบันลดลงไปมาก เพราะเกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้ราคาดีกว่า อีกทั้งขาดแคลนแรงงานเก็บเกี่ยว

ดังนั้นเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งทางด้านวัตถุดิบแล้ว จึงเห็นว่าการไปลงทุนเพาะปลูกพริกไทย ขมิ้น และเครื่องเทศชนิดอื่นๆ ที่พม่าน่าจะเป็นโอกาสที่ดี อีกทั้งรัฐบาลพม่าพร้อมที่จะให้การสนับสนุนด้านพื้นที่เพาะปลูกอย่างน้อย 50-100 ไร่ ในพืชแต่ละชนิด  คาดว่าจะใช้พื้นที่บริเวณทางภาคใต้ของย่างกุ้ง ติดกับชายแดนไทย เพื่อความสะดวกในขนสินค้าเข้า-ออก เพราะหากโรงงานยังไม่เสร็จเรียบร้อย จะนำวัตถุดิบเข้ามาผลิตในโรงงานที่ไทย ส่วนการลงทุนจะซื้อเครื่องจักรและสร้างอาคารประมาณ 20 ล้านบาท คาดว่าจะใช้กำลังการผลิตประมาณ 300 ตัน/ปี ยิ่งหากพม่าเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟต้า) ปี2558 จะยิ่งเป็นประโยชน์ต่อบริษัทและประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง 

 "ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนมากนัก ต้องรอประมาณเดือนพฤษภาคม หรือเดือนกรกฎาคม คณะสภาธุรกิจไทย-พม่า จะเดินทางไปเจรจาธุรกิจอีกรอบ ซึ่งจะไปพร้อมกับกลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป เพราะเป็นธุรกิจที่พม่าต้องการให้คนไทยเข้าไปร่วมทุนด้วย คาดว่าจะมีความชัดเจนมากกว่านี้ หากตกลงเรียบร้อยก็สามารถลงทุนได้ทันทีภายในปีนี้"

อย่างไรก็ดีการไปลงทุนในครั้งนี้จะต้องดูสิทธิประโยชน์ที่พม่าจะให้ด้วยเช่นภาษีรายได้กลับประเทศไทยจะยกเว้นให้หรือไม่ หากได้รับการยกเว้นจะได้รับประโยชน์เต็มที่ ที่สำคัญจะถือโอกาสศึกษาโอกาสและลู่ทางการค้าการลงทุน เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วย หากประสบความสำเร็จจากการลงทุนในพม่าแล้ว ยังมองประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ให้เป็นพันธมิตร เช่น เวียดนาม ลาว กัมพูชา เพื่อใช้ประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าวเป็นฐานผลิตขยายตลาดไปยุโรปและตะวันออกกลาง

"พริกไทยดำ และเครื่องเทศ เป็นตลาดเล็ก ไม่เหมือนน้ำปลา ที่ขาดไม่ได้ อีกทั้งเป็นพืชที่จะต้องใช้แรงงานจำนวนมากในการเก็บแต่ละเม็ด ไม่สามารถใช้เครื่องจักรได้ ที่ผ่านมาบริษัทอยู่ในชั้นนำของเมืองไทยเพราะได้ทำธุรกิจมานานและมีความเชี่ยวชาญในการนำเทคโนโลยีมาใช้ ส่วนคู่แข่งก็มีจำนวนมาก เช่น กลุ่มโอท็อป เพราะผลิตง่าย  ต้นทุนไม่สูงมาก แต่ที่คู่แข่งไม่สามารถทำได้ก็คือทำอย่างไรที่จะทำให้พริกไทยยังคงกลิ่นหอมได้เมื่อใช้ปรุงอาหารในแต่ละครั้ง"

สำหรับผลประกอบการของกลุ่มบริษัทง่วนสูนในแต่ละปีจะเติบโตเฉลี่ยประมาณ 10-15% โดยในปีที่ผ่านมามีรายได้ประมาณ  400-500 ล้านบาท ปัจจุบันจำหน่ายลูกค้าทั้งในประเทศและอีกกว่า 20 ประเทศทั่วโลก โดยส่งออกในนาม ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอกชิลลี่


ที่มา  :  ฐานเศรษฐกิจ









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1305 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©