-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 339 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกษตรต่างแดน20





กำลังปรับปรุงครับ


ความรู้และประสบการณ์ จากการไปศึกษาดูงานประเทศไต้หวัน 

 โดย นายอาภากร บุตรจันทา          

ในการเดินทางไปศึกษาดูงานประเทศไต้หวัน เป็นการเดินไปต่างประเทศครั้งแรกของผมเลยนะครับที่ต้องทำ หนังสือเดินทางและวีซ่าเข้าประเทศ ก็ดีใจนะครับที่ได้มีโอกาสดี ๆ แบบนี้ในชีวิต ได้ไปเห็นอะไรที่กว้างขึ้นและได้เรียนรู้อะไรหลาย ๆ อย่าง ตั้งแต่ในช่วงที่กำลังเดินทางจนไปถึงจุดหมายปลายทาง ได้รู้ถึงการได้พลาดเที่ยวบิน (ตกเครื่องบิน) ก็มีอะไรหลายอย่างที่เราต้องมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าจริง ๆ ครับ  ทำให้ผมได้คิดถึงสุภาษิตจีนที่ว่า “อ่านหนังสือหมื่นเล่มหรือจะสู้เดินทางหมื่นลี้จริง ๆ ครับ” การเดินทางไปสภาพพื้นที่จริง ทำให้เราได้รู้ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม เป็นการเปิดโลกกระทัดเหมือนกับ กบที่ออกจากกะลาคลอบเลยครับ ทำให้เราได้คิดอะไรมากเพิ่มขึ้น อยากให้โอกาสดี ๆ แบบนี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ ครับ และอยากให้ทุกคนได้มีโอกาสแบบนี้เช่นกัน จากที่ได้ไปเรียนรู้ก็ได้ความรู้หลาย ๆ ด้านครับ ได้แก่ 1. ด้านประวัติศาสตร์การเกษตร               

จากการที่ได้เข้าไปศึกษาพิพิธภัณฑ์การเกษตรในอาคาร CHU-YAN HALL ของ Ping Tung University ทำให้ผู้เขียนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์การทำนาข้าว ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดง เครื่องมือ เครื่องใช้ในการเกษตร ตั้งแต่สมัยก่อนที่เทคโนโลยีทางการเกษตรยังใช้แรงงานคนและสัตว์เป็นหลัก เช่น รหัสวิดน้ำ ไถ คราด เป็นต้น และมีวิวัฒนาการ ปรับปรุง และคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีการจัดหมวดหมู่ของเครื่องมือต่าง ๆ ได้อย่างลงตัว               

นอกจากการจัดเครื่องมือแล้ว ยังมีการจำลองวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนสมัยก่อน เช่น การจัดห้องรับแขก ห้องนอน ห้องครัว และห้องเก็บเครื่องมือ เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษ               

จากการสังเกต วิถีชีวิตชาวนา วัฒนธรรมเกี่ยวกับข้าวและความเป็นอยู่ของประเทศไต้หวันสมัยก่อนก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับวิถีชีวิตชาวนาของไทยค่อนข้างมาก เช่น ภายในพิพิธภัณฑ์ นอกจากแสดงเครื่องมือที่ใช้ทำการเกษตรแล้ว ยังมีเครื่องมือเก็บรักษาข้าวเปลือก เครื่องมือกะเทาะข้าวเปลือกหรือเครื่องสีข้าวมือหมุนนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือดักปลาและสัตว์ต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นอาหารในการดำรงชีวิต และยังมีเครื่องมือทอผ้า ทอเสื่อ เป็นเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งก็คือการดำรงปัจจัยสี่      


2. ด้านการผลิตปุ๋ยอินทรีย์               
การเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรได้ก่อนให้เกิดปัญหามลพิษของมูลสัตว์เป็นจำนวนมาก จึงได้มีการคิดค้นโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และเพื่อเป็นการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่ดีจึงนำมูลสัตว์ต่าง ๆ มาทำเป็นปุ๋ยเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงบำรุงดิน ทำให้ดินร่วนซุย เหมาะแก่การปลูกพืช ซึ่งปุ๋ยอินทรีย์มีกระบวนการผลิตดังนี้               
1) นำมูลสัตว์ต่าง ๆ มากองรวมกันไว้ในโรงปุ๋ย               
2) หมักมูลสัตว์ที่ความร้อน 80-90 องศาเซลเซียส เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ป่นเปื้อนในมูลสัตว์    
3) กลับกองปุ๋ยทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันการอับชื้นและอาจทำให้เกิดแก๊ส   
4) เมื่อหมักได้ที่ (ประมาณ 1 เดือน) จะได้ปุ๋ยที่พร้อมนำไปใช้               
5) บรรจุใส่กระสอบ กระสอบละ 25 กิโลกรัม จำหน่ายในราคา 100 เหรียญไต้หวัน

**หมายเหตุ               
1) ในโรงหมักปุ๋ยอินทรีย์ต้องมีท่อระบายน้ำที่ดี เพื่อระบายน้ำและความชื้นที่ออกมาจากมูลสัตว์ ให้ออกไปข้างนอกกองปุ๋ย เพื่อให้กองปุ๋ยแห้งไวไว               
2) ต้องมีท่อระบายอากาศซึ่งเป็นอากาศที่สร้างขึ้นมาจากการใช้เครื่องดูดอากาศข้างนอกเพื่อเข้ามาระบายทางด้านร่างของโรงหมักปุ๋ย จะช่วยระบายความร้อนของปุ๋ยได้ดีมาก                นับว่าเป็นการจัดการกับมูลสัตว์ต่าง ๆ เพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและช่วยเพิ่มมูลค่าของมูลสัตว์ที่ไม่มีค่าอะไร ถือเป็นการแก้ไขปัญหาที่ถูกจุดและประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง 


3. ด้านการปลูกพืชเศรษฐกิจ               
3.1 ข้าว  
ข้าวถือเป็นอาหารหลักเหมือนกันสำหรับคนในประเทศไต้หวัน เพราะจากการสังเกตตอนที่ไปศึกษาดูงานก็จะรับประทานข้าวทุกมื้อ วันละ 3 มื้อ ข้าวจึงมีความสำคัญ และทางประเทศไต้หวัน ก็มีการปลูกข้าวอย่างมากมายและมีสายพันธุ์ข้าวที่เป็นของไต้หวัน นอกจากนี้ยังมีขบวนการจัดการข้าวอย่างเต็มรูปแบบ คือ ตั้งแต่การเตรียมพื้นที่นาเพื่อทำการปลูกข้าว การคัดพันธุ์เมล็ดข้าว การเพาะกล้าต้นข้าว การปลูกข้าว การเก็บเมล็ดข้าวจากนา การเก็บรักษาเมล็ดข้าวเปลือก การผลิตกะเทาะเปลือกเป็นข้าวสาร การบรรจุหีบห่อ จนไปสู่ตลาดผู้บริโภค และมีการใช้เทคโนโลยี เครื่องผ่อนแรงอย่างเต็มรูปแบบ ก็ถือได้ว่าเป็นผลผลิตที่มีคุณภาพ ข้าวที่มีคุณภาพเกิดมาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้     
   
1) การเพาะปลูกข้าวในเวลาที่เหมาะสมตามช่วงฤดูกาล               
2) การเก็บเมล็ดข้าวเปลือกจากนาในช่วงอายุที่เหมาะสมคือเมล็ดที่แก่จัด          
3) การอบข้าวเปลือกให้แห้ง คือ อบข้าวที่อุณหภูมิ 40-50 องศาเซลเซียส ประมาณ 24 ชั่วโมง ก็จะเหลืออุณหภูมิสุดท้ายประมาณ 12-13 องศาเซลเซียส              
4) เก็บข้าวเปลือกที่อบแล้วไว้ในอุณหภูมิ 18-20 องศาเซลเซียส               

จากการปฏิบัติตามปัจจัยทั้ง 4 ข้อนี้ ส่งผลให้ข้าวเปลือกมีคุณภาพคือ เมื่อกะเทาะเปลือกเป็นข้าวสาร จะได้ข้าวสารที่มีคุณภาพ เมล็ดไม่หักหรือหักน้อยมาก ทั้งนี้สายพันธุ์ข้าวและสรีระของเมล็ดข้าวก็มีผลต่อการหักของเมล็ดข้าวด้วยเช่นกัน ถ้าข้าวเมล็ดป้อมสั้นก็หักน้อย ถ้าข้าวเมล็ดผอมยาวก็อาจจะหักง่าย               

นอกจากนี้ยังพบอีกว่าการทำนาแล้วขายข้าวเปลือกก็ไม่มีทางที่จะได้กำไรเลยหรือได้ก็น้อยมาก ผิดกับการขายข้าวสาร เช่น ที่ประเทศไต้หวัน ซื้อข้าวเปลือกราคา 13 เหรียญ/กก. แต่ขายข้าวสารในราคา 30 เหรียญ/กก. ยิ่งถ้าเป็นข้าวกล้องราคาอยู่ที่ 50 เหรียญ/กก.จากข้อมูลดังกล่าวพิสูจน์ได้เลยว่าหากชาวนาทำนาแล้วขายข้าวเปลือก ชาวนาคงจะลืมตาอ้าปากได้ยากมากไม่ว่าประเทศไทยหรือประเทศไต้หวัน หรือประเทศอื่น ๆ ก็ตาม               


3.2 มะละกอ                                
มะละกอเป็นพืชที่สามารถเป็นได้ทั้งผักและผลไม้ ในประเทศไทยโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมบริโภคส้มตำกันมาก แต่ว่าที่ประเทศไต้หวัน โดยส่วนมากแล้วจะผลิตเพื่อเป็นผลไม้บริโภคมากกว่าส่วนที่เป็นผักหรือมะละกอดิบจะส่งออกเป็นส่วนใหญ่ แต่สิ่งที่ได้พบสำหรับการปลูกและการจัดการมะละกอที่ประเทศไต้หวันก็คือ                               
1) การเตรียมแปลงปลูกอย่างพิถีพิถัน ตั้งแต่การเตรียมดิน การไถ่กลบ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน การยกร่อง การคลุมร่องด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันไม่ให้วัชพืชเจริญเติบโต การกางมุ้งเพื่อป้องกัน นก และ แมลง                               
2) การปลูกต้นกล้าตามร่องปลูก และมีเทคนิคการบิดต้นมะละกอตอนที่ต้นมะละกอมีความสูงประมาณ 60 ซม. เพื่อให้ต้นเอนราบไม่ตั้งตรง ข้อนี้มีประโยชน์ในเรื่องของความสะดวกในการเก็บเกี่ยวผลผลิตและเป็นการชะลอการเติบโตของต้นมะละกอให้ช้ากว่าปกติ และให้ผลผลิตนาน        
3) การให้น้ำ เป็นการให้น้ำแบบหยดน้ำ การให้น้ำต้องหมั่นสังเกต ถ้าดินมีความชื้นอยู่แล้วก็ไม่ต้องรดน้ำเพราะจะทำให้รากเน่า จากการคุยกับเจ้าของสวนจะต้องมีความชำนาญในการสังเกต และดูความเหมาะสมในการให้น้ำ                               
4) การเก็บมะละกอจากสวน จะใช้ผ้ารองตะกร้าเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวมะละกอกระทบกับตะกร้าโดยตรงจะทำให้ผิวมะละกอไม่สวย รวมไปถึงการบรรจุกล่องก็จะห่อโฟม และรองกล่องด้วยกระดาษที่เป็นฝอย ๆ เพื่อป้องกันการกระแทกขณะขนส่ง               

จากความละเอียดต่าง ๆ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย จึงได้มะละกอที่สวยงาม และมีการบรรจุกล่องตามขนาดแต่ละขนาดเพื่อจำหน่ายในราคาที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม  


                  
3.3 กล้วยหอม                                
กล้วยหอมเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายและจะสังเกตได้ว่าการปลูกกล้วยหอมที่ประเทศไต้หวัน จะปลูกแทนที่ในแปลงมะละกอเพื่อเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างคุ้มค่า และการควบคุมไม่ให้ต้นกล้วยมีหน่อหรือลูก เพื่อความเจริญเติบโตที่ดีของต้นแม่ เพื่อจะให้ลูกผลของกล้วยที่มีคุณภาพ มีผลขนาดใหญ่ และติดผลดี  และมีการจัดเก็บไว้ในห้องเย็นเพื่อเก็บถนอมและยืดอายุของผลไม้ไว้ขายนอกฤดูกาลที่หายากจะได้ราคาดี               


3.4 ผัก                               
การปลูกผัก ก็มีการปลูกผักหลากหลายชนิด และเป็นผักกางมุ้งเป็นส่วนใหญ่ การปลูกผักใช้วิธีการหว่าน และเมื่อผักเริ่มงอกและเจริญเติบโตขึ้นมาจะมีการถอนต้นผักบางต้นออกเพื่อไม่ให้ต้นผักมีความหนาแน่นจนเกินไป จะทำให้ผักสามารถเจริญเติบโตได้ดี และให้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ         


3.5 พืชชนิดอื่น ๆ                               
นอกจากพืชทั้ง 4 ชนิดข้างต้นแล้ว ประเทศไต้หวันยังมีการปลูกพืชผักผลไม้ชนิดอื่นอีกมากมายหลายชนิด เช่น มะม่วง ชมพู่ ฝรั่ง พุธทรา ลำไย มะเขือเทศ ฯลฯ 


4. ด้านการบริหารจัดการ                 
ในแต่ละหน่วยงาน แต่ละสมาคมจะมีการบริหารงานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน บางที่ก็เหมือนกัน คือมีการจัดการกับผลผลิตตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนถึงการจำหน่ายผลผลิต ระบบการบรรจุหีบห่อที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน               

การจัดสรรพื้นที่ที่มีความเหมาะสมกับการปลูกพืชแต่ละชนิดตามสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เช่น ตามพื้นที่ลุ่มจะปลูกข้าวและหมาก ตามพื้นที่ลาดชันจะปลูกผลไม้ เป็นต้น 


5. ด้านภูมิทัศน์               
ถึงแม้ประเทศไต้หวันจะเป็นประเทศเล็ก ๆ เมื่อเทียบกับประเทศไทย แต่ก็มีการแบ่ง Zone การวางผังเมืองได้ดี บ้านเมืองมีความสะอาด ถนนหนทาง มีการเดินทางที่สะดวก และคำนึงถึงสภาพแวดล้อมด้วย เช่น การขุดเจาะอุโมงค์ก็จะตัดถนนผ่านภูเขาเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังเน้นความปลอดภัยในการเดินทาง อาทิ รถบรรทุกก็จะบรรทุกของเท่านั้นซึ่งต่างจากเมืองไทยที่ปล่อยให้คนนั่งอัดกันอยู่ท้ายรถ ซึ่งเป็นอันตรายต่อคนนั่ง ทั้งยังมีการติดป้ายโฆษณาต่าง ๆ อย่างเป็นระเบียบเดียวกัน มองดูแล้วเป็นระเบียบสวยงามในยามค่ำคืน  



www.alro.go.th/alro/ess/upload/32/pf32_1324_1.doc
-









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1609 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©