-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 309 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกษตรต่างแดน15





ฆ่าหนูช่วยชาติ
ที่ผ่านมา บังคลาเทศเขาได้แจกรางวัลให้กับชาวนาที่สามารถฆ่าหนูได้มากที่สุดค่ะ ซึ่งผู้ชนะสามารถคร่าชีวิตไปได้มากถึง 83,000 ตัว โดยตัดหางหนูเก็บไว้เป็นหลักฐานตอนรับรางวัลค่ะ

ตั้งแต่ที่บังคลาเทศได้ออกแคมเปญระดับประเทศ รณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันกำจัดหนูเพื่อป้องกันพืชผลทางการเกษตรและลดการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกล่าวว่า บังคลาเทศนำเข้าอาหารกว่า 3 ล้านตันทุกปี ในขณะที่พืชผลทางการเกษตรถูกสัตว์จำพวกหนูทำลาย1.5 - 2 ล้านตันต่อปีค่ะ

งานนี้รัฐบาลบังคลาเทศเขาจริงจังมากค่ะ ขอให้ประชาชนทุกคนโดยเฉพาะชาวนาถือว่าการฆ่าหนูเป็นกีฬาอย่างหนึ่ง และยังมีการ " เทรน " วิธีฆ่าให้กับชาวนาและนักเรียนด้วย  

สำหรับผู้ชนะรายการนี้มีชื่อว่า  Mokhairul Islamh อายุ 40 ปีค่ะ สามารถฆ่าหนูไปได้ 83,450 ตัวตลอดระยะเวลา 9 เดือนตั้งแต่เริ่มแคมเปญในจังหวัด Gazipur โดยเขาได้ให้สัมภาษณ์กับสมาคมนักข่าวหลังจากที่รับรางวัลเป็นโทรทัศน์สี 14 นิ้วและประกาศนียบัตร ท่ามกลางงานเฉลิมฉลองที่ทางรัฐจัดให้โดยมีชาวนาและข้าราชการกว่า 500 คนห้อมล้อมว่า


“ ผมรู้สึกดีใจมากครับที่ได้รับเกียรตินี้ ไม่เคยคิดเลยว่ารัฐบาลจะให้รางวัล ตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นมาก และผมจะฆ่าต่อไปเรื่อยๆครับ ” Islamh สัญญา


ทั้งนี้ Islam บอกเคล็ดลับการฆ่าของเขาว่าเป็นเพราะเขาวางยาเบื่อหนูในฟาร์มสัตว์ปีกของเขา ซึ่งการลดลงของหนูช่วยลดค่าใช้จ่ายอาหารสัตว์ลดลงด้วย จากเมื่อก่อนที่ต้องใช้อาหารสัตว์ 33 ถุงต่อสัปดาห์ ตอนนี้ใช้ไม่ถึง 30 ถุงค่ะ เนื่องจากไม่มีหนูมาแย่งกิน


แหล่งที่มา: 
http://www.msnbc.msn.com/id/33094180/ns/world_news-asiapacific/?GT1=43001





สู่สำนึกธรรมชาติ เกษตรกรรม
ซิมเป มูรากามิ เป็นชาวบังคลาเทศ ทำงานเป็นอาสาสมัครในหน่วยงาน NGO ในบังคลาเทศทำงานเกี่ยวกับการทดลองและอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ซิมเป มูรากามิ ได้เข้าร่วมในงานสัมมนาที่ไร่ของ ฟูกูโอกะ เมื่อปี 2532 และได้นำเอาวิธีการทำเกษตรในแบบของ ฟูกูโอกะ มาใช้ในบังคลาเทศ ลักษณะของภูมิประเทศจะอยู่ในเขตร้อน ทำให้วิธีการทำเกษตรในแบบของ ฟูกูโอกะที่นำมาใช้นั้นมีปัญหาเพราะสภาพภูมิประเทศที่ต่างกัน จึงทดลองและเรียนรู้ธรรมชาติเพื่อหาความเหมาะสมกับการทำเกษตรในเขตร้อน

ในการทำการเกษตรนั้นเป็นประดิษฐกรรมที่มนุษย์เราสร้างขึ้นเพื่อเรียนแบบธรรมชาติ แต่ไม่สามารถเรียนแบบระบบของธรรมชาติได้ ซึ่งการเรียนแบบนี้เองก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายที่ไม่เกิดในป่าธรรมชาติจริง ทำให้การทำการเกษตรได้ผลผลิตไม่คุ้มค่ากับการลงทุน สิ่งสำคัญในการทำการเกษตรนั้นคือต้องเคารพกฎเกณฑ์ธรรมชาติ ปัญหาของการทำการเกษตรที่เกิดขึ้นนั้น เพราะมนุษย์นั้นเพิกเฉยไม่เคารพกฎเกณฑ์ธรรมชาติ เราจะต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์ธรรมชาติ และแยกหรือหาความต่างระหว่างเกษตรกรรมกับธรรมชาติให้ได้ จากนั้นค่อยปรับเปลี่ยนและปรับปรุงการเกษตรให้ได้คล้ายคลึงธรรมชาติมากที่สุด ปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะค่อยๆลดลงและ หมดไปในการทำการเกษตร

กฎข้อสำคัญสำหรับเกษตรกรรม
1. แสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานสำคัญในการผลิตคาร์โบไฮเดรท การใช้ประโยชน์สูงสุดจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการผลิตทางการเกษตร
2. พืชสีเขียวเท่านั้นที่สามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตคาร์โบไฮเดรท การใช้ประโยชน์นี้จะทำได้มากน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนของพืชสีเขียว
3. แหล่งที่มาของความสมบูรณ์ของดินคือ อินทรียวัตถุที่มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ การป้อนอินทรีวัตถุให้กับดินจึงจำเป็นอย่างมากในการเกษตร
4. สิ่งมีชีวิตทั้งมวลมีความสัมพันธ์ต่อกันในธรรมชาติ
ในการทำเกษตรกรรมให้ได้ผลคุ้มค่ากับการลงทุนนั้นจะต้องมีการนำกฎทั้ง 4 ข้อ นั้นมาใช้ในการทำการเกษตรให้ได้มากที่สุด จะต้องมีการศึกษาทดลองเพื่อให้เกิดความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่การผลิต และจะเห็นได้ว่าความแตกต่างในแต่เขตของระบบนิเวศนั้น จะต้องมีวิธีการทำเกษตรที่แตกต่างกันเพื่อความสมดุลของแต่ละระบบนิเวศนั้นๆ ระบบนิเวศในเขตร้อนมีลักษณะที่รุนแรงแต่มีดุลยภาพที่ละเอียดอ่อน เกษตรกรจะต้องรีบสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสม สามารถที่จะนำพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติให้ได้เต็มที่ และต้องไม่ทำลายสมดุลทางนิเวศนั้น ถ้าหากเราสร้างระบบนิเวศในเขตร้อนได้เหมาะสมผลิตผลทางการเกษตรจะสูงกว่าเขตอบอุ่นมาก

เกษตรกรรมเป็นประดิษฐกรรมที่มนุษย์เราสร้างแต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เกษตรกรรมไม่ได้อยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติสอนเราว่าอารยธรรมต่างๆรุ่งเรืองแล้วดับไปเพราะความล้มเหลวในการปฏิบัติต่อธรรมชาติ อารยธรรมสามารถผสมพันธุ์พืชได้สำเร็จ แต่ทิ้งทะเลทรายไว้ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นในอดีตและยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน ป่าธรรมชาติถูกมนุษย์ทำลายและการทำเกษตรที่ไม่เหมาะสมทำลายระบบนิเวศ เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อม มนุษย์เราควรจะเข้าใจได้แล้วว่าการทำการเกษตรตามแบบแผนที่ไม่ถูกต้อง จะทำลายรากฐานในระบบนิเวศอันเป็นรากฐานของมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายมากในระบบนิเวศเขตร้อน

ดิน คือ วัตถุธรรมชาติที่เกิดจากการแปรสภาพทางกายภาพและทางเคมีของหิน และแร่ธาตุต่าง ๆ รวมตัวกับอินทรียวัตถุ ที่สลายตัวจากซากพืชและซากสัตว์ ดินประกอบด้วยแร่ธาตุที่เป็นของแข็ง อินทรียวัตถุ น้ำ และอากาศที่มีสัดส่วนแตกต่างกันออกไป การเกิดขึ้นของดินเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำร่วมกันของปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ พืช และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ต่อวัตถุต้นกำเนิดของดิน ในสภาพพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้น “ดิน” ในที่แห่งหนึ่งจึงอาจเหมือนหรือต่างไปจากดินในที่อีกแห่งหนึ่งได้ ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของปัจจัยเหล่านี้ ซึ่งมีความมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละบริเวณส่งผลให้ดินมีลักษณะเด่นเฉพาะตัว และเมื่อปัจจัยเปลี่ยนไป ดินจะมีลักษณะหรือสมบัติต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป น้ำในดิน น้ำในดิน คือ น้ำที่อยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดิน มีความสำคัญมากต่อการปลูกพืช เนื่องจากน้ำในดินมีสารละลายของเกลือแร่ธาตุอาหารของพืช ดังนั้น จึงมักเรียกน้ำในดินว่า สารละลายดิน ซึ่งพืชจะดูดเข้าไปทางรากเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ภายในพืช ถ้าปริมาณน้ำในดินลดลงถึงจุด ๆ หนึ่ง จนรากพืชไม่สามารถดูดน้ำขึ้นไปได้ พืชจะแสดงอาการเหี่ยวเฉาและตายในที่สุด แต่ถ้าปริมาณน้ำในดินมีมากเกินไปจะมีผลทำให้ปริมาณช่องว่างในดินลดลงไปด้วย เนื่องจากน้ำไปแทรกอยู่ตามรูพรุนของดิน รากพืชจะขาดออกซิเจนสำหรับหายใจ เมื่อปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน ๆ พืชก็จะตายเช่นเดียวกัน อากาศในดิน อากาศในดินอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดินในส่วนที่ไม่มีน้ำ อากาศในดินมีส่วนประกอบแตกต่างไปจากอากาศในชั้นบรรยากาศ เนื่องจากปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นองค์ประกอบของอากาศในดินมีมากกว่าในชั้นบรรยากาศและปริมาณของก๊าซออกซิเจนของอากาศในดินมีน้อยกว่าในชั้นบรรยากาศ ซึ่งรากพืชจะใช้เฉพาะก๊าซออกซิเจนเท่านั้นสำหรับการหายใจและการแพร่กระจาย ขยายเซลล์ของรากพืช ดังนั้นจึงต้องมีการจัดการให้ดินมีช่องว่างสำหรับระบายอากาศ

โดยสรุปจึงอาจกล่าวได้ว่า ดินเป็นผลลัพธ์โดยตรงของหิน แร่ ที่สลายตัวผุพังแล้ว ทับถมกันเกิดเป็นวัตถุต้นกำเนิดดิน เมื่อผสมคลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุ และผ่านกระบวนการทางดิน จะปรากฏลักษณะและเกิดเป็นชั้นดินต่างๆ ขึ้น ซึ่งเราสามารถประเมินคุณสมบัติและจำแนกดินออกเป็นชนิดๆ ได้โดยการศึกษาลักษณะ และชั้นดินต่างๆ ที่เรียงต่อเนื่องกันจากข้างบนลงไปข้างล่างจนถึงชั้นหินที่สลายตัวหรือชั้นของวัตถุอื่นๆ

ปัญหาของเกษตรกรรมเคมี เป็นผลเสียหายร้ายแรงกับชาวไร่ชาวนาเป็นการทำลายและต่อต้านธรรมชาติโดยสิ้นเชิง เกิดปัญหาผลพวงมากมายหลายประการ ดินเสื่อมโทรม ต้นทุนสูง ปัญหาศัตรูพืช ปัญหาธรรมชาติ มลพิษในสิ่งแวดล้อม และยังมีปัญหาอื่นๆที่จะตามมาอีกมากมาย ปัญหาทางนิเวศวิทยาที่กล่าวมานั้นเกิดขึ้นเพราะการใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลงในการทำการเกษตร การใช้สารเคมีในการเกษตรเราจะพิจารณาผลกระทบที่เกิดขึ้นทีละประเด็น

ดินเสื่อมโทรม เมื่อมีการใช้สารเคมีปัญหาแรกที่ต้องพบคือดินเสื่อมโทรม เพราะขาดแคลนอินทรีวัตถุในดิน ฮิวมัสลดลง และจุลินทรีย์ลดลงหรือถูกทำลาย ความสมดุลทางเคมีและชีววิทยาในดิน ค่าความเป็นกรด – ด่าง เสียสมดุล ธาตุอาหารหลักของพืชปลดปล่อยออกมาให้พืชนำไปใช้ได้ยากขึ้น พืชที่ปลูกไม่สมบูรณ์ผลผลิตลดลง โครงสร้างดินถูกทำลาย ความสามารถในการกักเก็บน้ำลดลง ความสามารถในการตรึงธาตุอาหารลดลง จุลินทรีย์ลดลง

ปัญหาศัตรูพืช ดินเสื่อมคือดินอ่อนแอเมื่อดินอ่อนแอ พืชก็อ่อนแอและถูกแมลงศัตรูพืชทำลายเสียหาย เกษตรกรใช้ยาฆ่าแมลง แมลงศัตรูธรรมชาติก็ตายด้วย ความสมดุลระบบนิเวศของแมลงเปลี่ยน ทำให้เกิดโรคระบาดกับพืชผลทางการเกษตร

คุณภาพของอาหารด้อยลง การใช้ปุ๋ยและสารเคมีต่างๆ กับพืชที่ปลูก ผลผลิตที่ได้ทั้งคุณภาพและคุณค่าทางอาหารจะลดลง ทั้งรสชาติ การเก็บรักษายาก คุณสมบัติทางยาลดลง วิตามิน โปรตีน และแร่ธาตุ จะน้อยกว่าวิธีการปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี และไม่คำนึงถึงสุขภาพของผู้บริโภค

มลพิษในดิน น้ำ อากาศ และผลผลิต เมื่อใช้สารเคมีในการเกษตร เป็นการสร้างมลพิษในสิ่งแวดล้อมเพราะสารพิษเหล่านั้นจะตกค้างนานกว่า 10 ปี และปนเปื้อนในผลผลิตเมื่อบริโภคก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพเกิดการสะสมในร่างกายทำให้ร่างกายอ่อนแอ เกิดการเสื่อมสูญของเมล็ดพันธุ์พื้นเมืองเพราะการส่งเสริมผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ตอบสนองสารเคมีต่างๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ปลูกพืชเชิงเดี่ยวทำให้เกิดความไม่สมดุลทางนิเวศ

หลักการเกษตรกรรม เมื่อเราเข้าใจเกษตรกรรมเคมีแล้วเข้าใจถึงผลกระทบจากการใช้สารเคมี เราจะต้องเปลี่ยนมาทำเกษตรกรรมธรรมชาติ ต้องอาศัยป่าธรรมชาติเป็นพื้นฐาน เรียนรู้ระบบนิเวศจากป่า ปลูกพืชให้หลากหลาย ผสมผสาน พืชหมุนเวียน ไม้ยืนต้น และเลี้ยงสัตว์เพื่อการเกื้อกูลกัน สร้างดินให้มีชีวิต เปรียบเสมือนการสร้างบ้านให้จุลินทรีย์ นำมูลสัตว์ใส่ในดิน เศษซากพืชซากสัตว์ที่ผ่านการหมักและที่สำคัญจะต้องไม่นำสารพิษใส่ลงในดิโดยเด็ดขาด เท่านี้ก็เป็นการสร้างดินให้มีชีวิต

หลักการบำรุงดินและอนุรักษ์ดิน การปรับปรุงบำรุงดิน การเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน เช่น การใส่ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก การปลูกพืชตระกูลถั่ว การใส่ปูนขาวในดินที่เป็นกรด การแก้ไขพื้นที่ดินเค็มด้วยการระบายน้ำเข้าที่ดิน เป็นต้น

การป้องกันการเสื่อมโทรมของดิน ได้แก่ การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชบังลม การไถพรวนตามแนวระดับ การทำคันดินป้องกันการไหลชะล้างหน้าดิน รวมทั้งการไม่เผาป่าหรือการทำไร่เลื่อนลอย

การให้ความชุ่มชื้นแก่ดิน การระบายน้ำในดินที่มีน้ำขังออกการจัดส่งเข้าสู่ที่ดินและการใช้วัสดุ เช่น หญ้าหรือฟางคลุมหน้าดินจะช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพังทลายหรือการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของหน้าดินนั้น จะทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ติดตามมา เช่น ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ทำให้เกษตรกรต้องซื้อปุ๋ยเคมีมาบำรุงดินเสียค่าใช้จ่ายมหาศาล ตะกอนดินที่ถูกชะล้างทำให้แม่น้ำและปากแม่น้ำตื้นเขิน ต้องขุดลอกใช้เงินเป็นจำนวนมาก เราจึงควรป้องกันไม่ให้ดินพังทลายหรือเสื่อมโทรมซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยการอนุรักษ์ดิน การใช้ที่ดินอย่างถูกต้องเหมาะสม การปลูกพืชควรต้องคำนึงถึงชนิดของพืชที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของดิน การปลูกพืชและการไถพรวนตามแนวระดับเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน นอกจากนี้ควรจะสงวนรักษาที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ไว้ใช้ในกิจการอื่น ๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัย เพราะที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสมในการเพาะปลูกมีอยู่จำนวนน้อย

สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายต้องอาศัยดินในการยังชีพและการเจริญเติบโต ถ้าปราศจากดินก็แทบจะกล่าวได้ว่า ไม่มีสิ่งมีชีวิตเหลืออยู่ในโลกนี้เลย ดินเป็นที่มาของปัจจัย 4 อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคของมนุษย์ ซึ่งอาจเป็นการได้มาโดยทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ พืชต้องอาศัยดินในการเจริญเติบโต ตั้งแต่เริ่มงอกออกจากเมล็ด จนกระทั่งโตให้ดอกให้ผล เนื่องจากดินเป็นสิ่งที่สำคัญสิ่งหนึ่งที่ควบคุมหรือ กำหนดการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นในการปลูกพืช จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของดิน

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดการปลูกพืชต่างระดับ ควรปลูกพืชชนิดใด สารที่ใช้ไล่แมลง การปลูกพืชแนวกันลมให้ได้ผลคุมค่าและอื่นๆที่เป็นประโยชน์อีกมากมาย สามารถหาได้ในหนังสือสู่สำนึกธรรมชาติ เป็นแนวคิดเกษตรกรรมธรรมชาติสู่การปฏิบัติ โดยยึดหลักของธรรมชาติเป็นที่ตั้ง











สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1436 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©