-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 308 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกษตรต่างแดน9





เกษตรสหรัฐ อเมริกา



นศ.ฝึกงานเกษตรในสหรัฐ
สวัสดีครับ

ตอนนี้ก็ได้เวลามาเล่าประสบการณ์ในต่างแดนแล้ว  หลังจากที่ได้ไปใช้ชีวิตมาได้ก็ร่วมครึ่งปีกับการไปฝึกและร่วมแลกเปลี่ยน  ในเรื่องของการทำสวนเกษตรอินทรีย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา  รัฐที่ได้ไปพักอยู่นั้นก็คือ  รัฐอคัลซอ  เป็นรัฐที่อยู่แถวๆ ตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา 


สวนมีชื่อว่า   "ดริปปิ้งสปริง"  (Dripping Spring Garden) เป็นสวนที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก ไม่ได้ใหญ่โตอะไรมากมาย  สวนมีพื้นที่ทั้งหมด 40 เอเคอร์  แต่ว่าใช้ทำสวนทั้งหมดแค่ 5 เอเคอร์โดยพื้นที่ที่เหลือทั้งหมดใช้เป็นพื้นที่ป่า 

ผลผลิตส่วนมากก็จะเป็นดอกไม้เป็นหลักและในส่วนของพืชผักก็จะเน้นขายให้กับลูกค้าสมาชิก CSA (Community Suported Agriculture)


(นี่เป็นกล่องที่ใช้บรรจุพืชผักสำหรับเอาไปส่งให้กับลูกค้า CSA)


และผลลผลิตที่เป็นดอกไม้ทั้งหมดเราก็จะนำไปขายที่ตลาดในเมือง  ซึ่งเป็นตลาดที่ผู้ผลิตได้มาซื้อจากผู้บริโภคโดยตรง  ในหนึ่งสัปดาห์ที่สวนจะไปขายผลผลิตที่ตลาดในเมืองทั้งหมดสามวันคือ  วันอังคาร  วันพฤหัส  และวันเสาร์  ซึ่งช่วงวันเสาร์นี่แหละที่อาสาสมัครอย่างพวกผมจะได้ออกไปช่วยขายผลผลิต  เพราะว่าวันเสาร์จะมีลูกค้ามามากกว่าปกติ  (ซึ่งก็คล้ายๆ กับที่แม่ทาที่เกษตรกรจะนำผลผลิตไปขายเองที่ตลาดในเมือง  โดยที่ผู้ผลิตจะพบกับผู้บริโภคโดยตรง)


สมาชิกทั้งหมดที่ทำงานร่วมกันในสวนก็มีทั้งหมด 6 คน  อันประกอบไปด้วย  ลุงมาร์คและลุงไมค์ทั้งสองคนเป็นเจ้าของสวน และมีอาสาสมัคร 2 คน  โดยเป็นคนจากอเมริกา ชื่อ คริส และแอนโซและอีก 2 คนมาจากโครงการเมซ่า คือ  ผมกับเทเท  จากประเทศไทยกับเปรู  การใช้ชีวิตที่นี่เราอยู่กันแบบครอบครัว  เราจะช่วยกันเปลี่ยนเวรกันทำอาหาร  โดยที่ให้แต่ละคนเขียนความสมัคใจเองว่า  อยากจะทำอาหารมื้อไหน  มันจึงทำให้เราได้กินอาหารที่หลากหลาย  โดยที่อาหารไทยก็ไม่น้อยหน้าใครเลยเหมือนกัน  ซึ่งปกติแล้วโดยส่วนมากหลักจากที่เราเลิกจากการขายผลผลิตแล้วเจ้าของสวนก็มักจะพาเราไปทานอาหารที่ร้านอาหารไทยอยู่เป็นประจำ  เราจะทำงานกันตั้งแต่ช่วงแปดโมงเช้าไปจนถึงหนึ่งทุ่มโดยประมาณ  และช่วงพักกลางวันเราก็จะมีการทำโยคะเพื่อสุขภาพ  โดยปกติแล้วทุกๆ เช้าเขาก็จะมีการนั่งสมาธิและการทำโยคะแบบเบาๆ ก่อนการรับประทานอาหารเช้า

นี่ก็เป็นตารางของการทำงาน


06:00-7:00 ....... นั่งสมาธิและทำโยคะแบบเบาๆ)
07:30-8:00 ....... อาหารเช้า
08:30-13:00 ..... ทำงานช่วงเช้า
13:30-15:00 ..... ทำอาหารกลางวันและพักทำโยคะ
15:30 .............. อาหารกลางวัน
16:00-19:00 ..... งานช่วงบ่าย


และวันหยุดของพวกอาสาสมัครอย่างพวกผมก็คือ  วันอาทิตย์  ส่วนมากเราก็มักจะพักที่บ้านในเมืองเป็นบ้านของพี่ชายคริส


หลังจากที่เราเลิกจากตลาดแล้ว คริสก็จะเป็นคนพาไปเที่ยว และทุกๆ วั นเสาร์เราก็มักจะไปใช้สัญญาณอินเตอร์เนตที่ห้องสมุด  และเป็นที่ที่เราสามารถยืมหนังได้อีกด้วย  โดยที่เจ้าของสวนเขาจะทำบัตรสมาชิกให้  และหากเจ้าของสวนว่างๆ เราก็มักจะไปเยี่ยมชมสวนเกษตรอินทรีย์ของเพื่อนๆ ลุงมาร์คและลุงไมค์



อเมริกาต้องการเกษตร100 ล้าน ต้านโลกร้อน
เวลานี้โลกกำลังเผชิญกับปัญหาหลายประการ ตั้งแต่สภาพอากาศโลกเปลี่ยนแปลงไปจนถึงวิกฤตการณ์ด้านอาหาร ซึ่งเกษตรกร และนักรณรงค์ทางสังคมผู้หนึ่งเชื่อว่า


ทุกคนสามารถช่วยแก้ไขต่างๆ ได้ ด้วยการปลูกผลผลิต เพื่อนำมาเป็นอาหารสำหรับตนเอง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค 

Sharon Astyk นักรณรงค์ทางสังคม ที่พยายามทำงานตามความเชื่อที่ว่านี้ เพราะเชื่อว่าเป็นวิธีนำไปสู่แหล่งอาหารและสุขภาพที่ดีขึ้น และยังสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารโลกได้ด้วย


คุณ Sharon Astyk เชื่อว่า การเกษตรต้องกลับมาเป็นส่วนสำคัญ ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ดังเช่นสมัยก่อน  

เธอเรียกร้องให้คนอเมริกันเริ่มปลูกผลผลิตไว้ทานเอง และว่าอเมริกาต้องการเกษตรกรเพิ่มอีกราว 100 ล้านคน

เมื่อพูดถึงเกษตรกร นักรณรงค์ทางสังคมผู้นี้บอกว่า เธอไม่ได้หมายความว่า ผู้คนจะต้องพากันออกมาจับจองที่ดินผืนใหญ่ ในแถบกลางประเทศซึ่งเป็นพื้นที่การเกษตรขนาดใหญ่  


แต่หมายถึงผู้คนต่างทำสวนหรือแปลงเกษตรขนาดเล็ก ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้คนทั่วโลกทำอยู่ และกำลังแพร่หลายมากขึ้นทั่วอเมริกา


คุณ Sharon Astyk ระบุว่า 85% ของพื้นที่การเกษตรทั่วโลก คือที่ดินผืนเล็กไม่ถึง 32 ไร่ แม้แต่ในสหรัฐเอง การเกษตรขนาดเล็ก ก็เป็นแหล่งผลิตอาหารได้ปริมาณมหาศาล 


แต่คนทั่วไปมักจะเชื่อว่าผลผลิตส่วนใหญ่ ต้องมาจากการเกษตรขนาดใหญ่ คุณ Astyk เขียนไว้ในหนังสือเล่มใหม่ของเธอ A Nation of Farmers ว่า
การเกษตรขนาดเล็ก คือคำตอบของปัญหาต่างๆ ที่โลกเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ตั้งแต่ปัญหาสภาพอากาศโลกเปลี่ยนแปลง ไปจนถึงปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และปัญหาพลังงาน 

เธอบอกว่าการเกษตรขนาดใหญ่นั้นต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงปริมาณมาก และนั่นเป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้สภาพอากาศโลกเปลี่ยนแปลงและเกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งส่งผลสะท้อนกลับให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง


ในหนังสือ A Nation of Farmers คุณ Astyk ยังแนะนำถึงวิธีปลูกพืชผักผลไม้ในแปลงเกษตรเล็กๆ ของตนเอง หรือสวนของชุมชน ซึ่งเป็นที่ดินเล็กจัดสรรให้คนในชุมชน หรือแม้แต่ทำสวนบนดาดฟ้าอาคาร หรือตามระเบียงหรือในกะบะ ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในเมืองต่างๆ  


อย่างไรก็ตาม การจะขยายแนวคิดแปลงเกษตรในเมืองนี้ออกไปได้นั้น สิ่งสำคัญคือการปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการเกษตรของคนอเมริกันเสียก่อน
คือ ต้องทำให้คนทั่วไปเชื่อว่าอาหารควรมาจากน้ำพักน้ำแรงของตนเอง ไม่ใช่รอให้ผู้อื่นจัดหามาให้ 


นักรณรงค์ทางสังคมผู้นี้เชื่อว่าวิธีหนึ่งที่จะช่วยเปลี่ยนทัศนคติของผู้คนได้ คือการเริ่มสอนเด็กเล็กตั้งแต่ในโรงเรียนว่า แนวทางนี้ไม่ใช่ของดั้งเดิม แต่เป็นแนวทางใหม่ที่นำสิ่งดีดีในอดีตมาปรับใช้ เพื่ออนาคตแบบที่เราอยากให้เป็น

คุณ Astyk ยังบอกด้วยนะครับว่า นอกจากการปลูกพืชผักด้วยตนเองเพื่อนำมาเป็นอาหารแล้ว คนอเมริกันยังต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการบริโภคด้วย  


โดยเน้นที่ผลผลิตตามฤดูกาล หรืออาหารที่หาได้ในท้องถิ่น เพื่อจะได้ของที่สดกว่า และไม่ต้องแช่แข็งมากับรถบรรทุกจากที่ไกลๆเป็นเวลานานๆ
สิ่งที่คุณ Sharon Astyk กล่าวมาทั้งหมดนั้น ไม่ได้กล่าวขึ้นลอยๆ แต่เธอได้ลงทุนลงแรงทำด้วยตัวเองและครอบครัวมานาน 9 ปีแล้ว เริ่มจากแปลงเกษตรเล็กๆในรัฐนิวยอร์ค   จนขณะนี้เธอสามารถผลิตนมจากแพะ ไข่จากไก่ ผักเกือบทุกชนิดที่ลูกๆ ช่วยกันปลูกขึ้น และอาหารส่วนใหญ่ที่ได้จากฟาร์มเล็กๆ ของครอบครัว ซึ่งเธอบอกว่า เป็นอาหารที่ดีที่สุด และอร่อยที่สุดสำหรับเธอ


นักรณรงค์ทางสังคมและนักเขียนผู้นี้กล่าวส่งท้ายว่า เธอหวังว่าหนังสือ A Nation of Farmers จะช่วยให้คนทั่วไปเข้าใจถึงความสำคัญของการพึ่งพาตนเองด้านอาหารมากขึ้น  
ซึ่งจะช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่นต่างๆ อุดมสมบูรณ์ และยังช่วยประหยัดทรัพยากรและค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพได้อีกด้วย






หนังสือเรียกร้องให้ยุติโครงการวิจัยปรับปรุงข้าวหอมมะลิไทย
ของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา

โดย เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก (4 พ.ค. 46, 09:57 น.) 
 

 วันที่ 9 พฤศจิกายน 2544

เรื่อง ขอให้ยุติโครงการวิจัยปรับปรุงข้าวหอมมะลิไทยของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา
เรียน ฯพณฯ จอร์จ ดับเบิลยู บุช


ตามที่กระทรวงเกษตรของสหรัฐ (Department of Agricultuer: USDA) โดยศูนย์วิจัยข้าวแห่งชาติเดล บัมเปอร์(Dale Bumpers National Rice Research Centers) ซึ่งมี ดร.เจ. นีล รัทเกอร์ (Dr. J Neil Rutger) ดร.คริส เดเรน ( Dr. Chris Deren) และดร.เจมส์ กิบบอนส์(Dr. James Gibbons) ได้ร่วมกันวิจัยพัฒนาข้าวหอมมะลิไทยเพื่อปลูกในสหรัฐอเมริกา(Stepwise Program for Improvement of Jasmine Rice for the United States)นั้น ชาวนา องค์กรประชาชน และหน่วยงานต่างๆในประเทศไทยเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นไปโดยขัดต่อกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชปี 2542 ละเมิดต่อข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับทรัพยากรพันธุกรรม และขัดต่อหลักจริยธรรมเกี่ยวกับการวิจัย


เชื้อพันธุ์ข้าวหอมมะลิส่วนหนึ่งได้มาจากประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชดังที่ปรากฏหลักฐานคำให้สัมภาษณ์ของ ดร.เจมส์ กิบบอนส์ ในจดหมายข่าวของมหาวิทยาลัยอาร์คันซอส์เมื่อเดือนมกราคม ปี 2542 ในขณะที่เชื้อพันธุ์ข้าวหอมมะลิส่วนหนึ่งถูกนำไปจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติโดยมิชอบเมื่อปี 2538 เนื่องจากไม่ได้มีการลงนามในสัญญาย้ายโอนพันธุกรรม (Matterial Transfer Agreement)


ชาวนา และองค์กรประชาชนในประเทศไทยเห็นว่าการส่งจดหมายแสดงความจำนงย้อนหลังของดร.เจ.นีล รัทเกอร์ และดร.คริส เดเรนไปยังสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติเพื่อให้คำมั่นว่าจะไม่มีการจดสิทธิบัตรและขอรับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาจากข้าวหอมมะลิ ไม่อาจทำให้โครงการวิจัยดังกล่าวเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายไทย และไม่อาจลดผลกระทบของโครงการวิจัยนี้ซึ่งจะเกิดขึ้นต่อชาวนาไทยได้ เนื่องจากถึงแม้นักวิจัยสหรัฐจะไม่จดสิทธิบัตรสายพันธุ์ข้าวดังกล่าว แต่การปลูกข้าวซึ่งพัฒนามาจากการโจรกรรมข้าวหอมมะลิจะทำให้ชาวนาสูญเสียตลาดข้าวหอมมะลิไปอย่างถาวร ดังที่ขณะนี้ประเทศอินเดียได้สูญเสียตลาดข้าวบัสมาติคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 200 ล้านดอลลาร์/ปี อันเป็นผลมาจากการส่งเสริมให้มีการปลูกข้าวและการใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบข้าวบัสมาติในประเทศสหรัฐอเมริกา


ข้าวหอมมะลิเป็นพันธุ์ข้าวซึ่งได้รับการสืบทอดและพัฒนามาโดยชุมชนชาวนาในชนบทรุ่นแล้วรุ่นเล่า ชาวนาไทยมากกว่า 5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสานมีรายได้พอประทังชีวิตจากการปลูกข้าวหอมมะลิ แต่ถึงกระนั้นรายได้ทั้งหมดที่ได้รับก็เฉลี่ยเพียง 200 ดอลลาร์/คน/ปี เท่านั้น การพัฒนาข้าวหอมมะลิของสหรัฐอเมริกาเพื่อแข่งขันกับข้าวหอมมะลิไทย ที่แท้คือการแย่งยึดมรดกทางพันธุกรรมไปจากประเทศไทยแล้วเอาทรัพยากรพันธุกรรมนั้นย้อนมาทำร้ายชาวนายากจนของไทยในที่สุดนั่นเอง ชาวนายากจนของไทยซึ่งมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนจะถูกผลักให้มีมาตรฐานชีวิตที่ย่ำแย่ไปกว่าที่เป็นอยู่


ในความเห็นของเราและอาจจะเป็นความเห็นของประชาคมโลกส่วนใหญ่ การอ้าง "เสรีภาพในการวิจัย" ที่ละเมิดกฎหมายของประเทศอื่น "การจดสิทธิบัตรในสิ่งมีชีวิต" ซึ่งได้มาจากการปล้นสะดมภ์ทรัพยากรชีวภาพประเทศโลกที่สาม และ "การค้าเสรี" ซึ่งทำร้ายชีวิตของคนยากคนจนทั่วโลก มีแต่จะทำให้มาตรฐานทางสังคมและมาตรฐานการครองชีพที่ท่านภาคภูมิใจถูกตั้งคำถามจากประชาชนทั่วโลก


ในฐานะตัวแทนของชาวนายากจน องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชนไทยที่รักและหวงแหนข้าวหอมมะลิ เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลของท่าน


1. ยุติโครงการวิจัยข้าวหอมมะลิไทยซึ่งได้เชื้อพันธุกรรมไปจากประเทศไทยและธนาคารเชื้อพันธุ์พืชระหว่างประเทศโดยไม่ชอบโดยทันที หรือมิฉะนั้นต้องดำเนินการให้กระทรวงเกษตรสหรัฐดำเนินการขออนุญาตการใช้ประโยชน์จากพันธุ์ข้าวหอมมะลิ และทำสัญญากับคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชตามมาตราที่ 52 ของกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชปี 2542 ของไทย


2. ยกเลิกการจดสิทธิบัตรในพันธุ์ข้าว และยกเลิกการอนุญาตให้บริษัทในสหรัฐใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าที่หลอกลวงผู้บริโภคว่าเป็นข้าวหอมมะลิและข้าวบัสมาติของประเทศเอเชีย รวมทั้งทบทวนการให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้มาจากมรดกทางพันธุกรรมและภูมิปัญญาจากประเทศโลกที่สามอื่นๆ


เราขอเรียกร้องให้ท่านดำเนินการหาข้อยุติในเรื่องนี้กับคณะทำงานระดับชาติซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐบาลไทย ทั้งนี้โดยให้หาข้อยุติในกรณีดังกล่าวภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544 ซึ่งเป็นวันที่นายกรัฐมนตรีของไทยพบปะเจรจากับท่านและคณะ

ข้าวหอมมะลิเป็นความภาคภูมิใจของชาวนาและคนไทยทุกคนในประเทศนี้ คนไทยผูกพันกับข้าวมิใช่ด้วยเหตุผลที่ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก แต่เป็นเพราะ "ข้าว" ได้หล่อหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับวิถีชีวิตและจิตวิญญาณของเรา

ชาวนาไทยและองค์กรประชาชนในประเทศไทยจะต่อสู้ทุกวิถีทางเพื่อปกป้องข้าวหอมมะลิของเรามิให้ถูกฉกฉวยและยึดครองไปใช้ประโยชน์อย่างมิชอบ

เราจะใช้มาตรการทางเศรษฐกิจและมาตรการอื่นๆ เท่าที่ฐานะประชาชนในประเทศนี้จะกระทำได้เพื่อตอบโต้การกระทำของกระทรวงเกษตรสหรัฐ ทั้งนี้นับตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2544 เป็นต้นไป หากรัฐบาลสหรัฐเมินเฉยต่อการทบทวนโครงการพัฒนาข้าวหอมมะลิไทยตามข้อเสนอข้างต้น

ขอแสดงความนับถือ


นายวิฑูรย์ บุญชะโด

ลงนามในฐานะตัวแทน
ชาวนาปลูกข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคเหนือ
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคกลาง
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
องค์กรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาไทย
เครือข่ายประชาชนต้านโลกาภิวัฒน์ สมัชชาคนจน

สำเนาส่งถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร




ประชากรผึ้งจำนวนมากในสหรัฐ หายสาบสูญไปอย่างหาสาเหตุไม่ได้
นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาพิจารณาปรากฏการณ์ที่ประชากรผึ้งในสหรัฐมีจำนวนลดลงอย่างมาก กล่าวว่า การพัฒนาต่างๆ มีส่วนในปรากฏการณ์นี้ด้วย นักวิทยาศาสตร์ชี้แจงต่อรัฐสภา สหรัฐเมื่อเร็วๆ นี้ว่าจำนวนของผึ้งที่ลดลงไปนั้นกำลังมีผลคุกคามการผลิต อาหารของสหรัฐที่ต้องอาศัยการทำงาน ของผึ้งในการผสมละอองเกสรดอกไม้ เพื่อให้พืชออกผล

ประชากรผึ้งในสหรัฐเริ่มลดจำนวนลงตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว คุณ Caird Rexroad เจ้าหน้าที่ กระทรวงเกษตรสหรัฐกล่าวว่า บรรดาคนเลี้ยงผึ้งทั่วสหรัฐเริ่มรายงานว่าผึ้งสูญหายไปราว 30-90 เปอร์เซนต์โดยที่ไม่สามารถอธิบายได้


คุณ Caird Rexroad บอกว่าจะสังเกตเห็นได้ว่า ถ้าเดินเท้าเปล่าผ่านดงต้นโคลเวอร์ ก็จะไม่ ถูกผึ้งต่อยอีกต่อไป แม้ว่าการโดนผึ้งต่อยจะไม่ใช่เรื่องดี แต่การที่ได้ทราบว่าผึ้งเหล่านั้นสูญหายไป ยิ่งแย่กว่ากันหลายเท่า คุณ Caird ชี้แจงต่อคณะกรรมการด้านการเกษตรของสภาผู้แทนราษฎร สหรัฐว่า การที่ผึ้งมีจำนวนลดลงกำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเกษตรของสหรัฐ ที่ต้องอาศัย ผึ้งในการผสมเกสรดอกไม้ให้พืชออกผล ความเสียหายนั้นคิดเป็นมูลค่าราว 15,000 ล้านดอลล่าห์. ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้หนักเป็นพิเศษคือ ผู้ปลูกอัลมอนด์, ถั่ว, เบอรี่, ผลไม้ และผักต่างๆ ค่ะ.


เจ้าหน้าที่จากกระทรวงเกษตรของสหรัฐผู้นี้กล่าวต่อไปอีกว่า จำนวนผึ้งที่ลดลงอย่างทันทีทันใดโดยหา สาเหตุไม่ได้นี้ กำลังส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมที่อาศัยผึ้งในการผสมเกสร การผลิตน้ำผึ้ง และการ ผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหารของประเทศอย่างน้อย 30 เปอร์เซนต์ นอกจากนั้น แมลงและเชื้อโรค ต่างๆ ของผึ้งที่เพิ่มขึ้นในระยะไม่กี่สิบปีมานี้ ทำให้อุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผึ้งถึงจุดวิกฤติ


คุณ Caird Rexroad และนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ไม่สามารถอธิบายถึงจำนวนผึ้งที่ลดลง อย่างกระ ทันหันเช่นนี้. แต่สงสัยกันว่าสาเหตุหลักคาดว่าจะเป็นเพราะเห็บ verroa ซึ่งเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่ รุกรานเข้ามาในสหรัฐเมื่อช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 การศึกษาวิจัยของกระทรวงเกษตรสหรัฐ พบว่า เห็บนั้นฆ่าผึ้งโดยกินเป็นอาหาร แพร่เชื้อไวรัส, และสามารถต้านทานยาฆ่าแมลงหลายชนิด ได้นอกจากนี้ยังอาจมีสาเหตุอื่นๆ ที่น่าจะเป็นไปได้อีกเช่น ยาฆ่าแมลง และสารพิษในสิ่งแวดล้อม อื่นๆ การย้ายถิ่นฐาน หรือการที่ระบบภูมิคุ้มกันของผึ้งอ่อนแอลง ตลอดจนไวรัส และแบคทีเรียชนิด ต่างๆ ก็อาจมีส่วนทำให้ผึ้งสาบสูญไปด้วย


นักวิทยาศาสตร์จากรัฐต่างๆ กำลังร่วมกันศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับผึ้ง ขี้ผึ้ง น้ำผึ้ง และละออง เกสรดอกไมจากอาณาจักรผึ้งมากกว่า 100 อาณาจักรทั่วสหรัฐเพื่อหาสาเหตุของการที่ผึ้งหายไป นักวิทยาศาสตร์ลงความเห็นว่าไม่ว่าจะเป็นด้วยสาเหตุใดก็ตาม สหรัฐจำเป็นต้องมีผึ้งพันธุ์ใหม่ที่มี ความต้านทานโรค และผลกระทบจากพยาธิ์ต่างๆ มากขึ้นเพื่อเอาชนะปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และ การพัฒนาผึ้งพันธุ์ใหม่อาจมีความสำคัญต่อการเลี้ยงผึ้งในอนาคตค่ะ


Diana Cox-Foster ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผึ้งที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สมาชิกคนหนึ่งในคณะนักวิทยา ศาสตร์คณะนี้ กล่าวว่า ปัญหานี้กำลังขยายตัว และเป็นเรื่องระดับโลก และกำลังเป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นปัญหาใหญ่


สหรัฐไม่ได้เป็นเพียงประเทศเดียวที่ผึ้งสูญหายไป นักวิจัยแจ้งต่อรัฐสภาสหรัฐว่า แคนาดา และหลายๆ ส่วนในยุโรปก็กำลังประสบปัญหาผึ้งตายโดยอธิบายไม่ได้เช่นเดียวกัน แต่ยังไม่ทราบว่า จะเป็นปรากฏ การณ์ธรรมชาติเดียวกันหรือไม่




สาเหตุที่ทำให้ผึ้งหายไปจากรัง
นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐสันนิษฐานว่า เชื้อไวรัสอย่างหนึ่งอาจเป็นสาเหตุของการที่ฝูงผึ้งที่ให้น้ำผึ้ง มีจำนวนลดลงมากอย่างผิดสังเกตทั่วสหรัฐ และในประเทศอื่นๆ บางประเทศ


นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า เชื้อไวรัสที่เรียกว่า Israeli Acute Paralysis Virus อาจเป็นตัวการที่ทำลาย ฝูงผึ้งดังกล่าว


ไม่กี่ปีมานี้ เป็นที่น่าสังเกตเห็นอย่างแจ้งชัดว่าผึ้งทั่วสหรัฐและในหลายประเทศหายไปจากรวงผึ้งอย่างลึกลับ ปรากฏหารณ์นี้ยังความวิตกอย่างยิ่งแก่บรรดาเกษตรกรซึ่งต้องพึ่งพาอาศัยผึ้งในการผสมเกสรพืชพันธุ์ธัญญาหาร เพื่อจะได้ออกผล ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า อุตสาหกรรมการเกษตรของสหรัฐให้พืชผลทั้งผักและผลไม้ราว 90 เปอร์เซนต์ทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่มีผลกระทบต่ออาหารการกินของคนเรา ย่อมเป็นเรื่องน่าวิตกสำหรับคนทั่วไปรายงานของนักวิทยาศาสตร์ 22 คนที่ทำงานศึกษาวิจัยเรื่องนี้ ค่อนข้องระมัดระวังที่จะไม่ระบุเจาะจงลงไปว่า เชื้อไวรัส Israeli Acute Paralysis Virus หรือเรียกย่อๆ ว่า IAPV เป็นตัวการที่ทำให้ผึ้งหายไป จากรวง นักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะระบุแน่ชัดลงไป แต่ก็พบว่ามีความเกี่ยวโยงกับเชื้อไวรัส Israeli Acute Paralysis Virus กับการที่ผึ้งหายไป


Diana Cox Foster นักวิจัยคนหนึ่งที่เสนอรายงานกล่าวว่า ในการศึกษาเรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์พบว่า เชื้อไวรัสที่เพิ่งพบใหม่ในสหรัฐเชื้อนี้ ดูเหมือนจะมีความเกี่ยวเนื่องกับความผิดปกติที่ฝูงผึ้งในสหรัฐลด จำนวนลงไปอย่างมาก แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร นักวิจัยบอกว่า ปรากฏการณ์นี้มีผลกระทบต่อรวงผึ้งในสหรัฐราว 50-90 เปอร์เซนต์ ผึ้งที่ให้น้ำผึ้งที่เรียกว่า Honey Bee ลดลงไปมากกว่าครึ่งหนึ่ง


การที่ผึ้งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกษตร โดยที่เป็นผู้ผสมเกสรพืชพันธุ์ธัญญาหาร ทำให้นักวิทยา ศาสตร์ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องค้นหาสาเหตุให้พบว่า ผึ้งหายไปได้อย่างไร


นักวิจัยเริ่มค้นหาเชื้อโรคต่างๆ ในตัวผึ้ง และพบว่าในตัวผึ้งมีเชื้อโรคอยู่ 18 ชนิด นักวิจัยใช้เทคนิควิธี ด้านพันธุวิศวกรรม Hi-Tech วิเคราห์ DNA หรือเชื้อพันธุ์ของผึ้งที่เก็บตัวอย่างมาในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งผึ้งที่สุขภาพดี และพืชที่เป็นโรค


นักวิจัยพบว่าทั้งผึ้งของสหรัฐและของออสเตรเลีย มีเชื้อไวรัส Israeli Acute Paralysis Virus โดเด่นที่สุด นอกจากนี้ยังพบในตัวอย่างสารคล้ายวุ้นที่เรียกว่า นมผึ้ง จากจีนบางตัวอย่างด้วย นักวิจัยคิดว่า ด้วยเหตุที่พบเชื้อไวรัสนี้ทั้งในผึ้งสุขภาพดี และผึ้งสุขภาพไม่ดี จึงคิดว่าอาจมีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม อื่นๆ อยู่ด้วย เช่นความแห้งแล้ง บางคนคาดคิดเอาว่า การที่มีสัญญาณคลื่นวิทยุที่หอรับส่งสัญญาณ โทรศัพท์ส่งออกมา อาจเป็นสาเหตุด้วย


John Petti หัวหน้าคณะวิจัยที่กระทรวงเกษตรสหรัฐ ซึ่งร่วมเขียนรายงานนี้ด้วยกล่าวว่า เขาเชื่อว่ามีสาเหตุหลายอย่างรวมกันที่ทำให้ผึ้งหายไป ซึ่งจะต้องทำงานทดสอบอีกหลายอย่างประกอบกัน


นักวิจัยกล่าวว่า การค้นหาให้พบว่าปัจจัยอื่นๆ เหล่านั้นคืออะไรบ้าง มีความสำคัญในการแก้ปัญหาขณะเดียวกันบรรดาผู้เลี้ยงผึ้ง จะต้องระมัดระวังดูแลให้รังผึ้งอยู่ในสภาพถูกสุขอนามัยยิ่งขึ้นด้วย


นักวิจัยกระทรวงเกษตรสหรัฐเตือนว่า ปัญหาเรื่องผึ้งหายไปจากรังนี้ ยังแก้ไขไม่ได้ และว่าจำเป็นต้องมีการค้นคว้าวิจัยกันต่อไปอีกมาก



เกษตรอินทรีย์สหรัฐปลูกน้อย ความต้องการสูง
กระทรวงการเกษตรของสหรัฐอเมริกาเปิดเผยข้อมูลการทำการเกษตรอินทรีย์ในสหรัฐฯมีน้อยกว่าร้อยละ 1 แต่สร้างมูลค่าราว 36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2551


ในขณะที่กระแสของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ ซึ่งผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ที่สามารถผลิตออกมาได้นั้นมีอยู่ในปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับความต้องการ

ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ที่ใช้ในการทำเกษตรแบบอินทรีย์นั้นมีเพียง 4.1 ล้าน เอเคอร์ จากพื้นที่ในการทำการเกษตรทุกประเภททั้งหมดกว่า 922 ล้านเอเคอร์


ผลผลิตทางการเกษตรอินทรีย์จึงไม่สามารถที่จะสนองความต้องการของประชากรในสหรัฐอเมริกาได้ทั้งหมด ในขณะที่ชาวอเมริกันบางส่วนยังคงต้องซื้อผลผลิตที่มีคุณภาพดี แต่ราคาสูง ซึ่งทำให้มีหลายบริษัทในสหรัฐอเมริกาได้นำเข้าสินค้าประเภทนี้จากต่างประเทศ เช่น การนำเข้าสินค้าประเภทถั่วจากประเทศจีน


นอกจากนี้กระทรวงการเกษตรของสหรัฐฯ ยังเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมว่า รัฐที่มีการทำการเกษตรแบบอินทรีย์มากที่สุด คือรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีสัดส่วนการทำการเกษตรถึงร้อยละ 20 และสร้างมูลค่าให้กับรัฐประมาณ 11.5 ล้านเหรียญสหรัฐในปีที่ผ่านมา


ข่าวจาก: THE WALL STREET JOURNAL









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1678 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©