-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 272 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกษตรต่างแดน6





          .... เกษตรอินโดเนเซีย ....






'อิเหนา' เร่งเพิ่มผลผลิตเกษตร  หวังเป็น 'ครัวโลก' ภายใน 20 ปี
เกษตรกรในจังหวัดปาปัวของอินโดนีเซีย รัฐบาลอินโดนีเซียวางแผนเพิ่มผลผลิตภาคการเกษตรของประเทศครั้งใหญ่ โดยจะสนับสนุนให้บรรดานักลงทุนต่างชาติทั้งจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และตะวันออกกลาง รวมทั้ง นักลงทุนในท้องถิ่นได้เข้ามาทำการเกษตรบนที่ดินจำนวนมหาศาลของประเทศซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์แต่อยู่ในเขตชนบทห่างไกล เพื่อช่วยให้อินโดนีเซียกลายเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ หรือ “ ครัวของโลก” ภายในปี 2030
      
ฮิลมาน มานัน ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านจัดสรรที่ดินเพื่อการเกษตรและการจัดการทรัพยากรน้ำ ประจำกระทรวงเกษตรของอินโดนีเซียเปิดเผยที่กรุงจาการ์ตาเมื่อวานนี้ (21)ว่ารัฐบาลอินโดนีเซีย ภายใต้การนำของประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุโธโยโน เพิ่งประกาศยุทธศาสตร์ “เลี้ยงอินโดนีเซีย – จากนั้นเลี้ยงโลก” ที่ต้องการให้มีการพัฒนาที่ดินจำนวนมหาศาลในเขตพื้นที่ชนบทห่างไกลของประเทศ เช่น ในเขตจังหวัดปาปัว และบนเกาะบอร์เนียว ให้กลายเป็นแหล่งผลิตพืชผลทางการเกษตรนานาชนิด
      
เขาชี้ว่า จะต้องผลักดันให้อินโดนีเซียก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรสำคัญ เช่น  ข้าว ข้าวโพด น้ำตาล กาแฟ ปาล์มน้ำมัน รวมทั้งการเป็นแหล่งเลี้ยงกุ้งและผลิตเนื้อสัตว์รายใหญ่ที่สุด เพื่อทำหน้าที่เป็น “ครัวของโลก” ให้ได้ภายในปี 2030 หรือ 20 ปีนับจากนี้
      
การเป็น “ครัวของโลก” ถือเป็นเป้าหมาย “ลำดับต่อไป”ของรัฐบาล หลังจากที่ก่อนหน้านี้  อินโดนีเซียประสบความสำเร็จในการผลิตข้าวได้เพียงพอกับการบริโภคในประเทศมาตั้งแต่ปี 2008 และกลายเป็นผู้ผลิตปาล์มน้ำมันอันดับหนึ่งของโลกมาแล้ว
      
มานัน ระบุว่า พื้นที่แรกที่รัฐบาลอินโดนีเซียจะเริ่มต้นแผนการดังกล่าว คือการพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่า ราว 1.6 ล้านเฮกตาร์ (1เฮกตาร์เท่ากับประมาณ 6.25 ไร่) ทางตะวันออกเฉียงใต้รอบเมืองเมเราเกในจังหวัดปาปัว ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ยากจนที่สุดของประเทศ ให้กลายเป็นนิคมศูนย์
กลางด้านอาหารและพลังงาน ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างงานได้หลายแสนตำแหน่งแล้ว ยังจะช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตทางการเกษตรได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกธัญพืชสำคัญ ๆอย่างข้าว, ข้าวโพด,ถั่วเหลือง, และอ้อย
      
เขาบอกว่าตามแผนการของรัฐบาล จะมีการเปิดโอกาสให้นักลงทุนจากต่างชาติสามารถถือหุ้นในบริษัทต่างๆที่เข้ามาร่วมลงทุนทำการเกษตรตามโครงการนี้ได้ถึงร้อยละ 49 นอกจากนั้น ยังจะได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีประเภทต่างๆ โดยในขณะนี้มีนักลงทุนจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจากประเทศในแถบตะวันออกกลางหลายรายแสดงความสนใจ
      
นอกจากนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการผูกขาดหรือการยึดครองที่ดินโดยนายทุนต่างชาติ มานันระบุว่า อินโดนีเซียจึงกำหนดให้แต่ละบริษัทในโครงการดังกล่าว สามารถทำการเกษตรได้ไม่เกินรายละ 10,000 เฮกตาร์ เขายังย้ำว่ารัฐบาลอนุญาตให้นักลงทุนได้รับเฉพาะสิทธิ์การทำประโยชน์ในที่ดิน แต่จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเหล่านั้น
      
ด้านโฆษกของหอการค้าและอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย (KADIN) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในองค์กรภาคเอกชนที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซียเแถลงว่า มีความเชื่อมั่นว่านโยบายดังกล่าวของรัฐบาลจะสามารถผลักดันให้อินโดนีเซียกลายเป็นครัวของโลกได้ภายในปี 2030อย่างแน่นอน เนื่องจากทั่วประเทศยังมีที่ดินอุดมสมบูรณ์อีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง และยังมีทรัพยาการด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมงจำนวนมหาศาลที่รองรับความต้องการด้านอาหารของประชากรโลกที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
      
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายคนชี้ว่า ความได้เปรียบสำคัญที่สุดของพื้นที่เหล่านี้ นั่นคือการมีที่ดิน “ว่างเปล่า” จำนวนมาก ก็กลับกลายเป็นข้อเสียเปรียบสำคัญที่สุดเช่นกัน และโครงการเช่นนี้จะประสบความสำเร็จได้ ก็ต้องมีการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างมหาศาล อาจจะถึง 5,000 ล้านดอลลาร์ ตั้งแต่การสร้างท่าเรือแห่งใหม่, ไปจนถึงถนนสายต่างๆ และสนามบิน
      
นอกจากนั้นยังมีเสียงคัดค้านจากพวกชาวนารายย่อย ที่เกรงจะกระทบต่อวิถีชีวิตของพวกตน โดยต่อไปชาวบ้านจะสูญเสียที่ดินให้แก่พวกบริษัทการเกษตร และต้องไปเป็นลูกจ้างตามไร่นาขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นมา


ที่มา http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9530000025055





วิกฤตอาหารและพลังงาน กรณีประเทศอินโดนีเซีย
อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่ต้องเผชิญกับวิกฤตอาหารอย่างรุนแรง โดยในปี 2551 ราคาสินค้าอาหารภายในประเทศได้พุ่งสูงขึ้นถึง 120-140% จากระดับราคาในปี 2549 ซึ่งวิกฤตดังกล่าวมีผลกระทบต่อคนยากจนในชนบทมากที่สุด โดยข้อมูลจากสำนักสถิติของอินโดนีเซีย หรือ BPS กล่าวว่า


ในปี 2547 ประเทศอินโดนีเซียมีประชากรที่อยู่ใต้เส้นความยากจนมากถึง 36 ล้านคน คิดเป็น 17% ของจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังมีจำนวนประชากรที่มีรายได้น้อยถึง 15 ล้านคน ที่อาศัยอยู่ในชนบทอินโดนีเซียต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์หลายครั้งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ตั้งแต่วิกฤตทางเศรษฐกิจในปี 2541 ที่ลุกลามไปยังหลายประเทศในเอเชีย รวมถึงรัสเซีย และละตินอเมริกา วิกฤตการณ์ทางด้านราคาพลังงานที่สูงขึ้น

ในปี 2549 จนมาถึงวิกฤตการณ์ด้านอาหารเมื่อต้นปี 2551 ซึ่งสาเหตุหนึ่งของวิกฤตด้านอาหาร คือ การลดลงของพื้นที่ทำการเกษตร เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เกษตรให้เป็นพื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัย พื้นที่เพื่อการพาณิชยกรรมการสร้างถนน การสร้างนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยอัตราการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทางการเกษตรนี้ ปัจจุบันอยู่ที่ 0.11 ล้านเฮกตาร์ต่อปี โดยมีการประมาณการกันว่า ภายในปี 2560


หลังจากที่อินโดนีเซียนำระบบการแบ่งเขตการปกครองท้องถิ่นใหม่เข้ามาใช้แล้ว พื้นที่การเกษตรอีก 3 ล้านเฮกตาร์ จะถูกปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์แทนซึ่งการลดลงของพื้นที่ทางการเกษตร กอปรกับปัญหาภัยธรรมชาติ ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพและการขาดแคลนปุ๋ย ทำให้อินโดนีเซียไม่สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนจำนวน 220 ล้านคนในประเทศ และนำไปสู่การพึ่งพาการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการพึ่งพาการนำเข้าข้าวจากประเทศไทย


โดยในปี 2551 อินโดนีเซียสามารถผลิตข้าวภายในประเทศได้ 57.05 ล้านตัน แต่ยังคงจำเป็นต้องนำเข้าข้าวจากไทยและเวียดนามอีกประมาณ 1.5 ล้านตัน ทั้งนี้ เพื่อช่วยตรึงราคาข้าวในตลาดอินโดนีเซียไม่ให้เพิ่มขึ้นจนเกินกว่าระดับที่จะทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อน ท่ามกลางวิกฤติการณ์อาหารที่ทั่วโลกเผชิญอยู่ในปัจจุบัน





เอ็นจีโอ ในอินโดนีเซียประท้วง แผนทำธุรกิจเกษตรกว่า 7.5 ล้านไร่
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า การตัดไม้ทำลายป่าในประเทศอินโดนีเซีย ทำให้พื้นที่ป่าถูกทำลายไปประมาณ 4.4 ล้านไร่ คิดเป็น 10 เท่าของประเทศสิงคโปร์ โดยเป็นแผนการทำธุรกิจทางการเกษตรที่จังหวัดปาปัว ซึ่งใช้พื้นที่ทั้งหมด 7.5 ล้านไร่ บนตำบลมาลุกูที่อยู่ทางตะวันตกของประเทศ และจะมี การปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อย ข้าวโพด ถั่วเหลือง และทำปศุสัตว์


เนื่องจากอินโดนีเซียมีการเจริญเติบโตของประชากร เพิ่มขึ้นสูงถึง 240 ล้านคน จึงต้องนำเข้าอาหารจากต่างประเทศ รัฐบาลจึงพยายามเพิ่มพื้นที่ทางการเกษตรเพื่อเป็นการพึ่งพาตนเอง แต่รัฐบาลอ้างว่าพื้นที่ที่จะพัฒนานี้ ไม่ใช่พื้นที่ป่าสำคัญ เมื่อจัดอันดับแล้วเป็นเพียงป่าละเมาะเล็กๆ สามารถพัฒนาให้ เป็นพื้นที่เพาะปลูกได้ แต่ฝ่ายนักเคลื่อนไหวองค์กรเอกชน หรือ เอ็น จี โอ ระบุว่า ผืนป่าปาปัวแห่งนี้ สมควรอนุรักษ์ไว้มากกว่าที่จะนำไปพัฒนาเป็นพื้นที่เพาะปลูก

ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมของกระทรวงสิ่งแวดล้อมและป่าไม้ พบว่า มีพื้นที่เพียง 3.2 ล้านไร่ ที่เป็นพื้นที่ป่าละเมาะตามที่รัฐบาลกล่าวอ้าง และการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว ก็ย่อมเป็นการรุกล้ำทำลายป่าอย่างแน่นอน ขณะที่กฏหมายของอินโดนีเซียในการจัดการกับผู้ที่รุกล้ำเข้าไปในเขตพื้นที่ป่าก็ยังไม่เข้มแข็งพอ โครงการธุรกิจทางด้านการเกษตรนี้เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีผู้ร่วมลงทุนจากต่างชาติแต่รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุด อินโดนีเซียได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาการลดก๊าซเรือนกระจกลง 26 เปอร์เซนต์ภายในปี พ.ศ.2563 หรือ 41 เปอร์เซ็นต์ในปีเดียวกันของการลงทุนจากต่างชาติตามความเป็นไปได้ การอนุรักษ์ป่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการลดสภาวะแวดล้อม เพราะต้นไม้ช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาผลาญของเชื้อเพลิง


ป่าไม้ในอินโดนีเซียมีความสำคัญเทียบเท่ากับป่าไม้ในลุ่มน้ำอเมซอนทวีปอาฟริกา เปรียบเสมือนเป็นปอดของโลก แต่การอัตราทำลายป่าก็ยังสูงมากซึ่งทางเอ็น จี โอ กล่าวว่า โครงการธุรกิจการเกษตรที่จะดำเนินการในโมลุกกะนี้เป็นโครงการสำคัญที่ต้องมีการทบทวนเกี่ยวกับเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอน


นอกจากนั้นยังมีปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมในเกาะชวากับชาวคริสเตียนในโมลุกกะ ที่อาจเกิดผู้มีอิทธิพลจากการทำธุรกิจและการขนส่ง เจ้าหน้าที่จากกระทรวงสิ่งแวดล้อมกล่าวว่าจะมีการเจรจาหาข้อตกลงร่วมกับกลุ่มเอ็น จี โอ ในสัปดาห์หน้าซึ่งเจ้าหน้าที่บอกว่ายังไม่มีการชี้ขาดว่าใครถูกหรือผิดในเรื่องนี้ แต่จะต้องมีการพิจารณารายละเอียดของทั้งสองฝ่ายร่วมกันและปรึกษาหารือกันก่อน




เส้นทางการลงทุนในอินโดนีเซีย
เมื่อกล่าวถึงประเทศอินโดนีเซียหลายคนคงจะคุ้นเคยและทราบว่า อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นมิตรกับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน และยังเป็นประเทศมุสลิมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้อินโดนีเซียยังเป็นประเทศที่มีหมู่เกาะมากที่สุดในโลกอีกด้วย สภาพภูมิประเทศที่แวดล้อมไปด้วยทะเลทำให้ประเทศอินโดนีเซียน่าจะมีการทำประมงที่ดี พร้อมกันนั้นก็น่าจะเป็นประเทศที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติอยู่เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีชายฝั่งทะเลยาวถึง 81,000 กิโลเมตร และภายหลังที่ได้ประกาศเขตน่านน้ำเศรษฐกิจ 200 ไมล์ทะเล ทำให้ประเทศ

อินโดนีเซียมีทะเลมากถึง 5.8 ล้านตารางกิโลเมตร จึงเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เป็นประเทศที่เหมาะกับการที่จะแสวงหาช่องทางการลงทุน ยิ่งไปกว่านั้นจำนวนประชากรของประเทศอินโดนีเซียที่มีอยู่เป็นจำนวนมากยังหมายถึงการมีกำลังซื้อมากมายมหาศาลอีกด้วย


ประเทศอินโดนีเซียมีเกาะต่างๆ มากกกว่าหนึ่งหมื่นเกาะ และเกาะทั้งหลายเหล่านั้นล้วนแล้วแต่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาที่ดีมาก ทำให้ท้องทะเลทั่วไปของประเทศอินโดนีเซียมีปริมาณสัตว์น้ำเป็นจำนวนมากเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ประเทศอินโดนีเซียมีทะเลที่อุดมสมบูรณ์ แต่อุตสาหกรรมการประมงของประเทศกลับไม่ได้มีการพัฒนาอย่างที่ควรจะเป็น สาเหตุเนื่องมาจากการขาดกระบวนการจัดการที่เป็นระบบในการช่วยส่งเสริมการทำประมงของประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


การเปิดรับนักลงทุนจากต่างชาติ จึงเป็นทางออกอย่างหนึ่งที่จะสามารถช่วยให้การประมงของประเทศอินโดนีเซียมีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ทั้งนี้รัฐบาลของประเทศอินโดนีเซียได้เปิดโอกาสให้นักลงทุนที่สนใจเข้าไปทำการประมงในลักษณะของการก่อตั้งบริษัทร่วมทุน เพื่อที่จะส่งเสริมการทำการประมงในน่านน้ำของประเทศอินโดนีเซีย และบริษัทที่จะเข้าร่วมทุนนั้น ยังสามารถใช้เรือประมงเป็นทุนในการร่วมจดทะเบียนได้อีกด้วย


หากจะมองในมุมของการลงทุนทางธุรกิจแล้ว ถ้าสามารถจะทำธุรกิจร่วมกันกับประเทศอินโดนีเซียได้อย่างจริงจังในเรื่องการพัฒนาด้านการประมง โดยทำให้ประเทศอินโดนีเซียมองเห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำการประมงให้ทันสมัยขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์โดยตรงแก่ประชากรอินโดนีเซียแล้ว ปริมาณสัตว์น้ำที่ได้จากการทำประมงในประเทศอินโดนีเซียแต่ละปีที่สูงถึง 6.4 ล้านตัน จึงยิ่งทำให้ธุรกิจการประมงของประเทศอินโดนีเซียเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย

นอกจากการประมงที่เป็นธุรกิจที่น่าสนใจในการลงทุนในประเทศอินโดนีเซียแล้ว ประเทศอินโดนีเซียยังมีพื้นที่ทางการเกษตรอยู่เป็นจำนวนมาก และมีศักยภาพสูงในการเพาะปลูก เนื่องจากมีสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะแก่การเพาะปลูก โดยการเพาะปลูกส่วนใหญ่อยู่ที่เกาะชวา และเกาะสุมาตรา ส่งผลให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลผลิตทางการเกษตร จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุน โดยเฉพาะในเรื่องของการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งประเทศอินโดนีเซียยังขาดความชำนาญ


หากมองไปในอนาคต เมื่อประชากรทั่วโลกต้องการอาหารที่กำลังจะเกิดการขาดแคลนเพราะภาวะโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้น ราคาอาหารจะเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ประเทศอินโดนีเซียจะได้รับประโยชน์ หากใครจะเข้าไปลงทุนด้านแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรในประเทศอินโดนีเซีย หรือมีความร่วมมือกันโดยการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ที่ได้กันอย่างสมดุล ก็นับได้ว่าจะทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจของโลกด้วย


ประเทศอินโดนีเซียมีผืนดินมากกว่าสองล้านตารางกิโลเมตร ทำให้มีพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกจำนวนมาก อีกทั้งยังส่งผลให้ประเทศอินโดนีเซียนั้นมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากร เช่น อุตสาหกรรมในกลุ่มเหมืองแร่ จึงนับเป็นอีกหนึ่งธุรกิจการลงทุนที่น่าสนใจเช่นกัน


ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งในประเทศอินโดนีเซีย คือภาคอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ที่ต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก เพราะประเทศอินโดนีเซียมีประชากรในวัยแรงงานมากถึงร้อยละ 48 ของประชากรทั้งหมด ทำให้เกิดการการขยายตัวเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมในประเทศ


อินโดนีเซีย อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐานภายในประเทศ โดยเฉพาะด้านการคมนาคมขนส่ง รวมถึงการปรับโครงสร้างภาษีและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน อันเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการลงทุนภายในประเทศอินโดนีเซีย และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การร่วมกันสร้างเขตเศรษฐกิจของกลุ่มอาเซียนขึ้นภายในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ซึ่งหากทำได้สำเร็จ การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันหรือว่าการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันจะเป็นประโยชน์มากมายมหาศาล


อย่างไรก็ตามประเทศอินโดนีเซียนั้นมีประชากรจำนวนมาก และส่วนใหญ่ก็มีรายได้เฉลี่ยค่อนข้างน้อย แต่ก็ยังมีกลุ่มคนที่มีรายได้ในระดับกลาง จนถึงระดับสูงอีกประมาณร้อยละ 10-15 ของประชากรทั้งหมด หรือราวๆ 20-30 ล้านคน ส่งผลให้อินโดนีเซียนั้นมีตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ การผลิตสินค้าเพื่อคนในประเทศนี้ก็มีความน่าสนใจไม่น้อยเช่นกัน

เมื่อประมาณการจากจำนวนประชากรของประเทศ ประกอบกับศักยภาพเชิงธุรกิจอื่นๆโอกาสทางธุรกิจไทยในประเทศอินโดนีเชียนับว่ามีอยู่ไม่น้อย เพราะช่วงหลายปีที่ผ่านมา การค้าระหว่างไทยกับอินโดนีเซียนั้นมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น สืบเนื่องมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศ


อินโดนีเซียและยังได้ส่งผลให้เกิดภาวะการลงทุน และการบริโภคภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยประเทศไทยเป็นประเทศคู่ค้าของอินโดนีเซียที่มีมูลค่าการค้าเป็นลำดับต้นๆ ซึ่งมูลค่าการค้าในปี พ.ศ. 2551 นั้น ประมาณ 11 พันล้านเหรียญสหรัฐ สาเหตุที่ทำให้การค้าระหว่างไทยและอินโดนีเซียเพิ่มสูงขึ้นส่วนหนึ่งนั้น เนื่องมาจากความพยายามของนักธุรกิจไทยในการเจาะตลาด หรือขยายการลงทุนในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีบริษัทจากประเทศไทยทำการลงทุนในประเทศอินโดนีเซียแล้วกว่า 100 บริษัท ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการลงทุนในอินโดนีเซียเป็นลำดับที่ 10 โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่ของประเทศไทยที่เข้ามาลงทุนอยู่ในอินโดนีเซียในภาคอุตสาหกรรม สถาบันการเงิน เช่นธนาคารกรุงเทพ นอกจากนี้ยังมีการบินไทย และบริษัทอื่น ๆ ที่เข้ามาปักหลักในอินโดนีเซียนี้เป็นเวลานาน ได้แก่ บ้านปู สยามซีเม็นต์ ปตท. เจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งเข้าทำธุรกิจในประเทศอินโดนีเซียมากว่า 30 กว่าปี


ปัจจัยด้านการผลิตที่เหมาะสม และมีการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นที่น่าจับตามองว่า ภายในปี 2025 อินโดนีเซียนั้นจะเป็นอีกประเทศที่น่าลงทุนมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นจริงหรือไม่โลก 360 องศามีคำตอบให้เสาร์นี้ 3 ทุ่มครึ่ง ททบ.5





อินโดฯ คุมเข้มนำเข้าสินค้าเกษตร
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงเกษตรของอินโดนีเซียได้ออกกฎกระทรวงเกษตรเรื่อง การควบคุมความปลอดภัยอาหารจากพืชที่นำเข้าและส่งออก ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2552 เป็นต้นไป โดยกฎระเบียบใหม่นี้ อาจกระทบต่อการส่งออกสินค้าพืชผักและผลไม้ของไทยไปยังอินโดนีเซีย โดยเฉพาะสินค้า ข้าว ส้ม พริก ข้าวโพด หอมแดง และลำไย เนื่องจากรัฐบาลอินโดนีเซียได้มีมาตรการควบคุมการนำเข้าเข้มงวดมากขึ้น โดยกำหนดให้ผู้ที่จะส่งออกสินค้าพืชดังกล่าวต้องตรวจสอบสารพิษตกค้าง สารอะฟลาทอกซิน และโลหะหนัก เช่น แคดเมียม และตะกั่ว เป็นต้น ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้ประสานกระทรวงเกษตรอินโดนีเซียเพื่อให้มาชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับกฎระเบียบใหม่ ให้ผู้ประกอบการของไทยทราบในวันที่ 16-17 กันยายนนี้ พร้อมให้ตรวจสอบระบบการผลิตสินค้าพืชผักและผลไม้ของไทยทั้งแหล่งผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP และโรงคัดบรรจุมาตรฐาน GMP เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในด้านคุณภาพและความปลอดภัยทางอาหารให้กับผู้นำเข้า หากอินโดนีเซียยอมรับและให้การรับรองระบบการผลิตของไทยอาจช่วยลดผลกระทบให้กับผู้ส่งออกได้ โดยเฉพาะต้นทุนค่าตรวจวิเคราะห์สินค้าวิชาการเกษตร


“แต่ละปีประเทศไทยส่งออกสินค้าเกษตรไปยังอินโดนีเซียค่อนข้างมาก ถ้าอินโดนีเซียไม่ยอมผ่อนปรนหรือไม่รับรองระบบการผลิตของไทย อนาคตอาจทำให้ปริมาณและมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรไทยที่ส่งออกไปอินโดนีเซียลดลงได้” อธิบดีกล่าว.





อินโดนีเซียวางแผนปลูกอ้อย 5 แสนเฮคเตอร์ หลังดีมานด์น้ำตาลพุ่ง
รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรอินโดนีเซียเปิดเผยว่า อินโดนีเซียมีแผนปลูกต้นอ้อยบนพื้นที่ 500,000 เฮคเตอร์ และเตรียมสร้างโรงงานอ้อยหลายแห่งที่เมือง Merauke จังหวัดปาปัว เพื่อรองรับดีมานด์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น และหลังจากที่ปริมาณน้ำตาลในตลาดโลกลดลงจนทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น


นายซุสโวโน รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร กล่าวว่า อินโดนีเซียบริโภคน้ำตาลราว 4.8 ล้านตัน แต่สามารถผลิตได้เพียง 2.7 ล้านตัน ซึ่งแผนการปลูกต้นอ้อยครั้งนี้คาดว่าจะผลิตน้ำตาลได้กว่า 2.1 ล้านตัน ซึ่งเพียงพอที่จะชดเชยส่วนที่ขาดไป นอกจากนั้นยังเหลือส่วนหนึ่งไว้เก็บในสต็อกน้ำตาลของประเทศได้ด้วย


นายซุสโวโน กล่าวว่าแผนการปลูกอ้อยดังกล่าวต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งภาคเอกชนและชุมชนท้องถิ่น และคงต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 3 ปีจึงจะบรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว


ทั้งนี้ กระทรวงการค้าอินโดนีเซียต้องนำเข้าน้ำตาลทรายขาวถึง 500,000 ตันในปีนี้ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมและในครัวเรือน สำนักข่าวซินหัวรายงาน


อ้างอิงจากเว็บ ryt9.com





รองเท้านารีอินโดนีเซีย
กล้วยไม้ในตระกูลรองเท้านารีมีหลายสายพันธุ์ เฉพาะในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์เกือบทุกภาค มีมากทางภาคเหนือ ภาคกลางประปราย และภาคใต้ ลักษณะดอกที่พบแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันทั้งสีสันและรูปทรงของดอก บางสายพันธุ์มีราคาแพงมาก เช่น รองเท้านารีอินทนนท์ เหลืองตรัง เหลืองปราจีน ขาวสตูล หรือ หนวดฤษี เป็นต้น นิยมปลูกกันแพร่หลาย ส่วน "รองเท้านารีอินโดฯ" เป็นสายพันธุ์นำเข้าจากประเทศอินโดนีเซีย มีลักษณะเด่นคือ กลีบดอก และกระเป๋า หรือนิยมเรียกกระเปาะรูปทรงรองเท้าจะมีสีสันและลวดลายแปลกตามาก จึงกำลังเป็นที่ต้องการของบรรดานักปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ทั้งมือเก่าและมือใหม่อยู่ในเวลานี้ 


รองเท้านารีอินโดฯ เป็นกล้วยไม้ดิน ลำต้นสั้นและแตกกอ จัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเจริญทางด้านข้าง ได้แก่ กล้วยไม้ที่มีเหง้า ส่วนทอดเลื้อยหรือไหล เมื่อต้นเจริญเต็มที่สามารถแตกต้นใหม่ หรือหน่อใหม่จากโคนกอ หรือตามลำข้อได้

ใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้นสีเขียวสด บางสายพันธุ์มีลายด่างน่าชมยิ่ง 


ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวที่ปลายยอด

ก้านดอกกลมตั้งตรงเป็นสีม่วงแดง ยาวได้ 25-30 ซม.

ลักษณะดอก กลีบเลี้ยงกลีบบนแผ่กว้างเป็นรูปหัวใจ ปลายกลีบแหลม สีขาว มีขีดสีเขียวแกมสีม่วงอมน้ำตาลตามยาวของกลีบ กลีบเลี้ยงหรือกลีบดอกด้านข้างเป็นรูปขอบขนาน กางออกเป็นมุมฉากกับตัวดอก พื้นเป็นสีขาว มีลายสีม่วงอมชมพูตัดขวางตลอดแนว กลีบดูคล้ายกลีบดอกกล้วยไม้สายพันธุ์ เสือโคร่งมาก และมีขนละเอียดเห็นชัดเจน 


กลีบกระเป๋า หรือ กระเปาะรูปทรงกลม ยื่นออกมาด้านหนาคล้ายรองเท้า เป็นสีชมพูอมสีม่วงเล็กน้อย ดอกเมื่อบานเต็มที่กว้างประ-มาณ 6-8 ซม. เวลามีดอกจะดูสวยงามแปลกตาและน่ารักน่าชมมาก


ดอกออกช่วงระหว่างเดือนสิงหาคมต่อเนื่องไปจนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี แต่ผู้ขายยืนยันว่า"รองเท้า นารีอินโดฯ" สามารถมีดอกได้เรื่อยๆ หรือเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยหัวหรือเหง้า 
 
การปลูก นิยมปลูกประดับลงกระถางกล้วยไม้ ขนาดความกว้างของปากกระถางประมาณ 5-8 นิ้วฟุต ใช้อิฐมอญ ถ่านดำทุบเป็นก้อนเล็กๆ รองก้นกระถาง 1 ใน 3 ของความสูงขอบกระถาง จากนั้นนำต้นลงปลูกปิดทับด้วยกาบมะพร้าวแห้งหั่นเป็นชิ้นเล็กละเอียดปนกับมอสขาว (มีขายทั่วไป) อัดให้แน่นแล้วนำกระถางไปตั้งประดับ หรือแขวนในที่รำไร มีลมพัดดีตลอดทั้งวัน รดน้ำพอชุ่มเช้าเย็น บำรุงปุ๋ยกล้วยไม้ละลายน้ำฉีดทุกส่วนสม่ำเสมออาทิตย์ละครั้ง จะทำให้ "รองเท้านารีอินโดฯ" มีดอกสวยงาม 


เอื้อเฟื้อข้อมูล โดย www.thairath.co.th

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง: http://forums.212cafe.com/tanatporns/





อินโดนีเซียหั่นเป้าหมายส่งออกข้าว เหตุคาดดีมานด์ในประเทศเพิ่ม
อินโดนีเซียลดเป้าหมายการส่งออกข้าวลงเหลือ 1 ล้านตันในปีนี้ จากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 2 ล้านตัน เหตุความต้องการในประเทศปรับตัวสูงขึ้น


แอนตัน อาปริอันโตโน รมว.เกษตรของอินโดนีเซีย กล่าวว่า เพื่อรับมือกับความต้องการในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลจึงมีแผนที่จะเพิ่มสต๊อกข้าวจำนวน 1 ล้านตัน ซึ่งจะทำให้ปริมาณข้าวที่จะเพิ่มในสต๊อกรวมเป็น 3 ล้านตัน


จำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ความต้องการข้าวเพิ่มสูงขึ้นในปีนี้ โดยคาดว่าแรงงานชาวอินโดนีเซียกว่าล้านคนที่ไปทำงานในต่างประเทศจะกลับบ้านเนื่องจากถูกเลย์ออฟ ซึ่งจะส่งผลต่อดีมานด์โดยทางอ้อม

แอนตันกล่าวว่า อินโดนีเซียตั้งเป้าหมายเพิ่มผลผลิตข้าวเป็น 40 ล้านตันในปี 2552 สูงกว่าปริมาณ 38 ล้านตันในปี 2551 ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวและความสามารถในการผลิตที่เพิ่มขึ้น


ทั้งนี้ อินโดนีเซียจะเริ่มส่งข้าวให้ญี่ปุ่น ฮ่องกง และสิงคโปร์ในเดือนก.พ.นี้ และจะส่งให้ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ติมอร์เลสเต้ และบรูไนในช่วงกลางปีนี้


--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท โทร.0-2253-5050 ต่อ 323 อีเมล์:
panaiyada@infoquest.co.th--




อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพในอินโดนีเซีย
กระแสความต้องการใช้พลังงานทดแทนที่เพิ่มขึ้นมากตามแรงกดดันของราคาน้ำมันในตลาดโลก
ที่อยู่ในระดับสูง ประกอบกับปริมาณการผลิตน้ำมันของอินโดนีเซียที่มีแนวโน้มลดลง ทำให้รัฐบาลอินโดนีเซียมีนโยบายสนับสนุน


การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของพลังงานทดแทน ประกอบกับอินโดนีเซียมีพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์ม (เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ) รายใหญ่อันดับ 2 ของโลก รองจากมาเลเซีย ด้วยพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันมากถึง 5.4 ล้านเฮกตาร์ ส่งผลให้อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพในอินโดนีเซียมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็วและได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติเป็นอย่างมากสำหรับข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพของอินโดนีเซียมีดังนี้


• นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ เมื่อกลางปี 2549 รัฐบาลอินโดนีเซียได้เริ่มโครงการส่งเสริมให้มีการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในประเทศ โดยตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี 2552 การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 10% ของการใช้เชื้อเพลิงทั้งหมด ทั้งนี้ ได้มีการจัดตั้งทีมงานเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ (National Team for Biofuel Development) และจะขยายพื้นที่ปลูกพืชที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน สบู่ดำ  มันสำปะหลัง  และอ้อย เพิ่มขึ้นอีก 5.25 ล้านเฮกตาร์ ด้วยการจัดตั้ง Special Biofuel Zones ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ


เพื่อเพาะปลูกพืชดังกล่าวรวม 12 แห่ง เช่น ปาล์มน้ำมันในจังหวัด Riau ทางใต้ของเกาะสุมาตรา สบู่ดำในเขต Lebak และ Pandeglang ของจังหวัด Banten ทางตะวันตกของเกาะชวา และมันสำปะหลังในเขต Garut, Cianjur และ South Sukabumi ของจังหวัด West Java ใกล้กับจังหวัด Banten เป็นต้น เพื่อป้องกันการขาดแคลนวัตถุดิบ และสร้างงานให้กับคนในพื้นที่ นอกจากนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียยังส่งเสริมให้มีการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากพืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ ด้วย อาทิ มะพร้าว และละหุ่ง ฯลฯ


• การผลิต เชื้อเพลิงชีวภาพของอินโดนีเซียแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ ไบโอดีเซล ซึ่งใช้น้ำมันปาล์มดิบเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต และเอทานอล ซึ่งใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ณ สิ้นปี 2549 อินโดนีเซียมีโรงงานผลิตไบโอดีเซล 2 แห่ง และโรงงานผลิตเอทานอล 2 แห่ง อย่างไรก็ตาม Foreign Agricultural Service (FAS) ซึ่งเป็นหน่วยงานสังกัดภายใต้กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ คาดว่าในปี 2550 อินโดนีเซียจะสามารถผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพรวม
เพิ่มขึ้นเป็น 775,000 เมตริกตัน* (แบ่งเป็นไบโอดีเซล 675,000 เมตริกตัน และเอทานอล 100,000 เมตริกตัน) จาก 106,000 เมตริกตัน ในปีก่อน เนื่องจากมีโรงงานใหม่หลายแห่งเริ่มผลิตได้ในปีนี้ โดยคาดว่า ณ สิ้นปี 2550 อินโดนีเซียจะมีโรงงานผลิตไบโอดีเซลเพิ่มขึ้นเป็น 9 แห่ง และโรงงานผลิตเอทานอลเพิ่มเป็น 4 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีนักลงทุนต่างชาติทยอยเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ เช่น เมื่อเดือนมกราคม 2550 บริษัท China National Offshore Oil Company


* ไบโอดีเซล 1 เมตริกตัน = 1.136 กิโลลิตร และเอทานอล1 เมตริกตัน = 1.267 กิโลลิตร




หอมแดงไทยไปอินโดฯ ยังครองแชมป์ ต้องเน้นคุณภาพสินค้า
ฝ่ากฎเข้มการนำเข้า
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เข้าติดตามสถานการณ์หอมแดงไทยในตลาดอินโดนีเซีย เผย ไทยยังเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับ 1 ส่งออกปีละ 40,000 ตัน มูลค่า 400 ล้านบาท แม้อินโดฯ ออกกฎใหญ่คุมเข้มการนำเข้าและต้องมีใบรับรองสุขภาพ แนะ ส่งเสริมเกษตรกรให้ปรับปรุงคุณภาพการผลิต ลดการใช้เคมี เพื่อครองแชมป์ในตลาดส่งออก

               
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เปิดเผยว่า  จากการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปติดตามสถานการณ์หอมแดงในเมืองจากาตาร์ และเมืองสุราบายา  ประเทศอินโดนีเซีย  ซึ่งเป็นตลาดหลักหอมแดงใหญ่ของไทยเมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่า ในปี 2550  พื้นที่ปลูกหอมแดงของอินโดนีเซีย  ทั้งประเทศ  มีประมาณ 585,588 ไร่ ผลผลิต 802,810 ตัน  มีช่วงเก็บเกี่ยวประมาณเดือนพฤษภาคม – พฤศจิกายน และมีการนำเข้าปริมาณ 107,640 ตัน  มูลค่า 1,544 ล้านบาท  โดยมีไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่  มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1  ซึ่งนำเข้าจากไทยปีละประมาณ  40,000 ตัน  มูลค่า 400 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 37  ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด รองลงมา  ได้แก่ ฟิลิปปินส์  เวียดนาม  อินเดียและปากีสถาน  โดยช่วงนำเข้าอยู่ประมาณเดือนธันวาคม – เมษายน  และจากการสำรวจจากแหล่งข้อมูลในอินโดนีเซีย  พบว่า อินโดนีเซียผลิตหอมแดงไม่เพียงพอ  ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศทุกปี ปีละกว่า 100,000 ตัน  ซึ่งสินค้าหอมแดงของไทยจะมีความได้เปรียบคู่แข่งในเรื่องความนิยมของตลาด  รูปทรงและสีสวยสดกว่า แต่ปัญหาสำคัญที่พบ คือ หอมแดงไทยจะเน่าเสียง่ายและเวลาเน่าจะมีกลิ่นเหม็นมาก  เนื่องจากมีการใส่ปุ๋ยเคมีเร่งผลผลิต อีกทั้งเกษตรกรอินโดนีเซียได้นำหอมแดงของไทยไปปลูก  ซึ่งหอมแดงที่นำเข้าจากไทยยังไม่ได้มีการรับรองพันธุ์  ทำให้เกิดความเสียหาย

               
ด้าน นายมณฑล  เจียมเจริญ  รองเลขาธิการ และโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมถึงระเบียบการนำเข้าสินค้าพืชสด  ประเภทหัวกลุ่ม (bulb) ฉบับใหม่ของอินโดนีเซีย  เมื่อวันที่  26  เมษายน  2551  โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2551  ซึ่งกำหนดว่า หอมแดงที่นำเข้ามายังอินโดนีเซียจะต้องปลอดภัยจากแมลง และเชื้อโรค  รวมทั้งต้องทำให้พ้นสภาพการมีชีวิตด้วยการตัดใบและราก  เพื่อป้องกันมิให้นำหอมแดงไปเพาะปลูก  และกำหนดให้หอมแดงต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชจากหน่วยงานภายในประเทศที่มีอำนาจเพื่อประกอบการอนุญาตนำเข้า  ซึ่งจากระเบียบดังกล่าว ส่งผลให้การส่งออกได้น้อยลง  เนื่องจากทำให้หอมแดงเน่าเสียง่ายขึ้น  อายุการเก็บรักษาสั้นลง  ประกอบกับต้นทุนค่าใช้จ่ายในการส่งออกสูงขึ้น  และใช้เวลาดำเนินการมาก  หากพิจารณาการใช้ระเบียบกับผู้ส่งออกทั้งของไทยและคู่แข่ง  เห็นว่าต่างก็ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า  และเพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดของหอมแดงของไทยในตลาดอินโดนีเซีย ให้เป็นอันดับ 1 ต่อไป  ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะกำหนดแนวทางร่วมกับ เกษตรกร  และผู้ประกอบการเพื่อปรับปรุงระบบการผลิต  เช่น  ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในระบบ GAP เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีในการเร่งผลผลิต  และผู้ประกอบการควรส่งออกสินค้าที่มีคุณภาพ  อันจะเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้  และรักษาความได้เปรียบของสินค้าหอมแดงของไทยในตลาดได้ต่อไป




กรณีศึกษา "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" : เกาะบาหลี อินโดนีเซีย
ถึงแม้จะมีผู้เห็นคล้อยตาม มากขึ้นเรื่อยๆ เพียงใด แนวคิดเรื่อง "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" (sustainable development) ที่มุ่งแสวงหาความสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ แทนที่จะเน้น ความเจริญทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลักในนโยบายพัฒนา ก็ยังเป็น "เรื่องใหม่" ที่ยังต้องใช้เวลาพัฒนาหลักการ รวบรวมข้อมูล ศึกษาผลกระทบ สืบค้นความ เชื่อมโยง ตลอดจนคิดค้นชุดดัชนีและ หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินระดับ "ความสำเร็จ" ก่อนที่จะสามารถ "ตกผลึกทางความคิด" และสังเคราะห์บทเรียนออกมาเป็น "องค์ความรู้" ที่เป็นระบบระเบียบชัดเจน จนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในสังคมโลก


ผลกระทบของการพัฒนาในมิติด้าน สิ่งแวดล้อมและสังคม (เช่น สุขภาพของคนในพื้นที่) ไม่ใช่สิ่งที่เราสามารถมองเห็นและวัดได้อย่างรวดเร็ว เป็นตัวเลข และชัดเจนเท่ากับการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจหรือผลกำไรขาดทุนของธุรกิจ บ่อยครั้งเวลาต้องผ่านไปนานหลายปีหรือหลายสิบปีก่อนที่เราจะสามารถพิสูจน์ได้ว่า ปัญหาใหญ่หลายประการที่เราเคยคิดว่าเป็น "ปรากฏการณ์ธรรมชาติ" นั้น แท้จริงแล้วมีสาเหตุหลักมาจากวิถีการพัฒนาที่ "มาผิดทางโดยไม่รู้ตัว" ของมนุษย์ เช่น ปัญหาโลกร้อน ปัญหาชายฝั่งถูกกัดเซาะ ปัญหาขาดแคลนทรัพยากรน้ำ ฯลฯ

เพียงไม่นานก่อนสิ้นศตวรรษที่ยี่สิบ มนุษย์เคยเชื่อว่าปลาในทะเลจะมีให้เราจับชั่วนิรันดร์ น้ำมันไม่มีวันหมดไปจากโลก การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ส่งผลดีต่อสังคมส่วนรวมโดยไม่มีเงื่อนไข และความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศในประเทศ ห่างไกลไม่มีทางส่งผลกระทบต่อชีวิต ความเป็นอยู่ของเรา


วันนี้เรารู้แล้วว่าความเชื่อเหล่านั้นไม่เป็นความจริง ไม่มีโครงการพัฒนาโครงการใดที่ส่งผลดีมากกว่าผลเสีย "โดยอัตโนมัติ" (หมายความว่าเป็นสิ่งที่เรา "ควรทำ" โดยไม่ต้องเสียเวลาคิดเรื่องรายละเอียด) ข้อเท็จจริงคือผลดีและผลเสียของโครงการแต่ละโครงการ ขึ้นอยู่กับรูปแบบโครงการ บริบท และเงื่อนไขของระดับ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ภูมิประเทศ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสภาพสังคม ซึ่งย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
สมแล้วที่คนโบราณเคยกล่าวว่า "พระเจ้าอยู่ในรายละเอียด" (God is in the details)


ในเมื่อผลกระทบในมิติอื่นๆ นอกเหนือจากเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะมองเห็น วัดยากหรือวัดแทบไม่ได้ เพราะเป็นนามธรรม เช่น ระดับความสุขของผู้คน วิวัฒนาการของแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนจึงจำเป็นต้องเกิดขึ้น อย่างช้าๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป ตามข้อมูลที่ต้องค่อยๆ ทยอยเก็บ


กรณีศึกษา "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ที่เรามักจะได้ยินตามสื่อต่างๆ มักจะเป็นตัวอย่างจากประเทศพัฒนาแล้วที่มีปัจจัยเพียบพร้อมกว่าประเทศกำลังพัฒนาหลายเท่า ไม่ว่าจะเป็นทุนทรัพย์ ทุนมนุษย์ เทคโนโลยี ฯลฯ ความสำเร็จของโครงการพัฒนาเหล่านี้แม้จะเป็นเรื่องน่าชื่นชม แต่ก็ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นทำได้แต่ในประเทศพัฒนาแล้วเท่านั้น


เพื่อช่วยให้ท่านผู้อ่านเห็นภาพว่า แนวคิด "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" สามารถเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมได้ในประเทศกำลังพัฒนาที่เผชิญกับข้อจำกัดนานัปการ ผู้เขียนจะเล่ากรณีศึกษาในประเทศไทยและประเทศใกล้ตัวที่มีระดับการพัฒนาใกล้เคียงกับไทย ในอุตสาหกรรมสามประเภท ที่ "ความยั่งยืน" โดยเฉพาะความยั่งยืน ของระบบนิเวศ เป็นกุญแจสำคัญแห่งความสำเร็จของธุรกิจ ได้แก่ อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว อุตสาหกรรมหนัก (เช่น โรงถลุงเหล็ก) และอุตสาหกรรมประมง โดยในแต่ละอุตสาหกรรม ผู้เขียนจะยกตัวอย่าง ทั้งกรณีความสำเร็จของการพัฒนาอย่างยั่งยืน และกรณีความล้มเหลว (ที่ผู้ดำเนินโครงการประกาศว่าจะพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่ไม่เคยทำได้จริง หรือไม่ก็ไม่เคยคิดจะพัฒนาอย่างยั่งยืน ตั้งแต่แรก)


วันนี้ขอเริ่มต้นด้วยการเล่ากรณี "ความสำเร็จ" ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศ เพื่อนบ้านของเราคือ อินโดนีเซีย


เกาะบาหลี เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่โด่งดังที่สุดของอินโดนีเซีย ได้รับการขนานนามว่า "เกาะสวน" (garden island) เพราะทั้งเกาะเต็มไปด้วยทุ่งนาเขียวขจีลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ สลับแซมด้วยสวนผักและสวน ผลไม้นานาชนิด ยังไม่นับหาดทรายขาวละเอียด และโลกใต้น้ำอันมหัศจรรย์ ที่ยังอุดมสมบูรณ์เป็นอันดับต้นๆ ของโลก

นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่อาจนึกว่า คนบาหลี "โชคดี" ที่สิ่งแวดล้อมยังงดงามทั้งบนบกและใต้น้ำ แต่สิ่งที่อยู่เบื้องหลังความสวยงามของบาหลีไม่ใช่โชค หากเป็นการร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ นักธุรกิจ และประชาชนบนเกาะ ที่ไม่อยากเห็นบาหลีต้องประสบชะตากรรมเดียวกับเกาะชวา


เกาะชวา คือ เกาะที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดในอินโดนีเซีย (124 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 55 ของประชากรทั้งประเทศ) ประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมและที่ดินทำกินขาดแคลนจากอัตราการเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด ของจำนวนประชากรภายใต้วิถีการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบ "สุดโต่ง" จนรัฐบาลซูฮาร์โตตัดสินใจจำกัดการใช้ที่ดินและโยกย้ายประชากร (transmigration program) ด้วยการประกาศ "เพดานที่ดิน" ที่อนุญาตให้แต่ละครัวเรือนถือครองตามอัตราความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่ และย้ายครอบครัวชาวนายากจนและผู้ไร้ที่ดินทำกินกว่า 8 ล้านคน ระหว่างทศวรรษ 1970-1990 ออกไปตั้งถิ่นฐานใหม่บนเกาะรอบนอกของอินโดนีเซีย เช่น สุมาตรา กาลิมันตัน สุลาเวสี และปาปัวตะวันตก มอบที่ดินให้ครอบครัวละประมาณ 6.2 ไร่ โครงการโยกย้ายประชากรเผชิญกับปัญหาและ เสียงต่อต้านมากมาย โดยเฉพาะจาก ชนพื้นเมืองบนเกาะรอบนอกที่อยู่มาแล้วหลายชั่วอายุคน แต่กลับถูกยึดที่ดินแบบซึ่งๆ หน้าแต่ถูกกฎหมายโดยชาว เกาะชวา ที่รัฐบาลออกโฉนดให้


นอกจากนี้โครงการนี้ยังเร่งอัตราการตัดไม้ทำลายป่าที่แย่อยู่แล้วจากโครงการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่ไร้การควบคุมดูแลจากภาครัฐ ให้เลวร้ายลงอีก มิหนำซ้ำ ชาวเกาะชวาจำนวนมากที่ตั้งความหวังไว้กับโครงการนี้ กลับพบว่าชีวิตใหม่ของ พวกเขายากลำบากกว่าเดิมเพราะไม่ได้ รับการฝึกสอนทักษะที่จำเป็นต่อการหาเลี้ยงชีพบนเกาะที่ภูมิประเทศไม่เอื้อต่อ การทำเกษตรกรรมเหมือนเกาะชวา (ชวาและบาหลีเป็นสองเกาะที่ดินมีคุณภาพดีที่สุดในอินโดนีเซีย เพราะเป็นดินภูเขาไฟอันอุดมไปด้วยแร่ธาตุ จึงเป็นสองเกาะที่ประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด) ความ ขัดแย้งและการปะทะกันระหว่างชนพื้นเมืองดั้งเดิมกับชาวอินโดที่ย้ายไปอยู่ใหม่ จึงปะทุขึ้นอย่างต่อเนื่อง


ถึงแม้ว่าโครงการโยกย้ายประชากร จากเกาะชวาจะประสบความสำเร็จใน บางพื้นที่ เช่น บางหมู่บ้านบนเกาะสุลาเวสี กรณีสำเร็จเหล่านั้นก็นับเป็นส่วนน้อย ธนาคารโลกซึ่งเป็นผู้ให้เงินกู้สนับสนุนโครงการนี้กว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ยังออกมายอมรับต่อสาธารณะในปี 1994 ว่า โครงการโยกย้ายประชากรประสบความล้มเหลว แต่ก็ปฏิเสธที่จะดำเนินมาตรการใดๆ เพื่อชดเชยความเสียหาย ที่เกิดขึ้น โดยอ้างว่าโครงการเงินกู้จบลงไปแล้ว ธนาคารไม่มีพันธะใดๆ อีก

อันที่จริงทิศทางการพัฒนาของเกาะบาหลีในทศวรรษแรกๆ หลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ไม่แตกต่างจากชวามากนัก รัฐบาลนำเข้าเทคโนโลยี "การปฏิวัติเขียว" (green revolution) จากโลกตะวันตก มาส่งเสริมให้เกษตรกรชาวบาหลีปลูกข้าวพันธุ์ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มผลผลิต ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง และส่งเสริมให้ เกษตรกรพยายามปลูกข้าวบ่อยครั้งที่สุดเท่าที่จะทำได้ในแต่ละปี โดยไม่ต้องคำนึงถึงตารางเวลาใช้น้ำของเกษตรกรเพื่อนบ้าน วิธีการเพาะปลูกแบบสมัยใหม่นี้ขัดแย้งกับวิถีชลประทานแบบดั้งเดิมบนเกาะบาหลีที่ทำกันมานับพันปี ที่เรียกว่า ซูบัก (subak) ซึ่งเป็นระบบร่วมกันบริหารจัดการน้ำแบบ "สหกรณ์ชาวบ้าน" ซูบักเป็นองค์ประกอบสำคัญในวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบาหลี ซึ่งผนวกผสานศาสนา ความเชื่อ เทคโนโลยีการเกษตร วัฒนธรรม และการเมือง ท้องถิ่นเข้าด้วยกัน ภายใต้ความเชื่อที่ว่า เผ่าพันธุ์มนุษย์จะดำรงอยู่ได้อย่างมีความสุข ก็ต่อเมื่อมนุษย์ เทวดา และธรรมชาติ อยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืนเท่านั้น

หนึ่งซูบักมีบริเวณตั้งแต่ 6.2-4,960 ไร่ สมาชิกประกอบด้วยเกษตรกรผู้เป็นเจ้าของที่นาในซูบักนั้นๆ สมาชิกร่วมกันบริหารจัดการน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูก ผ่านข้อตกลงที่เรียกว่า "อาวิก-อาวิก" (awig-awig) ซึ่งประกอบด้วยเงื่อนไขสำคัญสี่ข้อ ได้แก่ 1)ตกลงว่าจะเกี่ยวข้าวตามตารางการเพาะปลูกที่ตกลงร่วมกัน 2)ตกลงว่าจะช่วยกันรักษาระบบชลประทานที่ใช้ในการเพาะปลูกแบบ ถ้อยทีถ้อยอาศัย 3)ตกลงรูปแบบของกระบวนการที่ใช้ในการไกล่เกลี่ย ความขัดแย้งระหว่างสมาชิก และ 4)ตกลงมีส่วนร่วมในการประกอบพิธี ทางศาสนา


ในระยะแรก วิถีการเกษตรแผนใหม่ ที่รัฐบาลแนะนำให้ชาวบาหลีเปลี่ยนมาใช้ ช่วยเพิ่มผลผลิตและกำไรของเกษตรกร ตามที่รัฐบาลโฆษณา แต่หลังจากนั้นไม่นานผลเสียของนโยบายรัฐก็ปรากฏอย่างชัดเจน เริ่มจากปัญหาการขาดแคลนน้ำ (ที่ไม่เคยมีมาตลอดพันปีที่เกษตรกรใช้ระบบซูบัก) ตามติดมาด้วยปัญหาแมลงศัตรูพืช และปัญหายาฆ่าแมลงปนเปื้อนในดินและน้ำ หลังจากที่นักวิชาการและเจ้าหน้าที่รัฐลง พื้นที่ไปศึกษาว่าปัญหาเหล่านี้เกิดจากอะไร ก็ได้พบคำตอบที่บรรพบุรุษของชาวบาหลี รู้มานานแล้วว่า นอกจากซูบักจะเป็นระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพสูงมากสำหรับภูมิประเทศแบบบาหลีแล้ว ยังช่วยป้องกันปัญหาแมลงศัตรูพืชและปัญหาอื่นๆ อีกหลายข้อ

หลังจากที่ "การค้นพบ" ดังกล่าวได้รับการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ และหลังจากที่เกษตรกรและนักสิ่งแวดล้อมชาวบาหลี รวมตัวกันเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาล คืนอำนาจในการบริหารจัดการตาราง การเพาะปลูกและทรัพยากรน้ำคืนสู่มือซูบัก รัฐบาลก็ยอมทำตามเสียงเรียกร้องในต้นทศวรรษ 1990


ซูบัก นับเป็นแนวคิด "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ที่ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรมยาวนานนับพันปี นานก่อนที่จะมีการบัญญัติศัพท์คำนี้ขึ้นมา และพิสูจน์ให้เห็น ในกรณีของบาหลีว่า ดีกว่าระบบการเกษตรแผนใหม่จากโลกตะวันตก ที่รัฐบาลอินโดนีเซียหลงผิดคิดว่าเป็น "แนวพัฒนาสำเร็จรูป" ที่จะช่วยยกระดับฐานะของเกษตรกรได้อย่างง่ายดาย เหมือนปอกกล้วยเข้าปาก


ความสำเร็จของการเคลื่อนไหวรณรงค์ระดับรากหญ้าและความร่วมมือกันของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ช่วยให้ซูบักกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง ส่งผลให้เกาะบาหลียังคงสภาพความเป็น "สวนสวรรค์" ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวตลอดมา ชาวบาหลีมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นทั้งจากกำไรจากการเกษตรที่สูงขึ้นภายใต้ระบบซูบัก และจากรายได้เสริมในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว นอกจากนี้ความสำเร็จของ "การพัฒนาอย่างยั่งยืนฉบับ ชาวบ้าน" ยังเป็นแรงบันดาลใจให้รัฐบาลท้องถิ่นของบาหลี ตั้งปณิธานว่าจะยึดมั่นในแนวคิด "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" อย่างจริงจัง


รัฐบาลบาหลีประสบความสำเร็จเพียงใดในการส่งเสริมอุตสาหกรรม "ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน" บนเกาะบาหลี ชาวเกาะบาหลีและนักสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นมีส่วนร่วมอย่างไรบ้าง ?

โปรดติดตามตอนต่อไป



ไก่ชนอินโดนีเซีย
ปี ค.ศ. 1958 ผู้เขียน( Clifford Ggeertz )และภรรยาของเขาได้ไปสัมผัสวิถีชีวิตของชาวบาหลีเกี่ยวกับการชนไก่จนกระทั่งวันหนื่งซื่งเขากำลังดูชาวบ้านชนไก่ที่สนามชนไก่แห่งหนื่ง(ซึ่งผิด ;กฎหมาย) จู่ๆตำรวจมาวิ่งไล่จับนักเล่นไก่ทำให้นักเล่นไก่วิ่งแตกตื่นเพื่อหนีตำรวจ เขาก็วิ่งด้วยสุดท้ายชาวบ้านบางคนรวมทั่งเขาโดนจับ หลังจากนั้นเขาได้อธิบายให้ตำรวจฟังว่าเขาเพียงมาดูการชนไก่มิได้เล่นการพนันทำให้ตำรวจปล่อยเขาในที่สุดและทำให้เขาเป็นที่รู้จักคนในหมู่บ้านในที่ส ุด และเริ่มมีความสนิทสนมกับชาวบ้านและสามารถเรียนรู้วิถีชีวิตชาวบ้านโดยเฉพาะเรื่องการชนไก่ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่(ส่วนคนอื่นๆโดนปรับคนละ 300รูปีแลกกับอิสรภาพ) “การชนไก่” เป็นอย่างไร การชนไก่ หรือ *****fighting ก็คือ การเอาไก่ตัวผู้ สองตัว มาชนกัน ในสังเวียน ที่จัดขึ้น ในเวลาบ่ายถึงค่ำ วันหนึ่งๆจะได้ประมาณ 9-10 คู่ ไก่เมื่ออายุได้ประมาณ ๗ เดือน มันจะถูกนำมา ฝึกซ้อม หัดปล้ำกับ ไก่ รุ่นราว คราวเดียวกัน และได้ ออกกำลังกาย อยู่เสมอ โดยเจ้าของ จะนำ ไก่ อีกตัวหนึ่ง มาล่อ ให้มันโกรธ และวิ่งไล่กัน ประมาณ ๑๕ นาที ผ่านการ กราดน้ำ กราดแดด คือ เช็ดตัว ด้วยน้ำเย็น แล้วนำไป ตากแดดจัด เมื่อไก่หิวน้ำ จะยังไม่ให้กิน เพื่อสร้าง ความอดทน ให้ไก่ ถึงกระนั้น พวกมัน ก็จะได้รับ การประคบประหงม อย่างดี มีอาหารสมบูรณ์ นักเลี้ยงไก่ จะทำทุกวิถีทาง ทั้งในขั้นตอน การเลี้ยง และระหว่าง การชน เพื่อให้ไก่ของตน ชนะ เพราะนั่นหมายถึง รายได้ก้อนโต จาก การพนัน ในบ่อนไก่ ซึ่งก็เหมือนกับ การพนันชนิดอื่น ที่ทำให้ คนเล่น กลายเป็น เศรษฐี หรือยาจก การเปรียบ คือการหาคู่ชน ซึ่งเจ้าของไก่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะการจับคู่ชนก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกัน ซึ่งส่งผลกระทบถึงการแพ้ชนะได้ การเปรียบไก่ชนนี้ เจ้าของไก่แต่ละฝ่ายจะแลกกันจับดูไก่ โดยจะใช้มือรวบตัวเพื่อกะขนาดลำตัวและน้ำหนัก อีกทั้งพิจารณาดูรายละเอียดต่าง ๆ ของไก่แต่ละฝ่าย เช่น ความสูง ความกว้างของแผ่นหลัง ความหนาของอก ปั้นขา ตลอดจนความยาวของช่วงขา ช่วงตัว ความใหญ่ของลำคอ และความยาวความแหลมของเดือย หากดูแล้วไม่ได้เปรียบเสียเปรียบกันมาก เจ้าของไก่ต่างพึงพอใจทั้งสองฝ่าย ก็จะตกลงกันเรื่องเงินเดิมพัน ซึ่งจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับความเก่งของไก่และฐานะของเจ้าของ อาจจะตั้งแต่ สิบห้า ริงกิตขึ้นไป จนถึงห้าร้อยริงกิต ถ้าตกลงกันได้ก็จะจับคู่ชนกันเลย โดยมีนายบ่อนหรือเจ้าของบ่อนเป็นผู้ดูแลและดำเนินการ นอกจากนี้จะต้องมีคนคอยจับเวลาในการชนไก่ คนที่ทำหน้าที่จับเวลาขณะชนไก่และการพักยกให้น้ำไก่ โดยต้องคอยมองดูอาน ซึ่งทำจากกะลามะพร้าวเจาะรูเล็กที่ก้นกะลา เมื่อวางบนน้ำ น้ำจะเข้าเต็มกะลาและจมสู่ก้นถัง หรือขวดโหล เมื่อกะลาจมแสดงว่าครบยกก็จะ ตีฆ้อง เป็นสัญญาณให้แยกไก่และหยุดพักยกให้น้ำ เมื่อหยุดพักยกให้น้ำก็จะจับอานวางบนน้ำใหม่จนกว่ากะลาจมน้ำ จึงจะ ตีฆ้อง อีกครั้งเป็นสัญญาณหมดเวลาพัก ให้เอาไก่ชน ใหม่จนกว่าไก่จะแพ้ชนะกัน ในการตัดสินแพ้ชนะมักใช้หลักเกณฑ์เหมือน ๆ กัน คือหากไก่ชนตัวใดถูกตีแล้วร้อง และวิ่งหนีด้วยอาการเชิดหัวสูง  ถือว่าไก่ตัวนั้นแพ้ แต่ถ้าร้องและวิ่งโดยไม่เชิดหัว ถ้าไม่หันมาสู้ กรรมการจะจับมาวางสู้ใหม่ ถ้าจับวาง ยังไม่สู้ให้ถือว่าไก่ตัวนั้นแพ้ ในทำนองเดียวกัน หากไก่ชนกันจนหมดแรง ไม่แพ้ชนะ ยืนเอาอกปะทะกันไขว้คอกันนิ่งอยู่ไม่ยอมชน เมื่อกรรมการจับแยกออกมาแล้วยังกลับเข้าไปอยู่ในท่าทางเช่นเดิมอีก ต้องตัดสินให้เสมอกัน


วิเคราะห์ การชนไก่วิถีชีวิตชาวบ้านของคนบาหลี การศึกษาเรื่อง “คน และการชนไก่ ในบริบทสังคมบาหลี” เป็นความพยายามเพื่อที่จะอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมในช่วง ค.ศ. 1958 อันเป็นปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการ “เล่น” แขนงหนึ่งในสังคม นั่นคือ การชนไก่ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อที่จะตีความ วิถีชีวิตชุมชนซึ่งรัฐมองเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายและไม่ดีตามมาตรฐานรัฐ ในขณะที่ชุมชนโดยเฉพาะคนเล่นกลับมองตรงกันข้ามซึ่งเป็นการมองและให้คุณค่าจากภายในชุมชนเอง มันเป็น มรดก ทางวัฒนธรรม เป็นเอกลักษณ์ ประจำถิ่นที่ควรสืบทอด เป็นเกมกีฬา ให้ความบันเทิง เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน หากเราศึกษาเปรียบเทียบระหว่างจะใช้หลักการหรือผลตัดสินทางการกระทำ เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเลือกความแตกต่างระหว่างหลักการและเหตุผล หลักการ = วิธีการ (mean) ที่เป็นไปตามหลักการทางศีลธรรม ผล = เป้าหมาย (end) สิ่งที่ได้ตอบแทนตามความคาดหวังที่ประสบความสำเร็จ ตัวอย่าง ของหลักการผิดศีลธรรม แต่ได้ผลดี เช่น การขายสลากินแบ่งของรัฐ ทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มไปพัฒนาประเทศ การชนไก่ของชาวบาหลีทำให้มีความสุข และทำมีเงินหมุนเวียนจากการพนัน และรายได้จากผลพวงของไก่ชน ตัวอย่าง ของหลักการที่ถูกศีลธรรม แต่ได้ผลไม่ดี รัฐไม่ขายสลากินแบ่ง ทำให้รัฐมีรายได้น้อย ไม่มีเงินไปสนับสนุนทุนนักเรียน ไม่มี การชนไก่ชาวบาหลีขาดความสุข และไม่มีเงินหมุนเวียนจากการพนัน และขาดรายได้จากผลพวงของห้ามชนไก่ มีกลุ่มนักปรัชญาในเรื่องนี้ 2 กลุ่ม คือ


1.ประโยชน์นิยม
2.หน้าที่นิยม


นักประโยชน์นิยม ย่อมเห็นว่า ผล สำคัญกว่า หลักการขณะที่ ฝ่ายหน้าที่นิยมเห็นว่า หลักการ สำคัญกว่า ผล ประโยชน์นิยมมีความเห็นว่า ค่าทางจริยธรรมเป็นอัตนัย และมีลักษณะสัมพัทธ์ ศีลธรรมไม่ใช่สิ่งที่มีค่าในตัวเองค่าของศีลธรรมอยู่ที่ทำให้เกิดประโยชน์สุขแก่คนจำนวนมากได้มากเพียงใดและยอมรับอุดมคติสุขนิยม แต่นำมาปรับปรุงให้กว้างขี้น


-นักปรัชญาฝ่ายประโยชน์นิยม
1. เบนธัม ผู้เสนอว่า ธรรมชาติของมนุษย์ คือ หลีกเลี่ยงความทุกข์ และแสวงหาความสุขทางประสาทสัมผัส


2. จอห์น สจ๊วต มิลล์ ผู้เสนอหลักการที่ว่า “การกระทำที่ดี คือ การกระทำที่ก่อให้เกิดประโยชน์สุขสำหรับคนจำนวนมากที่สุด” คนจำนวนมากที่สุด หมายถึง คนทั่วๆ ไป ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำนั้น โดยให้นับตัวเองเป็นหนึ่ง ในบรรดาคนที่จะได้รับผลการกระทำนั้น ทั้งนี้ผู้กระทำจะต้องให้ค่าความสุขของตนเองเท่ากับความสุขของคนอื่น ไม่ใช่ถือเอาความสุขของตนเองเป็นหลักเช่น ในกรณีของการชนไก่ชาวบาหลี ตามทัศนะผู้เล่นไก่ชนมองว่า มีผู้ได้ประโยชน์ มากกว่าผู้เสียประโยชน์ และคนกลุ่มน้อยในบาหลีอาจเป็นคนหนึ่ง กลุ่มหนึ่งในกลุ่มผู้เสียประโยชน์ ก็ยังต้องตัดสินว่า การชนไก่ เป็นสิ่งที่ดี


3. เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ เป็นผู้นำแนวคิดประโยชน์นิยมมาใช้เปลี่ยนแปลงแบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีมาว่า ศีลธรรม ศาสนา ประเพณี กฎหมาย แต่เดิมล้วนเป็นสิ่งที่มีค่านอกตัว และต้องเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของคนจำนวนมากดังนั้นการพนันในการชนไก่แม้จะผิดหลักศาสนาทั้งมุสลิมหรือพุทธ

หลักการประโยชน์นิยมทำให้เกิดผลอย่างไร

1. กระทบหลักศีลธรรมตามศาสนาซึ่งสอนว่า “ต้องไม่เล่นการพนันแม้ว่าทำให้คนส่วนใหญ่เสียประโยชน์” ซึ่งประโยชน์นิยมจะบอกว่าเล่นการพนัน ได้ถ้าทำให้คนจำนวนมากได้ประโยชน์


2. คนที่ทำทุกสิ่งเพื่อหวังผลให้แก่ตัวเอง แต่เกิดเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่โดยไม่ตั้งใจ ย่อมถือว่าทำดีด้วย เช่น “รู้ล่วงหน้าก่อนคนอื่นว่า หุ้นตัวนี้ไม่ดีแล้ว จึงรีบเทขาย พอดีมีคนมาเห็น เลยเทขายกันใหญ่ คนจำนวนมากจึงรอดหายนะไปด้วย หรือในแง่ของการพนัน นายบ่อนจะได้ประโยชน์จากการเปิดบ่อนแต่ทำให้เศรษฐกิจในชุมชนสะพัดอย่างไม่รู้ตัว”


หน้าที่นิยม: ค้านท์
• เสนอทฤษฎีโครงสร้างสมองว่า ความรู้ทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่รู้ผ่านโครงสร้างสมอง (เรียกว่า ส่วนเหตุผลบริสุทธิ์)

• แต่ ความรู้ในเรื่องศีลธรรม ไม่ได้รู้ผ่านสมอง เป็นสิ่งที่พ้นไปจากประสาทสัมผัส (เรียกว่า เหตุผลปฏิบัติ)

• ค้านท์เห็นว่าอุดมคติในชีวิตคือ การเกิดมาเป็นคนดีมีศีลธรรม

• ค่าทางจริยะเป็นปรนัย

• ยึดหลักการ มากกว่า ผลที่ได้รับ เช่น ต้องยึดหลัก “เช่นยึดหลักการหาเลี้ยงชีพอย่างบริสุทธิตามกฎหมายของประเทศเสมอ โดยไม่ต้องไปสนใจ ผลว่า คน ในพื้นที่เกาะบาหลีจะเสียใจ หรือ ดีใจที่ทำให้วิถีชีวิต เขาเปลี่ยน” เกณฑ์ตัดสินจริยธรรมของค้านท์

• การกระทำที่ดี คือ การมีเจตนาดี (good will)

• เจตนาดี คือ การทำตามหน้าที่เช่นตำรวจที่เกาะบาหลีจับคนในชุมชนที่บ่อนไก่ การทำตามหน้าที่ คือ การทำตามเหตุผล ทำตามมโนธรรม หรือ ทำตามกฏศีลธรรมสองประการซึ่งค้านท์เห็นว่าเป็นหลักการสากลโดยต้องทำโดยไม่คำนึงถึงผลใดๆ เลย


กฎศีลธรรม 2 ประการ ได้แก่
1. ทำตามหลักที่จงใจได้ว่าเป็น “กฎสากล” หมายถึง ทุกครั้งที่ทำอะไรก็ตาม ให้คิดว่าทุกคนทำสิ่งนี้ในขณะเดียวกันได้ไหม เช่นการพนันจะเป็นกฎสากลได้ ก็ต่อเมื่อ ขณะที่เรากำลังเล่นการพนัน คนที่ดูเราอยู่รู้ว่าเราเล่นการพนันและเราก็รู้ว่าเขาตระหนักดีว่า เรากำลังเล่นการพนัน

2. จงอย่าใช้เพื่อนมนุษย์เป็นเครื่องมือเพื่อการใดๆ เพราะมนุษย์มีศักดิ์ศรี และเป็นสิ่งที่มีค่าในตัวเอง เนื่องจากเราทุกคน มีเหตุผลเป็นคุณสมบัติ ค้านท์ จึง ห้ามการทำตามความรู้สึก เช่น ความสงสาร เพราะการทำด้วยความสงสารเช่นปล่อย ผู้ต้องหาที่ทำผิดจากการพนันเป็นเครื่องมือให้เขาดูว่าเราดีสุดท้ายทำให้เราสบายใจขึ้น ที่มาของกฎศีลธรรมสองข้อนั้น ค้านท์เห็นว่า กฎที่ใช้กันในโลกมีอยู่สองแบบ

แบบแรก คือ กฎที่เป็นคำสั่งอย่างมีเงื่อนไข เช่น สั่งว่า ให้ทำดีแล้วจะมีรางวัลตอบแทน แต่ทำผิดเมื่อไรจะถูกลงโทษเช่นการดดนจับและปรับเนื่องจากการพนันของชาวบาหลี(มาจากเหตุผลบริสุทธิ์ จึงไม่ใช่ศีลธรรมที่แท้)

แบบที่สอง คือ ศีลธรรมที่เป็นคำสั่งเด็ดขาด ซึ่งเราทำเพราะตระหนักได้เองจากมโนธรรมสำนึกว่า ต้องทำ กฎศีลธรรมแบบคำสั่งเด็ดขาดนี้เอง คือ จุดกำเนิดของกฎสองข้อที่ค้านท์ เขียนไว้ หมายความว่า เราทุกคนซึ่งเป็นมนุษย์ที่มีเหตุผล ย่อมมีความสำนึกในหน้าที่ (หรือการมีเจตนาดี) อยู่แล้วว่า จะต้องทำตาม กฎศีลธรรมซึ่งเป็นคำสั่งเด็ดขาดนี้ตลอดเวลา อย่างไม่มีข้อยกเว้น


หลักการของค้านท์ทำให้เกิดผลอย่างไร
1. การคำนึงเรื่องกฎสากลตลอดเวลา ว่าสิ่งที่ทำนั้นต้องเป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้ จะทำให้แม้เรื่องกิจวัตรประจำวัน ก็เป็นเรื่องทางศีลธรรมไปด้วยเช่นการชนไก่ของชาวบาหลี

2. คนที่มีความสงสารเห็นอกเห็นใจคนอื่นบางกรณีจะกลายเป็นคนที่ไม่มีโอกาสทำความดีเลยในขณะนั้นทั้งที่ขณะทำนั้นาจจะทำผิดอาจเนื่องจากไม่รู้และก็ไม่ได้หวังผลตอบแทนอะไรเลยขณะช่วย

3. ต้องสับสนแน่ หากการทำความดีสองอย่างเป็นเรื่องต้องขัดแย้งกันเอง เช่น ระหว่าง การให้ และ การไม่ทำร้ายผู้อื่น แล้วเกิดเหตุการณ์ที่ ต้องเลือกระหว่าง การให้คนอื่น กับ การทำร้ายคนในครอบครัว การชนไก่อาจจะพัฒนาสู่สินค้า การมองการชนไก่ในอีกมุมมองหนึ่งซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่อาจจะขึ้นในบาหลีและที่อื่นๆขื้นอยู่กาลเวลาและสถานการณ์ กระบวนการกลายเป็นสินค้าของการชนไก่เป็นกระบวนการของการสร้างคุณค่าความพยายามของกลุ่มคนหลาย ๆ กลุ่ม เพื่อรวบรวมและรักษาความรู้และประสบการณ์การเลี้ยงไก่ชนที่กระจัดกระจายอยู่ตามแหล่งต่าง ๆ เพื่อเป็นการสร้าง “ภาพ” ให้กับสินค้า และ “ภาพ” เหล่านั้นมี “คุณค่า” ต่อผู้บริโภคซึ่งก็ถูกให้สัญลักษณ์จากสังคมเช่นเดียวกัน โดยภาพดังกล่าวนั้นเป็นภาพที่เกิดจากความพยายามที่จะรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมอันได้แก่ พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการชนไก่ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกสรรสายพันธุ์ไก่ชน การปรนไก่ การปล้ำไก่หรือซ้อมไก่ และการชนไก่ สิ่งเหล่านี้มาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งใหม่ ๆ นั่นคือ ภาพเหล่านั้นถูกนำมาใช้เพื่อให้สังคมยอมรับในสิ่งที่คนในแวดวงไก่ชนกระทำอยู่ ถึงแม้ว่าการชนไก่จะมีภาพที่เกี่ยวข้องกับการพนันและการทรมานสัตว์ แต่สังคมอาจจะจะยอมรับในสิ่งดี ๆ ที่คนในแวดวงพยายามนำเสนอ เช่น ไก่ชนเป็นสัตว์เศรษฐกิจ การชนไก่เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่สมควรอนุรักษ์และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไป เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กระบวนการดังกล่าวยังคงอยู่ในสภาวะของการเริ่มต้นเท่านั้น กระบวนการนี้จะยั่งยืนยาวนานต่อไปเท่าใดคงต้องอาศัยเวลาเป็นเครื่องตัดสิน หากกระบวนการกลายเป็นสินค้าของการชนไก่ที่กำลังปรากฏอยู่ในสังคมสามารถสื่อ “อะไร” ให้กับสังคมได้



ที่มา:The Interpretation of Culture  (Classic essays by one of the most original and stimulating anthropologists of his generation on what culture is, what role it plays in social life, and how it ought to be properly studied)

http://www.oknation.net/blog/shukur




สละพันธุ์อินโดนีเซีย พืชเศรษฐกิจที่น่าจับตามอง
สละอินโดนีเซีย... เป็นพืชพื้นเมืองที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรในประเทศอินโดนีเซีย


เกษตรกรในประเทศดังกล่าวนิยมปลูกสละ   เนื่องจากให้ผลผลิตเร็ว   เพียงอายุประมาณ 2 ½ -3 ปี  และสามารถจำหน่ายได้ราคาดี   ดูแลรักษาง่าย    และทางภาคใต้ของประเทศไทย   โดยมสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทางธรรมชาติคล้ายกับประเทศอินโดนีเซีย         


จากการที่เกษตรกรทดลองปลูกสละดังกล่าวแล้ว พบว่าให้ผลผลิตใกล้เคียงกับอินโดนีเซีย จึงเห็นว่า...สละอินโดนีเซียจึงเป็นทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกรไทย


สละอินโดนีเซีย เป็นพืชตระกูลเดียวกับระกำ  (ตระกูล Palmae)   มีทั้งหมด   8  สายพันธุ์
ได้แก่ พันธุ์ปุนดุก บาหลี คอนเด็ต ปาดังซีเดมป้าน มานนจายา บาดูรา อัมบาวา และ บันจัรบือการา    ส่วนพันธุ์สละที่นิยมปลูกในประเทศอินโดนีเซีย   คือ  พันธุ์ปุนดุก   และ   พันธุ์บาหลี    เนื่องจากมีรสชาติหวานกรอบ เนื้อหนา ส่วนอีก 6 พันธุ์ ที่เหลือจะไม่นิยมปลูกเพราะมีรสหวานปนเปรี้ยว  ฝาด  และ   ขม


นายหะยีตือเงาะ สายาดะ (พ่อ)   และ นายดอเลาะ สายาดะ (ลูก) หมู่ที่ 3     ตำบลบาลอ
อำเภอรามัน  จังหวัดยะลา    เป็นเกษตรกรที่ปลูกสละพันธุอินโดนีเซีย  ได้ผลผลิตและสามารถจำหน่ายได้แล้วได้ราคาดี  โดยจำหน่ายกิโลกรัมละ   120 บาท    นอกจากนั้นเกษตรกรได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะเด่นของสละพันธุ์อินโดนีเซียที่เขาปลูก    คือ  เนื้อหนา   รสหวานกรอบ  ไม่ติดเมล็ด  ออกผลเร็วต้นเตี้ย  และง่ายต่อการดูแลรักษา ไม่มีโรคแมลงมารบกวน


นายหะยีตือเงาะ สายาดะ ได้เล่าให้ฟังถึงแรงจูงใจในการปลูกสละว่า “เดิมปลูกลองกองอยู่
แล้ว จำนวน 5 ไร่ ซึ่งขณะนั้น ลองกองอายุได้ 26 ปีแล้วและประสบปัญหาหนอนชอนใต้ผิวเปลือก จึงมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนพืชตัวใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว  และสามารถใช้พื้นที่ลองกองเดิม  5 ไร่  ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  จึงตัดสินใจซื้อต้นสละจากประเทศอินโดนีเซีย  เมื่อปี  2543   จำนวน   660  ต้น ๆ  ละ 60 บาท  โดยนำมาปลูกเป็นแถวแซมระหว่างต้นลองกอง  ระหว่าง 3 X 5 เมตร  เมื่อปลูกได้ระยะหนึ่งพบว่าปัญหาหนอนชอนใต้ผิวเปลือกลองกองลดลง  จึงตัดสินใจปลูกกต้นสละร่วมกับต้นลองกองและปลายปี 2545 ได้ผลผลิตออกมา 20   กิโลกรัมจำหน่ายได้กิโลกรัมละ   120  บาท   ซึ่งเป็นราคาที่ดีมาก ”


ผู้เขียนได้สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูก  การดูแลรักษา โรคแมลงต่าง ๆ ซึ่งเกษตรกร  ได้เล่าให้ฟังต่อว่า "สละพันธุ์อินโดนีเซียสามารถปลูกได้ทุกพื้นที่และสามารถเจริญเติบโตได้ดี    หากปลูกในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง   และสามารถปลูกเป็นพืชแซม    ร่วมกับพืชอื่นจะดีกว่าเพราะเกษตรกรจะมีรายได้จากพืช


หลักอยู่แล้วควรปลูกระหว่าง 3 X 5 เมตร  สำหรับการดูแลรักษาก็เหมือนพืชทั่วไปคือใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมี สูตรเสมอ   เช่น  15 – 15 – 15   หรือ  16 – 16 – 16  จำนวน 3  ครั้ง / ปี   หากพื้นที่ฝนไม่ตกควรให้น้ำประมาณ  2 – 3  ครั้ง/ สัปดาห์  จากนั้นสละจะออกดอกเมื่ออายุ   2 ½ - 3 ปี   และเก็บเกี่ยวได้ภายใน  8 เดือน   หลังจากดอกบาน   ส่วนโรคและแมลงจะไม่พบและง่ายต่อการดูแลรักษา” ผู้เขียนได้สอบถามถึงข้อจำกัด   ตลอดจนปัญหาอุปสรรคอื่นๆ ได้รับการอธิบายเพิ่มเติมว่า "ปัญหาอุปสรรคมีไม่มากเท่าไรนัก คือเกี่ยวกับการผสมเกสร  ซึ่งสละมี 2 ประเภท คือ ต้นสละตัวผู้ และต้นสละตัวเมีย  ถ้าขาดตัวหนึ่งตัวใดจะไม่ติดผล โดยส่วนใหญ่ต้องการตัวผู้ : ตัวเมีย อัตราส่วน 2 : 1 ซึ่งสละที่ปลูกอยู่แล้ว 660 ต้น จะเป็นตัวเมีย 450 ต้น  และตัวผู้  210 ต้น     นอกจากนั้นเรายังต้องช่วยผสมเกสรโดยนำเกสรจากดอกตัวผู้มา ผสมกับดอกตัวเมีย ซึ่งจะทำให้ติดผลเช่นเดียวกัน” สำหรับโครงการเกี่ยวกับสละที่จะทำต่อไป     


ได้รับการเปิดเผยต่อไปว่า " ตอนนี้ไม่คิดจะปลูกเพิ่มแล้วเพราะเต็มพื้นที่แต่ได้ขยายพันธุ์ต้นสละเพื่อจำหน่ายจำนวน 500 ต้น ๆ ละ 30 บาท   ซึ่งตนได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูกการดูแลรักษา  ความรู้ทาง วิชาการและการขยายพันธุ์จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเกษตรจากสำนักงานเกษตรอำเภอรามัน  และสำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา” เขากล่าวในที่สุด  


จากข้อมูลและคำบอกเล่าข้างต้น….คงจะเป็นการยืนยันได้ถึงจุดเด่นของสละอินโดนีเซีย   ซึ่งเป็นพืชเศรษกิจตัวใหม่ที่น่าจับตามอง    เนื่องจากรสชาติหวาน     เนื้อหนา ผลร่อนไม่ติดเมล็ด  ต้นเตี้ย  ให้ผลผลิตเร็ว  ราคาดี   และง่ายต่อการดูแลรักษาของเกษตรกร  คงจะเป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจของเกษตรกรที่จะปลูกสละพันธุ์อินโดนีเซียต่อไป   

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา   โทร... 073 – 216610    หรือ  E – mail  : yala@doae.go.th อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน หรือได้ที่เว็บไซด์   http:yala.doae.go.th  ในเวลาราชการ



ภัทรวดี   จินดาพันธ์
กัสมัน    ยะมาแล
สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา




เอเอฟพี/ASTVผู้จัดการรายวัน - รัฐบาลอินโดนีเซียวางแผนเพิ่มผลผลิตภาคการเกษตร  ของประเทศครั้งใหญ่ โดยจะสนับสนุนให้บรรดานักลงทุนต่างชาติทั้งจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และตะวันออกกลาง รวมทั้งนักลงทุนในท้องถิ่นได้เข้ามาทำการเกษตรบนที่ดินจำนวนมหาศาลของประเทศ ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์แต่อยู่ในเขตชนบทห่างไกล เพื่อช่วยให้อินโดนีเซียกลายเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ หรือ “ ครัวของโลก” ภายในปี 2030

ฮิลมาน มานัน ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านจัดสรรที่ดินเพื่อการเกษตรและการจัดการทรัพยากรน้ำ ประจำกระทรวงเกษตรของอินโดนีเซีย เปิดเผยที่กรุงจาการ์ตาเมื่อวานนี้ (21) ว่า รัฐบาลอินโดนีเซียภายใต้การนำของประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุโธโยโน เพิ่งประกาศยุทธศาสตร์ “เลี้ยงอินโดนีเซีย – จากนั้นเลี้ยงโลก” ที่ต้องการให้มีการพัฒนาที่ดินจำนวนมหาศาลในเขตพื้นที่ชนบทห่างไกลของประเทศ เช่น ในเขตจังหวัดปาปัว และบนเกาะบอร์เนียว ให้กลายเป็นแหล่งผลิตพืชผลทางการเกษตรนานาชนิด

เขาชี้ว่า จะต้องผลักดันให้อินโดนีเซียก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรสำคัญ เช่น ข้าว ข้าวโพด น้ำตาล กาแฟ ปาล์มน้ำมัน รวมทั้งการเป็นแหล่งเลี้ยงกุ้งและผลิตเนื้อสัตว์รายใหญ่ที่สุด เพื่อทำหน้าที่เป็น “ครัวของโลก” ให้ได้ภายในปี 2030 หรือ 20 ปีนับจากนี้

การเป็น “ครัวของโลก” ถือเป็นเป้าหมาย “ลำดับต่อไป”ของรัฐบาล หลังจากที่ก่อนหน้านี้ อินโดนีเซียประสบความสำเร็จในการผลิตข้าวได้เพียงพอกับการบริโภคในประเทศมาตั้งแต่ปี 2008 และกลายเป็นผู้ผลิตปาล์มน้ำมันอันดับหนึ่งของโลกมาแล้ว

มานัน ระบุว่า พื้นที่แรกที่รัฐบาลอินโดนีเซียจะเริ่มต้นแผนการดังกล่าว คือ การพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าราว 1.6 ล้านเฮกตาร์ (1 เฮกตาร์ เท่ากับประมาณ 6.25 ไร่) ทางตะวันออกเฉียงใต้รอบเมืองเมเราเกในจังหวัดปาปัว ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ยากจนที่สุดของประเทศ ให้กลายเป็นนิคมศูนย์กลางด้านอาหารและพลังงาน ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างงานได้หลายแสนตำแหน่งแล้ว ยังจะช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตทางการเกษตรได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกธัญพืชสำคัญๆ อย่างข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง และอ้อย

เขาบอกว่า ตามแผนการของรัฐบาลจะมีการเปิดโอกาสให้นักลงทุนจากต่างชาติ สามารถถือหุ้นในบริษัทต่างๆ ที่เข้ามาร่วมลงทุนทำการเกษตรตามโครงการนี้ได้ถึงร้อยละ 49 นอกจากนั้น ยังจะได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีประเภทต่างๆ โดยในขณะนี้มีนักลงทุนจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจากประเทศในแถบตะวันออกกลางหลายรายแสดงความสนใจ

นอกจากนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการผูกขาดหรือการยึดครองที่ดินโดยนายทุนต่างชาติ มานัน ระบุว่า อินโดนีเซียจึงกำหนดให้แต่ละบริษัทในโครงการดังกล่าว สามารถทำการเกษตรได้ไม่เกินรายละ 10,000 เฮกตาร์ เขายังย้ำว่ารัฐบาลอนุญาตให้นักลงทุนได้รับเฉพาะสิทธิ์การทำประโยชน์ในที่ดิน แต่จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเหล่านั้น

ด้านโฆษกของหอการค้าและอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย (KADIN) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในองค์กรภาคเอกชนที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย เแถลงว่า มีความเชื่อมั่นว่านโยบายดังกล่าวของรัฐบาลจะสามารถผลักดันให้อินโดนีเซียกลายเป็นครัวของโลกได้ภายในปี 2030 อย่างแน่นอน เนื่องจากทั่วประเทศยังมีที่ดินอุดมสมบูรณ์อีกเป็นจำนวนมาก ที่ยังไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง และยังมีทรัพยาการด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมงจำนวนมหาศาลที่รองรับความต้องการด้านอาหารของประชากรโลกที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายคนชี้ว่า ความได้เปรียบสำคัญที่สุดของพื้นที่เหล่านี้ นั่นคือ การมีที่ดิน “ว่างเปล่า” จำนวนมาก ก็กลับกลายเป็นข้อเสียเปรียบสำคัญที่สุดเช่นกัน และโครงการเช่นนี้จะประสบความสำเร็จได้ ก็ต้องมีการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างมหาศาล อาจจะถึง 5,000 ล้านดอลลาร์ ตั้งแต่การสร้างท่าเรือแห่งใหม่ ไปจนถึงถนนสายต่างๆ และสนามบิน

นอกจากนั้น ยังมีเสียงคัดค้านจากพวกชาวนารายย่อยที่เกรงจะกระทบต่อวิถีชีวิตของพวกตน โดยต่อไปชาวบ้านจะสูญเสียที่ดินให้แก่พวกบริษัทการเกษตร และต้องไปเป็นลูกจ้างตามไร่นาขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นมา.

http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?p=46897











สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1939 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©