-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 207 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกษตรต่างแดน5





เกษตรพม่า

ไทยลุย 'เกษตรพันธะ' ในพม่าพื้นที่กว่า 43 ล้านไร่

พม่า และไทย ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจในข้อตกลงความร่วมมือทางด้านการเกษตร ภายใต้ข้อตกลงเกษตรพันธะ หรือ contract farming ลงทุนปลูกพืชเศรษฐกิจในมากกว่า 43 ล้านไร่ และมีแผนจะเริ่มดำเนินการภายในต้นปี 2549 ที่จะถึงนี้
      
       พิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวมีขึ้นที่ กระทรวงเกษตรและชลประทาน ในกรุงย่างกุ้ง เมื่อไม่นานมานี้ โดยมี คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทย เป็นผู้แทนฝ่ายไทยเข้าร่วม
      
       คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ กล่าวว่า รัฐบาลพม่า และไทย ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามโครงการเกษตรพันธสัญญาไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจะเริ่มจากการลงทุนปลูก อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ต้นปาล์ม และยางพารา
      
       "เกษตรกรผู้ปลูกพืชยืนต้นอย่าง ต้นปาล์ม และยางพารา จะได้รับการอบรมส่งเสริมความรู้เรื่องการเกษตรแบบผสมผสาน โดยการปลูกพืชตระลถั่ว เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ เกษตรพันธสัญญาจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศ เกษตรกรชาวพม่าจะมีโอกาสสร้างเสริมรายได้ และได้รับการสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีจากไทย" คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าว ทั้งนี้ เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์เมียนมาร์ไทม์
      
       โดยตกลงร่วมกันว่าฝ่ายพม่าจะเตรียมพื้นที่ตามโครงการเกษตรพันธสัญญาเพื่อทำการเพาะปลูกมากกว่า 7 ล้านเฮกตาร์ (มากกว่า 43 ล้านไร่) และแรงงานราคาถูก ในขณะที่ทางฝ่ายไทยจะสนับสนุนด้านการลงทุน รวมทั้งทางด้านเทคโนโลยี เพื่อลงทุนปลูกพืชเศรษฐกิจในพม่า และนำเข้ามาป้อนโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศเพื่อส่งออกไปต่างประเทศอีกครั้ง
      
       "ในระยะแรกผลผลิตการเกษตรจะถูกนำไปผ่านขบวนการผลิตเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศในประเทศไทย แต่ในอนาคตถ้าพม่ามีความพร้อมทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์การผลิตที่เพียงพอ บางทีอาจจะเป็นย้ายมาผลิตก็ได้" คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าว
      
       โครงการเกษตรพันธสัญญาเป็นส่วนหนึ่งในแผนการพัฒนาภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม (ACMECS: Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy) ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับอนุภูมิภาคที่จัดตั้งขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์จากความแข็งแกร่ง และความหลากหลายของทั้งห้าประเทศสมาชิกเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างสมดุล ที่มีการประชุมสุดยอดผู้นำครั้งแรก ณ เมืองพุกาม สหภาพพม่า ในปี 2546 ที่ผ่านมา
      
       และระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 1-3 พ.ย. ที่ผ่านมา นายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย กล่าวว่า ไทยได้ให้สิทธิพิเศษยกเว้นภาษีอากรให้แก่สินค้าเกษตรทุกรายการที่เสนอภายใต้ Contract Farming นอกจากนี้ ยังพร้อมจะพิจารณาสินค้าอื่นๆ ที่ประเทศเพื่อนบ้านเรียกร้องเพิ่มเติม รวมทั้งสินค้าหัตถกรรมด้วย
      
       นายทิน ตั๊ต อู (Tin Htut Oo) ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนการเกษตร ภายใต้กระทรวงเกษตรและชลประทานพม่า กล่าวว่า ภายหลังการประชุมสุดยอดผู้นำ ACMECS ที่ผ่านมา ผู้นำทั้ง 5 ประเทศ ได้ให้ความสำคัญในการร่วมมือให้โครงการภายใต้เกษตรพันธสัญญาเพื่อเร่งให้เกิดผลสำเร็จอย่างโดยเร็วที่สุดในการขจัดปัญหาความยากจน และขาดแคลนอาหารของประชาชน
 
 
 ทีร่มา  :  ผู้จัดการ



พม่าเปิดทางให้ไทย ทำธุรกิจเกษตร 44 ล้านไร่

    สหภาพพม่า- 'สุดารัตน์'ลงนามทำคอนแทรคฟาร์มมิ่ง ไทย-พม่า ให้ไทยทำเกษตร 44 ล้านไร่เริ่มปี2549 หวังเพิ่มผลผลิต ส่วนเกษตรกรพม่าได้งานทำ พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีและตั้งงบให้พม่า้เงิน4พันล้านบาท

   
รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ไปลงนามบันทึกข้อตกลง(MOU) กับ พลเอก ฮเธอู รมว.กระทรวงเกษตรและการชลประทานพม่า ในการทำคอนแทรคฟาร์มมิ่ง ซึ่งพม่าตกลงให้ไทยทำการเกษตรในพม่าได้44 ล้านไร่ กระจายตามเมืองต่าง ๆ อาทิ เมืองแปร เมียวดี เขตตะนาวศรี และรัฐคะยิ่น (กะเหรี่ยง)

   
โดยไทยจะเป็นผู้คัดเลือกบริษัทเอกชนที่สนใจไปทำเกษตรกรรมในประเทศพม่า ซึ่งขณะนี้มีนักธุรกิจไทยแสดงความสนใจมาแล้ว โดยจะเริ่มดำเนินการในปี2549 สำหรับพืชที่จะนำไปปลูกเป็นพืชที่ไทยผลิตในประเทศไม่เพียงพอ และสามารถนำไปเพาะปลูกในพม่า ได้แก่ ละหุ่ง ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา และปาล์ม เป็นต้น

   
ทั้งนี้ การลงนามความร่วมมือดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานในนามรัฐบาลต่อรัฐบาล เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ ส่วนการดำเนินการธุรกิจต่อไป จะเป็นหน้าที่ของเอกชน ซึ่งเป็นไปตามแผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง และหลังจากนี้ ไทยจะลงนามบันทึกข้อตกลงกับกัมพูชา ลาว และเวียดนาม

   
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รัฐบาลไทยยังสนับสนุนรัฐบาลพม่า ด้วยการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีทางการเกษตรให้กับพม่า โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย ได้พบกับ พลจัตวา เมือง เมือง เธียน รัฐมนตรีกระทรวงปศุสัตว์และประมงของพม่า หลังจากที่ไทยได้มอบเครื่องมือสำหรับตรวจหาสารไรโตรฟูเรนที่ตกค้างในกุ้งให้กับพม่ามาแล้ว

   
ด้านนายสถาพร ชินะจิตร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ เอ็กซิมแบงก์ กล่าวว่า ธนาคารจะให้การช่วยเหลือด้านเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการในพม่า โดยจะพิจารณาเป็นกรณีไป ในงบประมาณที่ตั้งไว้คือ 4,000 ล้านบาท ในโครงการเงิน้ที่รัฐบาลไทยออกให้กับพม่า โดยขณะนี้ได้ออกเงิน้ให้กับพม่าแล้ว 2,500 ล้านบาท


ที่มา  :  ประชาชาติธุรกิจ




อบรมปลูกป่าให้พม่า

นายสมชัย เพียรสถาพร อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า สำนักพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ให้กรมป่าไม้อบรมหลักสูตรการปลูกสวนป่าไม้โตเร็วสำหรับการผลิตเยื่อและกระดาษให้กับเจ้าหน้าที่ป่าไม้จากพม่าจำนวน 10 คน ในโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวง การต่างประเทศของไทยและสหภาพพม่า เพื่อฝึกอบรมและดูงานในประเทศไทยเป็นเวลา 15 วัน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ผ่านมาของภาครัฐและภาคธุรกิจ รวมทั้งนักวิชาการ และผู้ประกอบการด้านการปลูกไม้โตเร็ว โดยการแบ่งปันความรู้ ทั้งงานด้านวิจัยการปลูกสร้างสวนป่าไม้โตเร็ว การผลิตเยื่อกระดาษในภาคทฤษฎี และดูงานที่สวนป่าไม้โตเร็ว และโรงงานผลิตเยื่อกระดาษในประเทศไทย ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีกำลังการผลิตสูงและสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ไทยมีโรงงานขนาดใหญ่ที่ผลิตเยื่อกระดาษถึง 6 แห่ง และโรงงานผลิตกระดาษมากกว่า 60 แห่ง
   
“ปัจจุบันการผลิตเยื่อกระดาษจากวัสดุที่ไม่ใช่ไม้ กำลังเป็นที่นิยมและได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางในหมู่นักอนุรักษนิยมทั่วโลก ซึ่งไม่ต้องการที่จะส่งเสริมให้มีการตัดไม้ทำลายป่ามากเกินไปเพื่อนำมาทำเยื่อกระดาษ ผู้ที่เข้าฝึกอบรมในครั้งนี้จะได้รับความรู้อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่องานด้านการปลูกสร้างสวนป่าไม้โตเร็วและการผลิตเยื่อกระดาษ นอกจากนี้ยังจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยและสหภาพพม่าให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น” นายสมชัย กล่าว.




'กองทัพ' คือ อุปสรรคขวาง 'การเกษตร' ในพม่า

โจเซฟ สติกลิตซ์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ใช้โอกาสที่ได้รับเชิญไปเยือนเมืองหลวงของพม่าเมื่อไม่กี่วันมานี้ เรียกร้องให้คณะทหารผู้ปกครองประเทศ ดำเนินการปฏิรูปทางการเมือง เพื่อชุบชีวิตระบบเศรษฐกิจที่ส่วนใหญ่ยังคงอิงอาศัยการเกษตรและอยู่ในอาการแน่นิ่งชะงักงันมานาน ให้กลับฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม คำแนะนำด้วยเจตนาดีของเขาคงจะถูกมองข้าม เนื่องจากระบบในปัจจุบัน ซึ่งชาวนาถูกบังคับให้ส่งผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ส่วนหนึ่งให้แก่กองทัพ รวมทั้งยังจะต้องปลูกพืชตามที่ถูกสั่งให้ทำอีกด้วย ก็สามารถสนองความต้องการของพวกผู้ครองอำนาจได้ดีอยู่แล้ว


โจเซฟ สติกลิตซ์ (Joseph Stiglitz) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน เมื่อไม่กี่วันมานี้ได้ไปให้คำแนะนำแก่ระบอบปกครองที่ควบคุมดูแลโดยทหารของพม่าว่า จำเป็นที่จะต้องดำเนินการปฏิรูปทางการเมือง ถ้าหากท่านนายพลเหล่านี้หวังที่จะชุบชีวิตระบบเศรษฐกิจของประเทศซึ่งส่วนใหญ่ยังคงอิงอาศัยการเกษตรและอยู่ในอาการแน่นิ่งชะงักงันมานาน อย่างไรก็ตาม การดำเนินการปฏิรูปใดๆ ในภาคชนบท ซึ่งเป็นภาคที่ใช้กำลังแรงงานถึงราว 70% ของประเทศ และเป็นผู้สร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) ประมาณเกือบครึ่งหนึ่ง ย่อมจะต้องกระทบกระเทือนการทุจริตคอร์รัปชั่นของฝ่ายทหาร ซึ่งเป็นไปอย่างกว้างขวางและส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะที่กระทำกันเป็นระบบและต่อเนื่องถึงขั้นเรียกได้ว่าเป็น การทุจริตคอร์รัปชั่นเชิงสถาบันไปแล้ว


สติกลิตซ์นั้นเคยเป็นหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ที่ธนาคารโลก และได้รับรางวัลโนเบลในปี 2001 เขามีชื่อเสียงเลื่องลือจากการวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุเดือดเชือดเฉือนต่อนโยบายการพัฒนาแบบกระแสหลักที่เน้นให้เปิดตลาดเสรี ทั้งนี้รวมถึงพวกนโยบายที่ผลักดันโดยธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ)ด้วย การแสดงความคิดเห็นของเขาคราวนี้เกิดขึ้นบนเวทีการหารือที่จัดโดยคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอสแคป ( United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific หรือ ESCAP) ตามคำเชิญของรัฐบาลพม่า


เวทีการสนทนาคราวนี้ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองหลวงเนย์ปีดอว์ โดยที่มีทั้ง พล.ต. เต่ อู (Htay Oo) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและชลประทาน และ อู โซ ตา (U Soe Tha) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติเข้าร่วม ทั้งนี้มีการตั้งจุดมุ่งหมายของการหารือเอาไว้ว่า เพื่อสำรวจยุทธศาสตร์ต่างๆ ในการลดภาวะความยากจนและในการพัฒนาชนบท รัฐมนตรีทั้ง 2 คนนี้เป็นที่ทราบกันดีว่ามีความใกล้ชิดกับ พล.อ.อาวุโส ตาน ฉ่วย ผู้นำเผด็จการรวบอำนาจซึ่งทราบกันว่าเป็นผู้ที่จะคอยตัดสินเป็นคนสุดท้ายในนโยบายทุกๆ อย่าง


การสนทนาคราวนี้ถือเป็นครั้งที่สองของการจัดรายการสนทนาหารือตามที่วางแผนเตรียมการกันไว้ โดยในครั้งแรกนั้นคือการมาเยือนพม่าเมื่อเดือนกรกฎาคมของ นูลีน เฮซเยอร์ (Noeleen Hezyer) รองเลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งเป็นเลขาธิการบริหารของเอสแคปอยู่ด้วย การเยือนของเฮซเยอร์ดังกล่าวเป็นคำเชิญของรัฐมนตรีอู และตามเอกสารแถลงข่าวของเอสแคปได้ระบุว่า เป็น "ก้าวแรกของการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนกับรัฐบาลพม่า เพื่อหารือกันเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเกษตรและนโยบายด้านการเกษตรของพม่า"


รัฐบาลพม่ายังได้ขอร้องให้องค์กรสังกัดยูเอ็นแห่งนี้ ช่วยเหลือในการดำเนินการประเมินผลเศรษฐกิจภาคชนบทของประเทศในแง่มุมทางเศรษฐกิจและสังคมในปี 2010 อีกด้วย โดยที่การพูดจาหารือกันในระหว่างการมาเยือนของผู้แทนยูเอ็น ได้มีการสำรวจลู่ทางและหารือถึงเรื่องความจำเป็นที่ชาวนาจะต้องสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น ตลอดจนความเป็นห่วงของยูเอ็นในเรื่องที่รัฐบังคับกำหนดราคาผลผลิตการเกษตรเอาไว้ต่ำมาก ซึ่งมีส่วนสร้างความยากจนในชนบท


เมื่อตอนที่พม่าได้รับเอกราชหลุดพ้นการปกครองแบบอาณานิคมในปี 1948 นั้น ลู่ทางอนาคตทางเศรษฐกิจของประเทศนี้ดูสดใสมาก เนื่องจากพม่ามีฐานะเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลก ทว่าช่วงเวลาหลายๆ ปีแห่งสงครามกลางเมืองและการบริหารจัดการเศรษฐกิจที่ผิดพลาดโดยสิ้นเชิง ซึ่งยิ่งกลายเป็นปัญหาใหญ่โตมากขึ้นอีกภายหลังประเทศตกอยู่ใต้การปกครองของทหารนับแต่ปี 1962 เป็นต้นมา ได้ทำให้ประเทศนี้ต้องดิ้นขลุกขลักอยู่ในบัญชีกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุดของยูเอ็นตั้งแต่ปี 1987 เรื่อยมา


ถึงแม้ประเทศนี้มีที่ดินซึ่งสามารถทำการเกษตรได้อย่างมากมายอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งครั้งหนึ่งเคยมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะเป็น "อู่ข้าวแห่งเอเชีย" แต่ในเวลานี้ภาวะขาดสารอาหารกลับปรากฏให้เห็นทั่วไป โดยที่มีเด็กๆ ในพม่าถึงกว่าหนึ่งในสามประสบปัญหานี้ และยูเอ็นก็จัดอันดับประเทศนี้ให้เป็นหนึ่งใน "จุดร้อนที่ประสบปัญหาความหิวโหย" (hunger hotspot) สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายหนักขึ้นอีกจากการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างกว้างขวางด้วยฝีมือของพวกผู้บังคับบัญชาทหารและข้าราชการพลเรือนที่เข้าไปกินตำแหน่งในระดับท้องถิ่น เมื่อเร็วๆ นี้ องค์การเพื่อความโปร่งใสระหว่าางประเทศ (Transparency International) จัดพม่าให้อยู่ในอันดับ 178 หรือเป็นอันดับ 3 นับจากข้างท้าย ของประเทศทั้งหมดที่ทางองค์การสำรวจมาเพื่อจัดทำรายชื่อประเทศที่ประสบปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในโลก


พวกนักเศรษฐศาสตร์ตลอดจนนักเคลื่อนไหวที่ลี้ภัยอยู่นอกประเทศ ต่างชี้ว่าต้นตอของปัญหาอยู่ที่นโยบายต่างๆ ของรัฐบาลซึ่งเอื้ออำนวยผลประโยชน์ให้แก่ฝ่ายทหารยิ่งกว่าภาคส่วนอื่นๆ เรื่องนี้รวมไปถึงมาตรการที่รัฐบาลบังคับกำหนดโควตาส่งมอบพืชผลการเกษตร ทั้งนี้ชาวนาจะต้องส่งมอบผลผลิตในไร่นาของตนเป็นปริมาณร้อยละที่แน่นอนให้แก่ฝ่ายทหารโดยที่จะไม่ได้รับการชดเชยอะไรเลย ถึงแม้ทางการประกาศว่าได้มีการยกเลิกนโยบายเช่นนี้ไปแล้วตั้งแต่ปี 2004 ทว่าในทางเป็นจริงแล้วยังมีการบังคับใช้กันอยู่ในพื้นที่ชนบทต่างๆ โดยพวกนายทหารซึ่งอาศัยการข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง ยังคงเข้ามาบังคับยึดเอาผลผลิตการเกษตรส่วนหนึ่งของชาวนาไป


การบิดเบือนและการแย่งยึดพืชผลโดยพวกนายทหารทุจริตเช่นนี้ แท้ที่จริงคือผลลัพธ์ของคำชี้แนะฉบับหนึ่งที่ออกโดยกระทรวงกลาโหมเมื่อปี 1998 คำชี้แนะหรือที่จริงก็คือคำสั่งฉบับนั้นกำหนดให้หน่วยทหารต่างๆ จะต้องพึ่งตนเองให้ได้ทั้งเรื่องข้าวปลาอาหารและสิ่งของสัมภาระอื่นๆ คำสั่งที่เท่ากับบอกให้ทหารหาอยู่หากินกันเอาเองฉบับนี้ ยังไม่ได้ถูกยกเลิก ถึงแม้ในแต่ละปีภาครัฐจะจัดสรรค่าใช้จ่ายอย่างมากมายเป็นพิเศษให้แก่กองทัพอยู่แล้ว โดยตามการประมาณการของบางรายนั้น งบใช้จ่ายทางทหารสูงถึง 40% ของงบประมาณแห่งชาติทีเดียว


**บังคับปลูกพืชเศรษฐกิจ**


นับตั้งแต่ปี 2005 มีรายงานว่าฝ่ายทหารได้เพิ่มการเรียกร้องให้ชาวนาต้องทำการผลิตพืชเศรษฐกิจ เป็นต้นว่า ยางพารา, ข้าวโพด, และ สบู่ดำ พวกนักวิจัยอิสระกล่าวว่า ผลผลิตจากพืชเศรษฐกิจที่ชาวนาทำได้ ส่วนหนึ่งจะต้องส่งมอบให้ฝ่ายทหาร ซึ่งจะจัดการนำไปขายทำกำไรต่อไป "กลุ่มสิทธิมนุษยชนชาวกะเหรี่ยง" (The Karen Human Rights Group) ซึ่งเป็นองค์กรเรียกร้องสิทธิที่ตั้งสำนักงานอยู่ในประเทศไทย ได้จัดทำเอกสารรวบรวมข้อมูลเรื่องราวที่พวกนายทหารบังคับใช้แรงงานประชาชนอย่างแพร่หลายกว้างขวาง เพื่อให้ปลูกและเก็บเกี่ยวพืชผลการเกษตร โดยบ่อยครั้งเป็นการปลูกในไร่นาที่แย่งยึดมาจากชาวบ้าน


นักวิจัยด้านสิทธิมนุษยชนหลายคนที่เล่าให้เอเชียไทมส์ออนไลน์ฟัง กล่าวว่าด้วยวิธีปฏิบัติเช่นนี้ย่อมหมายความว่าชาวนาพม่าจำนวนมากแทบไม่มีเวลาเหลือสำหรับดูแลพืชผลของพวกเขาเอง ซึ่งส่งผลให้ได้ผลเก็บเกี่ยวอันย่ำแย่ สภาพเช่นนี้มีมากเป็นพิเศษในกรณีของพวกที่พำนักอาศัยตามพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศไทย ซึ่งกองทัพจะเข้ายึดเข้าริบอะไรก็ได้ตามแต่ที่ต้องการไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือที่ดิน โดยใช้ข้ออ้างที่ว่าเป็นการปฏิบัติการเพื่อต่อสู้ปราบปรามการก่อความไม่สงบ นอกจากนั้น พฤติการณ์เช่นนี้ยังแพร่หลายกว้างขวางในแถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี และในเขตพื้นที่ทางภาคกลางอีกด้วย


พวกนักวิจัยในรัฐฉานซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของพม่าบอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ด้วยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ฝ่ายทหารได้ออกข้อกำหนดใหม่ ซึ่งบังคับให้ชาวนาท้องถิ่นต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมจากประเทศจีน โดยถือเป็นขั้นตอนหนึ่งในโครงการเพาะปลูกพืชอื่นแทนการปลูกฝิ่น ตามคำบอกเล่าของนักวิจัยเหล่านี้ ปรากฏว่าผลผลิตข้าวที่ได้ออกมาลดต่ำฮวบฮาบ เพราะการปลูกข้าวเหล่านี้จำเป็นจะต้องใช้ปุ๋ยที่มีราคาแพง ซึ่งชาวนาไม่สามารถซื้อหามาใช้ไหว นโยบายดังกล่าวนี้จึงยิ่งเพิ่มความไม่แน่นอนให้แก่เกษตรกรเหล่านี้ และยิ่งสร้างความเสียหายให้แก่การปลูกข้าวของพื้นที่แถบนี้ ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้ผลผลิตต่ำอยู่แล้ว


ระหว่างการแสดงปาฐกถาที่เนย์ปีดอว์ สติกลิตซ์เรียกร้องรัฐบาลพม่าหาทางส่งเสริมให้ชาวนาสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือทางการเงินได้เพิ่มมากขึ้น, ปรับปรุงช่องทางที่จะเข้าถึงเมล็ดพันธุ์และปุ๋ย, ตลอดจนเพิ่มการใช้จ่ายด้านสาธารณสุขและการศึกษา นักเศรษฐศาสตร์คนดังผู้นี้ยังสนับสนุนให้เพิ่มมาตรการกระตุ้นการพัฒนาท้องถิ่นและการสร้างงาน ด้วยการใช้จ่ายในด้านโครงสร้างพื้นฐานในชนบท


มีบางคนตั้งข้อสังเกตว่า การค้นพบและขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากแหล่งนอกชายฝั่งของพม่า เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ทางการยิ่งทอดทิ้งภาคเกษตรกรรม ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาพวกเขาต้องคอยพึ่งพาอย่างมากเพื่อเป็นช่องทางหารายได้จากการส่งออก ทว่าในระยะหลายปีหลังๆ มานี้ คณะทหารผู้ปกครองประเทศกลับสามารถเก็บเกี่ยวผลกำไรหลายพันล้านดอลลาร์ จากการทำข้อตกลงส่งก๊าซไปตามสายท่อส่งสู่ประเทศไทย


รายได้เหล่านี้จะยิ่งสะพัดเพิ่มพูนขึ้นอีก เมื่อแหล่งก๊าซในบริเวณนอกชายฝั่งรัฐยะไข่ทางภาคตะวันตกของพม่าอยู่ในสภาพพร้อมจำหน่ายให้แก่จีน สติกลิตซ์ได้เรียกร้องให้รัฐบาลใช้กำไรจากการขายน้ำมันและก๊าซมากระตุ้นภาคส่วนอื่นๆ ของเศรษฐกิจ เป็นต้นว่า เกษตรกรรม "รายรับจากน้ำมันและก๊าซสามารถที่จะใช้เพื่อเปิดเข้าสู่ยุคใหม่ ถ้าหากว่าใช้กันอย่างเหมาะสม" สติกลิตซ์บอก "แต่ถ้าไม่ทำเช่นนี้แล้ว โอกาสอันมีค่าก็จะสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์"

พวกนักวิเคราะห์เชื่อว่า ถ้าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างสำคัญแล้ว เศรษฐกิจภาคชนบทของพม่าก็จะยังคงแทบไม่มีความหวังอะไร ในเอกสารแถลงข่าวของยูเอ็นภายหลังเวทีประชุมที่เนย์ปีดอว์เมื่อวันอังคาร(15) สติกลิตซ์ได้กล่าวเตือนเหล่านายพลของพม่าว่า พวกเขาไม่สามารถที่จะแยกเรื่องเศรษฐกิจออกจากเรื่องการเมืองได้ ถ้าหากหวังให้ประเทศกลับเพิ่มพูนผลผลิตทางการเกษตรขึ้นมาใหม่


"การที่พม่าจะสามารถแสดงบทบาทบนเวทีโลก และบรรลุถึงความมีเสถียรภาพและความมั่นคงปลอดภัยอย่างแท้จริงได้นั้น ก็จะต้องมีการเข้าร่วมอย่างกว้างขวางและมีกระบวนการที่เปิดให้ฝ่ายต่างๆ เข้าร่วม" เขาบอก "สำหรับพม่าแล้ว นี่เป็นเส้นทางเพียงเส้นทางเดียวที่จะมุ่งสู่ความก้าวหน้าได้"


ฌอน เทอร์เนลล์ (Sean Turnell) นักเศรษฐศาสตร์ผู้ชำนาญพิเศษในเรื่องเศรษฐกิจพม่า แสดงความเห็นพ้องกับทัศนะของสติกลิตซ์ "นี่เป็นเพราะปัญหาหลักที่สำคัญที่สุดนั้น มีต้นตอโดยตรงจากธรรมชาติของระบอบปกครองนี้เอง ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องอย่างไม่รู้จักพอ, การปล่อยปละให้กำลังทหารตำรวจกระทำการต่างๆ ตามอำเภอใจในเขตชนบท, การไม่มีระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ทั้งในแง่ที่เป็นทางการ เป็นต้นว่า ความสามารถที่จะนำเอาที่ดินไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน และทั้งในแง่ที่ไม่เป็นทางการและออกจะเป็นสัญชาตญาณ อย่างเช่นว่า เอาเข้าจริงแล้ว ประชาชนก็ไม่มีสิทธิในทรัพย์สินใดๆ เลย ไม่มีแม้กระทั่งสิทธิในร่างกายของตนเองด้วยซ้ำ เพราะกองทัพย่อมสามารถที่จะยึดจะริบเอาสิ่งที่ต้องการได้เสมอ"


แทบไม่มีใครเลยที่เชื่อว่าการเลือกตั้งทั่วไปที่กำหนดจะจัดขึ้นในปีหน้า จะสามารถเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากรัฐธรรมนูญใหม่ก็ยังคงรักษาบทบาทพิเศษของฝ่ายทหารในรัฐบาลเอาไว้ ตราบใดที่กองทัพยังคงเป็นตัวแทนทางการเมืองที่ทรงอำนาจ ตราบนั้นกองทัพก็จะยังคงรักษาอิทธิพลที่มีเหนือการวางนโยบายด้านการเกษตรเอาไว้ การเปลี่ยนแปลงระบบเท่านั้นจึงจะส่งผลให้เกิดระบบที่อิงอยู่กับตลาดขึ้นมาได้ โดยที่ในระบบที่อิงตลาดดังกล่าว พวกนายทหารจะต้องชำระเงินสำหรับสิ่งที่พวกเขาบริโภค


พม่ายังคงมีกองทัพประจำการที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นรองก็แต่เวียดนาม ด้วยกำลังพลทหารทั้งสิ้นประมาณ 350,000 คน เป็นที่ทราบกันดีว่าทหารเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วอยู่ได้ก็ด้วยการทำมาหากินด้วยวิธีต่างๆ จากที่ดิน และการใช้อำนาจของพวกเขาในพื้นที่ซึ่งพวกเขาประจำการอยู่ ไม่ใช่จากเงินเดือนที่รัฐจ่ายให้ ถึงแม้จีดีพีของพม่าในแต่ละปีถูกจัดสรรอุทิศให้แก่ฝ่ายทหารเป็นสัดส่วนที่สูงทีเดียว แต่พวกนักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงก็บอกว่า งบประมาณเหล่านี้จำนวนมากใช้จ่ายไปในการซื้อหาระบบอาวุธที่มีลูกเล่นตื่นตาตื่นใจใหม่ๆ มากกว่าจะเป็นค่าจัดหาอาหารและเครื่องมืออุปกรณ์ให้แก่ทหาร


การเรียกร้องของยูเอ็นและองค์การพหุภาคีอื่นๆ ให้ดำเนินการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงนโยบายการเกษตรที่พิสูจน์แล้วว่าประสบความล้มเหลวของพม่า นับเป็นเจตนารมณ์ที่ดีและก็ถูกจังหวะเวลาด้วย ทว่าตราบเท่าที่การเกษตรและการเมืองในพม่ายังคงถูกร้อยรัดเข้าด้วยกันอย่างแน่นหนา และฝ่ายทหารก็เป็นผู้ครอบงำบงการรัฐบาลแล้ว แม้กระทั่งคำแนะนำจากนักเศรษฐศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ก็น่าจะถูกมองข้ามอย่างไม่แยแส


ไบรอัน แมคคาร์แทน เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระที่พำนักอยู่ในกรุงเทพฯ สามารถติดต่อเขาได้ที่


brianpm@comcast.net






ห่วงสินค้าเกษตรพม่าทะลักตีตลาดระนอง

หอการค้าระนองห่วงสินค้าเกษตรพม่าทะลักเข้าไทย โดยเฉพาะน้ำยางข้นขนข้ามเรือมาขายให้โรงงานราคาถูกกว่าของไทย ร้องหน่วยงานเกี่ยวข้องเร่งแก้ไข ชี้มีผลกระทบต่อชาวสวน แถมยังผิดกฎหมาย

             
นายนิตย์ อุ่ยเต็กเค่ง ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า ขณะนี้เกษตรกรในแนวชายแดนไทย-พม่า ได้รับผลกระทบจากการที่สินค้าเกษตรของพม่าเข้ามาตีตลาด โดยเฉพาะน้ำยางข้นถือเป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการของฝั่งไทยอย่างมาก เนื่องจากมีกลุ่มผู้ประกอบการจากประเทศมาเลเซียเข้ามาตั้งโรงงานที่ จ.ชุมพร ทำให้มีความต้องการวัตถุดิบไปป้อนโรงงานน้ำยางข้น เพื่อส่งต่อไปยังประเทศมาเลเซีย จึงมีกลุ่มพ่อค้าคนไทยตั้งจุดรับซื้อน้ำยางข้นตามแนวพรมแดน เพื่อส่งต่อไปยังโรงงาน

             
"เมื่อเกษตรกรชาวสวนยางของพม่ากรีดยางได้ จะนิยมนำน้ำยางข้นบรรจุแกลลอนขนาด 20 ลิตร ล่องเรือข้ามฟากแม่น้ำกระบุรีมาขายให้พ่อค้าฝั่งไทย ในราคากิโลกรัมละ 90 บาท ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายไทย เพราะไม่ผ่านการนำเข้าที่ถูกต้อง และส่งผลกระทบต่อชาวสวนยางไทยจากการที่มีสินค้าเข้ามาตีตลาด จึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวเร่งด่วน" นายนิตย์ กล่าว

             
นายนิตย์ กล่าวต่อว่า สินค้าเกษตรจากพม่าที่ทะลักเข้ามาตีตลาดสินค้าเกษตรของไทย ที่ผ่านมาประกอบด้วย ข้าวเปลือก ใบจาก เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ข้าวโพด กาแฟ ปอ ล่าสุดเป็นสินค้ายางพาราซึ่งเป็นสินค้าเกษตรอีกตัวที่เริ่มมีเข้ามาจากพม่า หลังจากที่ก่อนหน้านี้พม่าได้ส่งเสริมให้เกษตรกรของตนเองขยายพื้นที่ปลูกยางพารา โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศ

             
"สินค้าเกษตรที่น่าจับตาถึงการเติบโตคือข้าวเปลือก ที่ปัจจุบันมีความต้องการจากโรงสีใน จ.นครปฐมเป็นอย่างมาก เนื่องจากข้าวเปลือกจากพม่ามีราคาต่ำ อีกทั้งขณะนี้พม่ามีการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวใหม่เรียกว่าข้าวหอมมะลิพม่า ซึ่งสามารถนำมาเป็นส่วนผสมกับข้าวสารถุงของไทยได้เป็นอย่างดี" ประธานหอการค้าระนอง ระบุ

             
ร.อ.สุรศักดิ์ พึ่งแย้ม หัวหน้าชุดเฉพาะกิจ กองร้อยที่ 2521 กองกำลังเทพสตรี ซึ่งดูแลแนวพื้นที่ชายแดนด้าน จ.ระนอง-ชุมพร กล่าวว่า ขณะนี้พบว่าได้มีสินค้าเกษตรจากประเทศพม่าข้ามมายัง จ.ระนอง ซึ่งทหารเตรียมประสานยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างเร่งด่วน ก่อนที่จะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรไทยในอนาคต


ที่มา  :  คม ชัด ลึก



Contract Farming ในพม่า

การทำ Contract Farming ในประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงพม่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ประกอบการไทยให้ความสนใจมากขึ้น เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรบางชนิดของไทยเริ่มขาดแคลนและมีราคาสูงขึ้นตามแนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูปของไทย ทำให้ผู้ประกอบการไทยเริ่มให้ความสนใจจัดหาแหล่งวัตถุดิบทางการเกษตรจากภายนอกประเทศเพิ่มขึ้น ประกอบกับนับตั้งแต่ปี2546 รัฐบาลไทยเริ่มส่งเสริมการทำ Contract Farming ในประเทศเพื่อนบ้านภายใต้ ACMECS อย่างจริงจัง ส่งผลให้การทำ Contract Farming ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการไทยมากขึ้นเป็นลำดับ


พม่า เป็นประเทศที่มีพื้นที่สำหรับการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้มากถึง 66.75 ล้านไร่ หรือราวร้อยละ 16 ของพื้นที่ทั้งหมดในพม่า ทั้งยังมีทรัพยากรน้ำและดินที่อุดมสมบูรณ์ มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ประกอบกับรัฐบาลพม่ามีนโยบายสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ ในภาคเกษตรกรรม เพื่อพัฒนาภาคเกษตรกรรมในประเทศซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของพม่าด้วยสัดส่วนราวร้อยละ 43 ของ GDP โดยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยที่ต้องการส่งเสริมให้ภาคเอกชนไทยเข้าไปใช้ประโยชน์จากพื้นที่เพาะปลูกของพม่าในลักษณะการทำ Contract Farming ในช่วงที่ผ่านมามีภาคเอกชนไทยเข้าไปลงทุนปลูกพืชในพม่าบ้างแล้ว คาดว่าความตกลงที่เป็นรูปธรรมภายใต้โครงการ Contract Farming ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลพม่าจะช่วยสนับสนุนให้การลงทุนของภาคเอกชนไทยได้รับความสะดวกและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น


* จุดเริ่มต้นและความคืบหน้าที่สำคัญของการทำ Contract Farming ในพม่า พอสรุปได้ดังนี้

1).....วันที่ 2 ธันวาคม 2546 คระรัฐมนตรีของไทยมีมติเห็นชอบให้ลดอัตราภาษีสินค้าเกษตรที่นำเข้าจากพม่า กัมพูชา และลาว เหลือร้อยละ0 โดยสินค้าเกษตรที่ได้รับการส่งเสริมในเบื้องต้นมีจำนวน 8รายการ ได้แก่มันฝรั่ง ข้าวโพดหวาน มะม่วงหิมพานต์ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ละหุ่ง ยูคาลิปตัส


2).....วันที่ 25 ตุลาคม 2548 คณะรัฐมนตรีของไทยพิจารณาเพิ่มสินค้าเกษตรอีก 2 รายการ ได้แก่ ลูกเดือยและถั่วเขียวผิวมันเป็นพืชเป้าหมายภายใต้โครงการ Contract Farming ที่ได้รับการลดอัตราภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 0 โดยด่านศุลกากรนำร่องที่อนุญาตให้มีการนำเข้าผลผลิตในโครงการส่งเสริมการทำ Contract Farming จากพม่าคือ ด่านศุลกากรแม่สอด จังหวัดตาก บริเวณด่านเมียวดี-แม่สอด รวมทั้งอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการไทยที่สนใจจะเข้าไปทำ Contract Farming ในพม่าสามารถใช้หนังสือรับรองจากผู้ว่าราชการจังหวัดตากแทน C/O เป็นหลักฐานในการขออนุญาตนำเข้าพืชเป้าหมายดังกล่าวจากกรมศุลกากรของไทย

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ Contract Farming ในพม่าจะต้องจดทะเบียนเข้าร่วมโครงการกับผู้ว่าราชการจังหวัดตาก พร้อมทั้งแจ้งรายละเอียดต่างๆ ที่สำคัญได้แก่ ชื่อคู่สัญญาที่จะร่วมทำธุรกิจในพม่า ชื่อผู้นำเข้า ชนิดของพืชที่จะเพาะปลูก พื้นที่เพาะปลูก ระยะเวลาในการเริ่มเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว รวมทั้งปริมาณของผลผลิตที่คาดว่าจะเพาะปลูกได้


3)....วันที่ 2 ธันวาคม 2548 กระทรวงเกษตรและชลประทานของพม่า กระทรวงปศุสัตว์และประมงของพม่า และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยได้ลงนามในบันทึกการเจรจา (Record of Discussion) เกี่ยวกับโครงการจัดทำ Contract Farming ในพม่าเพื่อส่งเสริมให้นักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนปลูกพืชเป้าหมาย โดยมีรัฐบาลพม่าได้จัดหาพื้นที่เพาะปลูก 44 ล้านไร่ในจังหวัดแปร เขตพะโค ริมฝั่งแม่น้ำอิรวดี ซึ่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชน้ำมันและพืชไร่ต่างๆ อาทิ ปาล์มน้ำมันและอ้อย ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยเป็นผู้คัดเลือกผู้ประกอบการไทยที่สนใจจะเข้าไปลงทุนเพาะปลูกพืชเป้าหมายดังกล่าวต่อไป โดยขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยได้มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการจัดทำ Contract Farming หลังจากนั้นจะเจรจากับพม่าเพื่อให้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวร่วมกัน

สำหรับรายการพืชเป้าหมายเพิ่มเติม ที่ไทยต้องการส่งเสริมให้มีการทำ Contract Farming กับพม่าได้แก่ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย เพื่อนำพืชเหล่านี้มาใช้ผลิตพลังงานทดแทน อันจะช่วยแก้ไขปัญหาขาดแคลนพลังงานภายในประเทศ

Model Contract Farming ในพม่า

บรัษัท ซูเทค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นเอกชนไทยรายแรกที่เข้าไปดำเนินการเพาะปลูกอ้อยในลักษณะไร่คู่สัญญาตัวอย่าง (Model Contract farming) ในจังหวัดแปรตั้งแต่เดือนมกราคม 2548 บนพื้นที่เพาะปลูกรวม 825ไร่ บริษัทได้ให้ความรู้และสาธิตการทำไร่อ้อยด้วยเครื่องจักรกลการเกษตรที่นำเข้าจากไทย ทั้งยังใช้พันธุ์อ้อยที่นำเข้าจากไทย 2 พันธุ์ ได้แก่ K200 และ K8892 ซึ่งเหมาะแก่การนำมาแปรรูปเป็นน้ำตาล รวมทั้งจะขยายพันธุ์อ้อยดังกล่าวให้กับชาวไร่ในพม่าใต่อไป นอกจากนี้ บริษัทยังมีโครงการทำไร่ต้นแบบดังกล่าวเพิ่มอีก 6,000 ไร่ในจังหวัดดังกล่าว ผลผลิตอ้อยภายใต้โครงการนี้จะถูกแปรรูปโดยโรงงานน้ำตาล นวเด ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างกลุ่มบริษัทซูเทค กับ MSE และเป็นโรงงานฟอกน้ำตาลแห่งแรกของพม่าซึ่งผลิตน้ำตาลฟอกขาวคุณภาพดีสำหรับส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ อาทิ สิงคโปร์


ปัญหาที่บริษัทประสบในช่วงเริ่มต้นโครงการคือ เกษตรกรพม่าขาดทักษะการปลูกอ้อยในเชิงพาณิชย์และความชำนาญในการใช้เครื่องจักรกลด้านการเกษตรตลอดจนมีจำนวนพันธุ์อ้อยไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก อย่างไรก็ตาม คาดว่าในระยะยาวปัญหาดังกล่าวจะค่อยๆลดลงเมื่อเกษตรกรพม่าเริ่มมีความรู้และความเชี่ยวชาญในการเพาะปลูกอ้อยมากขึ้น ทั้งนี้ เอกชนรายอื่นๆที่สนใจจะทำ Contract Farming ในพม่าควรคำนึงถึงปัญหาดังกล่าวก่อนตัดสินใจเข้าไปลงทุนด้วยเช่นกัน



พม่าเล็งเปิดรัฐชานทำเกษตรพันธะฯ ปลูกพืชเศรษฐกิจแทนฝิ่นส่งขายไทย
หน่วยงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของพม่าและไทยกำลังร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ ที่จะเปิดพื้นที่ปลูกฝิ่นในรัฐชาน (Shan State) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ให้เป็นพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อทดแทนการส่งจำหน่ายผลผลิตให้กับไทยและจีน ในรูปแบบของเกษตรพันธสัญญา ภายใต้กรอบปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียน-จีนว่าด้วยยาอันตราย (ACCORD) "คงจะต้องมีการหารือกับภาคเอกชนไทยและเอกชนในพม่าเอง เพื่อดำเนินการเรื่องนี้ต่อไป" นางรัชนีกร สรสิริ ผู้อำนวยการกองต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กล่าวกับ "ผู้จัดการรายวัน" เมื่อวันพุธ (21 ธ.ค.) นี้ นางรัชนีกร เป็นเจ้าหน้าที่ของไทยคนหนึ่งที่เข้าร่วมการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือผู้ที่เคยปลูกในพม่า เพื่อให้คนเหล่านั้นสามารถพัฒนามาตรฐานการดำรงชีพของตนเอกได้ การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นที่โรงแรมเซโดนาในกรุงย่างกุ้งในสัปดาห์ต้นเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยมีเจ้าหน้าที่เข้าร่วมราว 30 คนจากจีน ไทยและประเทศสมาชิกอื่นๆ ของอาเซียน ยกเว้นสิงคโปร์กับฟิลิปปินส์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือแผนการตลาดเพื่อรองรับผลผลิตจากการปลูกพืชเศรษฐกิจทดแทนการปลูกฝิ่น ซึ่งมีการดำเนินการแล้วในรัฐชานทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า อันเป็นรัฐที่มีการปลูกฝิ่นมากที่สุดเป็นต้นทางของยาเสพติดร้ายแรงชนิดต่างๆ รวมทั้งเฮโรอีน ก่อนจะทะลักเข้าสู่ลาวเวียดนามหรือกัมพูชา เพื่ออกสู่ตลาดโลก หลังจากที่ฝ่ายไทยทำการปราบปรามอย่างหนัก

นางรัชนีกรกล่าวว่า ในปัจจุบันพม่าได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลจีนกับรัฐบาลญี่ปุ่นในโครงการปลูกพืชทดแทนฝิ่นในรัฐฉาน โดย ฝ่ายจีนและญี่ปุ่นได้รับซื้อผลผลิตจากฝ่ายพม่า เช่น ถั่วเหลือง กับสาหร่ายบางชนิดที่นิยมนำไปทำเส้นหมี่ (Soba) ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่นักลงทุนทั้งไทยและพม่าจะได้ร่วมมือกันอีกทางหนึ่งภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง หรือ ACMECS พล.จ.ซอวิน (Zew Win) รองอธิบดีกรมตำรวจพม่า ในฐานะประธานคณะชี้นำการปฏิบัติแผนความร่วมมือ เกี่ยวกับการปลูกพืชทดแทนฝิ่นพม่าได้กล่าวระหว่งการประชุมสัมมนาที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 ธ.ค.ที่ผ่านมา เน้นความสำคัญของการจัดเตรียมตลาดเพื่อรองรับผลผลิตที่ได้จากเขตที่เคยมีการปลูกฝิ่นซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไม่ให้ประชาชนเหล่านั้นมีรายได้ต่ำลง ที่ผ่านมาระหว่างปี 2540-2546 ทางการพม่าได้ประกาศให้หลายเขตในรัฐชานเป็นเขตที่ปลอดจากฝิ่น ซึ่งรวมทั้งเขตเมืองลา (Mongla) กับเขตโกกาง (Kokang) ที่อยู่ติดกับชายแดนจีนและลาว ในปีนี้ก็ได้ประกาศอีก 1 เขตให้เป็นเขตปลอดฝิ่นในดินแดนของว้า (Wa) ในรัฐชานใต้ที่อยู่ติดเขตแดนไทยด้าน จ.เชียงราย "ได้มีการหารือกันในหลากหลายรูปแบบความร่วมมือแบบคอนแทร็กฟาร์มิง(contract-farming) ภายใต้กรอบแอ็คเม็คส์ซึ่งหากสามารถตกลงกันได้ก็ให้ภาคเอกชนเข้าไปดำเนินการได้" นางรัชนีกรกล่าว เลขาธิการร่วมสภาหอการค้าและอุตสาหกรรม นายทุนอ่อง (Tun Aung) กล่าวในที่ประชุมสัมมนานัดเดียวกันว่า ภาคเอกชนกำลังจะเข้าไปมีบทบาทหลักในการทำตลาดให้กับผลผลิตที่ปลูกทดแทนฝิ่น ในต้นเดือน ธ.ค.นี้ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย ได้ร่วมกับฝ่ายพม่าลงนามในโครงการความร่วมมือด้านเกษตรพันธสัญญาระหว่างสองฝ่าย มีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษา โดยเน้นหนักไปที่พืชเศรษฐกิจสำคัญ รวมทั้งอ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ปาล์ม น้ำมัน และยางพารา รมว.เกษตรฯ ของไทยบอกกับนิตยสารข่าวเมียนมาร์ไทมส์ในครั้งนั้นว่า ความร่วมมือเกษตรพันธสัญญาระหว่างสองประเทศเพื่อนบ้านนี้อาจจะสามารถเริ่มขึ้นได้ในต้นปีหน้า รัฐบาลไทยได้ประกาศระหว่างเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอด ACMECS ในกรุงเทพฯ ในเดือนต้นเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ยกเว้นภาษีให้กับสินค้าเกษตรทุกชนิดที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านภายใต้ความร่วมมือแบบเกษตรพันธสัญญา




'เซงตะโลง' มะม่วงดีของพม่า

เมื่อพูดถึงความเก่าแก่ของการปลูกมะม่วงในโลกแล้ว “อินเดีย” นับเป็นประเทศที่มีประวัติความเป็นมาในการปลูกมะม่วงมานานกว่า 4,000 ปี ปัจจุบันมีข้อมูลทางวิชาการที่เขียนโดย คุณสุรชา สิทธิชัย ในงานประชุมมะม่วงโลกที่ประเทศบราซิล รายงานว่าปัจจุบันอินเดียยังเป็นประเทศที่มีพื้นที่ปลูกมะม่วงมากที่สุดในโลกคือมากกว่า 8 ล้านไร่ ให้ผลผลิตแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 11 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของผลผลิตมะม่วงทั่วโลก สำหรับสายพันธุ์มะม่วงของประเทศอินเดียที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในขณะนี้คือพันธุ์ “อัลฟอนโซ” คนญี่ปุ่นนิยมบริโภคมะม่วงอินเดียสายพันธุ์นี้กันมากในรูปแบบของน้ำมะม่วงเนื่องจากมีกลิ่นหอมพิเศษ
 
สำหรับประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยได้มีการพัฒนาการปลูกมะม่วงมาอย่างต่อเนื่องทั้งเรื่องสายพันธุ์และการจัดการดูแลรักษา จากที่ปลูกและผลิตขายบริโภคกันในประเทศ คนไทยส่วนใหญ่ในอดีตมักจะคุ้นเคยบริโภคมะม่วงกินดิบ อาทิ เขียวเสวย แรด ฟ้าลั่น เจ้าคุณทิพย์ ฯลฯ ในกลุ่มมะม่วงกินสุกจะรู้จักเฉพาะพันธุ์อกร่อง มาถึงทุกวันนี้มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ของไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกโดยน้ำดอกไม้สีทองที่มีการส่งออกไปยังหลายประเทศโดยเฉพาะที่ญี่ปุ่น นอกจากประเทศไทยแล้วพม่าเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีพื้นที่ปลูกมะม่วงมากพอสมควร ผู้เขียนได้มีโอกาสไปประเทศพม่าเมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคม 2552 ที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่ผลผลิตมะม่วงของพม่าเริ่มออกสู่ตลาดพอดีซึ่งตรงกับมะม่วงปีในบ้านเรา
 
ถ้าใครได้ไปเที่ยวยังประเทศพม่าจะได้เห็นความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของคนพม่าและผลไม้ที่มักจะพบเห็นอยู่มากคือ กล้วยและมะพร้าว เพราะเป็นผลไม้ที่คนพม่านิยมซื้อมาบูชาเทพ และกล้วยที่คนพม่านิยมบริโภคมากที่สุดคือกล้วยหักมุก (กล้วยหักมุก คนพม่าเรียกว่า “พีจาง”) สำหรับมะม่วงพม่ามีหลายสายพันธุ์คล้ายกับมะม่วงไทย อย่างเช่น มะม่วงพันธุ์หยิ่งกแว ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า “อกแยก”
 
มีลักษณะรูปทรงผลคล้ายมะม่วงอกร่องแต่รสชาติสู้ไม่ได้ ในขณะเดียวกันพม่ามีพันธุ์มะม่วงที่มีชื่อเสียงและรสชาติดีอยู่สายพันธุ์หนึ่งที่มีชื่อว่าพันธุ์ “เซงตะโลง” ในช่วงที่ประเทศอินเดียปกครองประเทศพม่าจะเรียกมะม่วงสายพันธุ์นี้ว่า เซนทาโล ผู้เขียนได้ทดลองรับประทานมะม่วงพันธุ์เซงตะโลง จัดเป็นมะม่วงกินสุกที่รสชาติอร่อยพอใช้ได้ ผลไม่ใหญ่นักขนาดเท่ากับมะม่วงอกร่องและมีเนื้อละเอียดรสชาติใกล้เคียงมะม่วงแก้วผสมมะม่วงอกร่อง และเป็นมะม่วงที่มีการขยายพื้นที่ปลูกกันมากในแถบเมืองมัณฑะเลย์
 
การผลิตและการตลาดของมะม่วงในประเทศพม่าส่วนใหญ่จะผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก ยังไม่มีการผลิตเพื่อการส่งออกและเทคโนโลยีในการผลิตมะม่วงนอกฤดูยังตามหลังประเทศไทย













สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (2065 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©